ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย nimmita, 19 กันยายน 2007.

  1. nimmita เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +409
    ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล (การรักษาระเบียบทางกายวาจา, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ยิ่งขึ้นไป - the Eight Precepts; training rules)

    1. ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป - to abstain from taking life)

    2. อทินฺนาทานา เวรมณี (เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย - to abstain from taking what is not given)

    3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี (เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์, เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือร่วมประเวณี - to abstain from ีunchastity)

    4. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากการพูดเท็จ - to abstain from false speech)

    5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท - to abstain from intoxicants causing heedlessness)

    6. วิกาลโภชนา เวรมณี (เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไป จนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ - to abstain from untimely eating)

    7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี (เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ้งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง - to abstain from dancing, singing, music and unseemly shows, from wearing garlands, smartening with scents, and embellishment with unguents)

    8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี (เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่ยเฟือย - to abstain from the use of high and large luxurious couches)

    คำสมาทาน ให้เติม สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ต่อท้ายทุกข้อ แปลเพิ่มว่า “ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก ... หรือ ข้าพเจ้าขอถือข้อปฏิบัติในการฝึกฝนตนเพื่องดเว้นจาก ...”
    ศีล 8 นี้ สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ เรียกว่า อุโบสถ (the Observances) หรือ อุโบสถศีล (precepts to be observed on the Observance Day)


    <TABLE class=ref width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%"><TD>องฺ.อฏฺฐก. 23/131/253

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  2. nimmita เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +409
    "ศีล ๘" หรือ "อัฏฐศีล" (Attha-sila: the Eight Precepts; training rules) คือ การรักษาระเบียบทางกายวาจา ข้อปฏิบัติในการฝึกหัวกายวาจา ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    "ศีล ๘" นี้ สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ เรียกว่า อุโบสถ (Uposatha: the Observances) หรือ อุโบสถศีล (precepts to be observed on the Observance Day)


    "อุปกิเลส" หรือ "จิตตอุปกิเลส ๑๖" คือ ธรรมเครื่องเศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี
    (จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม)

    ***********************************

    "ศีล ๘" สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธา จะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ "อุโบสถศีล" ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือ ขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)
    (จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์)
    ***********************************

    "อานิสงส์แห่งการรักษาอุโบสถ"

    อันผู้รักษาอุโบสถศีลนั้น ย่อมได้อานิสงส์ทั้งชาตินี้และชาติหน้าโดย อนุรูปแก่การปฏิบัติของตนๆ ดังพระพุทธพจน์ตรัสไว้ในตอนท้าย แห่งอุโบสถสูตรว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วย องค์ ๘ ที่อริยสาวกเข้าอาศัยอยู่นานแล้ว เป็นคุณมีผลใหญ่ และอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองแผ่ไพศาลมาก"
     
  3. nimmita เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +409
    อานิสงส์ของศีล
    ครูบาศรีวิชัย


