สติ คืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 13 มิถุนายน 2009.

  1. newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ไปเจอมา

    สติเจตสิกเป็นสภาพที่ระลึกรู้เพราะเมื่อเป็นนามธรรมก็ต้องรู้ แต่

    เวลาที่ใช้คำว่า “ระลึกรู้” ในภาษาไทย เราคิดว่าเราไปคิดถึงอะไรอย่างเก่า ๆ ระลึกถึง

    อดีต อนาคตระลึกหรือเปล่า มีใครระลึกถึงอนาคตไหม ถ้าใช้คำว่า “คิดถึง” เราคิดถึงได้

    ใช่ไหม แต่ส่วนใหญ่เวลาเราใช้คำว่าระลึกถึง เราจะคิดถึงสิ่งที่ได้ล่วงไปแล้วในภาษา

    ไทย แต่ไม่ทราบว่าผู้รู้ในภาษาไทยท่านก็อาจจะมีคำอธิบายเพิ่มเติมยังไง แต่ว่าภาษา

    สามัญ ภาษาชนบท ภาษาชาวบ้านที่ใช้กันก็คือว่าคิดถึงสิ่งที่ล่วงแล้วคือระลึกถึง แต่ว่า

    สติเจตสิก เราจะไม่ใช้คำว่า “ระลึก” ก็ได้ แต่โดยศัพท์ใช้คำว่า “ระลึก” เพราะเหตุว่า

    สภาพธรรมทุกอย่างที่เป็นนามธรรมที่เกิดเป็นสภาพรู้ ต้องเกิดขึ้นรู้ ไม่รู้ไม่ได้ เมื่อเกิด

    แล้วก็ต้องรู้ แล้วแต่ว่าจะรู้โดยฐานะของจิตหรือว่ารู้โดยฐานะของเจตสิก เพราะฉะนั้น

    สำหรับสติเจตสิกไม่ใช่จิต ไม่ใช่เป็นการรู้อย่างจิตโดยการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่กำลัง

    ปรากฏ แต่เป็นสภาพที่รู้ในขณะที่เกิดขึ้นโดยการเป็นไปในสิ่งนั้น เช่น ขณะนี้เราไม่มี

    การคิดที่จะให้ทาน แต่ในขณะใดที่เกิดเป็นไปในทาน เป็นไปในการคิดแม้จะให้ ขณะนั้น

    สภาพที่ระลึกเกิดขึ้นเป็นไปในทานเพราะคิดถึงการให้ นั่นคือสภาพของสติเจตสิก ต่าง

    กับวิตกเจตสิก ซึ่งวิตกเจตสิกคิดได้ทั้งกุศลและอกุศล จะคิดเรื่องดีก็ได้ จะคิดเรื่องไม่ดี

    ก็ได้ แต่ถ้าเป็นสติเจตสิก เป็นโสภณเจตสิก เป็นเจตสิกฝ่ายดี เพราะฉะนั้นเมื่อสติ

    เจตสิกเกิดขึ้นขณะใด จิตขณะนั้นเป็นโสภณ และแต่ว่าจะเป็นกุศลระดับใด หรือว่าจะ

    เป็นกุศลวิบาก หรือว่าจะเป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์ สติก็เป็นสภาพที่ระลึกเป็นไปใน

    ขณะนั้น เช่น ขณะนี้ได้ฟังว่าเป็นธรรมทั้งหมดเลย เห็นสิ่งที่ปรากฏก็เป็นสิ่งที่มีจริง เป็น

    ธรรมชนิดหนึ่ง ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ต่างกับธรรมอื่นแน่นอน ต่างกับเสียง

    ต่างกับกลิ่น และขณะนี้กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นสติระดับที่ระลึกรู้ลักษณะของ

    สภาพธรรมตรงลักษณะของสภาพธรรม ไม่ได้ใส่ใจหรือคิดถึงสิ่งอื่นเลยกำลังมีสิ่งที่

    ปรากฏก็อยู่นิดหนึ่งคือไม่ไปที่อื่นนิดหนึ่ง ด้วยการที่มีความเข้าใจนิดหนึ่งที่รู้ว่าเป็น

