สอบถามท่านผู้รู้คะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Patsa P, 20 มิถุนายน 2012.

  1. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็ถูก ดูที่เจตนา
    มีหลายเจตนานะ ทั้งของเจ้าของกระทู้
    ทั้งของคุณ และของเรา และอีกหลายคน

    หากว่าเป็นเจตนาดีหมด
    แต่เจตนาดีนั้น ใครถูกต้อง ใครไม่ถูกต้อง และเกิดผลดีเสียอย่างไร อันนี้ก็มีผล..

    ขนาดเจตนาดีของลูก ยังเป็นอนันตริยกรรมได้
    เจตนาดีของคุณ มันก็เป็นอะไรๆได้ เช่นกัน

    ตามจรรยาบรรณของแพทย์ ถ้าเขาไม่อนุญาตให้เอาเครื่องหายใจออก ญาติที่ไหนก็เอาเครื่องออกไม่ได้ แต่ถ้าเขาอนุญาตเขาต้องมั่นใจว่ายื้อชีวิตไว้ไม่ได้แล้ว ญาติเท่านั้นจะเป็นคนเอาเครื่องช่วยฯออกได้ (ไม่ใช่เขามารู้เรื่องกรรมตัวนี้ตัวไหน เพราะถ้าเขารู้ก็เท่ากับโยนกรรมให้ญาติซิ แล้วถ้าเป็นกรรมจริงโยนกรรมไปแบบนี้ตัวเองก็ยิ่งไม่พ้นกรรมเลยทีนี้.. แล้วถ้าเอาเครื่องหายใจออกคนไข้ชักตาเหลือก ใครจะไปทำได้ เขาก็ต้องรู้เรื่องร่างกายคนป่วยด้วย.. ว่าขนาดไหนอย่างไร คือหมอต้องมีการตัดสินใจมาดีแล้ว)
     
  2. มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    สำหรับ ผู้ที่ พ่อ-แม่ ยังมีชีวิตอยู่

    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต</center> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td></td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%"></td></tr></tbody></table>
    .
    .
    .
    [๒๗๘]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ ท่านทั้ง ๒ ท่านทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตร พึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดิน ใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ มารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย

    ส่วนบุตร คนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดา บิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้ สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้น ย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา
    ___________________________________________________

    และ

    ___________________________________________________

    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</center> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td></td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%"></td></tr></tbody></table>
    <center>มหานามสูตรที่ ๒ </center><center>ว่าด้วยกาลกิริยาอันไม่เลวทราม </center> [๑๕๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้น สักกะ ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราชเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทรงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นพระนครมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรือง มีผู้คนมาก แออัด ไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค หรือนั่งใกล้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น ที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเย็น ย่อมไม่ไปพร้อมกับ ช้าง ม้า รถ เกวียน และแม้กับบุรุษ สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม พระสงฆ์ หม่อมฉันมีความดำริว่า ถ้าในเวลานี้ เรากระทำกาละลงไป คติของเราจะเป็นอย่างไร? (กาละ=ตาย:ผู้โพส)

    [๑๕๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อย่ากลัวเลยๆ การสวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร ดูกร มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรมเจ้า ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วย ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ.

    [๑๕๑๒] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมโน้มโอนไปทางทิศปราจีน เมื่อ รากขาดแล้ว จะพึงล้มไปทางไหน?
    พระเจ้ามหานามะ : ก็พึงล้มไปทางที่ต้นไม้น้อมโน้มโอนไป พระเจ้าข้า.
    พระพุทธองค์ : ฉันใด อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมโน้ม โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกันแล.
    จบ สูตรที่ ๒
    _______________________________________________________________________

    มื่อบุตรทั้งหลาย ได้กระทำสำเร็จใน บทใด บทหนึ่ง ใน สองบทนี้

    (คือสามารถถ่ายทอดธรรมะ บทใด บทหนึ่ง ในสองบทนี้ ให้ประดิษฐานอยู่ในจิตใจ ของ บุพการี ได้สำเร็จ)

    จักได้ ไม่ต้องเกี่ยงกัน เวลาจะถอดหน้ากาก อ๊อกซิเจน ออกจากใบหน้า ของ บุพการี


    เพราะ ลูกคนใด จะเป็นคนถอด ค่าก็จะเท่ากัน คือ บุพการีนั้น ก็จะเดินทางเข้าสู่สุคติภูมิ อย่างแน่นอน



    .
     
