คาถามหาลาภ
นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา มะณีวา ธะนังวา พีชังวา อัตถังวา ปัตถัง
วา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมีมา นะมามิหัง
(ให้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบและตอนเช้าอีก ๓ จบ จะเรียกทรัพย์ โชคลาภให้มีได้อย่างน่าอัศจรรย์)
คาถาสะเดาะเคราะห์
นะโมเม โรเตโข สัพพะเทวานัง
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สัพพะสังฆา นุภาเวนะ
พระเคราะหะ จะเทวะดา สุริยัง วันทัง ปะมุญจะกะ สะสิภูมโบ จะเทวานัง
พุทโธ ลามัง ถะวิสสะติ ชีโว สุโก จะ มหาลาถัง สัพพะทุกขัง วินาสสันติ
(กราบ ๓ ครั้งแล้วกล่าวว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ สวดอย่างนี้ ๗ วัน)
คาถาคลอดลูกง่าย
ยโตหัง ภคินี อริยายะ
ชาติยา ชาโต นาภิชา นามิ
สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา
โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ
โสตภิเต โหตุ โสตภิ คัพภัสสะ
(ใช้ภาวนาแล้วลูบที่ครรภ์มารดาเพื่อให้คลอดลูกง่าย)
คาถาเสกขี้ผึ้ง
มทุจิตตัง สุวามุปขัง
ทิตสวานิมามัง ปิยังมะมะ
เมตตา ชิวหายะมะ ทุรัง
ทะตวาจาจัง สุตทังสุตตะวา
สัพเพชะนาพะ หุชะนาอิตถีชะนา
สัมมะนุนะ พรามมะนา นุนะ
ปะสังสันติ
(ใช้ภาวนากับขี้ผึ้งหรือลิปสติก จะทำให้คนรักเชื่อฟัง)
คาถาแก้ฝ้นร้าย
ยันทุนนิมัตตัง อวมังคลัญจะ
โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
ยันทุนนิมัตตัง อวมังคลัญจะ
โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโท ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธรรมานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
ยันทุนนิมัตตัง อวมังคลัญจะ
โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
(ใช้ภาวนาตอนเช้าตรู่กับน้ำลูบหน้าเพื่อแก้ฝ้นร้าย)
คาถาปลุกใจ
ปัจจะมัง สิระสัง ชาตัง นะอดทน นะกาโร โหติสัมภะโว
นะรานะระหิตัง เทวัง นะระเทเวหิจชิงตัง นะรานังกามะปังเกหิ
นะมามิสุคะตังนัง กัณหะ เนหะ
(ใช้ท่องเมื่อต้องเผชิญกับความห่อเหี่ยว หมดกำลังใจ จะได้ช่วยเพิ่มพลังให้มีกำลังใจและกายต่อสู้กับปัญหาต่างๆ)
คาถาคดีความ
อิติปิโสภะคะวา อรหังสัมมา สัมพุทโธ อรหังเต โน
โสตาปะติ ภะลัง อะนาตามิ พะลังเตโช วิทะเตเชยยะ
เชยยะ สัพพะศัตรู วินาสสันติ
(ใช้ภาวนาหากเมื่อมีเรื่องต้องขึ้นโรงขึ้นศาล โดยเขียนชื่อคู่คดีลงบนกระดาษแล้วนำไปเผาทิ้ง ทำทุกวัน คู่ความจะถอนฟ้อง)
คาถาลงน้ำ
ยันทุนนิมิตตัง อวมังคลัญจะ โยจามะนาโป
สกุณัสสะสัทโธ ปาปัคกะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อวมังคลัญจะ
โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธรรมานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อวมังคลัญจะ
โยจามะนาโป สกุณัสสะสัทโธ
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสเมนตุ
โอมชำระ มหาชำระ
นัทธีสะคะระชำระประสิทธิเม
(ใช้ภาวนาเวลาจะลงน้ำไม่ว่าเป็นคลองหรือทะเล เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษต่างๆ)
คาถานักมวย
นะโม พุทธายะ นะธนู นะกาโรโหติ สัมภะโว
ปะถะมังพินธุกังชาตัง นะรา นะวะ หิตังเทวัง
นะระเทเวหิปูชิตัง นะรานัง กามะปังเกหิ
นะมามิสุคะตังชิตัง จะ ภะ กะ สะ
(ใช้สวดภาวนากับน้ำแล้วดื่มก่อนขึ้นชกจะทำให้มีชัยชนะ)
คาถาหมัดหนัก
โสภะคะวา อะทิสะมานิ อุเทยยัง คัจฉันตัพพัง
สังลารัง ปะระมัง สุขัง นะลัพภะติ
มหาสูญโญ จะสัมภะโต สังสาเร อานังคัจฉันติ
(ใช้ภาวนาเมื่อต้องการให้หมัดหนัก ไม่ใช่นักมวยก็ใช้ได้)
คาถาฤทธิ์เดช
นะรา นะรา หิตังเทวัง
นะราเทเวหิปูชิตัง
นะรานัง กามะปังเกหิ
นะมามิสุคะตังชินัง กะยะพุตัง
(ใช้สวดภาวนาเวลาที่ต้องเข้าไปในสถานที่มีอันตราย เพื่อให้รอดพ้นจากภัยต่างๆ)
คาถาเดินทางไกล
มะติ ยาเต มะเต ยาติ
มาเต ถินา นะนา ถิเต
มะนา เนสา มะสา เนนา
มะสา จะติ มะติ จะสา
มะติยาโน มะโนยาติ มะโนติตัง
มะตังติโน มะตังปาลัง
มะลังปาตัง มะลังจะติ มะติจะลัง
(ใช้ภาวนาก่อนออกเดินทางไกลจะช่วยให้ปลอดภัยและสำเร็จในจุดมุ่งหมายปลายทาง)
คาถาขับรถ
เมตตัญ จะ สัพพโล กัสสะมิง มานะ สัมภาวะเย อะปะริมานัง
(ใช้ภาวนาเพื่อให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ไม่หลับใน)
พระอริยเจ้า 8 ประเภท
ฌาน แปลว่า การเพ่งเอาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบัน จดจ่อเอาอารมณ์นั้นเป็นเอกัคคตา
สมาธิ แปลว่า การเอาจิตปล่อยรู้ตามอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบัน แล้วพิจารณาอารมณ์นั้นเป็นธรรมชาติ
อารมณ์พระโสดาบัน ต้องมีศีลห้าครบถ้วน ต้องพิจารณาความตายอยู่เนือง ๆต้องไม่สงสัยในธรรมะของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ต้องผ่านการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาด้วยผ่านอารมณ์ความไม่ยึดติดอารมณ์ ความคิด ความจำ ธรรมชาติของจิตทั้งปวงใดๆมาเห็นผิดว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา ของเรา ของเขา คือไม่ปล่อยให้เกิดอุปาทานขึ้นมานั่นเองคือรู้อารมณ์นิพพานว่าเป็นเช่นนั้นแล้วปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอัตตา(ความมีตัวตน)ไม่ยึดติดกับศัพท์สมมติว่าเป็นอนัตตา(ความไม่มีตัวตน)เพราะอาจทำให้เกิดความหลง และติดใจในอารมณ์สมมตินั้นๆจนไม่ปล่อยวางให้ดับอารมณ์สมมตินั้นหมดเสียที ถ้าดับหมดจะทำให้ละสักกายทิฐฐิได้หมดเพราะว่าไม่เห็นว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา จิตเราไม่มีเจตนาในการคิด พูด ทำสักเเต่เป็นเพียงกริยาอาการของจิต ถ้าละสักกายทิฐฐิได้หมดก็เป็นพระโสดาบันถ้าดับความมี ความเป็นเจ้าของ ความติดใจในอารมณ์ได้หมดก็เป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อโกรธแล้วก็ระงับความโกรธได้จนให้อภัยทานได้ แต่ยังมีอารมณ์ทางเพศอยู่บ้าง ไม่มีความเชื่อหลงงมงายในเรื่องบนบานสานกล่าว ไม่เชื่ออะไรง่ายๆจนกว่าจะรู้ด้วยตนเอง
