สาธุครับคุณตรงฯ ตรงจริงๆด้วยครับ ขยายเนื้อหาได้กว้าง ครอบคลุม ลึกซึ้ง
เป็นประโยชน์อย่างมากครับ
ขอขอบคุณในความกรุณา ที่ช่วยชี้ให้ได้เห็นชัดเจน
เดี๋ยวจะค่อยๆพิจารณาเป็นเรื่องๆอย่างละเอียด
และจะใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด จากที่กรุณาชี้แจงให้นะครับ
เรื่องการเจริญสมถะนั้น เพราะว่าเคยทำด้วยความไม่รู้ สักแต่ว่าทำตามๆที่ได้รับตำแนะนำ เมื่อพบสภาวะแปลกๆในการปฎิบัติ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้สืบสาวหาความรู้ เพื่อตอบข้อข้องใจที่เกิดขึ้น และค่อยๆเรียนรู้ไปตามลำดับ
ความโกรธภายหลังจากการเจริญจิตภาวนานั้น เกิดขึ้นง่ายและไว จากการที่ประสพกับตนเอง ทั้งเป็นเรื่องที่พบว่าในกลุ่มนักปฎิบัติได้มีการพูดในวงกว้าง และเลยมาพบที่อาไข่นุ้ยมีกุศลจิต นำคำสอนของหลวงพ่อมาแปะที่นี่ ได้พบข้อความนี้เข้า จึงเห็นว่าไม่เพียงผมคนเดียวที่รู้สึกได้ถึงความรู้สึกนี้
ตามที่คุณตรงฯชี้ให้เห็นว่า
ที่ว่าสมถะในอริยมรรค(สัมมาสมาธิที่เป็นองค์มรรค เป็นโลกุตระ) นั้น... ไม่มีทางเลย ที่เจริญแล้ว จะเป็นเหตุให้โกรธเร็ว อันนี้ผมคงต้องย้อนไปตรวจสอบตัวเองใหม่ครับ
ความเห็นส่วนตัวเห็นว่า คงเพราะขณะเจริญสมถะภาวนั้นนั้น ไปข่มทับนิวรณ์ เหมือนการไปบังคับ ทับนิวรณ์นั้นเหมือนศิลาทับหญ้าที่ว่าจริงๆ หรือเหมือนงดให้น้ำให้อาหารแก่กิเลศชั่วขณะ พอคลายตัวจากการเพียร(สัมมัปทาน ข้อสอง.ในความเห็นของคุณตรงฯ) จึงได้เสพอารณ์ที่ประณีตขึ้น ด้วยเหตุเพราะความประณีตของจิตที่ขัดเกลาไป ขณะเดียวกัน การได้เสพรสชาดของกิเลสก็พลอยประณีตตามไปด้วยเหมือนกัน(นี่เฉพาะความเห็นนะครับ) พอได้กลับมาสู่ชีวิตประจำวันซึ่งเป็นสภาวะปรกติ ย่อมเสพรสของอารณ์ต่างๆได้ประณีตขึ้น ไม่ว่าฝ่ายกุศลหรืออกุศล
แต่จากที่คุณตรงฯกรุณาแสดงความหมายครอบคลุมความเรื่องที่อาจเป็นได้ ถือว่ากรุณาอย่างยิ่งครับ จะค่อยๆพิจารณาแล้วค่อยมาคุยต่ออีกทีนะครับ ขอบคุณตรงนี้จริงๆครับ
สมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐาน หลวง พ่อเทียน จิตฺตสุโภ
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไข่น้อย, 23 เมษายน 2010.
หน้า 6 ของ 7
-
-
เรียน คุณkengkanny
ขออภัยที่ตอบช้าครับ ช่วงนี้ เดินทางอยู่บนรถเกือบทุกวัน ไม่ค่อยมีโอกาสโพสตอบ
ขออภัยด้วย ถ้าผมแสดงไม่ชัดเจน
ไม่ได้มีเจตนาจะกล่าวว่า สมถะ คือ ตัวปัญญาน่ะครับ
สมถะ(กระบวนการแห่งสมาธิ) กับ วิปัสสนา(กระบวนการแห่งปัญญา) มีความหมายในระดับพระไตรปิฎกที่ชัดเจนว่า อย่างไรเรียกว่าสมถะ อย่างไรเรียกว่าวิปัสสนา ..... อาจจะเรียกว่า แยกความหมายออกจากกันได้
แต่ สมถะในอริยมรรค ซึ่งก็คือ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระโดยตรง(ไม่นับรวม มิจฉาสมาธิ และ สมาธิแบบศิลาทับหญ้า) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของอริยมรรคคู่กันกับวิปัสสนา(วิชาภาคิยะ).... อาจจะกล่าวได้ว่า ไม่สามารถแยกขาดสมถะออกจากวิปัสสนาได้. เพราะ ผู้ที่จะบรรลุอริยมรรคผลได้ จะต้องสมบูรณ์พร้อมทั้งสมถะ(ในอริยมรรค) และ วิปัสสนา จึงจะบรรลุอริยมรรคผลได้ ... ส่วน ผู้ที่เจริญวิปัสสนาแล้ว จะมีสมถะตามมาเองได้อย่างไร เสนออ่าน
จาก พุทธธรรม หน้า 331
"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."
ปล.... คำว่า "วิปัสสนายานิก" ที่ท่านเจ้าคุณกล่าวนี้ ไม่ใช่ความหมายเดียวกับ วิปัสสสนาล้วนๆ(สมถะ0%) อย่าง ที่บางท่านเข้าใจกันน่ะครับ.
ดังนั้น สมถะในอริยมรรค(สัมมาสมาธิในองค์มรรค) จึงเป็นลักษณะที่ว่า
1.มีความหมายที่แยกกันชัดเจนกับวิปัสสนา แต่ แยกขาดออกจากวิปัสสนาไม่ได้ เพราะ อริยมรรคสมังคีย่อมต้องสมบูรณ์พร้อมทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา
2.สมถะในอริยมรรค(สัมมาสมาธิในองค์มรรค) สามารถจะเป็นผลของการเจริญวิปัสสนา(ปัญญา)ได้เสียด้วยซ้ำ ที่เรียกในระดับพระสูตรว่าว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น(อย่างเดียวกันกับ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า)
3.ที่ชัดเจนอีกจุดหนึ่งว่า สมถะในอริยมรรค ไม่สามารถแยกขาดออกจากวิปัสสนาได้ เพราะ จาก มหาจัตตารีสกสูตร สัมมาสมาธิในองค์มรรค ไม่ใช่องค์ธรรมโดดๆ แต่ เป็นองค์ธรรมที่มีองค์ประกอบของวิปัสสนา(อนาสวะสัมมาทิฏฐิ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ) กล่าวคือ ระบุว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคคือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว(เอกัคคตา)นั้นๆมีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการห้อมล้อม (ถ้า เอกัคคตานั้นๆ ปราศจากองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการห้อมล้อมก็ยังไม่นับว่าเป็นสมถะในอริยมรรค). และ "เพราะ มีสัมมาสมาธิ(สมถะในอริยมรรค) สัมมาญาณะ(การตรัสรู้ชอบ) จึงพอเหมาะ" . จึงอาจจะกล่าวได้ว่า สมถะในอริยมรรคต้องมีปัญญาในมรรคเป็นองค์ประกอบ และ มีปัญญาในอริยผลเป็นผล.
