สัตว์นี้ใครสร้างผู้สร้าง สัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดในที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 28 มีนาคม 2010.

  1. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137

    วชิราสูตร
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 0px; MARGIN-BOTTOM: 0px; MARGIN-LEFT: 0px; LINE-HEIGHT: 200%; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'" borderColorDark=#79052c width="100%" align=center borderColorLight=#804000 border=0><TBODY><TR><TD width=361>
    </TD><TD vAlign=center align=middle width=496> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕
    </TD><TD vAlign=bottom align=right width=346>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระสูตรที่แสดงธรรมของท่านวชิราภิกษุณี ที่แสดงต่อที่มารบกวนท่าน ด้วยหวังจะล่อลวงด้วยถ้อยคำถามให้หลงผิดย่อท้อ แต่ท่านกลับแสดงธรรมตอบคำถามของมารอย่างอาจหาญอย่างปรมัตถ์ ยิ่งนัก จนมารต้องหนีหาย หรืออันตรธานไปจากใจของท่าน จนบันทึกอยู่ในพระไตรปิฏกตราบเท่าทุกวันนี้ในบท วชิราสูตร นี้, ธรรมที่ท่านได้กล่าวแสดงแก่มารจนเป็นที่เลื่องระบือ ดังเช่น สังขารในพระไตรลักษณ์ ที่ย่อมประกอบขึ้นแต่เหตุปัจจัย อันท่านได้อุปมาอุปไมยโดยอาศัยรถ ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยประกอบหรือปรุงแต่งกัน จึงเป็นสิ่งที่เรียกกันโดยสมมติสัจจะว่า รถ, และยังตอบปัญหามารถึงเรื่องสัตว์บุคคลเขาเรา ถึงความแตกต่างของบุคคลตัวตนหรือสัตว์ที่หมายถึงมีชีวิต ที่แม้ไม่มีตัวตนและเกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นเดียวกับ รถ โดยแสดงเหตุปัจจัยที่ยังความแตกต่างกับ รถ กล่าวคือ บุคคลตัวตนหรือสัตว์แม้ต่างก็ไม่มีอัตตาตัวตนแท้จริงเช่นเดียวดัง รถ เพราะสิ่งที่เห็นหรือผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตามที เป็นเพียงกลุ่มหรือก้อนหรือมวล(ฆนะ)ของเหตุที่มาประชุมปรุงแต่งเป้นปัจจัยกันขึ้นนั้นๆจึงขึ้นหรืออิงหรือเนื่องสัมพันธ์กับเหตุปัจจัยนั้นๆ จึงไม่ใช่ตัวใช่ตนที่หมายถึงเราหรือของเราอย่างแท้จริง เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราอย่างแท้จริง, ส่วนบุคคลตัวตนหรือสัตว์นั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งของขันธ์ต่างๆครบ จึงพากันเรียกสิ่งนั้นกันโดยสมมติหรือโดยสมมติสัจจะว่าสัตว์บุคคลเขาเราหรือชีวิต เป็นอนัตตาเพราะแม้แลดูประหนึ่งว่าเป็นเราเป็นของเรา แต่ความจริงแล้วก็ยังเป็นเพียงกลุ่มก้อนมวลรวมของขันธ์ทั้ง ๕ เท่านั้นที่มาประชุมกัน นั่นจึงไม่ใช่เรา เราจึงไม่ใช่นั่น นั่นจึงไม่ใช่ตัวใช่ตนของเรา และยังได้แสดงโฉลกธรรมแก่มารในเรื่องของ สังขารต่างๆรวมทั้งตัวตนเขาเรา ตลอดจนสังขารความสุขความทุกข์ว่าความจริงแล้ว ล้วนเป็นทุกขไว้อย่างปรมัตถ์ จนเป็นพุทธภาษิตหรือคติธรรมที่ได้ยินและกล่าวอ้างกันอยู่เนืองๆโดยทั่วไปในพระศาสนา เพราะความที่เป็นปรมัตถ์ยิ่งนัก จึงเป็นจริงอย่างที่ท่านกล่าวไว้ตั้ง ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วในหมู่ผู้รู้ธรรมที่แสวงหาในโลกุตระธรรม
    กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน
    ครั้นถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
    [๕๕๓] ลำดับนั้นผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า
    และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า
    สัตว์นี้ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดในที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ
    [๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ
    ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความว่า นี่คือผู้มีบาปใคร่จะให้เรา บังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว
    ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจาก จึงกล่าวคาถา ฯ
    ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป ด้วยคาถาว่า
    ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงสัตว์ฯ
    ในย่อมไม่ได้นามว่า สัตว์ ฯ
    (กองสังขารล้วนนี้ จึงหมายถึง เฉพาะกองร่างกายล้วนๆที่ยังไม่ได้ประกอบด้วยปัจจัยครบทั้ง ๕ ขันธ์ของชีวิต ผู้รู้จึงย่อมยังไม่ได้ให้ชื่อว่าสัตว์หรือชีวิต จึงยังเป็นเพียงกองรูปหรือรูปขันธ์หรือซาก ที่เหมือนดังแค่รถ ดังที่จะกล่าวต่อไป)
    เหมือนอย่างว่า เพราะรถ ย่อมมีฉันใด ฯ
    (จึงเป็นไปเหมือนดังรถเท่านั้น ที่ยังเป็นเพียงการประกอบกันเข้าของปัจจัยต่างๆทางรูปเท่านั้น จนเห็นเป็นสิ่งที่เรียกกันโดยสมมติสัจจะว่า รถ เท่านั้น จึงไม่มีชีวิตหรือเรียกไม่ได้ว่าสัตว์)
    (แต่)การสมมติว่าสัตว์(จึง)ย่อมมี(ขึ้น) ฉันนั้น ฯ
    (แต่เมื่อประกอบหรือมีปัจจัยปรุงแต่งครบด้วยขันธ์ทั้ง ๕ ขันธ์ จึงพากันเรียกโดยสมมติสัจจะว่า เป็นสัตว์หรือชีวิตขึ้น แต่ยังเป็นอนัตตา กล่าวคือชีวิตที่เห็นนั้นเกิดแต่เหตุปัจจัยมาปรุงกันขึ้น จึงขึ้นหรืออิงเนื่องสัมพันธ์อยู่กับเหตุคือขันธ์ ๕ ที่มาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน จึงไม่ใช่ีอัตตาที่หมายถึงความเป็นเราหรือของเราอย่างแท้จริง, ท่านจึงกล่าวว่าหรือเรียกว่า สัตว์ ก็ล้วนโดยสมมติ และเมื่อเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งกันเหล่านั้นถูกบีบคั้นหรือแปรปรวนไปด้วยเหตุอันใดก็ดี ก็เกิดสภาวะของการดับไปหรือเรียกกันโดยสมมติสัจจะโดยทั่วไปว่า ตาย ขึ้นนั่นเอง)
    (หรือกล่าวอย่างง่ายๆก็คือ สัตว์หรือชีวิตนั้นไม่มีอัตตาตัวตนหรอก มีแต่คำของสิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เรียกกันว่า สัตว์หรือชีวิต)
    ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป
    นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ
    ลำดับนั้น ผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ

    <CENTER>

    จบภิกษุณีสังยุต</CENTER>

    เหตุที่ท่านวชิราภิกษุณีได้กล่าวไว้ดังนั้น เป็นการพิจารณาเห็นความจริงในพระไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบันธรรม เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวง จึงไม่ว่ารถ, สัตว์, สิ่งของ, แม้กระทั่งสุข, ทุกข์ ฯลฯ. (กล่าวคือ ทุกสรรพสิ่งพึงยกเว้นแต่อสังขตธรรมเท่านั้น) ต่างล้วนเป็นสังขตธรรม อันเกิดแต่เหตุปัจจัยหรือปฏิจจสมุปบันธรรม จึงมีลักษณะโดยทั่วไปหรือที่เรียกกันว่าสามัญญลักษณะ ที่มีความไม่เที่ยง๑เป็นทุกข์ กล่าวคือ สภาพทนอยู่ได้ยาก หรือสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไปเป็นที่สุด๑ ล้วนเป็นอนัตตา๑
    ดังนั้นสังขารทั้งหลายทั้งปวง อันย่อมครอบคลุมถึง ตัวตนหรือสัตว์๑ ตลอดจนความทุกข์๑ อันย่อมล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งเช่นกัน จึงเรียกกันโดยสมมติว่าเกิดขึ้น แล้วมีการตั้งอยู่อย่างแปรปรวนไปมา แล้วดับไปเป็นที่สุด และด้วยเหตุที่สังขารทั้งสองต่างมีสามัญญลักษณะประจำตัวคือทุกข์หรือทุกขัง ดังกล่าวไว้ข้างต้นหรือในพระไตรลักษณ์ จึงล้วนย่อมมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป เฉกเช่นเดียวกัน จึงไม่ควรไปยึดมั่น ไม่ปล่อยวาง ให้ยืดยาวเป็นทุกข์ไปนั่นเอง
    ถ้ามองกันในแง่ของความสุขความทุกข์แล้ว เหตุที่ท่านกล่าวว่า มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับ ก็เพราะว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ อย่างปรมัตถ์ กล่าวคือ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น และขณะเมื่อทุกข์ดับไปเป็นสภาวะที่เราเรียกกันโดยสมมติเป็นภาษาโลกว่า สุข นั่นเอง เป็นมายาหรือมารยาของจิตที่หลอกล่อ ด้วยอวิชชา จึงมองไม่เห็น
    ส่วนความสุขที่เกิดขึ้นจากดับทุกข์นั้นเล่า แม้เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งของชีวิตเช่นกัน ที่เกิดจากดับไปของทุกข์ จึงสมหวังเป็นสุข จึงยังคงมีอยู่เป็นธรรมดาแต่ตามความจริงอย่างปรมัตถ์แล้ว ก็คือ ยังเป็นทุกข์ อย่างละเอียดลึกซึ้งนั่นเอง กล่าวคือย่อมมีอาการของทุกขังคือคงทนอยู่ได้ยากจึงต้องดับไปเช่นกัน ดังนั้น ผู้มิได้ในธรรมของพระองค์ท่าน เมื่อเกิดเหล่าสุขหรือก็คือสุขเวทนาไม่ว่าจักเกิดจากกามคุณ ๕ หรือรูปฌาน หรืออรูปฌานก็ตามที อันเป็นสภาวธรรมของชีวิตที่เมื่อมีเหตุปัจจัยยังคงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมก่อให้เกิดปริเทวะอันเป็นหนึ่งในอาสวะกิเลสอันคือเกิดอาการโหยไห้ อาลัยหาในสุขนั้นในภายภาคหน้าขึ้นอีก เนื่องจากการเพลิดเพลินหรือติดเพลิน หรือยึดมั่นในกิเลสอันคือสุขนั้นนั่นเอง จึงกล่าวว่า สุขก็คือทุกข์อันละเอียดอ่อนที่นอนเนื่องต่อไปนั่นเอง อันย่อมยังให้เกิดทุกข์ขึ้นเป็นที่สุดในลำดับต่อมา กล่าวคือสุขทุกข์ต่างล้วนเป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้
    สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป
    ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป
    อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.
    (จูฬเวทัลลสูตร)
    ดังนั้นไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมใด กล่าวคือ ในแง่ของทุกขังจึงทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไป จึงเป็นทุกข์ หรือมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิด ที่ดับ หรือในแง่ของความรู้สึกสุขความรู้สึกทุกข์ก็ตามที ทั้งสัตว์ ทั้งความสุขความทุกข์ จึงต่างก็ล้วนอยู่ภายใต้ทุกขัง จึงก่อให้เกิดทุกข์ และยิ่งเป็น ทุกข์อุปาทาน อันเร่าร้อนเผาลนถ้าไปอยากด้วยตัณหา หรือไปยึดด้วยอุปาทาน
    ด้วยเหตุดั่งนี้นี่เอง สัตว์ทั้งปวงผู้ยังไม่ได้ ผู้ยังไม่รู้จักโลกุตตรสุข
    สัตว์,บุคคล,เขา,เรา จึงล้วนมีสภาพ และประสบกับสภาวะทุกข์ ดังที่ท่านวชิราภิกษุณีกล่าวไว้ คือ
    มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น จึงมีแต่ทุกข์ที่ตั้งอยู่ จึงมีแต่ทุกข์ที่ดับไป
    นอกจากทุกข์แล้ว จึงไม่มีอะไรเกิด

