หนีไม่พ้น

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Wisdom, 13 ธันวาคม 2007.

  1. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">คำเตือน ! กระทู้นี้มีภาพเกี่ยวกับอสุภะซากศพอยู่มากเพื่อให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของร่างกายหากท่านไม่ประสงค์ที่จะดูก็ให้กดออกจากกระทู้ไม่ต้องเลื่อนกระทู้ลง </TD></TR></TBODY></TABLE>



    [​IMG]

    "อายุของพวกมนุษย์น้อย
    บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้
    พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
    เพราะความตายจะไม่มาถึงมิได้มี
    วันคืนย่อมล่วงเลยไป
    ชีวิตก็กระชั้นเข้าไปสู่ความตาย
    อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป
    เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยย่อมสิ้นไป ฉะนั้น..."

    พุทธพจน์

    --------------------------------

    ความตาย เอ๋ย ความตายหนอ...

    นึกถึงความตาย สบายนัก มันหักรัก หักหลง ในสงสาร(วัฏ)

    ความตายเป็นของเที่ยงที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน
    ได้ทุกเมื่อทุกวันทุกเวลาไม่ว่าจะใครก็ตาม

    [​IMG]

    เมื่อเธอเดินตามรอยชาวโลกไปจนสุดปลายทาง
    เธอจะพบกับน้ำตาแห่งความพลัดพรากในที่สุด
    เพราะทุกสิ่งล้วนแตกดับและสลายไป
    เช่นเดียวกับชีวิตเธอและคนที่เธอรัก
    ที่สุดแห่งความรัดคือการพลัดพราก
    ไม่จากเป็น ก็จากตาย

    [vdo]http://palungjit.org/attachments/a.249891/[/vdo]​

    สักวันต้องเป็นเรา ไม่รู้วันไหน
    ทุกวินาทีที่ผ่านไป ก็คือความตายที่ใกล้เข้ามา...แล้วกับ
    ลมหายใจที่เหลืออยู่ซึ่งริบหรี่ลงทุกวัน ถามตนเองว่า
    เราทำอะไรอยู่...

    -------------------------

    [music]http://palungjit.org/attachments/a.249890/[/music]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 ธันวาคม 2007
  2. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    ตติยบรรพ
     
  3. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    ความตายเป็นของเที่ยง ความมีชีวิตอยู่เป็นของไม่เที่ยง
    <!--colorc--><!--/colorc-->
    ภาวนาอยู่ดังนี้เรื่อยๆ ไป ถ้าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์แก่กล้า จะสามารถข่มนิวรณ์ธรรมต่างๆ เสียได้ มีมรณารมณ์ตั้งมั่น เข้าถึงอุปจารสมาธิโดยไม่ยาก นอกจากนั้นยังบังเกิดมรณสัญญาที่น่าปรารถนาถึง ๘ ประการ คือ เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับความตายขึ้นมาว่า

    ๑. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณแค่วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือ ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น

    ๒. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณแค่วันหนึ่ง คือ ๑๒ ชั่วโมงเท่านั้น

    ๓. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณเพียงครึ่งวัน คือ ๖ ชั่วโมงเท่านั้น

    ๔. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วเวลาเพียงกินข้าวอิ่มหนึ่งเท่านั้น

    ๕. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วครึ่งเวลากินข้าวอิ่มเท่านั้น

    ๖. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อได้อีกชั่วเวลากินข้าวได้เพียง ๔ หรือ ๕ คำเท่านั้น

    ๗. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่งเท่านั้น

    ๘. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วระยะเวลาหายใจเข้าออกเท่านั้น

    มรณสัญญาข้อ ๗ และ ๘ ทำให้มีสติเจริญดีเยี่ยม ถูกต้องตามพุทธประสงค์ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสชมเชยไว้ ส่วนข้อที่ ๑ - ๖ สำหรับผู้คนในสมัยปัจจุบันนี้ ผู้ใดสามารถทำได้ก็นับว่าดีมากแล้ว

    การเจริญมรณานุสสตินั้น ได้ผลอย่างมากเพียงอุปจารสมาธิ ไม่เข้าถึงอัปปนาเนื่องจาก มรณะ ความตายที่นำมาใช้เป็นอารมณ์กรรมฐานนั้นเป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความสังเวช เมื่อใช้ระลึกถึงอารมณ์ดังนี้เนืองๆ ทำให้เกิดความสะดุ้งกลัวขึ้นกับจิต จิตจึงไปไม่ถึงอัปปนาสมาธิ

    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->อานิสงส์อันเกิดแต่การเจริญมรณานุสสติมีดังนี้

    - ทำให้ละความประมาทมัวเมาในชีวิตลง มองเห็นภัยในวัฏฏสงสาร
    - ได้สัพพภเวสุอนภิรตสัญญา คือ ความกระสันที่จะเลิกอยู่ในภพทั้งปวง
    - ละความยินดีในชีวิต ไม่รักชีวิต
    - ติเตียนการกระทำอันเป็นบาป
    - ยินดีด้วยสัลเลขะ ความมักน้อย สันโดษ ไม่สั่งสมของบริโภค
    - สันดานปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
    ไม่รักใคร่หวงแหนในสมบัติทั้งปวง
    - จิตจะคุ้นเคยใน อนิจจสัญญา มองเห็นอนิจจังในรูปธรรม นามธรรม เป็นเหตุให้ได้ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาตามมา เห็นพระไตรลักษณ์ชัดแจ้งในสันดาน
    - เมื่อเห็นพระไตรลักษณ์แล้ว แม้ต้องตายย่อมไม่นึกหวาดกลัว สติไม่หลงเลอะเลือน<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->คนที่ไม่เจริญมรณานุสสติ เมื่อถึงเวลาใกล้ตายย่อมสะดุ้งตกใจกลัวตาย เหมือนถูกเสือร้ายตะครุบตัวไว้กำลังจะกัดกินเป็นอาหาร หรือเหมือนคนอยู่ในเงื้อมมือโจร หรือเพชฌฆาต หรือเหมือนคนอยู่ในมือยักษ์ หรือในปากอสรพิษ<!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->การเจริญมรณานุสสตินั้น เป็นปัจจัยให้สำเร็จซึ่งมรรคผลนิพพาน ถ้าชาตินี้ยังไม่บรรลุ เมื่อตายลงย่อมมีสุคติเป็นที่ไป<!--colorc--><!--/colorc--><!--fontc--><!--/fontc--><!--sizec--><!--/sizec-->
     
  4. undeath13

    undeath13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    1,480
    ค่าพลัง:
    +1,830
    เอ่อผมขออนุโมทนาไปโพสห้อง อสุภะ ได้ไหมครับ อ่านหนังสือตอนตี3 อยู่เงียบๆคนเดียวเปิดมา แทบพุ่ง -*-หัวใจจะวายเอาไม่กล้าอ่านต่อแล้วเนี่ย T-T


    ปล.นี่บอร์ดพลังจิต-ลึกลับนะ Y_Y
     
  5. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->
    ๑) น โข อหญฺเญเวโก มรณธมฺโม มรณํ อนตีโต
    อถ โข ยาวตา สตฺตานํ อาคติ คติ จุติ อุปฺปตฺติ
    สพฺเพ สตฺตา มรณธมฺมา มรณํ อนตีตาฯ<!--colorc--><!--/colorc-->​

    ความตายและการหนีความตายไม่พ้น
    ไม่ใช่มีแต่เราเพียงผู้เดียว แท้ที่จริงสัตว์ทั้งหลาย
    ที่มีสภาพเนื่องมาจากภพก่อนและเกิดขึ้นในภพนี้
    แล้วย้ายจากภพนี้เกิดต่อไปในภพใหม่
    สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมมีความตาย
    และหนีไม่พ้นจากความตายด้วยกันทั้งสิ้น​


    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->๒) ยเมกรตฺตึ ปฐมํ คพฺเภ วสติ มาณโว
    อพฺภุฏฺฐิโตว โส ยาติ สคจฺฉํ น นิวตฺตติฯ
    <!--colorc--><!--/colorc-->

    ผู้ใดเกิดขึ้นในครรภ์มารดาครั้งแรกในคืนใดคืนหนึ่งนั้น
    ผู้นั้นย่อมบ่ายหน้าไปหาแต่ความตาย
    ผู้บ่ายหน้าไปหาความตายนี้ ไม่มีการกลับหลัง​


    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->๓) ทหรา จ หิ วุทฺธา จ เย พาลา เย จ ปณฺทิตา
    อคฺฆา เจว ทลิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายณา
    <!--colorc--><!--/colorc-->

    ผู้ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม วัยสาวก็ดี วัยแก่ก็ดี
    ผู้ที่ไม่มีปัญญาความรู้ก็ดี ที่มีปัญญาความรู้ก็ดี
    ผู้ที่ร่ำรวยก็ดี ยากจนก็ดี ทั้งหมดนี้ย่อมมีความตายเป็นที่สุด​


    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->๔) ผลานมิว ปกฺกานํ นิจจํ ปตนโต ภยํ
    เอวํ ชาตานมจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํฯ
    <!--colorc--><!--/colorc-->

    สัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมประสบกับภัย
    คือความตายอย่างแน่นอน เสมือนหนึ่งผล
    ไม้ที่สุกงอมต้องหล่นลงอย่างแน่แท้​


    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->๕) สายเมเก น ทิสฺสนฺติ ปาโต ทิฏฺฐา พหู ชนา
    ปาโต เอเก น ทิสฺสนฺติ สายํ
    ทิฏฺฐา พหุ ชนาฯ
    <!--colorc--><!--/colorc-->

    ชนทั้งหลายในยามเช้ายังเห็นกันอยู่
    พอตกเวลาเย็นบางคนก็ไม่เห็นกัน ตายเสียแล้ว
    ชนทั้งหลายเมื่อตอนเย็นยังเห็นกันอยู่
    พอถึงตอนเช้าบางคนก็ไม่เห็นกัน ตายเสียแล้ว​


    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->๖) อุสฺสาโวว ติณคฺคมฺหิ สุริยุคฺคมนํ ปติ
    เอวมายุ มนุสฺสานํ มา มํ อมฺม นิวารยฯ
    <!--colorc--><!--/colorc-->

    แม่จ๋า อายุของคนเรานี้น้อยเหลือเกิน
    เสมือนหนึ่งหยาดน้ำค้างที่ติดอยู่บนใบหญ้า
    เมื่อถูกแสงอาทิตย์เข้า ก็เหือดแห้งหายไปพลัน
    ดังนั้น แม่อย่าได้ขัดขวางการบวชของลูกเลย​


    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->๗) สพฺเพ สตฺตา มรณา ธุวํ
    สพฺเพ สตฺตา มรณา นิจฺจํ
    สพฺเพ สตฺตา มรนฺติ จ มรึสุ จ มริสฺสเร
    ตเถวาหํ มริสฺสามิ นตฺถิ เม เอตฺถ สํสโยฯ
    <!--colorc--><!--/colorc-->

    สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น มีความตายอย่างแน่นอน
    เป็นของเที่ยง สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น จักตาย
    กำลังตาย และเคยตายมาแล้ว เราก็จักตายเช่นกัน
    อย่าได้สงสัยความตายนี้เลย<!--fontc--><!--/fontc--><!--sizec--><!--/sizec-->​
     
  6. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    ความจริงแท้ที่ทุกคนควรคำนึงถึงครับ สักวันทั้งคุณและผม
    ก็ต้องตายเหมือนกันเลยครับ ระลึกไว้จะทำให้เราไม่ประมาทกับชีวิต
    ข้อดีของการกลัวตาย ก็คือทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติมากขึ้น
    ไม่หลงระเริงกับสิ่งยั่วยุมากเกินไป ไม่หลงไปกับอารมณ์ตนเอง
    มองโลก อย่างมีสติมากขึ้น เห็นว่าไม่ว่าเขาหรือเราก็จะตาย
    ตกไปตามกันทั้งนั้น สุดท้ายเมื่ออารมณ์เข้าถึงแล้ว
    เราก็จะมองความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่จะมี
    เราไม่ประมาท และไม่กลัวตายครับ แต่เตรียมพร้อมทุกเมื่อ

    สูดหายใจลึกๆ ทำใจให้อารมณ์สบายๆ
    นึกถึงพระ แล้วทำความดีต่อไป เพื่อสะสมเสบียง
    เพื่อวันสำคัญที่จะเข้ามาครับ

    ธรรมรักษา
     
  7. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    นอนทอดนิ่งร่างกายไร้ลมปราณ

