สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้รวมเป็น "ใจ"


    เป็นหลักชัย ที่เราจะชำระล้าง ให้พ้นจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    ปฏิบัติสมถะ คือ การทำให้ใจหยุด โดยทำให้เห็น จำ คิด รู้ มารวมเป็นหนึ่งเดียวกันที่ศูนย์กลางกาย จนกระทั่งถูกส่วนใจก็ตกศูนย์เข้าถึงดวงธรรมภายใน และเข้าถึงกายต่างๆ ตาม ลำดับจนเข้าถึงพระธรรมกาย แล้วจึงใช้พระธรรมกายเพื่อไปศึกษาวิปัสสนา

    เจริญวิปัสสนา เป็นการพิจารณาให้เห็นสภาพไตรลักษณ์ของสังขาร เป็นการเห็น ด้วยภาวนามยปัญญา โดยอาศัยภูมิวิปัสสนา 6 ประการคือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งภูมิของวิปัสสนา โดยสรุปมี 2 อย่างคือ รูปกับนาม
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]




    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ได้จัดให้มีการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เป็นประจำทุกปีๆ ละ 2 รุ่น

    รุ่นกลางปี ระหว่างวันที่ 1-14 พฤษภาคม และ
    รุ่นปลายปี ระหว่างวันที่ 1-14 ธันวาคม
    จึงขออาราธนาพระภิกษุสามเณร และขอเชิญอุบาสก อุบาสิกา ผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติทุกท่าน สมัครเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย ซึ่งพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้

    วัตถุประสงค์การอบรม

    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ได้เปิดการอบรมพระกัมมัฏฐานประจำปีแก่พระภิกษุสงฆ์และสาธุชนทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรม 3 ประการ คือ

    เพื่อสร้างพระในใจตนเองและผู้อื่น เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของสาธุชนให้กว้างขวางออกไป
    เพื่อสร้างพระวิปัสสนาจารย์หรือวิทยากรให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และให้งดงามพร้อมด้วยศีลาจารวัตร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เป็นที่พึ่งทางใจแก่สาธุชนได้อย่างแท้จริง ได้ช่วยกันสืบบวรพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวยิ่งๆ ขึ้นไป
    เพื่อรักษาและสืบต่อธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ให้ถูกต้องสมบูรณ์ ตามที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สั่งสอนและถ่ายทอดเอาไว้
    หลักสูตรและวิธีการอบรมสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    1. ภาคพระปริยัติธรรม

    ทุกวันจะมีพระมหาเถระ พระเถรานุเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ มาถวายความรู้ภาคปริยัติสัทธรรมแก่ผู้เข้าอบรม โดยเฉพาะ พระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล) เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 1 เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม รัฐประศาสนศาสน์มหาบัณฑิต "เกียรตินิยมดี" จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะได้ถวายความรู้ "หลักการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย" และ "หลักการบริหารวัด" ตามสมควรแก่เวลาและโอกาส

    2. ภาคปฏิบัติ

    การฝึกอบรมในภาคปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานแต่ละวันนั้น จะมีทั้งการถวายคำแนะนำในการฝึกปฏิบัติ ภาวนาเป็นส่วนรวม และทั้งการปฏิบัติเป็นกลุ่มย่อยๆ โดยมี พระวิทยากรผู้ช่วยคอยช่วยแนะนำอย่างใกล้ชิดทุกกลุ่ม ภายใต้การสอนและการควบคุมของพระเดชพระคุณ พระราชญาณวิสิฐ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมฯ / เจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ โดยมี พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม. เป็นที่ปรึกษา

    อุปกรณ์การฝึกอบรม

    จะมีหนังสือคู่มือธรรมปฏิบัติ เช่น หนังสือ "หลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น" เทปสอนภาวนา และหนังสือ "การบริหารวัด" เป็นต้น ถวายตามสมควร ตามกำลังทุนทรัพย์ที่มีเจ้าภาพ