เสนอ อ่าน ที่ หลวงปู่ชา ท่านกล่าวไว้น่ะครับ
ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียว
วิปัสสนาอยู่ปลายท่อนทางนี้ สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น
ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายไม้จะขึ้นข้างเดียวหรือสองข้าง
ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายทั้งสองข้างจะขึ้นด้วย
......................
เชิญ สนทนากันไปก่อน น่ะครับ ถ้ามีโอกาสจะเข้ามาตอบอีก. -
เสนอ
ลองย้อนอ่าน ที่ หลวงตามหาบัวท่านแสดงเรื่องที่ไม่ให้จบเพียงแค่ขั้นของความสงบ...
ลองอ่านที่ หลวงปู่ชา ท่านสอนว่า ความสงบนั้นยังไม่จบ...
จาก คห.ก่อนหน้านี้ น่ะครับ
ผมเห็นว่า ครูบาอาจารย์พระป่าท่านสอนตรงกับพระพุทธพจน์ ที่ไม่ให้พัวพันกำหนัดยินดีในสังโยชน์กับความสงบ(จบแค่ความสงบ) แต่ ให้ใช้อานิสงส์ของความสงบให้เกิดประโยชน์สูงสุด(เช่น ในปาสาทิกสูตร)
ประเด็นเรื่อง ที่อาจจะมีชาวพุทธรุ่นใหม่บางท่านเข้าใจว่า ครูบาอาจารย์พระป่าท่านสอนเพียงแค่สมถะศิลาทับหญ้า จึงถือว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนครับ
ว่างๆ จะเข้ามาคุยด้วยใหม่ -
สมถะในอริยมรรคสมังคี
มีพระสูตรที่แสดงขณะจิตแห่งอริยมรรคสมังคี ที่พร้อมมูลทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
พระสูตรนี้ ระบุชัดเจนว่า
ในขณะ ที่บังเกิดอริยมรรคสมังคี นั้น
สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
คือ ต้องไม่มีการ"แยกขาด" สมถะ ออกจาก วิปัสสนา ...จึง จะบังเกิดอริยมรรคมรรคสมังคี ขึ้นได้
ปล...
คำว่า "ตั้งใจมั่นดีแล้ว" คือ สัมมาสมาธิในองค์มรรค(สมถะในอริยมรรค)
คำว่า"เห็นแจ้ง" คือ สัมมาญาณะ(ปัญญาในอริยผล) -
มี พระสูตรที่น่าสนใจ อีกพระสูตรหนึ่ง
ที่ บางท่านอาจจะยังไม่เคยศึกษา
เกี่ยวกับ การที่บุคคลผู้ปราถนาความพ้นทุกข์พึงเจริญให้พร้อมมูลทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
พระสูตรนี้ น่าสนใจ ตรงที่มี
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ ไม่ได้ความสงบใจในภายในจำพวก ๑
(หมายเอาผู้ที่ได้โลกุตระปัญญาเบื้องต้น แต่ ยังไม่ปรากฏเอกัคคตาจิต ขึ้น)
ซึ่ง สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ แก่ บุคคลในกลุ่มนี้คือ คือ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายใน พึงเข้าไปหาบุคคลผู้มีปรกติได้ ความสงบใจในภายใน แล้วถามอย่างนี้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างไร พึงน้อมจิตไปอย่างไร พึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นได้อย่างไร พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร ผู้ถูกถามนั้นย่อมตอบเขาตามความเห็น ความรู้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้พึงน้อมจิตไปอย่างนี้ พึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นอย่างนี้ พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างนี้ สมัยต่อมาเขาเป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม ทั้งได้ความสงบใจในภายใน
ตรงจุดนี้ ขอเสนอให้ดูในพระบาลีเดิม ครับ
ความสงบใจใจภายใน(ที่เป็นไปด้วยดี) ใช้คำว่า เจโตสมถะ
อชฺฌตฺตํ เจโตสมถสฺส
BUDSIR for Thai Translation
พระสูตรนี้ ชาวพุทธรุ่นใหม่ที่เข้าใจว่า สมถะ มี ความหมายที่ไม่ไกลเกินไปกว่าศิลาทับหญ้า หรือ สมถะก็คือการที่เจริญแล้วจะเป็นให้โกรธเร็ว ฟังแล้ว อาจจะรู้สึกงงๆ ว่า
แล้ว พระพุทธองค์ทรงสอนให้บุคคลผู้ที่อุตส่าห์ภาวนาจนได้โลกุตระปัญญาเบื้องต้นแล้ว มาเจริญให้ปรากฏสมถะ ทำไมกัน???
เอกัคคตาจิต(สมถะ) ที่ระบุให้ บุคคลผู้ที่ได้โลกุตระปัญญาเบื้องต้น มาเจริญให้ปรากฏนี้ คือ สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ(สมถะในอริยมรรค) นั้นเอง<!-- google_ad_section_end -->
ดังนั้น ผมจึงขออนุญาตไม่เห็นด้วย กับ
การจำกัดความหมายของสมถะเอาไว้เพียงสมถะแบบศิลาทับหญ้า
หรือ กล่าวแบบเหมารวม-ไม่แสดงแบบแยกแยะลงรายละเอียด ว่า เจริญสมถะเป็นเหตุให้โกรธเร็ว
<HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1> -
เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium
โมทนา สาธุธรรม กับพี่ตรงประเด็นอย่างสูงครับ .....
ที่ยกธรรมะมาให้พิจารณาอย่างละเอียดปราณีต สาธุ สาธุ สาธุ .....
