หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค พระโพธิสัตว์แห่งอยุธยา ตอน.การสร้างพระของหลวงพ่อปาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 5 พฤษภาคม 2015.

  1. joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค พระโพธิสัตว์แห่งอยุธยา ตอน.การสร้างพระของหลวงพ่อปาน

    ในปี พ.ศ.2446 นั้น หลวงพ่อปานดำริที่จะหาปัจจัยมาการดำเนินการปรับปรุงเสนาสนะภานในวัดบางนมโคและจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนองค์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม แล้วท่านก็ได้พบชีปะขาวและท่านอาจารย์แสงดังกล่าวมาแล้วท่านตัดสินใจสร้างพระเครื่องขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2450 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านอย่างเต็มที่ ผู้มีความรู้ทางช่างก็แกะแม่พิมพ์ถวาย บรรดาลูกศิษย์ก็ออกแสวงหาวัตถุมงคลต่างๆ มาให้ ทั้งว่านที่เป็นมงคลและมีสรรพคุณทางยา เกสรดอกไม้ที่เป็นมงคลนาม ดินขุยปูนา ตลอดจนพระพิมพ์โบราณที่ชำรุดแตกหัก เพื่อนำมาผสมเป็นเนื้อพระ พระพิมพ์ชุดนี้ศิลปะแม่พิมพ์ไม่สวยงามนักเนื่องจากเป็นช่างฝีมือชาวบ้าน เรียกกันว่า “พิมพ์โบราณ” สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2451 จำนวนการสร้างไม่มากนัก ผู้มีไว้บูชาก็หวงแหน จึงหาดูได้ยากยิ่งนัก จะมีเล่นหากันอยู่ก็คือ “พิมพ์ขี่เม่น” (สมัยก่อนเรียก “พิมพ์ขี่หมู” เพราะตัวเม่นมองดูคล้ายหมูมากว่า) และ “พิมพ์ขี่ไก่” ซึ่งจะมีขนาดเล็กและบางกว่าพิมพ์มาตรฐานมาก การอุดผงจะอุดขอบพระด้านล่าง และเนื้อขององค์พระค่อนข่างแกร่งต่อมาจึงจัดหาช่างฝีมือดีมาแกะแม่พิมพ์ใหม่ศิลปะแม่พิมพ์จึงสวยงามขึ้นมาก เราเรียกกันว่า “พิมพ์นิยม” หรือ “พิมพ์มาตรฐาน” สร้างแจกในปี พ.ศ.2460 พร้อมมีสลากกำกับวิธีการใช้พระให้ด้วยนับเป็นที่นิยมอย่างมากในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องในปัจจุบัน สนนราคาเป็นหลักแสนทีเดียวของทำเทียนเลียนแบบก็เยอะ หาดูของแท้ๆ ยาก เช่นกันนอกจาก “พระหลวงพ่อปาน” ซึ่งเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาแล้ว หลวงพ่อปานยังได้สร้างวัตถุมองคลอื่นๆ เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าอีกด้วย อาทิ ผ้ายันต์เกราะเพชร ลูกอม ตะกรุด และแหวนพระหลวงพ่อปานท่านกล่าวว่า หัวใจสำคัญในการสร้างพระก็คือ “ผงวิเศษ” ที่บรรจุอยู่ในองค์พระการทำ “ผงวิเศษหัวใจสัตว์” จะกระทำในพระอุโบสถโดยนั่งสมาธิเขียนอักขระเลขยันต์หัวใจของสัตว์ต่างๆ ทั้ง 6 ชนิดที่หลวงพ่อปานเห็นมาในนิมิตแล้วลบผงวิเศษนี้ออกมา หัวใจนี้ท่านมิได้ถ่ายทอดให้กับผู้ใดเพราะถือเป็นวาสนาเฉพาะบุคคล มีหลวงพ่อปานเป็นคนแรกที่ทำได้และเป็นคนสุดท้ายไม่มีการสืบทอด การทำผงพระนี้ยากมากต้องมีสมาบัติ 8 รูป สัตว์ทั้ง 6 ชนิด คือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น และนก นั้น หากจะทำชนิดใดก็ต้องล็อกคาถาของสัตว์ชนิดนั้นมาทำผง เช่นจะทำพระขี่นก จะเอาผ้าขาวมาเสกให้เป็นนกแล้วกางปีกออก จะมีพระคาถาอยู่ในปีกแล้วล็อกพระคาถามาทำผง เมื่อได้ผงมาก็ต้องนั่งปลุกเสกในโบสถ์ อดข้าว 7 วัน 7 คืน ออกไปไหนไม่ได้เลยต้องเข้าสมาบัติตลอดขณะที่ปลุกเสกพระอยู่ในโบสถ์ จะมีการตั้งบาตรน้ำมนต์ไว้สี่มุม เวลาบริกรรมคาถาบรรดาคุณไสยต่างๆ ที่มีผู้กระทำมาในอากาศก็จะกระทบกับพระเวทย์ของหลวงพ่อปาน แล้วร่วงหล่นสู่บาตน้ำมนต์ มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นการตัดไม้ข่มนามพวกคุณไสย ผงวิเศษนี้จึงสามารถป้องกันคุณไสยได้