    ระเบียบการเข้ารับการอบรม

    จำนวนและระยะเวลาการอบรม

    เพื่อให้พอเหมาะแก่กำลังพระวิทยากร ที่จะถวาย/ให้คำแนะนำโดยใกล้ชิด โดยการอบรมแต่ละรุ่นๆ ละ 14 วัน จะสามารถรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมได้ประมาณรุ่นละ 800 ท่าน รวมทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสก/อุบาสิกา

    ในกรณีที่มีพระภิกษุสมัครเข้ารับการอบรมเกินกว่าจำนวนดังกล่าวข้างต้น ก็จะพิจารณาแบ่งให้สมัครเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐานในรุ่นต่อไป ผู้สมัครที่มาก่อน จะได้รับการพิจารณาให้เข้ารับการอบรมก่อน

    การสมัครเข้ารับการอบรม

    สำหรับผู้สนใจที่จะเข้ารับการอบรม โปรดจดหมายขอสมัครเข้ารับการอบรมไปยัง

    พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อำเภอดำเนินสะดวก
    จังหวัดราชบุรี 70130

    ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถ้ามีผู้สมัครเข้ารับการอบรมร่วมกันหลายคน โปรดระบุรายชื่อและวัดของผู้ที่จะไปร่วมกันนั้นด้วย

    การเดินทางมาวัดหลวงพ่อสดฯ

    เมื่อพระคุณเจ้าได้ส่งจดหมายแจ้งความจำนงขอสมัครเข้ารับการอบรมไปแล้ว หากพระคุณเจ้าไม่ได้รับแจ้งว่า จำนวนผู้สมัครเต็มแล้ว ขอให้พระคุณเจ้าเตรียมเดินทางไปเข้ารับการอบรมได้เลย โดย

    ขออาราธนาพระคุณเจ้าเดินทางถึง วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) กทม. ก่อนเปิดการอบรมฯ หนึ่งวัน คือ วันที่ 30 เมษายน และวันที่ 30 พฤศจิกายน (เวลา 12.00 น.) เพื่อขึ้นรถที่จัดไว้ให้ เดินทางไปวัดหลวงพ่อสดฯ พร้อมกัน รถโดยสารจะจอดรอและจะออกเดินทางจากหน้าปากทางเข้าวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) กทม. เวลา 13.00 น. ก่อนวันเปิดการอบรมหนึ่งวัน ของการอบรมทุกรุ่น หรือ
    พระคุณเจ้าจะเดินทางไปยังวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เองโดยตรง ตามวันเวลาที่ระบุนี้ก็ได้ รถ บขส. (ขึ้นรถที่ขนส่งสายใต้) สาย 78 ปรับอากาศ (สายกรุงเทพ-ดำเนินสะดวก) รถจะถึงและผ่านหน้าวัด ก่อนถึงตลาดดำเนินสะดวก ดูแผนที่
    สิ่งของที่ต้องนำมาด้วย

    ใบสุทธิ
    ใบรับรองจากเจ้าอาวาสพร้อมประทับตราวัด (เจ้าอาวาส/รองเจ้าอาวาส ไม่ต้องนำใบรับรองมาด้วย)
    บาตร และกลด
    ระเบียบการอยู่อบรม

    วัตรปฏิบัติเป็นประจำคือ ถือธุดงควัตร

    อยู่กลด กลางแจ้ง อยู่โคนไม้ หรือสถานที่ที่จัดไว้ให้
    ฉันภัตตาหารเฉพาะบิณฑบาต และ
    ฉันภัตตาหารมื้อเดียว
    กำหนดการประจำวัน

    04.30 น. ตื่นนอน (สัญญาณระฆัง)
    05.00 น. ทำวัตรเช้า ฝึกเจริญภาวนาธรรม
    06.30 น. ฉันยาคู
    09.00 น. เจริญภาวนาธรรม
    11.00 น. ฉันภัตตาหารเฉพาะบิณฑบาต
    14.00 น. ฟังธรรมบรรยาย มีสติปัฏฐาน 4, โพธิปักขิยธรรม พระวินัย เป็นต้น
    17.00 น. แบ่งกลุ่มปฏิบัติภาวนาธรรม มีพระวิทยากร ช่วยแนะนำควบคุมพระกัมมัฎฐานโดยใกล้ชิด ส่วนผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายรับการต่อวิชชา
    19.30 น. ทำวัตรเย็น เจริญภาวนา ตอบปัญหาธรรม
    22.00 น. ดับไฟ จำวัด