จะค่อยๆอ่านพิจารณาโดยแยบคายต่อไป .. -
ผมไม่เคยทราบที่ว่ามานั้น
แต่เท่าที่ทราบ แนวการปฎิบัติคร่าวๆก็เป็นการเจริญจิตตะภาวนาเสียมาก(พุท-โธ) ไม่เคยไปถึงว่า ท่านเจริญปัญญาภาวนาอย่างไรน่ะครับ แต่ก็ได้ฟังเทศน์จากบางท่านก็เข้าใจตามที่กล่าวมาแหละครับ ท่านก็ว่าเมื่อบริกรรมภาวนาไปเรื่อยๆ เมื่อรวมจิตแน่วแน่ก็ให้หยุดบริกรรมได้ และมารู้เห็นตามเป็นจริง ก็เป็นการเจริญปัญญาภาวนา ในส่วนรายละเอียดก็ไม่ทราบท่านมีวิธีอธิบายอย่างไร แต่เท่าที่ฟัง ก็คิดว่าตรงกับหลักการในพระสูตรดีครับ
ที่ยกมาให้ทราบว่า เมื่อเจริญจิตภาวนานั้นเกิดอาการไวต่อความโกรธ ก็เป็นแค่ส่วนประสพการณ์ตรง เพราะผมใช้แนวทางในมหาสติปัฎฐานสูตร อานาปานสติสูตเป็นตัวตั้ง และเทียบเคียงกับเทคนิคอาจารย์ คือวิธีของท่านเจ้าคุณโชดก แล้วมาเปรียบเทียบวิธีการ ก็เห็นว่าเข้ากันได้ดีครับ ทั้งได้ฟังจากที่ท่านเทศน์ก็เข้าใจว่าเข้ากันได้กับพระสูตร จึงได้นำวิธีดังกล่าวมาใช้เพื่อเจริญปัญญาภาวนา
ประเด็นคือ เพียงชี้ให้เห็นในประสพการณ์การปฎิบัติตรงส่วนตัว ซึ่งตรงกับที่ว่า"ศิลาทับหญ้า" ตรงนี้เข้าใจความหมายที่ว่ากว้างไปกว่า"ศิลาทับหญ้า" ซึ่งสมถะตรงนี้มีมาก่อนพุทธกาลแล้ว น่าจะเข้าใจได้ตรงกัน หมายรวมถึงหลวงพ่อเทียนด้วย ท่านย่อมเข้าในสมถะอย่างที่คุณตรงอธิบายมาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ส่วนการเจริญปัญญาภาวนามีผลให้สัมมาสมาธิเกิดตามมาด้วย ก็เป็นที่เข้าใจดีครับ(ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงครับ)
แต่เมื่อปฎิบัติภาวนา (คือจะเริ่มปัญญาภาวนา ก็ผ่านสมถะในส่วนอานาปานบรรพซึ่งเป็นสมถะอยู่แล้ว)ผลคือไวต่อผัสสะทั้งหลาย (ไม่เฉพาะความโกรธอย่างเดียวดังที่ยกมาให้ฟังแล้ว) และเข้าใจเอาเองว่าเป็นผลของการเจริญจิต-ปัญญาภาวนาควบคู่กัน(ทั้งสัมมาสมาธิและสัมมาปัญญา)
ในกรณีที่ว่าการเจริญจิตภาวนาที่ทำอยู่นั้น อาจไม่เป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค นั่นเป็นข้อที่ผมคงต้องตรวจสอบด้วยตัวเองรวมทั้งฟังความรู้ของเพื่อนๆรวมทั้งคุณตรงฯที่ต่างออกไป และเห็นว่าคุณตรงรอบรู้ดี จึงอยากทราบเป็นส่วนตัวว่าคุณตรงปฎิบัติอย่างไรในการเจริญจิต-ปัญญาภาวนา
ผมบริกรรมยุบหนอ-พองหนอ เพื่อกำหนดตามลมหายใจ นั่นเทียบเข้ากันได้กับในอานาปาณบรรพ เมื่อมีผัสสะมากระทบ เช่นได้ยินเสียง ก็บริกรรมเสียงหนอ เสียงหนอ(รู้ในขันธ์ทั้งสี่ ก็เข้ากันได้กับเวทนา จิต ธรรม) บางท่านก็ว่าไม่เป็นวิปัสสนาเพราะบริกรรมก็เป็นสมมุติบัญญัติ (โดยเฉพาะผ่ายศึกษาอภิธรรม) ก็ยอมรับครับในเรื่ิองwording
แต่ในปฎิบัติการจริง ไม่มีความหมายอะไรมากไปกว่าการจินตนาการถึงรสเค็ม ซึ่งต้องรู้รสผ่านลิ้น ไม่ใช่การอธิบายด้วยคำพูด เพราะนิยามต่างๆก็เป็นสมมุติบัญญัติเช่นกัน เข้าใจว่าเป็นปัญหาที่การวางใจหรือท่าทีต่อการปฎิบัติที่ถูกต้องเป็นสำคัญ
การบริกรรมเสียงหนอ เห็นหนอ เมื่อยหนอต่างๆเหล่านี้ ถ้าพิจารณาโดยไม่มีอคติ ก็มีทั้งสมมุติบัญญัติและปรมัตถ์ไปในตัว (เป็นเรื่องที่พูดกันมานานมากๆแล้ว ในที่นี้จะไม่พูดต่อ เพราะไปฟังหรือศึกษาข้อขัดข้องจากอดีตก่อน ก็คงไม่ต้องแสดงความเห็นใดๆอีก เพราะเหตุผลต่างๆน่าจะครอบคลุมเพียงพอต่อความเข้าใจ และทิฎฐิส่วนตนได้) ผมจึงเห็นว่า ก็เป็นการเจริญจิตภาวนาและปัญญาภาวนาไปด้วยพร้อมในตัวอยู่่แล้ว (ในส่วนนี้ก็ขอขอบคุณครับที่อุตส่าห์ยกข้อมูลอ้างอิงมาให้ศึกษา) ยังไม่เห็นว่าจะไม่เป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรคตรงไหน หรือไม่ อย่างไร
จึงเพียงแสดงความเห็นส่วนตัวที่ว่า
เมื่อเจริญสมถะ จะเป็นแบบศิลาทับหญ้าหรือกว้างไปกว่านั้นก็ตาม ส่วนตัวเห็นความไวต่อผัสสะเพิ่มขึ้น ชัดขึ้น พร้อมๆกับเห็นความจางคลายไปได้อย่างเร็วขึ้นด้วย
ก็ยังไม่รู้ชัดว่าเป็นสัมมาสมาธิและสัมมาปัญญาในอริยมรรคหรือไม่ แต่จากที่อธิบายมาคร่าวๆ ก็ยังไม่เห็นว่ามีข้อสงสัยในการปฎิบัติที่ทำมา แต่เมื่อปฎิบัติแบบนี้ ผลที่ได้ก็คือไวต่อผัสสะมากขึ้น ซึ่งยกมาเพื่อยืนยันว่า เห็นตามที่หลวงพ่อเทียนท่านว่าไว้เช่นกันเท่านั้น ส่วนใครเห็นต่างจากการปฎิบัติ(นอกเหนือจากทฤษฏี) ก็ยินดีขอรับฟังเพื่อพัฒนาท่าทีการปฎิบัติของตัวเองครับ -
....
