หลวงปู่สาร์ กนฺตสีโล : พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 14 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เสนาสนะป่านอกเมืองสกลนคร


    เมื่อเสร็จจากการประชุมคณะศิษย์ที่บ้านโนนแดง แล้ว บรรดาพระอาจารย์ที่เป็นศิษย์แต่ละองค์ต่างก็แยกย้ายออกธุดงค์แสวงวิเวกและประกาศธรรมตามที่ต่างๆ ตามอัธยาศัย

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่มั่น และพระเณรกลุ่มใหญ่ได้เดินธุดงค์มุ่งสู่เมืองสกลนคร

    ในเมืองสกลนคร มีโยมสามคนพี่น้องที่เคยได้กราบและเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทั้งสององค์ มาก่อน คือ คุณแม่นุ่ม คุณเม่นิล ชุวานนท์ และคุณแม่ลูกอินทน์ วัฒนสุชาติ

    ขณะนั้นมารดาของคุณแม่ทั้งสามได้ถึงแก่กรรม และอยู่ระหว่างจัดงานศพ พอได้ข่าวว่า หลวงปู่ทั้งสอง พร้อมด้วยศิษย์จำนวนมากกำลังมุ่งหน้ามาทางสกลนครจึงได้ไปขอนิมนต์ให้มาพักอยู่ที่เสนาสนะป่าชานเมืองสกลนคร

    หลวงปู่ทั้งสอง พร้อมด้วยคณะศิษย์ ได้รับนิมนต์อยู่ร่วมงานศพ เพื่อปลงธรรมสังเวช และพักปักกลดอยู่ที่เสนาสนะป่าแห่งนั้น เป็นการฉลองศรัทธาของโยมสามพี่น้องและชาวเมืองไทสกล ยังความปลาบปลื้มแก่ชาวเมืองสกลนคร ได้พากันมาศึกษาธรรมปฏิบัติจนบังเกิดผลทางใจ และเป็นนิสสัยปัจจัยสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

    ในระหว่างนั้น พระยาปัจจันตประเทพธานี บิดาของพระพินิจฯ ได้ถึงแก่กรรม เจ้าภาพได้อาราธนาหลวงปู่ทั้งสอง พร้อมด้วยสานุศิษย์ในการบำเพ็ญกุศลให้ผู้ตาย

    ในงานฌาปนกิจศพครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่อนุโลมให้พระรับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในบ้านเรือน เพราะเมื่อก่อนนี้พระคณะกรรมฐานได้ถือธุดงค์วัตรในข้อนี้อย่างเข้มงวดกวดขันจริงๆ ไม่ยอมอนุญาตให้รับนิมนต์ไปฉันในบ้าน

    ครั้งนี้จึงเป็นการผ่อนอนุโลมเป็นครั้งแรก และยินยอมให้รับนิมนต์เพื่อฉลองศรัทธาญาติโยมได้ตั้งแต่นั้นมา

    หลังจากเสร็จงานฌาปนกิจศพทั้ง ๒ งานนี้แล้ว หลวงปู่มั่น และคณะศิษย์ ได้กราบลาหลวงปู่ใหญ่ ออกเดินทางไปทางนครพนม เพื่อไปรับโยมมารดา คือ แม่ชีจันทร์ ที่ภูผากูด เพื่อกลับไปพำนักที่อุบลราชธานี บ้านเกิดต่อไป

    หลวงปู่ใหญ่ และคณะศิษย์ของท่าน ยังพำนักที่เสนาสนะป่าแห่งนั้น เพื่ออยู่โปรดศรัทธาชาวสกลนครต่ออีกระยะหนึ่ง (ผู้เขียนเข้าใจว่าท่านพักจำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่นี่)

    เสนาสนะป่าแห่งนี้ ได้กลายเป็นวัดป่าสุทธาวาส สถานที่มรณภาพและถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในเวลาต่อมา
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ้านสามผง ดงพระเนาว์


    ออกจากสกลนคร หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นำคณะศิษย์เดินธุดงค์ขึ้นไปทางบ้านอากาศ (อำเภออากาศอำนวย ในปัจจุบัน) เดินไปตามเส้นทางที่หลวงปู่มั่น เคยไปเมื่อคราวเหตุการณ์ พลิกแผ่นดินบ้านสามผง” แล้วมาพำนักที่เสนาสนะป่าบ้านสามผง หรือ วัดป่าโพธิ์ชัย ของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก แล้วพักจำพรรษาเพื่อโปรดญาติโยมอยู่ที่นี่ ๒ ปี คือปี พ.ศ.๒๔๗๐ - ๒๔๗๑

    นับเป็นบุญวาสนาของญาติโยมชาวสามผง และชาวลุ่มน้ำสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ที่มีบูรพาจารย์ใหญ่สายกรรมฐานทั้ง ๒ ท่าน มาพักจำพรรษาติดต่อกันถึง ๔ ปี คือหลวงปู่มั่น มาจำพรรษา ๒ ปี แล้วหลวงปู่ใหญ่เสาร์ มาอยู่ต่ออีก ๒ ปี นอกจากญาติโยมจะได้รับการอบรมด้านธรรมปฏิบัติอย่างเต็มที่แล้ว ปรากฏว่ามีลูกศิษย์ในแถบถิ่นนี้ เลื่อมใสศรัทธาพากันออกบวชติดตามหลวงปู่ทั้งสององค์ เป็นจำนวนมาก