    ครูบาศรีวิชัยท่านตอบเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2474ว่า...
    พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ไว้ว่าศาสนาจะตั้งอยู่ได้ก็เพราะพระมหากษัตริย์เป็นพุทธศาสนูปถัมภ์ ท่านจึงได้ฝากศาสนาไว้กับพระมหากษัตริย์ ถ้าพระมหากษัตริย์และเจ้าเมือง พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ราษฎรทั้งหลาย พากันไปรักษาศีล 5 และทำบุญใส่บาตร ฟังธรรมที่วักทุกวันศีลเป็นลำดับไปแล้ว ก็จักได้อานิสงส์ คือ ความสุข ในปัจจุบันทันตา ดังจักกล่าวต่อไป
    1. เมื่อนอนหลับก็เป็นสุข
    2. เมื่อตื่นก็เป็นสุข
    3. เมื่อฝันก็ฝันดีไม่ร้าย
    4. มีชื่อเสียงเล่าลือไปทั่วทิศานุทิศว่าเป็นผู้มีเมตตาจิต ใจเป็นศีลใจบุญ
    5. เป็นที่รักแก่คนและเทวดาทั้งหลาย
    6. แม้นจักบ่ายหน้าไปสู่ทิศใด เทวดาตามรักษา บันดาลให้มีผู้อุปถัมภ์มิให้ลำบาก
    7. แม้นเข้าในที่ประชุมชนหมู่ใด ก็เป็นผู้มีความกล้าหาญองอาจในการเจรจา
    8. ไม่มีศัตรูคิดอาฆาตทำร้ายได้
    9. ไม่มีความสะดุ้งตกใจกลัวต่อภัยอันตรายสิ่งใด
    10. เป็นผู้ปราศจากทุกข์ ไม่มีคดีถ้อยคำเกิดขึ้นเลย
    11.เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ มีหน้าตาเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ทุกเมื่อ
    12. ไม่มีความเศร้าโศกเสียใจและมีอายุยืน
    13. มีปีติเอิบอิ่มอยู่ในใจว่า ได้ทำความดีไว้เป็นที่พึ่งแก่ตัวแล้ว
    14. เป็นผู้ที่ทำใจให้บริสุทธิ์ คือเป็นเทวดา หับ (ปิด) ประตูอบายไว้แล้ว
    15. ยามเมื่อจะตาย ก็มีสติดี ไม่มีความสะดุ้งตกใจเลย อันนี้เป็นอานิสงส์เฉพาะตัวอานิสงส์ ส่วนประเทศบ้านเมืองได้รับต่อไปอีกด้วยดังนี้
    16. ประชาชนพลเมืองทั้งหลายก็ได้เป็นสามัคคีกลมเกลียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    17. พวกอันธพาลสันดานหยาบ เห็นหมู่ประชาชนทั้งหลายเป็นผู้ใจศีลใจบุญ ไม่มีใครคนค้าสมาคมด้วย คิดละอายขวยเขินขึ้นในใจ ไม่อาจจะเป็นพาลต่อไป ก็จักกลับใจเป็นพลเมืองดี มีศีลธรรมต่อไป
    18. ความก้าวร้าวเบียดเบียนกันก็ไม่มี
    19. โจรผู้ร้ายก็สงบ
    20. ฝนตกชอบตามฤดูกาล
    21. พืชข้าวกล้าก็งอกงามบริบูรณ์
    22. ปราศจากภัยพิบัติ คือ น้ำไม่ท่วม ไฟก็ไม่ไหม้ โรคห่าทั้งหลายก็ไม่มี
    23. พลเมืองทั้งหลายก็มีความสุขสบาย
    24. เมื่อประเทศบ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขแล้ว นานาชาติก็ไม่มาราวีรบกวนได้
    25. พระมหากษัตริย์และเจ้านาย ผู้ปกครองประเทศบ้านเมืองก็มีความสุขสบาย.....

    การปฏิบัติรักษาศีล 5 อันเป็นบันไดขั้นต่ำ เบื้องต้นของพระพุทธศาสนา มีอานิสงส์ให้ได้รับความสุขในปัจจุบัน ประจักษ์แจ้งแก่ตาดังนี้
    ครั้นตายแล้วก็ได้ขึ้นไปเกิดบนสวรรค์ ครั้นจุติจากสวรรค์ก็ได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ มีรูปอันงาม มีปัญญาเฉลียวฉลาด มีทรัพย์สมบัติมาก มีอายุยืน มีเมียมีลูกมีหลาน ก็ว่านอนสอนง่าย ไม่มีศัตรูเบียดเบียนได้ และเป็นปัจจัยให้มีความสุขไปตราบถึงพระนิพพาน

    ผู้ที่รักษาศีล 8 ได้ ก็ได้รับความสุขในปัจจุบันมากกว่าศีลข้อ 5 ขึ้นไปอีก คือ ไปนอนอยู่ที่วัด เป็นกายวิเวก จิตวิเวก สงบอารมณ์ ปราศจากความพยาบาท จองเวร ถีนมิทธะ ปราศจากความง่วงเหงาหาวนอน อุทธัจจะ ปราศจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่มีสิ่งใดมารบกวน วิจิกิจฉา ปราศจากความสงสัยในพระธรรมคำสั่งสอนแล้ว คือ ไปอบรมทำใจให้บริสุทธิ์แยบคายเสมอดั่งพรหม ครั้นว่าตายก็ได้ขึ้นไปเกิดบนชั้นพรหม มีความสุขและอายุยืนยิ่งกว่าชั้นสวรรค์ ครั้นจุติก็ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลสูง มีรูปโฉมอันเงางาม มีปัญญาเฉลียวฉลาด อายุยืน มียศ มีบริวาร มีอำนาจมาก
    ...