  3. vitcho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +748
    อะไรที่ผ่านไปแล้ว ล้วนเป็น อดีต ครับ

    คนเรา ทำผิด กัน ทุกคน ตราบเท่าที่ยังไม่อาจละ อาสวะได้...
    อย่าไปยึดติด กับสิ่งที่ผ่านไปแล้วเลย สมองเราจะต้องทำงานหนักมาก หาก
    มัวแต่จดจำทุกๆเรื่องราว ที่ ผ่านในอดีต เราจะ ต้อง หา พื้นที่สำหรับ บรรจุ เรื่องราวมากแค่ไหนลองตรองดูเถิด..แล้ว หาก เรา เก็บทุกๆความจำ ที่ ดี และ ไม่ดีไว้ทุก สิ่งอัน เราจะเดินไหวมั้ย เพราะ มันคงแบกไม่ไหว แน่ๆ มัน มากมายเกินไปจริงๆ ปล่อยวางทุกสิ่งได้ ย่อม เบาสบาย..ไม่รกรรุงรัง.งไม่หนัก ไม่ต้องแบก ไม่ต้องหาม อะไรไปด้วย เลย

    เบาๆๆ อโหสิกรรม จึงเป็นธรรม เพื่อ ความ เบา และ หมดไปได้ แห่งอกุศลกรรม รวมทั้งกุศลกรรมด้วย...สภาวะ นิพพาน..ก็ ปรากฎฏ ไม่ยาก แล้ว......
     
  4. ปราบจราจล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +220


    อืม ใช่ไม่ผิด ท่านกล่าวดีแล้ว
     
  5. กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    สำหรับผู้เห็นว่า เปลือกสมอง (cortex cerebri) เป็นเพียงส่วนเดียวในร่างกายที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์
    มักเห็นว่าการสิ้นสุดลงของกิจกรรมทางศักย์ดังกล่าวควรใช้เป็นที่ตัดสินว่าบุคคลตายแล้วเพียงประการเดียว

    อย่างไรก็ดี มีหลายกรณีที่เลือดไม่ไปหล่อเลี้ยงสมองเพราะความกดดันในกะโหลกศีรษะ อันเป็นผลให้สมองทั้งส่วนไม่ทำงาน
    และร่างกายขาดการรับรู้ในที่สุด ซึ่งหมายความว่าไม่ได้มีแค่เปลือกสมองเท่านั้นที่อาจส่งผลต่อการรับรู้ของร่างกาย

    มีกรณีตัวอย่าง คือ กรณีของนายซัค ดันแลป (Zach Dunlap) ชายวัย21ปี (พ.ศ. 2550) ผู้ซึ่งแพทย์แถลงว่าสมองตายแล้ว
    เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 แต่สี่ชั่วโมงต่อมากลับฟื้นคืนสติและไม่ได้สูญเสียความทรงจำใด ๆ
    โดยยังให้สัมภาษณ์ในภายหลังอีกว่ายังได้ยินเสียงแพทย์ประกาศว่าสมองของตนตาย แล้วอย่างแม่นชัด

    ซึ่งในระหว่างที่นายซัคหมดสติไปนั้น นางแดน คอฟฟิน (Dan Coffin) ญาติของนายซัคและเป็นนางพยาบาลด้วย
    พบว่าร่างกายของนายซัคยังตอบสนองต่ออาการเจ็บปวดซึ่งน่าจะหมายความว่าเขายังมีชีวิตอยู่แม้สมองจะตายแล้ว
    ตามที่มีการแถลงอย่างเป็นทางการ เป็นเหตุให้เกิดข้อกังขาในขณะนี้เกี่ยวกับความเข้าใจว่ามนุษย์สิ้นสุดการรับรู้เมื่อสมองหยุดทำงาน
    ที่มา ภาวะสมองตาย - วิกิพีเดีย
    -------------------------------------------------------------------------
    คนใกล้ตายที่ยังหายใจอยู่ ร่างกายยังตอบสนองต่ออาการเจ็บปวดหมายความว่าเขายังมีชีวิตอยู่
     
  6. ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452

    คุณทำผมมึนไม่เลิกอยู่ดี มึนตรึบ

    ฟันธงครับ คราบบบ
     
  7. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ชายวัย 21 เนอะ
    แถมร่างกายตอบสนองต่อความเจ็บปวด
    ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่ายังมีชีวิตแม้นสมองจะตายแล้วด้วย

    ..

    การจะตัดสินใจอะไรก็ตาม เขาคงไม่ทำกันอย่างลวกๆ
    แม้นแต่การพึ่งพิง เครื่องมือแพทย์ยื้อชีวิตคน มันก็มีมานาน
    จนต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ ว่ามันสมควรไหม
    ที่จะเรียกเขากลับเข้ามาอยู่ในร่างที่ใช้ไม่ได้แล้ว ทั้งที่บางทีเขาจากไปแล้ว
     
  8. กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    เวลาใกล้ตายแบ่งออกได้เป็น ๒ ระยะ
    ๑ ) มรณาสันนกาล หมายถึงเวลาใกล้จะตาย ผู้ที่อยู่ในช่วงเวลานี้จะมีอารมณ์อยู่เสมอ
    ไม่ทวารใดก็ทวารหนึ่งคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ สำหรับผู้ที่สลบ หรือหมดสติไป
    อารมณ์จะเกิดขึ้นเฉพาะทางใจเท่านั้น
    มรณาสันนกาลนี้อาจ เกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ได้และผู้ที่อยู่ในเขตนี้มีโอกาสที่จะฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาอีกได้

