หมวดพระอริยเจ้า : พระโสดาบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 3 ธันวาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    หมวดพระอริยเจ้า : พระโสดาบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>การปฏิบัติเพื่อพระโสดาบัน <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>การทรงอารมณ์เพื่อเข้าถึงพระโสดาบัน

    สำหรับโอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทได้สมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อนี้ไปขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจสงบอารมณ์ให้เป็นสมาธิ คือ ในอันดับแรก ขณะที่รับฟังเสียง ตั้งใจฟังเสียงให้รู้เรื่องทุกถ้อยคำ การตั้งใจฟังเสียงทุกถ้อยคำแสดงว่าจิตทรงสมาธิ เพราะว่าสมาธิแปลว่าตั้งใจไว้ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เวลาที่เราตั้งใจฟังเสียง ถ้าหูได้ยินเสียง จิตรู้เรื่องตาม ก็ชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ ถ้าหากว่าท่านใช้ปัญญาพิจารณาไปตามกระแสเสียงด้วยหรือตามถ้อยคำ และเนื้อความที่กล่าว ก็ชื่อว่าเป็นการใช้ปัญญาในด้านวิปัสสนาญาณ นี่มีความสำคัญ

    หลังจากพูดจบแล้วขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพยายามทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ โดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ อย่างนี้จัดว่ามีอารมณ์เป็นสมาธิ ถ้าจะใช้คำภาวนาก็ให้ใช้ว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ อย่างนี้อารมณ์เป็นสมาธิ ขณะใดการที่รู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำภาวนา นั่นเป็นสมาธิ

    สมาธิก็จัดไว้หลายระดับคือ ขณิกสมาธิ เรียกว่าสมาธิเล็กน้อย อุปจารสมาธิ สมาธิใกล้เข้าถึงปฐมฌาน แล้วขึ้นไปเป็น อัปนาสมาธิ หรือ ฌาน คือ ฌานที่ ๑ ฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ และฌานที่ ๔ และอารมณ์ที่เป็นสมาธิจะอยู่ระดับใดก็ตามก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของความดี เพราะจิตเราตั้งอยู่ในกุศล

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=110>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>อีกประการหนึ่ง ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนพยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ใน พรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ คือว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีก็พลอยยินดีตาม ถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้น เราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต

    นี่อารมณ์อย่างนี้ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงไว้ได้ ก็จัดว่าเป็นศูนย์กำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี ถ้าหากว่าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทมีคติตรงกันข้าม คิดเห็นว่าคนอื่นเป็นศัตรูสำหรับเรา มีอารมณ์ปรารถนาในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น ด้วยการเสียดสีด้วยวาจาบ้าง แสดงอาการทางกายบ้างอย่างนี้เป็นต้น และมีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่นเมื่อเห็นเขาได้ดี อดทนอยู่ไม่ไหว เห็นคนอื่นได้ดี หาทางกลั่นแกล้ง กล่าววาจาเสียดสีกระทบกระแทกให้เกิดความช้ำใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>อาการตรงกันข้ามกับพรหมวิหาร ๔ แบบนี้เป็นปัจจัยให้ท่านทั้งหลายลงอเวจีมหานรก เป็นอารมณ์ชั่ว ถ้าอารมณ์ชั่วที่มันจับอยู่ในใจตลอดเวลามันก็เป็นอาจิณกรรม กรรมนั้นบันดาลให้เราลงอเวจีมหานรก

    ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านจงเว้นเสีย ถ้าจิตเราทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ตลอดกาลก็ชื่อว่าเราสามารถ คุมศีล ของเราให้ปกติอยู่ได้ตลอด สามารถ คุมสมาธิ ให้ทรงตัว คือจิตน้อมอยู่ในเกณฑ์ของกุศลตลอดเวลา และคุมวิปัสสนา และเมื่อจิตเราเยือกเย็นมีแต่ความรัก ความสงสาร ปรารถนาในการเกื้อกูล มีจิตอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร มีการวางเฉยไม่หวั่นไหวในเมื่อกฎของกรรมเกิดขึ้น อารมณ์จิตของเราก็มีความเย็น อารมณ์จิตมีความสุข เมื่อจิตมีความเยือกเย็น จิตมีความสุข อารมณ์สบายก็เกิดขึ้น

    เมื่ออารมณ์สบายเกิดขึ้นศีลมันก็ไม่ขาด สมาธิก็ทรงตัว ปัญญาก็แจ่มใส สามารถพิจารณาได้ตามเหตุตามผลที่สมควร คนที่ทรงอารมณ์อย่างนี้ได้เป็นปกติ บุคคลประเภทนั้นจะเป็นผู้ทรงฌานก็ไม่ยาก เพราะจิตมีความดีอยู่ในด้านกุศลทรงอยู่ มันเป็นฌานอยู่แล้ว จะบังคับจิตให้ทรงฌานขนาดไหนก็ได้ ตามอัธยาศัย แล้วก็ใช้เวลาไม่นาน ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเรามีความปรารถนาจะเป็นพระอริยเจ้าก็เป็นไม่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระโสดาบัน เป็นอันดับต้น

    นี่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมาตั้งใจทำความดี ก็จงอย่าคิดว่าเราจะสร้างความดีกันแค่ความดีสามัญ หรือที่เรียกกันว่าทำเป็นแค่อุปนิสัย อันนี้ไม่สมควร มันจะเป็นการขาดทุนเกินไปในการที่บำเพ็ญความดี อารมณ์ของเราก็ควรจะคิดว่า อย่างเลวที่สุดเราจะต้องตั้งอยู่ในพระโสดาบัน เป็นอย่างต่ำ เพราะว่า พระโสดาบัน แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ

    ๑. เอกพิชี มีอารมณ์เคร่งเครียด เป็นพระโสดาบันละเอียด
    ๒. โกลังโกละ เป็นพระโสดาบันอย่างกลาง
    ๓. สัตตักขัตตุง เป็นพระโสดาบนอย่างหยาบ

    อย่างเลวที่สุด เราควรจะคิดว่าภายใน ๓ เดือน ใน ๖ เดือนหรือว่า ๑ ปี เราจะทรงอารมณ์ความเป็นพระโสดาบันไว้ให้ได้ นี่ควรจะตั้งใจอย่างนี้ เพราะการเจริญพระกรรมฐานเราทำเพื่อความดี อย่าคบกิเลส อย่าทำใจให้เป็นทาสของกิเลส นี่การปฏิบัติเข้าถึงพระโสดาบันเบื้องต่ำที่เรียกกันว่า สัตตักขัตตุง อันนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่ามีสมาธิพอสมควร คือมีสมาธิเล็กน้อย แล้วก็มีปัญญาพิจารณาวิปัสสนาญาณเล็กน้อย ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้

    ความจริงพระโสดาบันไม่ใช่ของสูง เป็นของธรรมดา ที่เรียกกันว่า ชาวบ้านชั้นดี ถ้าพระอริยะเบื้องสูงซึ่งกล่าวว่าพระโสดาบัน คือธรรมที่จะทำให้คนเป็นพระโสดาบันเหมือนกับของเด็กเล่น คือเป็นของทำง่ายๆ มีพรหมวิหาร ๔ ประจำใจ เราก็เป็นพระโสดาบันได้แบบสบาย ถ้าเรามีความฉลาด แต่ถ้าหากว่าเราโง่ปล่อยให้จิตเป็นทาสของกิเลส ยังมีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น อยากจะพิฆาตเข่นฆ่าทำลายบุคคลอื่นให้มีความทุกข์ ขาดความเมตตาปรานี มีอารมณ์อิจฉามีอารมณ์หวั่นไหวในกฎของกรรมอันเป็นสิ่งธรรมดา อันไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้