    สิ้นอาการตอบรับขยับไหว
    หนึ่งชนชีพลาลับดับล่วงไป
    สู่แห่งใดกันเล่าเฝ้าคำนึง

    มีโลงไม้ห่อบังร่างเย็นชืด
    คงจะมืดสิ้นแสงใดส่องไปถึง
    เหลือไว้แต่ความหลังฝังตราตรึง
    เพ้อรำพึงครวญคร่ำรินน้ำตา

    ยินสดับนักบวชสวดบาลี
    ฤๅจะชี้หนบรรจบสู่ภพหน้า
    คีตประโคมก้องเชิดเปิดมรรคา
    จงเดินทางไคลคลาผ่านราตรี

    โชยกลุ่มควันพวยฟุ้งพุ่งจากเมรุ
    เป็นกฎเกณฑ์ชีวิตไร้สิทธิ์หนี
    ท้ายแค่เถ้าฝุ่นผุยขุยธุลี
    สุดชีวีเคยเฟื่องจบเรื่องราว

    จะล่องลอยไปไหนในคืนนี้
    ห้วงราตรีอื่นแดนแสนเหน็บหนาว
    ได้สัมผัสสุขสมชมดวงดาว
    หรือจะร้าวร่อนคว้างทางมืดมน
     
  8. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]
    คนเรา ก็เท่านี้

    เธอเวียนเกิดเวียนตายระคนกันไปอย่างนี้มานานแล้ว
    คู่ของเธอขณะนี้อาจเป็นพ่อแม่ในอดีตก็ได้ และหลายชาติ
    ที่เธอจะพลัดพรากจากกันคนหนึ่งอยู่บนฟากฟ้าสูงส่ง
    ส่วนอีกคนตกต่ำในห้วงเหวนรกโลกันต์ เธอจะต้องตาย
    ความตายกำลังเดินทางมาถึง คนที่เธอรักต้องตาย
    เธอต้องตายจากคนที่รัก เธอทุกข์อย่างนี้มานับชาติไม่ถ้วนแล้ว
    ตัดรักเถิดก้าวข้ามบ่อน้ำกามอันแสนตื้นเขิน
    ที่ชาวโลกติดหลงใหลในรสชาติกามคุณนี้่ให้ได้เสียที
    แล้วความตายจักได้ไม่มาเบียดเบียนเราอีกเลย

    อนิจจา ! สัตว์โลก ถูกจองจำกลับยินดี สู้ศัตรูไม่มีอาวุธ
    ใครไม่หยุดไม่ถึงพระ ใครไม่ละไม่ถึงนิพพาน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ความเกิด แก่ เจ็บ ความตายกายมนุษย์
    ไม่สิ้นสุด เวลามาฉุกเฉิน
    ความหมุนเวียน เปลี่ยนแปลงแห่งโลกเดิน
    ก็ดำเนินตามกรรม นำชีวี
    จันทร์เต็มดวงยังกลับหันเป็นจันทร์แรม
    แสงอะแหล่ม นวลอร่ามกลับทรงศรี
    น้ำขึ้นแล้ว ยังกลับลดปรากฏมี
    ชั่วแล้วดี ดีแล้วชั่วกลั้วกันไป

    ชีวิตนี้สั้นนักเปรียบเสมือนพยับแดด แวบวาบ แป๊ปเดียวแล้วหายไป
    ชีวิตนี้สั้นนักเปรียบเสมือนรอยขีดในน้ำไม่นานก็หายไป
    ชีวิตนี้น้อยนักเสมือนสายฟ้าฟาด แปลบเดียวแล้วหายไป
    ชีวิตนี้เหมือนฟองน้ำที่ผุดขึ้นแล้วแตกไป
    เมื่อความตายมาเยือนเราจะทำกับมันอย่างไรดี

    อันความตาย ชายนารี หนีไม่พ้น
    จะมีจน ก็ต้องวาย กลายเป็นผี
    ถึงแสนรัก ก็ต้องร้าง ห่างกันที
    ไม่วันนี้ ก็วันหน้า จริงหนา...เรา

    ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่
    เว้นเสียแต่ ต้นทุน บุญกุศล
    ทิ้งสมบัติ ทั้งหลาย ให้ปวงชน
    แม้ร่างตน... เขาก็เอา ไปเผาไฟ...

    เตรียมตัวก่อนตาย เตรียมกายก่อนแก่
    เตรียมปลงซ่ะก่อนจะถึงภพหน้า นะท่านเอ๋ย



    อายุคนเราเฉลี่ย76ปี....นั่นคือแค่3592อาทิตย์เท่านั้น

    คุณหมดเวลากับการนอนไปถึง1317อาทิตย์

    ซึ่งเท่ากับคุณเหลือเวลาที่ใช้ดำเนินชีวิตแค่2635อาทิตย์!!!


    ......สองพันกว่าอาทิตย์เองที่ได้อยู่บนโลก......


    ถามตัวคุณเองดีกว่า ว่าจะยอมเศร้าซักกี่อาทิตย์ เหงาซักกี่อาทิตย์ มีความสุขซักกี่อาทิตย์.......


    เพราะทั้งหมดเราก็มีอยู่แค่สองพันกว่าอาทิตย์เอง


    ที่กล่าวว่า อายุเฉลี่ยของคนเราคือ76ปีนี้ นี้คือค่ามัชฌิม....ค่าเฉลี่ยอายุคนทั่วไป

    บางคนอาจจะอยู่ได้นานกว่านั้น..... แต่อีกหลายๆคนก็อยู่ได้ไม่ถึง...... มันไม่มีอะไรจะมารองรับประกันได้เสียด้วยว่าใครจะอยู่ได้นานแค่ไหน..... ใครจะรู้ความตายแม้นพรุ่งนี้......

    ครูบาอาจารย์ท่านจะเตือนให้พิจารณาถึงความตายให้บ่อยๆ ไม่ให้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยทิ้งไปเปล่าๆ.....ให้เพียรพยายามเลิกละกิเลสในใจของตน เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเกิดเพื่อตายอีก

    ความตายเป็นทุกข์ก็จริง...... แต่ท่านสอนให้พิจารณาทุกข์ ให้เอาทุกข์ที่จะต้องมาถึงแน่ๆมาเตือนตน...... ความตายจึงมีประโยชน์กับผู้ที่รู้จักพิจารณา ความตายเป็นสัจจธรรมที่ฟังเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆธรรมดา เหมือนเป็นเรื่องพื้นๆ..... แต่สำหรับผู้ที่พิจารณาโดยแยบคายจะได้อุบายดับทุกข์-ละกิเลสอันยอดเยี่ยม

    มรณํง เม ภวิสสติ...... พึงระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตัวเราเถิด

    อธุวํ ชีวิตตํ......ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง

    ธุวํ มรณํ.....ความตายเป็นของเที่ยง

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  9. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    สักวันหนึ่งข้าพเจ้าต้องตาย
    สักวันหนึ่งท่านก็ต้องตาย
    สักวันหนึ่งคนที่ข้าพเจ้ารักต้องตาย
    สักวันหนึ่งคนที่ท่านรักก็ต้องตาย

    สักวันหนึ่งของที่ข้าพเจ้าชอบต้องพัง
    สักวันหนึ่งของที่ท่านชอบก็ต้องพัง
    สักวันข้าพเจ้าต้องพลัดพราก
    สักวันท่านก็ต้องพลัดพราก

    สักวัน.... เราต้องตาย
    สักวัน.... สักวัน.....

    อาจจะเป็นตอนนี้..... วันนี้.... หรือพรุ่งนี้.....
    แต่ยังไง เราและท่าน ก็.... ต้องตายเป็นแน่แท้

    [​IMG]

    1 ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่แน่นอน
    2 วัย หมดไปตามลำดับแห่งวัย
    3 หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย
    4 ชีวิต ไม่ถึงร้อยปีก็จะตาย
    5 ถ้าอยู่เลยร้อยปี ก็ต้องตายเพราะความแก่เป็นแน่แท้
    6 คนโง่ก็ตาย คนฉลาดก็ตาย
    7 สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนก้าวเดินไปสู่ความตาย
    8 คนถึงคราวตาย หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้
    9 ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สั้นนัก
    10 วันและคืนย่อมผ่านไป
    11 เมื่อมีชีวิต วัยแห่งชีวิตก็ร่นเข้ามา
    12 เกิด ก็เป็นทุกข์
    13 จะตาย ก็ตายไปคนเดียว
    14 กาลเวลาล่วงไป ราตรีก็ผ่านไป
    15 ตาย ก็เป็นทุกข์
    16 แก่ ก็เป็นทุกข์
    17 สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น
    18 จะวิ่งหนีก็ไม่ทัน (ความตายไม่มีใครหนีได้)
    19 สัตว์โลก ถูกชราปิดล้อม
    20 เจ็บ ก็เป็นทุกข์
    21 จะเกิด ก็เกิดมาคนเดียว
    22 ชีวิตนี้คับแค้น และสั้นนิดเดียว
    23 ชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย
    24 เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน
    25 เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
    26 เมื่อคนจะตาย ยังแถมประกอบด้วยทุกข์อีก
    27 คนที่ร้องให้ถึงคนตาย เขาก็จะต้องตายด้วย
    28 ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
    29 เห็นอยู่เมื่อเช้า สายก็ตาย
    30 ที่ตายแล้วก็แล้วไป ไม่ควรเศร้าโศกถึง
    31 ปราชญ์ทั้งหลาย บอกแล้วว่าชีวิตนี้น้อยนัก
    32 โลกถูกความตายครอบเอาไว้
    33 เมื่อความตายมาถึงตัว ก็ไม่มีใครป้องกันได้
    34 เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป
    35 ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องแตกสลายในที่สุด
    36 ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่ายกายไว้ในโลก
    37 ไม่มีใครผัดเพี้ยนกับความตาย ซึ่งมีอำนาจมากได้
    38 สถานที่ที่ได้ชื่อว่าไม่มีคนตาย ไม่มีในโลก
    39 ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท
    40 ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนร่างกายแตกดับไปทุกคน
    41 สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม
    42 เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
    43 ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
    44 กี่วันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตาย
    45 คนทุกคนต้องตาย
    46 วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
    47 การตายโดยชอบธรรม ดีกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่ชอบธรรม
    48 อายุของคนย่อมหมดสิ้นไป
    49 ความตายย่อมมีแก่ผู้เกิด
    50 วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที
    51 สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป
    52 สายเห็นกันอยู่ รุ่งเช้าอีกวันก็ตาย
    53 มีชีวิตอยู่อย่างไม่ถูกต้อง หาประเสริฐไม่
    54 เงิน ก็ซื้ออายุให้ยืนยาวไม่ได้
    55 สัตว์ทั้งปวง จัดทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
    56 ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก
    57 วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลักตา ทุกลืมตา
    58 เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดเดียวจะติดตัวไปก็ไม่มี
    59 ตายเพื่อความถูกต้องประเสริฐกว่า
    60 ถึงคราวตาย บุตรทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้
    61 ถึงคราวตาย บิดา ญาติพี่น้องก็ช่วยไม่ได้
    62 รวยก็ตาย จนก็ตาย
    63 ทรัพย์สมบัติ ก็ซื้อความแก่ไม่ได้
    64 สักวันหนึ่ง ก็จะพรากจากกันไป
    65 วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า
    66 มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสามนี้ดุจไฟลามลุกไหม้
    67 ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย
    68 ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
    69 วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมจะเหลือน้อยลง
    70 อายุย่อมหมดไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา
    71 คนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรือจะเกินก็เพียงเล็กน้อย
    72 แม้ชีวิตอยู่ร้อยปี ก็ไม่พ้นความตายไปได้ มวลมนุษย์ล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า
    73 ชีวิตของเราเป็นของน้อย ชราและพยาธิก็คอยย่ำยี
    74 กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง
    75 คนใดร้องให้บ่นเพ้อถึงคนที่ตายไปแล้ว แม้คนที่ร้อนนั้นก็ต้องตายเหมือนกัน
    76 เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป
    77 วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ
    78 ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
    79 ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
    80 รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโครตไม่เสื่อมสลาย
    81 อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์ผู้ยืน นั่ง นอน หรือ เดินอยู่ก็หาไม่
    82 สิ่งมีชีวิตทั้งปวง ย่อมกลัวโทษและกลัวความตาย จงทำตนเป็นอุปมา แล้วไม่พึงฆ่าหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
    83 เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท
    84 ร่างกายนี้ ไม่นานนัก เมื่อวิญญาณจากไปแล้ว หมู่ญาติก็เกลียดกลัว เอาไปทิ้งในป่าช้าเหมือนท่อนไม้
    85 เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณะสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
    86 กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปที่ละตอน ๆ ตามลำดับ
    87 อายุของคนนี้น้อยนัก จะต้องจากโลกนี้ไป จึงควรทำกุศล และประพฤติพรหมจรรย์
    88 น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของคน ก็ย่อมไม่เวียนไปสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
    89 ชีวิตนี้เป็นสิ่งคับข้อง เป็นสิ่งเล็กน้อย ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่ายังจะอาศัยชีวิตนี้ ไปสร้างเวรกับผู้อื่น
    90 ชีวิตนี้น้อยนัก ไม่ถึงร้อยปีก็ตายกันแล้ว ถ้าจะอยู่เกินไป ก็ต้องตายเพราะความแก่
    91 วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ่นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น
    92 ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ ย่อมหลุดพ้นไปได้ในในโรธธาตุ, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้
    93 อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติดุจคนมีศรีษะถูกไฟใหม้ มฤตยู (ความตาย) จะไม่มาถึง ย่อมไม่มี
    94 ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
    95 ความตายย่อมครอบงำคนเก็บดอกไม้ (กามคุณ) ที่มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ
    96 ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมี เพราะต้องตายแน่นอน เหมือนภัยของผลไม่สุก ย่อมมี เพราะต้องหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น
    97 ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
    98 ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด, ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปเช่นกัน ฉันนั้น
    99 การร้องให้ ความโศกเศร้า หรื การคร่ำครวญร่ำไรใด ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
    ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั้นเอง
    100 เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ
    เป็นอันไม่มี
    101 ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทไว้ ณ ที่ไหน ๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง
    102 การร้องให้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย ก็หาไม่ ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวี ทั้งร่ายกายก็พลอยทรุดโทรม
    103 คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีกเหมือนคนตื่นขึ้นไม่ได้เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน
    104 จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง
    105 คนที่สละความเศร้าโศกไม่ได้ มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของความโศก ย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น
    106 ตอนเช้ายังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเห็นบางคนก็ไม่เห็น เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น
    107 ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่แก่ตน (เช่นผู้ที่ตายไปแล้ว เป็นต้น) ไซร้ ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง
    ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา
    108 แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
    109 ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด
    110 ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่ละต้องร่วงหลุ่นไปตลอดเวลา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น
    111 อายุของคนน้อยนัก คนดีไม่ควรลืมอายุ ควรระลึกถึงอายุดุจคนถูกไฟไหม้ศรีษะ เพราะการที่ความตายจะไม่มาถึงนั้น ไม่มีเลย
    112 ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเองด้วย ที่ตกอยู่ในอำนาจของความตายตลอดเวลา
    113 ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด, สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
    114 เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า
    ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้
    115 ดูซิ.. ถึงคนอื่น ๆ ที่กำลังเตรียมตัว เดินทางไปตามยถากรรม ที่นี่สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจ ของพญามัจจุราชเข้าแล้ว
    กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น
    116 เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตา เอื้อเอ็นดูกัน
    ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้
    117 วันคืนล่วงไปเท่าไรชีวิตก็พร่องลงไปเท่านั้น เวลาแห่งความตายรุกไล่เข้าไปทุกอิริยาบท ฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทเวลา
    118 จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางมหาสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้ ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี
    119 กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยล่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้
    120 เมื่อเศร้าโศกไป ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะผ่ายผอม ผิดพรรณจะซูบซีดหม่นหมอง ส่วนผู้ที่ตายไปแล้ว
    ก็จะเอาความโศกเศร้านั้นของเรา ไปช่วยอะไรตัวเขาไม่ได้ ความร่ำไรรำพัน ย่อมไร้ประโยชน์
    121 ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องให้ เหมือนกับขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ คนตายถูกเผาอยู่
    ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา
     
