หน้า 4 #69 เรซิ่นที่ไม่เหลืองถึง 25 ปี

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 15 ตุลาคม 2017.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    หน้า 15 #298 แก้วกับการทำลูกตาขาวลูกตาดำ อวัยวะของมนุษย์
    หน้า13#257ขึ้นไป เทคนิคการใช้ไฟเลียพระแก้วให้ผิวสวย เรียบ

    หน้า12#221ขึ้นไป บันทึกเคล็ดลับเทคนิคการอบพระพุทธรูปหลอมจากทรายเป็นแก้ว สำคัญที่ทราย ฯลฯ

    สูตรผสมแก้วคริสตัลพระแก้วองค์ครู พระแก้ว9นิ้ว หน้า 3 #42&43

    001a-jpg.jpg
    กระทู้นี้เคยชื่อ : นักหลอมแก้วที่ดีควรมีจินตนาการถึงอณูแก้วอย่างไร หน้า 9 #174 ขึ้นไป

    สูตรผสมแก้วคริสตัลพระแก้วองค์ครู หน้า 3 #42 ขึ้นไป 30%PbO

    ค่าสร้างพระแก้วหลอมจากทรายทะเลหน้าตัก 5 นิ้วองค์ละแค่ 300.- บาท + - หน้า 9 #168.

    ชี้ทางรอดของพระแก้วไทย หน้า 8 #157 ขึ้นไป.

    ปิดตำนานพระพุทธ ๒๕ ศตวรรษสายสำคัญแล้ว หน้า 5 #99 ขึ้นไป.

    การสร้างพระพุทธรูปจากแก้วคริสตัลหน้าตัก 1 เมตร.

    สร้างพระแก้วหน้าตักเป็นเมตรด้วยเรซิ่นทนแสงแดดไม่เหลืองหน้า 3#55 ขึ้นไป.

    เรซิ่นใสเท่าแก้วคริสตัลและไม่เหลืองนานกว่า25ปี HXTAL NYL-1 Page4#69.

    สูตรผสมแก้วคริสตัลพระแก้วองค์ครู หน้า 3 #42 ขึ้นไป.

    ปิดตำนานไม่สามารถสร้างพระแก้วกลวงเป่าด้วยปอดได้แล้ว หน้า 5 #99 ขึ้นไป

    การสร้างพระพุทธรูปจากแก้วคริสตัลตันหน้าตัก 9 นิ้วสำเร็จตั้งแต่มีประเทศไทยมาถึงปัจจุบัน ( สร้างสำเร็จ 2009 ถึงปัจจุบัน ต.ค. 2017 ) [ พ.ศ. 2560 ] ( ยังไม่มีคนไทยคนใดสร้างได้อีกเลย )

    ทุกครั้งของการสร้างของผมและลูกน้องช่างแก้วผม เป็นการสร้างเพื่อเป็นพุทธบูชาเท่านั้น ไม่ทำเป็นอาชีพ ไม่ทำเป็นการค้า เพราะผมรังเกียจที่สุดคือทำเป็นการค้า
    0001-jpg.jpg

    0000-jpg.jpg

    น้อมถวายหลวงปู่สรวง สิริปุญโญที่มาพำนักที่วัดสิริกมลาวาส วัดใหม่เสนาที่กรุงเทพฯ ก่อนการละสังขารไม่นานนัก

    พระแก้วปางคันธารราฐหน้าตัก 9 นิ้วชนิดกลวงเป่าด้วยปอดสร้างสำเร็จเพียงครั้งเดียวจำนวน 500 องค์ ชนิดหยอดเทในแม่พิมพ์เหล็ก 1 องค์สร้างสำเร็จเพียงครั้งเดียว ชนิดแก้วคริสตัลตันหล่อสร้างสำเร็จหลายครั้งหลายหนจำนวนประมาณ 12 องค์ ทั้งหมดผมและลูกน้องช่างแก้วน้อมถวายไว้ในพระพุทธศาสนาทั้งหมด ( มีที่แจกจ่ายให้ฟรีแก่บุคคลธรรมดาด้วยจำนวนหนึ่ง )
    001a-jpg.jpg

    02-jpg.jpg
    ผมลองคิดถึงการสร้างพระพุทธรูปจากแก้วคริสตัลด้วยการหลอมด้วยความร้อนสูงมาก คือประมาณ 1,480 C โดยระยะเวลาการหลอมอย่างเดียวตามสไตล์ของ Lalique คือประมาณ 48 ชั่วโมง ก่อนการเทน้ำแก้วคริสตัลลงแม่พิมพ์ เพื่อให้พระพุทธรูปมีแก้วใส มีฟองขนาดเล็กมาก ๆ และจำนวนฟองน้อยมาก