    ๒ ) มรณาสันนวิถี เป็นช่วงเวลาสุดท้ายของชาตินี้เมื่อใดแล้วก็ไม่มีหวังที่ชีวิตจะกลับคืนมาได้อีก
    ถึงตรงนี้ผู้ป่วยจะมองไม่เห็นภาพภายนอก หูไม่ได้ยิน จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส กายไม่รับทราบการสัมผัส
    ดังนั้นผู้ที่มีประสบการณ์ของ ภาวะใกล้ตายและกลับฟื้นคืนขึ้นมาอีก แสดงว่ายังอยู่ในมรณาสันนกาล
    ทวารทั้ง๕ ดับสนิท เหลือเพียงทางมโนทวาร(ใจ)

    ในช่วงนี้กรรมที่ได้กระทำอยู่เป็นอาจิณกรรมจะปรากฏผลออกมาเช่น เคยทำกุศลหรืออกุศลเป็นปกตินิสัย
    กรรมที่ถูกสั่งสมไว้ก็จะออกมากระทบกับจิตทำให้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจนและจริงจังต่อหน้าต่อตา

    บางคนเห็นภาพที่ดี เช่นการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา มองเห็น วัดวาอาราม โรงเรียน โรงพยาบาล
    บางคนก็เห็นภาพที่น่ากลัว เช่นเห็นสัตว์ที่กำลังถูกฆ่า อาวุธที่ใช้เป็นเครื่องในการประหารสัตว์เห็นเลือดไหลนอง

    มรณาสันนกาลเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า
    " เมื่อจิตเศร้าหมองแล้วย่อมมีทุคติเป็นที่หวัง เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้วย่อมมีสุคติเป็นที่หวัง "
     
  9. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ยกมาช่วง..สรุป

    ผู้รักษาควรให้ผู้ที่กำลังจะตายอยู่ในความสงบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วงนี้ผู้รักษาควรหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยคืนชีพหรือทำให้ชีวิตยืนยาวต่อไปโดยไม่จำเป็น ในทางตรงกันข้ามวิธีการเหล่านี้อาจทำให้ผู้ที่ กำลังจะตายเกิดทุกขเวทนา กระวนกระวาย จิตไม่สงบ หรือไม่เป็นสมาธิ มีพุทธภาษิตยืนยันไว้ชัดเจนว่า " เมื่อจิตเศร้าหมองแล้วทุคติย่อมเป็นที่หวังได้เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้วสุคติย่อมเป็นที่หวังได้ " ดังนั้นวิธีปฏิบัติอย่างถูกต้อง และเหมาะสมแก่ผู้ที่กำลังจะตายจึงจำเป็นมาก เพราะในช่วงที่เป็นหัวเลี้ยว หัวต่อระหว่างการตายและการเกิดใหม่นั้น ผู้รักษาควรช่วยให้ทุกคนได้มีโอกาส เข้าสู่ความตายอย่างสงบ สง่างาม และมีศักดิ์ศรี (death with peace, grace and dignity).


    ใครสนใจเรื่อง มรณาสันนกาล มรณาสันนวิถี อ่านได้ที่ ..
    http://www.saddhadhamma.org/sattatam30/page6.htm
     
  10. TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ขอบคุณมากๆ ที่มีความพยายาม อุตสา่หามาอธิบายจนได้ นับถือๆๆจริงครับ
     
  11. กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเด็น
    ๑ คนกำลังใกล้ตาย (ผู้ตาย)
    สำคัญคือในมรณาสันวิถีเป็นจิตดวงสุดท้ายก่อนจุติดับจิตลง ปฏิสนธิเคลื่อนไปสู่ภพชาติใหม่ ในอัตภาพใหม่ภวังคจิตเกิดสืบต่อ
    เหตุที่ว่าสำคัญเพราะเป็นตัวต่อภพชาติ หากตายด้วย