  10. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    บทอ่านฝึกปลงอสุภะ

    ช่วงนี้ขอให้ทบทวนพิจารณาโดยภาพรวม คือ

    มองความเป็นไปในวงกว้าง





    <O[​IMG]
    [​IMG]</O[​IMG]>




    ความตายปรากฎแล้ว<O[​IMG]</O[​IMG]

    (มองไปพิจารณาตามเนื้อความแล้วสร้างภาพตามไป)<O[​IMG]</O[​IMG]
    ร่างกาย จากสีแดงเหลืองค่อยๆซีดลงๆ 3 วันผ่านไป ร่างกายก็เปลี่ยนเป็นสีเขียวคลํ้าผสมกับสีดำแดงเป็นจํ้าๆ และซากศพเริ่มเน่าเหม็นพองอืดขึ้น เริ่มมีนํ้าหนองไหลออกมาจากร่างกาย แมลงวันแมลงหวี่บินว่อนเต็มไปหมด ต่างรุมเข้าดูดกินนํ้าเหลือง แล้วไข่ขยายพันธ์ต่อไป เพียงแค่ 3 วัน เท่านั้นหนอนตัวเล็กๆ ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร ก็มีอยู่ทั่วร่างซากศพแล้วกลิ่นเหม็นของซากศพโชยไปทั่วทิศ หมู่สัตว์ทั้งหลายอันมีสุนัข หนู นก แร้ง กา ต่างก็ตามกลิ่นเข้ามารุมทึ้งซากศพ ทำให้ซากศพกระจัดกระจายกองทั่วพื้นอันมี ผม ขน เล็บ ฟัน ผิวหนัง เนื้อ เอ็น เยื่อในกระดูก ไต ตับ หัวใจ ม้าม ปอด ถุงนํ้าดี พังผืด มันข้น ไขมัน มันสมอง อาหารใหม่ อาหารเก่า ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล้ก นํ้าปัสสาวะ อุจจาระ นํ้าเหลือง เลือด เสมหะ เหงื่อ ไขข้อ นํ้าตา นํ้ามูก นํ้าลาย และโครงกระดูก ของซากศพที่เรียงกันพอจะดูออกว่า เป็นกระดูกคนนอนกองอยู่กับพื้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อพิจารณา โดยสีที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยรูปสัณฐานที่ค่อยๆ เน่าเละ 1 เดือนผ่านไป ร่างกายอันเป็นที่รักของเราก็สลายไป เห็นคราบนํ้าเหลือง นํ้าหนอง เศษเนื้อหนังก็สลายไปในที่สุด ทุกอย่างว่างเปล่า มองไปเหลือเพียงกองกระดูกที่เป็นของแข็งที่ยังย่อยสลายไม่หมด 1 ปีผ่านไป ลม ฝน แสงแดดและการกัดกินของหมู่สัตว์ กองกระดูกค่อยๆ ผุพังสลายไป กลายเป็นดิน มองพิจารณาโดยรอบอีกครั้ง <O[​IMG]</O[​IMG]
    ณ ที่แห่งนั้น มีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีเรา ไม่มีเขา <O[​IMG]</O[​IMG]
    เราไม่มีกายสังขารเป็นภาระ เราจึงมีแต่ความสบาย สงบวิเวก<O[​IMG]</O[​IMG]
    แล้วก็ตั้งต้นใหม่อีกครั้งเหมือนเห็นตัวเราเกิดใหม่แล้วก็เริ่มต้นพิจารณา อาการผุพังเน่าเปื่อยของกายเนื้อต่อไป ไปเรื่อยๆหลายๆครั้ง<O[​IMG]</O[​IMG]
    นี่คือ การพิจารณาโดยภาพรวม



    <O[​IMG]ระวังอุปาทานหวาดกลัวจากการปลงอสุภะ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ในการฝึกปลงอสุภะนั้น ตามหลักการให้พิจารณาซากศพของคนอื่นที่เน่าเปื่อยไม่สวยงาม<O[​IMG]</O[​IMG]
    แต่เมื่อจำภาพที่เน่าเปื่อยได้แม่นแล้ว ต้องตั้งสมมติฐานให้เห็นร่างกายตัวเองเป็นซากศพที่กำลังเน่าเปื่อยที่ไม่สวยงาม อันเป็นการพิจารณาให้เห็นว่ากายนี้ก่อเกิดขึ้นด้วยการรวมตัวของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน นํ้า ลม ไฟ เมื่อตายลงหมดลมหายใจ เป็นการขาดธาตุลม ธาตุอื่นอีก 3 ธาตุ คือ ไฟ นํ้า ดิน ก็ต้องแตกสลายออก กายเนื้อก็จะผุพังเน่าเปื่อยสลายไป ในที่สุดไม่เหลืออะไรให้เห็นสัมผัสยึดมั่นว่านี่ คือ ตัวเราเป็นการชี้ชัดให้เข้าถึงสัจธรรมแห่งสามัญลักษณะ 3 ประการที่ว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนเราเขา <O[​IMG]</O[​IMG]
    เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เมื่อเกิดขึ้นตั้งอยู่จะต้องดับไป<O[​IMG]</O[​IMG]
    ในขณะที่กำลังปลงอสุภะร่างกายอันไม่สวยงามของเรานั้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    ไม่ว่าจะฝึกแบบตั้งสมมติฐาน หรือฝึกแบบตาทิพย์เห็นตัวเราเองนั้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อเจริญถึงตอนที่กายเนื้อกำลังเน่าเปื่อย น่าเกลียดน่ากลัว หรือตอนที่กายเนื้อสลายไปหมดแล้ว ขอให้อย่าพึ่งรีบคลายออกจากการเจริญภาวนาขณะนั้น เพราะถ้าไปคลายถอนออกจากสมาธิในขณะนั้นแล้ว จะทำให้ยึดอุปาทานของกายเนื้อที่กำลังเน่าเปื่อย หรือว่ากายเนื้อที่สูญสลายหายไปนั้น พอออกจากสมาธิแล้วจิตใจจะไม่สมบูรณ์ รู้สึกตนเอง ไม่สมประกอบ เหม่อลอยหรือตื่นตระหนกตกใจได้

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    วิธีปฏิบัติให้ถูกต้อง
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เมื่อเจริญสมาธิภาวนาปลงอสุภะ ไม่ว่าด้วยวิธีใดหรือปลงสังขารกายเนื้อที่กำลังเน่าเปื่อยอยู่ในภาวะใดก็ตามแม้จะมีธุระรีบด่วน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ควรที่จะปรับภาพนิมิต หรือภาพจินตนาการในขณะนั้นให้กายเนื้อค่อยๆ เกิดสมบูรณ์กลับคืนสู่สภาพครบอาการ 32 ประการก่อนดังนี้<O[​IMG]</O[​IMG]
    1. ถ้าปลงอสุภะซากศพเห็นกำลังเน่าเปื่อยไม่หมดก็ให้ตั้งจิตอธิษฐาน ให้กายเนื้อที่กำลังสลายนั้นค่อยๆ เต็ม มีเนื้อหนังสมบูรณ์ขึ้นมา และจากสภาพที่เน่าเละให้ผิวค่อยๆ ปกติ จนมีสีเลือดดังคนมีชีวิตเมื่อครั้งสมบูรณ์พร้อมแล้ว ก็ส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปในภาพนั้นกลับคืนสู่สภาพเหมือนคนมีชีวิตที่สามารถเคลื่อนไหวได้ แล้วค่อยๆเหนี่ยวนำภาพนั้น กลับคืนสู่ร่างกายเนื้อที่นั่งอยู่นั้นอีกครั้งหนึ่ง ตื่นขึ้นมาจะได้มีจิตใจที่สมบูรณ์<O[​IMG]</O[​IMG]
    2. ถ้าปลงอสุภะซากศพถึงตอนที่ละลายหมดแล้ว ให้ตั้งสติขึ้นว่าตัวเรายังไม่หมดกรรมในภพนี้ชาตินี้วิญญาณยังต้องคืนร่างเพื่อใช้กรรมชาตินี้ให้หมด<O[​IMG]></O[​IMG]>
    ด้วยเหตุนี้ ขอให้รวบรวมจิตใจความนึกคิดให้เป็นหนึ่งมองไปข้างหน้า อธิษฐานรูปนิมิตหรือวิญญาณที่มีหน้าตาเหมือนกายเนื้อนั้น ปรากฏขึ้นอย่างสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งแล้ว ตั้งจิตเหนี่ยวนำรูปนิมิตหรือวิญญาณนั้นเข้าคืนสู่ร่างอย่างปกติสมบูรณ์แล้วจึงคลายออกจากสมาธิจิตใจจะได้สมบูรณ์สมประกอบอีกครั้ง