    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ และคณะตามรอยบาทหลวงปู่เสาร์ ได้ไปติดตามข้อมูลที่ วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง เมื่อปี พ ศ. ๒๕๔๐ พบว่าร่องรอยสิ่งก่อสร้างของหลวงปู่เสาร์ที่คงเหลืออยู่ คือ หอไตรกลางน้ำ ทรงหกเหลี่ยม ที่ชำรุดทรุดโทรมมาก

    พระหลวงตาที่วัดได้เล่าถึงหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ว่า
    “หลังจากท่านหลวงปู่มั่นกลับไปส่งโยมมารดาที่เมืองอุบลฯ แล้ว ไม่นานนักท่านพระอาจารย์เสาร์ ก็ธุดงค์มาถึง ลักษณะท่าทางท่านองอาจ ร่างสูงใหญ่ ผิวขาว ผมขาวโพลน ผิวหน้าสุกแดงปลั่งดั่งพริก มีพระสงฆ์ทั้งพระเจ้าและบวชใหม่เวียนมากราบคารวะรับฟังโอวาท เมื่อยามเช้าติดตามท่านเป็นแถวออกบิณฑบาต มีพระเณรไม่เคยต่ำกว่า ๒๐-๓o รูป มีแม่ชีตามมาปฏิบัติอยู่ป่านอกเขตหน้าวัดไม่ต่ำกว่า ๑๐ รูป มีแม่ชีสาลิกาอายุราว ๖๐ ปี เป็นผู้นำ

    ส่วนหอไตรกลางน้ำนี้ ผู้สร้างคือ หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตฺตโก โดยได้แบบจากหอไตรกลางน้ำที่วัดเกาะแก้วอัมพวัน... จุดประสงค์เพื่อสร้างเป็นหอสมุดให้ปลอดภัยจากปลวก หนู และแมลง


    ปีที่หลวงปู่ใหญ่ และคณะศิษย์ไปพักจำพรรษาที่วัดป่าโพธิชัย บ้านสามผง ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม คือ พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๑ เมื่อท่านอายุ ๖๘ - ๖๙ ปี อายุพรรษา ๔๖ - ๔๗

    <TABLE id=table20 border=0 width=122><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD rowSpan=3 align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 align=middle>
    วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อ ศรีสงคราม จ นครพนม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จากสามผง ลงมานครพนม


    ลุเข้าปี พ ศ. ๒๔๗๒ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลกมีอายุย่างเข้าปีที่ ๗๐ แม้ท่านจะเข้าสู่วัยชราแล้วก็ตาม ท่านก็ยังมีสุขภาพดี แข็งแรงนั่งภาวนาได้นาน เดินจงกรมได้นาน บำเพ็ญภาวนาสม่ำเสมอไม่เคยท้อถอยในการปฏิบัติธรรม และสั่งสอนธรรมแก่มวลศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วยน้ำใจเมตตาเต็มเปี่ยม

    แม้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านพูดน้อย แต่ละวันพูดแค่ ๒ - ๓ ประโยค แต่ท่านสอนโดยการกระทำ สอนโดยองค์ท่านเองลงมือปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าการสอนด้วยคำพูดเสียอีก

    หลังจากพำนักโปรดญาติโยมที่บ้านสามผง ดงพระเนาว์ ได้ ๒ พรรษาแล้ว ท่านก็พาคณะออกธุดงค์ลงใต้ มาตามลำน้ำโขง ผ่านมาทางอำเภอท่าอุเทน ต่อมาถึงตัวจังหวัดนครพนม (เมืองหนองบึก ดินแดนศรีโคตบูรโบราณ)

    หลวงปู่ใหญ่ และคณะติดตาม ซึ่งมีพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกากลุ่มใหญ่พอสมควร (น่าจะ ๒๐ - ๓๐ เป็นอย่างน้อย) เดินทางมาถึงป่าช้าดงโคกกิ่ว อยู่นอกตัวเมืองนครพนม

    ที่บริเวณนี้ยังเป็นดงทึบ เป็นที่เนินสูง มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่นข้างล่างมีไม้พุ่มคลุมดินที่ชาวบ้านเรียกว่า ต้นหมากปังกิ่ว ขึ้นหนาทึบ

    ที่ป่าแห่งนี้ชาวบ้านถือกันว่าเป็น ป่าช้าผีดิบ ใช้เป็นที่ฝังศพนักโทษ และเป็นแดนประหารนักโทษ ร่ำลือว่าผีดุ ชาวบ้านไม่กล้าย่างกรายเข้ามาในป่าบริเวณนี้

    ทั้งหมดนี้ ผมก็ลอกตามหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ จำเป็นต้องลอกตามเพราะผมเองก็เกิดไม่ทันจึงต้องเชื่อท่าน

