สถานที่ปฏิบัติธรรมในจังหวัดอุบลราชธานี

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 23 กันยายน 2009.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    เจดีย์วัดหนองป่าพง
    ............................................................................


    วัดหนองป่าพง
    เลขที่ 46 หมู่10 บ้านพงสว่าง
    ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190
    โทรศัพท์ 045-322-729
    โทรสาร 045-267-563

    พระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    หลวงพ่อชา สุภัทโท อดีตเจ้าอาวาส

    วัดหนองป่าพง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุบลราชธานี แห่งที่ 1 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม โดยเป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท

    [​IMG]
    หลวงพ่อชา สุภัทโท

    [​IMG]
    หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อชา สุภทฺโท
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6753" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?荪Ҡʘ??ⷦlt;/a><!-- m -->

    รำลึกถึงอุปลมณี แก้วมณีแห่งเมืองอุบล (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ÓŖ??֧͘?Ł?ՠᡩǁ?ա˨??ͧ͘?Š(?Ղþ?ɬ ǃó??)<!-- m -->

    เว็บไซต์วัดหนองป่าพง
    <!-- m -->วัดหนองป่าพง - Wat Nong Pah Pong<!-- m -->
    <!-- m -->วัดหนองป่าพง - Wat Nong Pah Pong<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]
    รอยมือ-รอยเท้าหลวงพ่อชา สุภัทโท
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    วัดป่าสว่างวีระวงศ์ (แสงธรรมส่องชีวิต)
    บ้านสะพานโดม ต.แก่งโดม
    กิ่ง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี 34190
    โทรศัพท์ 08-1600-0848

    เป็นวัดสาขาของสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230

    พระครูปลัดสุวัฒนเมตตาคุณ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต) ประธานสงฆ์

    พระมหาคำสอน ติกขปัญโญ เจ้าอาวาส

    วัดป่าสว่างวีระวงศ์ (แสงธรรมส่องชีวิต) เป็นสถานที่จัดฝึกอบรมและปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะจัดอบรมปฏิบัติธรรมแก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ข้าราชการตำรวจ ทหาร และข้าราชการฝ่ายปกครอง เช่น โครงการพัฒนาจิตเพื่อสันติสุข ฯลฯ ทั้งนี้ โดยมีพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต และพระลูกศิษย์เป็นผู้ให้การอบรมแก่ผู้เข้าปฏิบัติธรรม

    เจ้าหน้าที่ : แม่ชีแวว โทรศัพท์ 08-1600-0848

    ปัจจุบันสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต มีทั้งหมด 3 แห่งดังนี้

    1. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    หมู่ 1 สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230
    โทรศัพท์ 036-379-428, 036-305-239

    2. วัดป่าสว่างวีระวงศ์ (แสงธรรมส่องชีวิต)
    บ้านสะพานโดม ต.แก่งโดม กิ่ง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี 34190
    เจ้าหน้าที่ : แม่ชีแวว โทรศัพท์ 08-1600-0848

    3. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
    หมู่ 8 บ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
    เจ้าหน้าที่ : แม่ชีนลินรัตน์ โทรศัพท์ 08-9777-1625

    เว็บไซต์สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    <!-- m -->::: ʓ?ѡ??ԺѵԠ?ኧ?Ã?荧?ՇԵ? :::<!-- m -->

    [​IMG]
    พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13019" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?Ð͒?҃¬ʁ?ҵԠ????ⵦlt;/a><!-- m -->

    รายการวิทยุธรรมะ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต)
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ò¡҃ǔ?˜?Ã? (?Ð͒?҃¬ʁ?ҵԠ????⵩<!-- m -->

    เสียงธรรมบรรยายพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
    ?§?Ã?Ò - ?ط?ǔ?դŒ¢ȡ :: ?Ã?ѡælt;/a>

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ศูนย์วิปัสสนากัมมัฎฐาน
    วัดป่าวิมุตติธรรมาราม (หนองบัว)
    หมู่ 10 บ้านแสนตอ ต.กุดชุมภู
    อ.พิบูลย์มังสาหาร จ.อุบลราชธานี 34110

