ฟังเพลงไม่เครียดี
ลป.มหาศิลา บอกปี65-66 สงครามนิวเคลียร์ ส่วนครูบาบุญชุ่ม บอกสงครามโลกกำลังจะเกิด..ปีนี้
สะสมคำทำนายทุกท่านเมตตาบอก สงครามใหญ่ใช้นิวเครียร์มาก่อนภัยธรรมชาติใหญ่สึนามิ
ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ด้วยรัก30, 30 เมษายน 2021.
หน้า 66 ของ 86
-
16900ได้เก็บข้อมูลไว้ดูเอง
-
พระกริ่งธรรมศาสตร์ 60 ปี พร้อมกล่อง
รายละเอียดพระ :
เนื้อนวโลหะ สร้างปี 2537 พระกริ่งเททองแบบโบราณ ชักเม็ดกริ่งในตัว มีรอยอุดกริ่งที่ขอบด้านหลัง มีฐานผ้าทิพย์ ตราพระนามย่อ ภ้ปร. ตอกโค๊ด ภปร. และโค๊ด รูปโดม เป็นกริ่งที่ให้ประชาชนทั่วไปเช่าบูชา พิธีครั้งที่ 1 วันที่ 1 มีนาคม 2537 อธิษฐานจิตโดยคณาจารย์สายกรรมฐานวัดป่า พิธีครั้งที่ 2 วันที่ 31 พฤษภาคม 2537 พิธีเททองหล่อพระพุทธรูป พิธีครั้งที่ 3 วันที่ 29 มิถุนายน 2537 สมเด็จพระสังฆราชทรงจุดเทียนชัย หลวงพ่ออุตตมะ ดับเทียนชัย
พระ กริ่งธรรมศาสตร์ 60 ปี (ภปร.) จัดสร้างเป็นที่ระลึกการสถาปนาครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2537 เนื้อนวโลหะ พิธีพุทธาภิเษกที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพ โดยได้กราบบังคมทูลในหลวงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี พระกริ่งเททองแบบโบราณชักเม็ดกริ่งในตัว มีรอยอุดกริ่งที่ขอบฐานด้านหลัง ที่ฐานผ้าทิพย์ด้านหน้ามีตราพระนามย่อ ภปร. ด้านหลังมีตอกโค๊ต รูปสัญลักษณ์ธรรมศาสตร์ “ รูปโดม “ และตอกโค๊ต “ ดอกไม้” ซึ่งเป็นโค๊ตพิเศษ สำหรับตอกพระกริ่งชุดที่คณะกรรมการจัดสร้างมอบตอบแทนเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงาน ให้แก่โครงการสร้างธรรมศาสตร์ 60 ปี เท่านั้น พิธีในการจัดสร้างมีดังนี้ -ครั้ง ที่ 1 วันที่ 1 มีนาคม 2537 พิธีแผ่เมตตาจิตแผ่นยันต์ ตะกรุดและทองชนวนต่างๆ อธิฐานจิตโดยพระคณาจารย์สายกรรมฐานวัดป่าทั่วประเทศ -ครั้ง ที่ 2 วันที่ 31 พฤษภาม 2517 พิธีเททองหล่อพระพุทธรูป โดยสมเด็จพระบรมฯ เสด็จแทนพระองค์ โดยได้รวบรวมแผ่นยันต์จากคณาจารย์ต่างๆ ทั่วประเทศเพิ่มเติม -ครั้งที่ 3 วันที่ 29 มิถุนายน 2537 พิธีพุทธาภิเษก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่าย สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย และพระคณาจารย์สายกรรมฐานวัดป่าและพระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศนั่งปรกปลุกเสก และหลวงพ่ออุตตมะดับเทียนชัย ************************************************************* พิธีแผ่เมตตาจิตในเหรียญพระพุทธสิหิงค์ ภปร. และทองชนวนพระกริ่ง วันที่ 15 มีนาคม 2537 แบบชุมนุมพระกรรมฐานทั่วประเทศในยุคนั้น กรุงเทพมหานคร -หลวงปู่หลอด วัดสิริกมลวาส -พระครูอุดมสังวรคุณ วัดบรมนิวาส -พระอาจารย์ประทีป วัดเชิงเลน กาญจนบุรี -พระอาจารย์สาคร วัดเวฬุวัน กาฬสินธุ์ -พระอาจารย์พรหมมี วัดป่าสามัคคีธรรม เชียงใหม่ -พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก -พระอาจารย์หนู วัดดอยแม่ปั๋ง -หลวงพ่อทองอินทร์ วัดสันติธรรม -พระอาจารย์เจริญ สำนักสงฆ์ถ้ำปากเพียง -พระกฤษดา วัดโรงธรรมสามัคคี เชียงราย -พระอาจารย์วิชัย วัดถ้ำผาจม -พระอาจารย์เพ็ง วัดเทิงเสาหิน ลำปาง -หลวงปู่แว่น วัดถ้ำพระสบาย -หลวงปู่หลวง วัดป่าสำราญนิวาส หนองคาย -หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญญบรรพต -หลวงปู่บุญหนา วัดถ้ำพระภูวัว -พระอาจารย์อุทัย วัดถ้ำพระภูวัว -พระอาจารย์คำ วัดถ้ำบูชา (ภูวัว) -พระอาจารย์วงศ์ วัดป่าคำพระองค์ -พระอาจารย์บุญเลิศ วัดอรัญญวาสี -พระอาจารย์แยง วัดเจติ -
พระกริ่งธรรมศาสตร์ ภปร. รุ่นสร้างหอพระ ปี2542 เนื้อนวโลหะ สว ยเดิมๆ
พระกริ่ง ภปร.ธรรมศาสตร์ รุ่น สร้างหอพระธรรมศาสตร์ พุทธาภิเษกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ปี พศ.2542 เนื้อนวโลหะหล่อโบราณอุดเม็ดกริ่งในตัว เททองแบบโบราณ ชนวนโลหะที่นำมาหลอมได้จากชนวนพระกริ่งธรรมศาสตร์ 50 ปี และพระกริ่งธรรมศาสตร์ 60 ปี ,รวมถึงแผ่นอักขระยันต์ทองคำ, เงิน, ทองแดง ที่ได้รับความเมตตาลงจารจากเกจิอาจารย์ 45 จังหวัด 172 รูป
พระทั้งหมดได้นำเข้าพิธีปลุกเสก 3 ครั้ง
ครั้งแรกได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ปลุกเสกเดี่ยวให้ที่วัดบวรนิเวศ ในวันเสาร์ 5
ครั้งที่ 2 พิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) โดยมีเกจิที่มาปลุกเสกหลายสิบรูป เช่น
ลพ.พูล วัดไผ่ล้อม,
ลพ.เพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน,
ลป.ศรี วัดป่ากุง,
ลพ.จ้อย วัดหนองน้ำเขียว,
ลพ.โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน,
ลพ.มหาโพธิ์ วัดคลองมอญ,
ลป.ทิม วัดพระขาว,
ลพ.เอียด วัดไผ่ล้อม,
ลพ.อุตตะมะ วัดวังก์วิเวการาม,
ลพ.สง่า วัดบ้านหม้อ
ลพ.ฤทธิ์ วัดชลประธาน,
ป.หงษ์ วัดเพชรบุรี ฯลฯ.
ครั้งที่ 3 ได้รับการอธิษฐานจิตจากหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกวาระหนึ่ง
ปัจจุบันราคาพระกริ่ง ภ.ป.ร.ธรรมศาสตร์ 50 ปีและพระกริ่งภ.ป.ร.ธรรมศาสตร์ 60 ปี ราคาไปไกลแล้ว เนื่องจากหนังสือพระเครื่องได้นำประวัติการสร้างมาลงเผยแพร่ ลองมาพิจารณาพระกริ่งภ.ป.ร.ธรรมศาสตร์ รุ่นสร้างหอพระดูบ้าง เนื่องจากราคายังพอเป็นเจ้าของได้ อีกทั้งรูปแบบก็ใกล้เคียงของเดิม ต่อไปราคาคงจะต้องวิ่งตามรุ่น 50 ปี และ 60 ปีแน่ พระกริ่งภ.ป.ร.ธรรมศาสตร์ รุ่นสร้างหอพระที่ฐานผ้าทิพย์ด้านหน้ามีตราพระปรมาภิไธย “ ภปร ” ที่ด้านหลังตอกโค๊ต 2 ตัว คือตอกโค๊ต “ ภปร “ และภาษาขอม “ นะ “ -
