สนทนาหลังกรรมฐานที่จันทบุรี

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 13 พฤษภาคม 2019.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,004
    ค่าพลัง:
    +69,977
    c_oc=AQmUoxtjiPnWS1jio3Az56Zjm5tzW1IW6cTTuIO-0SeQvhYvdioHkDRgxWqzMft6jJg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    สนทนาหลังกรรมฐานที่จันทบุรี

    คำว่า "มัว" นี่เป็นของธรรมดา เขาเปรียบเทียบไว้อย่างนี้ ถ้าเป็นฌานโลกีย์ อารมณ์จะเหมือนเห็นคนในเดือนมืด เวลามัวๆ ตามันมองไม่ถนัด มันมีสภาพแบบนั้นเห็นไม่ชัด คือว่าถ้าหากว่ามีอารมณ์ถึง "พระโสดาบัน" ก็ยังมีสภาพสว่างคล้ายถือเทียนเดินในความมืด มองไม่กว้าง ถ้าถึง "สกิทาคามี" ก็ยังมีแสงสว่างเพิ่มอีกหน่อย ไปถึง "อนาคามี" นี่สว่างมาก "สกิทาคามี" กับ "อนาคามี" สว่างคล้ายคลึง แต่ "อนาคามี" สว่างมากมีการคล่องตัวมาก ที่จะสว่างไม่ลดคือ "พระอรหันต์" สว่างเต็มที่ ถ้าหากเราทรงชีวิตแบบมีสภาพมัวๆ ก็ช่าง ถึงว่าจะมัวก็ดีกว่าพวก "สุกขวิปัสสโก" นี่เขาไม่เห็นอะไรเลย เขาไม่มีอะไรยืนยันเลย เขาไม่เคยเห็นเทวดา ไม่เคยเห็นสวรรค์ ไม่เคยเห็นพรหม ไม่เคยเห็นนิพพาน ไม่เคยเห็นนรก เปรต อสุรกายเลย ใช้กำลังใจตัดสินตามพระพุทธเจ้าแค่นั้น เป็นพระอริยะได้ แต่ว่าหลักสูตรนี้เรียกว่า "สุกขวิปัสสโก" ฟังแล้วรู้สึกจะปฏิบัติง่าย


    "สุกขวิปัสสโก" แปลว่า "รู้แจ้งเห็นจริงอย่างสบายๆ" แต่ความจริงไม่สบาย ที่ว่าสบายเพราะว่าไม่ต้องฝึก "วิชชาสาม" หรือ "ภิญญาหก" ทำไปสายเดียว ภาวนาไปพิจารณาไป ฉันลองดูแล้วมันถอยหน้าถอยหลัง เพราะว่าไอ้พูดว่าตายแล้วเกิด สวรรค์มี พรหมมี บางครั้งไอ้จิตที่เป็น "มิจฉาทิฏฐิ" ของเราก็เกิดขึ้น มันแน่หรือไม่แน่ จริงหรือไม่จริง กว่าจะตัดสินใจได้จริงๆ จิตอย่างน้อยที่สุดต้องตัด "สังโยชน์ ๓" จึงมีความมั่นคง คือว่าตัด "สังโยชน์ ๓" ไม่ได้ ความสงสัยยังไม่หมด

    ❄ สังโยชน์ ๓ คือ❄
    ๑."สักกายทิฏฐิ" พิจารณาตอนนี้ "สังโยชน์ ๓" เป็นองค์ของพระโสดาบันและสกิทาคามี พระโสดาบันและสกิทาคามี ท่านบอกว่า "เป็นผู้มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่มั่นอยู่ในศีล" ตามพระบาลีว่า
    โสดาบันและสกิทาคามีทรง "อธิศีล"
    อนาคามีทรง "อธิจิต"
    อรหันต์ทรง "อธิปัญญา"
    คำว่า "อธิ" แปลว่า "ยิ่ง" ทรงอย่างจริงจัง
    การตัด "สังโยชน์ ๓" ตัด "สักกายทิฏฐิ" ความจริงตัดตัวนี้ตัวเดียวเป็นอรหันต์
    แต่ว่าอารมณ์ของพระโสดาบัน และสกิทาคามี จะมีความรู้สึกในการตัด "สักกายทิฏฐิ" เพียงแค่รู้สึกว่า "เราจะต้องตาย" ชีวิตเราตายแน่ไม่สามารถอยู่ตลอดรอดฝั่ง ยืนยาวไม่ตลอดชั่วกัปชั่วกัลป์ มีความรู้สึกว่าต้องตายแน่