    หลวงพ่อวิชัย เขมิโย ประธานสงฆ์

    สถานที่แห่งนี้เป็นบ้านเกิดโยมบิดาของหลวงพ่อวิชัย เขมิโย ซึ่งหลวงพ่อท่านก็ได้อยู่อาศัยที่หมู่บ้านนี้ตั้งแต่เกิดเช่นกัน ญาติโยมชาวบ้านจึงได้อาราธนาหลวงพ่อมาเป็นประธานนำพาสร้างวัดป่าขึ้นมาในสถานที่นี้ โดยจะเริ่มสร้างศาลาปฏิบัติธรรมขึ้นมาก่อน 1 หลัง มีความกว้าง 24 เมตร ยาว 45 เมตร ใช้เสาปูน 54 ต้น (ขณะนี้เริ่มสร้างหลังคาของศาลาแล้ว) และสร้างกุฏิพระจำนวน 5 หลังก่อนเพื่อดูแลการก่อสร้าง สร้างห้องน้ำ ห้องสุขา เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร และญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมได้ใช้ด้วย จึงขอเรียนเชิญท่านผู้ใจบุญร่วมสร้างบุญกับหลวงพ่อด้วยการสร้างวัดใหม่ในบ้านเกิดของท่าน

    ปฏิปทาการดำเนินของท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย ครั้งนี้เป็นบันทึกประวัติชีวิตของท่านพระอาจารย์วิชัยโดยตรง ชีวิตการธุดงคกรรมฐานของท่าน ที่ละเอียดมีแง่มุมอันมีเนื้อหาสาระหลากหลาย เป็นประสบการณ์ในชีวิตของพระป่า ที่มีอุดมคติอุดมการณ์ความมุ่งหมายเป็นสัจจุแน่วแน่ตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนาให้สาวกและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติ นั่นคือ มรรค ผล นิพพาน! ปฏิปทาการดำเนินของท่านพระอาจารย์วิชัยนี้ เต็มไปด้วยความซื่อสัตย์มั่นคงในพระศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต เปี่ยมไปด้วยพลอินทรีย์บารมีอันมุ่งมั่น ควรเป็นที่นับถือ ไหว้นพ เคารพสักการบูชา เรียญเชิญท่านที่สนใจไปปฏิบัติธรรมได้

    [​IMG]
    หลวงพ่อวิชัย เขมิโย


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อวิชัย เขมิโย
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?Ð͒?҃¬ǔ?т ࢁԢ¦lt;/a><!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    ป้ายชื่อวัดป่านานาชาติ
    ............................................................................


    วัดป่านานาชาติ
    (สาขาของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี)
    หมู่ 7 บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย
    อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34310

    พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธมฺโม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ (ฌอน ชิเวอร์ตัน) อดีตเจ้าอาวาส

    วัดป่านานาชาติ เป็นวัดสาขาที่ 119 ของวัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี สายหลวงพ่อชา สุภัทโท เดิมชื่อว่า วัดอเมริกาวาส และมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่านานาชาติ ในภายหลัง โดยมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า WAT PAH NANACHAT. BUNG WAI FOREST MONASTERY. ซึ่งเป็นวัดที่มีพระภิกษุชาวต่างชาติ เช่น อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น เป็นต้น มาจำพรรษาอยู่มิได้ขาด โดยวัดตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ไปตามเส้นทางอุบลราชธานี-ศรีสะเกษ ประมาณ 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 226 บรรยากาศก็เหมือนวัดป่าทั่วไป

    [​IMG]

    จุดกำเนิดของวัดป่านานาชาตินั้น ต้องย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นปีแรกที่วัดหนองป่าพงได้มีโอกาสต้อนรับอาคันตุกะชาวอเมริกัน ซึ่งอยู่ในสมณเพศในพระพุทธศาสนา โดยพระภิกษุรูปนั้นมีนามว่า “โรเบิร์ต” ฉายา “สุเมโธ” ซึ่งวัตถุประสงค์ของการมาครั้งนี้คือ เพื่อมาถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภัทโท

    ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2518 ท่านสุเมโธ และพระภิกษุรูปอื่นๆ ได้ดินทางไปพักอยู่ในเขตป่าช้าบ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ชาวบ้านบุ่งหวายจึงปลูกกระท่อมให้อยู่อาศัยเพื่อการปฏิบัติธรรม และเมื่อจวนจะเข้าพรรษา หลวงพ่อชาได้อนุญาตให้พระชาวต่างประเทศไปจำพรรษารวมกันที่กระท่อมนั้น และได้มอบหมายให้ท่านสุเมโธ เป็นประธาน เพื่ออบรมพระภิกษุสามเณรเหล่านั้น เพราะนานๆ ครั้งหลวงพ่อชาจะไปให้โอวาทสักครั้ง วัตถุประสงค์ที่ให้พระชาวต่างประเทศไปอยู่รวมกัน โดยให้ศิษย์ผู้ใหญ่ชาวต่างชาติที่ได้หลักใจแล้วเป็นผู้ดูแล นัยว่าให้ชาวต่างชาติดูแลกันเองจะสะดวกกว่าด้วยประการทั้งปวง อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมตัวไว้ เมื่อถึงคราวพระเหล่านี้กลับไปประเทศของตน จะได้สะดวกในการปกครอง ถ้ามีสิ่งใดบกพร่องจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น การที่พระภิกษุสามเณรไปอยู่รวมกัน ก็ได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจากชาวบ้านบุ่งหวาย ห้วยขยุง ชาวตลาดวารินชำราบ และชาวตลาดฝั่งอุบลฯ จนทำให้เกิดสิ่งก่อสร้างเท่าที่จำเป็นมาจนถึงทุกวันนี้

    [​IMG]

    ปัจจุบัน วัดป่านานาชาติ ได้มีพระภิกษุสามเณรชาวต่างชาติมาจำพรรษาจำนวนมากเพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติทางวิปัสสนากรรมัฎฐาน พระภิกษุในวัดเกือบทุกรูปจะสามารถพูดภาษาไทย สวดภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

    แนวปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ วัดมีกุฏิที่พักแยกต่างหากระหว่างชาย (อุบาสก) และหญิง (อุบาสิกา) สำหรับผู้ที่พักระยะสั้นก็พักศาลารวม แต่ผู้ที่พักอยู่ระยะเวลานานก็จะได้อยู่กุฏิแยกเป็นส่วนตัว การไปปฏิบัติให้เขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาส ว่าจะไปอยู่ตั้งแต่วันไหนถึงวันไหน เมื่อเจ้าอาวาสอนุญาตแล้วก็ไปได้

    วัดป่านานาชาติ เป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุง แมลง และมดคันไฟมาก คนที่แพ้ยุง แมลง มด ก็ควรหายาเตรียมยาไปเองด้วย อากาศเย็นสบาย ทานอาหารวันละ 1 มื้อเท่านั้น มีน้ำปานะช่วงบ่าย

    [​IMG]
    พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธมฺโม

    [​IMG]
    พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาพระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)

    ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ

    วัดป่านานาชาติ ฝรั่งกับวัดไทย
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - วัดป่านานาชาติ ฝรั่งกับวัดไทย

    เว็บไซต์วัดป่านานาชาติ
    <!-- m -->Wat Pah Nanachat<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]

    แผนที่วัดป่านานาชาติ
    ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
     
  5. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    สำนักปฏิบัติธรรมวัดพิชโสภาราม
    เลขที่ 43 หมู่ 2 ต.แก้งเหนือ
    อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี 34170
    โทรศัพท์ 045-218-019, 08-5769-2605
    โทรสาร 045-218-021

    พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท) เจ้าอาวาส

    วัดพิชโสภาราม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุบลราชธานี แห่งที่ 3 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และเป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

    - สถานที่ปฏิบัติธรรม คือ
    ๑. ศาลาการเปรียญ
    ๒. ศาลาอเนกประสงค์
    ๓. ลานปฏิบัติธรรม
    ๔. ห้องกรรมฐาน
    สถานที่พักค้างคืนสำหรับปฏิบัติธรรม คือ
    กุฏิกรรมฐาน จำนวน ๕๕ หลัง ห้องรวมใหญ่ จำนวน ๓ ห้อง

    - สามารถรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ ครั้งละจำนวน ๓๐๐ คน

    [​IMG]
    พระบวรปริยัติวิธาน (บุญเรือง สารโท)
    ............................................................................


