"สกลนคร"แอ่งธรรมะแห่งอีสาน

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คนมีกิเลส, 27 มกราคม 2008.

  1. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    "พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม"
    เป็นคำขวัญประจำ จ.สกลนคร ซึ่งขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองพุทธศาสน์ มีพระธาตุ ๕ แห่ง ประกอบด้วย ๑.พระธาตุเชิงชุม ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ ๒๔ เมตร ยอดฉัตรทองคำ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ น้ำหนัก ๒๔๗ บาท



    ๒.พระธาตุภูเพ็ก ตั้งอยู่ที่ อ.พรรณานิคม องค์พระธาตุ สร้างด้วยศิลาแลง สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    ๓.พระธาตุศรีมงคล ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุศรีมงคล ต.บ้านธาตุ อ.วาริชภูมิ
    ๔.ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อ.เมือง ปรางค์สร้างด้วยหินทราย บนฐานศิลาแลง มีทับหลังจำหลักภาพ พระกฤษณะฆ่าสิงห์ ในรูปแบบศิลปะเขมร แบบปาปวน



    และ ๕.เทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์ (วัดถ้ำขาม) ดำริสร้างโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ณ ลานหินวัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    นอกจากนี้ จ.สกลนคร ยังได้รับการขนานนามว่าเป็น "แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังจะเห็นหลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นถิ่นกำเนิด และพำนักของพระอริยสงฆ์ที่สำคัญ เป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยหลายท่าน อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น
    ขณะเดียวกัน จ.สกลนคร ยังถือว่า เป็นแหล่งอารยธรรมสามพันปีด้วย โดยเฉพาะ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย (วัดชัยมงคล) ค้นพบ ณ วัดชัยมงคล อ.สว่างแดนดิน



    นับเป็นแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยวัฒนธรรมเดียวกันกับ บ้านเชียงตอนกลาง คือ ประมาณ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปี และยังปรากฏหลักฐานมีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง มาทุกยุคสมัย ไม่ว่ายุคทวารวดี ล้านช้าง จนถึงปัจจุบัน <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    สำหรับงานบุญใหญ่ประจำจังหวัด ที่รู้จักกันทั่วประเทศ คือ "ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง" ทั้งนี้จะจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา ระหว่างวันขึ้น ๑๒-๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี
    ในตอนกลางคืนของวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ก่อนวันแห่ขบวนปราสาทผึ้ง ชาวคุ้มต่างๆ จะนำปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ประดับโคมไฟหลากสี มาตั้งประกวดแข่งขันกัน ณ สนามมิ่งเมือง เพื่อให้ประชาชนได้ชมความสวยงามอย่างใกล้ชิด



    จากนั้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ จะเป็นวันแห่ขบวนปราสาทผึ้ง ที่ตกแต่งอย่างวิจิตรสวยงามของคุ้มวัดต่างๆ แห่ไปตามถนนในเขตเทศบาล ไปสู่ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ปราสาทผึ้งแต่ละขบวน จะนำมาตั้งไว้เป็นพุทธบูชา ณ บริเวณวัดพระธาตุเชิงชุม ด้วยความศรัทธาของชาวอีสานที่เชื่อว่า ในเทศกาลออกพรรษา พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อมาโปรดเวไนยสัตว์ ในโลกมนุษย์ให้พ้นทุกข์ <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>
    ตามตำนานการตั้งเมือง เมืองหนองหานหลวง ในอดีต หรือ สกลนคร ในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2008
  2. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976

    [​IMG]


    อนุโมทนาครับ
    ผมคนสกลนคร ถิ่นมั่นในพุทธธรรมครับ
    สกลนครเรามีแหล่งท่องเที่ยวธรรมะเป็นอย่างดีครับ
    พระอริยเจ้าก็เยอะ เพราะพ่อแม่ครูอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น มาเป็นแม่ทัพธรรมพระกรรมฐานอยู่มี่วัดป่าหนองผือนาใน สกลนครแห่งนี้ครับ
    ดังคำขวัญจังหวัดสกลนครที่มา
    "พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง
    งามลื่อเลื่องหนองหาร และตระการปราสาทผึ้ง
    สวยสุดชึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม"

    พระอริยเจ้าก็เยอะ ทั้งเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ อัฐบริขาร ของพ่อแม่ครูอาจารย์เยอะครับ ล้วนแล้วแต่เป็นเจดีย์พระอรหันต์ทั้งนั้น
    ไม่ว่าจะเป็น
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดสมพร
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดถ้ำขาม
    หลวงปู่วัน อุตโม วัดถ้ำพวง
    หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก
    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์
    หลวงปู่บุญ ชินวังโส วัดป่าศรีสว่างแดนดิน
    หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร วัดป่าศรีสำราญ
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดคำประมง
    หลวงปู่อุ่น กัลยาณธัมโม วัดศรีอุดมรัตนาราม
    หลวงปู่แตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม
    ฯลฯ มีอีกเยอะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2008
  3. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    น่าไปเที่ยวเนอะ ขอบคุณค่ะ อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  4. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มิถุนายน 2008
  5. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]


    ประตูประติมากรรมหนองหารหลวง
    ลานรวมน้ำใจไทสกล เฉลิมพระเกียรติ 75 พรรษา ตั้งเด่นประหนึ่งเป็นประตูเมือง อยู่บริเวณทางเข้าตัวเมืองสกลนคร สุดถนนสกลนคร - อุดรธานี ด้านบนเป็นประติมากรรมปูนปั้นปราสาทผึ้ง 3 หลัง ประดิษฐานพระพุทธรูปจำลองหลวงพ่อองค์แสน รูปเหมือนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ฐานล่างเป็นประติมากรรมดินเผา เล่าตำนานของหนองหาร อันเสมือนเป็นศูนย์รวมความศักดิ์สัทธิ์และรวมใจของชาวสกลนคร


    [​IMG]

    พระธาตุนารายณ์เจงเวง

    [​IMG]


    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif][​IMG][/FONT]​


    [​IMG]

    หลวงปู่เทกส์ เทสรังสี
    แต่เดิมท่านจะมาพักจำพรรษาที่วัดถ้ำขามแห่งนี้เป็นเวลานาน
    แทนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร



    [​IMG]

    เจดีย์หลวงปู่เทกส์ เทสรังสี
    วัดถ้ำขาม
    (เทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์)

    [​IMG]

    ทางขึ้นวัดถ้ำขาม


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]

    ต้นจำปาแดงบริเวณวัดถ้ำขาม

    [​IMG]

    ลิงในวัดถ้ำขาม


    [​IMG]

    เจดีย์หลวงปู่เทกส์

    [​IMG]

    ทิวทัศน์เมื่อมองลงมาจากเจดีย์

    [​IMG]

    ด้านข้างเจดีย์

    [​IMG]






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2008
  6. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    วัดดอยธรรมเจดีย์ เป็นวัดที่องค์หลวงตาท่านบรรลุธรรม ใช่วัดนี้หรือเปล่า

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ร่วมสนทนาธรรม ครับ
    สาธุ
     
  7. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    ใช่ครับหลวงตามหาบัว ท่านบรรลุธรรมที่นี่ครับ
    ขออนุโมทนาครับ
    และที่วัดนี้ก็มีหลวงปู่แบน พระอริยเจ้าเป็นเจ้าอาวาสในปัจจุบันครับมากราบท่านได้ครับ
     
  8. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    วัดดอยธรรมเจดีย์ (สำนักปฏิบัติธรรมที่เคร่งครัด)

    [​IMG]



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร
    พระอาจารย์แบน ธนากโร
    เจ้าอาวาสวัดดอยธรรมเจดีย์
    ประวัติหลวงปู่แบน
    หลวงพ่อแบน ธนากโร


    </TD><TD width="50%">
    ตามประวัติคือท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ท่านได้มาสร้างวัดนี้หลังจากที่สร้างวัดป่าวิสุทธิธรรมหลังจากหลวงปู่มั่นได้ย้ายสถานที่จำพรรษา จากวัดป่าวิสุทธิธรรม ไปที่วัดป่าบ้านหนองผือ ปัจจุบันมีท่านเจ้าคุณพระภาวนาวิสุทธิญาณเถร หรือท่านพระอาจารย์แบน ธนากโร เป็นเจ้าอาวาส ถึงแม้ว่าตามประวัติหลวงปู่มั่นจะไม่ปรากฏว่าหลวงปู่มั่นเคยมาแวะปฏิบัติธรรมที่นี่ แต่ท่านพระอาจารย์พยุงได้ให้ความเห็นว่าหลวงปู่ท่านน่าจะเคยแวะมาพักที่นี่เพราะแถบนี้ก็มีวัดป่าที่ท่านมาแวะพักเป็นประจำหลายวัด ท่านจึงน่าจะได้เคยพักที่นี่ แต่อาจเป็นระยะเวลาไม่นานจึงไม่ได้มีการบันทึกไว้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    พวกเราไปกราบพระที่ศาลา พบพระอาจารย์ท่านหนึ่งท่านได้เตือนข้าพเจ้าว่าเข้าวัดให้ถอดหมวก เป็นการลืมนึกถึงมารยาทในการเข้าวัดของข้าพเจ้าเอง ท่านได้ซักถามว่ามาวัดนี้มีจุดประสงค์ใด ข้าพเจ้าได้กราบเรียนองค์ท่านไปว่าจะมาสืบหาประวัติหลวงปู่มั่นในถิ่นนี้ องค์ท่านได้เมตตาแนะนำว่าการศึกษาประวัติหลวงปู่ที่ดีที่สุดคือการภาวนาตามคำสอนของท่าน และการปฏิบัติธรรมก็อย่าพกกล้องมาด้วยจะเป็นภาระในการภาวนาเปล่าๆ ซึ่งผมก็ได้น้อมนำไปปฏิบัติต่อไป