    อย่างนี้จะป่วยการกล่าวไปไยถึงพระโสดาบัน แม้แต่เราจะเป็นคนก็ยังเป็นไม่ได้ เพราะวิสัยเป็นจิตของอบายภูมิ คือเป็นนิสัยของสัตว์นรก เป็นวิสัยของเปรต เป็นวิสัยของอสุรกาย เป็นวิสัยของสัตว์เดรัจฉาน ฉะนั้นอารมณ์ประเภทนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา จงเว้นเสีย ทรงพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นปกติ

    นี่เรามาพูดกันถึงการเป็นพระโสดาบัน ต่อนี้ไปเราก็จะใช้วิธีอธิบายให้ละเอียดสักหน่อย เพราะการเป็นพระโสดาบันที่บอกว่าไม่ยาก ในอันดับแรก ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทมีอารมณ์จิตคิดไว้เสมอว่า เราจะไม่สนใจกับจริยาของบุคคลอื่น โดยจะไม่ไปก้าวก่ายกับจริยาของใคร ไม่เข้าไปอิจฉาริษยาบุคคลอื่น ว่าบุคคลนี้กินมากเกินไป นอนมากเกินไป หลงในลาภสักการะเกินไป บำเพ็ญเพียรดีเกินไป อย่างนี้เป็นต้น ถือว่าเรื่องนั้นมันเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา

    ถ้าจิตเราไปยุ่งกับเขาก็แสดงว่าเรานิยมอบายภูมิ อย่างนี้ไม่ต้องมีใครแช่ง ไปเองแบบสบาย จะบวชพระสักกี่โกฏิปีมันก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าจิตมันเลว สภาวะของเพศเป็นพระ แต่จิตเป็นจิตของอบายภูมิ จะสร้างความดีแบบไหน มันก็ดีไม่ได้ คนที่มีจิตเลว นี่เป็นอันว่าเราจะพยายามควบคุมจิตของเราไม่ให้ไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น แต่ความจริงเรื่องนี้ เราได้ยินกันอยู่ทุกวัน แต่ความเลวของพวกเราน่ะเปลื้องกันได้หรือเปล่า

    ในประการต่อไป เราตั้งใจไว้เสมอว่าจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ โดยไม่ทำลายศีลเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว และ เราจะมีจิตยอมรับนับถือความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความดีของพระธรรม ความดีของพระสงฆ์ และ มีจิตตรงเฉพาะพระนิพพาน คือการกระทำกิจทุกอย่างไม่ว่าอะไรทั้งหมด จะให้ทานแก่สัตว์ ชี้ทางให้แก่บุคคลผู้หลงทาง แนะนำบุคคลผู้มีความโง่ ถวายทานแก่พระสงฆ์ บูชาพระรัตนตรัย นึกถึงความดีของบิดามารดา ครูบาอาจารย์เป็นต้น เราทำอย่างนี้ทุกอย่างเราไม่หวังผลในการตอบแทนในปัจจุบัน เรามีความต้องการอย่างเดียวคือ สร้างความดีเพื่อสู่พระนิพพาน อารมณ์ที่กล่าวมานี้เป็นอารมณ์ของ โสดาบันสัตตักขัตตุง คำว่า สัตตักขัตตุง ก็หมายความว่า เราเกิดเป็นมนุษย์อีก ๗ ชาติ ก็จบกิจเป็นพระอรหันต์ได้

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ถ้าหากท่านทั้งหลายจะถามว่า เอาสมาธิจิตมาจากไหน ก็จะต้องตอบว่า ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายคิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรม คิดถึงพระอริยสงฆ์ ว่าท่านทั้งหลายทั้ง ๓ ประการนี้มีความดีหาประมาณมิได้ เราขอยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า โดยจะปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกอย่าง และจะเว้นถ้อยคำห้ามปรามที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้ปฏิบัติ แล้วเราก็ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์สาวก ว่าท่านมีความดีตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน แล้วท่านปฏิบัติตาม เป็นความดีที่ท่านทรงความบริสุทธิ์ มีจิตเป็นสุข มีอารมณ์เป็นสุขอย่างนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านเชื่อพระพุทธเจ้า ไม่ฝ่าฝืนข้อห้าม และก็พยายามปฏิบัติความดีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ </TD></TR></TBODY></TABLE>ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ท่านจะไม่ภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้ทรงสมาธิใน พุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน เพราะจิตเราทรงตรงอยู่ในความดี ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    นี่เป็นองค์สมาธิที่มีความสำคัญ แค่ที่เรานั่งภาวนาเพื่อให้จิตสงบเฉพาะเวลา แต่พอลืมตาขึ้นมาก็ปล่อยอารมณ์ลอยไปในสถานที่ต่างๆ เป็นปัจจัยของความชั่ว คือไม่ยอมเคารพในศีล ไม่ยอมเคารพในธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ การหลับตาสักแสนปีหรือโกฏิชาติก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ มันมีอยู่อย่างเดียวคืออารมณ์ทรงความดี

    ทีนี้ในเมื่อยอมรับนับถือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นปกติ เมื่อเรายอมรับนับถือท่านเราก็ต้องทรงศีล ๕ หรือในศีลของตนเองบริสุทธิ์ พระมีศีล ๒๒๗ บริสุทธิ์ เณรมีศีล ๑๐ บริสุทธิ์ ฆราวาสมีศีล ๕ บริสุทธิ์ นี่เราว่ากันขั้นพระโสดาบัน สำหรับศีล ๘ นั้นเป็นศีลของพระอนาคามี

    ในเมื่อเรามีศีลบริสุทธิ์ ศีลน่ะมันบริสุทธิ์ยากถ้าอารมณ์ใจเราต่ำ ถ้ามีอารมณ์เลว ศีลจะบริสุทธิ์ได้ต้องมีอารมณ์เยือกเย็น คือมีอารมณ์เป็นน้ำ ไม่ใช่มีอารมณ์เป็นไฟ ทั้งนี้ก็เพราะว่าต้องมีใจประกอบไปด้วยความรัก เห็นคนและสัตว์เป็นที่รักของเราทั้งหมด จิตต้องประกอบไปด้วยความกรุณา ความสงสาร เห็นคนและสัตว์เราเห็นว่าเป็นคนที่เห็นว่าควรจะสงเคราะห์ทั้งหมด ตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ อารมณ์จิตเราจะอ่อนโยน ไม่หวั่นไหวไปในความชั่ว พลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นได้ดี ไม่อิจฉาริษยาบุคคลอื่น

    อารมณ์อิจฉาริษยาน่ะมันเป็นอารมณ์ของสัตว์นรก มันมีแต่ความเร่าร้อน อารมณ์ที่ไม่มีจิตอิจฉาริษยาใครเป็นอารมณ์เยือกเย็น เป็นอารมณ์ของสวรรค์ เป็นอารมณ์ของพรหม เป็นอารมณ์ของนิพพาน แล้วเราก็มีอุเบกขา หมายความว่ารู้ว่าสิ่งใดที่มันเป็นธรรมดา เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้