    -อุเบกขาสันตีรณะอกุศลวิบาก
    จิตโทสะ(นรกภูมิ) เนื่องจากโกรธ เจ็บปวด ทรมาน เมื่อยเนื้อตัว หน่ายชีวิต
    จิตโลภะ(เปรตภูมิ) เนื่องจากหวงธุรกิจการงาน หวงทรัพย์สิน หวงบุตรภริยาสามี
    จิตโมหะ(เดรัจฉานภูมิ) เนื่องจากหลง เพราะไม่รู้จริงตามความเป็นจริงในสภาวะของอารมณ์
    -------------------------------------------------------------------------
    -อุเบกขาสันตีรณะกุศลวิบาก (มนุษย์ภูมิ/ สวรรค์ภูมิ) เกิดเป็นมนุษย์/เทวดา บ้า ใบ้ บอด หนวก
    เพราะก่อนตายนึกถึงบุญที่ทำแต่เป็นบุญที่ขาดทั้งอโลภะ อโทสะ
    -จิตมหากุศลดวงที่๓/๗ (มนุษย์ภูมิ สวรรค์ภูมิ) เป็นมนุษย์/เทวดานำเกิดด้วยเหตุ๒ (อโลภะ อโทสะเหตุ)
    นึกถึงบุญที่ทำด้วยจิตโสมนัส/อุเบกขาก่อนตาย
    -จิตมหากุศลดวงที่๑ (มนุษย์ภูมิ/สวรรค์ภูมิ) เนื่องจากเจริญสติเกิดโสมนัสแล้วดับจิตลง นำเกิดด้วยเหตุ๓ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
    -จิตมหากุศลดวงที่๕ (มนุษย์ภูมิ/สวรรค์ภูมิ) เนื่องจากเจริญสติปัฏฐาน๔ เกิดอุเบกขาแล้วดับจิตลง นำเกิดด้วยเหตุ๓ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
    -------------------------------------------------------------------------
    ๒ คนที่ยังเหลืออยู่ (คนเป็น)
    วางใจให้เป็นทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังความตายของบุคคลที่เราเคารพรัก ยากเรื่องการตัดสินใจ
    -ต่ออายุให้อยู่ต่อ
    -ปล่อยให้ตาย
    และเคารพผลของการตัดสินใจนั้น เนื่องจากกรรมนั้นได้กระทำสิ้นสุดลงไปแล้ว
    จิตของคนตายก็จะเดินไปตามทางที่กล่าวไว้ข้างต้น

    ส่วนเราที่ยังเหลืออยู่การตายนั้นจบลงแล้ว ผู้ตายได้ไปเกิดใหม่ตามภาวะปัจจัยส่วนตนแล้ว เป็นอันปิดฉากความผูกพันธ์ลง

    -จะทำได้เพียงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ หากท่านเป็นเทวดาท่านไม่รับเพราะโภคทรัพย์ท่านเป็นทิพย์ แต่ท่านจะร่วมอนุโมทนา
    -จะมีเปรตอยู่ประเภทเดียวที่มารับได้คือปรทัตตุปชีวิกเปรต ถ้ามารับจะมีเหตุให้เคลื่อนจากอัตภาพเปรตไปสู่ภพภูมิใหม่
    -สัตว์นรก/สัตว์เดรัจฉาน/มนุษย์นั้นมารับไม่ได้
    สรุป บุญหรือทานที่เราทำก็เป็นของเรา ไม่ว่าจะมีผู้มารับหรือไม่ เพื่อความสบายใจ ทำไปดีค่ะไม่ใช่ไม่ดี
    -------------------------------------------------------------------------
    ทั้งที่คนเราเกิดมาล้วนต้องตาย ตายเพื่อเกิดใหม่ แล้วก็ตายอีกเพื่อเกิดอีก หมุนวนอยู่อย่างนั้น ตราบใดที่ยังไม่เข้าอริยะภูมิ
     
  12. deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    -จะทำได้เพียงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ หากท่านเป็นเทวดาท่านไม่รับเพราะโภคทรัพย์ท่านเป็นทิพย์ แต่ท่านจะร่วมอนุโมทนา
    -จะมีเปรตอยู่ประเภทเดียวที่มารับได้คือปรทัตตุปชีวิกเปรต ถ้ามารับจะมีเหตุให้เคลื่อนจากอัตภาพเปรตไปสู่ภพภูมิใหม่
    -สัตว์นรก/สัตว์เดรัจฉาน/มนุษย์นั้นมารับไม่ได้
    สรุป บุญหรือทานที่เราทำก็เป็นของเรา ไม่ว่าจะมีผู้มารับหรือไม่ เพื่อความสบายใจ ทำไปดีค่ะไม่ใช่ไม่ดี
    ***************************************************
    ตรงนี้น่าสนใจครับ คุณตาปลา
    เห็นคุณตาปลา กล่าวถึง บุญ ทาน ส่วนกุศล แล้วกล่าวถึงผู้รับ
    กล่าวถึงการ รับได้ รับไม่ได้
    ผมไม่เข้าใจครับ ในส่วนของผู้รับ หากส่วนของผู้กระทำ ตรงนี้เข้าใจได้ครับ
     
  13. deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ในส่วนของกระทู้ เมื่อมีการกระทำไปแล้ว ก็ไม่ควรย้อนกลับไปครับ
    อยู่กับปัจจุบัน และหากมีการคิดตรึก สงสัย ให้ดูตรงนี้ครับ
    ว่าสิ่งที่ตามมาจากการคิดคำนึงนั้น ทำให้เราเป็นอย่างไร สุข ทุกข์ เฉย
    เรียนรู้ที่จะเข้าใจ และอยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุดครับ
     