    นอกจากทุกข์แล้ว จึงไม่มีอะไรดับ
    • เพราะความที่ล้วนเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่ง จึงไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ นั่นเอง
    ส่วนผู้ที่อยู่ในโลกุตตรสุข นั้นมีข้อแตกต่างกัน ถึงแม้ มีอะไรเกิดมีอะไรดับ อันเป็นสภาวธรรมเช่นนั้นเอง
    ก็ล้วนไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลส(อุปาทาน)นั่นเอง
    ทุกข์เหล่านั้น ถึงจะเกิดถึงจะดับ ตามสภาวธรรมจึงมารบกวนท่านไม่ได้
    กล่าวคือเป็นโลกุตตรสุข ที่ สุข สะอาด สงบ บริสุทธ์

    เรารู้จักทุกข์ ไม่ใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อใช้ไปในการดับทุกข์ที่เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    และก็เพื่อให้เกิดนิพพิทาญาณ จึงย่อมคลายกำหนัดหรือดับตัณหาเสียนั่นเอง
    จึงเป็นการดับทุกข์ อันเป็นสุขยิ่ง อย่างถาวร
    จึงสามารถตอบปัญหาของมาร เป็นข้อๆไป ดังนี้ก็ได้
    สัตว์นี้ ใครสร้าง ?
    ปฏิจจสมุปบันธรรม เป็นผู้สร้างสัตว์ ตลอดจนสังขตธรรมทั้งปวง
    ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน ?
    ไม่มีผู้สร้าง หรือกล่าวว่าผู้สร้างคือ ธรรมธาตุ หรืออสังขตธรรม อันเที่ยงแท้และคงทนต่อทุกกาล และความเป็นไปตามธรรมดา
    สัตว์บังเกิดในที่ไหน ?
    ทุกแห่งหน ที่เกิดขึ้นแห่ง ปฏิจจสมุปบันธรรมกล่าวคือเมื่อมีเหตุมาเป็นปัจจัยครบ
    สัตว์ดับไปในที่ไหน ?
    ทุกแห่งหน ซึ่งเป็นที่ดับไปแห่งปฏิจจสมุปบันธรรมหรือการดับไปแห่งเหตุปัจจัย หรือหลักอิทัปปัจจยตา
    (ควรมีความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทและพระไตรลักษณ์)

    อนัตตา
     
  2. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป
    นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ
     
  3. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ความยึดมั่นถือมั่นเท่านั้นที่เกิดขึ้น นอกจากความยึดมั่นถือมั่นแล้วไม่มี เพราะความยึดมั่นถือมั่นยิ่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีสมมุติมากเท่านั้น อะไรบ้างเป็นสมมุติ ไม่รู้เหมือนกันก็พิจารณาไปด้วยกันแล้วกันครับ
     
  4. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    "อวิชาและตันหายังคนไห้เกิด จิตของเค้าย่อมวิ่งพล่านเวียนว่ายไปยังสงสาร [เป็นเหตุ]
    เมื่อขันทั้งหลายยังบังเกิดมีอยู่ การสมมุติว่าสัตว์ก้ยังมีอยู่[เป็นผล]
    ความจริงแล้ว กองสังขารเหล่านี้ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ [เหตุเพราะไม่มีตัวตนไม่เที่ยง]
    มีแต่ทุขเท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุขเท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุขเท่านั้นที่เสื่อมสิ้นไป [ผลจึงทนอยู่ไม่ได้และเสื่อมไป]
    นอกจากทุขไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุขไม่มีอะไรดับ"

    ขอจงเข้าใจในความยึดมั่นถือมั่นในกองขันนั้น ความยึดมั่นถือมั่นเพราะไม่รู้ในอวิชาจึงมี กองขันเพราะเข้าไปยึดว่าเป้นอัตตา เพราะมองไม่ออกจึงยังคงมีตันหาส่งต่อไปเรื่อยๆทั้งในทางใดทางหนึ่ง เพราะไม่รู้จึงยังคงเวียนว่ายไปขอจงพิจารนา
     