    - ช่วงเวลาที่วัด/สำนักจัดปฏิบัติธรรมประจำปี คือ
    ๑. เดือนกรกฎาคม
    ๒. เดือนสิงหาคม
    ๓. เดือนกันยายน

    - พระวิปัสสนาจารย์ จำนวน ๕ รูป
    วิทยากรพิเศษ จำนวน ๗ รูป/คน

    - หลักสูตรในการปฏิบัติธรรม คือ มหาสติปัฏฐาน ๔

    - ห้องสุขา/ห้องน้ำ จำนวน ๕๐ ห้อง

    - การดูแลเรื่องสุขอนามัย และความปลอดภัย มีเวชภัณฑ์ประจำ
    และเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติธรรม

    - อาหาร วันละ ๒ มื้อ เช้า-เพล ตอนเย็น มีน้ำปานะ

    - ทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นร่วมกัน

    - การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ๑๐๐ ก.ม. ห่างจากตัวอำเภอเขมราฐ ๒๒ ก.ม.
    เดินทางด้วยรถประจำทาง หรือรถยนต์ส่วนตัว ถนนลาดยางตลอดจนถึงวัด

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์วัดพิชโสภาราม
    <!-- m -->ยินดีต้อนรับสู่วัดพิชโสภาราม<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]

    แผนที่สำนักปฏิบัติธรรมวัดพิชโสภาราม
    ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี


    การเดินทางตามเส้นทางแผนที่ มีดังนี้

    ๑. มาจากเส้นทางอำนาจ-เขมราฐ ก็จะผ่านอำเภอปทุมราชวงศา
    และผ่านเข้ามาถึงบ้านหนองผือ จะมีพบเส้นทางแยก ๓ แยก คือ

    ทางแยกที่ ๑ จะไปทางชานุมาน
    ทางแยกที่ ๒ จะไปทางอำเภอกุดข้าวปุ้น
    และทางแยกที่ ๓ ก็จะเข้ามาทางวัดพิชโสภาราม

    สำหรับผู้ที่จะมาวัดพิชโสภาราม ให้เลี้ยวขวาเข้าด้านข้างโรงเรียนฯ
    จะอยู่ทางด้านขวามือเมื่อเลี้ยวเข้ามาวัดพิช (ถ้าโรงเรียนอยู่ซ้ายมือก็ไปอำเภอกุดข้าวปุ้น)

    ๒. มาจากอุบลราชธานี-ตระการพืชผล ก็จะผ่านอำเภอตระการฯ ผ่านโรงเรียนม่วงเฒ่า
    จนมาถึงสถานีตำรวจม่วงเฒ่า และให้เลี้ยวซ้ายเข้ามาวัดพิชโสภารามได้เลย

    หากมีข้อสงสัยในเรื่องเส้นทาง กรุณาติดต่อที่เบอร์โทรวัดพิชโสภาราม
    โทร. ๐-๔๕๒๑-๗๐๑๙ ต่อ ๑๑
    มือถือ ๐๘-๕๖๗๖๙-๒๖๐๕
     
  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ศูนย์ปฏิบัติธรรมกาญจนภิเษก
    ถนนอุบล-ตระการ ก.ม. ที่ 5
    ต.ไร่น้อย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
    โทรศัพท์ 08-1976-9091, 08-1966-3859

    พระครูสังฆรักษ์เสรี ฐิตธมฺโม
    พระวิปัสสนาจารย์, หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติธรรมกาญจนาภิเษก
    เจ้าอาวาสวัดศีลาราม ต.ถ้ำแข้ อ.ตระกาลพืชผล จ.อุบลราชธานี
    ผู้รับผิดชอบบริหารงานสนองพระศาสนาและพระมหาเถระ ตามวัตถุประสงค์

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์ศูนย์ปฏิบัติธรรมกาญจนภิเษก
    <!-- m -->skpubon.com<!-- m -->

    e-mail : <!-- e -->sk_50ubon@hotmail.com<!-- e -->, <!-- e -->webmaster@skpubon.com<!-- e -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  7. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    วัดภูหล่น
    เลขที่ 9 บ้านภูหล่น ต.สงยาง
    อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี 34250


    ปฐมวิปัสสนาจารย์ : หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    วัดภูหล่น เป็นสถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์ ซึ่งวัดแห่งนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนัก สามารถกางกลดอยู่ได้ มีโบสถ์บนเขาและมีกุฏิโดยรอบ บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา

    วัดภูหล่นแห่งนี้เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว แล้วต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์
     
  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    วัดป่าไทรงาม
    [วัดสาขาที่ 10 ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี]
    หมู่ 35 ถ.เดชอุดม-ทุ่งศรีอุดม บ้านไทรงาม
    ต.เมืองเดช อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี 34160
    โทรศัพท์ 045-361-238

