สติขั้นฝึกฝน และสติปัญญาขั้นอัตโนมัติ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 22 กันยายน 2010.

  1. jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    สติปัฏฐาน

    พระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน


    การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม
    คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง
    ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว
    แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย
    เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จได้
    ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

    ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว
    แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงาม
    และแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จ
    ก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ
    โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

    เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่
    ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ

    แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน
    ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ
    ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

    การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

    การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

    การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

    ทั้งนี้ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน
    การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติ
    ไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ

    เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัย
    ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ
    ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ
    และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจ
    ให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ

    ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น
    เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์
    ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตราย
    ในเวลาใดก็ได้

    จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลา
    จนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตคือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัย
    แก่จิตตลอดสาย ที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์
    ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผล
    จากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้
    การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม
    โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา


    ปัญญาอบรมสมาธิ (ภาคสมาธิ)

    โดย พระอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


    ความจริงการภาวนาเพื่อให้ใจสงบ ถ้าสงบด้วยวิธีปลอบโยนโดยทางบริกรรมไม่ได้
    ต้องภาวนาด้วยวิธีปราบปรามขู่เข็ญ คือค้นคิดหาเหตุผลในสิ่งที่จิตติดข้องด้วยปัญญา
    แล้วแต่ความแยบคายของปัญญา จะหาอุบายทรมานจิตดวงพยศ
    จนปรากฏใจยอมจำนนตามปัญญาว่า เป็นความจริงอย่างนั้นแล้ว
    ใจจะฟุ้งซ่านไปไหนไม่ได้ ต้องหยั่งเข้าสู่ความสงบ เช่นเดียวกับสัตว์พาหนะตัวคะนอง
    ต้องฝึกฝนทรมานอย่างหนักจึงจะยอมจำนนต่อเจ้าของ

    ฉะนั้น ในเรื่องนี้ จะขอยกอุปมาเป็นหลักเทียบเคียง เช่น ต้นไม้บางประเภท
    ตั้งอยู่โดดเดี่ยวไม่มีสิ่งเกี่ยวข้อง ผู้ต้องการต้นไม้นั้นก็ต้องตัดด้วยมีดหรือขวาน
    เมื่อขาดแล้ว ไม้ต้นนั้นก็ล้มลงสู่จุดที่หมาย แล้วนำไปได้ตามต้องการ
    ไม่มีความยากเย็นอะไรนัก แต่ไม้อีกบางประเภท ไม่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว
    ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกิ่งแขนงของต้นอื่นๆ อีกมาก ยากที่จะตัดให้ลงสู่ที่หมายได้
    ต้องใช้ปัญญาหรือสายตาตรวจดูสิ่งเกี่ยวข้องของต้นไม้นั้นโดยถี่ถ้วน
    แล้วจึงตัดต้นไม้นั้นให้ขาด พร้อมทั้งตัดสิ่งเกี่ยวข้องจนหมดสิ้นไป
    ไม้ย่อมตกหรือล้มลงสู่ที่หมายและนำไปได้ตามความต้องการฉันใด
    จริตนิสัยของคนเราก็ฉันนั้น

    คนบางประเภทไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก เพียงใช้คำบริกรรมภาวนา
    พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เป็นต้น บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิลงได้
    กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญา ให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสบาย ที่เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา

    แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้
    จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลง
    สู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา
    เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว
    จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้ และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้
    ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ
    ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น . เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นด้วยอำนาจปัญญา
    อันดับต่อไปสมาธิก็กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญาให้มีกำลังก้าวหน้า
    สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา

    ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส
    อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา
    ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า ทั้งสองนัย

    คือ ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา อย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป
    ให้ตั้งจิตลงสู่ปัจจุบัน คือ เฉพาะหน้า มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้องเป็นอารมณ์เท่านั้น
    เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว
    จึงตรวจสอบกับปริยัติ แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด เพราะจะกลายเป็นความรู้ในแบบ
    ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้