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านที่ไม่เจริญสมาธิต่อ

    ก็เตรียมตัวถอนออกจากการปลงอสุภะ ด้วยการค่อยๆถอนลมหายใจลึกๆ 10 ครั้ง และหายใจแบบปรกติ 10 ครั้ง จึงค่อยๆลืมตาขึ้น ครู่หนึ่งต่อมา จึงลุกขึ้นจากที่นั่งได้

    <O[​IMG]</O[​IMG]
    เรื่องอ่านให้คิดอีก
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การอบรมวิปัสสนา ในการพิจารณาปลงอสุภะ ที่ทำให้เห็นว่าสังขารนี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่สวยงาม เมื่อมีชีวิตอยู่ก็ดูออกสวยงาม เมื่อตายลงหมดลมหายใจเมื่อใด ร่างกายก็จะเริ่มผุพังเน่าเปื่อยเป็นของไม่สวยงามเลย พิจารณาเช่นนี้อยู่เป็นประจำแล้วจิตใจก็จะคลายจากความยึดมั่นถือมั่น ในความสวยงามของร่างกาย จนกระทั่งเกิดความหดหู่เบื่อหน่าย ไม่อยากที่จะครองแบกสังขารร่างกายนี้ให้เป็นภาระอีกต่อไป คิดมากๆ เข้าจึงอยากจะฆ่าตัวตาย<O[​IMG]</O[​IMG]
    ในสมัยโบราณ<O[​IMG]</O[​IMG]
    มีกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่ง พิจารณาปลงอสุภะเป็นอารมณ์อยู่เนื่องๆ เกิดเป็นนิมิตภาพที่เห็นได้ทั้งขณะลืมตาและหลับตา เกิดความเบื่อหน่ายเศร้าสลดจนเกิดภาวะจิตใจห่อเหี่ยวหมดแรงที่จะแบกภาระแห่งการครองสังขารร่างกายนี้อีก จึงมีการไปจ้างศาสนิกชนต่างศาสนาให้ช่วยฆ่าตนให้ตายเสียที จะได้หมดเวรหมดกรรมที่จิตวิญญาณต้องคอยแบกภาระอันหนักหน่วงของกายเนื้อนี้<O[​IMG]</O[​IMG]


    วิธีแก้ไข
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ความคิดและการกระทำการฆ่าตัวตายเช่นนี้เป็นการผิดอย่างมาก<O[​IMG]</O[​IMG]
    เพราะต้องเข้าใจว่า<O[​IMG]</O[​IMG]
    พุทธศาสนิกชนเป็นผู้กล้าเผชิญกับความจริงแห่งชีวิตโดยไม่เกรงกลัวความตาย เพราะรู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตายอย่างแน่นอน จะช้าหรือเร็วเท่านั้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    คนเราเกิดมาเพราะมีกรรมของตนเป็นที่ตั้ง มีกรรมของตนเป็นเผ่าพันธุ์วิญญาณมาเกิดอาศัยอยู่กับกายเนื้อเพื่อใช้กรรมให้หมดไปตามวาระ เมื่อถึงเวลาตายก็ต้องตายอย่างแน่นอน และการฆ่าตัวตายนั้นเป็นบาป ที่จะทำให้ต้องตกนรกอีกหลายชาติ
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    การปลงอสุภะพิจารณาสังขาร เป็นของไม่เที่ยงไม่สวยงามนี้ เป็นเพียงอุบายแห่งการลดการทรนงหลงตนที่คิดว่ายังมีชีวิตอยู่ได้อีกยาวนานเท่านั้น<O[​IMG]</O[​IMG]
    คนเราครั้งมีชีวิตอยู่ เมื่อสามารถคลายจากการยึดมั่น ถือมั่น ในกายเนื้อแล้ว ก็จะไม่เป็นทุกข์กับร่างกายเรา กายเรานี้สักแต่ว่ากายไม่ใช่บุคคลตัวตนเราเขา ช่วงเวลาแห่งการมีชีวิตอยู่เราก็ไม่ทุกข์ร้อนกับการอยู่ เรากลับรู้ว่า ร่างกายนี้พร้อมที่จะแตกดับสลายอยู่ทุกเมื่อ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะต้องรีบเร่งสร้างกุศล ทำความดีบำเพ็ญฝึกอบรมบ่มนิสัยให้จิตเบาบางจากกิเลสให้ได้<O[​IMG]</O[​IMG]
    เรายังมีกรรมที่ต้องใช้อีกในภพนี้ ที่ยังใช้ไม่หมด ใช้หมดเมื่อใดก็ตาย<O[​IMG]</O[​IMG]
    ด้วยจิตที่คิดดีแล้ว<O[​IMG]</O[​IMG]
    พิจารณาตั้งสติได้แล้ว<O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านย่อมเป็นบุคคลหนึ่งที่มีสติสัมปชัญญะรู้ระลึกพร้อมอยู่กับเหตุการณ์อันจะเกิดขึ้น ท่านจึงสามารถควบคุมสติตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ผ่านพ้นจากอุปสรรคอันอาจจะเกิดขึ้นกับท่านได้ ที่จะไม่เกิดความคิดที่จะฆ่าตัวตาย<O[​IMG]</O[​IMG]
    จิตที่ได้ถึงภาวะธรรมแล้ว ท่านจึงเป็นผู้หนึ่งที่มีสติสัมปชัญญะที่มั่นใจในการปฏิบัติฝึกจิตเจริญสมาธิวิปัสสนาสืบเนื่องต่อไปได้อย่างมั่นคง
     
  11. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>[​IMG]</O:p>
    <O:p>

    โอกาสตายในช่วงชีวิตต่างๆ

    ปัจจุบันดาวเคราะห์ที่เราอาศัยช่างเต็มไปด้วยภยันตราย เกิดสงครามและอาชญากรรมปะทุขึ้นที่นั่นที่นี่ หากติดตามข่าวรอบโลกก็จะเห็นเหมือนทั่วทุกหย่อมหญ้าเต็มไปด้วยคาวเลือดและการล้างผลาญชีวิต ทั้งมหันตภัยจากธรรมชาติและมหาภัยจากน้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง<O:p></O:p>
    ข่าวอุบัติเหตุบางชิ้นเช่นเครื่องบินตก หรือการตายหมู่จากตึกถล่มนับร้อยนับพันนั้น มักเผยแพร่ออกไปในระดับโลก เพราะเป็นภาพการตายพร้อมกันที่น่าสะเทือนขวัญ แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าประชากรโลกตายกันอยู่แล้ววันละแสนห้า!
    <O:p></O:p>
    ไม่มีใครทำรายงานเช่น ‘ข่าวด่วน! มีคนตายในวันเดียวถึงเกือบสองแสนคน’ นั่นเพราะพวกเรากระจายกันตายแบบห่างๆ เราอาจต้องรู้จักชาวบ้านร่วมครึ่งตำบลจึงจะได้ยินข่าวการตายของใครสักคนหนึ่ง แต่เราต้องรู้จักคน ๖ พันล้านจึงจะทราบว่ามีการตายวันละเกือบสองแสน<O:p></O:p>
    แต่อย่างไรความจริงก็คือความจริง วันหนึ่งเกือบสองแสน ซึ่งเกือบเท่าจำนวนคนตายที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิรวมกันเมื่อครั้งตกอยู่ในสภาพหนูทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ๒ ลูกแรก ทุกคนสามารถจดจำการตายหมู่อันเป็นประวัติศาสตร์ทมิฬของญี่ปุ่นได้ แต่วันนี้ไม่มีใครปั่นข่าวให้ทราบเลยว่าความตายระดับใกล้เคียงกันก็เกิดขึ้น และวันพรุ่งนี้จะมีคนตายเพิ่มอีกหนึ่งแสนห้าหมื่นคน!
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ยังมีความเชื่อตามสามัญสำนึกอยู่อีกประการหนึ่ง คือคนเราควรจะตายตอนแก่ อาจเพราะพวกเรารู้จักคนกันไม่มากพอ จึงมักเห็นคนอยู่ได้จนแก่กัน หากขอให้คนรุ่น ๔๐ แจ้งรายชื่อเพื่อนร่วมรุ่นซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็อาจแจ้งได้เป็นจำนวนเลขหลักหน่วย คือไม่ถึงสิบด้วยซ้ำ ต้องขอให้คนรุ่น ๕๐ ขึ้นไปนั่นแหละ จึงจะเริ่มเห็นน้ำเห็นเนื้อขึ้นมาหน่อย นี่จึงทำให้เรารู้สึกว่าช่วงเวลาในชีวิตส่วนใหญ่อยู่ห่างไกลจากความตายไปมาก แม้หนังสือพิมพ์จะลงข่าวเด็กและวัยรุ่นเสียชีวิตกันโครมครามทุกวันก็ตาม<O:p></O:p>
    ในหัวข้อนี้ขอแสดงให้เห็นเพียงสถิติที่น่าสนใจ เพื่อให้เห็นว่าความจริงก็คือคนเรามีโอกาสตายได้ทุกช่วงวัย ผ่านความน่าจะเป็นของโรคภัยต่างๆดังนี้
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑) ช่วง ๑ ขวบ มีโอกาสตายเพราะโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหารจำพวกไขมัน โปรตีน แป้ง คือกินไม่ได้เพราะร่างกายไม่สามารถสลายได้หมด และเด็กบางคนก็อาจเป็นเบาหวานได้ตั้งแต่เกิดเพราะตับอ่อนเสีย ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้<O:p></O:p>
    ๒) ช่วง ๑๐ ขวบ มีโอกาสตายเพราะโรคมะเร็งที่สมองและไต<O:p></O:p>
    ๓) ช่วง ๒๐ ปี มีโอกาสตายจากอุบัติเหตุได้มากที่สุด และอาจมีโรคจำพวกปลายประสาทสมองเสื่อมผิดปกติ คล้ายอัลไซเมอร์<O:p></O:p>
    ๔) ช่วง ๓๐ ปี มีโอกาสตายเพราะโรคติ่งเนื้อในลำไส้ ซึ่งมีอยู่แล้วตั้งแต่เกิด แต่เริ่มเจอเอาช่วงนี้เอง บางคนมีโอกาสรู้ตัวได้เพราะมีประวัติในพ่อแม่ (ซึ่งถ้าเป็นกรรมพันธุ์จริงก็อาจเจอติ่งเนื้อแล้วตัดไส้ส่วนนั้นทัน) วัยนี้บางทีก็มีเรื่องเบาหวานและตับอ่อนเสื่อมให้เห็นเสมอๆ<O:p></O:p>
    ๕) ช่วง ๔๐ ปี มีโอกาสตายเพราะโรคมะเร็งกันสูง เพราะสภาพร่างกายเริ่มเสื่อม ไม่ยากที่จะเกิดการสร้างเซลล์ใหม่อย่างผิดปกติ หรือไม่ยิ่งอยู่นานก็เท่ากับยิ่งรับสารเคมีจากสภาพแวดล้อมอันเป็นพิษเข้าไปสะสมมากขึ้นๆ แล้วทำให้เซลล์แบ่งตัวผิด พอเป็นมะเร็งแล้วก็จะต่างจากเนื้องอกตรงที่กระจายได้ ลุกลามได้ พอเป็นขึ้นมาถ้าไม่ตรวจพบและรักษาแต่เนิ่นๆจึงมักไปกันไว<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    พ้นจากช่วงนี้สามารถตายได้ทุกเมื่อด้วยความน่าจะเป็นของทุกโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคสมัยที่ต้องเร่งรีบ หรือต้องแบกภาระการงานอันหนักอึ้งเพื่อผ่อนจ่ายทรัพย์สมบัติต่างๆ จนเริ่มมีข่าวคนนอนฟุบหลับเพื่อพักงีบบนโต๊ะทำงานแล้วไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลยประปราย ที่โน่นที่นี่ และต่อไปก็มีแนวโน้มว่าอาจได้ยินกันบ่อยขึ้น นี่ยังไม่รวมความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนท้องถนนที่แต่ละปีคร่าชีวิตหญิงชายไปมากมายเกินจะนับอีกต่างหาก
    <O:p></O:p>
    ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับความรู้ตัวว่าติดกลุ่มเสี่ยงต่อมรณภัยรูปแบบไหน แต่ทุกคนสามารถเลิกประมาทได้เท่าเทียมกัน หันมาตระหนักว่าเราตายได้ทุกเมื่อ และการเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมอยู่เสมอเป็นนโยบายที่ฉลาดของคนไม่ประมาทกับชีวิต<O:p></O:p>
    </O:p>
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  12. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    ความตายเป็นความเที่ยงแท้ที่ไม่แน่นอน