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    ประตูทางเข้าวัด

    </TD><TD>[​IMG]
    ศาลากลางน้ำ
    </TD></TR><TR><TD height=101>[​IMG]
    ไตรโลกนาถ พระ

    </TD><TD height=101>[​IMG]
    ทิวทัศน์บนยอดเขา
    </TD></TR><TR><TD height=102>[​IMG]
    กุฏิหลวงตามหาบัว
    ที่ท่านเคยมาพักบำเพ็ญเพียรจิตภาวนา

    </TD><TD height=102>[​IMG]
    ทางเดินจงกรมหลวงตามหาบัว

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พวกเราได้เดินชมวัดซึ่งเป็นเส้นทางเดินขึ้นเขาที่ไม่สูงนัก ทั้งสองข้างทางจะเป็นต้นไม้ใหญ่ๆ อุดมสมบูรณ์มาก มีกล้วยไม้เกาะตามต้นไม้ใหญ่ๆ ออกดอกสวยงาม มีกุฏิไม้หลังเล็กๆ กลมกลืนกับธรรมชาติหลายหลัง กระแตในวัดก็มีจำนวนมากและเชื่องด้วย ระหว่างทางจะมีป้ายติดบอกว่าเป็นเขตสงฆ์ที่มีพระกำลังภาวนา ให้อยู่ในความสงบดังนั้นสถานที่แห่งนี้จึงไม่เหมาะสมนักที่จะมาเที่ยวเล่นตามอำเภอใจที่จะทำลายความสงบของวัดได้ พวกเราจึงต้องสำรวมระวังมากที่สุด เมื่อเดินไปถึงยอดเขาซึ่งประดิษฐาน "พระไตรโลกนาถ" คือ พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ และพระปางป่าเลไลย์ซึ่งบันทึกไว้ว่าท่านพระอาจารย์แบนและนายวัน คมนามูล อุบาสกท่านสำคัญที่อุปฐากคณะพระกรรมฐานเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 ใกล้ๆ กันนั้นคือ กุฏิและทางเดินจงกรมที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนได้เคยพักบำเพ็ญเพียรที่นี่ ณ บริเวณนี้มีทัศนียภาพที่สวยงามมาก มองไปเห็นตัวเมืองสกลนครได้ พวกเราชอบใจสถานที่ตรงนี้มากจึงได้แวะนั่งสมาธิกันที่นี่สักพัก แล้วจึงเดินลัดไปที่เจดีย์ของวัดดอยธรรมเจดีย์ ได้เข้าไปกราบที่ชั้นล่างของเจดีย์ซึ่งประดิษฐาน พระพุทธบาทจำลอง ปฏิมากรรมหินแกะสลักขนาดเท่าองค์จริงรูปหลวงปู่มั่นกับท่านพระอาจารย์กงมา และรูปวาดท่านพระอาจารย์แบน ส่วนชั้น 2 และ 3 นั้นปิดมิได้ขึ้นไป แล้วจึงออกจากวัดเวลา 11.00 น.


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    เจดีย์
    </TD><TD>[​IMG]
    ศาลาในเขตปฏิบัติธรรมสำหรับฆราวาส

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2008
  9. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=700 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD width="100%" height=19><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]รูปหล่อหลวงปู่มั่นภายในพิพิธภัณฑ์ [/FONT]​

    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความเป็นมาของวัด[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หลวงปู่เสาร์ กันตสีลเถระ กับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ได้รับการอาราธนาจาก อุบาสิกาสามพี่น้อง ได้แก่ นางนุ่ม, นางนิล ชุวานนท์ และนางลูกอินทร์ วัฒนสุชาติ ผู้มีความเลื่อมใสในพระอาจารย์ทั้งสอง มาจำพรรษา ณ เสนาสนะป่าบ้านบาก ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ต่อมาจึงได้จัดสร้างเป็นวัดป่าสุทธาวาสในเวลาต่อมา [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภายหลังที่ท่านจากภาคเหนือมาจำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จ.อุดรธานีแล้ว คณะศรัทธาชาวสกลนครได้กราบอาราธนาท่านมาจำพรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาสอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๘๔ แล้วท่านจึงไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก จวบจนวาระที่ท่านใกล้มรณภาพจึงได้มาทิ้งขันธ์ ณ วัดป่าสุทธาวาสใน พ.ศ. ๒๔๙๒[/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วาระนิพพาน ณ วัดป่าสุทธาวาส[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หลังจากที่ท่านพักอาพาธที่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ๑๑ วันแล้ว คณะศิษย์นุศิษย์ได้อาราธนาองค์หลวงปู่มั่นนอนในเปลพยาบาลแล้วนำท่านขึ้นรถเพื่อมาพัก ณ วัดป่าสุทธาวาส ออกเดินทางแต่เช้าถึงวัดป่าสุทธาวาสประมาณเกือบ ๑๒ นาฬิกา จากบันทึกของหลวงตาทองคำ จารุวณฺโณผู้อุปฐากองค์หลวงปู่มั่นในช่วงอาพาธได้บันทึกเหตุการณ์ในช่วงที่องค์ท่านมรณภาพไว้ในหนังสือ " บันทึกวันวาน " ไว้ดังนี้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"... จากพรรณานิคม ถึงวัดป่าสุทธาวาส สกลนคร เกือบ ๑๒ นาฬิกา เพราะทางหินลูกรังกลัวจะกระเทือนมาก ท่านฯ ก็หลับมาตลอด นำท่านฯ ขึ้นกุฏิ ศิษย์ผู้ใกล้ชิดก็มี ผู้เล่า ท่านวัน ท่านหล้า ผู้จัดที่นอนให้ท่านฯ ได้ผินศีรษะไปทางทิศใต้ ปกติเวลานอนท่านฯ จะผินศีรษะไปทางทิศตะวันออก ด้วยความพะว้าพะวัง จึงพากันลืมคิดที่จะเปลี่ยนทิศทางศรีษะของท่านฯ[/FONT]
    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พิพิธภันธ์บรรจุอัฐบริขารหลวงปู่มั่น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สร้างบนสถานที่ที่หลวงปู่มั่นมรณภาพ* [/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระพุทธรูปที่หลวงปู่มั่นเคยบูชาเป็นประจำ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ที่วัดป่าบ้านหนองผือท่านประดิษฐ์ฐานรองด้วยองค์ท่านเอง [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์[/FONT]

    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. เศษ ท่านฯ รู้สึกตัวตื่นตื่นขึ้นจากหลับ แล้วพูดออกเสียงได้แต่อือๆ แล้วก็โบกมือเป็นสัญญาณ แต่ไม่มีใครทราบว่าท่านฯ ประสงค์สิ่งใด มีสามเณรรูปหนึ่งอยู่ที่นั้น เห็นท่าอาการไม่ดี จึงให้สามเณรอีกรูปไปนิมนต์พระเถระทุกรูป มีเจ้าคุณจูม พระอาจารย์เทสก์ พระอาจารย์ฝั้น เป็นต้น มากันเต็มกุฏิ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เท่าที่สังเกตดู ท่านใกล้จะละสังขารแล้ว แต่อยากจะผินศีรษะไปทางทิศตะวันออก ท่านพลิกตัวไปได้เล็กน้อย ท่านหล้า ( พระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต ) คงเข้าใจ เลยเอาหมอนค่อยๆ ผลักท่านไป ผู้เล่าประคองหมอนที่ท่านหนุน แต่ท่านรู้สึกเหนื่อยมาก จะเป็นการรบกวนท่านฯ ก็เลยหยุด ท่านฯ ก็เห็นจะหมดเรี่ยวแรง ขยับต่อไปไม่ได้ แล้วก็สงบนิ่ง ยังมีลมหายใจอยู่ แต่ต้องเงี่ยหูฟัง ท่านวันได้คลำชีพจรที่เท้า ชีพจรของท่านเต้นเร็วชนิดรัวเลย รัวจนสุดขีดแล้วก็ดับไปเฉยๆ ด้วยอาการอันสงบ[/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เป็นอันว่าอวสานแห่งขันธวิบากของท่านฯ ได้สิ้นสุดลงแล้ว ท่ามกลางศิษย์จำนวนมาก ในเวลาประมาณ ๐๒.๐๐ น. เศษๆ ณ วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร เหลือไว้แต่ผลงานของท่านมากมายเหลือคณานับ ..."[/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภายหลังจึงได้มีการฌาปนกิจศพของท่าน และประชุมเพลิงศพ ณ วัดแห่งนี้ เมื่อวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ๒๔๙๓ ต่อมาจึงได้สร้างอุโบสถในบริเวณที่ประชุมเพลิง และพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่นตรงบริเวณกุฏิที่องค์ท่านมรณภาพ [/FONT]


    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]( ชมประมวลภาพประวัติศาสตร์วันประชุมเพลิงศพหลวงปู่มั่น คลิ๊ก )[/FONT]​



    </TD><TD width="50%">[​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อุโบสถวัดป่าสุทธาวาส*[/FONT]
    สร้างตรงสถานที่ถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>[​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระอัฐิธาตุหลวงปู่มั่นประดิษฐานภายในพิพิธภัณฑ์[/FONT]

    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]บริขารและเครื่องใช้ต่างของหลวงปู่มั่นภายในพิพิธภัณฑ์[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อัฐิธาตุหลวงปู่หลุย จันทสาโร[/FONT]



    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สภาพในปัจจุบัน[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วัดป่าสุทธาวาสในปัจจุบันกลายสภาพเป็นวัดป่ากลางเมือง เป็นสำนักเรียนสำคัญของพระภิกษุสงฆ์ในสกลนคร ปูชนิยสถานสำคัญภายในวัดนอกจากอุโบสถและพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่นแล้ว ก็ยังมี "จันทสารเจติยานุสรณ์" เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จนฺทสาโรอีกด้วย โดยเจดีย์นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชกระแสว่า[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้ มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านจะได้อยู่ใกล้กัน"[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบเจดีย์องค์นี้ ด้วยพระองค์เอง พระราชทาน[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จันทสารเจติยานุสรณ์ บรรจุอัฐิธาตุ[/FONT]
    หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร*[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]บริขารหลวงปู่หลุย [/FONT]
    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ยาประจำตัวหลวงปู่หลุย[/FONT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    [​IMG]