549000
ความเป็นมาพระผงรัศมี
-พุทธาภิเษก วัดท่าซุง
ออกวัด โพธิ์สุทธาวาส
#พิธีเสาร์ 5 (พิธีชาตรี)
เมื่อวันที่16 พฤษภาคม 2535
ตรงกับ วันวิสาขบูชา
พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เมตตา
พุทธาภิเษกวัตถุมงคล
1.สมเด็จองค์ปฐม รุ่น 1
2.มีดหมอชาตรี ด้ามงา ด้ามฤาษี เเละสมเด็จค์จิ๋ว
3.พระคำข้าวรุ่นพิเศษ ติดพระธาตุ
4 .สมเด็จองค์ปฐม เเบบเเขวนหน้ารถ
5.พระบูชาสมเด็จองค์ปฐม หน้าตัก 10นิ้วเเละ5นิ้ว
6 เหรียญ ปี35 หลังหลวงพ่อ
เเบที่1 หน้า ร 5
เเบบที่2 หน้ากรมหลวงชุมพร
7.พระผงวัดโพธิ์สุธาวาส
เเบบที่1 พิมสี่เหลี่ยม มีรัศมี นิยมสุด
เเบบที่2 พิมสี่เหลี่ยม ไม่มีรัศมี
เเบบที่3 พิมหยดน้ำ
เเบบที่4 นางพญา
#เป็นอีกรุ่นที่พอจับต้องได้ในราคาหลักร้อย
ข้างหน้า
เป็นสมเด็จองค์ปฐม พุทธรัศมีนั่งดอกบัวปางสมาธิ
ยันต์ มะ อะ อุ
ข้างหลัง
เป็นรูปหลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร
( พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
นั่งขัดสมาธิ
#พุทธาภิเษกโดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุง
ทำพิธีพุทธาภิเษกในวันวิสาขบูชาที่ 16 พ.ค.2535 ณ วิหารแก้ว 100 เมตร พร้อมกับ สมเด็จองค์ปฐมเนื้อโลหะรุ่น 1 ภายหลังพิธีพุทธาภิเษกแล้ว พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานได้ปรารภ ในระหว่างเจริญศรัทธาญาติโยมที่ตึกรับแขกว่าพิธีนี้ลาภหนักมาก ขนาดพระสีวลียังนั่งห่างออกไปไกล เพราะพระที่มีบารมีมากกว่านั่งอยู่ด้านในปลุกเสกขั้นชาตรี คำว่าชาตรี หมายถึงลูกเบาเมื่อโดนอะไรมากระทบเรามันจะเบาหมดเหมือนอยู่ในสุญญากาศ
#มวลสาร
โดยท่านพระครูประจวบได้รับมวลสารต่างๆมาจากวัดท่าซุง ได้แก่ ผงคำข้าว ผงหางหมาก ผงชอลค์คาถาต่างๆ และมวลสารอื่นที่สำคัญ อีกมาก
ของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ โดยเฉพาะเส้นเกศา และชานหมาก จำนวนมาก และมวลสารจากพระครูบาธรรมชัย เป็นมวลสารหลักในการจัดสร้างพระชุดนี้ขึ้นมา
#วาระเเละการขอนุญาติในการสร้าง
พระครูนิวาสสันติธรรม หรือ พระครูประจวบ สันติปภัสโส เจ้าอาวาสวัดโพธิ์สุทธาวาส จังหวัดนครสวรรค์
ได้ขออนุญาติหลวงพ่อนำเข้าพิธีอย่างเป็นทางการ และหลวงพ่อเมตตาให้นำเข้าพิธีได้
#จุดประสงค์
เพื่อนำพระรุ่นนี้ออกให้เช่าบูชาเพื่อหาเงินสมทบทุนสร้าง
พระพุทธสมณโคดม ปางประธานพร สูง 30 ศอก ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์สุทธาวาส
โดยจัดสร้างเป็นหลายพิมพ์ทั้งพิมพ์สี่เหลี่ยม มีรัศมีและพิมพ์สี่เหลี่ยมไม่มีรัศมี รวมถึงทรงหยดน้ำ และเป็นที่ทราบกันดีว่า เส้นเกศา และ ชานหมากของหลวงพ่อฤาษีลิงดำกลายสภาพเป็นพระธาตุเป็นอันมาก ว่ากันว่าพิธีนั้นเป็นพิธีที่เด่นทางด้านมหาลาภ อีกทั้งได้เข้าทำการปลุกเสกพร้อมสมเด็จองค์ปฐมรุ่นที่ 1 จึงมั่นใจได้ว่ามีพลังแห่งพุทธคุณเต็มเปี่ยม