    หลวงปู่ใหญ่ และคณะพระธุดงค์ได้มาพำนักปักกลดที่บริเวณป่าช้าดงโคกกิ่ว แห่งนี้

    ตามธรรมเนียมการปักกลดของพระธุดงค์ ท่านจะกระจายอยู่ห่างๆ กัน อย่างน้อยก็พอส่งเสียงถึงกันได้ ท่านไม่มาปักกลดอยู่รวมกันเป็นกระจุกหรอก ต่างองค์ต่างเร่งบำเพ็ญเพียรไม่มาจับกลุ่มคุยกันเรื่องผีดุเหมือนพวกเราหรอก (อันนี้ผมว่าเองครับ หรือท่านผู้ใดว่าไม่จริงก็ให้ค้านมา)

    เมื่อชาวนครพนมเห็นพระธุดงค์มาพักปักกลดจำนวนมาก จึงได้พากันออกมาช่วยจัดหาที่พักถวาย โดยจัดสร้างกุฏิเป็นกระต๊อบหลังเล็กๆ ปูพื้นด้วยฟากไม้ไผ่ ฝาขัดแตะ กรุด้วยใบตองตึง ใบพลวง หรือใบชาด หลังคามุงด้วยหญ้าคา ซึ่งวัสดุเหล่านี้หาได้ในป่าบริเวณนั้นพอให้ได้อาศัยพอคุ้มแดดคุ้มฝน จนครบทุกรูป

    อนุโมทนาสาธุครับ !

    ต่อมาก็มีโยมใจบุญ ชื่อ โยมแก้ว (น่าจะเป็นผู้ชาย) เจ้าของสวนที่อยู่ใกล้ๆ กับบริเวณนั้น ได้เกิดศรัทธาเลื่อมใสหลวงปู่ใหญ่จึงได้น้อมถวายที่สวน พร้อมทั้งกระท่อมเฝ้าสวนแก่หลวงปู่ใหญ่ และคณะพระธุดงค์

    หลวงปู่ใหญ่ จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์โพนแก้ว เป็นการฉลองศรัทธาของโยมแก้ว และลูกหลานที่เป็นเจ้าของที่ดิน

    ต่อมาภายหลัง สำนักสงฆ์โพนแก้ว ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวัดที่สมบูรณ์ ชื่อ วัดโพนแก้ว ได้รับพระราชทานเขตวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น วัดอรัญญิกาวาส มาจนทุกวันนี้

    ไม่ทราบเหมือนกับว่า ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อ ? แต่ผมก็รู้สึกศรัทธาและปลื้มปีติกับ ท่านโยมแก้วอย่างสุดจิตสุดใจครับ อนุโมทนาสาธุ !

    หมายเหตุ: เป็นเรื่องของคนชอบสงสัย คือผมสงสัยว่าทำไมหลวงปู่ใหญ่ ไม่ไปพักที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม ของ เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย ลูกศิษย์ของท่าน
    ?

    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ก็สงสัยเหมือนกัน แล้วก็ได้ไปกราบเรียนถาม พระอุดมญาณโมลี (มานิต ถาวโร ปัจจุบันคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ) เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๐ สมเด็จฯ องค์นี้ท่านเคยเป็นสามเณรอยู่ที่วัดโพนแก้ว ระหว่างปี ๒๔๗๕ - ๒๔๗๙ ต่อมาได้ไปเข้าโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ วัดศรีเทพประดิษฐาราม

    สมเด็จฯ ท่านให้ความเห็นว่า ช่วงนั้น วัดศรีเทพฯ เป็นสำนักเรียนพระปริยัติ ไม่มีสภาพเป็นป่าที่ห่างไกลชุมชนเหมือนเมื่อก่อน จึงไม่เหมาะกับพระธุดงค์ที่แสวงหาความวิเวก หลวงปู่ใหญ่จึงไม่พาคณะไปพักด้วยเหตุนี้ก็ได้
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ใหญ่ถ่ายรูปเป็นครั้งแรก


    การถ่ายรูปในสมัยหลวงปู่ใหญ่นับเป็นโอกาสที่ยากยิ่ง รวมทั้งบุคคลรุ่นปู่ย่าตาทวดของเรายังกลัวการถ่ายรูปด้วย บางท่านก็กลัวว่าจะทำให้อายุสั้นก็มี

    ในประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จากหนังสือที่ท่านหลวงตาพระมหาบัวฯ เป็นผู้เขียน ก็บอกว่า หลวงปู่มั่นท่านเคยถ่ายรูปเพียง๓ ครั้ง ในชีวิตเท่านั้น ด้วยการอาราธนาอ้อนวอนของบรรดาลูกศิษย์ไม่เช่นนั้นเราคงไม่ได้เห็นรูปร่างหน้าตาท่านว่าเป็นอย่างไร

    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านปลีกออกจากหมู่คณะ ขึ้นไปอยู่ที่เชียงใหม่ติดต่อกันนานถึง ๑๒ ปี ได้มอบภาระให้หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ดูแลปกครองพระเณรสายกรรมฐานแทนท่าน

    ในช่วงนั้น พระคณาจารย์ที่เป็นเสาหลักของพระธุดงค์กรรมฐานที่พาหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมในภาคอิสานก็มีเพียง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์พำนักและสร้างวัดโพนแก้ว ที่จังหวัดนครพนม ส่วนหลวงปู่สิงห์ พาหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น มีหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี รวมอยู่คณะด้วย