    สภาพธรรมอย่างหนึ่ง นี่คือสติสัมปชัญญะหรือสติปัฏฐานซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงทีละเล็กที

    ละน้อย เหมือนกับทางกายขณะนี้มีแข็งกำลังปรากฏ ขณะที่ไม่ได้ฟังตรงแข็ง เรื่องแข็ง ก็

    ไม่มีการรู้ตรงแข็ง หรือขณะที่แม้ฟังว่าแข็งเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ก็แล้วแต่ว่าขณะนั้น

    จะรู้ตรงแข็งที่กำลังปรากฏ เพราะว่ามีแข็งปรากฏให้รู้ ขณะที่รู้ตรงแข็งขณะนั้นก็คือสติที่

    รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพราะได้ยิน ได้ฟัง ได้เข้าใจถูกต้องว่ามีแข็ง

    จริง ๆ ใครก็บังคับเปลี่ยนลักษณะของแข็งให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ และก็แข็งก็เกิดขึ้น

    เพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เป็นปัจจัยปรุงแต่ง แม้แข็งก็เกิดไม่ได้ หรือแม้แข็ง

    ที่มีอยู่ที่จะปรากฏได้ก็ต้องอาศัยเพราะเหตุปัจจัย คือต้องมีกายปสาทที่สามารถกระทบ

    แข็งเท่านั้นยังไม่พอ ต้องมีจิตที่เกิดขึ้นเพราะการกระทบของกายปสาทและแข็ง จิตรู้

    แข็งจึงเกิดขึ้น นั่นคือปกติธรรมดา แต่เมื่อได้ฟังแล้วรู้ว่าแข็งเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งก็

    ไม่ละเลยขณะที่แข็งปรากฏก็รู้ตรงแข็ง ขณะนั้นก็คือสติเริ่มระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    ทีละอย่าง แต่จะเห็นได้ว่ากว่าจะรู้จริงทีละอย่างจนกระทั่งไม่มีเราก็ต้องอาศัยการเกิดขึ้น

    เนือง ๆ บ่อย ๆ ของสติสัมปชัญญะที่จะรู้ตรงลักษณะนั้น แล้วก็เห็นความต่างว่าเวลาพูด

    ถึงแข็งโดยไม่ได้รู้ตรงแข็งก็ไม่ได้มีลักษณะของแข็งปรากฏ แต่เวลาที่พูดเรื่องแข็ง มี

    ความเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งก็มีปัจจัยที่จะรู้ตรงแข็ง นั่นคือขณะนั้นเป็นสติ

    ระดับที่เป็นสติปัฏฐานเพราะว่ามีลักษณะแข็งเป็นที่ตั้งของสติระลึกรู้

    แต่เป็นเรื่องราวของสภาพธรรมที่มีจริง เพราะฉะนั้นขณะนั้นถ้าไม่มีสติจะไม่มีการเข้าใจ

    เรื่องราว หรือสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเลย เพราะฉะนั้นจะมีคนที่บอกว่าฟังแต่ไม่เข้าใจ เพราะ

    ฉะนั้นขณะนั้นที่ไม่เข้าใจ คือขณะนั้นไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ขณะใดที่มี

    ปัญญาเข้าใจ ขณะนั้นเพราะมีสติและโสภณเจตสิกอื่นเกิดร่วมด้วย นี่ก็เป็นการศึกษา
     
  2. สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..ยาวไม่อ่าน อิอิ
     
  3. ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    สติ คือ อะไร ไม่รู้

    รู้แต่ว่า มีสภาวะหรืออาการ รับรู้ สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไปแล้ว สิ่งที่กำลังดำเนินอยู่ และสิ่งที่กำลังจะเป็นไปในอนาคต(คดไปคดมา) เพียงชั่วเวลาเสี้ยว วินาที โดยเฉพาะทางธรรมจะรับรู้ถึง กิเลสเข้ามาหรือไม่ (อย่างรวดเร็ว โดยมิต้องฝืน รู้ในทันที)

    ลืมสติ ขาดสติ ดันไปสนใจสิ่งอื่นที่ชักนำไปในทางอกุศล หรือ หลงให้กิเลสทะลุทะลวงเข้ามาอย่างง่ายดาย