    ทีนี้ถ้าพรหมวิหาร ๔ มีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นหาความเลวไม่ได้ มีแต่ความดี การที่จะคิดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตก็ไม่มีในใจ เพราะเรามีความรัก ความสงสาร การจะลักจะขโมยเขามันก็ไม่มี คิดจะยื้อแย่งความรักของบุคคลอื่นก็ไม่มี การกล่าววาจาไม่จริงก็ไม่มี วาจาหยาบก็ไม่มี วาจาส่อเสียดยุยงส่งเสริม อารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่นก็ไม่มี แล้วก็วาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ก็ไม่มี นี่เป็นอันว่าการทรงพรหมวิหาร ๔ ทำตนให้เป็นพระโสดาบันได้ง่าย และก็แถมใจอีกนิดหนึ่งว่าเราต้องการพระนิพพาน

    ทีนี้การที่เราคิดอยู่ว่าเราจะทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ คือทรงศีลประจำเพศให้บริสุทธิ์ อันนี้เป็น สีลานุสสติกรรมฐาน ถ้าเราทรงอารมณ์ไว้ได้ ชื่อว่าเรามีฌานในสีลานุสติกรรมฐาน ถ้านึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่เป็นประจำ ก็ชื่อว่าเรามีฌานอยู่ในอนุสสติ ๓ ทีนี้ถ้าหากว่าเราตั้งใจอยู่ในพรหมวิหาร ๔ ประการเป็นปกติ ก็ชื่อว่าเรามีฌานในพรหมวิหาร ๔ จิตน้อมไปถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเรามีฌานใน อุปสมานุสสติกรรมฐาน

    เป็นอันว่าอารมณ์แห่งการถึงพระโสดาบันขั้นต้นมีเพียงเท่านี้ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านจงเข้าใจว่าการเป็นพระโสดาบันเป็นของไม่ยาก คนดีเป็นง่าย คนเลวเป็นยาก เพราะหากว่าคนเลวมีสันดานอบายภูมิติดมา ก็ย่อมไม่เห็นคุณค่าของความเป็นพระโสดาบันโดยการปฏิบัติความดีเพียงแค่เล็กน้อย ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๑) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    สังโยชน์ของพระโสดาบัน

    สำหรับโอกาสนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อนี้ไปตั้งใจสดับคำแนะนำในการปฏิบัติกรรมฐาน สำหรับคำแนะนำวันนี้จะขอตัดตอนต้นไป เพราะเป็นการซ้ำกันบ่อยๆ ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้น เป็นการเดินทางเข้าสู่สายพระนิพพานโดยตรง การปฏิบัติตนให้สู่พระนิพพานนี่อาจจะต้องพูดกันหลายวันหน่อย เพราะว่าเพื่อความเข้าใจของนักปฏิบัติ

    วันนี้จะยกเรื่องสมาธิทิ้งไป และก็จะไม่ปรารภจริตใดๆ ทั้งหมด เพราะการเดินทางสายเข้าสู่พระนิพพานต้องเป็นคนมีอารมณ์จิตเข้มแข็ง จะไม่ยอมก้มศรีษะให้แก่กรรมทุกอย่าง มิฉะนั้นแล้วท่านทั้งหลายก็จะเป็นเหยื่อของนรก เรื่องที่จะพูดกันถึงพระนิพพานก็ไม่ต้องพูดกัน เราจงรู้ตัวของเรา

    ทีนี้ตามพระบาลีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึงความเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบัน สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ตรัสเป็นเขตไว้ ขอบรรดาท่านทั้งหลายจำไว้แล้วก็นำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะเป็นจุดหมายปลายทางและเป็นหนทางที่ตรงอย่างยิ่ง จะได้ไม่เอนไม่เอียง ไม่มีความสงสัย การที่อวดตัวว่ารู้มากตามตำราไม่มีความหมาย ความสำคัญมีอยู่อย่างเดียว คือทำจิตให้หมดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน

    นี่เป็นความต้องการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นความต้องการของผมด้วย ขอได้โปรดจำกันไว้ให้ดีว่า ผมต้องการคนที่มีความปรารถนาในการตัดกิเลสและก็พยายามตัดกิเลส ไม่ใช่เพาะกิเลส

    มีเหตุที่พระพุทธเเจ้าทรงตรัสถึงกฏแห่งการที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงการเป็นพระอริยเจ้าที่เคยปรารภอยู่เสมอว่า บรรดาพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่บวชเข้ามาแล้วต้องมีสิกขา ๓ ประการ คือ

    ๑. อธิศีลสิกขา ปฏิบัติศีลอย่างยิ่ง คำว่า อย่างยิ่ง ก็หมายความว่าเคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด มีศีลจับใจเป็นอารมณ์ สิ่งใดที่ขัดต่อศีล เราไม่ทำ และสิ่งใดที่ขัดต่อความดีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัส เราไม่ทำ
    ๒. อธิจิตสิกขา พยายามเร่งรัดอารมณ์สมาธิให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์สูงสุดจริงๆ คือฌาน ๔
    ๓. อธิปัญญาสิกขา มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง มีปัญญาสามารถจะรู้กำหนดการตัดของกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานเบื้องสูง

    สิกขา ๓ ประการนี่ที่ว่าเราจะต้องปฏิบัติกัน เพราะว่า ภิกขุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร สมณะ แปลว่า สงบ หรือผู้มีบาปอันลอยแล้ว นึกดูน้ำใจของเราว่าน้ำใจของเราน่ะมันเลวหรือว่ามันดี อัตตนา โจทยัตตานัง พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จงเตือนตนไว้เสมอ ไม่ใช่ไปนั่งเตือนคนอื่น คือไปนั่งค่อนขอด ค่อนแคะประณามบุคคลอื่น ถ้าเราไปนั่งค่อนขอด ค่อนแคะ ประณามคนอื่น นั่นแสดงว่าเราเลวเกินกว่าที่จะเป็นมนุษย์ได้ เป็นวิสัยของสัตว์ในอบายภูมิ นี่เป็นเรื่องสำคัญ เตือนตนไว้เสมอ

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>สำหรับ อธิศีลสิกขา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นวิสัยของ พระโสดาบัน กับ พระสกิทาคามี จำให้ดีนะ อธิจิตสิกขา เป็นวิสัยให้ได้ พระอนาคามี อธิปัญญาสิกขา เป็นวิสัยให้ได้ พระอรหัตผล</TD></TR></TBODY></TABLE>เป็นอันว่าถ้าเราพิจารณาตามพระพุทธฎีกาข้อนี้ จะเห็นว่าการปฏิบัติตนตรงต่อความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของไม่ยาก ไม่ยากเพราะอะไร เพราะว่าเรารู้อยู่ว่าสำหรับพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีไม่มีอะไรมาก คือเป็นผู้ปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดนั่นเอง ทีนี้เราก็หันไปดูองค์ของพระโสดาบัน หรือว่าไปดูสังโยชน์ของพระโสดาบัน เอาสังโยชน์ก่อน สังโยชน์ ที่เราจะละเข้าถึงพระโสดาบัน นั่นก็คือ