    จากอัตตโนประวัติของหลวงปู่เทสก์ ท่านบันทึกไว้ ดังนี้ -

    “...เราเป็นห่วงคิดถึงครูบาอาจารย์ เพราะเราหนีจากอาจารย์มาได้ ๒ ปี จึงได้ลาท่าน (หลวงปู่สิงห์)ไปนครพนม เพื่อเยี่ยมพระอาจารย์เสาร์

    ท่านอาจารย์เสาร์ ตามปกติท่านไม่ค่อยเทศนา ถึงจะเทศน์ก็เป็นธรรมสากัจฉา

    ปีนี้เราไปอยู่ด้วยก็เป็นกำลังของท่านองค์หนึ่ง คือเดิมมีท่านอาจารย์ทุมอยู่แล้ว เราไปอยู่ด้วยอีกรูปหนึ่งจึงเป็นสองรูปด้วยกัน และเราก็ได้ช่วยอบรมญาติโยมอีกแรงหนึ่ง

    <TABLE id=table35 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร
    พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ปีนี้เราได้ขออาราธนาให้ท่านถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ทีแรกท่านก็ไม่อยากถ่าย พอเราอ้อนวอน อ้างถึงเหตุผลความจำเป็นเพื่อให้บรรดาศิษยานุศิษย์และลูกหลานยุคต่อไปได้มีโอกาสกราบไหว้เคารพบูชา ท่านถึงได้ยอม

    นับเป็นประวัติการณ์ เพราะแต่ก่อนมาท่านไม่ถ่ายรูปเลย แต่กระนั้นเรายังเกรงท่านจะเปลี่ยนใจ ต้องรีบให้ข้ามไปตามช่างภาพมาจากฝั่งลาวมาถ่ายให้

    เราดีใจมาก ถ่ายภาพท่านได้แล้วได้แจกท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ และท่านพระครูสีลสัมบัน (ภายหลังได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณพระธรรมสารมุนี)...

    (ผู้เขียนเข้าใจว่า พระครูสีลสัมบันน่าจะหมายถึง เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย เจ้าคณะจังหวัดนครพนม ฝ่ายธรรมยุต สมณศักดิ์ของท่านเป็น พระครูสีลสัมบัน พระธรรมสารมุนีฯ และพระเทพสิทธาจารย์ฯ ตามลำดับ)

    “รูปท่านอาจารย์เสาร์เราจัดถ่ายครั้งนี้ ดูเหมือนจะเป็นรูปของท่านครั้งเดียวที่มีโอกาสถ่ายไว้ได้”

    หลวงปู่เทสก์ ได้พูดถึงการถ่ายรูปของหลวงปู่มั่นด้วยว่า
    “แม้ท่านอาจารย์มั่นก็เช่นเดียวกัน การถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกเป็นเรื่องที่ท่านปฏิเสธเสมอ อาราธนาอ้อนวอนบ่อยๆ ท่านก็ว่า ซื้อขนมให้หมากินดีกว่า แต่เมื่อเราอ้อนวอนชี้แจงหนักเข้า สุดท้ายท่านก็ใจอ่อน ทำให้เป็นบุญของคนรุ่นหลังๆ ได้มีโอกาสมีรูปของท่านไว้กราบไหว้สักการะ”
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภาวนาที่ถ้ำเสือฝั่งประเทศลาว


    เมื่อออกพรรษาแรกที่พำนักอยู่วัดโพนแก้ว นครพนม หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ข้ามแม่น้ำโขงไปบำเพ็ญเพียรทางฝั่งประเทศลาว ได้มอบหมายให้ พระอาจารย์บุญมา มหายโส (พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ) พระลูกศิษย์ที่ติดตามมาจากบ้านสามผง อยู่เป็นผู้ดูแลสำนักจนกว่าท่านจะข้ามโขงกลับมา

    หลวงปู่ใหญ่ ได้ข้ามไปทางเมืองท่าแขก ไปบำเพ็ญเพียรแถบป่าเขาที่สลับซับซ้อน อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนลาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร

    หลวงปู่ใหญ่มีความคุ้นเคยกับภูมิประเทศแถบนั้นเป็นอย่างดี เคยไปธุดงค์แสวงวิเวกหลายครั้ง

    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เขียนถึงการไปฝั่งลาวของหลวงปู่ใหญ่ในครั้งนี้ ดังนี้ : -

    “ออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์เสาร์ให้เที่ยวไปฟากโขงฝั่งโน้น ไปพักอยู่ถ้ำส้มป่อย ซึ่งถ้ำนี้เมื่อท่านออกวิเวกครั้งแรก ท่านได้มาอยู่พร้อมกับท่านอาจารย์มั่น เป็นถ้ำใหญ่มีหลายซอกหลายถ้ำติดกันมีตู้พระไตรปิฎกอยู่ในนั้นด้วย แต่ไม่มีหนังสือ