เพราะก่อนจะรู้จักสมถะนั้น ก็รู้จักเรื่องวิปัสสนามาก่อนแล้ว จากการขวนขวายเพื่อปัญญาภาวนามาแต่แรก จึงได้รับรู้เรื่องสมถะ-วิปัสสนา
ประเด็นมันจึงเกิดจากผลการปฎิบัติตามแนวทางต่างๆ และที่ปฎิบัติๆสอนๆกันอยู่ ส่วนใหญ่ก็ว่่าเป็นวิปัสสนากันทั้งนั้น ไม่ใช่อยากมุ่งที่สมถะกัน(หรือไม่ใช่?)
เจริญสมถะเป็นเหตุให้โกรธเร็วนั้น ไม่เหมารวมหรอกครับ พูดแบบนั้นพื่ออธิบายผลจากการปฎิบัติที่ทำมา ก็ได้อธิบายแนวทางที่ได้ปฎิบัติมาตามนั้นครับ
ในส่วนของหลวงพ่อเทียน ท่านยิ่งมีเทคนิคที่เน้นสัมปชัญญะเสียด้วยซ้ำ ย่อมไม่จำต้องอธิบายเรื่องสมถะที่มีความหมายกว้างไปไกลกว่าศิลาทับหญ้า เพราะประเด็นมันเลยความหมายตรงนี้ไปแล้ว ปัญหามันจึงควรเป็นว่า ปฎิบัติถูกแล้วไม่ควรโกรธเร็ว จริงหรือ?
ซึ่งอันนี้ก็ขออนุญาตเห็นต่าง
นักปฎิบติ เมื่อปฎิบัติจริงจัง ควรเป็นผลให้มีความว่องไว เท่าทันต่อผัสสะทั้งหลายมากกว่าคนทั่วไปที่ไม่ปฎิบัติ การที่โกรธเร็วนั้น อาจเพราะเน้นเจริญสมถะมาก ผลจึงเห็นเป็นเช่นนั้น พร้อมๆกันนั้นก็เกิดจิตรู้ มีสติระลึกรู้ เท่าทันสภาวะธรรมนั้น และการรู้แบบนั้นก็เรียกว่า มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
เมื่อโกรธก็รู้ว่าโกรธ ที่เห็นว่าโกรธไว ง่ายขึ้น ก็พูดจากผลการปฎิบัติ (ไม่คิดยกอะไรมาอ้างอิงนะครับเพราะเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล) ในส่วนที่คุณตรงฯไม่เห็นด้วย ก็ขอน้อมรับไว้ครับ และก็เห็นด้วยว่าไม่ควรเป็นว่า ยิ่งเจริญจิตภาวนายิ่งโกรธเ็ร็ว คำพูดนั้นย่อมไม่ใช่สิ่งดีแน่(มีอย่างที่ไหน ยิ่งเจริญภาวนายิ่งมักโกรธ) เป็นแต่เพียงลำดับกระบวนธรรมของสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฎิบัติเท่านั้น แต่ละคนก็อาจมีผลแตกต่างไปมังครับ -
ต้องขอโทษนะครับเผื่อจะมาตอบช้า พักนี้อาจไม่ได้ตามอ่านเท่าใดนัก แต่จะมาตามเป็นระยะครับ อาจช้าไปบ้างครับ
-
ตรงนี้ยังเห็นไม่ตรงกัน น่ะครับ
สมถะที่มีความหมายกว้างไปกว่าศิลาทับหญ้า นั้น ...ที่ชัดเจนที่สุด ก็คือ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค (เว้นแต่ จะไม่ยอมรับว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคก็เรียกว่าสมถะด้วยเช่นกัน)
สมถะ แบบนี้ นั้น นอกเหนือไปจากพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีใครในสมัยก่อนพุทธกาลรู้จักกัน ครับ. แม้นแต่ ท่านดาบสอดีตอาจารย์ของพระพุทธองค์ ก็ไม่รู้จักสมถะชนิดนี้...
ทำไมผมถึงกล่าวเช่นนั้น???
ลองอ่าน มหาจัตตารีสกสูตร ให้ดีๆ (จะช่วยให้เข้าใจคำอธิบายขยายความสมถะในองค์มรรคจากพระอภิธรรมปิฎกได้ดีขึ้นด้วย)
โลกียฌานของฤาษีนอกพระศาสนา ถึงแม้นจะมีกำลังแห่งสมาธิในระดับเอกัคคตาจิต(ฌาน)ได้เช่นกัน..... แต่ขาด คุณสมบัติตามมหาจัตตารีสกสูตร ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิ(ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ แต่ ฤาษีทั้งสองท่านไม่รู้จักอนาสวะสัมมาทิฏฐิ)เป็นตัวกำหนดทิศทาง.ดังนั้น โลกียฌานทั่วๆไป จึงยังไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในองค์มรรค ครับ
สัมมาสมาธิในองค์มรรค เป็นจุดรวมขององค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ด ก่อนที่จะบังเกิดให้ผลเป็น สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติ
ถ้า ปฏิบัติถูกตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้.... ต่อให้ปฏิบัติแบบแนวทางไหน....สัมมาสมาธิในองค์มรรค ก็จะต้องบังเกิดขึ้นแน่นอน.
เพราะ ถ้าหากปราศจาก สัมมาสมาธิในองค์มรรค เสียแล้ว มรรคย่อมไม่ครบองค์ประกอบ และมรรคสมังคี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น...... -
ผมถือตาม พระไตรปิฎกดั้งเดิมที่แสดง สัมมาสมาธิในองค์มรรค ว่าเป็น สมถะในอริยมรรค ครับ
และ ในอริยมรรค แยกขาดสมถะออกจากวิปัสสนาไม่ได้
ดังนั้น ส่วนตัวผม จึงถือว่า ถ้าจะบรรลุอริยมรรคมรรคผล ต้องพร้อมมูล ทั้ง สมถะในอริยมรรค(สัมมาสมาธิในองค์มรรค) และ วิปัสสนา....