    ข้อที่ ๒ "วิจิกิจฉา" ตัดความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เมื่อตายแล้วถ้าทำความชั่วเสวยทุกข์จริง ถ้าทำความดีเสวยสุขจริง

    ข้อที่ ๓ "สีลัพพตปรามาส" เมื่อมั่นใจว่า ถ้าทำความชั่วตายแล้วจะมีทุกข์ ทำความดี ขอยึดศีลเป็นที่พึ่ง ตายแล้วจะเป็นสุข เพราะอาศัยศีลเป็นที่พึ่ง ถึงแม้จะมีบาปกรรมมามากสักเท่าไรก็ตาม ก็เลยกั้นอบายภูมิได้
    ศีลถ้ามั่นคงนะ แล้วถ้าจิตเป็นถึงพระโสดาบัน อบายภูมิ ๔ ดึงไม่ไหว "พระโสดาบัน" จะไม่ต้องตกนรก ไม่ต้องเกิดเป็นเปรต ไม่ต้องเกิดเป็นอสุรกาย ไม่ต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เลิกกัน! การจะเกิดก็วนเวียนอยู่ ๒ ระดับ คือ เป็นคนกับเป็นเทวดาหรือพรหม ทีนี้การที่เราพูดว่า "สุกขวิปัสสโก" ต้องเดินถึงจุดนี้ คือจุดศีลมั่นคง

    พระพุทธเจ้าทรงสอนทั้ง ๔ แบบคือ
    ๑.สุกขวิปัสสโก
    ๒.เตวิชโช
    ๓.ฉฬภิญโญ
    ๔.ปฏิสัมภิทัปปัตโต
    ถ้าหากว่า "เตวิชโช" และ "ฉฬภิญโญ" ๒ อย่างต้องทำ "วิชชาสาม" ทำได้ ๒ ใน ๓ เป็นฌานโลกีย์ ถ้า "อภิญญาหก" จะต้องทำอภิญญาห้าเป็นฌานโลกีย์
    ถ้าเป็น "ปฏิสัมภิทัปปัตโต" อันดับสุดท้าย อันนี้ทำให้เกิดในสมัยเป็นฌานโลกีย์ไม่ได้ ต้องไปได้เมื่อตอนเป็น "พระอริยเจ้า" คือตอนเป็น "พระอนาคามี"

    เป็นอันว่า "วิชชาสาม" ก็ดีสองในวิชชาสาม ห้าในอภิญญาหก ถ้าเราทำได้ เรายังไม่ถึงพระโสดาบัน เราก็หมดความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้แล้ว การเดินเข้าไปหาพระอริยเจ้าเร็วกว่า ไม่ต้องลงทุนมาก มาวิชชาสาม ที่เราเอามาฝึกวิชาสามกึ่งอภิญญาหก ฝึกอภิญญาหกเลยไม่ได้ เพราะกำลังใจยังไม่ถึง เวลาฝึกกรรมฐานต้องดูกำลังใจคนว่า เวลาถึงแล้วหรือยัง ถ้าเวลายังไม่ถึง..ฝึกไม่ได้!

    ฉันเริ่มสอนมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๗ - ๒๕๐๙ ฉันสอนไม่ถึงปฐมฌาน เพราะว่าคนที่รับกำลังด้าน "สุกขวิปัสสโก" ถึงปฐมฌานนี่ไม่มี และก็มีอยู่ ๘๐ คน อันนี้สอนวิชานี้ "มโนมยิทธิ" ก็ได้แค่ ๘๐ คน หลังจากนั้นไม่มีใครได้อีก ก็ต้องดูกำลังใจ
    แล้วต่อมาเริ่มปีที่ ๔ จึงสอนเข้าถึงฌานสมาบัติ และก็มาๆ ๒ - ๓ ปีนี้ไม่สนใจเรื่องฌาน ฌานสนใจเหมือนกัน แต่ว่าขึ้นต้นสอนไม่ขึ้นต้นด้วยฌาน ขึ้นต้นด้วย "สังโยชน์" เพราะกำลังคนสูงพอ คือผู้รับต้องมีกำลังใจรับพอ ถ้ามีกำลังใจรับไม่พอ เราให้ก็เสร็จ!