    เราได้ตามท่านไป แต่ท่านไม่ได้อยู่เลยแล้ว ท่านเข้าไปในถ้ำเสือ ซึ่งเดินไปอีกไกลจึงจะถึง ทางเข้าไปเป็นเขาวงกต มีภูเขาสลับซับซ้อนกันเป็นคู่ๆ

    ถ้ำที่ท่านอยู่มีเสือมาออกลูกทางใต้ถ้ำ เขาจึงเรียกถ้ำเสือ

    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เขียนเล่าถึงถ้ำเสือ ดังนี้ : -

    “..ทางบนขึ้นไปสูงราวเส้นหนึ่ง เป็นถ้ำยาวไปทะลุฟากโน้น ชาวบ้านบอกว่าจุดไต้ไปหมด ๕ เล่ม (ถ้าคะเนเวลาก็คงไม่ต่ำกว่า ๕ ชั่วโมง-ผู้เขียน) จึงทะลุออกฟากโน้น

    ท่าน (หลวงปู่ใหญ่) อยู่ปากถ้ำนี้ มีพระเณร ๒-๓ รูปไปด้วย มีตาแก่คนหนึ่งตามไปปฏิบัติท่าน

    ตาแก่คนนี้แกสุมไฟนอนอยู่ปากถ้ำ กลางคืนวันหนึ่งได้ยินเสียงดังฮือๆ แกลุกขึ้นมาก็ไม่เห็นมีอะไร แกสงสัย รุ่งเช้าเดินไปดูที่ตรงได้ยินเสียงนั้น ปรากฏว่าเห็นรอยเสือมายืนอยู่ตรงนั้น เข้าใจว่ามันจะเข้าไปในถ้ำ พอเห็นคนนอนอยู่มันเลยกลับ...

    ครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่า เพราะอากาศหนาวมากจนกระทั่งเสือยังแอบมานั่งผิงไฟด้วย

    หลวงปู่เทสก์ ได้เขียนเล่าถึงถ้ำนั้นต่อไปว่า “ถ้ำนี้ราบเกลี้ยงสองข้างเป็นเหมือนหิ้งตู้รถไฟ มีน้ำน้อยอยู่ข้างใน พระไปตักเอาน้ำที่นั้นมาฉัน ไม่ต้องกรอง สะอาด ไม่มีตัวสัตว์

    <TABLE id=table35 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>หลวงปู่ใหญ่เสาร์
    </TD><TD align=middle>หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี</TD></TR></TBODY></TABLE>​









    พระพาเราไป จุดเทียนไขหมดราวครึ่งเล่ม (หมายถึงช่วงเวลาที่เดินไปยังถ้ำ ต้องใช้เทียนไขจุดส่องทาง เทียนไขไหม้หมดไปครึ่งเล่มก็คงราวๆ ๑๕-๒๐ นาที น่าจะได้-ผู้เขียน) สบายมาก ไม่มีอึดอัดใจห่างไกลจากหมู่บ้านราวหนึ่งกิโลเมตร

    เราอยู่ด้วยท่านสองคืนแล้วเดินทางกลับ


    หลวงปู่เทสก์ได้เล่าถึงถ้ำนั้นในภายหลังว่า
    “เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง เราได้ข่าวว่าพวกคอมมิวนิสต์ขนครัวไปซุกอยู่ในนั้น อเมริการู้เข้าเอาลูกระเบิดไปทิ้งใส่ถ้ำ ลูกระเบิดถล่มปากถ้ำเป็นเหตุให้พวกคอมมิวนิสต์ตายอยู่ ณ ที่นั้นเป็นอันมาก ไม่มีใครไปรื้อออก น่าสลดสังเวชชีวิตคนเรานี้ หาค่าไม่ได้เสียเลย”

    ในส่วนของหลวงปู่เทสก์เอง ท่านเพิ่งบวชได้ ๗ พรรษา ปีนั้นเป็น พ.ศ. ๒๔๗๒ ท่านบันทึกเหตุการณ์ขององค์ท่านเองว่า
    “จวนเข้าพรรษา ท่านอาจารย์เสาร์ ได้ให้เราไปจำพรรษาที่บ้านนาทราย พระอาจารย์ภูมีไปจำที่บ้านนาขี้ริ้น เพื่อฉลองศรัทธาญาติโยม..ออกพรรษาแล้วได้ทราบข่าวว่า คณะท่านอาจารย์สิงห์และพระมหาปิ่น กลับจากอุบลฯไปถึงขอนแก่นแล้ว เราจึงได้ไปลาท่านอาจารย์เสาร์ แล้วออกเดินทางไปเพื่อนมัสการท่านทั้งสอง พอดีในปีนั้นทางราชการได้ประกาศไม่ให้ประชาชนนับถือภูตผีปีศาจ ให้พากันปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัย ทางจังหวัดจึงได้ระดมคณะของท่านอาจารย์สิงห์ให้ช่วยปราบผี เมื่อเราไปถึงก็เลยเข้าขบวนกับท่านบ้าง”
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จำพรรษาที่บ้านม่วงสุม ฝั่งลาว


    ข้อมูลในส่วนนี้ ได้จากการสืบค้นของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติบอกว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ อายุพรรษา ๔๙ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ยังท่องธุดงค์และจำพรรษาอยู่ในฝั่งลาว มีเหตุการณ์โดยสรุป ดังนี้ : -