#ประวัติวัดโพธิ์สุทธาวาส
วัดโพธิ์สุทธาวาส ตำบลโคกหม้อ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505
เป็นสถานที่หลวงปู่ปานวัดบางนมโคได้มานั่งฉันเพล ที่บริเวณนี้ ซึ่งติดกับแม่น้ำน่าน หลวงพ่อได้บอกว่าสถานที่แห่งนี้ต่อไปจะเป็นวัด ต่อมาชาวบ้านต้นโพธิ์ได้ช่วยกันบอกบุญต่อผู้ศัทธา
หาเงินมาซื้อที่ดินสร้างวัด
เพื่อถวายหลวงปู่ปาน
ด้วยพุทธบารมีเเละพลังศัทธาเเห่งชาวพุทธ จึงได้สร้างอุโบสถและศาลา
และ ต่อมาหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุงได้มาทอดกฐินที่วัดนี้ และยังมาบวงสรวงหน้าวิหารหลวงปู่ปาน เป็นวิหารเก่าแก่สร้างเมื่อ พ.ศ.2519
จนถึง อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าซุง
หลวงพ่อท่านพระครูปลัดอนันต์ พุทธญาโณ (มรณภาพเเล้ว)
เจ้าอาวาสวัดท่าซุงก็ยังได้อุปถัมถ์วัดโพธิ์สุทธาวาสอยู่เสมอมา
เพราะเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน อีกทั้งคณะกลุ่มเกศแก้ว โดยคุณพัชรบูลย์ สุตันติวรคุณ ได้นำคณะของกลุ่มเกศแก้วมาทอดกฐินมาหลายปี เพราะวัดโพธิ์สุทธาวาสสร้างถวาย บารมีหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค เดิมวัดโพธิ์สุทธาวาส ชื่อ “วัดโพธิ์ประชาราษฎร์” เหตุผลเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดโพธิ์สุทธาวาส นี้เพื่อให้คล้องจองกับ นามสกุล สุทธาวงศ์ของหลวงปู่ปาน เพราะชาวบ้านมีความเคารพหลวงปู่ปานและหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาก....จนถึงทุกวันนี้
ไฟล์ที่แนบมา:
-
JA8mKx1tdG7fN4xTkTvRn_SrHbnoK7mQpPI_n9eBFG3&_nc_ohc=KfTnTx2XDFEAX_H_INH&_nc_ht=scontent.fbkk22-6.jpg
- ขนาดไฟล์:
- 70.1 KB
- เปิดดู:
- 34
-
SxQd4t1iZXoFuQjXcgvR25k7R5UEbUMrQh0j0NgOgVj&_nc_ohc=q48wwDS3cs0AX8eWfAI&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg
- ขนาดไฟล์:
- 77.4 KB
- เปิดดู:
- 25
-
-
ขออนุญาติเก็บไว้เป็นความรู้แก่ลูกหลาน
พระพิมพ์พระพุทธเจ้าประทับสัตว์ รุ่นสู่พุทธภูมิ ปี 2536 วัดบางนมโค จังหวัดอยุธยา เนื้อดินผสมชนวนมวลสารเก่าของหลวงพ่อปาน ด้านบนบรรจุผง ด้านหลังประทับยันต์เกราะเพชร
พิมพ์ทรงครุฑ พุทธคุณ เด็ดขาดนักในเรื่องอำนาจวาสนาและบารมี ลาภยศสรรเสริญดีเยี่ยม เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
วัตถุมงคล หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ณ.ซอยสายลม และเกจิทั่วไป
ปลุกเสกพิธีใหญ่ เสาร์ 5 วันที่ 27 มีนาคม 2536 จัดสร้างโดย พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาร) เจ้าอาวาส วัดบางนมโค โดย มี พระเกจิคณาจารย์ ร่วม ปลุกเสก มากมาย