    ข้อห้ามระหว่างการอบรม

    ห้ามสูบบุหรี่และสิ่งเสพติดมึนเมาทุกชนิด
    ห้ามขาดการประชุมทุกครั้ง
    ห้ามฟังวิทยุเด็ดขาด
    ห้ามจับกลุ่มสนทนากัน
    ห้ามออกนอกบริเวณวัด โดยมิได้รับอนุญาต
    ห้ามพูดอวดผลการปฏิบัติธรรม
    ห้ามลงอาบน้ำหรือซักผ้าในคลอง
    ข้อควรปฏิบัติในการอบรม

    เข้าประชุมตรงต่อเวลา
    ต้องรักษาความสะอาดในบริเวณวัด
    ต้องมีความสำรวมในทุกอิริยาบถ
    นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล สำหรับพระภิกษุ-สามเณร สีของไตรจีวรต้องให้สีเหลืองอมแดงเข้ม หรือสีกรัก (สำหรับอุบาสกอุบาสิกา แต่งกายสุภาพ สีขาว)
    รักษาระเบียบวินัย และร่วมมือกับทางวัดด้วยดี
    หมายเหตุ

    สำหรับท่านที่เคยติดสูบบุหรี่และ/หรือยาเสพติดให้ โทษทุกชนิด ขอได้โปรดฝึกอบรมปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดหรือสำนักของท่าน จนสามารถเลิกได้เสียก่อน จึงค่อยไปร่วมอบรมที่วัดหลวงพ่อสดฯ ในคราวต่อไป
    ในการเข้ารับการอบรมนี้ ไม่ต้องเสียค่าสมัครและค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 พฤศจิกายน 2014
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    ตอบคำถาม "ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างค๊ะ?"
    - คอสนี้ 15 วัน
    สำหรับผู้ปฎิบัติธรรมอย่างจริงจัง : ที่ต้องการเข้าใจทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
    เมื่อมาปฏิบัติแล้วจะได้คลายความลังเลสงสัยว่าที่เราทำอยู่นี้ ถูกแนวหรือผิดแนว
    จิตใจจะได้จดจ่ออยู่กับธรรมะได้ดีขึ้น)
    สำหรับผู้ใหม่ : มาอยู่กี่วันก็ได้ตามเวลาว่างของท่าน
    - แต่งกายชุดขาว สุภาพ (ให้เกียรติสถานที่, พระ-เณร, และเพื่อนสหธรรมิกผู้
    ร่วมปฏิบัติธรรม)
    - ถือศีล 8
    - กินฟรี อยู่ฟรี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 พฤศจิกายน 2014
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    <div id="fb-root"></div> <script>(function(d, s, id) { var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0]; if (d.getElementById(id)) return; js = d.createElement(s); js.id = id; js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/all.js#xfbml=1"; fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs); }(document, 'script', 'facebook-jssdk'));</script>
    <div class="fb-post" data-href="https://www.facebook.com/video.php?v=312649388936240" data-width="466"><div class="fb-xfbml-parse-ignore"><a href="https://www.facebook.com/video.php?v=312649388936240">โพสต์</a> by <a href="https://www.facebook.com/RakangdhamDhammakaya">ระฆังธรรม วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม</a>.</div></div>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 ธันวาคม 2014
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    จงจำไว้ว่า

    "เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง๔ นี่แหละเป็นหลักชัยสำคัญยื่งนัก ในการที่เรียนสมถวิปัสสนา
    อบรมจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ จิตจะเศร้าหมอง หรือ ผ่องใส จะดีหรือจะชั่วประการใด
    ก็เพราะ เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง๔ นี่แหละ จิตจะนิ่ง จะหยุด เป็นตัวอัปปนาสมาธิแน่วแน่ได้
    ก็เพราะ เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง๔ นี่แหละเป็นตัวสำคัญยืิ่ง"