    หมดสติ ไม่รับรู้อะไรเลย (แบบนี้ ตายแบบหมดสติ ก้อ นิพพาน อะจิ ... มิช่ายแบบนั้น จิตใต้สำนึกยังคงทำงานอยู่ และจิตแห่งจิตตัวนี้แหละ ถ้าขาดสติในระดับจิตใต้สำนึก คิคิ นึกเอาเอง ละกัน จ้า)
     
  4. พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,167
    สติ คือพลังแห่งการสังเกต (สายาดอ อูบัณฑิต)

    สติ อันเป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลาย สติเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุ 16 ประการ โดย.พระนาคเสน
    1.สติเกิดจากตัวผู้รู้ เช่น การระลึกชาติ
    2.สติเกิดจากมีการกระตุ้นเตือน เช่น ผู้หลงลืมมีผู้อื่นเตือนก็ระลึกได้
    3.สติเกิดจากอาศัยนิมิตที่สำคัญ เช่น ประสบเหตุอันยิ่งใหญ่ในชีวิต
    4.สติเกิดจากประทับใจในสุข
    5.สติเกิดจากประทับใจในทุกข์
    6.สติเกิดจากการใด้เห็นสิ่งคล้ายกัน เช่นเห็นประกายแก้วแพรวพราวก็ระลึกถึงองค์พระ
    7.สติเกิดจากการใด้เห็นสิ่งแตกต่างกัน เช่น เห็นสีแดงตัดกับสีดำ
    8.สติเกิดจากคำตักเตือน การรู้ สำผัส เห็นได้ยิน ซ้ำ ๆ
    9.สติเกิดจากเครื่องเตือน หรือ เห็นซ้ำ ๆก็จำได้
    10.สติเกิดจากการสังเกตของตนเอง
    11.สติเกิดจากการท่อง คำนวน การนับ
    12.สติเกิดจากวินัยหรือหลักวิชา เช่น รู้ศีล 5 เห็นคนตบยุงก็เกิดสติจำได้
    13.สติเกิดจากการพัฒนาจิตตามหลักภาวนา เช่นกรรมฐาน 40 กอง
    14.สติเกิดจากการอ้างตำรา เช่น เปิดตำราก็จำได้ว่าเคยได้อ่าน
    15.สติเกิดโยงใยเหตุการณ์ ก็เป็นเหตุให้เกิดสติ
    16.สติเกิดจากความทรงจำ เช่น เห็นบุคลก็จำได้


    สติ 4 ขั้น
    1.จูฬสติ สติเบื่องต้นตามธรรมชาติ มีในคนและสัตว์
    2.อนุสติ (สติเกิดบ่อยๆจึงมีชื่อว่าอนุสติ)สติขั้นการเจริญสติ เช่น อนุสติ 10 อสุภะ 10 กสิน 10 อรูปฌาณ 4
    3.มัชฌิมสติ สติขั้นกลางคือการพัฒนาสติ
    4.มหาสติ สติระดับมรรค-ผล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป


    สติ2ระดับ
    1.สติระดับสัญชาติญาณ สามารถควบคุมการกระทำทางกายให้เป็นไปตามอำนาจของตน ซึ่งทุกคนมีตามธรรมชาติมากน้อยต่างกัน
    2.สติระดับการฝึกฝนเรียนรู้ เป็นสติของผู้ฝึกสมถะ วิปัสนา แบ่งเป็น สติโลกียะ และสติโลกุตระ


    สติจำแนกตามกาล
    1.ในอดีต สติ หมายถึง การจำ การระลึกได้
    2.ในประจุบัน สติ หมายถึง การรู้ตลอดสายในกายและจิตตามจริงเป็นประจุบัน
    3.ในอนาคต สติ หมายถึง เจตนา ตั้งใจ ประสงค์จะกระทำ

    พระไตรปิฏก
    สติตั่งมั่นในไม่ฟั้นเฟือนในฌาณ1 มีสติสัมปชัญญะในฌาณ2 มีสติตั้งอยู่เป็นสุขในฌาณ3 มีสติบริสุทธิในฌาณ 4 ม.มู 12/47/29
     