  14. มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    <center>
    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา</center> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td></td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%"></td></tr></tbody></table>
    ๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ </center><center>ว่าด้วยการทำบุญอุทิศให้เปรต </center> พระผู้มีพระภาคตรัสว่า [๘๙] บุคคลผู้ไม่ตะหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือ ท้าวธตรัฐ ๑ ท้าววิรุฬหก ๑ ท้าววิรูปักษ์ ๑ ท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์ และพึงให้ทาน ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลได้บูชาแล้ว และทายกก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือความร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำ เลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับ ไปแล้ว ญาติทั้งหลายคงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตนๆ อันทักษิณาทานนี้ ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุรพเปตชนโดยทันที สิ้นกาลนาน. <center>จบ ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔.
    _________________________________________________

    เท่าที่ดู ตามพระสูตรนี้ เทวดา ก็ รับบุญได้นะ เป็น ท้าวจาตุมหาราช ซะด้วยสิ




    อ้อ มีอีก เรื่องนึง เทวดาที่สถิตซุ้มประตู บ้านท่านอนาถบิณฑิกะ ไง
    รู้สึก ว่า จะพูดไม่เข้าหู ท่านเศรษฐี นะ โดนไล่ หางจุกตูดเลย
    คนนี่ พอ ถึง พระรัตนไตรเข้าแล้ว อานุภาพ ไม่เบาเลย ไล่เทวดา ได้ด้วย ..ฮิ..ฮิ

    ข่าวว่า เทวดาท่านนี้ ไปหา เทวดาผู้ใหญ่ ให้ช่วย ปรากฎว่า ไม่มี เทวดาตนไหน ช่วยได้เลย
    จึงต้อง แบก ทั้งหน้า ทั้งตัว มาง้อ ให้ท่านเศรษฐี รับตนไว้อยู่ด้วย เหมือนเดิม
    โดยต้องไปตามหาทรัพย์สิน แต่กาลก่อนโน้นของท่านเศรษฐี มาให้ ท่านเศรษฐีจึงกลับมาเป็นคนรวยใหม่อีกครั้ง(ตอนนั้นหมดตัว)

    นี่ๆ ดูๆ คนมี พุทธะ ธรรมะ สังฆะ เต็มหัวใจ พวกเทวดา ยังต้อง ตามมาง้อ
    อย่าดูเบา คนถึงไตรสรณคมน์ เชียวนา
    ดูซิ เทวดา ยังต้องยอม รับใช้เลย
    มารับเอาบุญที่เศรษฐี ท่านอุทิศให้ จึงสบายเหมือนเดิม นี่ ดูๆ


    </center>
     
  15. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การให้สติผู้ตายเป็นเรื่องสำคัญ
    ไม่ใช่ไปมัวแต่ไปยืดชีวิตร่างกายที่กำลังจะมอดลง
    คนไข้บางท่านเจ็บปวดอยากตายจะแย่แต่ก็ยังไม่ถึงเวลา
    บางท่านจะไปๆแล้ว แต่ยังถูกเรียกกลับมา
    อันนี้ก็ให้ลองสังเกตเรื่องกรรมชรูป


    คนตายแล้วไปเกิดได้อย่างไร ตอนที่ ๗
    โดย อาจารย์บุญมี เมธางกูร

    ...
    แต่การที่คนได้กระทำความชั่วมาอย่างมาก ครั้นเวลาดับจิตบังเอิญมาได้อารมณ์ที่ดีเข้า ก็เลยไม่ต้องไปสู่อบาย ข้อนี้บางครั้งก็เป็นความจริง เพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในบั้นปลายของชีวิตนั้น ก็เป็นกรรมเหมือนกัน และกรรมนั้นเป็นผู้ส่ง
    แต่อารมณ์ที่เกิดขึ้นเล็กน้อยนี้ก็จะนำไปสู่สุคติได้ ในเวลาไม่นาน
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงแสดงตัวอย่างไว้ เป็นอันมากในเรื่องนี้
    แต่อย่างไรก็ดี เราจะต้องแก้อารมณ์ของคนใกล้ จะตายให้ดี ถึงแม้ว่าจะไปรับกรรมนั้นในเวลาอันสั้น เพราะอาจไปเกิดเป็นแมวไม่นานเท่าไร ตายก็จริง แต่ทว่าแมวนั้นก็จะไปสร้างอกุศลกรรม จับหนูกินอยู่ตลอดเวลา ชั่วชีวิตของมัน ก็เพิ่มอกุศลเข้าอีก

    ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ได้กล่าวรายละเอียดอันเป็นส่วนปลีกย่อยมาก เกินไปสักหน่อย แต่คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ยังมิได้ศึกษาธรรมะมาจริงๆ บ้าง
    ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาเป็นเรื่องในเขตมรณาสันนกาล