    [​IMG]

    ตามผมไปชมอาคารพิพิธภัณฑ์บริขารกันก่อนครับ



    [​IMG]

    ด้านหน้าอาคารที่ออกแบบมาได้อย่างสง่าและสวยงาม

    [​IMG]

    ซุ้มเข้าไปดูการแกะสลักเป็นรูปหลวงปู่ครับ



    [​IMG]

    รูปปั้นหลวงปู่มั่นอยู่ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    รายละเอียดที่นี่
    http://www.luangpumun.org
    ( อ่านบันทึกการเดินทางที่นี่ บันทึกตามรอยธรรมหลวงปู่มั่น 3 วันในสกลนคร )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2008
  10. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    อัฐิหลวงปู่มั่นที่กลายเป็นเพชรครับ มหัศจรรย์อภินิหารจริง ๆ ครับ

    [​IMG]


    [​IMG]

    หลวงปู่มั่น จะเคารพตัวอักษร และสนใจอ่านหนังสือมาก เพราะท่านถือว่าเป็นสื่อนำความรู้ทางธรรมะแก่ผู้อ่านได้รู้ และปฏิบัติตาม ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างหนังสือธรรมะเล่มต่างๆ ที่อยู่ในกุฎิท่าน ตามภาพ



    [​IMG]

    จริง ๆ แล้วในพิพิธภัณฑ์มีสิ่งที่น่าชมและติดตามเยอะ ซึ่งผมยกตัวอย่างภาพเครื่องใช้ประจำวันของหลวงปู่เป็นฉากหนึ่งในนั้นครับ


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]





    [​IMG]





    [​IMG]

    เจดีย์บรรจุพระอัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย จันทสาโร ครับ

    ประวัติการสร้างเจดีย์ "จันทสารเจติยานุสรณ์" ว่าเจดีย์สร้างขึ้นบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย จันทสารเถระ (พ.ศ.2444-2532) ผู้ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ หลวงปู่หลุยฯ เป็นผู้ที่มีปฏิปทา ชอบจาริกไปในที่ต่าง ๆ ตลอดจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน เมื่อท่านมรณภาพ และได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสว่า "ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนครที่วัดนี้ มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านจะได้อยู่ใกล้กัน"

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบเจดีย์องค์นี้ ด้วยพระองค์เอง พระราชทาน


    [​IMG]

    ภายในเจดีย์มีรูป 3 พระอาจารย์คือ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต, พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร

    [​IMG]

    ส่งท้ายกับภาพรถบัสที่มาเข้ามาจอดส่งนักท่องเที่ยวภายในวัดครับ รอติดตามชมพาไปเที่ยววัดต่อไปครับ[​IMG]
    ขออนุโมทนาครับ
     
  11. อิสวาร์ยาไรท์

    อิสวาร์ยาไรท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,608
    ค่าพลัง:
    +1,955
    आपका बहुत बहुत धन्यवाद
     
  12. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=700 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD width="100%" height=19>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    บรรยากาศภายในวัดป่ากลางโนนภู่*

    </TD><TD width="50%">ความเป็นมาของวัด

    พระอาจารย์ฉลวย ( หลวงปู่ฉลวย สุธมฺโม วัดป่าวิทยาลัย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มรณภาพแล้ว ) ได้เดินธุดงค์ไปนมัสการหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ก่อนจะเข้าไปถึงวัดปากทางคือบ้านของนายอ่อน โมราราษฎร์ อุปฐากผู้ให้ที่พักและคอยรับส่งผู้ที่จะเข้าไปยังวัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์ฉลวยได้ไปอาศัยพักเช่นกัน นายอ่อนได้กล่าวถึงสถานที่บริเวณบ้านกุดก้อมว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เคยกล่าวว่า ที่นั้นมีทำเลอันดีเหมาะสมที่จะสร้างวัด พระอาจารย์ฉลวยจึงขอให้นายอ่อนพาไปดู จึงพบว่าเป็นสัปปายะเหมาะแก่การภาวนาจริง จึงได้สร้างเสนาสนะขึ้นนายอ่อนก็ได้ถวายที่ดินของตนเพิ่มเติมด้วยจึงได้เป็นวัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ในเวลาต่อมา โดยมีพระอาจารย์ฉลวยเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาท่านได้นิมนต์ พระอาจารย์กู่ ธมฺมธินฺโน มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>วาระสุดท้ายก่อนนิพพาน ณ ศาลาพักอาพาธ วัดป่าบ้านกลางโนนภู่
    ภายหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ แล้ว อาการป่วยขององค์หลวงปู่มั่นหนักขึ้นทุกวัน องค์ท่านทราบถึงความเป็นไปในอนาคตแล้วปรารภที่จะไปมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาสในเมืองสกลนคร จึงได้มีการจะนำท่านไปยังวัดป่าสุทธาวาส โดยอาราธนาท่านพักบนคานหามแวะพักที่ศาลาหลังเล็กวัดป่าบ้านกลางโนนภู่ก่อนเป็นเวลา ๑๑ วัน การที่ท่านมาพักที่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่นี้ก็เพื่อโปรดนายอ่อน โมราราษฎร์ผู้สร้างวัดนี้และยังเป็นโยมที่คอยช่วยเหลือองค์ท่านที่วัดป่าบ้านหนองผือตลอดระยะเวลา ๕ ปี