    ผงวิเศษสูตรที่ 2 หลวงพ่อปานท่านใช้ “ผงวิเศษจากยันต์เกราะเพชร” โดยตั้งสมาธิเขียนยันต์บนกระดานชนวน แล้วชักยันต์ขึ้นแล้วลบผงมา ต้องใช้ความพยายามและความอดทนอย่างสูงเพราะต้องใช้เวลายาวนานมากกว่าจะลบผงออกมาได้และต้องถูกต้องทุกขั้นตอนตามที่ตำราระบุไว้จึงจะมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์

    ผงวิเศษสูตรสุดท้ายคือ “ผงวิเศษ 5 ประการ” ประกอบด้วย ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนสิงเห และผงพระพุทธคุณ อันเป็นยอดของผงวิเศษที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังฯ หลวงปู่ภู วัดอินทร์ และพระปิลันทน์ วัดระฆังฯ ใช้เป็นส่วนผสมในเนื้อมวลสารของพระเครื่องที่ท่านสร้าง อันทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

    หลวงพ่อปานใช้เวลาทำอยู่ตลอดพรรษาจนมีจำนวนมากพอผงวิเศษที่ได้มาทั้งหมดนี้ นับเป็นผงที่มีพุทธคุณเอกอนันต์ใช้งานสารพัดอย่างเป็นเลิศเรียกว่าเป็น “กฤตยาคมแฝด” ที่พระพิมพ์อื่นๆ ไม่มีขั้นตอนการสร้างองค์พระหลวงพ่อปานจะนำดินขุยปูและดินนวลหรือดินเหนียวในทุ่งนาที่ขุดลงไปค่อนข้างลึกเพื่อให้ได้เนื้อดินที่ละเอียดซึ่งชาวบ้านหามาให้นั้น มากรองบดและนวด ให้เนื้อดินเหนียวและเนียน จากนั้นแบ่งออกเป็นก้อนเล็กๆ นำไปกดกับแม่พิมพ์พระที่เตรียมไว้วิธีการนำพระออกจากแม่พิมพ์ของหลวงพ่อปานก็แตกต่างจากพระคณาจารย์ท่านอื่น คือจะใช้ไม้ไผ่เหลาให้ปลายแหลมๆ แล้วเสียบที่ด้านบนเศียรพระงัดพระออกจากพิมพ์ ซึ่งจะเกิดเป็น “ร” เพื่อบรรจุ “ผงวิเศษ”