    ข้อที่ ๑. สักกายทิฏฐิ พิจารณาว่า อัตภาพร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา สำหรับสักกายทิฏฐิข้อนี้เราตัดกันแต่เพียงเบาๆ เท่านั้น คำว่าตัดเพียงเบาๆ ก็หมายความว่ามีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิต คิดไว้เสมอว่าความตายอาจจะมีแก่เราได้ทุกขณะไม่ใช่ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ คิดถึงความตายไว้เป็นปกติว่า เราอาจจะต้องตายเดี๋ยวนี้ เมื่อเราคิดว่าเราจะตายเดี๋ยวนี้ เราก็ต้องรวบรวมกำลังใจสร้างความดี เพื่อว่าเมื่อตายแล้วจะได้ไม่ไปตกอยู่ในอบายภูมิ

    นี่สำหรับกายทิฏฐิข้อต้น พระโสดาบันถ้าจะว่าตัดก็ยังไม่ถึง เรียกว่าขัดสีฉวีวรรณสักกายทิฏฐิให้มันผ่องใสขึ้นเท่านั้น เพราะว่าอารมณ์เดิมของเรามันเต็มไปด้วยความโง่ เห็นชาวบ้านเขาตายก็รู้ แต่ว่าไม่เคยคิดเลยว่าตัวจะตาย หาความรู้สึกว่าตัวจะตายไม่ได้ มีความประมาทสร้างความชั่วเป็นปกติ นี่อารมณ์เดิมของเรามันเลวแบบนี้

    ทีนี้พอมาถึงมีจิตหวังตั้งใจจะปฏิบัติให้เป็นพระอริยเจ้า ก็ต้องนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ถ้าไม่นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความประมาทมันก็มีอยู่ เมื่อความประมาทมีอยู่ ตายแล้วก็ต้องไปตกอบายภูมิแน่ เมื่อเรานึกถึงความตายแล้ว เราก็คิดว่าถ้าเราตายแล้วคราวนี้เราจะไปไหน ถ้าเราคิดว่าเราจะเกิดเป็นคนใหม่มันก็เลวเต็มที ถ้าเป็นพ่อค้าก็ถือว่าขาดทุน ทั้งนี้เพราะอะไร เราลงทุน ๑๐๐ บาท ค้าขายอยู่ ๙ ปี ๑๐ ปี ก็มีทุนอยู่แค่ ๑๐๐ บาท ถ้าอย่างนั้นเราไม่ทำเลยดีกว่า

    เป็นอันว่าเราก็ตั้งใจไว้ว่าอย่างเลวที่สุด เราจะเป็นผู้เข้าถึงกระแสของพระนิพพาน คือเป็นพระโสดาบันเป็นอันดับน้อยที่สุด เลวที่สุด อย่าลืมนะ เราต้องถือว่าการทำจิตให้เข้าถึงพระโสดาบันนี่เป็นความเลวที่สุด คือได้ดีน้อยที่สุดเราต้องการจะพึงถึง

    แต่ทว่าการเข้าถึงพระโสดาบันนี่ถือว่าเข้าถึงกระแสพระนิพพานเป็นระยะการที่เราจะก้าวเข้าไปสู่พระนิพพานโดยไม่ถอยหลัง คือไม่กลับถอยหลังกลับมา เพราะพระโสดาบันเบื้องต้นเราจะเกิดระหว่างเทวดากับมนุษย์ หรือระหว่างเทวดากับพรหม มาเกิดอย่างละ ๗ ชาติ พอเป็นมนุษย์ชาติที่ ๗ เราก็เป็นอรหันต์ ถ้าเป็นโกลังโกละ มีความเคร่งเครียด คือว่ารวบรัดอารมณ์จิต ดึงอารมณ์จิตไว้มั่นคงกว่า สัตตักขัตตุง อันนี้เราก็มีจังหวะเกิดมาเป็นมนุษย์กับเทวดาสลับกันอีก ๓ ชาติ เราก็เป็นอรหันต์ ถ้ามีอารมณ์เคร่งครัดเรียกว่ามีอารมณ์จิตมั่นคงอย่างยิ่งในองค์ของพระโสดาบัน เราตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม พ้นจากนั้นมาเป็นมนุษย์อีกหนึ่งชาติ เราก็เป็นอรหันต์ นี่เป็นอันว่าอาการของพระโสดาบันมี ๓ อย่าง มี ๓ ระดับ

    ทีนี้ คนที่เป็นพระโสดาบันจริงๆ เราเอาอะไรเป็นเครื่องกำหนด อันดับแรก เราก็ต้องรู้องค์ของพระโสดาบัน ทีนี้พูดถึงสังโยชน์ยังไม่จบ อันดับแรกเรานึกถึงสังโยชน์ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ที่เราจะต้องตัดอารมณ์ อารมณ์ที่เกาะ ขันธ์ ๕ คือเกาะกาย คราวนี้เราไม่เกาะละ ปล่อยน้อยๆ คิดว่าร่างกายนี้จะต้องตายแน่ เราควบคุมมันไม่ได้แน่นอน แม้แต่องค์สมเด็จพระชินวรเป็นพระพุทธเจ้าก็ยังไม่สามารถจะควบคุมร่างกายไม่ให้ตายได้ มันตายแน่ เราไม่ยอมเกาะมันเกินไป แต่มันยังเกาะอยู่นะ พระโสดาบันเกาะกายเหมือนกันแต่ไม่หลงคิดว่ามันจะไม่ตาย คิดว่ามันจะตายไว้เสมอ

    ทีนี้สังโยชน์ข้อที่ ๒. ท่านบอกว่า วิจิกิจฉา และข้อที่ ๓. สีลัพพตปรามาส เราก็ใช้ปัญญาพิจารณาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะในเรื่องของ ศีล ว่าเราพอจะเชื่อได้ไหมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

    สีเลนะ สุคติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข
    สีเลนะ โภคะสัมปะทา ศีลเป็นปัจจัยให้ทรัพย์สินเยือกเย็น
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน

    ใช้ปัญญาพิจารณาศีล ๕ ประการ ว่าเราต้องการให้บุคคลทั้งหลายมีศีลเพื่อเรา แล้วเราล่ะ เป็นผู้มีศีลเพื่อบุคคลอื่นไหม คำว่าเราต้องการให้คนอื่นมีศีลเพื่อเรา ก็หมายความว่าเราไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าเรา มาทำร้ายเรา มาลักทรัพย์สินของเรา แย่งคนรักของเรา มาโกหกมดเท็จ พูดเสียดสี พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ และเป็นคนไร้สติสัมปชัญญะ อันนี้เราไม่ต้องการ

    ในเมื่อเราไม่ต้องการเราก็ใช้ปัญญาสิ อย่าทำเป็นควายๆ คิดว่าเราไม่ต้องการอย่างนี้ แล้วคนอื่นเขาต้องการอย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสำคัญที่สุด ถ้าพูดคำหยาบ โกหกมดเท็จเสียดสี ทำลายกำลังใจของบุคคลอื่น พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล เป็นอาการเสียดสีแทงใจของบุคคลอื่น ทำลายความดีของบุคคลอื่นที่มีอารมณ์จิตยังไม่มั่นคงนัก อาการอย่างนี้เกิดขึ้น ใครเลว เราผู้พูดนั่นละเลวที่สุด เพราะอะไรจึงเลว เพราะไม่ควบคุมวาจาไว้ให้ดี