    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/kb-srivichai-01.htm
     
  4. nimmita เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +409
    ...ดังได้กล่าวแล้วว่า ศีล ๕ เป็นศีลของคฤหัสถ์ ที่คฤหัสถ์ทั้งชายหญิงควรรักษาเป็นปกติ เป็นประจำตลอดชีวิต

    [SIZE=+0]
    ถึงกระนั้น ศีลที่ยิ่งกว่า ศีล ๕ ขัดเกลากิเลสได้ยิ่งกว่าศีล ๕ ที่คฤหัสถ์ควรรักษาตามโอกาส เป็นครั้งคราว ก็มีอยู่ ศีลที่กล่าวนี้คือ อุโบสถศีล หรือศีลอุโบสถ ซึ่งคฤหัสถ์ชายหญิงบางท่านรักษาในวันอุโบสถ สมัยก่อนท่านกำหนดวันรักษาอุโบสถศีลไว้มากกว่าวันนี้ แต่ปัจจุบันเหลือวันรักษาอุโบสถศีลเพียงเดือนละ ๔ ครั้งในวันพระคือในวันแรม ๘ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำหรือ ๑๕ ค่ำ ขึ้น ๘ ค่ำและขึ้น ๑๕ ค่ำ แต่บางท่านก็ประพฤติยิ่งกว่านั้น โดยอาศัยแนวที่ท่านกล่าวไว้ใน อรรถกถาราชสูตร อังคุตตรนิกายติกนิบาตว่า อุโบสถมี ๓ อย่างคือ​
    [/SIZE]

    [SIZE=+0]๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ คือวัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม [/SIZE]
    [SIZE=+0][/SIZE]
    [SIZE=+0]๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน คือถือเอาวันที่กำหนดไว้ในปกติอุโบสถเป็นหลัก แล้วเพิ่มรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน เรียกว่า วันรับ และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง เช่นวัน ๘ ค่ำเป็นวันรักษาปกติอุโบสถ ผู้ที่จะรักษาปฏิชาครอุโบสถ ก็เริ่มรักษาตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ไปสิ้นสุดเอาเมื่อสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือรักษาในวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำและ ๙ ค่ำ รวม ๓ วัน ๓ คืน [/SIZE]
    [SIZE=+0][/SIZE]
    [SIZE=+0]๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่างหนึ่ง ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว คือรักษาในกฐินกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ อย่างหนึ่ง ถ้ายังไม่อาจรักษาได้ตลอด ๑ เดือน ก็รักษาเพียงครั้งละครึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงสิ้นเดือน ๑๑ อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ[/SIZE]

    [SIZE=+0]ศีลอุโบสถนั้นเป็น ศีลรวม หรือ ศีลพวง คือมีองค์ประกอบถึง ๘ องค์ ถ้าขาดไปองค์ใดองค์หนึ่งก็ไม่เรียกว่า ศีลอุโบสถ ตามพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว ก็ถือว่าขาดศีลอุโบสถ เพราะเหลือศีลไม่ครบองค์ของอุโบสถศีล พูดง่ายๆว่าขาดศีลองค์เดียว ขาดหมดทั้ง ๘ องค์ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] อุโบสถศีลที่ประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้ [/SIZE]
    [SIZE=+0]๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป [/SIZE]
    [SIZE=+0]๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ [/SIZE]
    [SIZE=+0]๓. อพรหมจริยา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ [/SIZE]
    [SIZE=+0]๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ [/SIZE]
    [SIZE=+0]๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท [/SIZE]
    [SIZE=+0]๖. วิกาลโภชนา เวรมณี งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล [/SIZE]
    [SIZE=+0]๗. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว [/SIZE]
    [SIZE=+0]๘. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่[/SIZE]

    [SIZE=+0] [SIZE=+0]อุโบสถศีลอันมีองค์ ๘ นี้ องค์ที่ ๑-๒-๔-๕ เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ ของศีล ๕ ที่แปลกกันคือข้อ ๓</B>[/SIZE][/SIZE]​
    [SIZE=+0]

    ศีล ๕ นั้น ข้อ ๓ ให้เว้นจากการประพฤติผิดประเวณีในผู้ที่มิใช่คู่ของตน แต่ถ้าเป็นคู่ครองของตนแล้วไม่ห้าม แต่ศีลข้อ ๓ ของอุโบสถศีลนั้น ให้งดเว้นจากการเสพประเวณีโดยเด็ดขาด แม้ในคู่ครองของตนเอง จึงจะชื่อว่า พรหมจริยา คือ ประพฤติอย่างพรหม​

    ส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือ ศีลข้อ ๖-๗-๘​

    อุโบสถศีลนั้นก็มีองค์ของศีลเป็นเครื่องวินิจฉัยว่า การกระทำเช่นไรจึงล่วงศีลไว้เช่นเดียวกับศีล ๕ สำหรับศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ นั้น มีองค์เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ ของศีล ๕ ที่ได้กล่าวไปแล้ว สำหรับศีลข้อที่เหลือมีเครื่องวินิจฉัย ดังนี้​

