สมาธิ กับ สติ อันไหนเกิดก่อน

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย telwada, 16 สิงหาคม 2013.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คำถาม.....
    :..อ่าน-ฟัง ท่านผู้รู้ เถียงกัน ทำให้ผมเขวไปหมด เพราะเหตุผลท่าน ทุกฝ่าย..เป็นไปได้ ทั้งนั้นครับ
    .. ขอพุทธพจน์-พระสูตร-หรือสิ่งที่คาดคะเนตามเหตุผลให้วงเล็บไว้ครับ สาธุทุกท่าน-ทุกฝ่ายครับ ขอธรรมทานด้วย..สาธุ
    ..สติ กับ สมาธิ เป็นอัญญะมัญญะ กันใช่ไหมครับ..อันไหนเกิดก่อน-เกิดหลัง หรือพร้อมกัน ครับ:cool:[/QUOTE]

    ตอบ.....
    ข้าพเจ้าไม่สามารถจะหาพระสูตร หรือ พุทธพจน์ มาเป็นคำตอบให้กับคุณได้ แต่ข้าพเจ้า จะตอบคำถามของคุณ ตามหลักความจริง ซึ่งตัวคุณเอง สามารถที่จะใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ วิเคราะห์ ให้เกิดความรู้ ความใจ ได้โดยไม่ยากนัก ดังนี้

    ธรรมชาติของสรรพสิ่ง หมายรวมเอาสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียว ไปจนถึงสัตว์ชั้นสูง ที่มีอาการครบ สามสิบสอง
    ล้วน ย่อมมี .."รูป , สัญญา,เวทนา,สังขาร ฯ ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมประกอบไปด้วย มหาภูตรูป " ความนี้ในพระไตรปิฎกไม่มีซึ่งข้าพเจ้าคิดว่ามันขาดหายไป คงมีปรากฏดังที่ท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษากันอยู่เท่านั้น
    สติ... คือ ความระลึกได้ หรือ การนึกถึง คิดถึง (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพราะหากเป็นสัตว์เซลล์เดียว อาจจะมีความคิดหรือความจำเพียงอย่างเดียว ฯลฯ ) บุคคล ย่อมมีรูป และจะมีสติได้ ก็ต้องมี สัญญา มี เวทนา มีสังขาร ครบทุกอย่าง บุคคลจะสามารถใช้ สติ คือ ความระลึกได้ ก็ต้อง มี สมาธิ เพราะ สมาธิ จะทำให้ บุคคลนั้นๆ มีความรู้สึกตัว และ ระลึกได้ หาก บุคคล ขาดสมาธิ บุคคล นั้นๆ ก็จะขาดความรู้สึกตัว และระลีกไม่ได้ คือ ไร้สติ สัมปชัญญะ นั่นแหละ แต่ถ้าบุคคลนั้นๆ ยังพอมี สมาธิอยู่บ้าง ก็อาจจะ มีความรู้สึกตัวอยู่บ้าง แต่รู้สึกตัวเพียงอย่างเดียว คล้ายกับ สัตว์เซลล์เดียว และ อาจจะมีความระลึกได้ คือ มีสติ อยู่เพียงรูปแบบเดียว หรือจำได้เพียงบางอย่าง และหรือ มีการระลึกได้ หรือสติ ที่สับสน ซึ่ง ท่านทั้งหลาย อาจจะหาดูบุคคลที่มี สติ อยู่เพียงรูปแบบเดียว หรือจำได้เพียงบางอย่าง หรือ มีการระลึกนึกถึง หรือ มีสติที่สับสน ได้จากโรงพยาบาลโรคจิต อย่างนี้เป็นต้น

    ดังนั้น สมาธิ จะเกิดมีขึ้นได้ ก็ย่อมต้อง อาศัย รูป สัญญา เวทนา สังขาร ฯ เช่นเดียวกับ สติ เช่นกัน เพราะทั้ง สมาธิ และ สติ ล้วนเกิดจาก อวัยวะ และ ระบบการทำงานของร่างกาย

    ดังนั้น ถ้าบุคคลจะมีสมาธิได้ ก็ล้วนต้อง อาศัย สติ หรือความระลึกได้ เป็นปัจจัย
    เช่นเดียวกัน ถ้าบุคคลจะมีสติ หรือ ความระลึกได้ ก็ล้วนต้อง อาศัย สมาธิ เป็นปัจจัย
    สมาธิ และ สติ จึงเกิดขึ้น สลับกันไปมา บางครั้ง สติ อาจเกิดก่อน จึงจะมี สมาธิ
    แต่ บางครั้ง สมาธิ อาจเกิดก่อน จึงจะมี สติ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัย หลายสิ่งหลายประการ

    เมื่อท่านทั้งหลายอ่านมาถึงจุดนี้ ก็ต้องใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณาให้ดีว่า คำว่า สติ คือ ความระลึกได้นั้น ระลึกได้ถึงอะไร นึกถึงอะไร เมื่อท่านทั้งหลายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสติแล้ว ท่านทั้งหลายก็จะเกิดความเข้าใจว่า สมาธิ ก็ต้อง อาศัย สติ และ สติ ก็ต้อง อาศัย สมาธิ

    และด้วยเหตุนี้เองในทางพุทธศาสนา จึงมีข้อความที่ได้อธิบายถึงธรรมชาติของการปฏิบัติสมาธิ นั่นก็คือ
    ฌาน(ชาน) ซึ่งหากท่านทั้งหลายได้พิจารณาไตร่ตรอง ใน ฌาน(ชาน) ทั้ง ๔ (บางตำราก็ว่า๕) ก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ สติได้มากขึ้น และยังรวมไปถึง กรรมฐาน อีก ๔๐ กอง ที่จะทำให้เกิดมีความสงบในใจ หรือ สมาธิ หรือ เกิดมีสติ คือ ความระลึกได้
    และอีกทั้ง ในทาง ธรรมชาติของ สติ ในทางพุทธศาสนา ก็ได้อธิบายเอาไว้ ในหมวด สติ ปัฏฐานสี่ ซึ่งการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ก็ต้อง อาศัย สมาธิ เป็นที่ตั้ง อย่างนี้เป็นต้น

    ที่ข้าพเจ้าได้อรรถาธิบายไปข้างต้น คงมีประโยชน์ต่อท่านทั้งหลาย และเจ้าของกระทู้ และคงจะได้คำตอบที่คุณสงสัย หากคิดพิจารณาให้ดี
    อีกประการข้าพเจ้าเห็นว่า คำถามของคุณมีประโยชน์ต่อผู้ศรัทธาในพุทธศาสนา จึงจะขอนำเอา คำถามของคุณไปเผยแพร่ ตามเวบฯที่มีความสนใจ เพราะเป็นวิทยาทาน

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียนตอบ)
    ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖
     

แชร์หน้านี้

Loading...