    ดังนั้นขนาดและรูปทรงของรูจะไม่มีมาตรฐานแน่นอน ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ยาวบ้างสั้นบ้าง หรือเหลี่ยมบ้างกลมบ้าง แล้วหลวงพ่อก็จะนำพระที่กดพิมพ์เรียบร้อยไปบรรจุในบาตรจำนวนพอสมควร นำมาสุมด้วยแกลบจุดไฟเผาจนพระสุกแดงได้ที่จึงลาไปออก ปล่อยไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาบรรจุ “ผงวิเศษ” ลงในรูจนเต็ม ใช้ซีเมนต์ผสมปิดทับอีกทีหนึ่งเมื่อแห้งจะทนทานมาก บริเวณที่อุดนี้จะเป็นสีเทาของซีเมนต์ผสมกับสีขาวของผงวิเศษทุกองค์ อันเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งพิธีปลุกเสกพระทำในพระอุโบสถ หลวงพ่อปานท่านจะตั้งบายศรีราชวัตรฉัตรธง หัวหมู ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เมื่อปลุกเสกครบไตรมาส

    หลวงพ่อจะย้ายกลับมาปลุกเสกที่กุฎิของท่านต่อทุกคืนจนถึงวันไหว้ครูประจำปีของท่าน แล้วจะตั้งพิธีเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง ท่านกล่าวว่า “ต้องอาราธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระปัจเจกะพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยสาวกทุกองค์ ตลอดจนพระพรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย การชุมนุมบวงสรวงเช่นนี้ประเดี๋ยวก็เสร็จไม่ต้องถึงสามเดือนอย่างที่แล้วมา จงจำไว้ว่าการจะปลุกเสกพระหรือผ้ายันต์อะไรก็ตาม ถ้าจะอาศัยอำนาจของเราอย่างเดียวไม่ช้าก็เสื่อม เราน่ะมันดีแคไหน การทำตัวเป็นคนเก่งน่ะมันใช้ไม่ได้ มันต้องให้พระท่านเก่ง พระพุทธท่านเก่ง พระธรรมท่านเก่ง พระสงฆ์ท่านเก่ง เทวดาท่านเก่ง พระพรหมท่านเก่ง ท่านมาช่วยทำประเดี๋ยวเดียวก็เสร็จดีกว่าเราทำตั้งพันปีเราต้องการให้ท่านช่วยอะไรก็บอกไป ของที่ทำจะคุ้มครองผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองได้ทุกคนถ้าหากพระก็ดี พระพรหมก็ดี เทวดาก็ดี ท่านช่วยคุ้มครองให้ ท่านก็มองเห็นถนัด คุ้มครองได้ถนัดและจำไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้านำของนั้นไปใช้ในทางทุจริตคิดมิชอบก็ไม่มีอะไรจะคุ้มครองได้ ที่เป็นคนเลวอยู่แล้วก็ช่วยพยุงให้เลวน้อยหน่อย ต้องช่วยตัวเองด้วยไม่ใช่จะคอยพึ่งผ้ายันต์หรือพระ ถ้าดีอยู่แล้วก็ช่วยให้ดียิ่งขึ้น นี่เป็นกฎของอำนาจพระพุทธบารมี พระธรรมบารมี พระสังฆบารมี ตลอดจนพระพรหมและเทวดาทั้งหลาย...
    ลักษณะพิมพ์ทรง
    พระหลวงพ่อปาน พิมพ์มาตรฐาน หรือพิมพ์นิยม ซึ่งเป็นที่นิยมเล่นหากันในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง นั้น แบ่งแยกเป็นพิมพ์หลักๆ ได้ทั้งหมด 6 พิมพ์ ตามชนิดของสัตว์ในนิมิตทั้ง 6 ชนิด คือ พิมพ์ขี่ไก่ พิมพ์ขี่ครุฑ พิมพ์ขี่หนุมาน พิมพ์ขี่ปลา พิมพ์ขี่เม่น และพิมพ์ขี่นก ในปัจจุบันบางท่านกล่าวว่า “ขี่” เป็นภาษาที่ไม่สุภาพให้เปลี่ยนเป็น “ทรง” แทน