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภาพชุดประวัติศาสตร์ขณะอาราธนาองค์หลวงปู่มั่นขึ้นคานหามจากวัดป่าบ้านหนองผือสู่วัดป่ากลางโนนภู่[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จัดแสดงอยู่บนศาลาพักอาพาธ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ[/FONT]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>จากบันทึกของหลวงตาทองคำ จารุวณฺโณผู้อุปฐากองค์หลวงปู่มั่นในช่วงอาพาธได้บันทึกเหตุการณ์ในช่วงที่ท่านมาพักอาพาธไว้ในหนังสือ " บันทึกวันวาน " ไว้ดังนี้
    "... เป็นเวลา ๑๑ วันที่ท่านได้พักอยู่ วัดกลางบ้านภู่ อันเป็นวัดที่โยมอ่อน โมราราษฎ์ เป็นผู้สร้าง โยมอ่อนเป็นผู้มีศรัทธารับสิ่งของต่างๆ ที่ส่งมาจากกรุงเทพฯ เชียงใหม่ จันทบุรี โดยทางพัสดุไปรษณีย์บ้าง ฝากคนมาส่งบ้าง ส่งถึงวัดป่าบ้านหนองผือตลอดระยะเวลา ๕ ปี ผู้เล่าคิดว่าท่านพระอาจารย์ คงจะเห็นอุปการะส่วนนี้ อันเป็นวิสัยของนักปราชญ์ จึงมาพักฉลองศรัทธาของโยมอ่อน
    บรรดาพระสงฆ์ที่เป็นศิษย์ทั้งพระเถระ อนุเถระทั้งไกลทั้งใกล้ ได้มาดูแลปฏิบัติเป็นจำนวนร้อย ต่างพักหมู่บ้านใกล้เคียง มีหนองโดก ม่วงไข่ บะทอง เป็นต้น ส่วนวัดกลางบ้านภู่ไม่ต้องกล่าวถึง นอกกุฏิ ตามร่มไม้ ริมป่า ปักกลดเต็มไปหมด
    ทางราชการมีท่านนายอำเภอพรรณานิคมเป็นประธาน ก็ได้ประกาศเป็นทางการให้ชาวพรรณา ฯ ทุกตำบล หมู่บ้าน ขอให้มาช่วยกันดูแล เพื่อความสะดวกสบายแก่พระสงฆ์เป็นจำนวนร้อยๆ นั้น อาหารบิณฑบาต ที่พัก น้ำปานะเพียงพอไม่มีบกพร่อง อาการเจ็บป่วยของท่านพระอาจารย์ ดูจะทรุดลงเรื่อยๆ ตัวร้อนเป็นไข้ไอจะสงบ ก็เป็นครั้งคราว พอให้ท่านได้พักบ้าง
    บรรดาศิษย์ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ได้มีการประชุมกัน มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เป็นประธาน ความว่าจะให้ท่านมรณภาพที่นี่ หรือที่สกลนคร มติในที่ประชุมเห็นว่า ให้ท่านฯ มรณภาพที่นี่แล้วค่อยนำไปสกลฯ โดยให้พระมหาทองสุกไปจัดสถานที่คอย ที่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ศาลาพักอาพาธด้านหน้า* [/FONT]
    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ทางขึ้นศาลาพักอาพาธ[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]แค่หามหลวงปู่มั่น*[/FONT]
    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]นิทรรศการบนศาลา*[/FONT]​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    คืนวันที่ ๑๑ ที่มาพักวัดกลางบ้านภู่ เวลาตีสามเห็นจะได้ ท่านพระอาจารย์มีอาการไม่สบายมาก ท่านโบกมือขวาบอกว่าไปสกลฯ ไปสกลฯ จนอาการทุเลาลง คณะคิลานุปัฎฐาก ( ผู้ปฏิบัติภิกษุไข้ ) ก็ทำการเช็ดตัว ถวายน้ำล้างหน้า เช็ดหน้า ห่มผ้า ก็รุ่งสว่างพอดี
    อาหารบิณฑบาตพระป่วยก็นำมา ผู้เล่าตักถวาย ท่านอาจารย์วันประคองข้างหลัง อาหารช้อนแรก ท่านเริ่มเคี้ยวพอกลีนได้ครึ่งหนึ่ง ก็มีอาการไอ ไอ ไอติดต่อกัน อาหารช้อนแรกยังไม่ได้กลีนก็ต้องคายออก
    ตักถวายช้อนที่สอง ท่าน ยังไม่ได้เคี้ยวเกิด ไอ ไอ ไอใหญ่ ท่านคายลงกระโดนแล้วบอกว่า
    " เรากินมา ๘๐ ปีแล้ว กินมาพอแล้ว "
    ผู้เล่าถวายน้ำอุ่นให้ดื่มเพื่อระงับอาการไอ
    ท่านบอกว่า " เอากับข้าวออกไป "
    ผู้เล่าอ้อนวอนท่าน อีก " เอาอีกแล้ว ทองคำนี้ พูดไม่รู้จักภาษา บอกว่า เอาออกไป มันพอแล้ว " ก็จำใจนำออกไป
    พอท่านบ้วนปากเสร็จ จึงเข้าไปประคองแทนท่านอาจารย์วัน ท่านบอกว่า " พลิกเราไปด้านนั้นทางหน้าต่างด้านใต้ " แล้วบอกว่า " เปิดหน้าต่างออก "
    ผู้เล่ากราบเรียนว่า " อากาศยังหนาวอยู่ สายๆ จึงค่อยเปิด "
    "เอาอีกแล้ว ทองคำนี้ไม่รู้ภาษาจริงๆ บอกว่าให้เปิดออก หูจาวหรือจึงไม่ได้ยิน"
    พอเปิดหน้าต่างออกไป อะไรได้คนเต็มไปหมดทั้งบริเวณ ประมาณได้เป็นร้อยๆ คน ทุกคนที่มาจะเงียบหมดไม่มีเสียงให้ปรากฏ ถ้าเราอยู่ที่ลับตาจะไม่รู้ว่ามีคนมาทุกคนก้มกราบประนมมือ
    ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า
    "พวกญาติโยมพากันมามาก มาดูพระเฒ่าป่วยดูหน้าตาสิ เป็นอย่างนี้ละญาติโยมเอ๋ย ไม่ว่าพระไม่ว่าคน พระก็มาจากคน มีเนื้อมีหนังเหมือนกัน คนก็เจ็บป่วยได้ พระก็เจ็บป่วยได้ สุดท้ายก็คือ ตาย ได้มาเห็นอย่างนี้แล้วก็จงพากันนำไปพิจารณา เกิดมาแล้ว ก็แก่ เจ็บ ตาย แต่ก่อนจะตาย ทานยังไม่มีก็ให้มีเสีย ศีลยังไม่เคยรักษาก็รักษาเสีย ภาวนายังไม่เคยเจริญ ก็เจริญให้พอเสีย จะได้ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ด้วยความไม่ประมาท นั้นละจึงจะสมกับที่ได้เกิดมาเป็นคน เท่านี้ละ พูดมากก็เหนื่อย" นี้คือ โอวาทที่ท่านฯ ให้ไว้แก่ชาวพรรณานิคมตั้งแต่นั้นจนวาระสุดท้ายท่านไม่ได้พูดอักเลย ..."
    ภายหลังญาติโยมทางวัดป่าสุทธาวาสได้จัดรถมารับองค์ท่านและมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาสในคืนวันนั้นเอง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=77>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ทางเข้าวัดป่ากลางโนนภู่ [/FONT]
    </TD><TD height=77>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระประธานในวิหาร*[/FONT]
    </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เจดีย์ที่เก็บอัฐิพระอาจารย์กู่ ( ซ้าย ) พระอาจารย์กว่า ( ขวา )[/FONT]
    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิพระอาจารย์กว่า สุมโน อดีตเจ้าอาวาส[/FONT]​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>สภาพในปัจจุบัน
    วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ในปัจจุบันยังคงอนุรักษ์ศาลาที่พักอาพาธนี้ไว้ และยังได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงบริขารยามอาพาธโดยมีหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโนได้เมตตามาเปิดและรับผ้าป่าช่วยชาติ บริขารยามอาพาธอันได้แก่อันได้แก่ แคร่ มุ้ง อันเป็นส่วนประกอบของคานหามที่ได้ใช้อาราธนาองค์ท่านมาจากวัดป่าบ้านหนองผือ มาที่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่แห่งนี้ นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับชีวประวัติหลวงปู่มั่น ภาพถ่ายต่างๆ และพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ และของอดีตเจ้าอาวาส คือ พระอาจารย์กู่ ธมฺธินโน กับ พระอาจารย์กว่า สุมโน เสนาสนะที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ อนุสรณ์สถานที่เจดีย์บรรจุอัฐิพระอาจารย์กู่ ธมฺธินโน กับ พระอาจารย์กว่า สุมโน กุฏิที่พระอาจารย์กว่าสุมโนเคยจำพรรษา
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระอาจารย์ฉลวย สุธมฺโม[/FONT]
    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระอาจารย์กู่ ธมฺมธินฺโน[/FONT]
    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระอาจารย์กว่า สุมโน[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สามพระอาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ากลางโนนภู่[/FONT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>ส่วนสภาพในวัดปัจจุบันยังคงความร่มรื่นร่มเย็น สมกับเป็นสถานที่ที่องค์หลวงปู่มั่นเลือกจะมาพักอาพาธ ณ สถานที่นี่
    ปัจจุบันมีพระอาจารย์ประจักษ์ ขนฺติโก เป็นเจ้าอาวาส

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=700 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD width="100%" height=19><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่นบนกุฏิ[/FONT]
    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความเป็นมาของวัด[/FONT]
    เมื่อครั้งที่องค์หลวงปู่มั่นพำนัก ณ เสนาสนะป่าบ้านห้วยแคน ขณะนั้นท่านพระอาจารย์หลุย ( หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ) จำพรรษาอยู่ที่ บ้านหนองผือนาใน พระอาจารย์หลุยได้แนะนำชาวบ้านหนองผือให้อาราธนาหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่นี่ ชาวบ้านจึงได้เดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่น ณ บ้านห้วยแคน ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือในเวลาต่อมา ติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๕ พรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๒ ( อ่านรายละเอียดได้ที่ ความเป็นมาของวัดป่าบ้านหนองผือ และ ปกิณกธรรม )[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในอดีตองค์ท่านไม่เคยจำพรรษาซ้ำที่ไหนเป็นปีที่ ๒ เลย การที่ท่านจำพรรษาที่นี่นานเป็นพิเศษนั้น พระอาจารย์วิริยังค์ได้บันทึกถึงสาเหตุไว้ในหนังประวัติพระอาจารย์มั่นไว้ดังนี้[/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]" ... ในการที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือนี้ มีความประสงค์เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่เข้ามาศึกษา เป็นการเปิดโอกาสแก่บรรดาพระภิกษุสามเณร และเพื่อให้เข้าใจในธรรมยิ่งๆ ขึ้น กับทั้งการแสดงธรรมนั้นยังความชื่นชมและแก้ความสงสัยให้อย่างไม่มีข้อแย้ง ซึ่งคล้ายกับว่าท่านจะรู้จักกาลแห่งสังขารธรรมจักอยู่ไปไม่ได้นาน ใคร่จะสอนให้แก่บรรดาศิษย์เป็นผู้เข้าใจในธรรมอันควรที่จะพึงรู้พึงเข้าใจ สืบแทนท่านได้เป็นหลักฐานแก่คณะกัมมัฎฐานต่อไป ... เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นได้พักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือตลอดระยะเวลา ๕ ปี ก็มีประโยชน์ที่ได้วางแผนงานขั้นสุดท้ายให้แก่คณานุศิษย์และพระคณาจารย์ของท่าน ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการเป็นทายาทของท่านอย่างยิ่ง ... "[/FONT]</TD><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ศาลาหลวงปู่มั่น[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD height=15>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ*[/FONT]​
    </TD><TD height=15>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เตียง ธรรมมาสน์ และเก้าอี้ภายในกุฏิ
    หลวงปู่หล้า เขมปตฺโตเป็นผู้ต่อถวาย
    [/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD height=19>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ศาลาโรงฉันหลวงปู่มั่น[/FONT]
    </TD><TD height=19>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิที่หลวงตามหาบัวเคยจำพรรษา*[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สภาพวัดป่าบ้านหนองผือในสมัยนั้น หลวงพ่อชา สุภัทฺโธได้เล่าถึงบรรยากาศในช่วงที่ท่านมาศึกษาธรรมปฏิบัติกับองค์หลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือไว้ในหนังสือ " ใต้ร่มโพธิญาณ " ดังนี้[/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ทางเดินจงกรมหลวงปู่มั่น
    ที่ข้างกุฏิหลวงปู่
    [/FONT]​
    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"...ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปันพวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ ไปกราบครูบาอาจารย์มั่น...[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ไปพบท่าน แล้วก็เห็นสภาพวัดวาอารามของท่าน ถึงจะไม่สวยงาม แต่ก็ สะอาดมาก พระเณรตั้งห้าสิบหกสิบ เงียบ! ขนาดจะถากแก่นขนุน (แก่นขนุนใช้ต้มเคี่ยว สำหรับย้อมและซักจีวร) ก็ยังแบกเอาไปฟันอยู่โน้น.. ไกล ๆ โน้น เพราะกลัวว่าจะ ก่อกวนความสงบของหมู่เพื่อน... [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พอตักน้ำทำกิจอะไรเสร็จ ก็เข้าทางจงกรม ของใครของมัน ไม่ได้ยินเสียง อะไร นอกจากเสียงเท้าที่เดินเท่านั้นแหละ
    บางวันประมาณหนึ่งทุ่ม เราก็เข้าไปกราบท่านเพื่อฟังธรรม ได้เวลาพอ สมควรประมาณสี่ทุ่มหรือห้าทุ่มก็กลับกุฏิ เอาธรรมะ ที่ได้ฟังไปวิจัย... ไปพิจารณา [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อได้ฟังเทศน์ท่าน มันอิ่ม เดินจงกรมทำสมาธินี่... มันไม่เหน็ดไม่เหนื่อย มันมีกำลังมาก ออกจากที่ประชุมกันแล้วก็เงียบ! บางครั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน เพื่อนเขาเดิน จงกรมอยู่ตลอดคืนตลอดวัน จนได้ย่องไปดูว่าใครท่านผู้นั้นเป็นใคร ทำไมถึงเดินไม่หยุดไม่พัก นั่น... เพราะจิตใจมันมีกำลัง..." [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%" height=265>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จึงถือได้ว่าวัดป่าบ้านหนองผือในสมัยนั้นเปรียบดั่งมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนา โดยมีองค์หลวงปู่มั่นเป็นพระอาจารย์ใหญ่ มีหลักสูตรคืออริยมรรคและธุดงควัตร มีกฏระเบียบคือพระธรรมวินัย ข้อวัตรต่างๆ มีปริญญาคือความพ้นทุกข์เป็นหลักชัยตามแนวทางแห่งพระบรมครูพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรดาพระอาจารย์ท่านต่างๆ ที่ได้หลั่งไหลมาศึกษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือนี้ ก็คือครูบาอาจารย์พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พระอริยสัจธรรมในเวลาต่อมานั่นเอง[/FONT]</TD><TD width="50%" height=265>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิพระอาจารย์วิริยังค์[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%" height=255>
    [​IMG][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    ทางเดินภายในวัด*[/FONT] ​
    </TD><TD width="50%" height=255>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สภาพวัดป่าบ้านหนองผือในปัจจุบัน
    วัดป่าบ้านหนองผือ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า " วัดภูริทัตตถิราวาส " ซึ่งเป็นนามที่ตั้งโดยท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) ตามฉายาของหลวงปู่มั่น เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์แก่องค์ท่านที่ได้เมตตาจำพรรษาที่นี่นานที่สุด ในปัจจุบันเสนาสนะต่างๆ ในสมัยหลวงปู่มั่นก็ยังคงรักษาและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ได้แก่ กุฏิพร้อมทางเดินจงกรม ศาลาโรงธรรม ศาลาฉันภัตตาหาร และของใช้เล็กๆ น้อยๆ ขององค์ท่าน สภาพบรรยากาศวัดก็ยังคงความสงบวิเวกอยู่เช่นเดิม ป่าไม้ยังคงสภาพสมบูรณ์มีกุฏิกรรมฐานซ้อนตัวอยู่จุดต่างๆ ภายในวัด ภายใต้ร่มไม้ที่เปรียบดั่งหลังคาธรรมชาติร่มเย็นตลอดทั้งวัน เป็นรมมณียสถานสำหรับการภาวนาอีกแห่งหนึ่งสำหรับนักปฏิบัติทั้งหลาย
    [/FONT]</TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ประดิษฐานบนศาลาใหญ่ วัดป่าบ้านหนองผือ[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>