ผมจึงไม่มามัวกังวลว่า จิตจะเป็นสมถะในอริยมรรค(ลองหาอ่านดูน่ะครับ พระสูตรจะบรรยายลักษณะของสมถะด้วย ไม่ฟุ้งซ่าน;อวิกเขโป เป็นหนึ่ง-มีอารมณ์เดียว;เอกัคคตา ตั้งมั่นชอบ;สมาธิ )
ไม่มีเหตุผลใดๆสำหรับผมเลย ที่จะกลัว สมถะในอริยมรรค
เพราะ ผมเข้าใจชัดเจนว่า สมถะในอริยมรรค ก็คือ องค์ธรรมที่เรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ นั้นเอง
ผมจึงขออนุญาตใช้พื้นที่กระทู้นี้ ชักชวนชาวพุทธรุ่นใหม่ เลิกกลัวสมถะแบบเหมารวม กันเถิด....
ถ้า จะกลัว ก็ให้กลัวมิจฉาสมาธิ หรือ ระวังการที่ไปมัวติดตันยินดีอยู่กับสุขในสมาธิจนไม่นำผลที่จิตสงัดจากนิวรณ์มาต่อยอดเจริญปัญญา(สมถะแบบศิลาทับหญ้า)
...........................
สังเกตุดูน่ะครับ การเสวนาเริ่มวกวนกลับไปจุดเดิมๆ
ประเด็นที่สำคัญที่สุด ที่ ทำให้ชาวพุทธรุ่นใหม่(ที่มักสมาทานตามอาจารย์ที่ท่านถือตามคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล) เข้าใจไม่ตรงกับ พระไตรปิฎกดั้งเดิม ก็คือ
จัดเรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคว่าเป็นสมถะด้วยไหม???
ถ้า จัดเรียก สัมมาสมาธิในองค์มรรคว่าเป็นสมถะด้วย ก็จะไปในทิศทางหนึ่ง
แต่ ถ้า ไม่จัดเรียก สัมมาสมาธิในองค์มรรคว่าเป็นสมถะ ก็จะไปในอีกทิศทางหนึ่ง -
ตรงประเด็น ผมชอบ
-
ก็คุณ ยึดมั่น ถือเอา มันก็เลยคิดว่า ที่ทำอยู่หนะถูก และ ใช่
ผมก็ขอถามด้วยคำถามง่ายๆว่า
ก่อนที่พระพุทธเจ้าสักองค์หนึ่งจะประกาศศาสนา ช่วงว่างเว้นยาวนานเท่าไหร่
สมมติว่า ช่วงที่ว่างเว้นนั้น คุณ ตรงประเด็นทำดีทุกชาติ เกิดเป็นคนทุกชาติ ไม่
เคยต้องพลาดไปเป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นสัตว์ที่ภาวนาไม่ได้ ผมยกให้ทุก
ชาติของคุณตรงประเด็นนั้น เกิดเป็นมนุษย์ทั้งหมด เอาหัวกะโหลกมากองรวมกัน
ใหญ่กว่าเขาสุเมรุ(ซึ่งเขาว่า กลางของจักรวาล ไม่ใช่เล็กๆแบบหิมาลัย) ทุกชาติ
เหล่านั้น คุณตรงประเด็นได้ทำสมถะทุกชาติ ทำสมาธิทุกชาติ ทำได้ดีเสียด้วย คือ
ทำได้แล้วก็ไม่เผลอไปติดเป็นพรหม
เนียะลองคิดเล่นๆว่า ทำไม ทำ สมาธิมาตลอดทำไมมันถึงไม่เป็นอริยมรรคบ้างหละ
ก็เพราะ มันแยกกันกับ วิปัสสนา ใช่หรือไม่ใช่ ถ้ามันไม่แยก ทำไมยาวนานขนาดนั้น
ถึงไปเป็นอริยะบ้าง ต้องรอให้พระพุทธเจ้ามาประกาศศาสนาเสียก่อน
ก็เพราะ เขาชัด และ รู้ว่า พระพุทธเจ้ามาประกาศอะไรเป็นข้อเด่น เขาจำแนกแยกแยะ
กันได้ว่า วิปัสสนา นั้นเป็นสิ่งใหม่ ไม่ใช่ติเป็นตังเมกับ สมถะ-สมาธิ แน่ๆ เขาจึงต้อง
ป่าวประกาศว่า วิถีของเขาคือ "วิปัสสนา" กันไง เพราะถ้ายังงมโข่งคิดว่า สมาธิมีแล้ว
ปัญญาจะเกิด วิปัสสนาแนบติดอยู่เสมออยู่อีก ก็คงมีปฏิภาณน้อยเต็มที
ดังนั้น การที่เขาเน้นพูด "วิปัสสนา" และชี้ให้เห็นว่า มันแยกกัน นั้นเป็นเรื่องที่ควรปรารภ
บอกกล่าวกันหรือไม่ ก็พิจารณาเอาเอง
มันดีแล้วหรือ ที่จะไป เฉไฉ ประเด็นของคนอื่นเขา ว่าเขาดูถูกสมถะ ชี้ชวนให้กลัวสมถะ
ปรักปรำกันอย่างไม่เข้าท่า -
มาฟัง ตำนานกระดำกระด่างดูบ้าง
กาลครั้งหนึ่ง มีกลุ่มชนชูโรงสติปัฏฐาน4เป็นนามอันเอก นามอันอุโฆษณ์ สาธยายแต่
เรื่องที่วนเวียนเนื่องด้วยสติปัฏฐาน4 จนความเข้าหูกลุ่มชนผู้ติดแนวทางแต่ก็อยากรู้
ทางของคนอื่น ก็ออกมาประกาศว่า กลุ่มผู้ทำการธรรมโฆษณ์สติปัฏฐาน4 เหล่านั้น
ไม่มี สมาธิแม้แต่คนเดียว รวมถึงผู้สอนด้วย
ซ้ำร้ายกว่านั้น ยังเล็งเห็นและที่ชักชวนคนให้เห็นว่า กลุ่มคนที่ทำธรรมโฆษณ์สติปัฏฐาน4
เหล่านั้น ดูถูกสมาธิ จนทำให้คนที่ยึดติดกับการทำสมาธิพลอยตั้งประเด็นเฉไฉชวนชี้กัน
ไปทั่ว
มาวันนี้
การณ์เริ่มผลิก กลุ่มคนผู้ติดแนวทางพยายามจะลดละการพูดธรรมที่ติดแนวทาง จึง
เริ่มเห็นว่าการใช้ความคิดพิจารณาจนจิตใจสงบขึ้นมานั้น คือ.....การทำสมาธิ อย่างหนึ่ง
แต่ก็ไม่น้อมมากล่าว ยกกลุ่มคนที่ทำธรรมโฆษณ์สติปัฏฐาน4เหล่านั้น ว่าเขาก็กำลังทำสมาธิชนิดหนึ่งอยู่
เขาทำสมาธิเป็นหรือไม่ เขาดูถูกสมาธิหรือไม่ เขาชี้ชวนให้เกลียดสมาธิหรือไม่
มาจนบัดนี้ ก็ยังวกๆวนๆ งงๆ งวยๆ วันดีคืนดีจะพูดสมาธิในวิธีการของตน ก็ยกชนกลุ่ม
นั้นว่าไม่ทำสมาธิ ทำสมาธิไม่เป็น เป็นปฏิกูลลอยน้ำ
วันดีคืนดี นึกต้องการสอนธรรมแนวทางอื่นนอกจากแนวทางตน ก็ยกการพิจารณา
ตามรู้ตามดู(อนุสติปัฏฐาน)เหล่านั้นว่าเป็นการทำสมาธิชนิดหนึ่ง ทำความสงบให้กับ
ใจ หรือเป็นสมถะเหมือนกัน แต่ก็ยกไว้ไม่พูดถึงกลุ่มชนผู้ชูสติปัฏฐาน4(วิปัสสนา)ว่า
เขาจมยังลอยน้ำอยู่หรือไม่
เนื่องจากเป็นตำนานกระดำกระด่าง ตำนานนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปใดๆ เพื่อคงความกระดำ
กระด่างให้อยู่คู่ นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายต่อไป -
สมถะ แบบนี้ นั้น นอกเหนือไปจากพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีใครในสมัยก่อนพุทธกาลรู้จักกัน ครับ. แม้นแต่ ท่านดาบสอดีตอาจารย์ของพระพุทธองค์ ก็ไม่รู้จักสมถะชนิดนี้...