    ( เห็น คือ เวทนา จำ คือ สัญญา คิด คือ สังขาร รู้ คือ วิญญาณ )




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-026.JPG
      1-026.JPG
      ขนาดไฟล์:
      120 KB
      เปิดดู:
      932
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 ธันวาคม 2014
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    เขตธุดงค์สถานรอบพระมหาเจดีย์สมเด็จ ทิดตะวันตกเฉียงใต้ ณ ปัจจุบัน



    [​IMG]




    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]


    โอวาทธรรมหลวงปู่สด จนฺทสโร

    การเข้าถึงรัตนะ ๓ ดังกล่าวมานี้ จะเข้าถึงได้อย่างไร เพียงแต่เลื่อมใสนับถือ ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง แม้จะท่องบ่นน้อมใจระลึกถึง ก็ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง แม้จะปฏิญาณตนว่า ยอมเป็นข้า ก็ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง อย่างมากจะเรียกได้ก็เพียง"ขอถึง" การที่จะเข้าถึงนั้น จำเป็นจะต้องบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติเจริญรอยตาม ปฏิปทาของพระบรมศาสดา จนบรรลุกายธรรม คือรู้จริงเห็นแจ้งด้วยตัวของตัวเอง จึงจะได้ชื่อว่า เข้าถึงพระรัตนตรัยโดยแท้ และการปฏิบัติเช่นนี้ ไม่เป็นการพ้นวิสัยของมนุษย์ เพราะในปัจจุบันนี้ มีผู้ที่ได้บำเพ็ญบรรลุธรรมกาย ก็มีอยู่มากหลาย ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้ว เขามีความอิ่มเอิบและสุขกาย สุขใจเพียงไหนถามเขาดูได้ เพื่อได้ทราบว่า การเข้าถึงพระรัตนตรัยมีผลอย่างไร ผิดกว่าที่ยังไม่ได้เข้าถึงอย่างไร ทั้งจะได้รู้ด้วยว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหลักคำสอน ของพระบรมศาสดา มีความจริงแค่ไหน ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญานั้นอย่างไร ก็จะรู้ความจริงได้ ในเมื่อตนบำเพ็ญสำเร็จ หรือถ้าอยากรู้เพียงเงาๆ ก็ลองถามเขาดูได้

    ......................
    พระมงคลเทพมุนี
    หลวงปู่สด จนฺทสโร
    ......................
    จากเทศนาธรรมเรื่อง
    พระพุทธคุณ
    พระธรรมคุณ
    พระสังฆคุณ

    ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๘
    ถึง
    ๓ มีนาคม ๒๔๘๙
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]











    "เราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนานะ ให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้จะเป็นตัวมรรคผลนิพพาน พวกให้ทานรักษาศีลมันยังไกลกว่า หยุดนี้ใกล้นิพพานนัก พอหยุดได้เท่านั้นเข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไม่ยักเยื้องแปรผัน ไอ้ที่หยุดนั่นแหละ เข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไอ้ที่หยุดนี่แหล่ะตัวสำคัญ


    กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา ผู้หญิงกำหนดเข้าปากช่องจมูกซ้าย ผู้ชายกำหนดเข้าช่องปากจมูกขวา อย่าให้ล้ำให้เหลื่อม กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา
    นี่บอกซ้ำของเก่านั่นแหละ พอถูกส่วนดีแล้วก็ ให้บริกรรมประคองใจกับเครื่องหมายที่ใส ปากช่องจมูกหญิงซ้าย ชายขวา นั้น ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายขึ้นไปแค่เพลาตา หญิงอยู่ซีกข้างซ้าย ชายอยู่ซีกข้างขวา ตรงหัวตาที่มูลตาออก ตามช่องลมหายใจเข้าออกข้างใน แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายตามเก่านั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายนั้น ตรงลำดับเพลาตาเข้าไปฐานที่ 3 กลางกั๊กพอดี ตรงนี้มีกลเม็ดอยู่ เพราะต้องมีวิธี เมื่อถึงฐานที่ 3 แล้วต้องเหลือบตาไปข้างหลัง เหลือบตาไปข้างหลังให้ตาค้างเหมือนคนชักจะตาย ค้างขึ้นไปๆ จนกระทั่งใจหยุดความเห็นกลับเข้าข้างใน พอความเห็นกลับเข้าไปข้างใน ก็เลื่อนเครื่องหมายจากฐานที่ 3 ไปฐานที่ 4 ที่ช่องเพดานที่รับประทานอาหารสำลัก อย่าให้ล้ำอย่าให้เหลื่อม ให้พอดีๆ แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ฐานที่ 4 นั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนไปฐานที่ 5 ปากช่องคอ เหนือลูกกระเดือก เหมือนกลางกั๊กปากถ้วยแก้ว แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ปากช่องคอนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายนั้นไปที่กลางตัว ที่สุดลมหายใจเข้าออกไม่ให้ค่อนซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ให้อยู่กลางกั๊กพอดี (ฐานที่ 6)แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่กลางตัวนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง
    แล้วเลื่อนเครื่องหมายถอยหลังขึ้นมาเหนือกลางตัว สอง นิ้วมือ ตรงนั้นเรียกว่าศูนย์ (ฐานที่ 7) ตรงนั้นมีศูนย์อยู่ 5 ศูนย์ ศูนย์กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย
    ศูนย์กลางอากาศธาตุ
    ศูนย์หน้าธาตุน้ำ
    ขวาธาตุดิน
    หลังธาตุไฟ
    ซ้ายธาตุลม
    เครื่องหมายใส สะอาด ลอยช่องอากาศกลาง แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ช่องอากาศกลางนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ที่กลางอากาศว่างนั้น แล้วจะเห็นเป็นดวงใส ดวงโตประมาณเท่าแก้วตาอยู่ที่นั่น ใจของเราก็จรดอยู่ที่กลางดวงนั้น

    แก้ไขไปจนกระทั่งใจของเราหยุด บริกรรมภาวนาอยู่เรื่อยๆ ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    ที่บริกรรมว่าดังนี้ ก็เพื่อจะประคองใจของเราให้หยุด สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง

    พอถูกส่วนเข้า ใจก็หยุดกึ๊กอยู่กลางดวงนั้น มืดก็หยุดตรงนั้น สว่างก็อยู่ตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปถอยมา นิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ

    พอนิ่งถูกส่วนเข้าก็ มืดหนักเข้าก็เห็นดวงใส สว่างก็เห็นดวงใส ใจก็อยู่กลางดวงใส ถ้าว่ามันไม่นิ่งไม่หยุด มันชัดส่ายไปบริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    พอถูกส่วนเข้า หยุด

    หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย

    หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย


    ดูนิ่ง


    ถ้าว่าขยับเขยื้อยหรือว่าเคลื่อนไปซะ บริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ไว้ จนกระทั่งหยุดนิ่ง



    พอหยุดนิ่ง ไม่ต้องบริกรรม เพ่งเฉย วางอารมณ์เฉย

    ให้หยุดอยู่เท่านั่นแหละ

    หยุดเท่านั้นแหละ

    อย่าไปนึกถึงมืดสว่างนะ


    หยุดอยู่เท่านั้นแหละ หยุดนิ่งอยู่เท่านั้นแหละ


    หยุดนั่นแหล่ะเป็นตัวสำเร็จ"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lp_sod01.jpg
      lp_sod01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.5 KB
      เปิดดู:
      577
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 ธันวาคม 2014
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]



    เริ่มแล้วโครงการอบรมพระกัมมัฏฐาน หลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ เฉลิมพระเกียรติ
    ณ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี(แห่งที่1) ระหว่างวันที่15-28 ธันวาคม 2557
    ขอเชิญสาธุชนร่วมทำบุญค่าใช้จ่ายในการอบรม และร่วมตักบาตรถวายภัตตาหารเพลใด้ทุกวันตลอดโครงการ
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]


    [​IMG]






    <iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/PjkWUSlHVCU" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 ธันวาคม 2014
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    ทำอย่างไรถึงจะแก้โรคเบื่อชีวิต เกิดมาแล้วเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ กิจวัตรประจำวันก็ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย เมื่อปฏิบัติสมาธิแล้วก็มืดไม่เห็นอะไรเลย พยายามนึกไปที่ดวงแก้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ จะทำอย่างไรดี ?