  5. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    บางทีถ้าเราอิงความเป็นจริงและเห็นตามความเป็นจริงบ่อยๆ ก็จะเข้าใจว่าธรรมชาตินั้น โดยเฉพาะเรื่องของสัตว์อันอาศัยขันธ์ทั้งหลายเป็นที่ตั้ง แม้จุดเริ่มต้นในปฏิจสมุปบาท จะเป็นอวิชชา นั้นเรียกว่า โดยธรรมชาติ หรือ ส่วนมากแต่เหมือนกับว่า ทุกสิ่งนั้นไม่เคยเกิดขึ้นลอยๆ แม้จะเรียงลำดับกันก็ตามที จึงเห็นว่า การดับหรือการหยุดวงจรในวัฏจักร ปฏิจสมุปบาท นั้นควรใช้โยนิโสมนสิการอย่างยิ่งยวด เพราะมันคือลำดับของความสอดคล้องต้องกันไปในทุกขณะจิต การจะหยุดสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ต้องจะมีอีกสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทดแทนเสมอ สิ่งนั้นคืออะไร ก็พิจารณาให้ดีๆ เพราะแม้จะมีลายแทงดีแต่ผู้ศึกษา เข้าใจเพียงตัวอักษร แต่ไม่เข้าใจถึงกระแสและกลไกหรือพลังงานให้เกิดการขับเคลื่อนไปของวงจรนั้นๆ ก็ไม่ถือว่าหรือสามารถตีความหมายของอวิชชาได้อย่างแท้จริง เพราะแม้อวิชชาเองก็มีแรงพลักดัน และแรงพลักดันนั้นมาจากอะไร ก็ร่วมกันพิจารณาไปด้วยกันครับ
     
  6. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ผู้ที่กล่าวคือพระพุทธเจ้าครับ และท่านกล่าวได้ตรงและถูกต้องทุกประการขอพี่เก่งจงสดับและโยนิโสมนสิการครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  7. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไม่มีอะไรหรอกครับเห็นพูดถึงแต่อวิชชา อวิชชา โดยที่มีความหมายเพียงเท่านั้นพี่ก็เลย อยากให้ลองพิจารณาในแบบที่ว่า เมื่อมันมีเหตุสอดคล้องต้องกันคามจริงตามธรรมชาติ มันจะเหมือนหรือต่างกันกับที่เห็นและที่เข้าใจเท่านั้นครับ พี่ก็สดับและโยนิโสในแบบของพี่แหละครับ เพราะว่าหากเน้นลงไปว่าเพราะอวิชชาตัวเดียว นั้นมันอาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ครับ พี่ก็พูดไปเท่านั้นเอง เพราะก่อนจะเห็นอวิชชานั้น เราควรเห็นอะไรบ้าง ถ้าเอาตั้งแต่ต้นเลย ควรเห็นควรรู้อะไรบ้าง พี่ก็เลยร่ายไปตามประสาครับ กลัวว่าจะกลายเป็นติดอักษรไปกับเขาด้วยเท่านั้นครับ ก็ปฏิบัติๆไปแล้วกันครับ พี่จะโยนิโสมนสิการให้มากครับ
     
  8. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนาครับ
    พระศาสดาทรงขี้แจงอย่างเที่ยงตรงแล้วครับ ไม่คลุมเคลือไม่ลังเล ใจเราต่างหากที่ยังไม่ตรงตาม
     
  9. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    งั้นขอถือโอกาสถามหน่อยได้ไหมครับ ที่ว่าไม่คลุมเครือนั้นพิจารณาอย่างไร และที่ไม่ตรงตามนั้นมันมีวิธีไหนพอจะรู้ไหม
     
  10. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    1ประโยคไหนในธรรมของพระศาสดาที่คลุมเคือครับและไม่ตรงและถูกต้องบ้าง
    2ใจที่ไม่ตรงตามคือใจที่ยังเห็นไม่ตรงดังคำที่พระศาสดาสอน หรือควรเปลี่ยนคำที่พระศาสดาสอนว่ามีสิ่งอื่นที่ถูกต้องกว่า

    ธรรมของพระศาสดาเที่ยงและถุกต้อง ไม่ใช่ใจผมนะครับท่าจะแย้งว่าใจผมไม่ได้เห็นจริงเช่นนั้นดังที่พระศาสดาทรงแสดงไว้อันนั้นคงจะจริงเลยครับผมยังไม่สามารถเห็นตามได้เช่นนั้นจริงๆ ปัญญาไม่มากพอ จึงกล่าวว่าเพราะใจยังไม่ตรงต่อธรรม
    อนุโมทนาครับ
     