ทำไมผมถึงกล่าวเช่นนั้น???
ลองอ่าน มหาจัตตารีสกสูตร ให้ดีๆ (จะช่วยให้เข้าใจคำอธิบายขยายความสมถะในองค์มรรคจากพระอภิธรรมปิฎกได้ดีขึ้นด้วย)
โลกียฌานของฤาษีนอกพระศาสนา ถึงแม้นจะมีกำลังแห่งสมาธิในระดับเอกัคคตาจิต(ฌาน)ได้เช่นกัน..... แต่ขาด คุณสมบัติตามมหาจัตตารีสกสูตร ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิ(ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ แต่ ฤาษีทั้งสองท่านไม่รู้จักอนาสวะสัมมาทิฏฐิ)เป็นตัวกำหนดทิศทาง.ดังนั้น โลกียฌานทั่วๆไป จึงยังไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในองค์มรรค ครับ
สัมมาสมาธิในองค์มรรค เป็นจุดรวมขององค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ด ก่อนที่จะบังเกิดให้ผลเป็น สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติ
ถ้า ปฏิบัติถูกตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้.... ต่อให้ปฏิบัติแบบแนวทางไหน....สัมมาสมาธิในองค์มรรค ก็จะต้องบังเกิดขึ้นแน่นอน.
เพราะ ถ้าหากปราศจาก สัมมาสมาธิในองค์มรรค เสียแล้ว มรรคย่อมไม่ครบองค์ประกอบ และมรรคสมังคี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น......Click to expand...
อันที่จริงผมเข้าใจโดยใช้ภาษาง่ายๆ ก็น่าจะเข้าใจได้ไม่ยุ่งยาก ก็คือ
การมีสมาธิในการตามดูตามพิจารณาในสติปัฏฐานทั้งสี่ สมาธิที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนแน่วแน่ไปตามลำดับนี้ ก็เป็นสัมมาสมาธิที่เกิดจากการปฎิบัติสติปัฏฐานสี่(สมาธิสัมโภชฌงค์) ซึ่งแยกต่างจากสมาธิแบบมีอารมณ์เดียว(ศิลาทับหญ้า)
ที่พูดมาคงหมายถึงแค่นี้มังครับ เข้าใจแบบนี้นะครับ
แต่ก็ขอขอบคุณคุณตรงที่ยกข้อความในพระสูตรมาเพื่อยืนยันคำกล่าวนี้นะครับ
ส่วนที่ว่า"โลกียฌานทั่วๆไป จึงยังไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในองค์มรรค" อันนี้ไม่ทราบครับ -
กลับมาจากพักร้อนแล้ว
พาครอบครัวไปเยี่ยมญาติ ท่องเที่ยว ในต่างจังหวัด และ ทำบุญไปด้วยในตัว...เดินทางตลอด
ได้ไปกราบพระที่ผมเคารพ ...ปีนี้ เน้นขอพรพระให้ชาติไทยรอดพ้นวิกฤตการณ์ครับ
...................
มาเสวนากันต่อครับ
TAWEE GIBB
อ่านดีๆครับ ถ้ายกเพียงบางข้อความเดี๋ยวจะเสียประโยชน์ไปถกเรื่องที่ไม่มีประโยชน์
ผมหมายถึง สมถะแบบที่พวกพราหมณ์เค้าทำกันมาน่ะแหละครับ ที่มีมาก่อนพุทธกาล ส่วนสมถะที่ตามหลังวิปัสสนานั้น ก็ไม่ได้เห็นขัดแย้งอะไรครับClick to expand...
คำว่า "สมถะที่ตามหลังวิปัสสนา" จะจำกัดอยู่แค่ การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า(อย่างเดียวกับ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น)ในยุคนัทวรรค-ยุคนัทกถา คือ เจริญสติปัฏฐานสี่แล้ว ปรากฏ การที่มีปัญญาปล่อยวางมาก่อน-แล้ว สมถะ(เอกัคคตาจิต)ค่อยตามมาภายหลัง
# แต่ ความจริงแล้ว
ในระดับพระสูตร ก็มีแสดง สมถะ(เอกัคคตา)ที่ปรากฏก่อนวิปัสสนาญาณ และ เป็นสมถะที่ฤาษีนอกพระศานา(เว้นพระปัจเจกๆ) ก็ ไม่เคยรู้จักมาก่อนเช่นกัน
การเจริญสติปัฏฐานสี่...ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ถ้ามีนิสัยปัจจัยทางสมาธิภาวนา มีเนกขัมมะดำริ และ อินทรีย์สังวร ดีแล้ว เอกัคคตาจิต จะปรากฏก่อน วิปัสสนาญาณ ...
โดยที่ เอกัคคตาจิตแบบนี้ ก็จัดว่าเป็นสมถะที่พวกฤาษี(เว้นพระปัจเจกๆ)ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เช่นกันครับ
เสนอ อ่านพระสูตรนี้
ทันตภูมิสูตร ที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0
ทรงแสดงแก่ท่าน สมณุทเทสอจิรวตะ(พระพุทธองค์ทรงเรียกท่านว่า อัคคิเวสสนะ)
พระสูตรนี้ค่อนข้างยาว เริ่มจากการสนทนาระหว่างท่านสมณุทเทสอจิรวตะ กับ พระราชกุมารชยเสนะ ในประเด็นที่ว่า
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึง สำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้ ฯClick to expand...