    พระอธิการอเนก ยสทินฺโน เจ้าอาวาส

    วัดป่าไทรงาม ยึดถือคำสอนและปฏิบัติธรรมตามแนวทางของวัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท โดยสอนมุ่งเน้นให้พุทธศาสนิกชนเกิดปัญญา แก้ปัญหาด้วยตนเอง อาศัยความขยันหมั่นเพียรเป็นที่ตั้ง ท่านทั้งเทศน์ให้ฟังและปฏิบัติเป็นแบบอย่าง พระภิกษุสามเณรมีความเพียรในการปฏิบัติธรรมและทำกิจวัตรประจำวัน โดยอาศัยสติเป็นตัวกำหนดในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดสมาธิและก่อให้เกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

    ทั้งนี้ เนื่องจากทางวัดไม่มีเครื่องรางของขลัง ไม่แจกพระเครื่อง หลีกเลี่ยงที่จะรดน้ำมนต์ ไม่มีมหรสพการละเล่นภายในวัดไม่ว่ากรณีใดๆ การทำบุญไม่นิยมการเรี่ยไร ถ้าอยากทำขอให้ทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธา

    วัดตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 47 กิโลเมตร ทางเข้าวัดอยู่เยื้องกับทางเข้าสถานีขนส่งอำเภอเดชอุดม เป็นวัดป่าสาขาที่ 10 ของวัดหนองป่าพง และเป็นวัดที่ได้รับการยกย่องในด้านการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม

    [​IMG]

    • พระอธิการเอนก ยสทินฺโน พระผู้พลิกฟื้นผืนดินสู่ผืนป่า •

    พระอธิการอเนก ยสทินฺโน ผู้พลิกฟื้นผืนดินสาธารณะที่เสื่อมโทรมและใช้ทิ้งขยะของชุมชน ให้เป็นพุทธสถานที่อุดมไปด้วยพรรณไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และการใช้ประโยชน์ เชื่อมโยงธรรมะ ธรรมชาติ และผู้คนเป็นหนึ่งเดียว ด้วยกุศโลบายอันชาญฉลาด ผ่านการศึกษา สังเกต และทดลอง ปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอและยาวนาน จนเป็นองค์ความรู้ที่เป็นแบบอย่าง ขยายผลสู่วัด โรงเรียน และชุมชนภายนอก

    “คนเรานั้นมีความผู้พันกับต้นไม้และป่าไม้ตั้งแต่เกิดจนตาย เราได้รับประโยชน์จากต้นไม้มากมาย เช่น แรกเกิดแม่ก็นอนที่แคร่ไม้ไผ่ ใช้ถ่านอยู่ไฟ เราเจริญเติบโตมาก็เพราะกินอาหาร อาหารนั้นส่วนใหญ่ก็มาจากพืชผักทั้งนั้น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มทั้งหลายที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นก็มาจากใยของพืช บ้านที่อาศัยจะหลังเล็กหลังใหญ่ก็มาจากต้นไม้เช่นกัน อาหารทุกรสทุกประเภทก็ได้มาจากพืชและต้นไม้เป็นส่วนมาก ยามเราจะหลับนอนหัวของเราก็หนุนหมอนร่างกายก็ต้องใช้ผ้าห่ม ชีวิตของเราทุกคนนั้นทั้งยามหลับและยามตื่นก็อาศัยพืชต้นไม้ตลอดเวลา แม้ยามเราเจ็บป่วยเราก็อาศัยยารักษาโรค ซึ่งก็ได้มาจากกลุ่มสมุนไพรเป็นส่วนมาก ฉะนั้น อาตมาจึงเห็นว่าป่าไม้พืชผักทุกชนิดเป็นพ่อแม่ภาคที่สองของมนุษย์ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ได้ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทุกลมหายใจ แม้ที่สุดของชีวิตในยามเราตายไปก็ต้องอาศัยฟืนถ่ายเผาซากศพของเรา ตลอดชีวิตมนุษย์เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงวันที่เราละโลกไป เราทุกๆ คนก็ได้อาศัยต้นไม้และพืชผักต่างๆ หล่อเลี้ยงชีวิตมาด้วยกันทั้งนั้น เมื่อเราทุกคนทราบว่าต้นไม้พืชผักมีประโยชน์ต่อทุกชีวิตอย่างใหญ่หลวง เราจะต้องช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากยิ่งขึ้น และจะต้องปลูกอย่างเอาใจใส่เป็นอย่างดี ต้นไม้ที่ปลูกจึงจะเจริญงอกงามได้” คำปรารภของพระอธิการเอนก ยสทินฺโน ที่ต้องการให้ทุกคนเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    [​IMG]