อารมณ์พระสกิทาคามี อารมณ์โกรธจะเบาบาง จะรู้เท่าทันความไม่พอใจแล้วปล่อยวางไม่ยึดติดว่าเป็นอารมณ์ของเรา อารมณ์ทางเพศจะเบาบาง
อารมณ์พระอนาคามี มีมานะทิฐฐิคือ สำคัญตนว่าตนเองสูงกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา แต่รู้เท่าทันอารมณ์เหล่านี้จนไม่ก่อให้เกิดอคติได้ แล้วไม่ก่อให้เกิดความหลงได้ ยังมีความประมาทว่าเป็นพระอนาคามีแล้วสามารถไปบรรลุธรรมอรหันต์อยู่พรหมโลกได้ รู้เท่าทันอารมณ์พอใจแล้วปล่อยวางไม่ยึดติดว่าเป็นอารมณ์ของเราได้ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความไม่พอใจ หรือพอใจ
อารมณ์พระอรหันต์ ไม่ยึดติดในรูปฌาน และอรูปฌาน สักกายทิฐฐิหมดไป สังโยชน์10หมดไป ไม่มีความประมาทในการพิจารณาความตายอยู่เนืองๆมักมีอุบายความตายเสมออาทิ เช่น ต้องตายด้วยโรคนั้นโรคนี้อยู่ในใจเสมอ หรือต้องตายด้วยการแก่ตายอยู่ในใจเสมอ หรืออุบัติเหตุหรือหัวใจวายหรือรู้ทุกขณะจิตว่าเมื่อไม่หายใจเข้าออกก็ตายเสียแล้วเป็นต้น สามารถดับขันธ์ห้าได้อย่างละเอียดจนไม่เกิดการติดใจในอารมณ์ว่าถึงแล้ว เพียงแต่รู้เท่าทันความมีธรรมะในตนเองแล้วดับธรรมะในจิตเราได้ว่าจิตเราไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงจิตรู้ตัวรู้(อารมณ์นิพพาน)แล้วปล่อยวางสามารถดับความจำ ความคิด ความปรุงแต่ง ดับธรรมชาติการรู้ของจิตว่าไม่มีอะไรมาสมมติมาปรุงแต่งให้จิตเกิดความมี ความเป็นอะไรต่างๆได้ ซึ่งจิตรู้นี้เองทำให้เกิดธรรมว่างอย่างยิ่งหรือที่เรียกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธคือ อารมณ์นิพพาน
วันที่ 8-9-10 ซากศพกระจัดกระจายเละเทะกระดูกอยู่ที่เนื้อเน่าเละเทะไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มีหน้าตาเหลืออยู่แล้ว แขนขากระจาย เป็นเหยื่อของหนอนแมลง
ท่านให้มองดูซากศพแล้วย้อนมองดูร่างกายตัวเราก็เป็นแบบนั้น ไม่มีอะไรน่ารักใคร่ใหลหลง จิตจะหลุดพ้นจากความหลงในกายเรา กายเขาได้ง่าย เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณ ตอนแรกก็ใช้สัญญาความจำ ต่อไปก็ใช้ปัญญามองความเป็นจริงของชีวิตร่างกาย ก็คือ ซากศพเดินได้ พูดได้ ตายทุกวัน ตายจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ จากผู้ใหญ่เข้าวัยชรา จากวัยชราก็วัยตายไม่เหลือหลอ
กรรมฐานทั้ง 40 มีกสิณ 10 กับอนุสติ 10 กับอสุภกรรมฐาน 10 รวมเป็น 30 กรรมฐาน
อีก10 กรรมฐานคือ
พรหมวิหาร 4 กรรมฐาน
31. เมตตา ต่อคนสัตว์ทั้งโลกมีความรักสงสารสัตว์โลกที่ร่วมเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
32. กรุณา หาทางช่วยตามความสามารถเท่าที่ช่วยได้
33. มุทิตา พลอยยินดีกับผู้ได้ดี ไม่ริษยาโมทนาสาธุกับผู้ที่มีความดี ความสุข
34. อุเบกขา จิตวางเฉยถ้าช่วยเขาไม่ได้ ถ้าวางเฉยในความสุข ทุกข์ของขันธ์ 5 เป็นจิตของพระอรหันต์
อรูปฌาน 4 กรรมฐาน คือ มีสมาธิทรงฌานทางไม่มีรูปอีก 4 อย่าง ได้แก่
35. อากาสานัญจายตนะ ท่านที่ภาวนาจิตถึงฌาน 4 แล้วเป็นรูปฌาน จิตจับภาพกสิณใดกสิณหนึ่ง จะเป็นรูปพระพุทธรูป เป็นกสิณก็ได้ ถ้าพระพุทธรูปเป็นแก้วใสเรียก อาโลกสิณในพุทธานุสสติกรรมฐาน ควบกัน 2 กรรมฐาน จนจิตเข้าถึงฌาน 4 เป็นรูปฌาน ท่านจะเข้าอรูปฌานก็ให้ภาพกสิณหายไปไม่สนใจแล้วจิตจับอรูปเข้าแทน คือ พิจารณาอากาศไม่มีรูป เวิ้ง ว้าง ว่างเปล่า ไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตเราก็เวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น จิตพิจารณาอากาศแบบนี้ในฌาน 4 ท่านถือว่าเป็นอรูปฌานที่ 5 เป็นกรรมฐานไม่ต้องการรูป เพราะมีรูปถึงมีทุกข์ ร่างกายเรามีรูปจึงมีทุกข์เวทนาท่านก็จับพิจารณาร่างกายให้หายไปเหลือแต่อากาศ
36. วิญญาณัญจายตนะ จากฌานที่ 5 ในอากาศท่านให้ทิ้งอากาศออกไปจากจิต พิจารณาวิญญาณในขันธ์ 5 แทนอากาศ จิตยังคงไว้ฌาน 4 แล้วจิตมาดูวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แม้ร่างกายตายเป็นผียังมีความรู้สึกทางวิญญาณ สุข ๆทุกข์ ๆ เพราะมีประสาทวิญญาณรับสัมผัสและถ้าจิตยังติดอยู่ในวิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส ทางกาย อารมณ์ ใจที่ชอบไม่ชอบนั้นมีสุข ๆทุกข์ ๆ ไม่สิ้นสุดเพียงใด เวิ้งว้างว่างเปล่าเหมือนวิญญาณ หาจุดเริ่มต้นจุดที่สิ้นสุดไม่ได้ จิตเราก็เวียนว่ายตายเกิดตามวิญญาณของคนของสัตว์เป็นผี เป็นผีเทวดา เป็นผีพรหม ถึงแม้จะเป็นกายพรหม กายเทพ เป็นวิญญาณมีความสุขมากแต่ก็ไม่ถาวรตลอดกาล คิดแบบนี้ท่านว่าได้ อรูปฌาน 6
ถ้าเป็นพระอริยเจ้าได้อรูปฌาน 6 ท่านเรียกว่าได้ สมาบัติ 6 ถ้าเป็นฌานโลกีย์ ยังไม่เป็นอริยบุคคลท่านเรียกว่า โลกีย์ฌาน 6 ตายแล้วก็ไปเกิดในอรูปพรหม แต่ถ้าเป็นพระอริยเจ้าได้สมาบัติ ก็เข้าพระนิพพานได้ง่าย เพราะมีปัญญาเข้าใจแล้วว่าอรูปพรหมไม่ใช่แดนทิพย์ถาวรและไม่ใช่สุขยอดเยี่ยมเช่นพระนิพพาน