    บัดนี้ก็ได้แสดงมรณาสันนวิถีที่อยู่ติดกับความตาย ว่าขณะนั้นจิตทำงานกันอย่างไร คนเราทำไมจึงตาย ขณะจุติและปฏิสนธิมีความพิสดารอย่างไรบ้าง
    ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วว่า มรณาสันนกาล คือเวลาใกล้กับความตาย อาจจะอยู่ไปหลายวันก็ได้ คนไข้อาจมีอาการหนักบ้าง เบาบ้าง หรือสลบไปบ้าง ต่อมาในตอนปลายของมรณาสันนกาล กำลังของจิตและรูปเริ่มจะอ่อนลงมากที่สุด
    บัดนี้คงจะมีปัญหาขึ้นว่า จิต และรูป อ่อนลงมากนั้น เพราะเหตุใด ?
    ข้าพเจ้าได้แสดงมาแล้วตอนต้นๆ ว่า การที่รูปของเรายังยินหยัดเป็นรูปอยู่ได้นั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะกรรมชรูป คือรูปอันเกิดแต่กรรมรักษาเอาไว้
    ในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่บรรยายให้ละเอียดนัก เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องกว้างใหญ่จะต้องใช้เวลามาก ข้าพเจ้าจะขอกล่าวไว้พอได้เห็นบ้าง แล้วในตอนต่อไป เมื่อถึงรูปวิถี ก็จะได้กล่าวเรื่องกรรมชรูป คือกรรมสร้างรูปขึ้นได้อย่างไร เพิ่มเติมอีก

    ถ้าท่านดูตามภาพแล้ว ก็จะเห็นว่า… เมื่อจิตเกิดขึ้นรับอารมณ์นั้น วิถีหนึ่งมี ๑๗ ขณะใหญ่ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เมื่อจิตเกิดขึ้นรับอารมณ์ ๑๗ ขณะดับลงแล้ว รูปก็จะดับลง ๑ รูป เพราะรูปดับช้ากว่าจิตมาก เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป
    ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนต้นๆ ว่า … จิตมิใช่มันสมอง ทั้งจิตก็มิได้อาศัยอยู่ในสมอง มันสมองเป็นเพียงทางแสดงออกของจิตเท่านั้น แท้จริงจิตอยู่ภายในช่องหนึ่งของหัวใจที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายนั่นเอง คือ หทัยวัตถุ ที่อาศัยของจิตเป็นบ่อเล็กๆ โตเท่าเม็ดบุนนาค และมีสีต่างๆ ๖ สี ประมาณ ๑ ฟายมือ อันเป็นการแสดงจริตหรืออุปนิสัยของผู้นั้น

    ข้อนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาก
    ที่ตั้งที่อาศัยของจิต (มิใช่กล้ามเนื้อหัวใจทั้งหมด) นั้น ประกอบขึ้นมาได้ด้วยกำลังของกรรม กรรมซึ่งข้าพเจ้าเคยกล่าวมาแล้วว่าไม่มีรูปร่างหน้าตาตัวตนนั่นเอง ได้สร้างที่ตั้งที่อาศัยของจิตนี้ขึ้นเรียกว่ากรรมชรูป และกำลังของกรรมก็ปกปักรักษารูปนี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่
    ถ้ากรรมมิได้รักษาที่ตั้งที่อยู่อาศัยของจิตไว้แล้ว จิตก็ไม่อาจจะตั้งอยู่ได้ ผู้นั้นก็จะถึงแก่ความตายทันที
    ฉะนั้น ใน ขณะมรณาสันนกาลตอนท้ายๆ กรรมชรูปทำให้หทัยวัตถุ คือรูป อันเป็นที่ตั้งที่อาศัยของจิตอ่อนกำลังเต็มที
    ที่ตั้งที่อาศัยหมดกำลังที่จะทรงตัวอยู่ด้วยดี เหมือนกับรถไฟที่กำลังวิ่งมา ขณะที่ถึงสะพานข้ามแม่น้ำ สะพานข้ามน้ำชำรุดเสียแล้ว ดังนั้นรถไฟก็จะต้องชะลอฝีจักรลง มิฉะนั้นก็จะตกสะพานลงไป

