หลวงปู่ดูลย์สรุปหลักการภาวนา

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย lionking2512, 19 กรกฎาคม 2010.

  1. lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    [FONT=&quot]ถ้าเรามีเวลาสำหรับหายใจ เราก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]ของดีต้องภาวนาเอาจึงจะได้ เมื่อภาวนาแล้วใจก็สงบ กายวาจาก็สงบ แล้วกายก็ดี วาจา ใจก็ดี เราก็อยู่ดีมีสุขเท่านั้นเอง การแก้ไขความทุกข์ ความกลุ้มใจ ซึ่งมักจะเกิดเป็นประจำ ก็มีหลักอยู่ว่า[/FONT]<o></o>

    [FONT=&quot]อย่าส่งจิตออกนอก ทุกข์ต้องกำหนดรู้ เมื่อรู้ให้ละเสีย ไปไว้มันทำไม[/FONT]<o></o>

    [FONT=&quot]หมายถึงให้รับรู้อารมณ์ความทุกข์ดังกล่าว แต่จิตใจของเราอย่าไปยึดมั่นถือมั่น ให้ยึดหลักการปฏิบัติที่ว่าการไม่กังวล การไม่ยึดถือนั้นแหละเรียกว่า วิหารธรรมของนักปฏิบัติ[/FONT]<o></o>

    [FONT=&quot]และก็มีอยู่มากที่นักปฏิบัติชอบพูดถึงคือ ชอบโจษขานกันว่า นั่งภาวนาแล้วเห็นอะไรบ้างปรากฏอะไรมาบ้าง ทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่าภาวนาแล้วตนจะได้เห็น สิ่งที่ต้องการเป็นต้น ซึ่งการปรารถนาเช่นนั้นผิดหมด[/FONT]<o></o>

    [FONT=&quot]หลักธรรมที่แท้จริงคือ จิตให้กำหนดดูจิตให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเอง ได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม[/FONT]<o></o>

    [FONT=&quot]ไม่ควรให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพาทา ความหน่าย คลายกำหนัด ย่อมตัดอุปทานขันธุ์ได้เช่นเดียวกัน
    [/FONT]<o></o>

    <o></o>[FONT=&quot]และก็อีกเรื่องหนึ่งสำหรับผู้สนใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว มีความงวยงงสงสัยอย่างยิ่งในทางปฏิบัติ เนื่องจากคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาแนะแนวปฏิบัติไม่ตรงกัน ซึ่งจริงๆแล้วการเริ่มต้น ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติ ไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ แสง สี และคำบริกรรมต่างๆ เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่ง ให้จิตรวมอยู่ก่อน เมื่อจิตรวมสงบ แล้วคำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง แล้วก็ถึงรอยเดียวกันคือ มี วิมุตติ เป็นแก่นปัญญาเป็นยิ่ง[/FONT]<o></o>

    [FONT=&quot]และก็ไม่ควรที่จะยึดติด กับความสุขจากสมาธิ เพราะถึงแม้ว่า ความสุขในสมาธิมันสุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบไม่ได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้นมันก็ได้แค่นั้นแหละ

    ยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัดภพชาติ ตัณหาอุปาทานได้ ให้ละสุขนั้นเสียก่อน แล้วพิจารณาขันธุ์ห้า ให้แจ่มแจ้งต่อไป ควรที่จะมุ่งปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อคลายความกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ไม่ใช่เพื่อเห็น สวรรค์ วิมานหรือแม้แต่พระนิพพาน ก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่อยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวตนหาที่ตั้งไม่มีหาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงรู้เอง[/FONT]<o></o>


    [FONT=&quot]ขอให้จงสำรวจดูความสุขว่าตรงไหนที่ตนเห็นว่า มันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้ว มันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยรู้ เคยพบมาแล้วเท่านั้นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มีในโลก มีอยู่แค่นี้เอง แล้วก็ซ้ำๆซากๆ อยู่แค่นี้ เกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่ร่ำไป

    มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่าประเสริฐกว่านั้นปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาความสุข อันเกิดจากความสงบทางกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบเทียบมิได้เลย[/FONT]<o></o>


    [FONT=&quot]ในที่สุดเมื่อมาถึงตรงนี้ ก็พอจะมีข้อสรุปของแนวทางปฏิบัติ ให้วินิจฉัยได้ว่า พระอริยเจ้าท่านจะให้ความสำคัญ ในเรื่องจิตมาก โดยที่จะเน้นให้ดูจิตที่จิต อย่าส่งจิตออกนอก เพราะเมื่อแยกพันธะแห่งความเกี่ยวเนื่อง จิตกับสรรพสิ่งทั้งปวงได้แล้ว จิตก็หมดพันธะกับเรื่องโลก รูป เสียง กลิ่น รสสัมผัส จะดีหรือเลว มันขึ้นอยู่กับจิตที่ออกไปปรุงแต่งทั้งนั้น

    แล้วจิตที่ขาดปัญญาย่อมเข้าใจผิด เมื่อเข้าใจผิดก็หลงอยู่ภายใต้อำนาจของเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ทั้งทางกายและทางใจ อันโทษทัณฑ์ทางกาย อาจมีคนช่วยปลดปล่อยได้บางส่วน โทษทางใจ มีกิเลสตัณหา มาเป็นเครื่องร้อยรัดไว้นั้น ต้องรู้จักปลดปล่อยด้วยตนเอง [/FONT]


    [FONT=&quot] ที่มา ธรรมเทศนาของพระราชวุฒาจารย์ ( หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ) จากหนังสือคติธรรมนำชีวิต สู่ความสุขและความร่ำรวย

    [/FONT]
    [FONT=&quot]พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านพ้นแล้วจากโทษทั้งสองทาง ความทุกข์จึงครอบงำไม่ได้[/FONT]

    [FONT=&quot]<o>
    </o>[/FONT]​
     
  2. โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    เป็นแก่นธรรม เป็นหลักธรรมคำสอนที่สำคัญยิ่ง
    อนุโมทนาครับ.
     
  3. น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ไว้ถึงเวลานั้นจะทำตามอย่างแน่นอนค่ะ
     

แชร์หน้านี้