    อันว่าความตายนั้นเป็นของที่คู่กับชีวิตของเรา เมื่อเราเกิดขึ้นมา เราก็ต้องคำพิพากษาเสียแล้วว่า
    เป็นนักโทษประหาร ต้องถึงแก่ความตาย ด้วยการลงโทษประหารในวันใดวันหนึ่ง โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
    ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งโทษประหารชีวิตนี้มิได้ระบุแน่นอนชัดเจนว่า เราจะตายเมื่อไหร่
    จะตายที่ไหน จะตายอย่างไร แต่ที่เที่ยงแท้ก็คือว่า เราทุกคนที่เกิดมาจะต้องพบความตาย
    โดยหลีกเลี่ยงมิได้ ความเที่ยงแท้ที่ไม่แน่นอนนี้ เราควรที่จะกำหนดจิตกำหนดใจของเราให้ยอมรับความจริง
    คือยอมรับสภาพที่รู้แน่นอนว่าต้องตายนั้นประการหนึ่ง กับสภาพที่ไม่รู้ได้แน่นอนว่าจะตายเมื่อไหร่
    จะตายที่ไหน จะตายอย่างไรอีกประการหนึ่ง เพื่อเตรียมจิตเตรียมใจของเราให้พร้อม
    เพื่อรับสภาพการณ์ที่ความตายจะมาเยือน ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะมีประโยชน์อย่างมาก
    ประโยชน์ยิ่งกว่านั้นก็คือว่า จะได้หาหนทาง หาวิธีที่เราจะก้าวพ้นความตายทั้งหลาย
    ไม่ให้มัจจุราชมารมองเห็นตัวของเราได้ ทั้งนี้ ก็โดยอาศัยพระธรรมคำสอน
    ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสั่งสอนไว้ ให้เราประพฤติปฏิบัติและจะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ …


    สิ่งที่ไม่อาจกำหนดได้ ๕ อย่าง
    ชีวิตัง พยาธิ กาโล จ
    เทหนิกเขปนัง คติ
    ปัญเจเต ชีวโลกัสมึ
    อนิมิตตา น นายเร

    แปลความว่า
    สิ่งที่เราไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่นั้น มีอยู่ ๕ อย่างด้วยกัน คือ
    (ในวงเล็บเหลี่ยมเป็นคำอธิบายขยายแนะนำการปฏิบัติตัวที่ผู้เขียนหนังสือขยายไว้ค่ะ)
    ๑.
    อายุ
    เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราจะมีอายุยืนนานสักเพียงไร
    [ไม่สำคัญว่าเราจะอยู่นานเพียงใด แต่สำคัญว่าเราอยู่ดีแค่ไหน
    ไม่สำคัญว่าระยะเวลาจะมีเท่าใด แต่สำคัญว่าเราจะใช้เวลาของเราอย่างไร]
    ๒.
    ความเจ็บไข้
    เราไม่สามารถรู้ได้ว่าวันไหนเราจะเจ็บป่วยร้ายแรงเพียงใด
    [เมื่อร่างกายเรายังแข็งแรงดี จิตใจเรายังสมบูรณ์ดี
    พีงตั้งหน้าทำความเพียร ประกอบการงานหน้าที่ให้ดีที่สุด]
    ๓. กาลเวลา
    เราไม่สามารถรู้ได้ กำหนดหมายไม่ได้แน่นอน
    [เราต้องไม่ประมาท สามารถพร้อมที่จะตายได้ทุกเมื่อ]
    ๔. สถานที่
    เราไม่สามารถกำหนดหรือรู้ได้
    [พยายามใช้ชีวิตของเราให้เป็นประโยชน์
    อยู่ ณ ที่ใด ก็ระวังจิตระวังใจของเราให้ดี]
    ๕. คติที่จะไป
    เราไม่สามารถรู้ว่าตายไปแล้วเราจะไปไหนต่อ
    [ผู้ทำดีย่อมมีสุคติเป็นที่หมาย ผู้ทำชั่วย่อมมีทุคติเป็นที่หมาย]
    พระพุทธเจ้าทรงเป็นกัลยาณมิตรช่วยให้พ้นตายได้ ...
    ขอให้เราตระหนักถึงความตายนี้ แล้วตั้งหน้าประพฤติปฏิบัติธรรม
    เพื่อพ้นจากความตายนี้ให้ได้ โดยอาศัยธรรมะของผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองเป็นเครื่องนำทาง
    พุทธภาษิต เพื่อการพิจารณาความตาย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ คือ
    ๑. ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
    ๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
    ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
    ๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
    ๕. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
    (๘๐.๓๓/๑๐๒-๑๐๓ หรือ ๔๕.๒๒/๗๒ ฐานสูตร)
    .....
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด*
    ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง

    (๘๐.๓๕/๑๓๒ หรือ ๔๕.๒๓/๙๕ สุริยสูตร)
    (* หมายเหตุ ดิฉันคล้ายเคยได้ยินว่า "นี้ควรกำหนด" แต่ไม่กล้าเปลี่ยนเพราะไม่แน่ใจ
    ก็เลยคัดลอกตรงตามหนังสือเล่มนี้พิมพ์ไว้มาเลยค่ะ)
    .....
    เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ มรณะ แผดเผาแล้วเช่นนี้ ความสำรวมทางกาย
    ความสำรวมทางวาจา ความสำรวมทางใจในโลก ย่อมเป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น
    เป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง และเป็นที่ยึดหน่วงแก่เขาผู้ละไปแล้ว
    (๘๐.๓๑/๒๔๘ หรือ ๔๕.๒๐/๑๗๔ ชนสูตร)
    ..... คนพาลย่อมคิดผิดว่า เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูฝน จักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อน
    ดังนี้ ย่อมไม่รู้อันตราย มัจจุย่อมพาเอาคนผู้มัวเมาในบุตรและปศุสัตว์ มีมนัสข้องติดในอารมณ์ต่างๆ
    เหมือนห้วงน้ำใหญ่พาเอาชาวบ้านผู้หลับไป ฉะนั้น
    เมื่อบุคคลถูกมัจจุผู้ทำซึ่งที่สุดครอบงำแล้ว บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน
    บิดาย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน ถึงพวกพ้องทั้งหลายก็ย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน
    ความเป็นผู้ต้านทานไม่มีในญาติทั้งหลาย บัณฑิตทราบประโยชน์นี้แล้ว
    พึงเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยศีล พึงรีบชำระทางเป็นที่ไปสู่นิพพานพลันทีเดียว
    (๘๐.๓๘/๖๙ หรือ ๔๕.๒๕/๔๔ คาถาธรรมบท)
    <!--.....ending parts.....-->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  13. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    มรณัสสติ ( โดย หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง )

    สำหรับวันนี้จะขอพูดถึงเรื่องสมถะและวิปัสสนาควบกัน เพราะว่าสมถะและวิปัสสนานี้เราจะปฏิบัติให้ได้ผลจริงๆ ก็ต้องควบกันอยู่เสมอๆ เมื่อวานนี้เราพูดกันถึงกายคตาสติ และอนุภกรรมฐานบวกกับวิปัสสนาญาณ คำว่ามรณัสสติกรรมฐาน คือการนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญกองหนึ่ง คือบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายแม้กระทั่งพระพุทธเจ้าก็ดี ไม่ยอมละ แม้แต่พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม ก็ไม่ทรงยอมละกรรมฐานกองนี้เหมือนกัน
    [FONT=Cordia New, CordiaUPC]เราจะเห็นได้ว่าการที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกพระอานนท์เข้ามาหา แล้วองค์สมเด็จพระศาสดาทรงถามว่า อานันทะ ดูก่อน อานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์ทรงตอบว่า ข้าพระพุทธเจ้านึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า อานันทะ ดูก่อน อานนท์ ยังห่างมากนัก ความจริงท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านนึกถึงความตายวันละประมาณ ๗ ครั้งพระพุทธเจ้าท่านทรงบอกห่างมากเกินไป ตถาคตนี่นึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก การนึกถึงความตายนี่เป็นสมถภาวนา ถ้าใครเขาว่าสมถภาวนาไม่มีความสำคัญ ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของการบรรลุมรรคผล ก็อย่าไปเชื่อเขา เพระสมถภาวนาถ้าไม่ดีจริงๆพระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงสอนให้เราปฏิบัติ และพระพุทธเจ้าก็จะไม่ยึดสมถภานา ไว้เป็นอารมณ์ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว นี่จงอย่าลืมว่าพระอรหันต์ทุกท่าน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี ใช้กรรมฐาน ๔๐ กอง ควบกับวิปัสสนาญาณเพื่อความอยู่เป็นสุข ไม่ใช่ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วเลิกกัน อย่างนั้นเข้าใจผิด พระอรหันต์นี่เขากลับขยันกว่าเราทั้งหมด เพราะเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบรูณ์ คำว่ามีสติสัมปชัญญะสมบรูณ์ก็หมายถึงว่า การเห็นสภวะตามความเป็นจริงของขันธ์ห้า ท่านเห็นเป็นปกติ ท่านไม่ปล่อย ไม่ยอมละ เพราะการทรงขันธ์ห้าเป็นอาการของความทุกข์ ถ้าเราละสมถะและภาวนาทั้ง ๒ ประการเสียแล้ว อารมณ์มันปล่อย มันไม่ยอมรับความจริง อาการความทุกข์มันเกิด ถ้าอารมณ์จิตของเราทรงสติสัมปชัญญะเป็นปกติ นึกถึงสมถะภาวนาเป็นอารมณ์จิตใจมันสบาย[/FONT]
     
  14. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    ข้อคิดเกี่ยวกับชีวิตและความตาย

    ๑. ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ สั้นนิดเดียว ลำบากยากเข็ญ มีทุกข์มาก แต่ก็ไม่มี เครื่องหมายให้รู้ว่า จะตายเมื่อใด

    ๒. สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว พยายามหาวิธีที่จะไม่ต้องตาย ก็ไม่สำเร็จ ถึงจะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนชราภาพก็ต้องตาย อยู่ดี เพราะธรรมดาของสัตว์โลกเป็นอย่างนี้

    ๓. สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็มีภัยจากการที่ต้องตายเป็นนิตย์ เปรียบเหมือน ผลไม้สุกงอม แล้ว ก็มีภัย จากการที่ต้องร่วงหล่นไปในเวลาเช้า

    ๔. ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ต้องแตกดับไปเป็นธรรมดาเปรียบเหมือนภาชนะดินทุกชนิด ที่ช่างหม้อปั้นแล้วในที่สุดก็ต้องแตกไป
    ๕. ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนโง่ ทั้งคนฉลาด ล้วนตกอยู่ในอำนาจของมฤตยู บ่ายหน้า ไปสู่ความตายทั้งนั้น

    ๖. เมื่อเหล่าสัตว์จะตาย ต้องไปปรโลกแน่นอนแล้ว บิดามารดาก็ไม่สามารถช่วย บุตรธิดาของตนไว้ได้ หรือหมู่ญาติก็ไม่สามารถจะช่วยพวกญาติของตนไว้ได้

    ๗. จงดูเถิด ทั้งๆ ที่มีหมู่ญาติมาเฝ้ารำพึงรำพันอยู่ โดยประการต่างๆ แต่ผู้จะตาย กลับถูกมฤตยูคร่าตัวเอาไปแต่เพียงผู้เดียว เหมือนโคที่เขาจะฆ่า ถูกนำไปแต่เพียงตัวเดียว

    ๘. สัตว์โลกตกอยู่ในอำนาจของความแก่และความตายอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายทราบชัดถึงสภาพของสัตว์โลกแล้ว จึงไม่เศร้าโศกกัน

    ๙. ท่านหาได้รู้ทางของผู้มา (เกิด) หรือผู้ไป (สู่ปรโลก) ไม่ เมื่อไม่เห็นปลายสุดทั้งสองด้าน ถึงจะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์

    ๑๐. ถ้าผู้ที่ทำตนให้เดือดร้อนด้วยการหลงใหลคร่ำครวญ จะทำประโยชน์อะไร ให้เกิดขึ้นได้บ้าง นักปราชญ์ผู้รู้แจ้งก็คงจะทำอย่างนั้นตามไปแล้ว

    ๑๑. การร้องไห้ เศร้าโศก ไม่สามารถทำใจของผู้คนให้สงบได้ มีแต่จะเกิดทุกข์มากยิ่งขึ้น ทั้งร่างกายก็จะพลอยทรุดโทรม

    ๑๒. จะเบียดเบียนตนเอง มีร่างกายซูบผอม ผิวพรรณหมองคล้ำ การร่ำไห้คร่ำครวญ ไม่ได้ช่วยอะไรแก่คนที่ตายไปแล้ว จึงไม่มีประโยชน์อะไรเลย