  11. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ธรรมข้อนี้ยกมาอ้างให้ท่านทั้งหลายได้สดับเพื่อเกิดปัญญายกมาจากพระสูตรไม่ได้มาจากใจอย่าได้หวังเอาผู้ยกธรรมมาจะได้แล้วซึ่งปัญญาเช่นดังผู้เทสนานะครับ
     
  12. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไม่ใช่ครับหมายถึงว่า เวลาที่เรื่องราวใดๆที่เกิดขึ้นกับเราแล้วคลุมเครือนั้นมันเป็นยังไงครับ ไม่ได้หมายความว่าพระธรรมคลุมเครือครับ แต่ที่บอกว่าเราเองที่คลุมเครือนั้นมันเป็นยังไงครับ พอจะแนะวิธีพิจารณาตนเองได้ไหมครับ
    จากข้อสองแสดงว่าเราต้องย้อนกลับมามองที่ว่าพระศาสดาสอนอะไรและเพื่อสิ่งใดใช่ไหมครับ จึงจะบอกได้ว่าใจตนตรงตามที่พระศาสดาสอนหรือไม่ ใช่ไหมครับ
     
  13. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    1ความคลุมเคลือที่เกิดกับใจเป็นอย่างไร เป็นอย่างที่เราหลงว่ามันคือเราเป็นของเราครับ
    2อนุโมทนานะครับที่ไม่มีทิฐิในทางขัดแย้งต่อพระศาสดา
    3ที่กล่าวว่าเราเองที่คลุมเคลือเพราะยังคงเป็นเรายังไงล่ะครับเรายังคงมีอวิชาและตันหา เราจึงยังไม่รู้แจ้ง จึงกล่าวว่าคลุมเคลือหากกรนีนี้สำหรับใครที่ไม่คลุมเคลือแล้วแจ้งแล้วในธรรมขออภัยไว้ด้วยครับ
    4วิทีพิจารนาตนเองคือ สติปัฐฐานสูตรครับพิจารนาไห้ดีครับมีสติรึเปล่าต่อการกระทำพูดและคิด หรือเพียงหลงมายามอง รูปและนามเป็นเราเป็นของเราและตีความไปเช่นนั้น
    5ครับอนุโมทนาในการมีโยนิโสมนสิการครับ
    6เรียกว่ารู้ตัวครับ หรือมีสติ ว่าเป็นสัมมาหรือไม่ตามที่พระสาสดาสอนครับ

    อนุโมทนาพี่เก่งครับ รูปรส กลิ่น เสียง โผทัพผะ และธรรมมารมที่รับรู้ เป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่กระทบและเรารู้ เพียงเพราะเราไม่เห้นในสภาวะที่เป็นจริงในอาการของมันมีอย่างไร จึง ปติคะ หรือหลงไป ว่ามันเป้นเราเป็นของเรา

     
  14. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ธรรมใดๆที่ช่วยตักเตือนสั่งสอนชี้แจงผมจะขอรับไปพิจารนานะครับ
    อนุโมทนานะครับ
     
  15. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ก็ถ้าเราทุกคนพูดจากันด้วยความไม่ถือตัวถือตนกันไม่คิดว่าใครอวดเก่ง ไม่คิดว่าใครเก่งหรือไม่เก่ง นั่นคือไม่ก่ออกุศลต่อกันทุกสิ่งทุกอย่างนั้นล้วนถือเป็นธรรม เพราะธรรมนั้นไม่ได้เกิดเพราะการฟังหรือการอ่านแล้วจดจำเอา จะเห็นได้จากเหตุทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นล้วนเกิดเพราะความยึดมั่นถือมั่นถือตัวถือตน ถือว่าเราเก่งกว่า เขาอวดเก่ง เขาโง่กว่าเราโง่กว่า คนแบบนั้นแหละเรียกว่าผู้กำลังหลง หลงในธรรม หลงในตัวตน ยึดมั่นในความเป็นตนอันเป็นสังโยชน์เบื้องต้นที่เราท่านทั้งหลายจักต้องกำจัดแต่ไม่มีความสามารถเพราะเป็นแต่เพียงอ่านก็ดี ฟังมาก็ดี ดังนั้นธรรมทั้งหลายเกิดเพราะการพิจารณาให้เห็นถึงความจริงของทุกๆสิ่งทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อละคลายความยึดมั่นถือมั่นนั่นเองครับ
    ขออนุโมทนาด้วยครับน้องอัล
     