    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ออกจากถ้ำป่าเขาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วนแล้วท่านได้เดินธุดงค์ลงไปทางใต้ ไปไหว้พระธาตุเมืองเก่า ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองท่าแขก แล้วธุดงค์ต่อไปยังบ้านม่วงสุมที่อยู่ถัดไป เห็นว่าสถานที่นั้นเป็นที่สัปปายะ มีความสงบเงียบ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร และอยู่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากนัก พออาศัยโคจรบิณฑบาตได้ ท่านจึงพักจำพรรษาอยู่ที่นี่ตลอดพรรษากาล

    หลังออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๔๗๓ แล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็ได้ข้ามโขงกลับมาฝั่งไทย แล้วไปพักที่วัดป่าโพนแก้ว จังหวัดนครพนม ที่ท่านมอบหมายให้พระลูกศิษย์ คือ หลวงปู่บุญมา มหายโส เป็นผู้ดูแลอยู่
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตั้งสำนักวัดป่าที่ธาตุพนม


    หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ช่วงที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลพำนักที่วัดป่าโพนแก้ว (วัดอรัญญิกาวาส ในปัจจุบัน) อำเภอเมืองนครพนม วันหนึ่ง ท่านได้ปรารภกับหลวงปู่บุญมา มหายโส ว่า ท่านมีความประสงค์จะตั้งสำนักวัดป่าอีกสองแห่ง คือ ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กับ ที่จังหวัดสกลนคร เพราะทั้งสองแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานปูชนียสถานที่สำคัญอยู่

    ที่อำเภอธาตุพนม เป็นที่ตั้งของ พระธาตุพนม และที่ตัวเมืองสกลนคร ก็เป็นที่ตั้งของพระธาตุเชิงชุมเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมงคลแก่สถานที่ รวมทั้งเป็นมงคลแก่ผู้กราบไหว้

    นอกจากนี้ ในที่สองแห่งนี้ หลวงปู่ใหญ่เคยไปพักภาวนา และโปรดศรัทธาญาติโยมมาก่อน บรรดาศรัทธาญาติโยมพุทธบริษัทที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์หลวงปู่ใหญ่ และหลวงปู่มั่น มีอยู่จำนวนไม่น้อย เพราะหลวงปู่ทั้งสองได้ปูพื้นไว้อย่างดีมาแล้ว

    ในปลายปี พ ศ ๒๔๗๓ นั้นเอง หลวงปู่ใหญ่จึงออกธุดงค์ไปทางอำเภอธาตุพนม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้กว่า ๕๐ กิโลเมตร

    หลังจากพาลูกศิษย์ไปนมัสการพระธาตุพนม แล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็พาคณะไปพำนักปักกลดอยู่ที่ป่าดอนอ้อมแก้ว อยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุพนม

    บริเวณป่าดอนอ้อมแก้วแห่งนี้ เป็นผืนดินที่มีลักษณะคล้ายเกาะ เพราะมีน้ำล้อมรอบอยู่ ทางตะวันตกมีน้ำจากลำห้วยแคน ไหลผ่านลงลำน้ำก่ำ แล้วลงแม่น้ำโขงอีกทีที่ปากก่ำ ซึ่งอยู่ไม่ไกลบริเวณนั้น

    ประชาชนชาวธาตุพนม ซึ่งเรียกว่าชาวไทพนม นำโดยโยมทองอยู่ และโยมแก้วผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันช่วยถากถางป่าต้นหนามคอมและกอไผ่หนาม จัดสร้างกุฏิ กระต๊อบ และเสนาสนะที่จำเป็นสำหรับคณะพระธุดงค์ได้พักอาศัย พอกันแดดกันฝนได้ รวมทั้งอุปถัมภ์อุปัฏฐากให้คณะของหลวงปู่ใหญ่ได้พักจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น

    เป็นอันว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ หลวงปู่ใหญ่และคณะพักจำพรรษาโปรดญาติโยมอยู่ที่ป่าดอนออมแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นพรรษาที่ ๕๐ ของท่าน

    สำนักป่าดอนอ้อมแก้วแห่งนี้ จึงได้กลายเป็นวัดกรรมฐาน ชื่อว่าวัดป่าอ้อมแก้ว เพื่อเป็นการฉลองศรัทธาและเป็นเกียรติแก่โยมแก้ว เจ้าของที่ ในปลายปี พ ศ. ๒๔๗๓ นั่นเอง

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์จึงเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาภายหลังได้ใช้ชื่อใหม่ว่า วัดเกาะแก้วอัมพวัน มาจนทุกวันนี้
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านเจ้าเมืองสร้างถนนถวาย


    ในระหว่างที่ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และศิษย์มาพักจำพรรษาและเริ่มต้นก่อสร้าง วัดป่าอ้อมแก้ว อำเภอธาตุพนมนี้ ได้มีศรัทธาญาติโยมชาวไทพนม มาถวายการอุปัฏฐากและฟังธรรมเป็นประจำ