    ที่นี้มาถึงด้านการฝึกวิชชาสามควบอภิญญาหกนี่ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ จนกระทั่งถึงปี ๒๕๒๑ สิบปีไม่มีใครได้เลย พอมาเมื่อปีที่แล้ว เดือนพฤศจิกายน จำได้ว่าวันที่ ๑๓ หรือ ๒๓ กำลังให้เขาทำกันอยู่ ก็มานั่งนึกว่า เอ...ฝึกมาตั้งนานปี ๒๕๐๘ เราเริ่มสอนประมาณได้ ๘๐ คน หลังจากนั้นมาประมาณสิบปีไม่ได้สักคน เราคนสอนก็เหนื่อยแล้ว คนฝึกก็เหนื่อย ถ้าไม่มีผลอย่างนี้ขืนทำไปก็เสียกำลังใจคน ก็อยากจะเลิก แต่ว่าความจริงวันนั้นตัดสินใจเลิกจริงๆ ตัดสินใจว่านับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จะไม่สอนใน "วิชชาสาม" และ "อภิญญา" จะสอนเฉพาะ "สุกขวิปัสสโก" ที่เขาทำก็ทำกันไปเราก็นั่งเฉยคนเดียว

    ประเดี๋ยวสมเด็จฯ ท่านก็มา ท่านมาบอก
    "คุณ! เลิกไม่ได้"
    ถาม "ทำไม?"
    บอก "๒๐ หรือ ๔๐ ปีข้างหน้า อภิญญาหกจะมาก จะต้องปูพื้นฐานไว้รับอภิญญาหก"
    เลยบอกว่า "ถ้าสอนมันไม่มีผล ผมจะสอนไปทำไม มันจะเกิดประโยชน์อะไรกับการสอน"
    ท่านก็บอกว่า "ถ้าสอนวิธีนี้ มันก็เหมือนกับให้เด็กอุ้มช้างอาบน้ำ มันก็ไม่มีผล วิชาใช้อันเดียวกัน หลักสูตรอันเดียวกัน แต่เปลี่ยนวิธีสอนเป็นให้ครูเข้าไปสอน เข้าไปแนะนำ" แต่ก่อนนี้ไม่สอนเขา ให้ภาวนาเฉยๆ เราสั่งให้ภาวนาเฉยๆ มีการช่วยนิดหน่อยก็ยังดี ยังถือว่าการทำเบามาก ที่ฉันทำมา "กสิณ ๑๐" เต็ม เมื่อก่อนนี้น่ากลัวจะแบกภูเขา ไม่ใช่แบกช้าง ไอ้กสิณ ๑๐ ทั้งหมด ต้องเข้าฌานตามลำดับกสิณเอาฌาน ๑, ๒, ๓, ๔ กสิณกองนี้ก็ ๑, ๒, ๓, ๔ จนครบกสิณทั้งสิบ ทีนี้จนคล่อง ทีนี้เข้าฌานสลับฌานสลับกสิณมันแย่

    เดี๋ยวนี้ใครจะเอาก็เข็ด มาวันเดียวถวายบังคมลาหมด เสร็จแบบเอาหมอเถื่อนมาอบรมเป็นแพทย์ปริญญา อยู่ฉีดยาก็ได้แล้วดันอบรมก็ไปหมด ไอ้นั่นมันเป็นสมัยหนึ่ง
    แล้วก็มาตอนฝึก "นะมะพะธะ" แบบให้อย่างเดียว ตอนนั้นก็มีการช่วยนิดหน่อย แต่ไม่ใช่กสิณเต็มแบบนี้ ก็ถือว่าเบามากเทียบกันนะ แต่ท่านยังบอกว่าถ้าทำแบบนั้น ถือเหมือนกับให้เด็กอุ้มช้างอาบน้ำ ถามทำอย่างไร ก็เลยบอกให้เข้าไปสอนเลย เข้าไปแนะนำวิธีการนี้ ฉันก็ลอง....