    พิมพ์หลักๆ ของพระหลวงพ่อปานทั้ง 6 พิมพ์นี้ยังแยกย่อยออกเป็นพิมพ์ต่างๆ อีกค่อนข้างมากที ตัวอย่างเช่น
    1.พิมพ์ขี่ไก่ มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่ไก่หางพวง ได้รับการยอมรับให้เป็นพิมพ์นิยมอันดับหนึ่ง องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานเม็ดบัวชั้นเดียว ตัวไก่จะใหญ่ มีหางเป็นพุ่มลูกนัยตาคมชัดสวยงาม เป็นพิมพ์ที่หาดูไดยาก
    • พิมพ์ขี่ไก่หางรวม องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวลักษณะเป็นกลุ่มยาว แยกไม่ออกว่าเป็น 2 หรือ 3 ชั้น ตัวไกคล้ายกระจับที่นำมาต้มรับประทาน ด้านล่างจะมีเส้นขนเป็นเส้นๆ ปรากฏชัดเจน
    • พิมพ์ขี่ไก่หาง 3 เส้น องค์พระประธานประทับนั่งบน ฐานบัวเม็ดแถวเดียว ตัวไก่มีหงอนลักษณะคล้ายอยู่ในท่านั่งหางเป็น 3 เส้น
    • พิมพ์ขี่ไก่หาง 4 เส้น หรือพิมพ์ขี่ไก่หางแฉก
    • พิมพ์ขี่ไก่ หาง 4 เส้น บัว 2 ชั้น ตรงหางไก่จะมี 2 เส้นสั้น 2 เส้นยาวและค่อนข้างโค้ง
    • พิมพ์ขี่ไก่ยันต์แถวเดียว
    • พิมพ์ขี่ไก่หาง 5 เส้นเป็นต้น

    2. พิมพขี่ครุฑ “ครุฑ” ในตำนานศาสนาพราหมณ์ถือกันว่าเป็นเจ้าแห่งนก เป็นสัตว์ที่มีอำนาจมากการแกะแม่พิมพ์สวยงดงามอ่อนช้อยมากมีอาทิ
    • พิมพ์ขี่ครุฑใหญ่ องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานเส้นเดียว ตัวครุฑมีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์อื่นๆ มีลักษณะคล้ายครุฑหลวงของทางราชการ
    • พิมพ์ขี่ครุฑผีเสื้อ องค์พระประทับนั่งบนฐานเม็ดบัว 2 ชั้น ปีกเป็นเส้นพลิ้วปลายแหลมลักษณะคล้ายๆ ผีเสื้อมาก
    • พิมพ์ขี่ครุฑเล็ก องค์พระประทับนั่งบนฐาน ตัวครุฑคล้ายกำลังกำหมัด ปีกโค้งปลายแหลม

    3. พิมพ์ขี่หนุมาน ลักษณะการแกะแม่พิมพ์สวยงามไม่แพ้พิมพ์ขี่ครุฑ แสดงถึงความประณีตบรรจงของช่าง สื่อให้เห็นความอลังการ ความเข้มขลังของ “หนุมาน” ซึ่งหมายถึงพญาลิงผู้มีอิทธิฤทธิ์ มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่หนุมานใหญ่ รายละเอียดต่างๆ ขององค์พระคมชัดงดงาม หนุมานแสดงอาการแบกประคองพระประธานสมส่วนเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
    • พิมพ์ขี่หนุมานหาวเป็นดาวเดือน หนุมาน จะอยู่ในอาการเหินหาว ชายผ้ายาว มองดูเข้มขลังไปอีกแบบ พิมพ์นี้ไม่คอยพบเห็นมากนัก สนนราค่าค่อนข้างสูง
    • พิมพ์หนุมานแบกแท่น หนุมานแสดงท่าเหาะเหิน มือ 2 ข้างแบกแท่นอาสนะฐาน 3 ชั้นไว้จุดสังเกตยันต์บนองค์พระประธานเป็นแนวตั้ง
    • พิมพ์หนุมานแบกแท่นยันต์แถวเดียวลักษณะอาการเดียวกับพิมพ์ขี่หนุมานแบกแท่น แต่ยันต์บนองค์พระเป็นยันต์แบบแถวเดียว