  5. ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    แถมให้อีก2สติ

    มิจฉาสติ
    สัมมาสติที่มีอยู่ในมรรคมีองค์8
     
  6. ABT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +1,524
    อนุโมทนา และขอน้อมรับธรรม มาปฏิบัติด้วยเศียรเกล้า ด้วยกาย วาจา ใจ อันสูงสุด อนุโมทนา
     
  7. ยูโทเปีย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    วิสาขปุรณมีบูชา

    สติ คือ การตามระลึกกำหนดอยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำ หรือกำลังเป็นไปตรงหน้าขณะปัจจุบัน
    หรือการคุมจิตไว้ในขอบเขตที่กำลังกระทำในปัจจุบัน ตัวอย่างของการขับรถเป็นต้น
    ตั้งใจไว้ถูกในขอบเขตของกิจ การขับรถในกาลปัจจุบันโดยเหมาะสมส่วนแก่ธรรมจนกระทั่งกิจนั้นสำเร็จ
    ถ้าสติหายบ่อยสมาธิน้อยให้คล้องไว้ที่กายที่เป็นปัจจุบันเสมอๆมันคือลมหายใจด้วยอาการสำเหนียกรู้พอประมาณ
    ไม่เพ่ง อาการสำเหนียกรู้เบาๆโปร่งโล่งไม่อึดอัดรำคาญ เป็นการวางใจได้ด้วยปัญญาว่ากิจสิกขาหลักจะไม่เสีย
    สติเป็นเหตุเพิ่มพูนความรู้สังขารเข้ามา สมาธิ ปัญญา ย่อมตั้งใจไว้ถูกที่ในความรู้นั้น

    บางทีการสนทนาเป็นเพียงประดับความรู้ หรือ ไม่ก็ใช้เป็นข้อถกเถียงเพื่อให้เกิดภูมิปัญญา
    ต้องรับฟังอย่างเป็นกลาง อย่างมีสติเหตุผล ด้วยใจเป็นธรรม กลางๆ
    ตัวอักษรและภาษามีข้อจำกัด ไม่สามารถอธิบายความเป็นจริงได้ทั้งหมด
    ใครก็ตามที่ฝึกตนตระหนักรู้แก่นแท้ของจิตใจ ก็เข้าถึงสภาวะพุทธะธรรม
    สภาวะสัจธรรมมีอยู่ จากที่ท่านได้มีการปฏิบัติอย่างถึงแก่นและเป็นธรรมชาติสัปปายะ
    พุ่งตรงไปที่แก่นของพุทธ จำเป็นจะต้องละทิ้งความยึดมั่นถือมั่นบางอย่างไปเสียก่อน
     