    ศีลข้อ ๓ อพรหมจริยา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ
    ๑. อชฺฌาจรณียวตฺถุ วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง ( คือมรรคทั้ง ๓ )
    ๒. ตตฺถ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุที่จะพึงล่วงนั้น
    ๓. เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
    ๔. สาทิยนํ มีความยินดี

    ศีลข้อ ๖ วิกาลโภชนา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ
    ๑. วิกาโล เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนอรุณขึ้น
    ๒. ยาวกาลิกํ ของเคี้ยวของกินที่สงเคราะห์เข้าในอาหาร
    ๓. อชฺโฌหรณปฺปโยโค พยายามกลืนกิน
    ๔. เตน อชฺโฌหรณํ กลืนให้ล่วงลำคอเข้าไปด้วยความเพียรนั้น

    [SIZE=+0]สำหรับศีลข้อนี้ ควรทราบว่า เวลาตั้งแต่อรุณขึ้นไปจนถึงเที่ยง เรียกว่า กาล คือเป็นเวลาบริโภคอาหาร[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น (ของวันใหม่) เรียกว่า วิกาล เป็นเวลาที่ต้องเว้นจากการบริโภคอาหารทุกชนิด เว้นน้ำธรรมดา และน้ำดื่ม ๘ อย่าง ที่เรียกว่า <SUP>๑</SUP> อัฏฐบาน ที่มีพุทธานุญาตไว้[/SIZE]​

    [SIZE=+0] น้ำดื่ม ๘ อย่าง ( อัฏฐบาน ) นั้น คือ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] น้ำที่ทำจากผลมะม่วง ๑ ผลหว้า ๑ ผลกล้วยมีเมล็ด ๑ ผลกล้วยที่ไม่มีเมล็ด ๑ ผลมะทราง ๑ ผลจันทน์ หรือผลองุ่น ๑ เง่าบัว ๑ ผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ต่อมาทรงมีพุทธานุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง และทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด[/SIZE]​

    [SIZE=+0] อรรถกถาท่านสรุปว่า ในเวลาวิกาลดื่มน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด เว้นผลไม้ที่มีผลโตกว่าผลมะตูม ( บางแห่งว่าผลมะขวิด ) วิธีทำนั้นก็ต้องคั้นเอาแต่น้ำ และกรองให้ไม่มีกาก และไม่ผ่านการสุกด้วยไฟ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] น้ำปานะดังกล่าวนี้เท่านั้นที่ผู้รักษาอุโบสถศีลควรดื่มในเวลาวิกาล นอกนี้ไม่ควร พึงสังเกตว่าไม่มีน้ำนมสดทุกชนิด คือน้ำนมของสัตว์ หรือนมที่ทำจากพืช เช่นถั่วเป็นต้น[/SIZE]​

    [SIZE=+0] นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงอนุญาตให้บริโภคเภสัช<SUP>๒</SUP> ๕ อย่างคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย รวมทั้งงบน้ำอ้อย ในเวลาวิกาลได้
    <SUP>๑-๒.</SUP> พระวินัยปิฎกมหาวรรค เภสัชชขันธกะ ข้อ ๘๖ และข้อ ๒๖
    [/SIZE]​

    [SIZE=+0] ศีลข้อ ๗ แบ่งเป็น ๒ ตอน แต่ละตอนมีองค์โดยเฉพาะ ถ้ากระทำผิดศีลตอนใดตอนหนึ่งเพียงตอนเดียว ก็ถือว่าขาดหมดทั้งสองตอน[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ศีลข้อ ๗ ตอนแรก นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล มีองค์ ๓ คือ</B> [/SIZE]
    [SIZE=+0]๑. นจฺจาทีนิ การเล่นมีฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น [/SIZE]
    [SIZE=+0]๒. ทสฺสนตฺถาย คมนํ ไปเพื่อจะดูหรือฟัง [/SIZE]
    [SIZE=+0]๓. ทสฺสนํ ดูหรือฟัง[/SIZE]

    [SIZE=+0] ศีลตอนแรกนี้ท่านห้ามทั้งเล่นเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเล่นแล้วตนดูหรือฟัง ผู้รักษาอุโบสถศีลแล้วยังเปิดวิทยุฟังเพลง ฟังลิเก หรือมหรสพต่างๆ หรือเปิดโทรทัศน์แล้วหลบไปนั่งในที่ๆ มองไม่เห็นภาพ อาศัยฟังแต่เสียงการละเล่นต่างๆ มีละคร เป็นต้นจากโทรทัศน์นั้น ย่อมไม่สมควรถือว่าผิดศีลข้อนี้ เพราะมีเจตนาชัดแจ้ง[/SIZE]​