37. อากิญจัญญายตนะ ท่านเปลี่ยนจากการพิจารณาวิญญาณยังไม่สิ้นสุดของความทุกข์ มาเป็นพิจารณาเห็นว่าโลกนี้ทั่วอนันตจักรวาลสูญสลายตายหมดเป็นอนัตตาแตกสลายพังทั้งสิ้นไม่ว่า คน สัตว์ วัตถุ ไม่มีอะไรเหลือสูญสลายหมด มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเหลือแต่ว่างเปล่า ถึงแม้มีคน สัตว์ วัตถุ ก็มีเพียงชั่วครู่ชั่วคราวมิช้ามินานก็สูญสลายตายกันหมด เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณจิตทรงฌาน 4 อยู่แบบนี้มองไปในโลกมีแต่ความว่างเปล่าไม่มีอะไรเหลือ เรียกว่า ท่านทรงอรูปฌานที่ 7 คือ อากิญจัญญายตนะ จิตเป็นสุขแต่ยังไม่จบกิจทางพระพุทธศาสนา
38. เนวสัญญานาสัญญายตนะ จิตยังคงทรงฌาน 4 หรือ อรูปฌานที่ 7 แล้วเปลี่ยนจากการพิจารณาความไม่มีอะไรเหลือแม้แต่น้อยนิด แต่อารมณ์ยังไม่หมดทุกข์เพราะมีความจำได้หมายรู้ จำชื่อ จำคนรัก จำทรัพย์สมบัติ จิตยังหนักอยู่ ท่านจึงพยายามตัดสัญญาความจำออกไปโดยการที่จิตทำเฉย ๆ ทำเหมือนไม่มีความจำ ทำให้ลืมจากขันธ์ 5 เขาขันธ์ 5 เรา ไม่มีตัวไม่มีตน จิตแบบนี้คล้ายจิตของพระอรหันต์เพราะเป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนาญาณ จิตมีความสุขมาก พระพุทธองค์ท่านสอนไม่ให้ติดความสุขในฌานสมาบัติ 5-6-7-8 เป็นเพียงบันไดของจิตเพื่อให้มีปัญญาชาญฉลาดเข้าถึงพระอรหัตตผล ด้วย สมาธิวิมุตติ สายปฏิสัมภิทาญาณ ไม่สนใจตัวเราตัวเขา ทำจิตทรงในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะ ถ้ายังมีความจำได้หมายรู้ ก็ยังมีการยึดมั่นถือมั่น จิตยังไม่เบาจริง ยังหนักด้วยการจำ ท่านทรงฌาน ทำเป็นไม่จำไม่สนใจ คือ ฌานในอรูป 8 สมาบัติ 8 ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ
อรูปฌานสี่อย่างย่อ
อรูปฌานที่1นั้นจิตละทิ้งรูปอารมณ์เข้าสู่อากาศธาตุเป็นความรู้สึกเบาโปร่ง
อรูปฌานสองพิจารณาวิญญาณ(ตัวรู้)้เป็นอารมณ์บริกรรมคำว่าอนันตัง วิญญานังเมื่อคำบริกรรมหยุดจึงเรียกว่าอรูปฌานสอง
อรูปฌานสามนั้นพิจารณาความว่างสภาพที่ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์
บริกรรมคำว่านัตถิกิญจิ
อรูปฌานสี่ สภาวะเกิดดับยังสืบเนื่องอยู่ทุกข์ก็ยังไม่สิ้นสุด พึงน้อมความสงบดับเสียซึ่งสัญญาและเวทนาด้วยคำว่าสันโตๆเป็นการกำหนดรู้สัญญาว่าเป็นไตรลักษณ์ (มีสติรู้ว่าเหมือนได้ดับสัญญารู้แล้วก็ไม่เชิง)
เมื่อชมคือการเอาจิตพิจารณาอรูปฌานทั้งสี่ว่าเป็นไตรลักษณ์แล้วจิตก็เข้าสู่สภาพนิพพานคือ เกิดสภาพดับคือจิตรวมใจคือความรู้สึกไม่ยึดติดอารมณ์รู้อรูปฌานสี่เป็นของเรา
39. อาหารเรปฏิกูลสัญญากรรมฐาน
พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาอาหารที่คนเราติดในรสอร่อยของอาหารทำให้อยากเกิดมากินอาหารอร่อย ๆ ถูกใจจิตก็ยึดติดในรูปรสกลิ่นเสียง ทำให้ตกอยู่ในทะเลทุกข์เป็นคนสัตว์เวียนไปเวียนมา เพราะติดใจในรสอาหาร พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาอาหาร ก่อนฉันก่อนกินว่ามาจากซากศพสัตว์สกปรก ซากพืชก็เน่าเหม็นสกปรก ร่างกายอยู่ได้ด้วยของสกปรกร่างกายก็ยิ่งสกปรกมากเป็นกรรมฐานเหมาะสำหรับผู้ฉลาดเป็นพุทธจริต ชอบคิด ชอบรู้ พระองค์ท่านก็ให้รู้ของจริง คือ อาหารไม่น่าติดใจหลงใหล เพราะเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ไม่ถึงพระนิพพาน เพียงแต่กินระงับความหิว รู้ว่าอร่อยแต่ไม่ถือว่าเป็นของที่ทำให้จิตเป็นสุข ถ้าติดในรสจิตก็ติดในโลกไม่มีทางพ้นทุกข์ได้ การกินอาหารเจไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์ แต่ต้องกินแบบไม่ติดในรสอาหาร ให้พิจารณาเป็นของสกปรกบำรุงร่างกายสกปรก จิตจึงจะสลัดละความหลงติดในรสอาหารได้ ถ้าไม่หลงกาย ก็ไม่หลงในรสอาหาร อร่อยกินเพื่อระงับความหิว
40. จตุธาตุววัฏฐาน 4
กรรมฐานบทนี้เหมาะสำหรับคนฉลาด นิสัยชอบค้นคว้า อยากรู้อยากเห็นคนมาจากไหน ตายแล้วไปไหนเป็นพุทธจริต เป็นกรรมฐานพิจารณาค้นคว้า วิจัยคนสัตว์ตามความเป็นจริง คือ ร่างกายคนมี ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลมหรืออากาศมีแก๊สออกซิเจน ไนโตรเจร คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนประกอบกันเป็นนิวเครียสเซลล์เนื้อหนังมังส่ กระดูกของแข็งเป็นธาตุดิน น้ำ ก็มาจากธาตุโฮโดรเจนกับออกซิเจนผสมกัน ธาตุไฟคือ ความอบอุ่นในร่างกายเกิดจาก การเผาผลาญอาหารที่เรากิน เป็นพลังงานกับความอบอุ่น ทำให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้ ถ้าเราไม่เติมอากาศออกซิเจน ไม่เติมน้ำ อาหารให้ร่างกายตลอดวัน ร่างกายก็ตายทันที
ดังนั้นร่างกายนี้เป็นภาระอันหนักจิตเราผู้อาศัยต้องหาน้ำ อาหาร อากาศเติมให้ร่างตลอดเวลา สกปรกเหม็นเน่าต้องชำระล้างไม่ได้หยุด พิจารณาไปจนเห็นว่า กายเป็นของธรรมชาติเป็นของโลกอยู่ใต้กฎของธรรมชาติ คือ เกิดขึ้น แล้วก็สลายตัวทุกสิ่งทุกอย่าง จิตเราไม่สลายตามร่างกายจึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะไปหลงรักรูปที่เป็นเพียงภาพมายา เป็นของปลอมของชั่วคราว จิตเราควรก้าวไปหาของจริงคือ พระนิพพาน เป็นของจริงไม่สูญสลาย ตามที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เราหาทางพ้นทุกข์ คือ อย่าติดในของปลอม คือร่างกายเพราะทำให้ผิดหวัง
ในกรรมฐานทั้ง 40 แบบนี้ แบบที่ยากที่สุดเพราะละเอียดที่สุดคือ อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่คลุมกรรมฐานทั้ง 40 แบบ เวลาปฏิบัติท่านให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกควบทุกกรรมฐานทั้ง 40 แบบ คือ การภาวนา ถ้าธัมมานุสสติก็จับภาพพระธรรมเป็นดอกมะลิแก้วใสแพรวพราวไหลออกจากพระโอษฐ์ขององค์พระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