อาทิเช่น
1. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา
2.หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา
3.หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จ.อยุธยา
4.หลวงพ่อพูล วัดบ้านแพน จ.อยุธยา
5. พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาร) เจ้าอาวาส วัดบางนมโค จ.อยุธยา
6. หลวงพ่อมี เขมธัมโม วัดมารวิชัย จ.อยุธยา
7.พระครูกิตติธรรมธาดา (เจ้าอาวาสวัดเจ้าแปดทรงไตรย์) จ.พระนครศรี อยุธยา
8.หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
มวลสาร ได้แก่
1.พระเนื้อดินที่ หักชำรุดหลวงพ่อปาน
2.พระเนื้อดินที่หักชำรุดของ หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดนอก
3.พระกรุเนื้อดินต่างๆ ที่หักชำรุด
4.พระที่หักชำรุดของ หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
5.พระ เนื้อดินรุ่นสู่มาตุภูมิปี 33 ที่หักชำรุด
อุด ด้วยผงพุทธคุณเก่า ของหลวงพ่อปาน ผงเก่าหลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค ผงวิเศษของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก และ ผงพุทธคุณ ของหลวงปู่ ทิมวัดพระขาว
ขนาดขององค์พระ กว้าง 2 ซม. สูง 2.8 ซมไฟล์ที่แนบมา:
-
AUImN8j1vkvkmxVWRhCgiVDJqzlLs_15_KLXCIEn8Zr&_nc_ohc=uqODuxPsB8sAX-ucszD&_nc_ht=scontent.fbkk22-6.jpg
- ขนาดไฟล์:
- 233.2 KB
- เปิดดู:
- 31
-
-
หลวงพ่อปาน บางนมโค รุ่นสู่มาตุภูมิ ปี พ.ศ.2533
สร้างโดย พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาร) เจ้าอาวาส วัดบางนมโค โดย มี พระเกจิคณาจารย์ ร่วม ปลุกเสก มากมาย
เนื้อผงผสมชนวนมวลสารเก่าของหลวงพ่อปาน ด้านหลังประทับยันต์เกราะเพชร จัดสร้างและพุทธาภิเษกขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2533
เคยได้ยินมาว่าหลวงพ่อฤษี ท่านเมตตาอยู่ในพิธีด้วย
พิมพ์ทรงปลา พุทธคุณ ดีเด่นทางโชคลาภ ให้ความเป็นสิริมงคล สุขภาพแข็งแรงและผาสุขร่มเย็น
อานุภาพยันต์เกราะเพชร
๑. จะไม่ตายโหงอย่างเด็ดขาด
๒. จะไม่ตายด้วยพิษสัตว์ทุกชนิด
๓. ปลอดภัยจากไสยศาสตร์ทุกชนิด
๔. ไสยศาสตร์ทุกประเภท จะสะท้อนกลับไปเอง
ขนาดขององค์พระ กว้าง 2 ซม. สูง 2.7 ซม.
ให้ทราบราคาบูชาประมาณ 300 บาทจะได้รู้ราคาไว้ -
พระกริ่ง ภปร. 60 ปี ธรรมศาสตร์ สร้างเป็นที่ระลึกการสถาปนาครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2537
เนื้อนวโลหะ พิธีพุทธาภิเษกที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพ โดยได้กราบบังคมทูลในหลวงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี
พระกริ่งเททองแบบโบราณชักเม็ดกริ่งในตัว มีรอยอุดกริ่งที่ขอบฐานด้านหลัง ที่ฐานผ้าทิพย์ด้านหน้ามีตราพระนามย่อ ภปร.