    [SIZE=+0] หากมีผู้อื่นเขาเปิดดูหรือฟังอยู่ ผู้รักษาอุโบสถศีลเพียงแต่ผ่านไป ได้เห็นหรือได้ยินเข้า แล้วก็ผ่านเลยไปอย่างนี้ไม่ผิดแต่ไม่ใช่ว่าไม่ได้มีเจตนาจะดูหรือฟังมาก่อน แต่ผ่านไปเห็นหรือได้ยินเข้า แล้วเลยพลอยร่วมวงดูหรือฟังกับเขาด้วย อย่างนี้ก็ผิด[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ปกติเราก็ดูก็ฟังกันอยู่ทักวันทุกคืน เราจะหยุดดูหยุดฟังกันสักวันหนึ่ง คืนหนึ่ง ตามอย่างพระอรหันต์ ท่านมิได้เทียวหรือ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ก็ในวินัยของพระอริยเจ้านั้น การขับร้อง คือการร้องไห้ การฟ้อนรำ คือความเป็นบ้า การหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็ก[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ศีลข้อ ๗ ตอนหลัง มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการลูบทา ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว มีองค์ ๓ คือ [/SIZE]
    [SIZE=+0]๑. มาลาทีนํ อญฺญตรตา เครื่องประดับตกแต่ง มีดอกไม้และของหอม เป็นต้น [/SIZE]
    [SIZE=+0]๒. อนุญฺญาตการณาภาโว ไม่มีเหตุเจ็บไข้ เป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต [/SIZE]
    [SIZE=+0]๓. อลงฺกตภาโว ทัดทรงประดับตกแต่ง เป็นต้นด้วยจิตคิดจะประดับให้สวยงาม[/SIZE]

    [SIZE=+0] [SIZE=+0]ในข้อนี้มีข้อสังเกตคือ บางท่านก่อนไปวัดเพื่อสมาทานอุโบสถศีล ก็ตกแต่งร่างกาย ทาหน้า ทาปาก เป็นต้น อย่างสวยงามเสียก่อน เพราะคิดว่าได้กระทำก่อนสมาทานศีล จึงไม่ผิด แต่เจตนาในการกระทำเพื่อให้สวยงามมีอยู่จึงถือว่าผิด เพราะผู้ที่จะรักษาอุโบสถศีลนั้น ต้องตั้งเจตนาที่จะรักษาไว้ตั้งแต่รุ่งเช้าแล้วว่า จะรักษาอุโบสถศีลตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง[/SIZE][/SIZE]​
    [SIZE=+0]

    [SIZE=+0] คำว่า วันหนึ่งคืนหนึ่งนั้น ท่านกำหนดนับตั้งแต่อรุณขึ้นของวันที่รักษาไปจนถึงอรุณขึ้นของวันใหม่ ถ้าน้อยกว่ากำหนดนี้ก็ไม่ชื่อว่าวันหนึ่งคืนหนึ่ง ผู้รักษาอุโบสถควรระลึกถึงข้อนี้ด้วย[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ศีลข้อ ๘ อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ มีองค์ ๓ คือ</B> [/SIZE]
    [SIZE=+0]๑. อุจฺจาสยนมหาสยนํ ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ [/SIZE]
    [SIZE=+0]๒. อุจฺจสยนมหาสยนสญฺญิตา รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ [/SIZE]
    [SIZE=+0]๓. อภิสีทนํ วา อภิปชฺชนํ วา นั่งหรือนอนลง[/SIZE]

    [SIZE=+0] [SIZE=+0]คำว่า ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่ ในศีลข้อนี้ ท่านหมายเอาที่นั่งและที่นอนที่สูงใหญ่เกินประมาณ ที่ประดับตกแต่งด้วยเครื่องปูลาดที่วิจิตรงดงาม รวมไปถึงที่นอนที่ยัดด้วยนุ่มและสำลีด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้ยินดีติดใจในความงามและสัมผัสที่อ่อนนุ่มสบายของที่นั่งที่นอนเหล่านั้น[/SIZE][/SIZE]​
    [SIZE=+0]