    แม้ที่ตั้งวัดจะเป็นป่ามีความสงบสงัดเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา แต่ทางเดินเข้าวัดก็เป็นไปด้วยความลำบาก คือ พอข้ามห้วยออกมาทางด้านหน้าวัด ก็ต้องเดินลัดเลาะผ่านป่าและเดินไปตามคันนาของชาวบ้าน

    เวลาถึงฤดูฝน มีน้ำเจิ่งนอง การสัญจรไปมาเต็มไปด้วยความลำบาก ทั้งฝ่ายพระที่ออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน และฝ่ายฆราวาสญาติโยมที่จะเดินทางไปทำบุญ ถวายภัตตาหารและฟังธรรม

    ทั้งพระและญาติโยมที่ศรัทธาในทางบุญก็ไม่ได้ย่นย่อท้อใจ ก็คงเหมือนคำพังเพยที่ว่า ทางเตียนเวียนลงนรก ทางรกวกขึ้นสวรรค์ (อันนี้ผู้เขียนว่าเองครับ จำขี้ปากเขามา ท่านผู้อ่านคงเข้าใจความหมายดี)

    เหตุการณ์ที่ทำให้พระเณรลูกศิษย์ และศรัทธาชาวไทพนมได้ประหลาดใจ เหตุการณ์หนึ่ง มีดังนี้ : -

    วันหนึ่ง หลวงปู่ใหญ่ สั่งให้ลูกศิษย์เตรียมสถานที่และจัดน้ำท่าไว้รอรับแขกสำคัญจะมาที่วัด

    ทุกคนต่างงุนงง เพราะไม่มีใครทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า ไม่มีใครกล้าถาม ได้แต่จัดเตรียมการต้อนรับตามคำสั่งของหลวงปู่ใหญ่

    หลังจากการตระเตรียมการต้อนรับเสร็จไม่นาน ปรากฏว่า ท่านพ่อเมือง (นครพนม) และคณะ ได้ด้นดั้นฝ่าหนทางที่วิบากนั้น มาถึงวัดด้วยความทุลักทุเล

    ท่านพ่อเมืองได้พาคณะมานมัสการหลวงปู่ใหญ่ เพราะได้เคยรู้จักและศรัทธาหลวงปู่ใหญ่มาก่อน

    การสนทนาในตอนหนึ่ง ท่านพ่อเมืองได้พูดถึงความลำบากในการเดินทางมาที่วัด หลวงปู่ใหญ่ท่านก็นั่งฟังด้วยความสงบเย็น อันเป็นปกติของท่าน

    พอได้เวลาพอสมควร คณะพ่อเมืองก็ได้กราบอำลา

    หลังจากนั้นไม่กี่วัน ท่านพ่อเมือง ก็สั่งให้ทำการปรับปรุงถนนเข้าไปจนถึงวัด ทำให้การสัญจรไปมาได้รับความสะดวกขึ้น (ปัจจุบันเป็นถนนคอนกรีตตลอดทั้งสาย)

    อาจารย์พิศิษฐ์ ได้บันทึกขมวดท้ายว่า

    “ท่านพระอาจารย์ได้ออกบิณฑบาตโปรดชาวพนมไปอย่างทั่วถึงทุกคุ้มบ้าน เป็นภาพที่ยังติดตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่ไทพนมมาจนบัดนี้ ไทพนมทั้งหลาย ต่างเคารพรักและเลื่อมใสในองค์ท่านมาก โดยเอ่ยขานนามถึงท่านว่า “ญาท่านเสาร์

    อาจารย์พิศิษฐ์ ได้เขียนถึงบรรดาพระคณาจารย์ที่เป็นศิษย์สายกองทัพธรรม ว่า

    “ระยะเวลาช่วงนี้ ลูกศิษย์ของท่านก็แยกย้ายกันพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ทั่วไป ทั้งในจังหวัดนครพนม สกลนคร อุบลราชธานี และใกล้เคียง โดยมีข่าวคราวติดต่อกันมิได้ขาด และหาโอกาสผลัดเปลี่ยนกันมาเยี่ยมคารวะองค์ท่านอยู่เสมอ ตามธรรมเนียม ทำให้วัดอ้อมแก้วเป็นที่รู้จักคุ้นเคยของพระเถราจารย์ในรุ่นต่อจากนั้นมาตั้งแต่บัดนั้น”

    ท่านผู้อ่านคงยังจำได้ว่า วัดอ้อมแก้ว คือวัดป่าอ้อมแก้วในสมัยของหลวงปู่ใหญ่ ก็คือ วัดเกาะแก้วอัมพวัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในปัจจุบันนี้นั่นเอง

    <TABLE id=table36 border=0 width=122><TBODY><TR><TD rowSpan=2>
    [​IMG]
    </TD><TD height=182>
    วัดเกาะแก้วอัมพวัน
    อ ธาตุพนม จ นครพนม
    </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom>[​IMG]</TD></TR><TR><TD rowSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เชื่อมโยงถึงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)


    ในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ท่านเขียนพาไปดูเหตุการณ์ที่จังหวัดนครราชสีมา ผมเห็นว่าจะเชื่อมโยงกับเรื่องที่จะเขียนต่อไปได้ดี คือ ความเกี่ยวข้องระหว่าง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) จึงขออนุญาตพาท่านผู้อ่านติดตามไปนครราชสีมากับผมด้วย

