-
สติปัฏฐาน-ฐานที่ตั้งของสติ<O:p</O:p
แบ่งออกเป็น ๔ ฐาน คือ<O:p
๑.กาย ร่างกาย(รูป)<O:p</O:p
คือร่างกายของเราทั้งหมด และอิริยาบถรวมทั้งลมหายใจแบ่งเป็นหัวข้อย่อย 6 ประการ<O:p</O:p
๒.เวทนา ความรู้สึก (นาม)<O:p</O:p
คือความรู้สึกสุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย
ทุกข์ใจ และใจที่วางเฉยๆแบ่งตามอาการที่มีสภาวะต่างๆแบ่งเป็นหัวข้อ ย่อย ๙ ประการ<O:p</O:p
๓. จิต ความนึกคิด (นาม)<O:p</O:p
คือ ความนึกคิดที่มีภาวะต่างๆกัน แบ่งเป็นหัวข้อย่อย ๑๖ ประการ<O:p</O:p
๔.ธรรม อารมณ์(รูปและนาม)<O:p</O:p
คืออารมณ์ที่เกิดกับใจในสภาพต่างๆกัน แบ่งเป็นหัวข้อธรรมย่อย ๕ ประการ<O:p</O:p
โดยสรุปความแล้ว<O:p</O:p
สติปัฏฐาน ๔<O:p</O:p
คือ ร่างกายและจิตใจ (เวทนา จิต ธรรม)<O:p</O:p
เป็นวิธีปฏิบัติฝึกจิตที่มีความลึกซึ้ง ละเอียดสมบูรณ์และครอบคลุมการปฏิบัติกรรมฐานอย่างกว้างขวาง<O:p</O:p
การเจริญธรรมตามสติปัฏฐาน ๔ หมายถึง<O:p</O:p
สติความระลึกได้ ร่วมด้วยสัมปชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อมเกิดตามมาด้วยกัน จึงเป็นสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ที่ระลึกรู้ทั่วพร้อมตามความเป็นจริง ในปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดบนฐาน ที่ตั้งแห่งกาย เวทนา ความรู้สึก จิต ความนึกคิด ธรรมอารมณ์ เป็นการทำงานของใจที่เป็นไปตามธรรมชาติที่รู้เท่าทันรู้ดีรู้ชั่วกับอาการกำเริบของกาย เวทนา จิต ธรรม<O:p</O:p
ในฐานะท่านเป็นผู้ปฏิบัติธรรมอยู่ในขั้นพื้นฐานนี้ สัมมาสติความระลึกได้ในทางที่ชอบ จะเป็นองค์ธรรมประคับประคองให้ท่านประกอบสัมมาอาชีพเสริมให้กิจการงานทางโลกเจริญรุ่งเรือง<O:p</O:p
ด้วยการฝึกและปฏิบัติสัมมาสติอยู่เนืองๆ จึงสร้างจิตให้ทำงานในอารมณ์เดียวเป็นภาวะได้สมาธิจิตดิ่งเป็นหนึ่งที่ยังอยู่ในสภาพยึดมั่นถือมั่นซึ่งเป็นพฤติกรรมสัมมาอาชีพชอบที่ยังสะสมอยู่สร้างความรุ่งเรืองให้กับชีวิต<O:p</O:p
และเมื่อฝึกจนแก่กล้าขึ้น ก็จะเป็นการฝึกเจริญสติปัฏฐานเจริญยิ่งขึ้น ตามรู้ตามเห็น จนประทับใจอย่างแน่นแฟ้นลึกซึ้งแล้ว<O:p
สติในเชิงโลกิยะอันเป็นสมาธิจะเข้าเกื้อหนุนอุปการะใจให้เจริญ เกิดดวงตาเห็นทางหลุดพ้นทุกข์เข้าสู่โลกุตรโดยธรรมที่เป็นจริงรู้ชัดทั่วพร้อมกันว่า ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปเป็นสัจจะภาวะสามัญลักษณะของธรรมทั้งปวง เป็นการรู้เท่าทันกับอาการที่กำเริบของฐานทั้ง ๔ นี้ จิตจึงไม่ยินดียินร้ายหลงระเริงคล้อยไปตามอาการกิเลสที่กำเริบขึ้น<O:p</O:p
ด้วยจิตที่ไม่ท้อถอย เปี่ยมล้นด้วยความเพียรพยายามอย่างท่วมท้นครั้งแล้วครั้งเล่า จิตจึงคลายจากการยึดมั่นถือมั่นจิตจึงได้ปลดเปลื้องละทุกข์ที่เกิดแล้ว และสุขที่ยังไม่เกิดได้อย่างเด็ดขาด ภาวะจิตจึงเกิดความสงบมั่นคงอย่างแท้จริง<O:p</O:p
เกิดอารมณ์อุเบกขาวางเฉยไม่หวั่นไหวด้วยความยินดียินร้าย ในความดีใจและเสียใจ เป็นการดับเหตุแห่งทุกข์โดยสิ้นเชิง นำพาจิตไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจดข้ามพ้นวัฏฏะ ภพชาติอันสามัญชนเวียนวนอยู่<O:p</O:p
สภาพจิต ได้บรรลุถึงความอิสรภาพมุ่งสู่แดนนิพพาน ...<O:p</O:p
<O:p</O:p
<!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --></OBJECT></LAYER>