    พลิกฟื้นผืนดิน สู่ ผืนป่า

    30 ปีที่ผ่านมา พระอาจารย์เอนก ยฺสทินฺโน ได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง ให้มาจำพรรษาอยู่ที่บ้านไทรงาม ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จึงเริ่มต้นศึกษาสภาพแวดล้อมของวัดที่เป็นที่สาธารณะเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ พบว่าเป็นที่เสื่อมโทรม ไม่มีต้นไม้ หรือพืชพันธุ์ที่จะเป็นที่พึ่งพิงและใช้ประโยชน์ได้ของทั้งคนและสัตว์ เป็นแต่เพียงที่ทิ้งขยะของชุมชนในละแวกนั้น มีแมลงวันและขยะจำนวนมากที่ถูกนำมาทิ้งในแต่ละวัน จึงเริ่มการปรับปรุงโดยการชวนชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงทำการคัดแยกขยะ บางอย่างทำลายทิ้ง บ้างส่งไปขาย นำเงินที่ได้เพียงเล็กน้อยมาซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น จอบ เสียม มีด พร้า แต่สิ่งที่ไม่ได้ซื้อ คือแรงงาน กำลังศรัทธาของชาวบ้านที่มาทำบุญและได้รับฟังคำสอนจากพระอาจารย์ เกิดศรัทธาเข้าร่วมแรงร่วมใจ หลังจากจัดระบบขยะแล้ว การปลูกต้นไม้ เป็นสิ่งที่ดำเนินการต่อมาโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากขยะเป็นอาหารสำหรับต้นไม้

    การปลูกต้นไม้ของพระอาจารย์เอนก เริ่มต้นจากปลูกทุกอย่างที่อยากปลูก เพียงเพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งไม้ใช้สอยและพืชผักสวนครัว แต่เมื่อสั่งสมประสบการณ์ได้ระยะหนึ่งเริ่มที่จะเข้าใจถึงหลักของธรรมชาติ สภาพทางกายภาพ ความหลากหลายและความยั่งยืน ทำให้พระอาจารย์ได้เริ่มต้นศึกษาและทดลองอย่างจริงจัง จนเห็นผลและพิสูจน์ได้ คือ

    ต้นไม้ที่ปลูกต้องเป็นพันธุ์ไม้พื้นถิ่น จึงสามารถอยู่รอด เจริญเติบโตและแข็งแรงในสภาพพื้นที่บริเวณนี้ได้

    ต้นไม้ที่ปลูกต้องมีทั้งไม้ยืนต้น เพื่อให้เป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และสำหรับมีไม้ไว้ใช้สอย เช่น ไม้ตะเคียน ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้โมง ฯลฯ และมีทั้งไม้ผล พืชผักสวนครัว หลากหลายชนิด เพื่อใช้บริโภค มีการแบ่งพื้นที่การปลูกอย่างเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ เช่น ต้นไม้ใหญ่อยู่บริเวณป่าเพื่อความสมบูรณ์ของป่า ไม้ผล ผักสวนครัว อยู่ติดทางเดินและโรงครัว เพื่อสะดวกในการเก็บหา ปลูกหญ้าแฝกอยู่ริมคลองน้ำเพื่อกันดินทรุด

    มีการปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ให้อยู่รอดและเจริญเติบโต ไม่สูญเสีย โดยการคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สภาพดิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกต้นไม้ให้อยู่รอดและเจริญเติบโตโดยเลือกปลูกต้นไม้ในเวลาเย็นถึงเวลากลางคืนเพื่อให้ต้นไม้ได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้ตอนเช้าต้นไม้จะฟื้นสภาพระบัดใบ สดชื่นแข็งแรง มีการติดตามดูแลต้นไม้ที่ปลูกทุกต้น วัดขนาดการเจริญเติบโต จำนวนรอด และการปลูกเสริม รวมทั้ง การจัดทำศูนย์เพาะขยายพันธุ์กล้าไม้ขึ้นเองในวัด