    วันแรกฉันลองอย่างนี้ ฝึก "พรนุช แป๊ว ปู" ฝึก ๒ คน พรนุช กับ ปู ไปได้ แป๊ว ป่วยเป็นไทรอยด์ รุ่งขึ้นแกก็สู้ เห็นสองคนไปได้ รุ่งขึ้นแกก็กำลังป่วยก็สู้เห็นเขาทำได้ เราต้องทำได้ พอไปได้ ๒ คนก็มีกำลังใจ เหมือนพระพุทธเจ้าสอนครั้งแรก "ปัญจวัคคีย์" พอเทศน์ "ธัมมจักฯ" จบ ท่าน "โกณฑัญญะ" ได้ท่านก็ดีใจ เปล่งวาจาว่า
    "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ
    อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ"
    แปลว่า "ท่านโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ" แต่เดิมชื่อโกณฑัญญะ วันนั้นพระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานวาจาเลยต่อหน้าว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" ที่รู้ก่อนเพื่อน

    ☘ วันนั้นพอเขาไปได้ เขาได้กันสองคนก็ดีใจ พอรุ่งขึ้นเช้าได้อีกคน ซึ่งป่วยมากและก็ดีใจมาก ก็เลยมีกำลังใจ ต่อมาทำกันมาเรื่อยๆ สำคัญคนแรกถ้าชุดแรกมีตัวอย่างได้ ก็มีกำลังใจ ถ้าทำไปแล้วไม่มีใครได้เลย มันก็เหนื่อย เหนื่อยแล้วไม่แน่ใจได้หรือไม่ได้ ตัวอย่างได้คนสองคน เอ้า! เขาทำได้เราก็ทำได้ ทีนี้ไอ้คำว่าสว่างหรือไม่สว่างนี้ไม่จำเป็น มีความจำเป็นอยู่อย่างเดียว บังเอิญมืดตื้อมันขึ้นไม่ไหว ท่านเคยสั่งมันมีเชื้อทางร่างกายนี้หรือเปล่า ทางร่างกายหรือจิตประสาท บางทีจิตทางร่างกายไหวตัวนิดเดียว ตัวเราเองยังไม่รู้ว่าป่วยจริงไหม หมอที่คนไข้ไม่รู้ว่าป่วย แต่หมอตรวจบอกว่าป่วย มันเรื่องจริง เราเองเราไม่รู้ว่าป่วยเพราะเราห่วงอย่างนั้นห่วงอย่างนี้ แต่ว่าร่างกายมันไม่ไหวตัวป่วยแล้ว หมายความว่าร่างกายนั้นไม่ดีนิดหนึ่งเราไม่รู้ ที่นี้จิตมันโยงกับกายมันก็มืดใช่ไหมมืด....

    ทีนี้พระพุทธเจ้าสั่งว่า "จะมืด จะสว่างไม่สำคัญ ถึงแม้อารมณ์มืดให้ถือจิต" ตรงนี้ "จุฬามณี" เราเคยไปไหว้พระพุทธเจ้า ตรงนี้นิพพาน ตรงนี้ที่ของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิพพานนี่ขึ้นเป็นปกติ ตัวเดาเลยถึงแม้ว่าเดาแบบนี้ เรายังดีกว่าฝ่าย "สุกขวิปัสสโก" เพราะเราเคยไปเห็น "สุกขวิปัสสโก" ไม่เคยเห็น เราต้องถือว่าจุดนี้ที่เราจะมา นี่นิพพานคือวิมานพระพุทธเจ้า นี่วิมานของเราถือนิพพานเป็นเกณฑ์ ท่านบอกว่าให้ถือแบบนั้น

    ⚘ ถ้าต่อไปเวลาจะตายจริงๆ เขาบอกว่าต้องเข้าฌานตาย ถ้าเวลาจะเข้าฌานถึงฌาน ๔ จะไปได้ ต้องการไปไหนก็ไปได้ ถ้าทำโดยวิธีนี้ก็ถือว่าทรงฌานเป็นปกติ โดยที่ไม่ต้องเข้า
    "ถ้าจิตเราตั้งไว้พระนิพพานเราออกปั๊บไปเลย เราถือว่าเป็นการทรงฌานเป็นปกติ"

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ วัดท่าซุง อุทัยธานี
    จากหนังสือ สนทนาธรรมเล่ม ๒ (มีนาคม ๒๕๔๒) หน้าที่ ๓ ถึง ๑๑
    คัดลอกโดย ธัมม สุขโข


    ----------------------------------------------


     

แชร์หน้านี้

Loading...