    [SIZE=+0] อุโบสถศีลทั้ง ๔ ข้อที่แตกต่างและเพิ่มขึ้นจากศีล ๕ นั้นถ้าไม่พิจารณาให้ละเอียดแล้ว จะไม่เห็นว่าศีลทั้ง ๔ ข้อนี้เพิ่มความขัดเกลายิ่งขึ้น จึงไม่น่ายากแก่การรักษา แต่โดยที่แท้แล้วมิได้เป็นเช่นนั้น มิฉะนั้นแล้วก็คงจะไม่มีผู้รักษาอุโบสถศีลน้อยมากอย่างนี้ เมื่อเทียบกับจำนวนพลเมืองทั้งประเทศ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ก็ปกติของคฤหัสถ์นั้น ยังยินดีติดใจในการการเสพประเวณี ในการบริโภคจนเกินประมาณ ในการตกแต่งร่างกายให้สวยงาม ในการนอนสบาย แต่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติอุโบสถศีล ๔ ข้อนี้ขึ้น เพื่อขัดเกลาความยินดี ติดใจในสิ่งเหล่านี้ของคฤหัสถ์เป็นครั้งคราว เพียงชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งเป็นอย่างต่ำ ๓ วันเป็นอย่างกลาง ( ปฏิชาครอุโบสถ ) ๓ เดือนตลอดพรรษาเป็นอย่างสูง ( ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ ) มิได้ทรงบัญญัติให้รักษาจนตลอดชีวิตอย่างพระอรหันต์[/SIZE]​

    [SIZE=+0] เพราะฉะนั้น ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลเพียงชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งเพราะน้อมระลึกว่า "แม้เราจะรักษาอุโบสถศีลจนตลอดชีวิตอย่างพระอรหันต์ไม่ได้ ก็ขอดำเนินรอยตามท่านด้วยการรักษาอุโบสถศีลอันมีองค์ ๘ นี้ ขั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง" เพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ยังตรัสว่า การรักษาอุโบสถศีลของผู้นั้นมีผลมากมีอานิสงส์มาก<SUP>*</SUP> แม้พระราชาผู้ทรงเป็นใหญ่ใน ๑๖ แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะศีลนั้นทำให้เกิดในสวรรค์

    อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐
    [/SIZE]​

    [SIZE=+0]วิสาขสูตร อํ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๓๓[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ก็สมบัติมหาศาลของพระราชาในเมืองมนุษย์นั้นเป็นของเล็กน้อยเปรียบเหมือนสมบัติของคนจน เมื่อเทียบกับสมบัติและความสุขอันเป็นทิพย์ในเทวโลก ที่ผู้รักษาอุโบสถศีลจะพึงได้รับเมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ทั้งนี้เพราะเทวดาผู้เกิดในสวรรค์ชั้นต่ำสุดคือ จาตุมมหาราชิกานั้นยังมีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งวันหนึ่งคืนหนึ่งของสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นเท่ากับ ๕๐ ปีมนุษย์ ลองคิดดูเองเถิดว่า ๕๐๐ ปีทิพย์นั้นจะเท่ากับกี่ปีมนุษย์ ยิ่งถ้าได้เกิดในสวรรค์ชั้นสูงขึ้นไป อายุก็เพิ่มขึ้นจากชั้นต่ำเป็นทวีคูณ ชั้นปรนิมมิตวสวตีอันเป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด เทวดาในชั้นนี้อายุยืนถึง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ ( เทวโลกหรือสวรรค์นั้นมี ๖ ชั้น คือ จาตุมมหาราชิกา ดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานนรตี ปรนิมมิตวสวตี )</B>[/SIZE]​

    [SIZE=+0] อุโบสถศีล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากอย่างนี้[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ถึงกระนั้นพระพุทธองค์ก็มิได้ทรงสอนให้หลงใหลติดใจในสมบัติ และความสุขในโลกสวรรค์ เพราะมิฉะนั้นแล้วพระองค์จะไม่ตรัสกับ นางวิสาขา มหาอุบาสิกาเลยว่า[/SIZE]​

    [SIZE=+0] อุโบสถ<SUP>*</SUP> มี ๓ อย่าง คือ [/SIZE]
    [SIZE=+0]๑. โคปาลกอุโบสถ อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค [/SIZE]
    [SIZE=+0]๒. นิคัณฐอุโบสถ อุโบสถของพวกนักบวชนิครนถ์ [/SIZE]
    [SIZE=+0]๓. อริยอุโบสถ อุโบสถของพระอริยะ
    <SUP>*</SUP> อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐
    [/SIZE]​