    [​IMG]
    ศาลาในเขตสังฆาวาส*
    </TD><TD>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ศาลาใหญ่หลังปัจจุบัน [/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]บิณบาตยามเช้า*[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ
    เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
    [/FONT]​
    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ปัจจุบันมีท่านพระครูสุทธธรรมมาภรณ์ ( พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ ) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านยังคงรักษาข้อวัตรต่างๆ ไว้เช่นเดียวกับสมัยหลวงปู่มั่น รวมถึงพยายามจำกัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้มีแต่พอดี เพื่อให้วัดแห่งนี้ยังคงสภาพเดิมต่อไป[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในทุกวันที่ ๑๐ - ๑๑ พฤศจิกายนของทุกปีจะมีจัดงาน วันน้อมรำลึกครบรอบคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งในงานจะได้มีการแสดงพระธรรมเทศนาปฏิบัติธรรมเพื่อน้อมรำลึกถึงองค์หลวงปู่[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลวงตามหาบัว ยกย่องชาวหนองผือดังนี้

    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    [​IMG]


    [​IMG]
     
  14. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=700 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิหลวงปู่มั่น ณ เสนาสนะป่าบ้านนาสีนวล*[/FONT]
    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]คว[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ามเป็นมาของเสนาสนะป่าบ้านนาสีนวล[/FONT][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT][/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระจำพรรษา ณ วัดป่านาคนิมิตต์ บ้านนามน ภายหลังจากปวารณาออกพรรษาแล้วองค์ท่านได้จาริกมาพำนัก ณ บ้านนาสีนวลซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนามนประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นเวลา ๘ เดือน จากบันทึก "ใต้สามัญสำนึก" โดย พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกเกี่ยวกับการมาพำนักที่บ้านนาสีนวลไว้ดังนี้ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]" ... ท่านปรารภที่จะออกไปจากวัดป่าบ้านนามน เพื่อความสงบตามอัธยาศัยในที่ไม่ไกลจากวัดป่าบ้านนามนนี้เท่าไรนัก มีบ้านหนึ่งชื่อบ้านนาสีนวล อยู่ใกล้เขาภูพาน บ้านนี้มีวัดร้างอยู่วัดหนึ่งไม่ไกลจากบ้าน มีกุฏิหลังเดียว ท่านได้เลือกเอาวัดร้างนี้เป็นที่พัก ได้ออกจากวัดป่าบ้านนามนกับผู้เขียน และมีพระติดตาม ๒ รูป ตาผ้าขาว ๑ คน[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]การมาอยู่บ้านนาสีนวลนี้ถือว่าเป็นการพักผ่อนของท่าน ตามธรรมดาท่านก็พักผ่อนอยู่แล้วไม่ว่าอยู่ที่ไหน แต่การอยู่ในหมู่บ้านใหญ่ พระภิกษุสามเณรก็จะมาพักเพื่อศึกษามาก เป็นการกังวลในการดูแลแนะนำสั่งสอน เมื่อมาอยู่บ้านนาสีนวล พระภิกษุสามเณรมาอยู่มากไม่ได้ เพราะเป็นบ้านเล็ก จึงถือว่าเป็นการพักผ่อน ในกาลบางครั้งพระภิกษุสามเณรผู้อยู่โดยรอบไม่ไกลนัก ก็ถือโอกาสเข้ามานมัสการเพื่อรับโอวาทจากท่านเป็นครั้งคราว..."[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]และยังมีเหตุการณ์สำคัญ คือ องค์ท่านอาพาธด้วยโรคมาเลเรีย ท่านได้อนุญาตให้พระอาจารย์วิริยังค์จำวัดในห้องเดียวกับท่านได้เพื่อจะได้อุปฐากอาการอาพาธของท่านอย่างใกล้ชิดซึ่งองค์ท่านไม่เคยอนุญาตให้ใครมาก่อนเลย ในช่วงนี้เองที่พระอาจารย์วิริยังค์ได้สังเกตกิจวัตรในช่วงอาพาธขององค์หลวงปู่มั่นบันทึกไว้ใน " ใต้สามัญสำนัก " ดังนี้[/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิหลวงปู่มั่นถ่ายจากด้านหน้า*[/FONT]​
    </TD><TD>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิหลวงปู่มั่นถ่ายจากด้านหลัง*[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิหลวงปู่มั่นด้านมุมระเบียง[/FONT]​
    </TD><TD>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ช่องลมเหนือหน้าต่าง* [/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD height=191>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ห้องภายในกุฎิ* [/FONT]​
    </TD><TD height=191>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]
    ลวดรายบริเวณหน้าจั่ว[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ชั้นบนกุฏิ [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]"... ข้าพเจ้าต้องอัศจรรย์มากทีเดียว ในขณะที่ได้เข้าไปอยู่ในห้องเดียวกับท่าน คือเห็นท่านตื่นตอนตี ๓ ( ๓.๐๐ น. ) ทุกวันเลยทีเดียว ผู้เขียนก็ได้ตั้งใจและคอยระวังอยู่ จึงตื่นพอดีกับท่าน เพื่อคอยปฏิบัติในขณะที่ท่านตื่นขึ้นล้างหน้า[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ต่อจากนั้นก็นั่งกัมมัฎฐานไปจนตลอดแจ้ง ผู้เขียนคิดว่าท่านก็กำลังป่วยยังไม่หายสนิท แต่ทำไมจึงยังบำเพ็ญกัมมัฏฐาน พักเพียง ๔ - ๕ ชั่วโมงเท่านั้นและยิ่งคิดหนักต่อไปว่า ก็ในเมื่อท่านได้บำเพ็ญมาอย่างหนักแล้ว และรู้ธรรมเห็นธรรมตามสมควรแล้ว เหตุไฉนท่านยังมิละความเพียรของท่านเลย อันที่จริงท่านไม่ต้องทำก็เห็นจะไม่เป็นไร เพราะท่านทำมามากพอแล้ว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ซึ่งในวันหนึ่งผู้เขียนอดไม่ได้ต้องถามท่านว่า " ท่านอาจารย์ครับ ขณะนี้ท่านอาจารย์ก็ไม่ค่อยสบาย ควรจะได้พักผ่อนให้มากกว่านี้ จะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น " แต่แล้วก็ได้รับคำตอบว่า " ก็ยิ่งไม่สบาย คนเรามันใกล้ตาย ก็ต้องยิ่งทำความเพียรโดยความไม่ประมาท แม้เราจะเป็นผู้ได้รับการฝึกฝนมามากแล้ว แต่ก็ต้องทำและยิ่งมีความรู้สึกภายในว่าต้องทำให้มาก เช่นเดียวกับเศรษฐี แม้จะมีทรัพย์มาก ก็ยิ่งต้องทำมาก วิริยังค์ สมาธิมันเป็นเพียงสังขารไม่เที่ยงหรอก ความจริงแห่งสัจธรรมจึงจะเป็นของเที่ยง และการกระทำความเพียรนี้ยังชื่อว่าทำเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์ทั้งหลายด้วย " ทำเอาผู้เขียนขนลุก ปิติซู่ซ่าไปหมด ทั้งคิดว่าท่านแม้จะมีคุณธรรมสูง ท่านก็มิได้เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว ยังต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อบุคคลอื่นอย่างน่าสรรเสริญ ... "[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]นอกจากหลวงปู่มั่นแล้วยังมีหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโทได้มาจำพรรษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๖ - ๒๔๘๙ อีกด้วย[/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ซุ้มประตูวัดศรีคูณไชย
    ในปัจจุบัน
    [/FONT]​
    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สภาพในปัจจุบัน
    เสนาสนะป่าบ้านนาศรีนวลปัจจุบันอยู่ในบริเวณวัดศรีคูณไชย ซึ่งเป็นวัดบ้าน ในปัจจุบันกุฏิที่องค์หลวงปู่มั่นได้มาพำนักยังคงมีอยู่ มีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา สังเกตได้ว่ายังได้รับการดูแลที่ไม่ดีนัก หลายส่วนชำรุด พื้นไม้กระดานผุมากต้องใช้ความระมัดระวังในการขึ้นมาสำรวจ หลังคาที่มุงแผ่นไม้มีมีรอยรั่วอยู่ทั่วไป แต่กุฏิหลังนี้ก็ยังคงความงดงามอยู่จัดได้ว่าเป็นกุฏิที่มีศิลปกรรมการแกะสลักไม้ที่สวยงามมาก ควรได้รับการดูแลและบูรณะอย่างเร่งด่วนเพื่อมิให้ชำรุดไปมากกว่านี้และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป พื้นที่ส่วนใหญ่ในวัดเป็นทุ่งโล่งกว้างภายในวัดมีเสนาสนะคือศาลาการเปรียญและกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างขึ้นในภายหลัง
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หากเดินทางมาวัดนี้ ให้เดินทางมาตามเส้นทางสู่วัดดอยธรรมเจดีย์ เมื่อถึงวัดดอยฯ แล้วให้เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านนาสีนวลอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดศรีคูณไชยอยู่ทางซ้ายมือ[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=700 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD width="100%" height=2803><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]รูปหล่อหลวงปู่มั่น บนกุฏิ[/FONT]