สำหรับอุปสมานุสสติกรรมฐาน คือ จับภาพพระนิพพาน ผู้ที่ฝึกมโนมยิทธิจิตจะเห็นภาพพระนิพพาน ภาพพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเบื้องบนพระนิพพาน ยกจิตไปฝากไว้กับองค์พระพิชิตมารไว้ตลอดเวลาจิตเบามีความสุขเป็นจิตนิพพานไม่มีกิเลสเกาะรบกวน
ผู้ที่ยังไม่เคยฝึกมโนมยิทธิ ท่านก็ให้เอาจิตจับภาพพระพุทธรูปแทนก็ได้ ท่านที่เข้าถึงพระนิพพานองค์แรก คือ พระพุทธเจ้า ก็จับภาพพระพุทธรูปแล้วภาวนาว่า นิพพานสุขัง จนจิตเป็นฌาน 4 จะมีปัญญาตัดกิเลสได้ทั้งหมด ได้กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน 40 ร่วมกับวิปัสสนาญาณ คือ ทุกคนในโลกนี้ ไม่มีใครเป็นสุขจริง มีแต่ความแปรปรวน ทุกอย่างสูญสลายไม่ว่านรกโลก เทวโลก พรหมโลก ก็เป็นพระอรหันต์จบกิจในพระพุทธศาสนาได้ ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องฝึกทั้ง 40 กรรมฐาน
การฝึกให้จิตมั่นคงในคำภาวนาจะพุทโธ สัมมา อรหัง นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ เป็นการนึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าดีทุกอย่าง ทำให้เราเป็นผู้ชนะทุกอย่าง เพราะพลังบุญบารมีเป็นมหากุศล มีพลังจิตบวกกับพลังพระพุทธานุภาพเพื่อเอาชนะกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา อกุศลกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิด
คุณประโยชน์ของการฝึกกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน 40 นั้นมีมากมายมหาศาล คือ มีความสุขกายสุขใจ ซึ่งแม้จะร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีก็ไม่มีความสุขเท่า การมีจิตมั่นคงในการภาวนา ร่างกายไม่มีโรคภัยเบียดเบียน มีสติปัญญาชาญฉลาดทั้งทางโลกทางธรรม มีคนเคารพนับถือ มีคนเมตตา มีจิตใจร่าเริงเบิกบานเพราะไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจใดๆ รบกวนจิตใจของท่านที่มีสมถะภาวนา เป็นการตัดภพตัดชาติ ตัดการเวียนว่ายตายเกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง หลุดหายไปด้วย เจโตวิมุติ หลุดพ้นทุกข์ด้วยสมาธิภาวนา จิตเข้าถึงอริยมรรคอริยผลได้รวดเร็ว มีความร่ำรวยทางธรรมมีความร่ำรวยทางโลก มีลาภ ยศ สรรเสริญ เจริญสุข มีพระนิพพานในจิตใจ ความทุกข์จากการเกิดแก่เจ็บตายไม่รบกวนจิตใจ ตายจากความเป็นคน จิตท่านที่เจริญพระกรรมฐานก็เข้าเสวยสุขเบื้องบนพระนิพพานตลอดกาลนาน
วิปัสนูปกิเลส 10 ประการสำหรับพระนักปฏิบัติ
อารมณ์สมถะละเอียด 10 อย่างที่ควรระวัง ซึ่งไม่ใช่วิปัสสนาญาณแท้ เป็นเพียงญาณโลกีย์ ต่อเมื่อนักปฏิบัติยกจิตเป็นพระอริยเจ้าอย่างต่ำชั้นพระโสดาบันแล้ว อาการ 10 อย่างนี้จะเปลี่ยน โลกุตตรญาณ คือ ความรู้ยิ่งกว่าทางโลก ควรระมัดระวังไม่ให้หลงว่าท่านได้มรรคผล อุปกิเลส 10อย่างมีดังนี้
1) โอภาส จิตกำลังพิจารณาวิปัสสนาญาณอยู่ระดับอุปจารสมาธิ ย่อมเกิดแสงสว่างมาก จงอย่าพึงพอใจว่าได้มรรคผล อย่าสนใจแสงสว่าง ให้ปฏิบัติต่อไป
2) ญาณ ความรู้เช่นทิพจักขุญาณ จากจิตที่เป็นสมาธิภาวนา สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลก รู้อดีต อนาคต ปัจจุบัน ได้ตามสมควร เลิกทำต่อไป หลงผิดคิดว่าได้ บรรลุมรรคผล ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ควรระมัดระวังไม่ให้หลงผิด
3) ปีติ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้ม เบิกบาน มีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล กายลอย กายเบา โปร่งสบาย สมาธิ แนบแน่นเป็นผลของสมถะยังไม่ใช่มรรคผล
4) ปัสสัทธิ ความสงบระงับด้วยฌานสมาธิ ความรู้สึก รัก โลภ โกรธ หลง คล้ายจะไปสิ้น ท่านว่าเป็นอุเบกขาฌานในจตุตฌานอย่าเพิ่งหลงผิดคิดว่าบรรลุมรรคผล
5) สุข ความสบายกายใจ เมื่ออยู่ในสมาธิ อุปจารฌานระดับสูง หรือ ฌาน 1-ฌาน4 มีความสุขกาย จิต อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในชีวิต เป็นผลของภาวนา ไม่ใช่มรรคผล
6)อธิโมกข์อารมณ์น้อมใจเชื่อโดยไม่มีเหตุผลไม่ได้พิจารณาถ่องแท้เป็นอาการศรัทธา ไม่ใช่มรรคผล
7) ปัคคาหะ ความเพียรพยายามแรงกล้าไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรค อย่าเพิ่งเข้าใจว่าบรรลุมรรคผลเสียก่อน เป็น การหลงผิด
8) อุปัฎฐาน มีอารมณ์เป็นสมาธิ สงัด เยือกเย็น แม้แต่เสียงก็ไม่ได้ยิน อารมณ์ที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติคิดว่าบรรลุมรรคผล
9) อุเบกขา ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมาธิฌาน 4 ต้องระวังอย่าคิดว่าวางเฉยเป็นมรรคผล
10) นิกันติ แปลว่าความใคร่ไม่อาจมีความรู้สึกได้เป็นอารมณ์ของตัณหา สงบไม่ใช่ตัดได้เด็ดขาด อย่าพึ่งเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล กิเลสยังไม่หมดเพียงแต่ฌานกดไว้ซึ่งเข้าใจสัญญาเดิมของตนว่าเข้าถึงนิพพานอารมณ์ๆเป็นของเรา แล้วแต่หาได้ถึงอารมณ์นิพพานไม่เพราะว่าไปยินดีในเวทนาขันธ์ เช่น รู้ไม่เท่าทันนามสงบ สุข อุเบกขา จึงทำให้เกิดการยึดติดในอารมณ์จนไปยินดีกับอารมณ์วิปัสสนา ซึ่งเป็นเหตุให้หลงว่านิพพานเป็นอัตตา ซึ่งแท้ที่จริงนั้นปัญญาของเราจะพิจารณาไปเองตามธรรมชาติต้องเห็นด้วยปัญญาไม่ใช่เห็นด้วยสัญญาหรือสังขาร(ห้ามเพ่ง ห้ามต้องการนึกอย่าไปหวังให้มันสำเร็จ เพราะถ้านึกแล้วจะกลายเป็นสมถกรรมฐาน) ซึ่งเราจะเข้าไปรู้แจ้งในนิพพานอารมณ์ คือ ความรู้สึกไม่ยึดติดสิ่งใดๆทั้งปวงมาเป็นของเรา ตัวเราแม้กระทั่งอารมณ์วิปัสสนาเป็นของเรา ซึ่งเราเรียกว่าความรู้สึกรู้อารมณ์นิพพานแล้วปล่อยวางคือ จิตรวมกับใจเป็นเอกัตคตาจะไม่เป็นการบังคับจิตให้รู้เท่าทันซึ่งเป็นอารมณ์รู้เท่าทันความคิดตนแล้วปล่อยวางได้ ซึ่งจะเป็นความรู้สึกที่รู้ได้ด้วยตนเองว่ามีจิตรู้เท่าทันนามธรรมและรูปธรรมว่าเป็นไตรลักษณ์ ขณะที่เราเข้าไปแจ้งในพระนิพพานอารมณ์นั้น เมื่อนั้นมรรคมีองค์ 8 ก็จะทำให้เราเจริญไปด้วยปัญญา (อย่าทำวิปัสสนามากเกินไป หรือน้อยไป ควรเดินทางสายกลาง)