    สรุปความ

    ถ้าจิตสงบได้ด้วยอารมณ์สมถะ คือ คำบริกรรมด้วยธรรมบทใด ก็บริกรรมบทนั้น

    ถ้าจะสงบได้ด้วยปัญญาสกัดกั้นโดยอุบายต่างๆ ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อความสงบเสมอไป

    ผลรายได้จากการอบรมทั้งสองวิธีนี้ คือ ความสงบ และปัญญาอันจะมีรัศมีแฝงขึ้นจากความสงบนั้นๆ




    ส ติ เ ป็ น ข อ ง สำ คั ญ

    พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ)
    วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    สติเป็นของสำคัญ

    เวลามันตั้งไม่ได้อยู่ในวงใน ก็ให้มันอยู่ในวงกาย
    ไม่ได้หนีจากนี้ เป็นสัมปชัญญะอยู่ในนี้

    ระลึก เป็นที่ เป็นฐาน เป็นจุด เป็นต่อม นี่เรียกว่าสติ

    ความระลึกรู้อยู่ทั้งตัว ความรู้ตัว ซ่านไปหมดในตัวนี้ เรียกว่าสัมปชัญญะ

    รู้พร้อม รู้รอบ นี้แหละที่จะไปรวมตัวให้เป็นกำลังขึ้นมา
    กลายมาเป็นมหาสติขึ้นมาได้ เพราะอันนี้รวมตัว

    ถ้าเป็น มหาสติ แล้วตั้งไม่ตั้ง ....มันก็รู้

    มหาสติมหาปัญญาคือปัญญาที่ทำงานภายในตัวเอง โดยไม่ต้องถูกบังคับขู่เข็ญใดๆ นั้น
    เป็นปัญญาที่ควรแก่การรื้อภพรื้อชาติ ได้อย่างมั่นเหมาะ ไม่มีอะไรสงสัย


    ท่านใช้ชื่อว่ามหาสติมหาปัญญา
    ก็ไปตั้งแต่ปัญญาล้มลุกคลุกคลานนี้แล
    จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญาขึ้นมาได้
    เพราะการฝึกการอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอหนุนกันไปเรื่อย
    พิจารณาเรื่อยจนมีกำลังแล้วกลายเป็นอัตโนมัติขึ้นมา



    (บางตอนมาจาก : ธรรมวิสุทธิ์ ใน “มหาสมัยในปัจจุบัน”
    โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)

    คัดลอกจาก vanco พลังจิต และตรงประเด็น ลานธรรมเสวนา
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%94-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%99.241738/
    สติขั้นฝึกฝน VS สติปัญญาขั้นอัตโนมัติ - ลานธรรมเสวนา
     
  2. jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ศาสนาเซนเป็นภาคปฏิบัติขั้นสติปัญญาอัตโนมัติของพุทธศาสนา


    ฝากทีมงานกราบอนุโมทนาสาธุการ ที่หลวงตาเมตตาเปิดเรื่องพระพุทธศาสนาให้ลูกหลานได้เข้าใจ และปฏิบัติถูกตามแนวทาง หลวงตาเทศน์สอนเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเซน ไว้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ศาสนาเซนก็คือภาคปฏิบัติ เป็นขั้นสติปัญญาอัตโนมัติ ทำให้ลูกหลานได้เข้าใจและเป็นพระคุณอันหาประมาณมิได้ที่หลวงตาเปิดธรรมนี้ ให้ลูกหลานได้เข้าใจและน้อมรับมาปฏิบัติตาม (ศิษย์)


    คำตอบ

    เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2546

    เรียน คุณใช้นาม ศิษย์ชาวพุทธ

    หลวงตาได้เมตตาแสดงธรรมตอบคุณเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเซน

    เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้

    โยม : คนที่ ๔ บอกมาว่า ที่หลวงตาเมตตาในเรื่องพุทธศาสนาให้ลูกหลานได้เข้าใจ และปฏิบัติถูกต้องตามแนวทาง หลวงตาเทศน์สอนเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเซน เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ที่ผ่านมา ศาสนาเซนเป็นภาคปฏิบัติเป็นขั้นสติปัญญาอัตโนมัติ ทำให้ลูกหลานได้เข้าใจ

    หลวงตา : สติปัญญาอัตโนมัติของพุทธศาสนาเข้าใจไหม


    โยม : ครับ ทำให้ลูกหลานได้เข้าใจ และเป็นพระคุณอันหาประมาณไม่ได้ที่หลวงตาได้เปิดธรรมะนี้ให้ลูกหลานได้เข้า ใจ และน้อมรับมาปฏิบัติ เขาก็แบบว่ากราบขอบพระคุณหลวงตามาที่หลวงตาได้เมตตา

    หลวงตา : เออ เอาละ ก็ไม่ผิด

    ถ้าใครก้าวเข้าถึงขั้นอันนี้จะว่าเซนก็ได้ จะว่าพุทธเต็มเหนี่ยวก็ได้

    เราก็เคยพูดแล้วว่าเซนนี้ออกจากพุทธ คือเซนนี่ผู้พิจารณาทางด้านปัญญา จิตใจผ่านได้ด้วยพิจารณาทางด้านปัญญา

    ทีนี้พวกที่มาตามหลังก็เลยเอาเรื่องปัญญานี้มาเป็นศาสนาเซนเสียเลย


    ไม่ได้คำนึงถึงว่าผู้หลุดพ้นมาจากแง่ไหน ๆ ของพุทธศาสนา ความจริงเป็นกิ่งก้านของพุทธศาสนาตอนปลาย คือตอนละเอียดเกี่ยวกับวิปัสสนา แล้วก็เลยเอานี้เป็นศาสนาเลย ใครมาปฏิบัติตามศาสนาเซนต้องใช้ปัญญาๆ แล้วผิดไปเลย

    อันนี้ผิด เข้าใจเหรอ


    พิสูจน์ดังที่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนไว้นี้ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ศีล เป็นเครื่องอบรมจิตใจให้อบอุ่นไม่เดือดร้อนวุ่นวาย เพราะเหตุที่ว่าตนทำศีลให้ด่างพร้อยหรือขาดทะลุไป จิตก็ไม่เป็นกังวลเพราะจิตของเราบริสุทธิ์ เวลาเข้าสมาธิจิตก็รวมได้ง่าย เพราะมันไม่วอกแวกไปหาสิ่งระแคะระคายที่เจ้าของทำศีลด่างพร้อย

    นี้พิจารณาทางสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิจิตมีกำลังเต็มเหนี่ยว เรียกว่า จิตในสมาธินี้เป็นจิตที่พอกับอารมณ์ทั้งหลาย ไม่อยากดู ไม่อยากเห็นไม่อยากได้ยินได้ฟัง ไม่หิวโหยในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะจิตเป็นสมาธิมีความสงบตัว ความสงบตัวนี้เป็นอาหารของจิต จิตจึงไม่ไปหาคืบคลานกับอาหารภายนอกซึ่งเป็นฟืนเป็นไฟเผาตัวเอง ทีนี้เวลาจิตเข้าสู่ความสงบนี้จิตก็มีกำลังไม่หิวโหยกับอารมณ์

    พาพิจารณาทางด้านปัญญา เอ้า ทำงานนี้ก็ทำ ทำงานนี้ก็ทำตามสั่ง สั่งให้ทำอะไรก็ทำ เพราะจิตไม่เถลไถลไปหาอารมณ์นั้นนี้ เพราะความหิวโหยในอารมณ์ จิตมันอิ่มอารมณ์แล้วไม่ไป สั่งทำงานอะไรก็ทำ ทีนี้ก็ทำเรื่อยเป็นวิปัสสนาไปเรื่อย นี่ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา สมาธิเป็นเครื่องหนุนปัญญาให้เดินได้อย่างคล่องตัว ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ จิตเมื่อปัญญาได้ซักฟอกแล้วย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ นั่น ๓ ขั้น ถ้าพูดตามบาลีไปเลยก็ว่า สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส ศีลเป็นเครื่องอบรมสมาธิให้มีความแน่นหนามั่นคงมากขึ้น ๆ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา สมาธิเป็นเครื่องอบรมปัญญาให้เดินได้คล่องตัว