    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความเกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่มั่น[/FONT]
    ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระได้จากเสนาสนะป่าบ้านโคกมาพำนัก ณ บ้านนามน ในปัจจุบันคือ วัดป่านาคนิมิตต์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์เนียมสหธรรมมิกของพระอาจารย์กงมา ( ประวัติสังเขปของพระอาจารย์เนียม
    คลิ๊ก ) อยู่ห่างจากบ้านโคกประมาณ ๔ กิโลเมตร สถานนี้เป็นป่าธรรมชาติ มีพรรณไม้ต่างๆ เช่น ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้รัง และไม้อื่นๆ แม้จะอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านแต่ก็เป็นป่ารกชัฏเหมาะแก่การทำความเพียร [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในปีนี้ได้มีการประชุมพระคณาจารย์กันโดยมิได้นัดหมายมิได้มีการอาราธนาหรือบอกกล่าวแต่อย่างใด ได้แก่ หลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์ทองสุข สุจิตฺโต, หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร เป็นต้น ท่านทั้งหลายนั้นได้มาสู่สถานที่นี้ โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นจุดมุ่งหมาย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการประชุมที่อัศจรรย์ เนื่องจากพระคณาจารย์เหล่านี้ไม่ต้องมีพิธีการต้อนรับหรือต้องเกรงใจ หรือต้องทำระเบียบการประชุมเรื่องของบประมาณค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด[/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=198>
    [​IMG]
    </TD><TD height=198>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิหลวงปู่มั่น ณ วัดป่านาคนิมิตต์[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในการมาของคณาจารย์เหล่านี้ล้วนเป็นพระเถระผู้ใหญ่ และผู้น้อยติดตามจึงเป็นเหตุให้การประชุมรวมตัวของคณะสงฆ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างล้นเหลือ โดยหลวงปู่มั่นได้วางนโยบายสำคัญๆ ทั้งทางด้านปกครอง และด้านการปฏิบัติกรรมฐาน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความเป็นมาของวัด[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความเป็นมาของวัดแห่งนี้จากบทสัมภาษณ์ พระอาจารย์อว้าน เขมโกจากหนังสือบูรพาจารย์พอสรุปได้ว่า เดิมวัดแห่งนี้หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รุกขมูลผ่านมาก่อน ต่อมาหลวงปู่มั่น ได้รุกขมูลมาตามเส้นทางของหลวงปู่เสาร์และแวะพักที่นี่ หลวงปู่มั่นเห็นว่าสถานที่นี้สัปปายะ ท่านจึงปรารภกับญาติโยมว่า "คิดจะสร้างเป็นวัด" จึงได้มีการยกที่ดินถวายท่าน และสร้างเสนาสนะแบบชั่วคราวพอได้อยู่อาศัย แล้วท่านจึงเดินธุดงค์ต่อไปทางภาคเหนือ ๑๒ ปี หลังจากนั้นท่านจึงมาจำพรรษาที่นี่เป็นครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในครั้งนี้ชาวบ้านนามนได้สร้างกุฏิถวายองค์ท่าน รุ่งเช้าของวันที่ได้เริ่มต้นก่อสร้างปรากฏ หลวงปู่มั่นได้ชี้บอกโยมว่า "นั่นแหละ พญานาคทำรอยไว้ให้แล้ว" ชาวบ้านไปดูเป็นรอยกลมๆ จึงนำรอยนั้นเป็นหมายในการขุดหลุมตั้งเสากุฏิ ต่อมาเมื่อจะสร้างศาลาก็ปรากฏรอยนี้อีกจึงได้ลงเสาศาลาในลอยนั้นเช่นกัน ท่านจึงพูดกับโยมว่า "วัดนี้ชื่อว่าวัดป่านาคนิมิตต์" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดป่าบ้านนามนตามชื่อหมู่บ้านนั้น ต่อมาเมื่อได้จดทะเบียนชื่อวัด จึงได้ใช้มงคลนามที่หลวงปู่มอบให้นี้เป็นชื่อวัด

    สถานที่นี้ยังเป็นที่กำเนิดบันทึกพระธรรมเทศนาที่สำคัญของหลวงปู่มั่น คือ " มุตโตทัย " ที่บันทึกครั้งแรก ณ วัดนี้ โดยพระอาจารย์วิริยังค์ ได้เล่าถึงความเป็นมาไว้ในบันทึกใต้สามัญสำนึก ประวัติของท่านดังนี้
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]" ... เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นฯ แล้วไพเราะจริงๆ ทำให้ผู้เขียนนั่งกัมมัฏฐานได้รับความสงบใจตามที่ได้มาฟังธรรมของท่าน ซึ่งธรรมเทศนานั้นได้เกิดรสชาติที่ซาบซึ้งหาอะไรเปรียบไม่ได้อีกแล้ว ผู้เขียน ( พระอาจารย์วิริยังค์ ) คิดในใจว่า ทำไมจึงดีอย่างนี้ มันสุดแสนจะพรรณา ทำให้ผู้เขียนระลึกถึงคนอื่นๆ ต่อไปว่า เราจำเป็นที่จะต้องบันทึกธรรมเทศนาของท่านอาจารย์มั่นฯ ให้ได้ เพราะถ้าเราไม่บันทึก ต่อไปธรรมเทศนาอันวิเศษนี้ก็จะหายสูญไปอย่างน่าเสียดาย และธรรมเทศนาเช่นนี้จะพึงแสดงได้ก็แต่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ เท่านั้น รูปอื้นถึงแสดงก็ไม่เหมือน จึงทำให้ผู้เขียนได้พยายามอย่างยิ่งที่จะเขียนบันทึกธรรมเทศนาของท่านให้ได้และก็เป็นผลสำเร็จขึ้นเป็นอันดับแรก เพราะยังไม่เคยมีใครบันทึกธรรมเทศนาของท่านเลย[/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิพระอาจารย์วิริยังค์
    จำพรรษาและบันทึก "มุตโตทัย"
    [/FONT]
    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เป็นที่น่าสังเกต ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ท่านไม่เคยยอมให้ใครบันทึกธรรมเทศนาของท่านโดยเป็นหนังสือเลย มีแต่จำกันใส่ใจเท่านั้น ถ้าใครจะบันทึกด้วยหนังสือจะต้องถูกท่านดุและประนาฌเอาทีเดียว แต่ผู่เขียนได้ขโมยเขียนและยอมทุกสิ่งทุกอย่างเพราะรักและชอบและเลื่อมใสสุดหัวใจแล้ว ท่านจะดุด่าประฌามผู้เขียนยอมทุกอย่าง ขออย่างเดียวให้ได้บันทึกธรรมเทศนาเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นต่อไปภายหลังที่ไม่ได้ฟังจากท่าน แต่ได้อ่านในหนังสือเล่มนี้ ส่วนพระภิกษุสามเณรที่ไปอยู่กับท่านต่างก็กลัวเช่นนี้ จึงไม่มีใครกล้าจะเขียนธรรมเทศนาของท่าน จึงเป็นอันว่าผู้เขียนได้กล้าเสี่ยงอันตรายครั้งงสำคัญทีเดียวในการบันทึกธรรมเทศนา เรื่องนี้เกิดความสำเร็จแก่ผู้เขียนอย่างเต็มภาคภูมิ คือตลอดพรรษานี้ ผู้เขียนได้บันทึกเทศนาตลอดไตรมาส ซึ่งก็สำเร็จขึ้นเป็นเล่มในชื่อ " หนังสือ มุตโตทัย "[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หลังจากผู้เขียนได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านแล้ว ก็พยายามทำเป็นความลับไว้ตลอดเวลา วิธีการที่ผู้เขียนทำสำเร็จนั้นคือ เมื่อเวลาท่านแสดงธรรม พยายามกำหนดไว้ในใจอย่างมั่นคง เพราะขณะนั้นความจำของผู้เขียนยังอยู่ในการใช้ได้ เมื่อท่านแสดงธรรมจบแล้วผู้เขียนยังต้องมีหน้าที่ถวายการนวดอีกไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง เมื่อถวายการนวดเสร็จแล้ว ก็รีบกลับที่พักจับปากการีบเขียนธรรมเทศนาของท่าน ก่อนความจำนั้นจะเลื่อนลางไป ตอนนี้ผู้เขียนจะบอกอะไรสักอย่าง ว่าเป็นเรื่องที่น่าคิดหนักหนา ตอนนั้นอยู่ในระหว่างสงคราม ปากกา - ดินสอ - น้ำหมึกไม่ต้องหา ไม่มีใช้ เผอิญผู้เขียนมีปากกาอยู่ ๑ ด้ามติดตัวไป น้ำหมึกไม่มี ผู้เขียนต้องคิดตำราทำน้ำหมึกใช้โดยเอาผลสมอไทย ผลมะเหลื่อม ผลมะขามป้อม เอามาจำแช่น้ำ แล้วเอาเหล็กที่มีสนิมมากเช่นผาลไถนาแช่ลงไปด้วย เมื่อแช่ ๒ - ๓ วันได้ที่แล้ว เอามากรองด้วยผ้าบางจนใสแล้วก็เอาเขม่าติดก้นหม้อสีดำใส่เข้าไปคนจนเข้ากันดีแล้วกรองอีก คราวนี้ก็เอามาใช้ได้ผล ข้าพเจ้าได้ใช้มันจนเขียนได้เป็นเล่ม แต่เวลาเขียนมันจะไม่แห้งทันที ต้องรอนานกว่าจะแห้ง [/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]
    [/FONT]​
    </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]
    ศาลาใหญ่
    [/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]
    บรรยากาศภายในวัด
    [/FONT]​
    </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]
    ประตูทางเข้าวัด
    [/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ข้าพเจ้าได้ทำอยู่อย่างนี้ คือฟังเทศน์เสร็จแล้วถวายการนวด เสร็จแล้วกลับมาเขียนหนังสือตลอดเวลา ๓ เดือน การแสดงธรรมของท่านมิได้แสดงทุกๆ คืน ในที่สุดข้าพเจ้าทำงานเสร็จ สมกับคำปณิธานที่ได้ตั้งไว้ แล้วก็พยายามทำความลับไว้มิได้แพร่งพรายให้ผู้ใดทราบถึงการกระทำของข้าพเจ้าเลยแม้แต่คนเดียว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อความสนิทสนมผู้เขียนกับท่านอาจารย์มั่นฯ นับวันแต่จะสนิทยิ่งขึ้นท่านได้ให้พรพิเศษ เมตตาพิเศษ แนะนำพิเศษ จนผู้เขียนหายความหวาดกลัวเหมือนอย่างแต่ก่อน