    ตอบ...


    หากเบื่อด้วยกิเลส (โทสะ/นิวรณ์) จะเป็นทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ หากเบื่อด้วยปัญญา เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง จิตใจย่อมปลอดโปร่ง แล้วหาทางพ้นด้วยการปฏิบัติตามพุทธธรรม



    การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)





    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”



    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น





    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ



    ------------------------------------------------------------------





    ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติธรรม




    -ให้มีความอยากนั่ง และ นั่งอย่างสบายเป็นทุนก่อน
    -พอนั่งปุ๊ปก็หมดหน้าที่ของตา หรือ
    ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของใจล้วน ๆ


    -ให้รักษาอารมณ์สบายตลอดเวลาทั้งในการนั่ง และ ช่วงอื่น ๆ
    เพราะว่าอารมณ์สบาย จะทำให้เกิดความง่าย
    ง่ายต่อการนึกนิมิต ง่ายต่อการหยุดนิ่ง
    ง่ายต่อการเข้ากลาง ง่ายต่อการเข้าถึงกายภายใน
    -ความสบาย มี 2 อย่าง คือ เกิดขึ้นเอง จู่ ๆ ก็เกิดขึ้นเอง
    ส่วนความสบายที่เราสร้างขึ้นมาทำได้ โดย .......


    1.ห่างจากบุคคล หรือ สิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ

    2.หาสิ่งที่ทำให้สบายใจ เช่น ชมนก ชมไม้ ฟังเพลง
    อยู่สงบคนเดียว

    -ให้รักษาอารมณ์สบายก่อนที่จะนั่ง จนเกิดความรู้สึกอยากนั่ง
    มีความพอใจในการนั่ง เห็น ไม่เห็น เป็นเรื่องรอง

    -นิมิต คำภาวนา มีไว้กันความฟุ้ง ความง่วง ถ้าไม่ฟุ้ง ไม่
    ง่วง ก็ให้จรดเข้าภายใน หรือจรดเข้าศูนย์กลางกาย
    อย่าอยากได้ อย่าอยากเห็น เพราะเราจะเผลอไปเร่ง แล้วดึง
    ประสาทตา ปวดขมับ เกร็งกล้ามเนื้อ ท่องไว้ ๆ
    " ถ้าเราได้ด้วยความอยาก ถึงจะใสแค่ไหน ก็ไม่เอา ”





    ให้ได้ด้วยความสบาย สุข สงบ อย่างเดียว

    -การปฏิบัติธรรม ให้มีมรรคผล นิพพาน เป็นแก่นสาร ไม่หวัง
    ลาภยศ สรรเสริญ ถ้าหวังอย่างนั้น จะทำให้จิตไม่นิ่ง ต้องทำใจให้บริสุทธิ์ คิดเสมอว่า เรียนไปทำไม เอาจริงไหม ปล่อยใจเลื่อนลอยไปที่อื่นหรือเปล่า


    -จริงวันนี้  ได้วันนี้ จริงพรุ่งนี้  ได้พรุ่งนี้

    อย่าใช้ความหยาบในการปฏิบัติ เพื่อหาความละเอียด เช่น

    อารมณ์เศร้าหมอง ขุ่นมัว ลมหายใจเร็ว แรง จิตใจสั่น ไหว ริบรัว ฯลฯ







    -ใจที่มีพลัง จะต้องเป็นใจที่เป็นกลาง ๆ ตั้งมั่น มั่นคง

    -แม้เราจะไม่เข้าถึงธรรมในวันนี้ แต่อารมณ์สบาย สุข สงบ
    คือ ของขวัญอันยิ่งใหญ่แก่จิตใจ ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงธรรมใน



    วันหน้า







    -จิต มีลักษณะเป็น ดวง จึงเรียกว่า ดวงจิต







    เห็น = มองห่าง ๆ เหมือนของสองสิ่ง



    ได้ = มองใกล้ ๆ หรือเข้า ๆ ออก ๆ



    เป็น = เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มั่นคง กลืน แยกไม่ออก