    [SIZE=+0] บุคคลผู้รักษาอุโบสถเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโคนั้น เมื่อสมาทานอุโบสถศีลแล้ว ก็ปล่อยใจให้คิดแต่เรื่องราวของความโลภความต้องการ อยากได้สิ่งโน้นสิ่งนี้มาบำรุงบำเรอตน ไม่ได้คิดจะทำความดีอย่างอื่นให้เกิดขึ้นเลย ไม่ผิดอะไรกับคนที่รับจ้างเลี้ยงโค ที่เมื่อถึงเวลาเช้าก็ไปรับโคมาเลี้ยง เวลาเย็นก็นำโคมาส่งเจ้าของแล้วรับเอาค่าจ้างไป กลับบ้านแล้วก็คิดแต่ว่าพรุ่งนี้จะพาโคไปกินหญ้า กินน้ำที่ไหน คนรับจ้างนั้นไม่เคยได้รับประโยชน์อะไรจากโค มีน้ำนมเป็นต้นเลย ผู้รักษาโคปาลกอุโบสถก็เช่นกัน ไม่ได้รับประโยชน์จากอุโบสถศีลที่ตนรักษาเลย การรักษาแบบ โคปาลกอุโบสถ จึงไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์ เพราะความตรึกไม่บริสุทธิ์[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ส่วน นิคัณฐอุโบสถ นั้นเป็นอุโบสถของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งแตกต่างจากการรักษาอุโบสถในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ในอุโบสถ พวกนักบวชนิครนถ์ จะแนะนำชักชวนสาวก เป็นต้นว่า ไม่ให้ฆ่าสัตว์ในที่ทั้ง ๔ ในที่เลยร้อยโยชน์ไป นอกจากนั้นมิได้ห้าม การแนะนำชักชวนสาวกอย่างนี้ ชื่อว่า ห้ามการฆ่าสัตว์ในที่บางแห่ง ไม่ห้ามฆ่าสัตว์ในที่บางแห่ง เป็นการขาดความกรุณาเอ็นดูในสัตว์บางพวก มิได้ให้ความเอ็นดูแก่สัตว์ทุกหมู่เหล่า อุโบสถของพวกนิครนถ์จึงไม่มีผลมาก[/SIZE]​

    [SIZE=+0] แต่ อริยอุโบสถ นั้นเป็นอุโบสถที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะผู้รักษามิได้ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านไปในความยินดีต้องการ หรือความเศร้าหมองใดๆ ด้วยอำนาจของกิเลส แต่มาพากเพียรระลึกถึงพระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดจนระลึกถึงศีลที่บริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อยของตน และระลึกถึงคุณธรรมของผู้ที่เกิดเป็นเทวดา ว่าเทวดาเหล่านั้นได้เกิดเป็นเทวดา เพราะประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นใด แม้เราก็ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เช่นนั้น เมื่อพากเพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น จิตย่อมผ่องใส ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส การรักษาอุโบสถโดยการไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอำนาจของอกุศลแล้วมาเจริญกุศลอย่างนี้ ชื่อว่า อริยอุโบสถ[/SIZE]​

    [SIZE=+0] อุโบสถจึงมีผลมาก เพราะจิตของผู้รักษาบริสุทธิ์ ไม่มีผลมากเพราะจิตเศร้าหมอง[/SIZE]​

    [SIZE=+0] บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญพุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ <SUP>*</SUP>พรหมอุโบสถ อยู่ร่วมกับพรหม และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภพรหม
    <SUP>*</SUP> อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐
    [/SIZE]​

    [SIZE=+0] คำว่า พรหม ในที่นี้ แปลว่า ประเสริฐ เป็นชื่อของพระพุทธเจ้า[/SIZE]​

    [SIZE=+0] บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ ธรรมอุโบสถ อยู่ร่วมกับธรรม และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภธรรม[/SIZE]​

    [SIZE=+0] บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญสังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ สังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับสงฆ์ และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภสงฆ์[/SIZE]​

    [SIZE=+0] บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญสีลานุสสติ ระลึกถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลของตน พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ ศีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภศีล[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ศีลที่บริสุทธิ์นั้น คือ ศีลที่ไม่ขาด คือไม่ขาดศีลข้อต้นหรือข้อปลายเหมือนผ้าที่ขาดตรงชาย ไม่ทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุตรงกลาง เพราะขาดศีลตอนกลางในระหว่างข้อต้นและข้อปลาย ไม่ด่าง เหมือนแม่วัวที่มีรอยด่างสีดำหรือแดง รูปกลมหรือยาว ที่หลังหรื่อที่ท้อง เพราะขาดศีลติดต่อกันเป็นลำดับ ๒ หรือ ๓ ข้อ ไม่พร้อย เหมือนแม่วัวที่มีจุดตามตัว เพราะศีลขาดเป็นระหว่างๆ [/SIZE]​