คำถามอะไรคือความไม่รู้
ตอบว่า การเห็นว่าร่างกายและโลกนี้น่าอยู่เป็นสุขนี่แหละคือ ความไม่รู้ความจริงของชีวิตว่า ชีวิตร่างกายเต็มไปด้วยความเหนื่อยยาก ต้องทุกข์ทนมีภาระสารพัด จะต้องเอา
ใจใส่ดูแล
คำถามที่ว่า ใครบ้างหนอที่มีอวิชชา
ตอบว่า ใครก็ตามที่มีความพอใจในความเป็นอยู่ของชีวิต และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลก มีความพอใจในลาภยศ สรรเสริญ เจริญสุขในทรัพย์สมบัติของโลก มีความรักใคร่ชีวิตตนเอง ครอบครัว อุปาทาน หลงทึกทักเอาว่าเป็นชื่อของเรา ตัวเรา ทรัพย์สมบัติของเราจริง มีจิตผูกพันในชีวิต สิ่งของรอบข้างเป็นของเราตลอดกาล ชื่อว่าท่านมีฉันทะ พอใจ ราคะ มีความกำหนัดยินดีในสมบัติของท่านเรียกว่าความไม่รู้ หรือความไม่ฉลาด
คำถามสุญญตาหมายถึงอะไร
ตอบว่า สุญญตา หมายถึงความไม่มีอะไรเหลือเลย เป็นศูนย์ ไม่มีค่าสูญสิ้นหมด สุญญตาเป็นธรรมชาติ เกิดขึ้นเอง แล้วเปลี่ยนแปลงไปแล้ว สลายไปในที่สุด ขันธ์ 5 รูปร่างกาย เวทนา ความรู้สึกทุกข์ สังขาร ความคิดทั้งหลาย สัญญา ความจำทั้งหลาย วิญญาณ ความรู้สึกระบบประสาททั้งหลายในกาย คือ สุญญตา ไม่มีอะไรเหลือ แตกสลายหายไปเป็นสูญ พระอรหันต์ท่านสามารถแยกจิตบริสุทธิ์ ออกจากขันธ์ 5 ได้เด็ดขาด ขันธ์ 5 นั้นก็สูญสลายไปจากจิตบริสุทธิ์ของท่าน พร้อมด้วยตัณหา ความอยาก อุปาทาน ความยึดหมายว่า มีตัวตนเป็นนั่นเป็นนี่(อัตตา) กิเลส ความเศร้าหมองของจิต อวิชชา ความไม่ฉลาดรอบรู้ธรรมชาติของสุญญตา อกุศลกรรม การผิดศีล ดังนี้สมบัติของขันธ์ 5 คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา อกุศล ก็พลอยหายไป จิตเป็นพุทธะ สะอาด สว่างฉลาดเป็นผู้รู้เป็นผู้เบิกบานตลอดกาลได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงพระนิพพาน
วิธีฝึกจิต
จิตผู้รู้ไม่ใช่ตัวตน จิตไม่มีตัวตน เป็นอนัตตาเป็นจิตไม่เที่ยงแต่จิตนั้นมารวมกับใจได้โดยกำหนดรู้รูปนามแล้วดับรูปนามได้(ดับคือ พิจารณาว่าเป็นไตรลักษณ์แล้วเข้าสู่การดูความรู้สึกของตนเองว่าไม่ยึดติดสังขาร(ความคิด)(วิญญาณคือดับตัวรู้ได้)ดับสัญญา( จำได้ว่าต้องเป็นอย่างนี้) ดับเวทนาได้ว่าละเวทนาปล่อยวางเวทนาถึงที่สุดแล้ว(ไม่ไปยินดี หรือติดใจในเวทนา) นั่นจะเรียกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธหรือนิพพานนั่นเอง คือจิตดับสูญจากการยึดติดว่าเป็นตัวตนทั้งปวง ก็คือว่ารู้เท่าทันความรู้สึกนิพพานแล้วปล่อยวางนั่นเองไม่ยึดติดตัวรู้ว่าเป็นตัวตนเป็นเขาเป็นเรานั่นเองเพราะตัวตนไม่มีอะไร จิตเราไม่ได้ปรุงแต่งมีเจตนาหวังผลทำเพื่อตัวเองแต่จิตไม่มีตัวตนเวลาคิดพูดทำอะไรก็เป็นเพียงกริยา ไม่ยึดติดรูปนามว่าเป็นตัวตนว่าตัวตนได้คิดพูดทำอะไรสักเเต่รู้ว่าจิตเราคิดแล้วปล่อยวางไม่ไปยึดติดเอาอารมณ์วิปัสสนาและสมาธิและฌานมาเป็นตัวตนเป็นของเราคือละความสงบให้ได้ถึงขั้นละเอียดคือปล่อยวาง ละรู้นามสงบ นามอุเบกขา นามฮธิโมก นามญาณ นามปัสสัทธิ นามอุปัฏฐาน นามปัคคาหะนามรู้จากรูปฌานและอรูปฌานและ(นามนิกันติ คือไม่ไปติดใจและสำคัญตนว่ารู้ถึงแล้วในนามเหล่านี้) คือไม่ไปหลงสมมติในรูปและนามเหล่านี้ว่าเป็นตัวตนเป็นเขาเป็นเรานั่นเอง
-การที่เราพิจารณาข้อเสียตนเองทุกวัน ฝึกอุบายละความหงุดหงิดใจให้หายไปจนรู้เท่าทันอารมณ์ตนเองว่าเรามีอารมณ์รู้เท่าทันกิเลสที่ผ่านเข้ามาในอารมณ์เราจะทำให้เราไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม 8 ไม่ยินดี ยินร้ายทุกข์สุขเพราะจิตเรารวมใจตลอดเวลา ซึ่งอารมณ์นี้จะทำให้เรามีความรู้สึกที่ปล่อยวางจากอารมณ์ 6 จะทำให้สามารถรู้เท่าทันคำว่า ต้องการ ไม่ต้องการได้ สิ่งนี้ไม่ใช่ของเราได้ รู้เท่าทันความคิดตนแล้วปล่อยวาง(ไม่ยึดติดความคิดตน)คือ รู้ว่าความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความคิดของตนเป็นไตรลักษณ์และอย่าไปหวังอะไรในอนาคตให้มากพึงคิดว่ามีอุปสรรคเสมอคิดว่าทำวันนี้ให้ดีที่สุด เมื่อจำเหตุการณ์ในอดีตได้ให้เชื่อในสิ่งที่เข้าหลักไตรลักษณ์เกิดดับเสมอ หรือรู้ธรรมะให้รู้เท่าทันความจำตนและเมื่อรู้ทันธรรมะแล้วเข้าใจอารมณ์ตนเองว่าเป็นเช่นนั้นให้ปล่อยวาง
-นึกเมตตาผู้ด้อยกว่าเรา นึกอนุโมทนาผู้ที่เท่าเทียมเราและสูงกว่าเรา(อย่าเอาตนเองไปเปรียบเทียบกับใครว่าเท่าเขา ต่ำกว่าเขาจะทำให้เกิดอคติ และรู้เท่าทันการพอใจในบุคคลนั้นและไม่พอใจในบุคคลที่เราไม่ชอบ จะทำให้เรานั้นมีอารมณ์อุเบกขา หลังจากนั้นให้ปล่อยวางจะทำให้รู้เท่าทันเวทนาขันธ์ เช่น ความปิติ ความสุข ความสงบ อุเบกขา เป็นเช่นนั้นเองจะทำให้เรารู้ว่ารูปธรรม นามธรรมนั้นเป็นไตรลักษณ์ ไม่หลงสมมติกับการที่เป็นคนดี ไม่ดี โง่ ฉลาด
บทสวดมนต์อย่างย่อๆ
บทอิติปิโสย่อ อิสวาสุ
บทบูชาหลวงปู่ทวด นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา สามจบ
บทบูชาพระพุทธเจ้า ห้าองค์ นะโมพุทธายะ 3 จบ
บทสวดชินบัญชรย่อ ชินะปัญชะระปะริตตังมังรักขะตุสัพพะทา
บทสวดถอนคุณไสย ขับไล่ภูตผี คุ้มครองเวลาขับรถ สัมปะติจฉามิ
(verygood) (verygood) (verygood) (verygood)
หน้าแรกเวบมีประกาศน้ำมนต์สองล้านหลอดพวกเรามาช่วยกันปลุกเสกดังคาถาสุดยอดอันนี้ครับ
ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย lotte, 31 กรกฎาคม 2007.