    คือ ทีแรกศีลอบรมสมาธิให้มีความสงบเย็นได้เร็ว
    สมาธิมีกำลังแล้วหนุนปัญญาให้เดินได้คล่องตัว
    ทีนี้ปัญญาเป็นเครื่องอบรมจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ

    ต่อเนื่องกันไปอย่างนี้

    นี่ละท่านสอน สอนพระทุกองค์ เวลาบวชแล้วสอนธรรมข้อนี้

    หลวงตา : เรื่องศาสนาพระพุทธเจ้ามีมาก่อนแล้ว

    เรื่องผู้ที่บรรลุพวก ขิปปาภิญญา มีแต่พวกปัญญารวดเร็วผ่านออก ๆ จากพุทธศาสนา ผ่านออก ๆ

    ผู้ที่ไม่รวดเร็วก็หนุนกันไปตั้งแต่ ศีล สมาธิ ไปเรื่อย ๆ

    ผ่านออก ๆ นี่เรียกว่า ศาสนาที่สมบูรณ์แบบคือพุทธศาสนา

    มีทั้ง ก.ไก่ ก.กา มีทั้งประถมมีทั้งมัธยมตลอดดอกเตอร์เข้าใจไหม

    นี่ขึ้นเป็นขั้น ๆ ทีนี้ไปทางโน้นไปหาขั้นดอกเตอร์เลย ผู้ที่ควรแก่ขั้นนั้นมันก็ไปได้

    ผู้ไม่ควรแก่นั้น ก.ไก่ ก.กา มันยังไม่ได้มันจะไปเอาดอกเตอร์มาจากไหน เข้าใจไหม


    นี่ละศาสนาเซนเป็นขั้นดอกเตอร์ของพุทธศาสนา เป็นขั้นที่จะหลุดจะพ้นด้วยปัญญาอยู่แล้ว ก็เท่านั้นละ

    (ทีมงานขออนุโมทนาพร้อมระลึกในพระคุณของหลวงตาและพระพุทธศาสนาเช่นกัน)

    คัดลอกจาก ตรงประเด็น ลานธรรมเสวนา
    สติขั้นฝึกฝน VS สติปัญญาขั้นอัตโนมัติ - ลานธรรมเสวนา
     
  3. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เซ็น ในความหมายของหลวงตา คือ ผู้ที่เข้าถึงพุทธะจริง ยกตัวอย่างเช่น

    พระสารีบุตร พระโมคคัลลา ฟังธรรมพระพุทธองค์เดี๋ยวนั้นก็บรรลุธรรม ทันใด

    นั่นคือ ขั้นมหาสติมหาปัีญญา

    แต่ว่า เซ็นในรูปแบบเดี๋ยวนี้ คือ พวกที่ไม่เอาตำรา พวกที่ไม่ใช้สมถะ ไม่ถือตามพระวินัย แบบนี้ไม่ใช่เซ็นในความหมายของหลวงตา

    ก็เหมือนกับว่า ชาวพุทธ คืออะไร คำถามแบบนี้ก็เหมือนกันกับว่า เซ็นคืออะไร มันอยู่ที่ว่า คนเข้าใจในรูปแบบใด

    แต่ ถ้าในแนวทางแห่ง พระมหากัสสัปปะ บรมครูแห่ง นิกายเซ็น แล้วท่านนี้แหละเป็นผู้ทำสังคยนาพระไตรปิฎก ดังนั้น จะไปถือตาม นิกายเซ็นเดี๋ยวนี้
    ก็จะผิดไปหมด
     

แชร์หน้านี้