    ทีนี้ทางกายล่ะ ถ้าหากว่าวาจามันไม่ดี กายไม่ดี ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตลักขโมยของเขา ยื้อแย่งความรัก ถ้าเราเลวอย่างนี้ คนอื่นเขาไม่ต้องการ เราไปทำเข้า ก็จัดว่าเราเลวเกินกว่าที่เขาจะคิดว่าเราเป็นคนนี่มันเลวเกินไป สำหรับการไร้สติสัมปชัญญะเป็นของดีไหม การดื่มสุราและเมรัยเป็นปัจจัยให้ไร้สติสัมปชัญญะ มันก็ไม่ดี คนไม่มีสติสัมปชัญญะนี่สัตว์เลี้ยงมีค่ามากกว่า เพราะยังไงๆ มันก็เป็นสัตว์

    รวมความว่า คนที่มีกายชั่ว มีวาจาชั่ว มีสติชั่ว อย่างนี้มีค่าไม่เท่าสัตว์เลี้ยง เพราะอะไร เพราะสัตว์เลี้ยงมันเป็นสัตว์ มันอยู่ในอบายภูมิ มันไม่มีอารมณ์รู้พิเศษ มันยังต้องโทษอยู่ แต่เราเป็นคนรู้ดีรู้ชั่ว รู้ตัวว่าถ้าใครทำความดีความชอบ ใครพูดดีเราชอบ แต่ว่าเรากลับทำชั่วเพื่อเขา เราพูดชั่วเพื่อเขา อย่างนี้เรามีค่าไม่เท่าสัตว์เลี้ยง หรือจะกล่าวไปอีกทีก็มีค่าตัวไม่เท่ากับสัตว์ทั่วไปในโลก เลวกว่าสัตว์ เพราะอะไร เพราะว่าสัตว์ตายแล้วเกิดเป็นสัตว์ใหม่ หรือมิฉะนั้นก็เกิดเป็นคน มิฉะนั้นก็เกิดเป็นเทวดา แต่คนที่มีกายชั่ว วาจาชั่ว มีอคติชั่ว ตายแล้วลงนรก ถ้าชั่วมากลงถึงอเวจีมหานรก

    นี่เราก็ลองเทียบกันว่าคนประเภทนั้นกับสัตว์เดรัจฉานน่ะใครจะดีกว่ากัน เป็นอันว่าคนประเภทนั้นมีความดีไม่เท่าสัตว์เดรัจฉาน ใครต้องการบ้าง พวกเรามีความต้องการไหม อาการอย่างนี้ใครต้องการบ้าง ถ้าต้องการก็อยู่ที่นี่ไม่ได้ เพราะที่นี่ไม่ต้องการคนที่เกิดเป็นคนแล้วแต่ว่าทำตนเพื่อความเป็นสัตว์ และเลวยิ่งกว่าสัตว์ เป็นอันว่าเราต้องประณามตัวแบบนี้

    อัตตนา โจทยัตตานัง พระพุทธเจ้าทรงเตือน และสำนักนี้พูดอยู่เสมอว่า จงเตือนตนรู้ตนอยู่เสมอ ระเบียบมี วินัยมี สำนักนี้ถ้าเลวแล้วละก็ไม่ควรจะไปอยู่ที่ไหนเลย ถ้าฟังภาษาคนไม่รู้เรื่องละก็จงอย่าไปอยู่ที่ไหนเลย ถ้าที่ดีไม่มีใครเขาคบ เขาฟังธรรมะกันวันละ ๔ เวลา แต่ว่าถ้ายังเลวอยู่แสดงว่าสัตว์เดรัจฉานดีกว่าเราเยอะ นี่เราต้องประณามตัวแบบนี้ เราอย่าไปนั่งมองคนอื่นเขา มองตัวเรา นี่เตือนกันทุกเย็น ใครมีความรู้สึกตัวบ้างไหมว่าเราเลว ถ้าเลวแล้วไม่เห็นว่าเลว ก็แสดงว่าเรารวมอยู่กับพระเทวทัตได้แน่นอน นี่เราต้องประณามตัวเราแบบนี้

    คนดีน่ะเขาไม่ยกย่องตัวเอง คนดีเขาประณามตัวเอง เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงพยายามประณามตนไว้เสมอ โจทก์กล่าวโทษมองหาความผิดของตัวไว้เป็นปกติ อย่าไปหาความดี ในเมื่อมันหาความผิดไม่ได้ละมันก็ดีเอง ถ้าไม่มีชั่วละมันดี สังโยชน์ที่เราจะพึงตัด ๑. ไม่อาลัยในชีวิตมากเกินไป รู้ว่าเราจะต้องตาย ๒. ไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ๓. รักษาศีลบริสุทธิ์ นี่เราจะเห็นว่าพระโสดาบันนี่มีเท่านี้

    อันนี้เราก็หันไปอีกทีถึงองค์ เมื่อกี้เป็นสังโยชน์ บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอารมณ์อย่างนี้ ๑. เคารพในพระพุทธเจ้า ๒. เคารพในพระธรรม ๓. เคารพในพระสงฆ์ แล้วก็ ๔. มีศีล ๕ บริสุทธิ์สำหรับฆราวาส สำหรับพระมีศีล ๒๒๗ บริสุทธิ์ สำหรับเณรมีศีล ๑๐ บริสุทธิ์ ถึงพระสกิทาคามีก็เหมือนกันมีเท่านี้

    ตอนนี้สมมุติว่าคนที่เขาไม่เคยเจริญพระกรรมฐาน แต่ชอบสวดมนต์เป็นปกติ มีศีลห้าบริสุทธิ์ จะถามว่าคนประเภทนี้เป็นพระโสดาบันได้ไหม ก็ต้องตอบว่าได้ คนที่เขานั่งสวดมนต์เป็นปกติเขาสวดด้วยความเคารพพระพุทธเจ้า เคารพพระธรรม เคารพในพระอริยสงฆ์ เพราะบทสวดมนต์ทุกบทมีค่าเท่ากัน คือสรรเสริญความดีของพระพุทธเจ้า สรรเสริญความดีของพระธรรม สรรเสริญความดีของพระอริยสงฆ์ แล้วเขาก็มีศีลบริสุทธิ์ แต่ตอนนี้ต้องระวังนิดหนึ่ง ถ้าเรามีจิตเบาเพียงเท่านี้อาจจะยังไม่ได้พระโสดาบัน อาจจะเรียกว่า กัลยาณชน

    ทีนี้ ถ้าบุคคลผู้นั้นเขามีกำลังใจเพิ่มไปอีกนิดหนึ่งว่า ที่เรายอมเคารพในพระพุทธเจ้า ยอมเคารพในพระธรรม ยอมเคารพในพระสงฆ์ มีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ เรามีความประสงค์อย่างเดียวคือ พระนิพพาน ถ้าอารมณ์ใจเขาหยั่งถึงพระนิพพานอย่างนี้เป็นพระโสดาบันแน่ นี่อารมณ์ของพระโสดาบันมีเท่านี้ พระสกิทาคามีก็เหมือนกัน

    แล้วก็อย่าลืมอีกนิดหนึ่งว่า ทำไมเป็นพระโสดาบันยังรักเขาอยู่ล่ะ ยังอยากแต่งงาน ยังอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง นี่ก็ต้องย้ำลงไปอีกนิดว่า ดูองค์ของพระโสดาบันว่ามีอะไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อธิศีลสิกขา คือมีศีลยิ่งเท่านั้นเอง พระโสดาบันสกิทาคามีความสำคัญอยู่ที่ศีล เขาอยากรวยเขาก็ไม่โกงใคร เขารักเขาก็อยู่ในขอบเขตของศีล เขาโกรธเขาไม่ฆ่าใคร เขาหลงรัก หลงสวย หลงงาม เขาก็ไม่ลืมความตาย