    สร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดินที่ปลูกต้นไม้ ด้วยการขุดคลองล้อมรอบวัด โดยให้คันคลองมีความสูงพอที่จะเก็บกักน้ำให้มีระดับความสูง สูงกว่าระดับพื้นดินที่ปลูกต้นไม้ ทำให้น้ำจากคลองซึมสู่พื้นที่ปลูกต้นไม้ หล่อเลี้ยงต้นไม้ให้ได้รับน้ำอย่างพอเพียงไม่ขาดแคลนแม้ในหน้าแล้ง ปลูกหญ้าแฝกตามคันคลองป้องกันการพังทลายของดิน ทำท่อระบายน้ำเพื่อจัดระดับน้ำให้เหมาะสมอย่างเป็นธรรมชาติ

    [​IMG]

    คืนคำว่า ป่าไทรงาม

    จากการศึกษาควบคู่กับการปฏิบัติ ทำให้พระอาจารย์อเนกได้ค้นพบว่า พันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่บริเวณนี้อีกชนิดหนึ่ง คือ ต้นไทร เพราะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งในขณะน้ำท่วม หรือหน้าแล้ง ต้นไทรยังสามารถอยู่รอดและแข็งแรง จึงทำให้ต้นไทรเป็นพันธุ์ไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในบริเวณวัดป่าไทรงาม และพระอาจารย์อเนกก็ได้ใช้ประโยชน์จากต้นไทรนี้ เป็นส่วนประกอบของการปรับปรุงสถานที่วัดป่าไทรงามเป็นพุทธสถานสำหรับปฏิบัติธรรม

    เชื่อมโยงธรรมะกับธรรมชาติ

    ด้วยการปฏิบัติจริง ปฏิบัติชอบ เกิดเป็นกำลังศรัทธา มีการขยายพื้นที่วัดจากเดิมจำนวน 25 ไร่ เป็น 50 ไร่ และเป็น 130 ไร่ในปัจจุบัน โดยใช้ปัจจัยจากการทำบุญของพุทธศาสนิกชน ลูกศิษย์ที่เคารพนับถือ และการบริจาคกำลังทรัพย์ กำลังแรงงาน และวัสดุอุปกรณ์จากชาวบ้าน ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก เยาวชน ในพื้นที่ และความร่วมมือ สนับสนุนจากโรงเรียน หน่วยงานทางราชการ เป็นความร่วมมือที่มาจากทุกภาคส่วน

    ความร่วมมือจากทุกส่วนล้วนเกิดจากศรัทธา ศรัทธาเกิดจากคำสอนที่ออกมาจากท่าทีที่เรียบง่าย ท่วงทำนอง ภาษาฟังแล้วเข้าใจ เกิดแง่คิดและนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เป็นวิถีทางธรรมชาติ สอดคล้องเหมาะสมกับธรรมชาติ เป็นกัลยาณมิตรกับสภาพแวดล้อม ใช้ธรรมชาติเป็นสื่อ

    สื่อจากการจัดสถานที่ธรรมชาติให้เป็น พุทธสถานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ธรรมะ โดยการตกแต่งบริเวณวัดจากวัสดุที่เป็นธรรมชาติ มาจากธรรมชาติ แต่ไม่รบกวนธรรมชาติ เช่น ใช้รากไม้ ต้นไม้ ตอไม้ ที่ตายแล้วไม่มีประโยชน์มาตกแต่ง ให้กลับมามีประโยชน์ในทางธรรมะ คือ ให้คนเข้าใจชีวิต เกิดแก่ เจ็บ ตาย สังขารมนุษย์และธรรมชาติ การตระหนักรู้ และการให้คุณค่าแก่ทุกสิ่งเป็นการเคารพธรรมชาติ เคารพตนเอง และเคารพผู้อื่น ใช้หินแกะสลักเป็นรูปร่าง ที่นั่ง อาสนะ มีร่มไทรให้ความร่มรื่น ทุกสิ่งเกิดจากกุศโลบายของพระอาจารย์

    “การสอนคนต้องเริ่มจากให้คนอยาก เมื่อคนเข้ามาในวัดเริ่มแรกได้พบเห็นธรรมชาติ การจัดแต่งที่สวยงาม น่าประทับใจ น่าเรียนรู้ คนจะเริ่มซึมซับและอยากที่จะรู้มากขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการดึงคนเข้าก่อน แล้วค่อยสอนในขั้นต่อไป”

    [​IMG]