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0
ถ้ามีเวลาว่าง ลองค่อยๆอ่านบทสนทนาระหว่าง ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ กับ พระราชกุมารชยเสนะ
และ ในสุดท้าย พระราชกุมารชยเสนะ ก็สรุปด้วยภาวะมุมมองแห่งตนเอง(ที่ยังคงข้องกับกามอยู่) ว่า ประเด็นนี้ เป็นไปไม่ได้...
คือ ไม่มีทางที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้...
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส แก่สมณุทเทสอจิรวตะแล้ว ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป ฯClick to expand...
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0
ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ จึงมาทูลให้พระพุทธองคฺทรงทราบ และ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรม ชี้เหตุผลกับท่าน
ใน พระพุทธเทศนานั้น บรรยายตั้งแต่ เหตุที่พระราชกุมารไม่อาจจะคาดหยั่งถึงการสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ เพราะยังคงเสพกามอยู่
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
ดูกรอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความ
ข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ
เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม
ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการ
แสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้
นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯClick to expand...
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0
และ ต่อจากนั้น ทรงแสดงถึงธรรมขั้นสูงๆต่อไป คือ เนกขัมมะ คือ การออกจากกาม
ต่อด้วย การเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ต่อด้วย การเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ละนิวรณ์๕ได้
เมื่อละนิวรณ์๕ได้แล้ว ก็ต่อด้วย การพิจารณากายในกาย (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม)มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ (ตรงนี้ ไม่ได้แสดงชัดเจนว่า นี่เป็นสมาธิระดับใด แต่ ผมเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง การที่เป็นเหตุให้บรรลุรูปฌานที่๑แล้ว เพราะถัดจากท่อนนี้ไปก็ทรงบรรยายถึงทุติยฌานแล้ว)
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0
ต่อมาทรงแสดง สติปัฏฐานสี่ ว่าคือ หลักผูกใจของอริยสาวก เปรียบด้วยเสาตะลุงใหญ่เอาไว้ล่ามคอช้างป่า
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0
# พระสูตรในตอนต่อจากนี้ น่าสนใจนมากครับ
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0
ทรงแสดงถึง
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
"พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย" (ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม)Click to expand...
จึงยังให้เกิด
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
"เธอย่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่".Click to expand...
การพิจารณาเห็นกายในกาย แต่ไม่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย(ตลอดจน เวทนา จิต ธรรม) ซึ่งบรรยายว่า วิตก-วิจาร สงบไป จึงบรรลุถึงทุติยฌาน
ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
"ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน"Click to expand...
ซึ่งนี่ คือ การละวางปีติอย่างมีสติ จึงบรรลุตติยฌาน
ต่อจากนั้นทรงแสดงถึง
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
" ย่อมเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ"Click to expand...
ซึ่งนี่คือ การละวางสุขที่เกิดขึ้น จิตจึงลุถึงจตุตฌานที่มีสติบริสุทธิ์(จึงเลิกกังวลได้เลยครับ ว่า จะติดสุขจากสมาธิ ถ้าทำตามพระพุทธโอวาท)
## หลังจากนั้นจึงทรง แสดงถึง วิชชาสามประการ ๆลๆ ที่ประกอบด้วย อาสวักขยญาณ(เป็นวิปัสสนาญาณ)เป็นท้ายสุด ....
ซึ่ง ในลักษณะนี้ สมถะเจริญก่อน และ วิปัสสนาญาณ ตามมาภายหลัง
โดยที่สมถะแบบนี้ ฤาษีนอกพระศาสนา(เว้น พระปัจเจกๆ)ก็ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เพราะ เอกัคคตาจิตแบบนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการพิจารณากาย-เวทนา-จิต-ธรรม ซึ่งไม่เคยมีฤาษีใดๆ(เว้นพระปัจเจกๆ)จะเคยทราบวิธีแนวนี้มาก่อน
ปล...พระสูตรนี้น่าสนใจมาก
เพราะ ทรงตรัสแสดงถึง ความสัมพันธ์ของสติปัฏฐาน กับ รูปฌาน๑-๔ โดยตรง (ตรงกับ คำว่า"เอกัคคตาแห่งจิต" ที่ เป็นประเด็นสนทนาระหว่าง ท่านสมณุทเทสอจิรวตะกับพระราชกุมารชยเสนะ ในตอนต้นพระสูตร)....
ซึ่ง นี่คือ สัมมาสมาธิในองค์มรรค(สมถะในอริยมรรค) อันเป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐานโดยตรง และ สมถะแบบนี้ ฤาษีใดๆ(เว้นพระปัจเจกๆ) ก็ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
<!-- google_ad_section_end --> -
อีกจุดหนึ่ง ที่ ทำให้เข้าใจแตกต่างกันมาก ในเรื่อง สมถะ-วิปัสสนา
คือ การที่บางท่านเหมือนจะเข้าใจว่า
คำว่า "เจริญสติปัฏฐานสี่" มีความหมายเท่ากันทุกประการกับ คำว่า "เจริญวิปัสสนากรรมฐาน".
กล่าวคือ เหมือนจะมองแยก การเจริญสมถะ ออกมาจาก สติปัฐานสี่ ไปเลย. (มองว่า สมถะ ไม่เกี่ยวกับ การเจริญสติปัฏฐานสี่; วิปัสสนาเท่านั้น ที่ คือ สติปัฏฐานสี่)
# แต่ ในความจริงแล้ว
การเจริญสติปัฏฐานสี่ย่อมมีสมบูรณ์พร้อมมูล ทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา
หากแต่ว่า ในการเจริญสติปัฏฐานสี่ นั้น อาจจะเป็นไปได้ทั้ง
1.สมถะจะมีการพัฒนาเจริญขึ้นก่อน-วิปัสสนาตามหลัง(เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า; สมถปุพพังคมวิปัสสนา )
หรือ
2.สมถะ และ วิปัสสนามีการพัฒนาเจริญขึ้น พร้อมๆกัน(เจริญสมถะควบคู่กับวิปัสสนา;ยุคนัทธสมถวิปัสสนา )
หรือ
3.วิปัสสนาจะมีการพัฒนาเจริญขึ้นก่อน-สมถะตามหลัง(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า; วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ )
ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านสรุปประมวลไว้ ในหนังสือพุทธธรรม ดังนี้
สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ
”......สติปัฏฐาน แปลกันว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การปรากฏของสติบ้าง ฯลฯ
ถือเอาแต่ใจความง่ายๆ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิด
ผลดีถึงที่สุด
อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุโลกุตตรมรรค เพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน
การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมา และยกย่อง
นับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว.....”