    นี่จำไว้ว่านี่เป็นองค์ของพระโสดาบัน แล้วการปฏิบัติเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์เบื้องต้น องค์สมเด็จพระทศพลกล่าวว่าเต็มไปด้วย อธิศีลสิกขา สำหรับการพูดในวันนี้ก็ขอยุติไว้เพราะหมดเวลา ต่อจากนี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๒) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    อารมณ์ของพระโสดาบัน

    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อนี้ไป ขอให้รวบรวมกำลังใจให้อยู่ในเขตของกุศล คือ อันดับแรกตั้งใจฟังเสียง ขณะที่ได้ยินเสียงชัดรู้เรื่องทุกอย่างทุกถ้อยคำ อย่างนี้ชื่อว่าจิตเป็น สมาธิ เพราะคำว่าสมาธิแปลว่าตั้งใจไว้เฉพาะเหตุใดเหตุหนึ่ง นี่เราตั้งใจฟังเสียง เมื่อฟังแล้วก็คิดตามเป็นตัว ปัญญา

    วันนี้จะพูดต่อถึงทางสายเข้าสู่พระนิพพาน เมื่อวานนี้ได้กล่าวไว้แล้วตามพระพุทธพจน์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า อธิศีลสิกขา เป็นกำลังของพระโสดาบันกับพระสกิทาคา อธิจิตสิกขา เป็นกำลังของพระอนาคามี อธิปัญญาสิกขา เป็นกำลังของพระอรหัตผล นี่ถ้าเราเข้าใจรวบรัดในการปฏิบัติพระกรรมฐาน เราก็จะมีกำลังใจเข้าถึงมรรคถึงผลได้โดยง่าย แต่ทั้งนี้ก็ต้องเว้นไว้แต่ว่าเว้นจาก ปลิโพธ และ ติรัจฉานกถา

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#cccccc>ปลิโพธ เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเหตุกังวล ข้อติดข้อง ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่ง พร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดีมี ๑๐ อย่าง คือ ๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่ ๒. กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฎฐาก ๓. ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔. คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ ๕. กรรมปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง ๖. อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ ๗. ญาติปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น ๘. อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง ๙. คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ๑๐. อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#cccccc>ติรัจฉานกถา ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชาว่าราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้ โจรกถา สนทนาเรื่องโจรว่าโจรหมู่นั้นปล้นที่นั่นได้เท่านั้นๆ ปล้นที่นี่ได้เท่านี้ๆ เป็นต้น ท่านแสดงไว้ ๒๘ อย่าง หรือแยกย่อยได้ ๓๓ อย่าง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>จงจำไว้ว่าอารมณ์ใดที่ประกอบไปด้วยความรัก ประกอบไปด้วยความโลภ ประกอบไปด้วยความโกรธ ประกอบไปด้วยความหลง อันนั้นพระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นอารมณ์ของ ติรัจฉาน คำว่า ติรัจฉาน ก็หมายความว่าไปขวาง เดรัจฉานนี่เขาแปลว่าไปขวางๆ คือมันขวางจากทางดี มันไม่ตรงดี เพราะว่าอาการอย่างนั้นเป็นอาการของเดรัจฉาน ใจคิดเป็นใจของเดรัจฉาน วาจากล่าวติรัจฉานกถาเป็นวาจาของเดรัจฉาน อาการทำเป็นอาการของเดรัจฉาน ใช้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์

    ฉะนั้นอาการของเดรัจฉานทั้งหมด อันพึงจะเกิดทางจิตก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี จงอย่ามีในสำนักของเรา จงระมัดระวังกำลังใจเป็นสำคัญ อย่าเอาอารมณ์ของเดรัจฉานเข้ามาใช้ในจิต และก็จงอย่าไปเพ่งเล็งบุคคลอื่น จงอย่าสนใจกับอารมณ์ของคนอื่น จงอย่าสนใจกับจริยาของบุคคลอื่น ให้พยายามปรับปรุงใจตนเองเป็นสำคัญ และให้ทรงพรหมวิหาร ๔ มีอิทธิบาท ๔ ฟังแล้วก็ต้องจำ จำแล้วก็ต้องประพฤติปฏิบัติ จงจำไว้ ถ้าจำไม่ได้ก็จงรู้ตัวว่าเลวเกินไป คนเลวเขาไม่เรียกว่าคน เขาเรียกว่าสัตว์ในอบายภูมิ

    ต่อนี้ไปให้ทุกคนควบคุมตัวเองเป็นสำคัญ อย่าเข้าไปยุ่งกับบุคคลอื่น ทุกคนที่เข้ามาในสำนักควรจะปฏิบัติอยู่ในความดี และควบคุมตัวเองเป็นสำคัญ อย่าทำจิตเสีย อย่าทำวาจาเสีย อย่าทำใจเสีย ถ้าอยากจะเสียไปเสียที่อื่น อย่ามาเสียที่นี่ เพราะอะไร เพราะว่าเราสอนเพื่อความอยู่เป็นสุข เราปฏิบัติกันเพื่อความอยู่เป็นสุข ความเป็นสุขเกิดจากอะไร อธิศีลสิกขา มีศีลเป็นปกติ คนที่เขามีศีลน่ะเขาไม่สร้างความยุ่งให้เกิดกับบุคคลอื่น เพราะว่าเขามองหาความเลวของตัวเป็นสำคัญ

    ถ้าจิตของเราดีละก็มันก็ไม่ยุ่ง กายก็ดี วาจาก็ดี ถ้าจิตของเราเลว วาจาก็เลว กายก็เลว ทุกคนจงสำนึกตัวไว้ อย่าให้มีอะไรเกิดขึ้นเป็นการผิดระเบียบตามพระพุทธศาสนาและตามระเบียบวินัย แล้วเราก็ควบคุมศีล ศีลของเรามีเท่าไรปฏิบัติให้ครบ ทำไว้ให้มันครบ ธรรมะมีเท่าไรที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน มีเท่าไรปฏิบัติให้ครบ อารมณ์สมถะมี ๔๐ ปฏิบัติให้มันครบองค์ วิปัสสนาญาณมีเท่าไรปฏิบัติให้ครบ

    ถ้าพยายามคิดประพฤติปฏิบัติอยู่อย่างนี้ มันก็ไม่มีเวลาที่จะไปยุ่งกับบุคคลอื่น ถ้าเราดีเสียแล้วก็ไม่สร้างความยุ่งยากความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น อาการที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่นก็ชื่อว่าไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง คนอื่นเขามีอารมณ์เป็นสุขเราก็มีอารมณ์เป็นสุข ถ้าเราทำคนอื่นเขาให้มีความเร่าร้อน เราก็ได้รับอารมณ์เร่าร้อนเช่นเดียวกัน

    พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ปูชโก ละภะเต ปูชัง วันทโก ปฏิวันทะนัง ผู้บูชาย่อมได้การบูชาตอบ ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบ ถ้าเรามีพรหมวิหาร ๔ เสียอย่างเดียว มันจะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นความเร่าร้อนมันก็ไม่เกิดขึ้น ขอทุกท่านจงพยายามควบคุมกำลังใจ ประพฤติปฏิบัติให้ถูกแบบ เพราะสถานที่นี้เป็นพุทธเขต คือเป็นเขตของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าย่อมจะไม่เลี้ยงคนชั่ว พระพุทธเจ้าทรงยกย่องแต่คนดี นิคคหะ ปัคคหะ เป็นจริยาของพระพุทธเจ้า ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ความดีเป็นส่วนของความดี ใครผิดพระพุทธเจ้าลงโทษ อย่าเอาความดีเข้ามาบวก ถือว่าทำความดีแล้วทำความชั่วไม่มีโทษ อันนี้ไม่ได้ มันคนละเรื่อง นี่เป็นการควบคุมกำลังใจของเราให้เข้าถึงพระโสดาปัตติผล

    อารมณ์แห่งพระโสดาปัตติผลนี่ความจริงมันเป็นหญ้าปากคอกแล้ว พูดกันง่ายๆ ก็เป็นของเด็กเล่นสำหรับผู้ใหญ่ เราบวชกันเข้ามาแล้ว เวลานานพอสมควรทำไมไม่รักษาอารมณ์นี้ให้ได้ นี่พูดสำหรับคนชั่ว สำหรับที่ท่านมีอารมณ์ดีก็มีมาก ที่รู้ว่าอารมณ์ชั่วก็เพราะว่าปากชั่ว จริยาเกิดทางกายชั่ว มันมาจากใจชั่ว ให้รู้ตัวความชั่วของตัวไว้ ทีนี้เราจะปราบความชั่วของเราได้ยังไง ก็ทรงพรหมวิหาร ๔ ไว้เป็นสำคัญ ถ้ามีพรหมวิหาร ๔ แล้ว หาชั่วไม่ได้ ศีลก็บริสุทธิ์

    พระโสดาบัน ท่านบอกว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ คำที่จะเคารพจริงๆ หรือการที่จะเคารพจริงๆ ก็คือ คุมศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตให้เกิดขึ้น ทรงกายสุจริต ทรงวจีสุจริต ทรงมโนสุจริต นี่เป็นจริยาของฆราวาส หรือของพระ สำหรับพระเณร มีศีลมากอยู่แล้วก็ไม่ควรจะเลว ถ้าเลวละก็ไปเปรียบเทียบกับสัตว์เดรัจฉาน สู้สัตว์เดรัจฉานไม่ได้ ตามที่พูดแล้วเมื่อคืนนี้

    เมื่อคืนเราอธิบายกันมาแล้วว่า อาการของพระโสดาบันก็มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีลห้าบริสุทธิ์ เพราะมีอธิศีลสิกขาเป็นสำคัญ เป็นปัจจัยของพระโสดาบันกับพระสกิทาคา ในเมื่อพูดกันตอนนั้น และก็ปรารภกันบอกว่าการปฏิบัติอย่างนี้ไม่ต้องสนใจเรื่องจริต จริตมันจะเป็นยังไงก็ช่าง เราสนใจอยู่อย่างเดียวว่า มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ มีศีลบริสุทธิ์ มีนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็มี มรณานุสสติกรรมฐาน เป็นอารมณ์ นึกถึงความตายไว้เป็นปกติ ว่าตายแล้วเราจะไม่ยอมไปในที่ชั่ว

    ทีนี้ถ้าเราจะตายให้มันดี มันก็ต้องมีกายดี วาจาดี มีใจดี ถ้าหากว่าเรามีกายชั่ว วาจาชั่ว ใจชั่ว ตายแล้วมันก็ชั่ว คือพระโสดาบันคุมกำลังใจให้ทรงอยู่ในความดีเท่านั้น ยังไม่สามารถจะตัดความโลภได้ ยังไม่สามารถจะตัดความรักได้ ยังไม่สามารถจะตัดความโกรธได้ ยังไม่สามารถจะตัดความหลงได้ แต่สิ่งทั้ง ๔ ประการนี้ยับยั้งอยู่ในขอบเขตของศีล มีวงแคบเข้ามา

    เมื่อคืนนี้เราพูดกันถึงอาการที่จะทรงพระโสดาบัน ถ้าใครเขาจะถามหรือไม่ถาม เราก็สร้างความเข้าใจของเราเอง เพราะคำว่าพระโสดาบันนี่ไม่ต้องการสมาธิหรือยังไง ทำไมจึงไม่ได้พูดถึงสมาธิกันบ้าง เป็นอันว่าโสดาบันไม่ต้องหาสมาธิจิตหรือ คนอื่นเขาถามหรือท่านจะถามก็ตามใจ หรือเขาไม่ถามก็ได้ ก็เตรียมแก้ความเข้าใจตัวเองเข้าไว้

    ก็จงตอบเขาบอกว่า คนที่นึกถึงพระพุทธเจ้า คุณความดีของพระพุทธเจ้าเป็นปกติไม่ขาดในอารมณ์ของจิต อันนี้เป็นการเจริญพระกรรมฐานเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ปรารภคุณความดีของพระธรรม ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปกติ ไม่ลืมความดีในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้แล้ว อันนี้เป็น ธัมมานุสสติกรรมฐาน

    เรานึกถึงคุณความดีของพระอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน จนได้บรรลุมรรคผลเราก็แสวงหาความดีตามนั้นตามท่าน ปฏิบัติตามท่าน นึกถึงท่านเข้าไว้ อย่างนี้เป็น สังฆานุสสติกรรมฐาน เรานึกถึงศีลที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงมอบให้ แนะนำสั่งสอนเรา ระมัดระวังศีลทุกข้อทุกสิกขาบทให้ปรากฏอยู่ครบถ้วนอยู่ด้วยดี อย่างนี้เป็น สีลานุสสติกรรมฐาน

    เรานึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ คิดว่าการปฏิบัติอย่างนี้เรามีความมุ่งหมายอย่างเดียวคือพระนิพพาน อย่างนี้เป็น อุปสมานุสสติกรรมฐาน เรามีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตายแน่ จะตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายด้วยอาการปกติ หรือด้วยอุบัติเหตุก็ตาม ก็ขึ้นชื่อว่าจะต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิต ก่อนที่เราจะตาย จะกอบโกยความดีใส่กำลังใจไว้ให้มันครบ พระพุทธเจ้าทรงสอนแบบไหน ปฏิบัติให้จบ ให้ครบทุกประการ ให้บริบูรณ์ทั้งหมด ในฐานะที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต อย่างนี้เป็น มรณานุสสติกรรมฐาน

    เป็นอันว่าด้านของสมาธิจิตของพระโสดาบันนับไปให้ดีว่ามีอะไรบ้าง ๑. พุทธานุสสติ ๒. ธัมมานุสสติ ๓. สังฆานุสสติ ๔. สีลานุสสติ ๕. อุปสมานุสสติ ๖. มรณานุสสติ ทีนี้การเจริญพระกรรมฐานพร้อมๆ กันเขาทำยังไง การที่จะเป็นพระโสดาบันมีกฎบังคับว่า ถ้าอารมณ์จิตต่ำกว่าปฐมฌานจะเป็นพระโสดาบันไม่ได้ หรือว่าจะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ อย่างเลวที่สุดจิตต้องทรงอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ และอย่างดีที่สุดจิตก็จะทรงอยู่ในฌาน ๔ เป็นปกติ