    สู่เมตตาธรรมในใจคน

    ความศรัทธาก่อให้เกิดพลังในการปฏิบัติการ ภายในวัดกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ธรรมะ ที่โรงเรียนนำเด็กนักเรียนมาเข้าข่ายปฏิบัติธรรมเป็นประจำ ภายนอกวัดมีการขยายผลจัดโครงการปลูกต้นไม้และการอนุรักษ์ธรรมชาติสู่วัดสาขา จำนวน 26 วัด วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 225 และเทศบาลตำบลเมืองเดช ร่วมดำเนินการ และความศรัทธาทำให้เกิดเมตตาธรรม หล่อหลอมความรัก ความมีน้ำใจ เผื่อแผ่สู่ผู้ด้อยโอกาสในสังคมในรูปแบบกองทุนสวัสดิการสังคม เช่น กองทุนเมตตาธรรมสงเคราะห์โค กระบือ กองทุนเมตตาธรรมสงเคราะห์ชุมชน กองทุนข้าว กองทุนสงเคราะห์พระภิกษุ สามเณรที่อาพาธ กองทุนเมตตาธรรมสงเคราะห์โรงเรียน และชุมชน

    การใช้หลักธรรมนำพาให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มีทั้งพุทธศาสนิกชน ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน เด็ก เยาวชน หน่วยงานทั้งราชการและเอกชน มีหลักคิด ยึดมั่น และวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน พึ่งพา ดูแลรักษา คืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน น้ำ ป่า เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม ล้วนเกิดจากความมุ่งมั่นทางด้านจิตใจและการปฏิบัติการที่เรียบง่าย ประณีต สม่ำเสมอ และเข้มแข็ง เป็นแบบอย่างของพระอาจารย์เอนก ยสทินฺโน ที่มุ่งหวังให้คนได้พัฒนาอย่างยั่งยืนจากจิตใจผ่านธรรมะและธรรมชาติที่ดีงาม

    [​IMG]

    พระอธิการเอนก ยสทินฺโน

    การศึกษา :
    - ปริยัติศึกษา นักธรรมเอก

    การทำงาน :
    - ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดแสงเกษม ต.เมืองเดช อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    - คณะกรรมการดูแลช่วยเหลือพระสงฆ์สามเณรในสายวัดหนองป่าพง
    และที่ปรึกษาของคณะสงฆ์วัดสาขา ทั้งในประเทศไทย และสาขาต่างประเทศ
    - กรรมการบริหารกองทุนมรดกธรรม วัดหนองป่าพง
    - เจ้าอาวาสวัดป่าไทรงาม ต.เมืองเดช อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

    เกียรติประวัติ :
    - พ.ศ.2545 รางวัลชนะเลิศระดับชาติ โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ
    เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 50 ปี

    - พ.ศ.2546 ได้รับโล่และเข็มทองพระราชทาน รางวัลชนะเลิศระดับชาติ
    โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติที่วัดป่าหนองขี้เห็นใหญ่ (บ้านโนนทอง) ต.ทุ่งเทิง อ.เดชอุดม

    ระยะเวลาการทำงาน :
    - 34 ปี (พ.ศ.2515–2549)

    ผลงาน :
    - พัฒนาที่ทิ้งขยะสาธารณะที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้เป็นวัดป่าที่อุดมสมบูรณ์
    - ขยายพื้นที่วัดจาก 25 ไร่ เป็น 130 ไร่ โดยกำลังศรัทธาของลูกศิษย์
    - ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยการปลูกต้นไม้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
    โดยการคัดเลือกชนิดและสายพันธุ์ และมีวิธีการในการติดตามรักษาให้ต้นไม้
    อยู่รอดเจริญเติบโต ปรับสภาพพื้นที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดินที่ปลูกต้นไม้
    - ขยายแนวคิดและกิจกรรมการปลูกต้นไม้สู่ 20 วัด และ 1 โรงเรียน
    - พัฒนาบริเวณวัดให้เป็นพุทธสถานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ธรรมะ
    - จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือชาวบ้านผู้ด้อยโอกาส
    กองทุนช่วยเหลือพระภิกษุสงฆ์อาพาธและมรณภาพ และกองทุนช่วยเหลือเด็กนักเรียนเยาวชน

    [​IMG]
    พระอธิการอเนก ยสทินฺโน
    ............................................................................
     
  9. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763

แชร์หน้านี้

Loading...