    ๑๓. คนที่สลัดความโศกไม่ได้ มัวทอดถอนใจถึงคนที่ตายไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของ ความเศร้าโศก มีแต่จะทุกข์มากยิ่งขึ้น

    ๑๔. จงดูเถิด ถึงแม้คนอื่นก็กำลังจะตายไปตามยถากรรม สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ต่างตกอยู่ในอำนาจมฤตยู กำลังพากันดิ้นรน (กลัวตาย) ด้วยกันทั้งนั้น

    ๑๕. สัตว์ทั้งหลายตั้งความหวังอยากจะให้เป็นอย่างอื่น (คือไม่ตาย) แต่ก็ไม่สมหวัง ความพลัดพรากจากกันมีอยู่เป็นประจำ ท่านจงพิจารณาดูความจริงแท้ของสัตว์โลกเถิด

    ๑๖. แม้จะมีคนอยู่ได้ถึงร้อยปี หรือเกินกว่านั้นไปบ้าง ก็ต้องพลัดพรากจากหมู่ญาติ ทิ้งชีวิตไว้ในโลกนี้ อยู่ดี

    ๑๗. เพราะเหตุนั้น เมื่อได้สดับธรรมเทศนาของพระท่านแล้ว ก็พึงระงับ ความคร่ำครวญ ร่ำไห้เสีย ยามเมื่อเห็นคนล่วงลับดับชีวิตไป ก็ให้กำหนดรู้ว่า เขาตายไปแล้ว เราจะให้ เขาฟื้นคืนมาอีกไม่ได้

    ๑๘. ธีรชนผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด พึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสียโดยฉับพลัน เหมือนเอาน้ำดับไฟ ที่กำลังไหม้ลุกลาม และเหมือนลมพัดปุยนุ่น

    ๑๙. ผู้แสวงสุขแก่ตน พึงระงับความเศร้าโศกคร่ำครวญร่ำไห้ ความโหยหา และ ความโทมนัส พึงถอนลูกศรคือความเศร้าโศกเสียให้ได้

    ๒๐. ผู้ถอนลูกศรนี้ได้แล้ว ก็จะมีอิสระ ได้ความสงบใจ ผ่านพ้นความเศร้าโศกทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศกมีแต่เยือกเย็นใจ

    ๒๑. ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี ถึงใครจะอยู่เกินกว่านั้นไปบ้าง ก็ต้องตายเพราะชราเป็นแน่แท้

    ๒๒. ชนทั้งหลายเศร้าโศก เพราะสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ทั้งๆ ที่สิ่งที่ยึดถือนั้น ไม่มีอะไรเที่ยงแท้เลย ผู้ที่มองเห็นว่า ความพลัดพรากจากกันจะต้องมีแน่นอนเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรอยู่ครองเรือน

    ๒๓. คนที่สำคัญหมายสิ่งใดว่า " นี้ของเรา" ก็จะต้องจากสิ่งนั้นไปเพราะความตาย พุทธมามกะผู้เป็นบัณฑิต ทราบความข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรเอนเอียงไปในทาง ที่จะยึดถือว่า เป็นของเรา

    ๒๔. คนที่รักใคร่กัน ตายจากไปแล้ว ก็จะไม่ได้พบเห็นกันอีก เหมือนคนตื่นขึ้น ไม่เห็นสิ่งที่พบในฝัน

    ๒๕. (ขณะมีชีวิตอยู่) คนที่มีชื่อเรียกขาน ก็ยังพอได้พบเห็นกันบ้าง ได้ยินเสียงกันบ้าง คนที่ตายไปแล้วก็เหลือแต่ชื่อเท่านั้น ที่จะพูดถึงกันอยู่

    ๒๖. ผู้ที่พึงพอใจในสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมสละความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ และความหวงแหนไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้เข้าถึงธรรม (มุนี) ทั้งหลายเห็น ความปลอดโปร่ง จึงสละสิ่งที่เคยแหนหวงเที่ยวไปได้

    ๒๗. บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงผู้ไม่แสดงตนในภพ (ผู้บรรลุแล้ว) ว่าเป็นบุคคลที่สอดคล้อง เหมาะสมกับภิกษุผู้บำเพ็ญความหลีกเร้นถอนจิต (ผู้ที่ยังไม่บรรลุ) ซึ่งอยู่ในเสนาสนะที่สงัด

    ๒๘. ผู้เข้าถึงธรรม (มุนี) ไม่ติดอยู่ในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำอะไรๆ ให้เป็นที่รัก ให้เป็นที่ชัง ความรำพึงรำพันและความหวงแหน จึงมิได้แปดเปื้อน เหมือนน้ำไม่แปดเปื้อนใบบัว

    ๒๙. หยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว วารีไม่ติดบนดอกบัวฉันใด ผู้เข้าถึงธรรม(มุนี) ก็ไม่ติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ ฉันนั้น

    ๓๐. ผู้ห่างไกลจากกิเลส ผู้มีปัญญา ไม่สำคัญหมายในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่รับทราบ ไม่ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยวิธีการอื่น ทั้งไม่ยินดียินร้าย

    ๓๑. บุคคลใด ประพฤติชั่วร้าย ไม่มีความคิด ถึงจะมีชีวิตตั้งร้อยปี ชีวิตของเขา ก็หาประเสริฐไม่ ส่วนบุคคลใด มีศีล มีความคิด แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็เป็นชีวิต ที่ประเสริฐกว่า

    ๓๒. บุคคลใด เกียจคร้าน มีความเพียรทราม ถึงจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ชีวิตของเขา ก็หาประเสริฐไม่ ส่วนบุคคลใด มุ่งหน้าทำความเพียรอย่างมั่นคง แม้มีชีวิตอยู่ เพียงวันเดียว ก็เป็นชีวิตที่ประเสริฐกว่า

    ๓๓. บุคคลพึงสละทรัพย์เมื่อจะรักษาอวัยวะ พึงยอมสละอวัยวะเมื่อจะรักษาชีวิต และยอมสละทุกอย่างทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต เมื่อคำนึงถึงธรรม

    ๓๔. อายุสังขารจะพลอยประมาทไปกับมนุษย์ทั้งหลาย ที่ยืน เดิน นั่งนอนอยู่ ก็หาไม่

    ๓๕. เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ คนเราควรทำกิจหน้าที่ของตน และไม่พึง ประมาท

    ๓๖. ดอกไม้ที่สุมกันอยู่เป็นกอง นายช่างที่ฉลาด สามารถนำมาร้อย เป็นพวงมาลัย มีคุณค่ามากได้ฉันใด ชีวิตคนเราที่เกิดมานี้ ก็ควรจะใช้ ประกอบกุศลกรรม ความดีให้มาก ฉันนั้น

    ๓๗. บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก

    ๓๘. ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งกายนี้ อย่างมีสติ สัมปชัญญะ มีสติมั่น

    ๓๙. ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจเรารอคอยเวลา เหมือนคนรับจ้าง ทำงานเสร็จแล้วรอรับค่าจ้าง

    ๔๐. วัยสิ้นไปตามคืนและวัน

    ๔๑. วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ

    ๔๒. วันคืนไม่ผ่านไปเปล่าๆ

    ๔๓. กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปทีละตอนๆ ตามลำดับ

    ๔๔. รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย

    ๔๕. เมื่อจะตาย ทรัพย์แม้แต่น้อยก็ติดตามไปไม่ได้

    ๔๖. กาลเวลาย่อมกลืนกินสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกับตัวมันเอง

    ๔๗. ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงคนที่ไม่มีอยู่แก่ตนคือ คนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศก ถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา

    ๔๘. วัยย่อมเสื่อมลงไปเรื่อย ทุกหลับตา ทุกลืมตา

    ๔๙. เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกันก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ควรเมตตาเอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว

    ๕๐. ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องไห้ขอพระจันทร์ที่โคจรอยู่ในอวกาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา

    ๕๑. ตอนเช้า ยังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็น บางคนก็ไม่เห็นกัน เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่ มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็นกัน

    ๕๒. จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง

    ๕๓. วันคืนผ่านไป อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที

    ๕๔. แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นสู่ที่สูงฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กได้อีก ฉันนั้น

    ๕๕. ผู้เข้าถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดำรงอยู่กับปัจจุบัน ฉะนั้นผิวพรรณจึงผ่องใส

    ๕๖. คืนวันผ่านไป ไม่มีอะไรให้เราเดือดร้อน ไม่เห็นมีอะไรที่เราสูญเสียในโลก ฉะนั้น เราจึงนอนสบายใจคิดแต่จะช่วยปวงสัตว์

    ๕๗. เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่าๆ จะน้อย หรือมาก ก็ให้ทำอะไรไว้บ้าง

    ๕๘. เร่งทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครจะรู้ว่าพรุ่งนี้จะตายหรือจะอยู่

    ๕๙. คนขยันทั้งคืนวัน ไม่ซึมเซา เรียกว่า มีแต่ละวันนำโชค

    ๖๐. จะมีชีวิตอยู่ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าโศก ถ้าเป็นปราชญ์ มองเห็นที่หมายแล้ว ถึงอยู่ท่ามกลางความเศร้าโศก ก็ไม่เศร้าโศก
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  15. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    บทภาวนา “ตายก่อนตาย” โดย พระไพศาล วิสาโล
    คัดจากหนังสือ สุขสุดท้ายที่ปลายทาง เผชิญความตายอย่างสงบ โดย กรรณจริยา สุขรุ่ง
    (กรรณจริยา สุขรุ่ง, สุขสุดท้ายที่ปลายทาง เผชิญความตายอย่างสงบ, มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๔๙. ๖๗ - ๗๒)

    การพิจารณาความตายอย่างลึกซึ้ง หรือการเจริญมรณสติ คือ การระลึกรู้ถึงความตายอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่เตือนให้เรามีชีวิตอยู่กับความจริงที่เราหลงลืม คนส่วนใหญ่มักคิดว่า “เรายังไม่ตายหรอก ความตายยังอยู่ห่างไกล” และไปทำเรื่องราวต่างๆมากมายที่บั่นทอนความสุขสงบและคุณค่าของชีวิต การพิจารณาถึงความตายเป็นประจำจะทำให้จิตเจริญก้าวหน้าในทางคุณธรรม ประพฤติดีงาม ไม่ประมาท เมตตา และมีไมตรีจิตต่อเพื่อนมนุษย์


    บทภาวนา “ตายก่อนตาย”[​IMG]

    ขอให้น้อมใจให้สงบด้วยการตามลมหายใจเข้าและออก
    ให้เรานึกภาพดอกไม้ที่งดงามเบ่งบาน
    นึกต่อไปอีกว่า ดอกไม้ดอกนั้นค่อยๆโรย กลีบร่วงทีละกลีบ
    ส่วนที่ยังอยู่ก็เหี่ยวแห้ง สีที่เคยสวยก็ค่อยๆหมองคล้ำ
    นึกภาพจนกระทั่งดอกไม้เฉาลงในที่สุด

    นึกถึงทิวทัศน์งดงามยามอรุณรุ่ง ดวงอาทิตย์เพิ่งพ้นขอบฟ้า
    นึกถึงสถานที่เดียวกันนั้นในยามบ่าย
    แดดร้อนแรง อาทิตย์อยู่กลางฟ้า
    วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปเรื่อยๆจนตกเย็น
    อาทิตย์คล้อยต่ำลงเป็นลำดับ จนลับขอบฟ้า
    เหลือแต่ความมืดมิด

    น้อมภาพเหล่านี้เข้ามาใส่ตัวเรา
    ว่าชีวิตของเราก็เหมือนกับดอกไม้
    ที่สักวันหนึ่งก็ต้องร่วงโรยเหี่ยวเฉา
    เช่นเดียวกับอาทิตย์ที่ลับขอบฟ้า
    ไม่นานเราก็ต้องลาจากโลกนี้ไป

    สักวันหนึ่งเราต้องจากโลกนี้ไป
    ไม่มีใครรู้ว่าวันนั้นจะมาถึงเมื่อไร
    อาจจะเป็นปีหน้า เดือนนี้ หรือพรุ่งนี้ก็ได้

    ขอให้ทุกคนนึกในใจว่า
    วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่เราจะอยู่ในโลกนี้
    ไม่มีพรุ่งนี้สำหรับเราอีกต่อไป