-
พวกเราชาวพลังจิตอาราธนาคุณพระพุทธ ธรรม พระสงฆ์ ปลุกเสกน้ำมนต์สองล้านหลอดด้วยคาถาดังต่อไปนี้ครับ แล้วอธิษฐานสิ่งที่ต้องการให้ไทยเป็นอย่างไรในทางที่ดีครับ
พระพุทธเจ้า
ทานะปาระมี สีละปาระมี เนกขัมมะปาระมี ปัญญาปาระมี วิริยะปาระมี ขันติปาระมี สัจจะปาระมี อธิษฐานะปาระมี เมตตาปาระมี อุเบกขาปาระมี
ทานะอุปปะปาระมี สีละอุปปะปาระมี เนกขัมมะอุปปะปาระมี ปัญญาอุปปะปาระมี วิริยะอุปปะปาระมี ขันติอุปปะปาระมี สัจจะอุปปะปาระมี อธิษฐานะอุปปะปาระมี เมตตาอุปปะปาระมี อุเบกขาอุปปะปาระมี
ทานะปะระมัตถะปาระมี สีละปะระมัตถะปาระมี เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี ปัญญาปะระมัตถะปาระมี วิริยะปะระมัตถะปาระมี ขันติปะระมัตถะปาระมี สัจจะปะระมัตถะปาระมี อธิษฐานะปะระมัตถะปาระมี เมตตาปะระมัตถะปาระมี อุเบกขาปะระมัตถะปาระมี
บารมี 30 ทัศ
อานิสงค์ : สารพัดนึก
รวมคาถาอื่น ๆ
คาถาเมตตามหานิยม
นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ
(ใช้ภาวนาคาถาก่อนออกจากบ้าน จะทำให้คนที่พบเจอมีความรู้สึกที่ดี การติดต่อใดๆก็จะราบรื่นไม่ติดขัด) หรือของอีกสำนักหนึ่งว่าสั้นๆ ดังนี้
เมตตา คุณะณัง อะระหัง เมตตา
คาถาเจ้านายเมตตา
ปัญจะมังสิระสังขาตัง นาหาย นะกาโร โหติ สัมภะโว อิสวาสุ
(ให้สวดท่องภาวนา ๓ จบ ก่อนออกจากบ้าน แล้วเจ้านายจะเมตตา)
คาถาขุนแผน
เอหิมะมะ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ
(ใช้ท่องกับของใช้ส่วนตัวอะไรก็ได้แล้วจะทำให้มีเสน่ห์เป็นที่หลงไหล)
คาถาเอ็นดู
วิชชาจะระณะสัมปันโน อิติปิโสภะคะวา
ปิยะเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะ มุตตะโม
ปิโยนาคะ สุปัณณานัง
ปิณินทะริยัง นะมามิหัง
นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู
(ให้ท่องคาถาก่อนไปพบผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อให้เกิดความรักใคร่เอ็นดู)
คาถาคนนิยม
เอหิสาลิกา ยังยัง พุทธัง อาคัจฉาหิ สาลิกาถิง กะระณัง ตาวังคาวา
เอหิมะมะ สุวะโปตะโก อะยัง ราชา สุวัณณะวัณณา สาลิกานัง มะโหสะโต ปิยังมะมะ
(ใช้สวดภาวนาเมื่อต้องการติดต่อเจรจาในเรื่องสำคัญ ค้าขาย เพื่อให้คนนิยมชมชอบ)
คาถาสมัครงาน
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะริรัญ ชีวิตัญวิทัง
นะโมมิตตามนุสสาจะ นะเมตตา โมกรุณา
(ใช้ท่องก่อนออกจากบ้านไปสัมภาษณ์หรือสมัครงานจะทำให้มีเสน่ห์เป็นที่ประทับใจ)
คาถาค้าขายดี
โอมอิติพุททัตสะ สุวันนัง วารัชชะคัง วามะนีวาวัตตัง วาพัพพะยัน ละเอหิคาคัชวันติ
(ให้เอาใบไม้แช่น้ำใส่ขันไว้แล้วสวดภาวนา เลร็จแล้วนำน้ำไปประพรมให้ทั่วร้าน จะทำให้ขายคล่อง)
หรืออีกคาถาหนึ่งก็ว่ากันว่าทำให้ทำมาค้าขึ้นเหมือนกันคือ
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ อิติปิโสภะคะวา พุทโธภะคะวา อิติปิโสภะคะวา พุทโธภะคะวา
และอีกคาถาหนึ่งสำหรับพ่อค้า แม่ค้าที่นิยมเสกเป่า ๓ จบ กับสินค้าเหมือนกันคือ
พุทธัง พะหุชะนานัง เอหิจิตตัง เอหิมะนุสสานัง เอหิลาภัง เอหิเมตตา
ชมภูทีเป มะนุสสานัง อิตถิโย ปุริโส จิตตัง พันธังเอหิ
คาถาการเจรจา
นะโมพุทธายะ มะอะอุ ยะธาพุทโมนะ อุอะอะ อิสวาสุ สัพพะทัสสะ อะสังวิสุ โลปุสะพุภะ
(ใช้ภาวนากับน้ำล้างหน้าตอนเช้าก่อนออกจากบ้านไปติดต่อเจรจาเรื่องสำคัญ จะทำให้สำเร็จในสิ่งที่หวังไว้)
คาถาอัญเชิญพระเครื่อง
พุทธัง อาราธนานัง รักษา ธัมมัง อารธนานัง รักษา สังฆัง อาราธนานัง รักษา
(ใช้สวดภาวนากับพระเครื่องก่อนออกจากบ้าน พระจะคุ้มครองเป็นสิริมงคลกับตัวเอง)
คาถาอุปถัมภ์
อิติปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญมาคะตา อิติโพธิ มนุปปัตโต อิติปิโส จะตมะโน
นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู ยะหันตวา ธามัวเมา พุทพาเอา นะโมพุทธายะ
(ใช้ท่องก่อนออกจากบ้าน จะทำให้เจ้านายสงสาร ช่วยเหลืออุปถ้มภ์ดี)
คาถาใจอ่อน
ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะอตใจ นะกาโร โหติ สัมภะโว
ตรีนิกัตวานะ นะ การัง ปัญจะสัมภะวัง
(ใช้ท่องก่อนที่จะพบเจรจากับคนที่เป็นเจ้าหนี้หรือใครก็ตาม จะทำให้ได้รับการผ่อนปรน ใจอ่อนได้ทุกที)
คาถาผูกใจคน
โอมนะโมพุทธะ นะ มะ อะ อุ เอหิชัยยะ เอหิสัพเพชะนา พะหูชะนา เอหิ