.....................
แม้นแต่ จิตตานุปัสสนา เอง ก็มีทั้งที่ เป็นส่วนสมถะพร้อมเสร็จอยู่ในนั้น.
(ข้อมูลส่วนนี้ เป็นข้อมูลจากท่านผู้ที่เป็นกลางในกระทู้นี้ครับ)
โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
จาก หนังสือ โพธิปักขิยธรรม
เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ
ทีนี้ก็ดูต่อไป ***ดูจิต*** เพ่งต่อไปถึงว่าจิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา
พิจารณาจิตก็มี ๒ อย่าง
เพียงรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรกำหนดเท่านี้ก็เป็นสมถะ กำหนดเพียงภาวะว่าจิตของเรากำลังเป็นอย่างไรเท่านั้นเป็นสมถะ
ถ้าว่ากำหนดข้อเท็จจริงของมันเป็นอย่างไร ที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไร นี่เรียกว่าปัญญาเป็นวิปัสสนา
ๆลๆ......
ซึ่ง คือ คำตอบที่หลายท่านถามกันว่า
ทำไมเจริญจิตตานุปัสสนาแล้วมีความเบิกบานของจิตขึ้น?(ภายใต้ความเชื่อที่ว่า จิตตานุปัสสนา เป็น วิปัสสนาล้วนๆ) ;ซึ่ง ก็เป็นเพราะผลของธรรมฝ่ายปิติ สุข จากสมถะ นั้นเอง
ปล... อยากให้ย้อนกลับไปอ่าน ทันตภูมิสูตรที่๕ อีกครั้ง
จะสังเกตุเห็นว่า ไม่ใช่เฉพาะพิจารณากายในกายเท่านั้นที่ยังให้จิตบรรลุเอกัคคตา(ฌาน) ... แม้นแต่ พิจารณาจิตในจิต ก็ทรงแสดงไว้เช่นกันว่า ยังให้จิตบรรลุเอกัคคตา(ฌาน)ได้ -
Tawee gibb said: ↑การมีสมาธิในการตามดูตามพิจารณาในสติปัฏฐานทั้งสี่ สมาธิที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนแน่วแน่ไปตามลำดับนี้ ก็เป็นสัมมาสมาธิที่เกิดจากการปฎิบัติสติปัฏฐานสี่(สมาธิสัมโภชฌงค์) ซึ่งแยกต่างจากสมาธิแบบมีอารมณ์เดียว(ศิลาทับหญ้า)
ที่พูดมาคงหมายถึงแค่นี้มังครับ เข้าใจแบบนี้นะครับClick to expand...
ถ้าคุณกล่าวเช่นนี้
อาจจะทำให้เข้าใจได้ว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรค(ที่เป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐาน)หรือสมาธิสัมโพชฌงค์ ไม่ได้มีลักษณะ อารมณ์เดียว(เอกัคคตา)???
ตรงจุดนี้ เสนออ่าน มหาจัตตารีสกสูตร อีกครั้งน่ะครับ
”.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ …..”
Click to expand...
ฌาน หรือ เอกัคคตา เป็นคำเรียก รวมๆ
ถ้ามีเหตุ2(วิตก วิจาร) และ ให้ผล3(ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์) ก็ล้วนแต่เรียกว่า ฌาน ทั้งนั้น ครับ
ต่างกันแต่ว่า มีปัจจัยนำแห่งฌานนั้นอย่างไร
ถ้า มีปัจจัยนำมาสู่ฌานนั้นๆ ด้วย การเจริญสัมมาสติ(สติปัฏฐาน) ฌานนั้นๆ ก็เรียกว่าเป็น โลกุตระฌาน
แต่ถ้า ปัจจัยที่นำมาสู่ฌานนั้นๆ ไม่ใช่ การเจริญสัมมาสติ(สติปัฏฐาน) ฌานนั้นๆ ก็เรียกว่าเป็น โลกียะฌาน
ไม่ว่า จะเป็น โลกุตระฌาน(สัมมาสมาธิในองค์มรรค) หรือ โลกียะฌาน ก็ล้วนแต่จัดว่าเป็น เอกัคคตาแห่งจิต ทั้งสิ้นครับ
หาใช่ว่า เอกัคคตาแห่งจิต จะจำกัดอยู่เฉพาะเพียง โลกียะฌานที่บุคคลผู้เจริญแล้วไปหลงติดตันยินดีในสุขอยู่(ศิลาทับหญ้า) เท่านั้น แต่อย่างใด -
<TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>มี บทธรรม จาก พระไตรปิฎก
เรื่อง โลกุตระฌาน จากการเจริญสติปัฏฐาน มานำเสนอเพิ่ม
(สังเกตุ; ในพระไตรปิฎก กล่าวถึง โลกุตระฌาน ว่า เป็นเคื่องนำออกจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน. จึงขอเสนอว่า เป็นไปได้ไหมที่ โลกุตระฌาน จะเป็นศิลาทับหญ้า??? )
อภิธรรมภาชนีย์
[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
[เห็นกายในกาย]
[๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้
เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความ
ทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้
เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
[เห็นเวทนาในเวทนา]
ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
[เห็นจิตในจิต]
ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก-
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์
แห่งมรรค นับเนืองในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรม
ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
[เห็นธรรมในธรรม]
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ
อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
ที่มา:
<!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 260&Z=6310<!-- m -->
</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22>
</TD></TR></TBODY></TABLE> -
เอกัคคตาจิต คือ จิตที่มีเอกัคคตารมณ์(มีอารมณ์เดียว)
มีข้อมูลทางธรรมเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เอกัคคตารมณ์ มาลงเพิ่ม.ลองพิจารณาดูน่ะครับว่า
เอกัคคตารมณ์ จำเป็นต้องพบเฉพาะใน สมถะแบบศิลาทับหญ้า ไหม???
โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท
คนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว
อารมณ์อันเดียวคืออะไร?
ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว
มันเปลี่ยนจากอารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ .....
อารมณ์อันเดียวคืออารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ....ไม่มีชั่ว ไม่มีดี ....มีดี มีชั่ว แต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้นเป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้
ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้นอย่างนี้
นี้การปล่อยวางทั้งหมด นั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง
เอกัคคตารมณ์ จึงไม่จำเป็น ที่จะต้องจำกัดว่าเป็นสมถะแบบศิลาทับหญ้า เท่านั้น ครับ
หน้า 6 ของ 7