    ขณะนี้ใกล้จะถึงความตายมาก คนไข้ถูกโมหะครอบคลุมขาดสติ ความรู้สึกของคนไข้จาก ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย อาจจะหมดลง และเมื่อถึงท้ายวิถีของมรณาสันนกาล
    กรรมชรูปก็เริ่มจะดับ
    คือตามธรรมดา กรรมชรูปย่อมจะดับและเกิดทดแทนกันอยู่ทุกขณะจิต
    แต่ครั้นถึงมรณาสันนวิถี ก่อนจุติ ๑๗ ขณะ กรรมชรูปจะดับโดยไม่มีการเกิดทดแทนอีกเลย เมื่อถึงจุติติดกันนั้นก็ปฏิสนธิ ต่อจากนั้นจิตก็เป็นภวังค์
    ….ขอให้ท่านดูภาพตามไปด้วย …
    ท่านก็จะเห็นตั้งแต่เลข ๑ ภ. ไปจนสุดจุตินี้เป็นมรณาสันนวิถี เป็นวิถีสุดท้ายที่จิตยกขึ้นสู่อารมณ์ในชาตินี้ จิตจะเป็นภวังค์ไปจนถึง ๖
    แล้วก็จะถึงภวังคจลนะ ๗ น. จิตไหวตัวขึ้น
    ต่อไปถึง ๘ ท. ภวังคุปัจเฉทะ ตัดกระแสภวังค์เดิม
    ๙ ม. คือ มโนทวาราวัชชนะ พิจารณาอารมณ์ทางใจพร้อมด้วยการตัดสิน
    ในมรณาสันนวิถีนี้มีชวนะเสพอารมณ์ ซึ่งเป็นตัวทำงานอันสำคัญเหลือเพียง ๕ ขณะเท่านั้น แทนที่จะเป็น ๗
    ต่อไปก็เป็นตทาลัมพณะ ๑๕ และ ๑๖ อีก ๒ ขณะ
    แล้วจึงถึงจุติ คือดับหรือตาย

    ตลอดมรณาสันนวิถี… คนไข้จะเต็มไปด้วยโมหะไม่มีสติเลยนี้ ความรู้สึกทั้งหลายก็จะสิ้นไปจากทวารทั้ง ๕ ถ้าเอาเข็มไปจิ้มหรือเอาไฟไปจี้ก็จะไม่รู้สึก กำลังก็ตกมากที่สุด
    เพราะกรรมชรูปเริ่มดับมาตั้งแต่ต้นมรณาสันนวิถี คือ ภวังค์ดวงที่ ๑ แล้วก็ดับไปตามลำดับจนถึง จุติ ๑๗ จ. ก็จะดับหมดสิ้น
    ในวิถีสุดท้ายนี้มีกำลังอ่อนมาก เพราะที่ตั้งที่อาศัยของจิตหมดกำลัง จิตก็พลอยอ่อนกำลังตามไปด้วย ชวนะจึงเหลือเพียง ๕ เท่านั้นเอง
    กำลังของของกรรมที่ส่งให้ไปปฏิสนธินั้น
    สืบเนื่องมาแต่มรณาสันนกาล
    เช่นได้ยินเสียงสวดมนต์
    จิตที่รับอารมณ์สวดมนต์ในมรณาสันนกาล เป็นตัวส่งให้ไปปฏิสนธิ
    เพราะยังมีกำลังมากกว่า
    ส่วนในมรณาสันนวิถีเป็นแต่รับ …อารมณ์กรรม …กรรมนิมิต ….คตินิมิต มาจากสันนกาลแล้วสืบต่อไปจนถึงจุติเท่านั้น
    และเพราะที่กรรมชรูปเริ่มดับโดยไม่เกิดอีก มาตั้งแต่ภวังค์ดวงที่๑ ในมรณาสันนวิถีจนถึงดวงที่ ๑๗ จุติ
    เหตุนี้จิตดวงที่ ๑๗ จุติ คือ ดับหรือตายจึงได้เกิดขึ้น เพราะไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้อีกต่อไป ทิ้งแต่ซากศพไว้ เอาไปแต่ชั่วดี

    ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วว่า… จะมีชิวิตอยู่หรือจะตายก็ตาม จิตก็ย่อมเกิด-ดับสืบต่อไปอยู่เช่นนั้นตามธรรมชาติ ข้อที่แปลกสักหน่อยก็อยู่ที่จุติจิตเกิดขึ้น คือจิตดับลงแล้วก็พ้นจากชาติเก่าร่างเก่าเท่านั้น ในทันทีนั้นก็ปฏิสนธิเลย
    ได้แก่การเกิดขึ้นติดต่อกันด้วยความรวดเร็วมาก
    โดยมิให้มีอะไรมาคั่นกลาง
    เหมือนกับจิตที่เกิดดับอยู่ตามธรรมดานั่นเอง
    …..ด้วยเหตุนี้ …..
    คำว่าจิตล่องลอยไปเกิดก็ดี จึงได้ชื่อว่าเป็นความเห็นผิด
    ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วว่า การที่ผู้ตายไปสู่สุคติหรือทุคตินั้น
    …ก็แล้วแต่กรรม …แล้วแต่อารมณ์
    ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้จะตาย
    ดังนั้น ผู้ดูแลคนไข้ที่ฉลาดในเรื่องของชีวิต และมีเมตตากรุณาจึงยอมเสียสละเวลา สละประโยชน์อันพึงจะได้อย่างอื่นๆ มาช่วยเหลือให้สติแก่คนไข้ด้วยความระมัดระวัง
    ถ้าคนไข้ได้เคยศึกษาธรรมะ ได้เคยพูดคุยเรื่องตายมาเสมอๆ โดยความไม่ประมาทแล้ว การให้สติแก่คนไข้ก็จะง่ายมาก
    แต่ถ้าคนไข้ไม่เข้าใจธรรมะเลยแล้ว การที่มีเจตนาให้สติด้วยความหวังดีก็กลับจะเป็นผลร้ายไป
    คนไข้บางคนพูดเรื่องตายไม่ได้ ใจไม่สบายทันที เราจำเป็นต้องหาเรื่องอันเป็นกุศลอื่นๆ ที่คนไข้ชอบ
    คนไข้บางคนได้ยินการให้สติก็ทราบว่าตัวนั้นใกล้จะตาย ..ก็เกิดมีความเสียใจ ..และรู้สึกเสียดายชีวิตเป็นกำลัง ..มีความหวาดหวั่นต่อความตายอย่างสุดแสน
    หรือคนไข้บางคนได้ยินคำว่าให้ระลึกถึง พระอรหังไว้ ..ก็มีความโกรธแค้น ..โดยคิดว่าลูกหลานจะมาแช่งให้ตาย ..เพราะหวังจะได้ทรัพย์สมบัติ
    เหล่านี้นับว่าเป็นทางนำไปสู่อบายทั้งนั้น

    ขณะที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้ จะต้องระมัดระวังให้จงหนัก การให้อารมณ์ที่ดีแก่คนไข้ก็มีมากมายแล้วแต่จะคิด เช่น ..นิมนต์พระมาสวด ..หาพระพุทธรูปมาตั้งให้คนไข้เห็น ..เล่าเรื่องธรรมะ ..หรือเรื่องอันเป็นกุศลต่างๆ เป็นต้น
    สำหรับผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมมาดีแล้ว(หมายถึงเข้าใจอภิธรรมดีแล้ว) ก็เป็นการง่ายดาย
    เขาจะหาอารมณ์ที่ดีที่สุดของเขาเองได้เป็นส่วนมากตั้งแต่ต้น
    เพราะเขาย่อมรู้ว่าขณะนั้นสำคัญอย่างไร และรู้ว่าความตายนั้นเป็นเรื่องสมมุติกันเท่านั้นเอง
    จิต เจตสิก รูปก็สืบต่อไปยังภพใหม่ ชาติใหม่ ไม่เห็นจะแปลกประหลาดพิสดารน่าหวาดหวั่นอะไรสักกี่มากน้อย

    http://www.dharma-gateway.com/ubasok/boonmee/boonmee-02-07.htm
     
  16. กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    ส่วนของผู้มารับ
    -เทวดา บนสวรรค์เต็มไปด้วยกามคุณ5 โดยเฉพาะชั้นดาวดึงส์ ทุกอย่างเป็นทิพย์ อย่างอาหารทิพย์
    เครื่องประดับของหอม ผ้าทิพย์ ไม่ขาดแคลน หากเทวดาท่านรับรู้ ท่านจะมาอนุโมทนา ร่วมยินดีกับบุญที่เราทำ
    อย่างเราทำบุญอาหาร ท่านมีอาหารทิพย์ของท่านอยู่แล้ว
    อย่างทำบุญเสื้อผ้า ท่านมีอาภรณ์ทิพย์ของท่านอยู่แล้ว

    -เปรตภูมิ เสวยทุกเวทนาแบบอดหยากตลอดการเป็นเปรตมารับไม่ได้ ถิ่นอาศัยอยู่ไกล มีชีวิกเปรตเท่านั้นที่มารับได้
    เพราะเป็นเปรตละแวกบ้าน เป็นเปรตประเภทเดียวที่สามารถรับการอุทิศส่วนกุศลได้
    อ้างอิง เรื่องเปรตผู้เคยเป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสาร

    -สัตว์นรก เสวยทุกขเวทนาตลอดชั่วกาลดำรงชีพอยู่ออกมารับจากนรกไม่ได้จนกว่าหมดอายุขัยของการเป็นสัตว์นรก
    -สัตว์เดรัจฉาน มารับไม่ได้ อย่างทำบุญให้หมา แมว เต่า ปลาที่อยู่ที่บ้าน สัตว์เหล่านั้นไม่ได้รับรู้การทำบุญของเรา
    -มนุษย์ อย่างทำบุญอุทิศส่งให้เพื่อน เขาไม่ได้รับเพราะไม่รู้มารับไม่ได้ อยู่กันคนละที่
    -------------------------------------------------------------------------
    เว้นแต่ไปทำบุญด้วยมือของตัวเอง หรือไปทำบุญด้วยกัน
     

แชร์หน้านี้