(ใช้สวดเมื่อต้องการให้คนทั่วไปรักใคร่ยินดี ใช้เสกกับแป้งหรือน้ำหอมก็ได้)
คาถามหาเสน่ห์
จันโทอะภกันตะโร
ปิติ ปิโย เทวะมนุสสานัง
อิตภิโยปุริ โส
มะ อะ อุ อุ มะ อะ อิสวาสุ อิกะวิติ
(ให้ภาวนาคาถานี้ ๓ จบก่อนออกไปพบคน จะทำให้คนที่ต้องไปพบเกิดความรักใคร่)
หมวดป้องกันภัยต่างๆ
คาถาป้องกันผี
นะโมพุทธายะ มะพะ ทะนะ ภะ กะ สะ จะ
สัพเพทวาปีสาเจวะ อาฬะวะกาทะโยปิยะ
ขัคคัง ตาละปัตตัง ทิสวา สัพเพยักขา
ปะลายันติ สักกัสสะ วะชิราวุธัง
เวสสุวัณณัสสะ คะธาวุธัง
อะฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง
ยะมะนัสสะ นะยะนาวุธัง
อิเมทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ
(ใช้สวดภาวนาเมื่อเกิดความกลัวผีขึ้นมา วิญญาณจะไม่มารบกวนเข้าใกล้)
คาถาป้องกันผีพราย
ตานังเลนัง สัพพะปาณีนัง เลนังตานัง สัพพะปาณีนัง
(ใช้สวดภาวนาเพื่อให้ปลอดภัยจากการรบกวนของวิญญาณ ภูตผีต่างๆ หรือภาวนากับน้ำนำไปพรมกับคนที่คิดว่าจะถูกวิญญาณสิงสู่)
คาถาป้องกันงู
ปะถะมังพันธุ กังชาตัง ทุติยังทัณฑะ เมวะจะ
ตะติยังเภทะกัญเจวะ จะตุตถังอังกุ สัมภะวัง
ปัญจะมังสิระสังชาตัง นะงู นะกาโร โหติสัมภะโว
(ใช้ภาวนาเมื่อต้องเข้าป่า ที่รก หรือแม้แต่เมื่อขณะพบเจองู จะทำให้คุณปลอดภัย)
คาถากันสุนัข
นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ อิสวาสุ อุอะมะ
(ใช้ท่องแล้วเป่าเบาๆ เวลาเจอสุนัขดุ)
คาถาป้องกันตัว
ปัญจะมัง สิระสังชาตัง นะกาโร โหติ สัมภะโว
พินธุ ทัณฑะ เภทะ อังกุ สิริ นะโมพุทธายะ
(ใช้ท่องภาวนาเป่าใส่มือ แล้วตบมือดังๆ จะทำให้ปลอดภัยจากอันตรายไม่ว่าคนหรือสัตว์)
คาถาคงกระพัน
อะสังวิสุ โลปุสะภุพะ
สังวิทาปุกะยะปะ นะโมพุทธายะ มะอะอุ อะระหัง
(ใช้ท่องกับพระเครื่องและวัตถุมงคลและนำติดตัวไว้เพื่อป้องกันตัว คุ้มครอง)
คาถาป้องกันภัยพิบัติ
ระตะนัตตะ ยังปุเชมิ คุณะวันตา นะราปิจะ
เตโสตตะมา นุภาเวนะ ปุญญานิ ปะกะตานิเม
(ใช้สวดภาวนาก่อนเดินทางหรือกระทำการใดๆที่อาจเกิดอันตราย จะช่วยให้ปลอดภัยจากภัยพิบัติต่างๆ)
คาถาสกัดโจรผู้ร้าย
เจโรอัตนะรถา ยิควา ภูมิยัง
จักขุมัง ปรมานู ภัควโต อิทธิยา อัตตะโน
สิริเร มังสัง จักขะ อวสุสตุ
อวะสุสเต สริเว มังสัง โลหัตตัง
(ใช้ท่องเพื่อให้ปลอดจากโจรผู้ร้าย)
คาถาคับขัน
พุทโธเมสะระณัง เลนัง
ตาณังชีวิตัง ปะริยันตะ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
นะปิดหู โมปิดตา พุทมิเห็น
ธาดลซ่อนไว้ ยะหายไป
(ใช้ท่องบริกรรมเมื่อตกอยู่ในยามคับขัน ศัตรูหรือคนที่ไม่ประสงค์ดีจะมองไม่เห็น)
คาถาหนังเหนียว
สุกิตติมา สุภาจาโร สุสีละวา สุปากะโต อัสสะสิมา วะเจธะโร เกสะ โรวา อะสัมภิโต
(ใช้สวดภาวนาคาถานี้กับน้ำมันทาถูร่างกายจะทำให้อาการฟกช้ำหายเร็ว หรือก่อนออกศึกใดๆ จะทำให้หนังเหนียวไม่บาดเจ็บง่าย)
คาถาต่อสู้
นะกาโรปะถะมังฌานัง
โมกาโรทุติยาฌานัง
พุทกาโร ตะติยฌานัง
ธากาโร จะตุตถังฌานัง
ยะกาโร ปัญจะมังฌานัง
ปัญจะอักขระรานิ ชาตานิ นะโมพุทธายะ ลักขะนัง
(ใช้สวดภาวนาเมื่อต้องเผชิญหน้าศัตรูหรือกำลังจะต้องต่อสู้ เพื่อให้พ้นจากอันตราย)
คาถารอด
นะรา นะระ หิตังเทวัง นะระเทเรหิปูชิตัง นะรานัง กะมะปังเกหิ นะมามิสุคะตังชินัง
(ใช้สวดภาวนาเมื่อสถานการณ์ไม่ค่อยดีเช่น รู้สึกว่ามีคนสะกดรอยตาม ถูกปองร้าย อันตรายกำลังเข้าใกล้ก็ให้ท่องคาถานี้เพื่อให้รอดพ้นอันตรายได้อย่างไม่คาดฝัน)
คาถากำบัง
ปะถะมังพินธุกังชาตัง ตรีนิกัตวา นะนะ การังปัญจะสัมภะวัง
นะรา นะระ หิตังเทวัง นะระ เทเวหิปูชิตัง นะรานัง กามะปิเกหิ นะมามิสุคะตังชินัง
(ใช้สวดภาวนาเพื่อหลบศัตรู หรือคนที่กำลังคิดปองร้าย ทำให้ฝ่ายตรงข้ามมองไม่เห็นหรือคลาดสายตาไปได้)
คาถาแคล้วคลาด
พุทธาอะนุนามะริยาสุขังเขยเย
พุทธาอะนินาสุหะลาลิสังเขยเย
พุทธาริโยเคมะกุลักขะกัปปะเก
วันทามิเตสุระนะรักกะเมสะเม
(ให้ท่องคาถานี้ ๓ จบเวลาต้องการให้แคล้วคลาดในสิ่งใดๆที่อาจเป็นอันตราย หรือเสี่ยง เช่นก่อนเดินทางไกลหรือขึ้นเครื่องบิน)
คาถากันปืน
นะอุ เออัด อุทธังพะลังเสยยัด
อะอัดนะ นัดมัดอัด อุทธะอุตตัมปิ
อุตตะรัง อุสุอัสสะปะปิ ภะคะวา
อิติปิผิดนะอุทธัง อัทโธ โมโทอัดธังอุด
พุทอุทธัง อัทโธ ชาโธอุทธัง อัดยะมิให้ออก
นะผิดกาโรโหติ สัมภะโว
(ใช้สวดภาวนาตอนที่สถานการณ์คับขัน เพื่อให้แคล้วคลาดจากอาวุธปืน)