    -ความเบา ความสบาย เป็นสิ่งหนึ่งที่เมื่อนั่งแล้ว ต้องเริ่มทำ



    ไม่ว่าจะได้ธรรมะในระดับใดก็ตาม







    -ชัดไม่ชัด ไม่สำคัญ สำคัญว่า กลางหรือเปล่า นิมิตสัดส่าย



    เคลื่อนไหวอย่าตาม จรดใจนิ่ง ๆ เข้ากลางอย่างเดียว แล้วจิต



    ก็จะรวมลงสู่กลางเอง







    -นึกดวงแก้ว ก็นึกแบบช้าง อย่าให้มีลีลา หรือมีพิธีรีตรองมาก



    มาย การนึกก็นึกอย่างสบาย นึกเห็น ก็เห็น เพราะใจเป็นธาตุ



    สำเร็จอยู่แล้ว ให้มีความมั่นใจ ความมั่นใจเท่านั้นที่จะสร้าง



    ความมั่นใจต่อ ๆ ไปได้







    -อย่ากลัวเสียเวลา อย่ากลัวเสียหน้า อย่ากลัวว่าจะไม่ได้







    -เป็นพระภายนอก







    1. สันโดษ ไม่คลุกคลี ด้วย คนหมู่มาก



    2. ไม่สะสม ไม่เห็นแก่ลาภ



    3. ไม่อยากเด่น ไม่อยากดัง



    4. อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นไปเพื่อบุญกุศลล้วน ๆ







    -อย่าท้อใจ อย่าน้อยใจ เพราะเมื่อกระแสใจเสื่อมคุณภาพ



    บาปจะเข้าครองต้องปลุกใจให้ฮึดสู้ นั่งให้สนุก เบิกบาน ให้



    เป็นบุญบันเทิงให้ได้







    -อย่าเสียดายความคิดเก่า ๆ จงสลัดทิ้งออกไป ตัดใจให้



    เหมือนตายจาก







    -เรื่องหยาบ ๆ ภายนอก ถ้าดูเบา จะมีผลต่อภายใน







    -ถ้าไม่ฝึกจรดศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้



    ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้เสียเวลา







    -ถ้าเห็นภาพต้นไม้ คน สัตว์ หรือสิ่งใดก็ตาม อย่าไปสนใจ



    เพราะใจเริ่มเป็นสมาธิ จึงจะเห็นภาพ ให้ดูเฉย ๆ ดูจุดที่เล็กที่



    สุด เดี๋ยวภาพก็จะเปลี่ยนไปเอง เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน







    -ความง่ายเกิด เพราะ เราทำจิตให้คิดว่าง่าย







    -ความยากเกิด เพราะเราทำจิตให้คิดว่ายาก ถ้ายากเด็กทำไม่



    ได้หรอก อย่ากลัวว่าไม่ได้ อย่ากลัวว่าจะได้ช้า







    -อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ เพราะดวงธรรมที่โตเท่ากับฟองไข่แดง