    อยู่มาวันหนึ่งผู้เขียนคิดว่า ก็ธรรมเทศนาที่เราเขียนแล้วนั้นจะปิดเป็นความลับไว้ทำไม เปิดเผยถวายท่านเสียดีกว่า ท่านจะกินเลือดกินเนื้อเราก็ให้รู้ไป จึงเป็นอันว่าผู้เขียนได้นำเอาเนื้อความอ่านเล่าถวาย ท่านจึงเอะใจขึ้นว่า "นี่วิริยังค์คุณไปเขียนแต่เมื่อไร" จากนั้นท่านก็ไม่ว่าอะไร และท่านก็ยอมรับว่า การบันทึกนี้ถูกต้อง โล่งอกโล่งใจข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง นึกว่ายังไงเสียคงโดนด่าหลายกระบุงแต่ท่านกลับให้ความร่วมมือเป็นอย่างน่าอัศจรรย์ ..."
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%" height=181>
    [​IMG]
    [​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หลวงปู่อว้าน เขมโก
    เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
    [/FONT]
    ประวัติ
    หลวงปู่อว้าน เขมโก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=700 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="42%">
    [​IMG]
    กุฏิหลวงปู่มั่น
    </TD><TD width="50%">ประวัติความเป็นมาของวัด
    ภายหลังจากอยู่จำพรรษาในภาคเหนือเป็นเวลา ๑๒ ปีแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เป็นเวลา ๓ พรรษา แล้วจึงมาพำนักที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ตรงที่เป็นบริเวณวัดร้างชายป่า ใกล้บ้านโคกในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ในปัจจุบันคือที่ว่าการอำเภอโคกศรีสุพรรณ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญได้ทราบข่าวการจำพรรษาของหลวงปู่มั่นจึงเดินทางจากจันทบุรีเข้ามานมัสการหลวงปู่มั่น ซึ่งบ้านโคกแห่งนี้คือบ้านเดิมของพระอาจารย์กงมาเอง พระอาจารย์กงมาได้พยายามแนะนำชาวบ้านให้พากันเลื่อมใสในธรรม จนบรรดาญาติมิตรเดิมของท่านก็ได้พากันเลื่อมใสปฏิบัติธรรมกันมากขึ้นเป็นลำดับ เท่ากับท่านได้มาโปรดญาติโยมของท่านอีกด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>องค์ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านโคกกับพระอาจารย์กงมา ๑ พรรษา และพระ เณรรูปอื่นๆ ได้แก่ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน( หลวงตาได้มอบตัวเป็นศิษย์และอยู่ฝึกหัดกัมมัฎฐานกับหลวงปู่มั่นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ),พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท ( ปัจจุบันคือ หลวงปู่เจี๊ยะ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทา ปทุมธานี มรณภาพแล้ว ), พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันคือพระเทพเจติยาจารย์ (หลวงปู่วิริยังค์) วัดธรรมมงคล กทม.), พระพระอาจารย์สิงห์ จากบ้านหนองหลวง, พระอาจารย์พา, พระอาจารย์ทองปาน, พระอาจารย์สวัสดิ์, สามเณรอุ่น ( ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดร้างแห่งนี้ โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยเป็นสามเณรรูปสุดท้ายที่หลวงปู่มั่นบรรพชาให้ ปัจจุบันคือหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม มรณภาพแล้ว), สามเณรอี๊ด
    ในระหว่างนี้พระอาจารย์กงมาได้พยายามวางรากฐานให้มีวัดป่าในแถบบ้านโคกนี้ ได้สร้างวัดใหม่อยู่ห่างจากที่เก่าประมาณ ๑ กิโลเมตร เนื่องจากที่เก่าอยู่ใกล้ทางสัญจรไปมาของผู้คน จึงไม่ค่อยสงบ เมื่อมาอยู่ที่ใหม่นี้ชาวบ้านจึงถวายที่ตั้งวัด ได้สร้างศาลาและกุฏิถวายหลวงปู่มั่น ตั้งชื่อสำนักสงฆ์นี้ว่า "วัดป่าวิสุทธิธรรม" เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๔๘๕ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่หลวงปู่มั่นได้มาจำพรรษา ณ บ้านโคก อันเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์กงมา ส่วนหลวงปู่มั่นได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามนซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 2 กิโลเมตรในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่วัดป่าวิสุทธิธรรมตามที่พระอาจารย์กงมาได้อาราธนานิมนต์ ในพรรษานี้มีพระเณรจำพรรษาร่วมกับท่าน ได้แก่ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร, พระอาจารย์หลอด ปโมทิโต( ปัจจุบันคือ พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ) วัดสิริกมลาวาส กทม. ), พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม, พระอาจารย์คำดี, พระอาจารย์มนู, พระอาจารย์บุญ, เณรดี, เณรได
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    ศาลาโรงธรรม ( ก่อนบูรณะ)**

    </TD><TD>
    [​IMG]
    ศาลาโรงธรรม ( หลังบูรณะ พ.ศ. ๒๕๔๗ )
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ณ วัดป่าวิสุทธิธรรมแห่งนี้ หลวงปู่มั่นท่านได้ใช้ศาลาโรงธรรมที่พระอาจารย์กงมาสร้างขึ้นเป็นที่แสดงธรรมเทศนาอบรมศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัท รวมทั้งเป็นที่ประชุมสงฆ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนของคณะกัมมัฎฐานให้ถูกต้อง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    กุฏิหลวงปู่มั่น สภาพในปัจจุบันภายหลังจากบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    ศาลาโรงธรรมหลวงปู่มั่น สร้างโดยพระอาจารย์กงมา
    </TD><TD>
    [​IMG]
    ศาลาโรงธรรมหลังปัจจุบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ภายหลังเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ พระอาจารย์กงมาจึงได้สร้างวัดป่าอีกแห่งหนึ่งคือ วัดดอยธรรมเจดีย์ และมอบวัดป่าวิสุทธิธรรมให้กับพระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโมซึ่งมีศักดิ์หลานชายของท่านดูแลวัดต่อมาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ สืบต่อจากพระอาจารย์กงมา จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    ใต้ต้นไม้อันเป็นสถานที่ถ่ายรูปหลวงปู่มั่นยืน