  16. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่แตกต่างจากศาสนาอื่น
    เพราะพระพุทธองค์ทรงค้นพบอริยสัจ ๔
    โดยการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางจิต

    ความว่า
    ทุกข์ เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป
    นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ

    ก็คือ เพราะจิตสามัญสัตว์โลกมีอวิชชาครอบงำ
    จิตไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    ชอบแส่ส่ายออกไปรับอารมณ์(รูป) และปรุงแต่งจิตไปตามอารมณ์
    ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    นั่นคือ ทำให้เกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิต ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต
    เพราะจิตหลงยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตน
    เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป

    พระพุทธองค์ทรงสอนให้ปฏิบัติทางจิต(อริยมรรค ๘)
    เพื่อให้จิตไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์(รูป) ไม่ปรุงแต่งจิตไปตามอารมณ์
    ทำให้ไม่เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วย อารมณ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    นั่นคือ ทำให้ไม่เกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิต ทำให้ไม่เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต
    จิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตน
    เพราะจิตรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่ขันธ์ ๕
    ขันธ์ ๕ พึ่งพาอาศัยไม่ได้ จิตแยกตัวเป็นอิสระจากขันธ์ ๕ ได้
    เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป


    (smile)

     
  17. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    เทียบเคียงได้กับ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา


    ทุกข์ ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา
    ทรงสอนให้กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ต้องไปจัดแจงหรือแก้ไขอะไร

    แต่ต้องละตัณหา ๓ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์
    คือ ความทะยานอยากของจิตที่ชอบแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
    นั่นคือ จิตเมื่อแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์ ที่จะไม่เกิดทุกข์ขึ้นที่จิตนั้น เป็นไม่มี

    ถ้าละความทะยานอยากของจิตที่ชอบแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์ได้เมื่อใด
    ทุกข์ย่อมดับไปจากจิต (นิโรธ) เมื่อนั้น เป็นธรรมดา
    จึงทรงสอนว่า นิโรธ ให้ทำให้แจ้งชัดขึ้นที่จิต

    โดยการเจริญอริยมรรค ๘
    เพราะการเจริญอริยมรรค ๘ เป็นการละความทะยานอยากของจิตที่ชอบแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์

    ซึ่งต้องเริ่มต้นด้วยการนั่งสมาธิ เจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ)
    ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สติปัฏฐาน๔ = สัมมาสติ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
    โดยอาศัยความเพียรประคองจิตให้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สัมมาวายามะ)จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

    เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์แล้ว
    จิตจะเกิดปัญญารู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(สัมมาทิฐิ)
    และเกิดพลังปัญญาปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิตได้ตามลำดับ(สัมมาสังกัปปะ)
    ทุกข์ย่อมดับไปจากจิต

    ในการเจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ) นั้น จิตจะบรรลุปฐมฌานได้
    ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)ด้วย

    ครบ อริยมรรคมีองค์ ๘

    ดังนั้น อริยมรรค ๘ จึงต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
    ถึงอารมณ์จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    จิตก็ไม่ทุกข์ไปกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    เพราะจิตไม่ยึดถืออารมณ์นั้นๆ
    อารมณ์นั้นๆก็สักเป็นเพียงอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิตดวงนั้นของผู้ปฏิบัติ

    (smile)
     
  18. albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนาคุนธรรมสวนัง
    จิตที่คุนธรรมสวนังกล่าวถึงเป็นสภาวะนิพพานที่ปราศจากขันธ์ คือทุข
    ด้วยกระทำตามมรรคดับแล้วซึ่ง ตันหาทั้ง3 คืออวิชา ตัวสมุทัย
    และจิตเช่นนั้นเป็นจิตที่ดับแล้วซึ่งราคะโทสะและโมหะ เป็นนิโรธ
    จิตที่ไกลจากกิเลส เป็นจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
     

แชร์หน้านี้