    ให้นึกในใจว่า อีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า
    ทุกชีวิตและทุกผู้คนที่เราคุ้นเคย
    ที่เราเคยพบปะ ที่เราเคยหยอกเย้าแย้มยิ้ม
    คนเหล่านี้เราจะไม่มีโอกาสได้พบอีกต่อไป
    ไม่เว้นแม้แต่คนเดียว

    นึกถึงใบหน้าของพ่อแม่ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง
    ที่เคยพบเห็นทุกวี่ทุกวัน
    เรากำลังจะจากเขาไปในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า
    นึกถึงใบหน้าของคู่ครองคนรัก
    วันเวลาที่จะต้องจากเขาใกล้จะมาทุกขณะแล้ว
    นึกถึงมิตรสหายที่เราคุ้นเคย
    อีกไม่นานเราจะไม่มีวันได้พบเขาอีกแล้ว

    นึกถึงภาพเหตุการณ์เมื่อเช้า
    เราได้พบเจอใครบ้าง ได้ทำอะไรบ้าง
    นึกถึงช่วงเวลาบนโต๊ะอาหารเมื่อเช้านี้
    นึกถึงช่วงเวลาที่ส่งลูกไปเรียน
    นึกถึงเพื่อนฝูงที่พบเจอในห้องประชุม

    “พ่อคะ แม่ขา หนูรักพ่อกับแม่นะคะ
    ต่อไปนี้ หนูคงไม่มีโอกาสได้ดูแลพ่อกับแม่อีกแล้ว”
    “ลูกจ๋า คนดีของพ่อ ดวงใจของแม่
    เป็นเด็กดีนะลูก พ่อแม่คงไปรับลูกที่โรงเรียนไม่ได้อีกแล้ว”

    นึกถึงทรัพย์สมบัติ สิ่งของที่เราหามาด้วยความเหนื่อยยาก
    บ้าน รถยนต์ เครื่องประดับ เงินทอง
    ของหวงของรักทั้งหลาย
    เรากำลังจะสูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างไป

    นึกถึงงานการทั้งหลายที่เรารักและทุ่มเทมาตลอด
    ไม่ว่าจะมีค่าปานใด เราจะไม่มีโอกาสได้ทำอีกต่อไป
    งานทั้งหลายที่คั่งค้างแล้วไม่จบ
    เราจะไม่มีวันได้สะสางอีกแล้ว

    อีกไม่นาน โลกที่เราคุ้นเคยมาตลอดชีวิตจะหายวับไปอย่างสิ้นเชิง
    ไม่เหลือแม้แต่น้อย
    ที่สำคัญก็คือ
    ชีวิตของเราทั้งชีวิต กำลังจะสูญสิ้นไปในอีกไม่กี่ชั่วโมง

    ทีนี้ลองกลับมาสำรวจดูความรู้สึกของเราในขณะนี้
    ความรู้สึกในขณะนี้เป็นอย่างไร
    เรารู้สึกกลัวหรือไม่

    ลองพิจารณาความกลัวดู ค่อยๆสัมผัสรับรู้ความกลัวนั้น
    ความกลัวอยู่ที่ตรงไหน
    เรากลัวอะไร
    ลองสัมผัสรับรู้ความกลัวเหล่านี้ด้วยใจสงบ
    มีความกังวลหนักใจเกิดขึ้นหรือไม่
    อะไรที่เรารู้สึกตัดใจลำบากที่สุด
    พ่อแม่ คนรัก ลูกหลาน มิตรสหาย ทรัพย์สมบัติ งานการ

    ขอให้เราตั้งสติและพิจารณาในใจว่า
    ทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่เรามีนั้น มันเป็นของเราจริงหรือ
    เราเอามันไปด้วยได้หรือไม่
    สิ่งเหล่านี้เพียงแต่มาอยู่ในความดูแลรักษาของเราชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
    บัดนี้ ถึงเวลาที่เราจะมอบให้คนอื่นดูแลและใช้ประโยชน์ต่อไป

    ส่วนการงานทั้งปวง เราก็ได้ทำมามากแล้ว
    บัดนี้ได้เวลาเลิกงานแล้ว
    ถึงเวลาที่เราจะต้องวางมือ และให้คนอื่นรับไปทำต่อไป
    เราได้ฝากงานไว้กับโลกมามากพอแล้ว
    งานทั้งหลายได้กลายเป็นของโลกไปแล้ว
    ไม่ใช่ของเรา
    ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องห่วงกังวลอีกต่อไป

    พ่อแม่ ลูกหลาน ญาติพี่น้อง และคนรักทั้งหลาย
    เรามีบุญวาสนามาอยู่กับเขาได้นานพอสมควรแล้ว
    หน้าที่ที่สมควรทำ เราก็ได้ทำมามากพอแล้ว
    บัดนี้ได้เวลาที่เราจะต้องลาจากไป

    ขอให้มั่นใจว่าเขาจะอยู่ต่อไปได้โดยไม่มีเรา
    เราเคยลาจากเขาเหล่านี้มาก่อนแล้ว
    ครั้งนี้เราเพียงแต่ลาจากไปนานกว่าครั้งก่อนๆเท่านั้น

    อีกไม่นานเราก็จะละร่างนี้ไป
    ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา
    เราเพียงแต่หยิบยืมมาจากธรรมชาติ
    ร่างนี้เราได้มาเปล่าๆจากท้องแม่
    บัดนี้ถึงเวลาที่จะคืนให้แก่ธรรมชาติไป
    ได้เวลาแล้วที่ร่างนี้จะคืนสู่ดิน น้ำ ลม ไฟ ในธรรมชาติ

    บัดนี้ถึงเวลาที่เราจะปลดเปลื้องสิ่งหมักหมมจิต
    ความรู้สึกผิดติดค้างใจ
    ความเศร้าเสียใจที่ได้กระทำผิดต่อผู้อื่น
    อย่าปล่อยให้ความรู้สึกเหล่านี้กดถ่วงหน่วงทับใจอีกเลย

    ไม่สายเกินไปที่จะขออภัย ณ บัดนี้
    ขออภัยต่อทุกคนที่เราได้เคยล่วงเกิน หมางเมิน และเบียดเบียน
    ขอเราทั้งหลายอย่าได้มีเวรต่อกันอีกเลย

    หากเรามีความคับแค้นใจ รู้สึกไม่ดีต่อใครบางคน
    อย่าปล่อยให้อกุศลจิตนี้กัดกินใจเราอีกเลย
    ขอจงให้อภัยเขาเหล่านั้น
    อโหสิทุกคนที่เคยทำความทุกข์แก่เรา
    ปลดเปลื้องใจเราให้เป็นอิสระจากความเคียดแค้นชิงชัง
    ขอให้เราทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด

    ท้ายที่สุดนี้
    ให้ละวางทุกอย่างที่เคยถือเป็นของเรา
    ละวางแม้กระทั่งตัวตน หรือความรู้สึกว่าตัวฉัน
    แท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเป็นของเราแม้แต่น้อย
    แม้กระทั่งตัวตนที่นึกว่าเป็นของเรา ก็มิใช่ของเราจริงๆ
    ให้ละวางความยึดถือในตัวตน
    อย่าไปนึกหรือคาดหวังว่า ตัวตนจะไปเกิดเป็นอะไร

    ให้ระลึกในใจว่า
    ไม่ว่าจะไปเกิดเป็นอะไร ก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น
    ไม่มีอะไรที่น่าเอา น่าเป็น
    ไม่มีอะไรที่ควรยึดมั่นถือมั่น
    ปล่อยวางทุกสิ่ง
    ไม่ว่าอดีตหรืออนาคต
    น้อมจิตสู่ความสงบ สู่ความว่าง
    สู่ความดับเย็นอย่างสิ้นเชิง.


    ขอความสงบเย็น ความตื่น รู้ตัวทั่วพร้อม จงบังเกิดแด่ผู้อ่านทุกท่าน
    และขอขอบพระคุณผู้อ่านที่ได้อนุโมทนาแก่ทุกข้อเขียนที่พลอยคัดมา
    ถือเป็นกำลังใจอย่างยิ่ง
    ขอบพระคุณค่ะ
    พลอย. [​IMG]


    จาก http://www.prajan.com/webboard/view....31065e2ec7566c
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message -->
     
  16. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    [​IMG]

    โอวาทธรรม หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ


    คนเราเกิดมาไม่เห็นมีอะไรดี มีดีอยู่อย่างเดียว คือ สวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติภาวนาคือ มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นของชั่วคราว มีแต่ปัญหามีแต่ทุกข์ แล้วก็เสื่อม..........


    คนเราเกิดมาไม่เห็นมีอะไรดี มีดีอยู่อย่างเดียว คือ สวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติภาวนาคือ มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นของชั่วคราว มีแต่ปัญหามีแต่ทุกข์ แล้วก็เสื่อม พังสลายไปในที่สุด

    ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร(การเวียนว่ายตายเกิด) ทั้งหลาย ถ้าท่านต้องการพ้นภัยจากการเกิดแก่เจ็บตาย ท่านควรมีคุณธรรม 6 ประการนี้ไว้เป็นประจำจิตประจำใจ ทุกท่านย่อมจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงความสุขใจอย่างยอดเยี่ยม

    คุณ 6 ประการนั้นคือ

    1. ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม
    2. ประคับประคองจิตในยามที่ควรประคับประคอง
    3. ทำจิตให้ร่าเริงในยามที่ควรร่าเริง
    4. ทำจิตวางเฉยในยามที่ควรวางเฉย
    5. มีจิตน้อมไปในอริยมรรค อริยผลอันประณีตสูงสุด
    6. มีจิตตั้งมั่นในพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตผู้ปฏิบัติที่มีความสามารถฉลาด

    ย่อมจะต้องศึกษาจิตใจและอารมณ์ของตนให้เข้าใจ และรู้จักวิธีกำหนดปล่อยวางหรือควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้ได้ เปรียบเสมือนเวลาที่เราขับรถยนต์ จะต้องศึกษาให้เข้าถึงวิธีการขับขี่ที่ปลอดภัย บางครั้งควรเร่ง บางคราวควรผ่อน บางทีก็ต้องหยุดเร่งในเวลาที่ควรเร่ง ผ่อนในเวลาที่ควรผ่อน หยุดในเวลาที่ควรหยุด ก็จะสามารถถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย

    ข้อสำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือ ต้องไม่ประมาท ต้องปฏิบัติให้เต็มที่ตั้งแต่วันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร ถ้าเราปฏิบัติไม่เป็นเสียแต่วันนี้ เวลาใกล้จะตายมันก็ไม่เป็นเหมือนกัน เหมือนคนที่เพิ่งคิดหัดว่ายน้ำ เวลาใกล้จะจมน้ำตาย นั่นแหละก็จมตายไปเปล่า ๆ ถ้าใน 1 วันนี้ไม่ปฏิบัติภาวนาวันนั้นขาดทุนเสียหายหลายล้านบาท

    จงมองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่า คนสัตว์สิ่งของ เงิน ทอง ลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ เป็นของโกหกของสมมุติ ภาพมายาทั้งนั้น ทุกอย่างไม่ใช่ของจริงเป็นของหลอกลวงที่คนไม่ฉลาดต่างพากันหลงใหลกับสิ่งของสมมุติของโกหก ไม่ว่าอารมณ์ดี อารมณ์ร้าย ก็ไม่ใช่ของเราจริงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากเหตุ(คือ ความไม่รู้ ความอยากได้) ถ้าต้องการดับทุกข์ ต้องดับเหตุก่อน คือ ให้รู้ว่าทั้ง 3 โลก เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงเป็นโทษเป็นทุกข์เป็นปัญหา และสูญสลายตายกันในที่สุด ถ้าเรามีญาณก็จะรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดในชีวิตเราไม่มีการบังเอิญเลย

    ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมพิจารณาร่างกายคนสัตว์ในโลกว่าน่าเกลียดน่ากลัว เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภาระต้องดูแลอย่างหนัก เน่าเหม็นแตกสลายตายไปกันหมด ผู้ที่มีศรัทธาแท้คือผู้ที่เชื่อและยอมรับ พระพุทะ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งแทนที่จะเอาความโลภ ความโกรธ ความหลงมาเป็นที่พึ่ง ผู้ปฏิบัติตามพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน คือ ให้ขยันภาวนา แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลงจะน้อยลงและหมดไป

    ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต ผู้ฝึกจิตถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่างจะสงบไม่ได้ และ ไม่สภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำจิตให้ดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว โดยเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างแตกสลายตายหมดสิ้นแล้ว จิตก็มีกำลังเปล่งรัศมีแห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริง ได้ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรควรรักษา อะไรควรละทิ้งออกจากจิต ไม่ควรใส่ใจสนใจเรื่องของผู้อื่น ควรตั้งใจตรวจสำรวจดูจิตของเราเองว่ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง คิดว่าร่างกายนี้ยังเป็นของจิตหรือไม่ ตามความเป็นจริงแล้ว จิตกับกายไม่ใช่อันเดียวกัน เพียงแต่มาอาศัยกันชั่วคราวเท่านั้น

    อารมณ์วางเฉยมี 3 อย่าง

    1. วางเฉยแบบหยาบ คือ อารมณ์ปุถุชนที่เฉย ๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ซึ่งมีเป็นครั้งคราวเท่านั้น
    2. วางเฉยแบบกลาง มีในผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนา มีความรู้ตัว มีความสงบของจิต วางอารมณ์จากความดี ความชั่ว สุข ๆ ทุกข์ ๆ ใด ๆ ในโลกีย์วิสัย เฉยบ่อยมากขึ้น
    3. วางเฉยแบบละเอียด คือ อารมณ์ของพระอริยเจ้า พระอรหันต์ ซึ่งไม่มีอารมณ์สุขหรือทุกข์ ดีหรือชั่ว ดีใจปนเสียใจ วิตกกังวลฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่มี ไม่คิดปรุงแต่งไปในอดีต ปัจจุบัน อนาคต มีความวางเฉยในร่างกายของท่านเอง จะเจ็บปวดทรมาน จิตท่านนิ่งเฉยอยู่ในจิตของท่านว่าจิตส่วนจิต กายเป็นเพียงของสมมุติของชั่วคราว ตายเมื่อไร ท่านก็พร้อมที่จะทิ้งรูปนามขันธ์ เสวยวิมุติสุขแดนอมตะทิพย์นิพพานติดตามองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ของดีนั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน ของดีนั้นอยู่ที่จิตของท่านทุกท่าน ของไม่ดีอยู่ที่ร่างกาย

    จิตมี 3 ขั้น ตรี โท เอก

    ถ้าตรีก็ต่ำหน่อย ยังวุ่นวายเป็นทุกข์กับเรื่องของโลก
    ขั้นโท ก็มีศีลครบ มีเมตตา ทำบุญทำทาน
    ขั้นเอกนี่ ดีมาก จิตก็มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมนุษย์ สัตว์ นรก เป็นทุกข์ มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วก็ตายสลายผุพังไปกันหมดสิ้น ตัวอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของตน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บังคับเอาไว้ให้คงที่ก็ไม่ได้ ตัวนี้แหละเป็นตัวเอก ไล่ไปไล่มา ให้มันเห็นร่างกายคนเรา ตานแน่ ๆ คนเราหนีตายไม่พ้น แม้เพียงวันเดียว

    1. ตายน้อย ก็คือ นอนหลับทุกคืน หลับชั่วคราว คือ ตายทุกคืน ตื่นตอนเช้า
    2. ตายใหญ่ ก็คือ นอนหลับตลอดกาล แต่จิตไปตื่นตรงที่มีกายใหม่ มีกายใหม่ที่อื่นเป็นกายผี กายสัตว์ กายเทวดา กายพรหม แล้วแต่ผลบุญหรือผลบาปที่ทำไว้ตอนเป็นคน
     
  17. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=648 border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD colSpan=7 height=590></TD><TD vAlign=center align=middle width=443 colSpan=8>[​IMG]</TD><TD colSpan=14 height=590></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=17></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=3 height=40></TD><TD width=644 colSpan=24>[SIZE=+1]ครับเมื่อเราตายไปใบหน้าแม้ว่าเรามีชีวิตอยู่เราจะหล่อ แต่พอเราตายแล้วก็ดูไม่ได้เลยครับ ก็พยายามฝึกคลายจากตัวตนบ้างครับ ลดมานะการถือตัวของเราลงบ้างก็ดีครับ รวมทั้งฝึกลดละกิเลสด้วยนะ[/SIZE]</TD><TD colSpan=2 height=40></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=5></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=8 height=369></TD><TD vAlign=center align=middle width=492 colSpan=9>[​IMG]</TD><TD colSpan=12 height=369></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=12></TD></TR><TR vAlign=top><TD height=60></TD><TD width=643 colSpan=23>[SIZE=+1]ครับ ภาพนี้ก็ทำนองเดียวกันนะ แม้ว่ายามเรามีชีวิตอยู่เราอาจจะหน้าตาดีก็ตาม แต่ถ้าตายแล้วก็ดูไม่ได้เลย ก็มีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่าหลงกับทางโลกให้มากนักครับ อย่าพยายามยึดติดกับรูปกายเนื้อของใครครับ ยึดมากก็ทุกข์ใจมาก เรามีชีวิตอยู่นี้หัดฝึกคลายจากตัวตนดีกว่า แล้วก็ฝึกหัดลดกิเลสในตัวเราให้น้อยลงก็จะดีมากๆเลยครับ[/SIZE]</TD><TD colSpan=5 height=60></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=30></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=11 height=423></TD><TD vAlign=center align=middle width=564 colSpan=10>[​IMG]</TD><TD colSpan=8 height=423></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=12></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2 height=60></TD><TD width=643 colSpan=23>[SIZE=+1]ผมก็คงจะเขียนแนวเดิมครับ ว่าเราควรที่จะฝึกหัดการปล่อยวางบ้างครับ อย่าพยายามยึดติดกับใคร ฝึกเอารูปศพของคนอื่นนี้แหละครับ น้อมนำมาสู่ตัวเราบ้าง แล้วให้เราคิดว่าในอนาคตนะเราก็ตายเหมือนกัน มีชีวิตอยู่ในโลกผืนนี้ ก็อย่าพยายามหลงให้มากนัก ทำความดีในปัจจุบันให้มากดีกว่าเท่าที่โอกาสเราพอจะทำได้ [/SIZE]</TD><TD colSpan=4 height=60></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=13></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=9 height=397></TD><TD vAlign=center align=middle width=529 colSpan=9>[​IMG]</TD><TD colSpan=11 height=397></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=20></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=3 height=60></TD><TD width=645 colSpan=25>[SIZE=+1]ครับ กายเนื้อของเรานะ ถ้าเกิดว่าตายแล้วเหลืออยู่ในสภาพแบบนี้ก็ดูไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นเราควรคิดว่าในอนาคตเราก็ตายเหมือนกันนะ พยายามทำความดีให้มากๆจะดีกว่า ก่อนที่ความตายจริงๆ จะเกิดขึ้นกับเรา เมื่อเราตายกลายเป็นสภาพวิญญาณแล้วเราจะได้ไม่ต้องกังวลว่าเรายังทำบุญได้ไม่เต็มที่ครับ[/SIZE]</TD><TD height=60></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=13></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=8 height=415></TD><TD vAlign=center align=middle width=553 colSpan=12>[​IMG]</TD><TD colSpan=9 height=415></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=17></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=3 height=80></TD><TD width=640 colSpan=20>[SIZE=+1]ครับ ตัวเรานะถ้าตายอยู่ในสภาพศพขึ้นอืดนะ ในรูปที่เห็นเป็นสีขาวๆเยอะๆนั้นคือหนอนนะ ไต่เต็มตัวเลย เราควรคิดว่าหนอนมันเกิดรวมทั้งอยู่ได้ในสภาพที่สกปรก แล้วทำไมมันถึงอยู่ในตัวเราที่ตายได้ แสดงว่าร่างกายของเราภายในก็สกปรกเหมือนกัน ก็คิดแล้วก็น้อมนำมาสู่เราว่า เรามีชีวิตอยู่เราควรทำความดีให้มากๆ ฝึกสมาธิบ้างแบบไหนก็ได้ที่ฝึกแล้วจิตสงบ รวมทั้งฝึกการปล่อยวางจากตัวตนบ้าง ก็จะดีมากๆเลยครับ[/SIZE]</TD><TD colSpan=6 height=80></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=16></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=13 height=548></TD><TD vAlign=center align=middle width=282>[​IMG]</TD><TD colSpan=15 height=548></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=25></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2 height=40></TD><TD width=644 colSpan=24>[SIZE=+1]ภาพนี้ขอให้เราคิดว่า ภายในร่างกายของเรานั้น มันก็สกปรกเหมือนกันนะ ก็อย่าพยายามยึดติดใครให้มากนัก อยู่ในโลกนี้พยายามทำความดีให้มากๆจะดีกว่า แล้วก็ฝึกการปล่อยวางจากตัวตนรวมทั้งฝึกสมาธิทำจิตให้สงบบ้างแบบไหนก็ได้ครับ[/SIZE]</TD><TD colSpan=3 height=40></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=15></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=10 height=445></TD><TD vAlign=center align=middle width=550 colSpan=9>[​IMG]</TD><TD colSpan=10 height=445></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=18></TD></TR><TR vAlign=top><TD height=22></TD><TD width=644 colSpan=24>[SIZE=+1]ภาพนี้นะ ก็ดูระยะใกล้ ก็ดูร่างกายใกล้ๆแล้ว ก็น่ากลัวเหมือนกันนะภายในร่างกายคนเรา[/SIZE]</TD><TD colSpan=4 height=22></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=34></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=6 height=270></TD><TD vAlign=center align=middle width=621 colSpan=16>[​IMG]</TD><TD colSpan=7 height=270></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=25></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=2 height=40></TD><TD width=645 colSpan=25>[SIZE=+1]มาภาพแนวใหม่ต่อนะ ร่างกายของเราถ้าอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์มันก็น่ากลัวเหมือนกันนะ ถ้าเราตายเพราะความประมาทเราก็อยู่ในสภาพแบบนี้ ก็อย่าประมาทล่ะกันครับ [/SIZE]</TD><TD colSpan=2 height=40></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=17></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=12 height=804></TD><TD vAlign=center align=middle width=526 colSpan=6>[​IMG]</TD><TD colSpan=11 height=804></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=11></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=5 height=22></TD><TD width=641 colSpan=21>[SIZE=+1]พิจารณากายที่ขาดครับก็ดูแล้วมันก็น่ากลัวเหมือนกันนะ เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็อย่าประมาทล่ะกัน ถ้าเราประมาทเราก็จะจบชีวิตเร็วน่ะครับ[/SIZE]</TD><TD colSpan=3 height=22></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=11></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=8 height=736></TD><TD vAlign=center align=middle width=477 colSpan=8>[​IMG]</TD><TD colSpan=13 height=736></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=29 height=13></TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=4 height=120></TD><TD width=641 colSpan=21>[SIZE=+1]ภาพแนวนี้นะ ดูเพื่อฝึกพิจารณาว่า ภายในร่างกายของเรานั้นมันก็น่าเกลียดรวมทั้งน่ากลัวเหมือนกันนะ ก็ดูครับ ถ้าเราลองผ่าออกก็เห็นภายในเป็นแบบนี้เหมือนกันครับ ก็น่ากลัวเหมือนกันครับภายในร่างกายของเราเนี่ย แล้วทำไมเราถึงหยิ่งจังเลยหรือว่าทำไมเราถึงชอบด่าคนอื่นล่ะ ตั้งคำถามเองครับ แล้วก็นึกถึงความจริงให้มาก นิสัยที่ไม่ดีของเราก็จะแก้ไขได้ครับ ด้วยการฝึกนึกถึงความจริงของภายในร่างกายของเรา ข้างในของเรามันก็น่าเกลียดน่ากลัวเหมือนกัน ของร่างกายคนอื่นก็มีแบบนี้เหมือนกัน แล้วทำไมเราต้องคิดไม่ดีกับเค้าล่ะ ทั้งๆที่กายเนื้อก็เหมือนกัน มีสิ่งสกปรกภายในเหมือนกัน ถ้าเราคิดเราก็ทุกข์ใจ แต่ถ้าเราไม่คิดเราก็ไม่ต้องทุกข์ใจ ก็อยู่แบบไม่คิดดีกว่าครับ[/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. Wisdom

    Wisdom ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,669
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +26,542
    ฝาก Web ปลงความตายดีๆครับ
    ช่วยได้มาก ทำใจให้เป็นกลางอารมณ์สบายๆ
    ดูให้พิจารณาไปตามความเป็นจริง นึกถึงพระครับ​


    ธรรมรักษาครับทุกๆท่าน...อย่าลืมตัวตายนะครับ​
     
  19. อาหลี_99

    อาหลี_99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +2,992
    ดูแล้วปรงจริงๆด้วย เอาไปแปะไว้ในกระทุ้แนะนำเลยจ้า.....................
     
  20. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    ใครจะใหญ่เกินกรรม

    *******


    [​IMG][​IMG][​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...