สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ญาณพระธรรมกายจะช่วยให้เห็นดวงธรรมที่ทำให้ เป็นมนุษย์หรือสัตว์นั้น และจิตของสัตว์นั้นเอง “ดับ” แล้วก็ “เกิด” ใหม่อีก เป็นช่วงๆ ตาม ผลบุญกุศลหรือบาปอกุศล กล่าวคือ
    ถ้าขณะใกล้ตาย คือในระหว่างที่จิตเข้าสู่มรณาสันนวิถีนั้น จิตเป็นกุศล แต่บุญบารมี ยังไม่พอที่จะหลุดพ้นจากกิเลสได้โดยสิ้นเชิง อายตนะของสุคติภพ ได้แก่ โลกมนุษย์ เทวโลก หรือพรหมโลก ก็จะดึงดูดกายละเอียดหรือกายทิพย์นั้นไปบังเกิดในภพหรือภูมิ ด้วยแรง กุศลกรรม ตามกำลังแห่งบุญบารมีของผู้นั้นต่อไป กิริยาที่กายใจ จิต และวิญญาณดับ เกิดๆๆ เพื่อเปลี่ยนจากภพ หรือภูมิหนึ่ง ไปสู่ภพหรือภูมิที่สูงกว่าทีละขั้นๆ ไปจนกว่าจะถึง ภูมิที่พอดีกับกำลังบุญกุศลที่ให้ผลอยู่นั้น อุปมาดั่งงูลอกคราบ หรือดั่งบุคคลถอดแบบฟอร์ม เครื่องแต่งตัวจากฟอร์มหนึ่ง ไปสู่ฟอร์มที่สวยละเอียดประณีตกว่าฉะนั้น


    [​IMG]แต่ถ้าจิตในขณะใกล้จะตาย เป็นอกุศล หรือสิ้นวาสนาบารมี อายตนะทุคคติภพ ได้แก่ อายตนะภพของเปรต, อสุรกาย, สัตว์นรก, หรือสัตว์เดรัจฉาน ก็จะดึงดูดดวงธรรมและ
    กายละเอียดของผู้นั้น ให้ไปบังเกิดในภพหรือภูมินั้น ด้วยแรงอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ ตามส่วนแห่งอำนาจของผลบาปอกุศลที่กำลังให้ผลต่อไป
    ญาณหยั่งรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์นี้ เรียกว่า “จุตูปปาตญาณ” ให้ฝึกฝนปฏิบัติให้ชำนาญ ในระยะเริ่มแรก จะต้องกระทำเป็นขั้นตอน ตามสายธาตุธรรมเดิมเสมอไป แม้จะติดขัดบ้าง ก็จะเป็นแต่เพียงในระยะต้นๆ หรือที่จิตยังไม่ละเอียดดีพอ ต่อไปก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง

    [​IMG]แต่มีหลักสำคัญอยู่ว่า เมื่อรู้เห็นแล้วก็อย่าคะนองใจว่าตนเก่งกล้าแล้ว พยากรณ์ ให้แก่ผู้อื่นฟัง หรือโอ้อวดในคุณธรรมของตน อันจะเป็นทางเสื่อมอย่างยิ่ง


    [​IMG]อนึ่ง การน้อมเข้าสู่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพื่อดูขันธ์ของตนเองและของ ผู้อื่นในชาติภพก่อนๆ ก็ดี หรือการน้อมเข้าสู่จุตูปปาตญาณเพื่อดูจุติและปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายก็ดี หากได้ยกวิปัสสนาญาณขึ้นพิจารณาทบไปทวนมาด้วยแล้ว ย่อมมีลักษณะที่เป็นสติปัฏฐาน ๔ ไปในตัวเสร็จ
    กล่าวคือการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ภายในบ้าง เป็นภายนอกบ้าง, เป็นทั้งภายในและภายนอกบ้าง ดังที่กล่าวมาแล้วเนืองๆ อยู่ ก็จะเห็นชัดในสามัญญลักษณะ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของสังขารธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างชัดแจ้ง จนเห็นเป็นธรรมดาในความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปของสังขารของสัตว์ทั้งหลาย ช่วยให้เกิดธรรมสังเวชสลดใจในการ เวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ที่ยังติดอยู่ในสังสารจักร และไตรวัฏฏะ (กิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และวิปากวัฏฏะ) อยู่ในภพ ๓ นี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไปนรกบ้าง สวรรค์บ้าง มนุษย์บ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง เปลี่ยนแปลงไปต่างๆ น่าสะพรึงกลัวและน่าเบื่อหน่าย ยิ่งนัก
    ต้องทิ้งสมบัติพัสถาน บุตร ภรรยา และบิดามารดาแต่เก่าก่อน หมุนเวียนเปลี่ยนไป ตามเครื่องล่อเครื่องหลง ดุจดังว่าความฝัน เอาเป็นของเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ เป็นอย่างนี้ หมดทั้งตัวเราเองและสัตว์อื่น เหมือนกันหมด ทุกรูปทุกนาม


    แล้วให้ยกวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๐ ประการ ขึ้นพิจารณา ทบไปทวนมา ทับทวีให้มากเข้า ก็จะเห็นภัยในวัฏฏสงสาร บังเกิด ธรรมสังเวชสลดจิตคิดเบื่อหน่ายในสังขารและนามรูป เมื่อปัญญารู้แจ้งสว่างชัดขึ้น ทำลายอวิชชา เป็นมูลรากฝ่ายเกิดดังนี้ ตัณหาและทิฏฐิ ก็เบาบางหมดไปตามระดับคุณธรรมที่ปฏิบัติได้

    สามารถปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ยิ่งขึ้น สิ้นรัก สิ้นใคร่ สิ้นอาลัยยินดีในการครองขันธ์และทำนุบำรุงขันธ์เกินความจำเป็น
    เมื่อรู้เห็นเช่นนี้ แม้อยากจะไปเสียให้พ้นจากสังขารนี้ ก็ยังไม่อาจจะกระทำได้ เหมือนดังนกที่ติดอยู่ในกรง หรือปลาที่ติดเบ็ด จึงได้แต่วางเฉย เพิกเฉยในสังขาร เป็นสังขารุเปกขาญาณ


    หลวงป๋า







    [​IMG]

    ที่มา https://web.facebook.com/profile.ph...u-gApwnG3pshseZB7ax5q5ujjjVN1w&__tn__=-UC,P-R
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...