    กระทู้นี้เปิดให้เข้ามาทดสอบความเข้าใจในเทคนิคต่าง ๆ ด้วยวิชาแก้วคริสตัลชนิดหล่อตันนะครับ ไม่ใช่ชนิดหล่อกลวงเหมือนงานโลหะทั่วไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0001-jpg.jpg
      0001-jpg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.6 KB
      เปิดดู:
      275
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2018
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0001-jpg.jpg
    0000.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0001.jpg
      0001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.6 KB
      เปิดดู:
      143
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2017
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คลิกเพื่อขยายรูป
    canon001a960 (2).jpg
    ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงชิ้นงานองค์ครู ที่หลอมจากแก้วคริสตัลตัน หน้าตักประมาณ 9 นิ้วที่หล่อสำเร็จ แทบไม่มีฟองอากาศและแก้วมีความใสในองค์พระได้เต็มที่ที่สุด แม้ชิ้นงานของฝรั่งเองก็อาจได้เพียงเท่าองค์นี้เท่านั้น ไม่ได้เหนือไปกว่าองค์นี้เลย
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    IMGP7115.JPG
    แก้วคริสตัลตัน มีเนื้อคริสตัลประกอบด้วยตะกั่วอ๊อกไซด์ในปริมาณมาก ถึงขนาดผู้เชี่ยวชาญสามารถเคาะหรือดีดเนื้อแก้วให้เกิดเสียงดังคล้ายเสียงระฆัง กังวาลได้นาน
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ขอเชิญแสดงความคิดเห็นนะครับ ลองทดสอบดูว่า หากท่านเป็นผู้ที่ต้องตัดสินใจ ท่านจะตัดสินใจในเชิงเทคนิคอย่างไร ? และผลจากการตัดสินใจของท่านจะไปในทางที่ถูกต้อง ผลที่ออกมาก็จะไม่เสียหาย แต่ถ้าผลการตัดสินใจผิดพลาด ผลที่ออกมาก็คือความเสียหาย

    ขณะนี้ท่านลองตัดสินใจสิครับว่า ในเชิงช่างเชิงเทคนิคแล้ว พระแก้วหน้าตัก 1 เมตรองค์นี้ เราต้องใช้สูตรขบวนการอบลดอุณหภูมิสูตรใด โดยการเลือกความหนาของแก้ว ท่านจะเลือกว่า ความหนาขององค์พระตรงบริเวณเนื้อแก้วตัน ๆ นั้น ต้องถือว่า เราจะใช้สูตรใด เลือกได้เพียงสูตรเดียวครับ
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ถามว่า ทำไมจึงต้องเลือกสูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว ก็เพราะว่า ขบวนการอบลดอุณหภูมิของชิ้นงานแก้วนั้น เราต้องเลือกมาใช้กับชิ้นงานในเตาอบเพียงอย่างเดียวนั่นเอง

    สูตรลดอุณหภูมิที่ถูกต้องแผ่นเต็ม 03.jpg
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สูตรลดอุณหภูมิด้านบนนี้ เป็นสูตรที่ถือว่าถูกต้องที่สุดสูตรหนึ่ง มีความเคร่งครัดแค่พอสมควร ยังไม่จัดว่าเคร่งครัดสูงสุด

    หากเราตีว่าชิ้นงานของเรานี้ มีความหนาประมาณ 10 นิ้ว เราต้องใช้เวลาในการอบลดอุณหภูมินานถึงประมาณ 50 วันทีเดียว นี่ยังไม่นับเวลาการหลอมอีกประมาณ 50 ชั่วโมง และไม่นับว่าหากไฟฟ้าดับ หรือมีอุปสรรคใด ๆ เข้ามา เพราะหากมีอุบัติเหตุเช่นไฟฟ้าดับ หรือเปิดฝาเตาเพราะเหตุใดที่ไม่สมควร และอุณหภูมิแปรผันไปเพียง 0.5 C เราต้องเริ่มขบวนการใหม่ ส่วนการเริ่มต้นใหม่นี้นั้น ยังมีทริคอีกต่างหาก มากมายหลายแง่หลายมุมของช่วงระยะเวลาและช่วงอุณหภูมิที่ลดลง จะต้องตัดสินใจอีกทีว่า จะไปเริ่มต้นใหม่ที่ตรงไหน หรือเริ่มใหม่ทั้งหมดอีก 50 วัน
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%A1-03-jpg.jpg
    สูตรนี้เหมาะสำหรับช่างแก้วทุกชนิดทุกระบบ แต่อย่ายึดถือว่าเป็นสูตรที่ถูกต้องสำหรับช่างแก้วทุกชนิดนะครับ ขึ้นอยู่กับชนิดของแก้ว เปอร์เซ็นต์ของทรายแก้วในเนื้อแก้ว และขึ้นอยู่กับวิธีการขึ้นรูปชิ้นงาน ความหนา และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากนะครับ

    แต่ถือว่าเป็นสูตรที่ถูกต้องน่าเชื่อถือที่สุดในโลกนี้ เพราะผ่านการพิสูจน์มานับหมื่นนับแสนครั้งแล้ว จึงมีความเที่ยงตรงที่สุดสูตรหนึ่ง

    หมายเหตุ
    ปริมาณของทรายแก้วในน้ำแก้วมีส่วนต่อสูตรเป็นอย่างมาก วิธีการขึ้นรูปชนิดต่าง ๆ ทั้งชนิดอัดน้ำแก้วด้วยแรงดัน หรือเทหยอด มีส่วนบ้างไม่มากนัก แต่ถือว่ามีส่วน และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากครับ
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    การสร้างพระแก้วหน้าตักเพียง 1 เมตร เนื้อแก้วตัน ต้องใช้เวลาในการอบลดอุณหภูมิเท่าใด ท่านลองตัดสินใจดูนะครับ ลองดูว่า ช่างแก้วอย่างท่านจะทำงานแก้วได้ดีหรือไม่ ?

    กระซิบนิดนึงว่า ท่านเลือกที่ความหนาตั้งแต่ 8 นิ้วขึ้นไปจะมีโอกาสถูกต้องมากกว่านะครับ

    ถ้าความหนาที่ท่านเลือกคือ 8 นิ้ว ท่านจะต้องหลอมน้ำแก้วให้เป็นน้ำแก้วก่อนนานประมาณ 3 วัน 3 คืน จากนั้นจึงเริ่มต้นขบวนการอบที่อุณหภูมิบนอีกช่วงหนึ่ง จากนั้นจึงเข้าสู่ขบวนการอบที่ต้องใช้ความเคร่งครัดอีก 30 วันเศษ ๆ รวมแล้วถ้าเลือกความหนา 8 นิ้ว ขบวนการทั้งสิ้นที่ใช้ความร้อนจะอยู่ที่ประมาณ 36 วันครับ

    ส่วนความหนาระดับอื่นก็ดูตามสูตรได้นะครับ อย่าลืมบวกช่วงการหลอม 3 วัน 3 คืน ช่วงการอบอุณหภูมิบนอีก และที่สุดจึงมาบวกขบวนการเคร่งครัดตามสูตรนะครับ
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ถ้าเลือกความหนา 10 นิ้ว ขบวนการทั้งสิ้นของความร้อนจะอยู่ที่ 54 วันครับ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ลองดูครับ ไม่มีอะไรถูก ไม่มีอะไรผิด สูตรก็เกิดจากการลองผิดลองถูกนับแสน ๆ ครั้ง และก็ไม่ใช่มีสูตรเดียว เพราะยังมีการตีความอีกด้วยว่า แก้วที่นำเข้าอบอยู่ในลักษณะใด เช่น แก้วเปลือย เปลือยแล้ววางในลักษณะใด หรือแก้วไม่เปลือย ทางช่างแก้วเรียกว่า semi open form แล้วก็อีกเช่นเคยว่า semi open form วางลักษณะอย่างใด

    สนุกดีนะครับ ลองทายดูครับ จะได้จำได้แม่นยิ่งขึ้น เวลาท่านอยู่ที่หน้างานจริงก็ดี หรือมีคนโทรศัพท์ปรึกษางานกับท่านก็ดี ท่านจะเป็นผู้ตัดสินใจที่ดีได้ครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สูตรการอบลดอุณหภูมิของแก้วนั้น แต่ละสูตรก็ไม่เหมือนกัน เช่นสูตรด้านล่างนี้ เป็นสูตรการอบลดอุณหภูมิของแก้วชนิดที่เรียกว่า crystal แต่เป็นเนื้อแก้วคริสตัลชนิดไม่มีการผสมของตะกั่วอ๊อกไซด์

    ลองเปรียบเทียบดูได้ครับ ระหว่างสูตรด้านล่างนี้ที่ในเนื้อแก้วไม่มีตะกั่วอ๊อกไซด์ผสมอยู่ แตกต่างกับสูตรด้านบนที่มีตะกั่วผสมในเนื้อ ลองเปรียบเทียบดูนะครับ

    01.jpg
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    แถวบนคือสูตรที่มีตะกั่วผสมในเนื้อแก้วคริสตัลในปริมาณสูงเกิน 20%
    สูตรที่มีตะกั่วผสมในปริมาณสูงเกิน 20% ขึ้นไป 01.jpg




    แถวล่างคือสูตรที่ไม่มีตะกั่วผสมในเนื้อแก้วคริสตัล
    สูตรที่ไม่มีตะกั่วผสมในปริมาณสูงเกิน 20% ขึ้นไป 01.jpg
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เริ่มเห็นความละเอียดของสูตรต่าง ๆ กันแล้วใช่ไหมครับ ?