  8. 'ขาวเดช สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    สติ เราคิดชัดๆทบทวนดูดีๆแล้ว เมื่อไม่ได้เกิดมาก็ไม่มีโอกาสฝึกตน เกิดมานอกเขตพุทธะธรรมก็เสียโอกาสเปล่าอีก
    เมื่อได้เกิดมาแล้วได้พบพุทธะธรรม จึงมีโอกาสได้ฝึกตน และมีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมเป็นวาสนาสมบัติชั้นเลิศยิ่งกว่ามีสิ่งใดๆ
    หาได้ยากในโลก ชีวิตประจำวัน เวลาคือธรรมวัฏ มิให้ล่วงเลย เจริญสติ สัมมัปธานประกอบเข้าไว้ให้กลายเป็นนิสัย
    อินทรีย์สังวร ผู้ฝึกสติใหม่ๆคงเป็นแนว สติสังวร+ขันติสังวร ยังโดนเวทนาและอารมณ์บีบคั้นอยู่ ต้องอดทนอดกลั้น
    จากความไม่น่าเกลียด(ความยินดี,ภวะ) และความน่าเกลียด(ความไม่ยินดี,วิภวะ)เกิดขึ้นกับจิตและให้ผลนั้น
    เพราะจิตมักตามกระแสไป บุคคลเกิดมาย่อมมีหน้าที่และกรรมที่ดำรงอยู่ มีการกระทำไปตามหน้าที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามกาลวาระ
    ให้กำหนดทวนกระแส ให้รู้สึกยินดีก็ได้ ให้ไม่ยินดีก้อได้ ให้รู้สึกเกลียดก็ได้ ไม่รู้สึกเกลียดก็ได้
    ทั้งในสิ่งไม่น่าเกลียด(น่ายินดี)และทั้งในสิ่งน่าเกลียด(ไม่น่ายินดี) ในทางตรงข้ามเพื่อวางจิต อย่างมีสติ ไม่เบียดเบียน
    ที่สุดกำหนดตัด เว้นกระแสการรู้สึกต่างๆ วางจิตเป็นกลาง ไม่เป็นไปในทั้งความน่ายินดี และความไม่น่ายินดี
    เหตุสามัญ กรรมและหน้าที่ มีสติรู้ จิตตามกระแส จิตทวนกระแส จิตตัดกระแส และวางจิตไว้ถูกในแต่ละกระแสเพื่อสงเคราะห์ อย่างมีสติ
    เพื่อทำหน้าที่ให้กิจสำเร็จอย่างดี อย่างไม่เบียดเบียน จึงใช้ชีวิตร่วมไปกับกระแสโลกได้อย่างไม่ขัดขวางและไม่ไหลไปตาม อยู่เป็นสุข
    เมื่อมีปัญญามีสมาธิมากขึ้น มีอุบายธรรมมากขึนก็ไปสู่แนว สติสังวร+ปัญญาสังวร+วิริยะสังวร จนกระทั่งจิตไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์
    มีกายและจิตสงบเป็นปกติในทุกกาลทุกสถานที่ด้วยสติ ไม่ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์และเวทนาเหมือนคนทั่วไป
     
  9. ยูโทเปีย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    .
    สติทั่วๆไปหากนำมาใช้ในทางธรรมะมักไม่ได้เรื่องได้ราว อย่างสติของคนสมาธิน้อยสมาธิสั้น สติไม่มีเรี่ยวมีแรงอะไร เดี๋ยวสติก้อหายวับไป
    สติที่ไม่มีฐานเพราะขาดการตั้งใจอย่างยิ่ง(อธิสมาธิ) พลังสติที่ต่อเนื่องยาวนานด้วยสมาธิสมส่วน(สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่อง)ในกิจหนึ่งจนสำเร็จ
    คือ สติที่มีฐานเป็นสมาธิอย่างยิ่ง การเจริญสติทั้งวันทั้งคืนย่อมทำให้สมาธิสมส่วนรั่วไหลไปทั้งวันทั้งคืน เพราะเหตุแห่งการเจริญสตินั้น
    อาหจฺจฌาณ สมาธิย่อมถูกใช้ไปเรื่อยไปด้วยกิจสตินั้น จนสมาธิอ่อนแรงย่อมทำให้สตินั้นกำหนดรู้อะไรไม่ชัดเจน ฟุ้งไม่มีคุณภาพในที่สุด
    วิปัสสนาสมถะท่านจักพึงรู้ว่ารู้ไม่ชัดไม่แจ่มใสในกิจ จิตพร่องไปซัดส่ายตกจากฐาน หลุดจากขอบเขต มีความฟุ้งขึ้นที่จิตตามลำดับ
    ท่านระงับจิตด้วยอานาปนสติส่งไปในการเจริญสมาธิพักจิตตามลำดับเป็นเครื่องอยู่ เพื่อความมีกำลังในการทำกิจต่อไป ทรงอารมณ์เพื่อสติ
    พึงสละวางตนเป็นกลางในโลก และสละวางตนจากโลกก่อน มนสิการในธรรมเป็นยอดของการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นควรทำเป็นฐานของสติ
    มนสิการ(ทำไว้ในใจตั้งใจไว้ถูก) คือเหตุรวบ สติสมาธิปัญญา ให้รวมเป็นหนึ่งในขอบเขตเดียวกัน(สมาธิสมส่วน,สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่อง,อานันตริกสมาธิ)
    นัยยะปัจจัยอะไรๆที่สำคัญมันมักจะเข้ามารวมกันเป็นขอบเขตหนึ่งดูเหมือนเอกธรรมดูเหมือนสัมปชัญญะดูเหมือนสมาธิดูเหมือนสติดูเหมือนปัญญา
    เราฝึกกำหนดขอบเขตแห่งสติได้หลายรูปแบบในกิจการงานในชิวิตประจำวันด้วยมนสิการ สติจึงเจริญขึ้นตามลำดับในทุกขอบเขตแห่งจิตทุกขณะจิต
    ขอบเขตแห่งจิตกว้างก็ได้แคบก็ได้ ตามผัสสะที่กระทบในกิจวัตรประจำวัน เจริญสติธรรมต้องทำให้สัมมัปธานเจริญตาม ระงับภวะและวิภวะได้
    เป็นพลังสติที่แท้จริงในธรรม *มิใช่แนวทางอื่น
    .
     