    </TD><TD>
    [​IMG]
    หลวงปู่มั่น ในอริยาบถยืน
    </TD><TD>
    [​IMG]
    ทางเดินจงกรมเก่าหลวงปู่มั่น
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม
    </TD><TD>
    [​IMG]
    อัฐิธาตุหลวงปู่อุ่นในเจดีย์พิพิธภัณฑ์
    </TD><TD>
    [​IMG]
    บริขาร
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]
    พระพุทธชินราชจำลองภายในเจดีย์
    [/FONT]
    </TD><TD width="50%">
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]
    รูปหล่อหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม
    [/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่น
    ประดิษฐาน ณ วัดป่าวิสุทธิธรรม
    [/FONT]​
    </TD><TD width="50%">สภาพในปัจจุบัน
    ในปัจจุบันทางวัดยังได้อนุรักษ์กุฏิและศาลาหลวงปู่มั่นที่หลวงปู่กงมาสร้างขึ้น โดยกุฏิได้มีการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ บนกุฏิมีรูปหลวงปู่มั่นประดิษฐาน ส่วนศาลาได้การทำการบูรณะโดยแปลงเป็นอุโบสถแต่ยังได้รักษาสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุดบนภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองและ หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่น บริเวณด้านหน้าศาลายังมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม อดีตเจ้าอาวาส ภายในเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง รูปหล่อขององค์หลวงปู่ บริขารบางส่วนและอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ที่มีลักษณะเป็นสีขาวมันคล้ายงาช้าง
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ
    เจ้าอาวาสรูปแรก
    [/FONT]​
    </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม
    เจ้าอาวาสรูปที่ ๒
    [/FONT]​
    </TD><TD>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พระครูกิตติสารประสาธน์
    ( พระอาจารย์ประสงค์ กิตติสาโร )
    เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
    [/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นอกจากนี้บริเวณด้านขวาของศาลายังมีต้นค้อต้นใหญ่ยืนต้นอยู่ ใต้ร่มไม้มีแท่นก่ออิฐถือปูนที่เป็นที่นั่งภาวนาของหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม และยังเป็นทางเดินจงกรมเก่าของหลวงปู่มั่นด้วย ซึ่งทางวัดได้ทำศาลาครอบทางเดินจงกรมหลวงปู่มั่นไว้ และใต้ต้นค้อนี้ยังเป็นที่ที่หลวงปู่มั่นถ่ายรูปยืนอีกด้วย ปัจจุบันมีพระครูกิตติสารประสาธน์( พระอาจารย์ประสงค์ กิตติสาโร )เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=700 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD width="100%" height=597>
    [​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เนื่องในโอกาสคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺคมหาเถร "วันบูรพาจารย์" ปีที่ ๕๕ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เว็บไซต์หลวงปู่มั่นฯ ขอเชิญร่วม "ตามรอยเส้นทางธรรม ๙ ปีสุดท้ายในสกลนคร หลวงปู่มั่น ภูริทฺตตมหาเถร" ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่องค์ท่านเคยจำพรรษาและพักวิเวกในช่วง ๙ ปีสุดท้ายในชีวิตสมณะในสกลนคร ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๙๒ พร้อมกับเล่าถึงสภาพในปัจจุบันของสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ จากการสำรวจ ๒ ครั้ง ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ ขอเชิญธรรมทัศนา ณ บัดนี้[/FONT]​
    <TABLE borderColor=#99cccc cellSpacing=1 cellPadding=1 width="73%" align=center bgColor=#99cc99 border=1><TBODY><TR><TD noWrap width="42%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๑. วัดป่าวิสุทธิธรรม บ้านโคก[/FONT]</TD><TD noWrap width="58%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และ พ.ศ. ๒๔๘๗[/FONT]</TD></TR><TR><TD noWrap width="42%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๒. วัดป่านาคนิมิตต์ บ้านนามน[/FONT]</TD><TD noWrap width="58%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๖[/FONT]</TD></TR><TR><TD noWrap width="42%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๓. เสนาสนะป่าบ้านนาสีนวล[/FONT]</TD><TD noWrap width="58%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พักวิเวกหลังออกพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๖[/FONT]</TD></TR><TR><TD noWrap width="42%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๔. เสนาสนะป่าบ้านห้วยแคน[/FONT]</TD><TD noWrap width="58%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พักวิเวกในปี พ.ศ. ๒๔๘๘[/FONT]</TD></TR><TR><TD noWrap width="42%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๕. วัดภูริทัตตถิราวาส บ้านหนองผือ[/FONT]</TD><TD noWrap width="58%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ - พ.ศ. ๒๔๙๒[/FONT]</TD></TR><TR><TD noWrap width="42%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๖. วัดป่ากลางโนนภู่ บ้านกุดก้อม[/FONT]</TD><TD noWrap width="58%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พักอาพาธในปี พ.ศ. ๒๔๙๒[/FONT]</TD></TR><TR><TD noWrap width="42%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๗. วัดป่าสุทธาวาส[/FONT]</TD><TD noWrap width="58%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]พักวิเวกในปี พ.ศ. ๒๔๘๔[/FONT]</TD></TR><TR><TD noWrap width="42%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]</TD><TD noWrap width="58%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]มรณภาพในปี พ.ศ. ๒๔๙๒[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ขอขอบคุณและบันทึกการเดินทาง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ขอเชิญทุกท่านร่วมติชมให้คำแนะนำได้ที่ สมุดเยี่ยม ครับ[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (ถ้ำพวง ,ภูเหล็ก)
    บ้านท่าวัด ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    (ท่านพระอาจารย์วัน อุตโม)


    [​IMG]


    [​IMG]

    พระอุดมสังวรวิสุทธิเถระ (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม)
    ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น

    [​IMG]
    พระธาตุพระอาจารย์วัน อุตโม

    [​IMG]


    สังเวชนียสถาน 4 ตำบล

    [​IMG]




    <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]

    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD class=tcat align=middle>ภาพถ่าย เจดีย์วิหารปรินิพพานจำลอง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]

    [​IMG]





    </TD></TR><TR><TD class=tcat align=middle>ธัมเมกขสถูป (ที่แสดงปฐมเทศนา) จำลอง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]

    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD class=tcat align=middle>ภาพถ่ายเจดีย์สิริมหามายา ที่ประสูติ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]

    [​IMG]



    </TD></TR><TR><TD class=tcat align=middle>ภาพถ่ายพระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์จำลอง ณ วัดถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ภาพวัดถ้ำพวง

    [​IMG]

    วิวทิวทัศน์บนถ้ำพวง


    [​IMG]

    เจดีย์พิพิธภัณท่านพระอาจารย์วัน อุตโม
    บรรจุอัฐบริขาร และอัฐิธาตุ

    [​IMG]
    อนุสาวรีย์พระเวชสันดร



    [​IMG]

    ผาดงก่อ

    [​IMG]

    มองลงมาจากถ้ำพวงจะเห็น อ่างเก็บน้ำห้วยหาด


    หัวข้อที่ 00872: ประมวลภาพงานพระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์วัน อุตฺต ...<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD class=j>[SIZE=-1]ภาพ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงนมัสการศพพระอาจารย์วัน ณ วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม เมื่อวันที่ ...[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    และแล้ววันโศกาอาดูล ของพี่น้องชาวพุทธก็มาถึง<B>


    โยมวุฒิชัย เพื่อนรัก
    </B>
    อาตมาตั้งใจจะส่งจดหมายที่เขียนให้โยมสักที เขียนทิ้งไว้หลายฉบับแล้ว กลัวว่าส่งไปทีเดียวหลังสึก มันจะกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่ ไม่ใช่จดหมายถึงเพื่อน จดหมายฉบับนี้อาตมานั่งเขียนในศาลาริมทาง พร้อมขนหนังสือมานั่งอ่านเป็นพะเรอ (แค่ ๒ เล่ม) มั่นใจเต็มร้อยว่า ถ้าเขียนจดหมายหรืออ่านหนังสือที่กุฏิ อาตมาต้องหลับอย่างง่ายดาย รู้ตัวว่าเป็นโรคแพ้หมอน เลยหาทางแก้ไข คราวนี้ถ้าเผลอหลับคาศาลา คงได้อับอายขายหน้าญาติโยมที่ผ่านไปมาแน่


    ขอเล่าถึงวัดที่อาตมาจำพรรษาเพิ่มเติมจากที่เคยบอกไปคร่าว ๆ

    วัดถ้ำพวงเป็นวัดในสาขาเดียวกับวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ระยะห่างประมาณ ๕ กิโลเมตร ทางถนน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมอยู่ตีนเขา วัดถ้ำพวงอยู่บนยอดเขา ส่วนกลางเขามีอีกวัดหนึ่งชื่อวัดถ้ำเป็ด แต่วัดนี้ต้องใช้อีกเส้นทางถึงจะไปได้ ทั้งสามวัดอยู่ในเขตอาวาสเดียวกันบนเขาส่องดาว แต่อาตมาก็ได้ยินชื่อเรียกที่นี่อีกชื่อว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2008
  19. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    วัดป่าแก้วชุมพล
    ต.บ้านชุม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


    [​IMG]

    ภาพองค์หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมวโร (ศิษย์หลวงปู่มั่น)
    วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว อัฐิได้แปเป็นพระธาตุ
    ประวัติพระอาจารย์สิงห์ทองนะครับ
    http://www.dharma-gateway.com/monk/m...ng-hist_01.htm

    [​IMG]


    [​IMG]
    เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่สิงห์ทอง ธัมวโร



    [​IMG]

    ปัจจุบันหลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม
    เป็นเจ้าอาวาส

    ใครที่แวะมาทางเขตอำเภอสว่างแดนดิน ก็อย่าลืมแวะมา
    วัดป่าแก้วชุมพล
    นะครับมากราบเจดีย์หลวงปู่สิงห์ทอง เจดีย์แม่ชีแก้ว และกราบนมัสการหลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม (พระอริยสงฆ์แห่ง อ.สว่างแดนดิน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2008
  20. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาในมหาธรรมทานของคุณแดนโลกธาตุ และท่านที่ร่วมอนุโมทนา
    สาธุ สาธุ สาธุ ดังให้ถึงพระนิพพาน

    เหตุใดหนอ พระสุปะฏิปันโนท่านจึงนัดกันมาบรรลุพระนิพพานที่ภาคอีสานแห่งนี้...?
     

แชร์หน้านี้

Loading...