    นักหลอมแก้วที่ผ่านประสบการณ์ยาวนานหลายสิบปีหรือตลอดชีวิต มักเป็นคนที่น้อมรับฟังทุกอย่างของผู้อื่น ของนักหลอมรายอื่น ๆ ของช่างแก้วท่านอื่น เพราะนักหลอมแก้วส่วนมาก มักมีเตาอบลดอุณหภูมิมากกว่า 3 เตา และทำงานต่อเนื่องแทบทุกวันไม่เคยหยุดเลยตลอดปี หรือตลอดหลายสิบปี หรือตลอดชีวิต

    ช่างหลอมแก้วที่จดบันทึกรายละเอียดในสมุดจดบันทึกอย่างละเอียดก็จะเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างละเอียด และรู้องค์ประกอบมากกว่าช่างหลอมแก้วที่ตลอดชีวิตก็ไม่เคยสังเกตุอะไรเลย
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เปรียบเทียบระหว่างสูตรอบลดอุณหภูมิของแก้วที่มีตะกั่วและไม่มีตะกั่วเป็นแก้วชนิดคริสตัล
    01.jpg สูตรลดอุณหภูมิที่ถูกต้องแผ่นเต็ม 03.jpg
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    นึกออกไหมครับ ? ว่าเพราะเหตุใดจึงทำให้เกิดสูตรหลายสูตร สาเหตุก็เพราะว่า ทรายมีจุดหลอมละลายสูงกว่า และตะกั่วหรือโลหะมีจุดหลอมละลายที่ต่ำกว่า ดังนั้น ส่วนผสมหรือส่วนประกอบของเนื้อวัตถุดิบ มีส่วนเป็นอย่างมากที่จะทำให้สูตรลดอุณหภูมิในแก้วจำเป็นต้องมีความต่างกันตามปริมาณของทรายหรือของโลหะครับ
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ส่วนมากโรงงานแก้วที่มีการสร้างชิ้นงานแก้วที่มีความหนาต่างกัน มีขนาดต่างกัน และชนิดหรือประเภทของชิ้นงานต่างกัน ต้องแยกเตาอบ สมัยที่ผมเป็นผู้จัดการโรงหลอมแก้วของคุณพ่อผมนั้น เราสร้างชิ้นงานต่างกันมาก เช่น โคมถนนที่มีแก้วหนาประมาณ 1 นิ้ว และมีขนาดใหญ่มาก เราแยกอบเตาอีกชนิดหนึ่ง ในสมัยนั้นเราเรียกว่าเตาแบบอุโมงค์

    ชิ้นงานแก้วที่เป็นลูกกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14 และ 16 นิ้ว ความหนาประมาณ 1 ซ.ม. เราแยกอบอีกเตาหนึ่ง เป็นเตาสายพานซึ่งเลื่อนสายพานครบภายใน 4 ชั่วโมงเศษ

    ชิ้นงานพิเศษซึ่งอาจต่างกันทั้งชนิดและขนาด เราแยกอีก 1 เตา เช่นเตาอบพระแก้ว ๒๕ พุทธศตวรรษหน้าตัก 5 นิ้วเป็นต้น

    ทั้งหมดนี้เตาอบทั้ง 3 มีความจุชิ้นงานแก้วน้ำหนักประมาณ 1,500 - 3,500 kg. ได้

    แต่บางโรงงานแก้วที่สร้างชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่เท่ากัน ความหนาเท่ากัน ก็ไม่จำเป็นต้องแยกเตาอบเลยก็ได้
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    การอบลดอุณหภูมิแบบเตาอบสายพานของโรงงานแก้วในไทยส่วนมาก มักไม่ได้เป็นไปตามสูตรการลดด้านบน เพราะสายพานที่ต้องคอยขยับขับเคลื่อนนำชิ้นงานแก้วเข้าบรรจุให้เต็มสายพานตั้งแต่เวลาทำงานคือประมาณ 08.00 น. - 17.00 น. นั้น มีชิ้นงานแก้วที่ต้องถูกบรรจงวางบนสายพานประมาณเกือบ 1,300 ก.ก. ต่อวัน ( ปริมาณน้ำหนักแต่ละโรงงานไม่เท่ากัน ส่วนมากมักประมาณ 1,000 ก.ก. - 2,500 ก.ก. ต่อวัน แล้วแต่วิธีจำแนกของแต่ละโรงงานไม่เหมือนกัน )

    แต่ถ้าเป็นโรงงานแก้วคริสตัลเช่นโรงงานแก้วโลตัสคริสตัลที่ระยอง เขาใช้เบ้าหลอมแก้ววันละ 1 เบ้า น้ำหนัก 500 ก.ก. แต่ได้ทราบว่า หลัง ๆ มา เขาใช้น้ำแก้วสุกวันละไม่ถึง 500 ก.ก. ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...