    ของไข่ไก่ มีในมนุษย์ทุกคน ถ้าไม่มีก็เป็นคนไม่ได้ ถ้าดวงนี้



    แตกดับ กายก็แตกดับ ดวงธรรมมีกันทุกคน เพียงแต่ไม่เห็น



    ถ้าใจยังสัดส่ายอยู่







    -อย่านั่งไปบ่นไป “ ไม่เห็นมีอะไร ๆ ๆ ๆ ” ให้เฉย จะได้



    อุปนิสัยอุเบกขา ใจจะได้เป็นกลาง ๆ ถ้าส่วนไหนตึง นั่น



    พยายามเกินไป อย่าฝืน ให้ปรับ







    -จุดเริ่มต้นที่ไหนก็ได้ แต่สุดท้ายต้องศูนย์กลางกาย ช่วงแรก



    ใจอาจจะอยู่ข้างหน้า หรือที่ไหนก็ไม่รู้ อย่ากังวล อย่าปล่อย



    ไป เดี๋ยวจะเข้าศูนย์กลางกายเอง แม้ไม่เห็น แม้ไม่ชัด แต่ให้



    ใจอยู่กลางท้อง พร้อมความหวังว่าจะได้ รักษาใจให้สบาย



    เดี๋ยวได้แน่







    -ถ้าใจยังไม่พร้อมที่จะนึก อย่าเพิ่งนึก ให้วางใจ เฉย ๆ จง



    คอยด้วยใจที่เยือกเย็น วางใจในที่สบาย ๆ การวางใจเฉย ๆไม่



    ใช่ช้า เพราะใจเฉย เป็นใจที่ใกล้กับใจละเอียดแล้ว







    -ยิ่งอยากก็ยิ่งยาก เลิกอยากก็เลิกยาก

    ผู้ที่สว่างเดี๋ยวนี้ ก็คือ ผู้ที่เคยฟุ้งมาก่อน

    ผู้ที่จิตตั้งมั่นเดี๋ยวนี้ ก็คือ ผู้ที่เคยมืดมาก่อน



    -เมื่อจิตหยาบ ให้ทำให้นิ่งก่อน พอจิตละเอียด จะกระดิกจิต

    ถึงดวงแก้ว ถึงองค์พระได้ ถ้านึกตอนที่จิตหยาบ จะเครียด


    เพราะมีความอยากนำหน้า ต้องทำให้นิ่งก่อน







    -ทำไมฟุ้ง ทำไมคิดหลายเรื่อง เพราะจิตกำลังหาที่สบาย เมื่อ



    ยังไม่พบที่ชอบ ก็แสวงหาต่อไป เมื่อพบที่ชอบก็หยุด การที่มี



    ความคิดเหลือเฟือ ไม่ใช่ว่าฝึกจิตไม่ได้ เพราะความคิดเป็น



    กระบวนการอย่างหนึ่งของจิต







    -เมื่อเข้าถึงกำเนิดความสุข



    แหล่งของความสุขที่ศูนย์กลางกาย



    จิตก็จะไม่ไปไหน มีสุข

    เกิดความพอใจ

    พอเหมาะ พอดี พอเพียง

    แค่ส่งจิตถึง ศูนย์กลางกายนิดเดียว

    แล้วจิตถอน ก็ได้บุญมากแล้ว

    หรือแค่เห็นแสงแว๊บนิดเดียว
    ชีวิตนั้นก็มีความสุขแล้ว

    คุ้มค่าแล้ว เหมือนคนเล่นน้ำ
    เอาเท้าจุ่มน้ำตื้น ๆ ก็ยังชื่นใจ

    -ถ้าอยากได้เร็ว จะได้ช้า
    ถ้าไม่กลัวช้า จะได้เร็ว
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    DOWNLOAD เสียงสัมมาอรหัง( หลวงปู่สด)

    .....................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]



    เริ่มแล้วโครงการอบรมพระกัมมัฏฐาน หลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ เฉลิมพระเกียรติ
    ณ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี(แห่งที่1) ระหว่างวันที่15-28 ธันวาคม 2557
    ขอเชิญสาธุชนร่วมทำบุญค่าใช้จ่ายในการอบรม และร่วมตักบาตรถวายภัตตาหารเพลใด้ทุกวันตลอดโครงการ
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    สะสม "การหยุด" ทีละเสี้ยวเวลา....ณ ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางใจ

    ทำอย่างไรถึงจะแก้โรคเบื่อชีวิต เกิดมาแล้วเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ กิจวัตรประจำวันก็ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย เมื่อปฏิบัติสมาธิแล้วก็มืดไม่เห็นอะไรเลย พยายามนึกไปที่ดวงแก้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ จะทำอย่างไรดี ?



    ตอบ...


    หากเบื่อด้วยกิเลส (โทสะ/นิวรณ์) จะเป็นทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ หากเบื่อด้วยปัญญา เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง จิตใจย่อมปลอดโปร่ง แล้วหาทางพ้นด้วยการปฏิบัติตามพุทธธรรม



    การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)





    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”



    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น





    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ



    ------------------------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กุมภาพันธ์ 2015
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,607
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,038
    ค่าพลัง:
    +70,118
    [​IMG]



    .................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2014
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...