  10. ยูโทเปีย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2008
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    .
    สติ เป็นที่เกิดเบื้องต้นของพุทธะธรรม เป็นอุปการะธรรมแก่ธรรมอื่นๆเพราะระลึกกำกับไว้ที่กาลปัจจุบันเสมอ ธรรมอื่นๆย่อมสำเร็จตาม
    การใดที่พ้นกาลปัจจุบันทันทีนั้น เป็นสัญญาทั้งสิ้น เรื่องฝันกลางวัน จิตนักช่างคิด การตวัดสัญญาเข้ามาสู่ปัจจุบันด้วยจิตที่มีสติเพื่อขบคิด
    เมื่อคิดมากก็ฟุ้งซ่าน ควรพักด้วยสมาธิก่อนเหตุเพราะโดนสัญญาอื่นทีอยู่ใกล้เข้าแทรก แต่มิได้ห้ามคิด มิฉะนั้นจะไตร่เรื่องเหตุผลในธรรมได้อย่างไร
    เว้นแต่ สมถะวิปัสสนาท่านกระทำไว้ในใจไว้(มนสิการ)ว่าจะคิดเรื่องหนึ่ง(โพชฌงค์) เฟ้นสัญญาเพื่อคิดเรื่องหนึ่ง(เน้นขอบเขตของหนึ่ง)
    แล้วจังหวะใดก็ตาม ท่านโดนสัญญาใกล้เทียบเคียงแทรกโดดไปคิดเรื่องที่สองเรื่อยไปซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องที่หนึ่ง นั่นคือสติดับไปแล้วจากหนึ่ง
    ธรรมชาติสัมมาสติ แม้เกิดแม้ดับต้องต่อเนื่องในเรื่องเดียวกัน(ในขอบเขตของหนึ่ง) สติแม้เกิดแม้ดับเว้นไว้แต่เรื่องที่สองสัมพันธ์เป็นเหตุผล
    (สัญญาใกล้เทียบเคียง)ที่จะทำให้เรื่องที่หนึ่งสำเร็จ โดยสำเหนียกรู้ว่าอยู่ในขอบเขตกิจของเรื่องที่หนึ่งจะสำเร็จได้ไม่ขาดเกิน
    โดยอนุโลมและปฏิโลมในเหตุและผล ตรวจสอบเหตุและผลได้โดยอนุโลมและปฏิโลมเนืองๆอย่างไม่มีสิ่งเทียมปลอมปนในเหตุและผลนั้น
    สัญญาที่แนบแน่นแทบเป็นเนื้อเดียวกับจิตมีอยู่ ละเอียดรวดเร็วเห็นได้ยาก นิสัยวาสนาอาจละได้ในสัญญานี้ด้วยสติที่สำรวมเจริญด้วยความเพียร
    .
     
  11. newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    สติระลึกชัดในนามรูป อะไรที่ว่าชัด? อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สติจะเกิดร่วมกับปัญญาเสมอ
     
  12. สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    นั่นมาผิดเลย..สติเกิด-เขาจะเอามาศึกษาวิชชา ให้แตกฉานในปัญญา ไม่ใช่ปัญญาจะเกิดด้วยเสมอ
    ..แต่สติเกิด สมาธิจะเกิดด้วยเสมออันนี้ใช่ เขาเอาไว้ตัดกิเลส เป็นชั้นๆไปเช่น โสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ทำให้ตนเองรู้ "แจ้ง"โลกไง อิอิ:cool:
     

แชร์หน้านี้