โค๊ตจะมี 2 แบบและตอก 2 แบบ คือ ด้านหลังมีตอกโค๊ต พระนามย่อ ? ภปร ? และรูปสัญลักษณ์ธรรมศาสตร์ ? รูปโดม ? พิธีในการจัดสร้างมีดังนี้
ครั้งที่ 1
วันที่ 1 มีนาคม 2537 พิธีแผ่เมตตาจิตแผ่นยันต์ ตะกรุดและทองชนวนต่างๆ อธิฐานจิตโดยพระคณาจารย์สายกรรมฐานวัดป่าทั่วประเทศ
ครั้งที่ 2
วันที่ 31 พฤษภาม 2517 พิธีเททองหล่อพระพุทธรูป โดยสมเด็จพระบรมฯ เสด็จแทนพระองค์ โดยได้รวบรวมแผ่นยันต์จาก
คณาจารย์ต่างๆ ทั่วประเทศเพิ่มเติม
ครั้งที่ 3
วันที่ 29 มิถุนายน 2537 พิธีพุทธาภิเษก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่าย สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย
และพระคณาจารย์สายกรรมฐานวัดป่าและพระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศนั่งปรกปลุกเสก และหลวงพ่ออุตตมะดับเทียนชัย
*************************************************************
พิธีมหาพุทธาภิเษก วันที่ 29 มิถุนายน 2537
พระคณาจารย์ทุกสายจากทั่วประเทศ ณ.กรุงเทพมหานคร
-พระเทพวัชรธรรมาภร (หลวงพ่อสุรพงษ์) วัดตรีทศเทพ
-พระปริยัติมุนี (หลวงพ่อชูศักดิ์) วัดหงส์รัตนาราม
-พระญาณสมโพธิ (หลวงพ่อขวัญ) วัดอรุณฯ
-พระครูปริยัติคุณาธาร (หลวงพ่ออัมพร) วัดชนะสงคราม
-พระราชวัฒนาพระ (หลวงพ่อฟู) วัดเวฬุราชิณ
-พระราชปริยัติวิธาน (หลวงปู่บุศย์) วัดดาวดึงษาราม
-พระครูพิศาลพัฒนาพิธาน (หลวงพ่อสมชาย) วัดปริวาศ
-พระสมุห์วีระ วัดอัปสรสวรรค์ ชลบุรี
-หลวงปู่เหล็ง วัดโคกเพาะ
-หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา อยุธยา
-หลวงปู่สาย วัดขนอนใต้
-หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย
-หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา
-หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
-หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรย์
-หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
-หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม สิงห์บุรี
-พระราชสุทธิญาณมงคล (หลวงพ่อจรัญ) วัดอัมพวัน อ่างทอง
-หลวงปู่มหาทองใบ วัดอบทม ชัยนาท
-หลวงพ่อผล วัดดักคะนน สมุทรสงคราม
-หลวงพ่อหยด วัดแก้วเจริญ
-หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ ประจวบคีรีขันธ์
-หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ปทุมธานี
-หลวงพ่อทองใบ วัดสายไหม นนทบุรี
-หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย ฉะเชิงเทรา
-หลวงพ่อจาง วัดนครเนื่องเขต
-พระอธิการสมชาย วัดโพรงอากาศ นครปฐม
-หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
-พระครูสมุห์อวยพร วัดดอนยายหอม ราชบุรี
-หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ สุพรรณบุรี
-หลวงพ่อดี วัดพระรูป
-หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง
-หลวงปู่สวิง วัดเสาธงทอง กาญจนบุรี
-หลวงพ่ออุตมะ วัดวังก์วิเวการาม
-หลวงปู่ผล สำนักสงฆ์เขารักษ์ นครพนม
-หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย ร้อยเอ็ด
-หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง อุบลราชธานี
-หลวงปู่พรหมา สำนักสงฆ์สวนหินผานางลอย นครศรีธรรมราช
-หลวงปู่แก้ว วัดเขาปูน
-หลวงปู่เนื่อง เลย
-หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน หนองคาย
-หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญญบรรพต
-พระอาจารย์อุทัย วัดถ้ำพระภูวัว อุดรธานี
-หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด
-หลวงปู่จันโสม วัดป่าจันทรังสี
-หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
-หลวงปู่คำพอง วัดถ้ำกกดู่
-หลวงปู่เพียร วัดป่าหนองกอง
-พระอาจารย์บุญมี วัดป่านากูล
-พระอาจารย์อินทร์ สกลนคร
-หลวงปู่อุ่นหล้า วัดป่าแก้วชุมพล หนองบัวลำพู
-หลวงพ่อบุญเพ็ง วัดถ้ำกลองเพล นครราชสีมา
-หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน พิจิตร
-หลวงปู่จันทรา วัดป่าเขาน้อย ลำปาง
-หลวงปู่หลวง วัดป่าสำราญนิวาส เชียงใหม่
-พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก
-
หลวงพ่อโนรี ประมาณระดับทะเลสูงสนามหลวงประมาณ9เมตร ถ้าน้ำท่วมอีก10เมตร แสดงน้ำขัง ประมาณ18-20เมตร อยู่ตึก 10 ชั้นแข็งแรงอยู่ได้ต้องมีน้ำและอาหาร พลังแสงอาทิตย์หุ้นข้าวและทำอาหารได้จะดี
หน้า 66 ของ 86