คาถาแก้ศัตรู
พุทธัง บังจักขุ ปะติลิยะติสูญญัง
จิตตะวิภัตติ สังชาตัง
อะโหสะกัง มหาสูญญัง ปรมัตถะสูญญัง
ธัมมัง บังจักขุ ปะติลิยะ ติสูญญัง
จิตตะวิภัตติ สังชาตัง
อะโหสะกัง มหาสูญญัง ปรมัตถะสูญญัง
สังฆัง บังจักขุ ปะติลิยะ ติสูญญัง
จิตตะวิภัตติ สังชาตัง
อะโหสะกัง มหาสูญญัง ปรมัตถะสูญญัง
(ใช้ภาวนาเวลาที่กำลังถูกคนปองร้าย ให้ท่องคาถากับมือแล้วเอามือนั้นมาแตะที่หน้าผาก ว่ากันว่าจะทำให้รอดพ้นไปได้)
คาถาข่มศัตรู
ตะโต โพธิสัตโต ราชะสิงโหวะมหิทธิโก
อะระหัง ตะมัตทังปะกาเสนโต
ราชะสิงโห สัตถาอาหะ นะโมพุทธายะ นะมามิสุคะตังชินัง
(ใช้บริกรรมคาถาเมื่อจะต้องไปเจอศัตรู จะทำให้ศัตรูเกรงกลัว - ท่อง ๓ จบแล้วกระทืบเท้าดังๆ ก่อนออกจากบ้านเหมือนกับพิธีตัดไม้ข่มนาม)
คาถาขับไล่สิ่งชั่วร้าย
มะโทรัง อะตะระโร เวสะวะโน นะหากปิ ปิสาคะตาวาโหมิ
มหายักขะ เทพะอนุตะรัง เทพะดา เทพะเอรักขัง ยังยังอิติ เวสะวะนัน
ภูตัง มหาลักชามะนง มะภูอารักขะ นะพุททิมะมัตตะนัง กาลปะติทิศา
สัพเพยักขา ปะลายัตตะนิ
(ใช้ท่องกับน้ำบริสุทธิ์แล้วนำมาประพรมให้ทั่วสถานที่นั้นๆ จะช่วยแก้อาถรรพ์ต่างๆ ณ ที่นั้นได้)
คาถาแก้พิษ
อะสัง วิสุโล ปุสะพุภะ สะทะวิปิ ปะสะอุ มะ อะ อุ อาปามะจุปะ ทีมะสัง อังขุ นะโมพุทธายะ
(ใช้ภาวนาคาถานี้กับเครื่องสมุนไพร <ขิง พลู ไพลตำรวมกัน> แล้วทาบริเวณที่เป็นผื่นแดงโดยไม่รู้สาเหตุจะทำให้บรรเทาได้)
คาถาแก้อาคม
นะโมพุทธายะ
นะรา นะระ รัตตัง ญานัง
นะรา นะระ รัตตัง หิตัง
นะรา นะระ รัตตังเขมัง วิปัสสิตัง นะมามิหัง
(ใช้สวดภาวนากับน้ำแล้วนำมาดื่มและอาบ ถ้าหากรู้สึกว่าร่างกายจิดใจไม่เป็นปรกติ กระวนกระวายวซึ่งอาจจะถูกของ)
คาถากันไฟและขโมย
ปัญจะมาเล ชิเนนาโถ ปัตโตสัมโพ ธิมตตะมัง อรหังพุทโธ อิติปิโสภะคะวา
(ใช้สวดภาวนากับทราย ๗ จบด้วยกัน แล้วนำไปโปรยรอบบ้าน จะปลอดจากอัคคีภัยและขโมยโจร)
คาถาพืชผล
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อภิวัน ทิยะ ปูเชตะวา
เอเตนะ จาปิ สัจเจนะ
ปวุตตา พืชชาติโย
ปัพพัณณา จาปรัณณาจะ
วิรูหันตุ
(ใช้ท่องภาวนาขณะที่ปลูกต้นไม้ หว่านพืชผล เพื่อให้เติบโตงอกงามเร็วและปลอดจากแมลงหรือภัยอื่นๆ)
คาถารักษาไข้
โพชฌังโค สติสังขาโต ธัมมานัง วิจโย ตถา วิริยัมปิติ บัสสัทธิ
โพชฌังคา จ ตถา ปเร สมาธุ เปกขโพชฌังคา สัตเต เต สัพพทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวนา พหูลีกะตา สังวัตตันติ อภิญญายะ นิพพานะยะ จะโพธิยา
(ใช้ภาวนาเมื่อเวลาที่ไม่สบายกับยาที่ใช้ทานอยู่จะช่วยให้หายป่วย หายเจ็บไข้ได้เร็วขึ้น)
คาถาชนะมาร
นะโม พุทธายะ โมคคัลลานัญ จะมหาเถโร อิทธิมันโต อานุภาเวนะ เชยยะสิทธิเม
(ใช้สวดภาวนาเพื่อให้เอาชนะจากคนไม่ดีได้)
คาถาโชคลาภ ๑
นะโมพุทธายะ นะมะ พะทะ จะ ภะ กะ สะ นะ อุ อุ นะ
เตชะสุเนนะ มะภูจะนาวิเวอิติ นะยะปะรังยุตเต
(ใช้ภาวนากับกระเป๋าสตางค์ จะทำให้ไม่ขัดสน)
คาถาโชคลาภ ๒
นะโมพุทธายะ สัพพะสิเนหา จะปูชิโต สัพพะโกรธาวินาสสันตุ
อะเสสะโต เมตตากรุณายัง ทะยะวิสา โสปิยามะนา โปเม สัพพะโลกัสสมิง
(ใช้ภาวนาเพื่อให้เกิดโชคลาภ อาจจะใช้เสกกับน้ำแล้วใช้ล้างหน้าก็ได้)
คาถาโชคลาภ ๓
โพธิ มะหิสะกะ อิถิพุนะ อิถิสัตโต อิถีวาโย
เอหิ มะ มะ นะกาโร โหติ สัมภะโว
(เป็นอีกคาถาหนึ่งที่ใช้สวดภาวนาเพื่อให้เกิดโชคลาภแบบฟลุ้คๆขึ้นมาได้ เอามาเสกกับน้ำแล้วแตะหน้าผาก)
คาถาร่ำรวย
ธะนัง โภคัง ทุสะ มะนิ นะนัง โภคัง ทุสะ มะนิ อุมิ อะมิ มะหิสุตัง สนะพุทธัง
อะ สุ นะ อะ นะ มะ พะ ทะ จะ ภะ กะ สะ
(ใช้ภาวนากับน้ำแล้วนำเอามาพรมให้ทั่วร้าน หรือบ้านจะนำทาซึ่งเงินทองไม่ขาดสาย) -
การท่องคาถาหลายๆบทจะทำให้กระแสจิตหรือคลื่นความถี่แตกต่างและขัดแย้งกันรึเปล่าครับ ผมว่าน่าจะใช้วิธีมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิร่วมกัน แบบนั้นคลื่นกระแสจิตก็จะเป็นลักษณะเดียวกันรวมกันเป็นหนึ่งก่อเกิดเป็นพลังงานมหาศาลไม่ขัดแย้งกันเอง และด้วยอานิสงส์ของการทำกรรมฐานการนั่งสมาธิก็จะส่งผลให้อะไรๆดีขึ้นเองน่ะครับ (สมัยพุทธกาลเองก็ไม่ค่อยมีการสวดมนต์เท่าไหร่ส่วนใหญ่พระท่านก็จะนั่งสมาธิเจริญกรรมฐานกัน ที่ฝึกกันมากก็คือ กายคตาสติ ครับ)
-
เข้าสมาธิ แล้วจึงค่อย ภาวนาพระคาถา หมุนจักระ (ธรรมจักร)จากซ้ายไปขวาเวียนตามเข็มนาฬิกา