    4. พิมพ์ขี่ปลา มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่ปลาเสือ องค์พระประธานจะค่อนข้างอวบอ้วน ลักษณะคล้ายนั่งอยู่ในพาน พระเกศคล้ายหมวกฤาษี อักขระยันต์เป็นตัวใหญ่หนาและนูนสูง ตัวปลาแผ่กางครีบและหาง หันหัวไปทางต้านขวาของพระประธาน
    • พิมพ์ขี่ปลากัด องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ตัวปลาแผ่ครีบและหางตลอดจนตะเกียบใต้ท้อง หันหัวไปทางด้านซ้ายขององค์พระ
    • พิมพ์ขี่ปลาจีน พระพิมพ์นี้รายละเอียดเส้นแสงกลมกลืนสวยงาม ทั้งตัวปลา ครีบ และหางตลอดจนเส้นอักขระยันต์ จุดสังเกตสำคัญคือ จะมีซุ้มครอบแก้วล้อมรอบองค์พระประธาน และการตัดขอบส่วน มักติดชิดเส้นซ้อมครอบแก้ว ทำให้อักขระตัว “อุ” ทั้ง 2 ข้างปรากฏเด่นชัด
    • พิมพ์ขี่ปลาหมอ เป็นพิมพ์ที่ค่อนข้างหาดูได้ยากพิมพ์หนึ่ง มีทั้งแบบยันต์กลับและ
    ยันต์ผสม

    5. พิมพ์ขี่เม่น มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่เม่นบัว 2 ชั้น 7 จุด ตัวเม่นจะค่อนข้างอวบอ้วน องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวเม็ด 2 ชั้น นับได้แถวละ 7 จุด
    • พิมพ์ขี่เม่นบัว 2 ชั้น 8 จุด พิมพ์นี้ตัวเม่นจะผอม องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวเม็ด 2 ชั้น นัดได้แถวละ 8 จุด
    • พิมพ์ขี่เม่นฐานบัวโค้ง องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวซึ่งเรียงเป็นเม็ดรองรับองค์พระได้อย่างงดงาม
    • พิมพ์ขี่เม่นฐานชั้นเดียว องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัวเม็ด มีเส้นขีดเชื่อมคร่อมเม็ดบัว ตัวเม่นอยู่ในอาการย่างก้าวเดิน
    นอกจากนี้ยังมีพิมพ์ขี่เม่นมังกร, พิมพ์ขี่เม่นกระโดด, พิมพ์ขี่เม่นเล็ก, พิมพ์ขี่เม่นหัวกลับ ฯลฯ

    6. พิมพ์ขี่นก มีอาทิ
    • พิมพ์ขี่นกปางมารวิชัย (ฐานบัวชั้นเดียว) องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานบัว 9 เม็ดมีเส้นขีดใต้ฐาน
    • พิมพ์ขี่นกฐานสามชั้น องค์พระประธานประทับนั่งบนฐานเขียง 3 ชั้น
    • พิมพ์ขี่นกฐานบัวหรือเรียกกันว่า “บัวฟันปลา” ลักษณะบัวจะเป็นเส้นขีดผสม
    • พิมพ์ขี่นกฐานสายบัว พิมพ์นี้หาดูค่อนข้างยาก จุดสังเกตที่ใต้พระเพลาของพระ
    ประธานจะมีเส้นยาวสยายลงมาจรดฐานบัวเหนือตัวนก และตัวนกค่อนข้างจะผอมกว่าพิมพ์อื่นๆ
    ที่มา http://palungjit.org/threads/เพียง๑๐๐บาทร่วมบุญปิดสมเด็จพระพุฒาจารย์โต๖๙นิ้ว.548123/
     

แชร์หน้านี้