    [SIZE=+0] บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญเทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้ไปเกิดเป็นเทวดา พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ เทวดาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภเทวดา[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ผู้รักษาอุโบสถ เมื่อพากเพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมผ่องใส ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ครั้นเจริญอนุสสติให้จิตใจสงบอย่างนี้แล้ว ตายไปย่อมเกิดในสวรรค์ หากเจริญธรรมให้สูงยิ่งกว่านี้ คือเจริญสมถะกรรมฐาน เป็นนิจจนได้ฌาน ฌานก็จะนำเกิดในพรหมโลกหรือหากเจริญวิปัสสนาจนสำเร็จมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาแล้ว ผู้รักษาอุโบสถศีลนั้นก็สามารถกำหนดการเกิดของตนได้ว่า ยังมีอีกหรือไม่ คือถ้าเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ก็ยังต้องเกิดอีก แต่อย่างมากก็เกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ หากสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่เกิดอีกเลย[/SIZE]​

    [SIZE=+0] ก็เพราะอริยอุโบสถมีผลมาก มีอานิสงส์มากอย่างนี้ คืออย่างต่ำทำให้เกิดในสวรรค์ ๖ ชั้น อย่างกลางทำให้เกิดเป็นพรหม อย่างสูงทำให้ไม่เกิดอีกเลย ทุกท่านที่รักษาอุโบสถ จึงควรรักษาอริยอุโบสถ ดำเนินรอยตามพระอริยะ ส่วนผลที่ได้รับจะสูงต่ำเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเอง รวมทั้งปัญญาบารมีที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่ปางก่อนด้วย[/SIZE]​




    [/SIZE][/SIZE]


    </PRE>[/SIZE]
     
  5. เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ

    มาถือศีล ๘ อุโบสถ กันเถิดครับ
     
  6. ถนอม021 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,098
    ค่าพลัง:
    +3,163
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

    ถนอม สุพัตรา ถกนธ์ พร้อมครอบครัวและญาติมิตร
     
  7. chargath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +158
    ปีนี้ตั้งใจถือศีล 8 ทุกวันพระค่ะ ตอนนี้ก็เริ่มถือศีล 8 แล้ว ตื่นมา สมาทานศีลเอง แล้วก็พยายามรักษาศีลทั้ง 8 ข้อให้ถึงเช้าวันรุ่งขึ้น
    โดยส่วนตัวไม่ได้กลัวว่าจะอดข้าวเย็น เพราะถ้าตามปกติตื่นมาตอนเช้าทานข้าว เที่ยงทานข้าว ตอนเย็นมักจะไม่ค่อยหิว ลองสังเกตุดูสิค่ะ โดยส่วนใหญ่ที่หิว เพราะตอนเช้าทานน้อย หรือไม่ได้ทานข้าว

    แต่ กลัวศีลจะขาดเรื่องที่นอน เรื่องการบันเทิงเริงรมย์ ไม่ฟังเพลง ไม่เปิดทีวี ปิดทุกอย่าง แต่ก็กลัวพลาดนะค่ะ เพราะเปิดเน็ต คือต้องค้นข้อมูล ค้นเอกสารต่างๆ แต่ก็พยายามไม่ chat ถ้าคุย จะแค่คุยเพื่อตอบปัญหา หรือคุยเรื่องที่เป็นสาระ เรื่องคุยเล่นๆจะพยายาม บอกเพื่อนว่า ไม่สะดวกคุย เราถือศีล 8 โดยส่วนใหญ่ จะเข้าใจ ก็จะอนุโมทนาด้วย และจะไม่ชวนคุย

    ใครที่ตั้งใจถือศีล 8 ขอให้พยายามกันนะค่ะ
    ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
     
  8. CLUB CHAY เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    507
    ค่าพลัง:
    +1,412
    ขอร่วมอนุโมทนาบุญกุศลกับทุกรูปทุกนามที่ช่วยกันทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองครับ สาธุ
     
  9. dooperty Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +65
    ถืออุโบสถ อย่างกลาง พร้อมธุดงค์ 2ข้อ เป็นประจำ .......ปกติศีล5
    ใส่บาตรพระทุกวัน

    ครอบครัวมดแก้ว ขอร่วมอนุโมทนาด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้