    แต่ฌาน ๔ นี่ปกติไม่ได้ ปกตินี่หมายความว่าถึงเวลาที่เราจะใช้ ในยามปกติธรรมดาเราพูด เราคุย เราทำงาน จิตต้องอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ แล้วอารมณ์ปฐมฌานเป็นอย่างไร อารมณ์ปฐมฌานก็คือว่า เมื่อกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นสำหรับเรา อารมณ์นี้จะคุมอยู่ในอนุสติทั้ง ๖ ตลอดเวลา เราจะไม่ลืมพระพุทธเจ้า เราจะไม่ลืมพระธรรม เราจะไม่ลืมพระสงฆ์ เราจะไม่ลืมศีล เราจะไม่ลืมพระนิพพาน เราจะไม่ลืมนึกถึงความตาย

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>นี่ถ้าทุกคนมีอารมณ์อย่างนี้มันจะมีบ้างไหมที่สร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่น จะไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น จะไปยุ่งกับอาการของบุคคลอื่น จะไปติโน่นติงนี่ ว่าคนนั้นด่าคนนี้ เสียดสีคนโน้นเสียดสีคนนี้ มันจะมีไหม แล้วมีการทนงตน มันจะมีไหม ไม่มีสำหรับคนดีประเภทนี้ </TD></TR></TBODY></TABLE>ความจริงพระโสดาบันไม่มีอารมณ์สูงพิเศษอะไรเลย ถ้าเราจะกล่าวกันว่า ถ้าเป็นชาวบ้านก็เป็นชาวบ้านชั้นดีเท่านั้น ถ้าเป็นพระก็เป็นพระชั้นเลว ไม่ใช่พระชั้นดี พระโสดาบันนี่เป็นพระเริ่มต้น เป็นพระเด็กๆ ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าพระชั้นเลว ถ้าเป็นฆราวาสก็เป็นฆราวาสชั้นดี แต่ถ้าอารมณ์ของเราทรามลงกว่าพระโสดาบันล่ะ ถ้าเป็นพระก็เลยเป็นพระเดรัจฉานไป ถ้าฆราวาสก็จัดว่าเป็นปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส เป็นพาลชน คนโง่ โง่เพราะอะไร โง่เพราะไม่คุมความดี ไม่หาความสุขให้เกิดแก่ตน

    ทั้งนี้ก็เพราะว่า คนที่เข้าถึงพระโสดาบันน่ะมีอารมณ์เป็นสุขปกติ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คำว่าไม่ถือมงคลตื่นข่าว ก็คือเขาเฮที่ไหนไปที่นั่น เขาลือที่โน่นดีไปที่โน่น เขาลือที่นี้ดีมาที่นี่ ผลที่สุดหาดีอะไรไม่ได้ จับไม่ถูก มีอารมณ์ไม่แน่นอน มีสติไม่ตรง อย่างนี้ไม่ใช่พระโสดาบัน สำหรับพระโสดาบันน่ะอยู่ที่ไหนก็อยู่ที่นั่น ที่ไหนไม่สำคัญคำสอนของอาจารย์องค์ไหน พระองค์ไหน องค์ไหนๆ ก็ไม่สำคัญ ถ้าตรงต่อคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคตพระโสดาบันยอมรับ

    ย่อมแต่ไม่ถือว่าอาจารย์เป็นสำคัญ ถือพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ ไม่ใช่ไปนั่งนับถือตัวบุคคลว่า พระองค์นั้นสอนดี พระองค์นี้สอนไม่ดี อาจารย์องค์นั้นสอนดี อาจารย์องค์นี้สอนไม่ดี เขาไม่ถืออาจารย์เป็นตัวสำคัญ เพราะท่านถือว่าเป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส ฉะนั้น ท่านที่ถึงพระโสดาบันแล้วจึงยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระพุทธบิดา อย่าง พระนางสามาวดี

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=120>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>พระนางสามาวดี เมื่อพระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอทรงขอขมาเพราะการหลงผิด ลงโทษพระนางสามาวดีโดยไม่มีโทษ แต่โทษไม่เกิด เพราะลูกศรไม่ทำอันตรายพระนาง พระเจ้าอุเทนก้มลงจะกราบขอขมา พระนางบอกว่าขอขมาหม่อมฉันไม่ได้ ต้องไปขอขมาต่อบิดาของหม่อมฉัน นี่การผิดในพระอริยเจ้า ต้องขอขมาตรงต่อพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าขอขมาต่อบิดาเพราะถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นพ่อ ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย การปฏิบัติพระกรรมฐาน จงอย่านำความเลวเข้ามาไว้ในจิต ขอได้โปรดทราบว่าสำนักของเราตั้งมานานพอสมควร องค์เก่าอยู่นานพอสมควร ถ้ายังมีอารมณ์เลวอยู่ เราก็จะคัดออกไป จะไม่เห็นหน้ากับบุคคลผู้ใด ทำความดีเพียงใด นั่นเป็นเรื่องของความดี แต่ความชั่วต้องเป็นเรื่องของความชั่ว อย่าเอาความดีเข้ามากู้ความชั่ว อันนี้อภัยให้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็ปฏิบัติอย่างนั้น</TD></TR></TBODY></TABLE>เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย ถ้าปรารถนาจะทรงความเป็นพระโสดาบันไว้ แต่ความจริงพระโสดาบันนี่ใครปฏิบัติเต็ม ๓ เดือน ไม่ได้พระโสดาบันนี่รู้สึกว่าจะเลวเกินไป เพราะมันเป็นของไม่ยาก จะเลวเกินกว่าที่คิดว่ามีความดีอยู่บ้าง เพราะว่าอะไร เพราะว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ นึกถึงความดีของท่านเป็นปกติ อันนี้มันน่าจะมีกับพวกเราอยู่แล้วเป็นของธรรมดา และการมีศีลบริสุทธิ์มันก็ควรจะมีอยู่แล้ว

    นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ มันก็ควรจะมีได้เป็นของไม่ยาก นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ มันก็ควรจะมีอยู่แล้ว และการตัดกิเลสก็ไม่มีความสำคัญตรงไหน ยังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง แต่ไม่ละเมิดศีล รักแต่ไม่รักนอกขอบเขตของศีล อยากรวยก็รวยด้วยความบริสุทธิ์ คือไม่คดโกงใคร ทำมาหากินตามปกติ โกรธแต่เราไม่ประหัตประหารบุคคลอื่น หลง ยังรักสวยรักงามแต่ไม่ลืมความตาย นี่เป็นของง่ายๆ หญ้าปากคอก เป็นของที่ไม่เกินวิสัย พอจะทำได้

    หวังว่าต่อนี้ไปท่านทั้งหลายคงจะไม่มีใครเลว มีแต่ความดี และก็ทรงความดีทั้งหลายอย่างนี้ไว้ ถ้าเป็นพระ ทรงความดีแค่นี้ผมยังถือว่าเลวเกินไปในฐานะที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ สำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัทที่เป็นฆราวาสก็ขอยกย่องว่า ถ้าทรงไว้ได้จัดว่าเป็นความดี และต่อจากนี้ไปขอท่านทั้งหลายโปรดตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๓) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อ่านกันหน่อยครับเพื่อปติบัติที่ถูกทาง หลวงพ่อเทศไว้ดีมากๆเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...