    เป็นเหตุการณ์ที่เริ่มก่อตั้งวัดป่าสาลวัน ก็คือวัดของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่พวกเรารู้จักกันดีนั้นแหละ วัดนี้เคยเป็นศูนย์รวมของครูบาอาจารย์สายกรรมฐานในอดีต

    บันทึกของอาจารย์พิศิษฐ์ มีดังนี้ : -

    “ถึงวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ พระเทพเมธี (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้มีบัญชาให้พระกัมมัฏฐานในจังหวัดขอนแก่น เดินทางไปรวมกันที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเผยแพร่อบรมเทศนาสั่งสอนประชาชนร่วมกับข้าราชการ

    <TABLE id=table37 border=0 width=282><TBODY><TR><TD width=100>
    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=bottom width=150>
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    (ติสฺโส อ้วน)
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 align=middle>วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร)</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ขณะนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้เป็นสัทธิวิหาริก
    (ลูกศิษย์) ของท่าน กำลังนำพาหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมปฏิบัติอยู่ในละแวกนั้น จึงได้พาหมู่คณะเดินทางไปเมืองโคราช นครราชสีมา ประกอบกับ พลตรีหลวงชาญนิยมเขต ได้มีศรัทธาถวายที่ดินหลังสถานีรถไฟ จำนวนถึง ๘๐ ไร่เศษ ให้สร้างเป็นวัดพระอาจารย์สิงห์จึงได้จัดสร้าง วัดป่าสาลวันขึ้นมา เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการอบรมเผยแพร่กัมมัฏฐาน จังหวัดนครราชสีมา”
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)

    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ท่านครองวัดบรมนิวาส และเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ ท่านปกครองวัดระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๙๙ (ประวัติการสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน น่าสนใจมาก จะได้นำเสนออีกตอนหนึ่งต่อไป)

    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี เกิดที่หมู่บ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง บิดาชื่อ เพี้ยเมืองกลาง (เคน) ตำแหน่งกรมการเมืองอุบล มารดาชื่อ บุดสี ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ เวลา ๐๕.๐๐ น. (อายุอ่อนกว่าหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ๘ ปี และแก่กว่าหลวงปู่มั่น ๒๑ ปี)

    ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ อายุ ๑๙ ปี ที่วัดบ้านสว่าง อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี แล้วย้ายไปศึกษาที่วัดศรีอุบลรัตนาราม (เดิมเรียกวัดศรีทอง) ในเมืองอุบลฯ

    อุปสมบทที่วัดศรีอุบลรัตนาราม เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ โดยมีพระเทวธัมมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌายะ พระโชติปาลเถระ (ทา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) เป็นพระอุทเทสาจารย์

    เมื่ออุปสมบทแล้ว เล่าเรียนอักษรสมัยและพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักวัดศรีอุบลรัตนาราม โดยเล่าเรียนต่อพระอุปัชฌายะบ้าง ต่อพระกรรมวาจาจารย์บ้าง ต่อท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เมื่อยังเป็นเปรียญบ้าง

    ครั้น พ.ศ. ๒๔๓๓ ย้ายสำนักเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ กับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ โดยพักที่วัดพิชัยญาติการาม ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักเจ้าคุณพระศาสนโศภน (อหิสโก อ่อน) ครั้งยังเป็นพระเมธาธรรมรส

    เวลานั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร และขยายสาขาออกไป

    ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ได้รับตำแหน่งครูบาลี ที่วัดเทพศิรินทราวาส จึงได้ย้ายไปอยู่ด้วย และสอบเปรียญได้ในปีพ.ศ. ๒๔๓๙ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ สอบได้เปรียญโท

    ในปี พ ศ. ๒๔๔๐ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้เป็นครูสอนแผนกบาลี โรงเรียนนี้นับเป็นโรงเรียนปริยัติธรรมแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อว่าโรงเรียนอุบลวิชาคม

    ท่านได้เป็นกำลังสำคัญยิ่ง และได้อุปถัมภ์โรงเรียนนี้มาโดยตลอด ทุกวันนี้โรงเรียนนี้ก็ยังอยู่ โดยเป็นโรงเรียนราษฎร์ของวัดสุปัฏนาราม สำหรับเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร และกุลบุตรกุลธิดาทั่วไป และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า โรงเรียนสมเด็จ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่าน

    โดยที่สมเด็จฯ ท่านเป็นผู้มีความสามารถทั้งในด้านการศึกษาและการปกครอง เมื่อคณะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จัดสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ขึ้นเป็นอนุสรณ์ในสมัยประชาธิปไตย เมื่อ .ศ. ๒๔๘๓ ครั้นสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ จึงอาราธนาสมเด็จฯ ท่านมาเป็นเจ้าอาวาส และนับเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกในสมัยประชาธิปไตย

    (การก่อตั้งวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะรวมพระในมหานิกาย และธรรมยุตเข้าด้วยกัน กำหนดระเบียบปฏิบัติด้วยกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จะขอนำเสนอไว้อีกหนึ่งตอนต่างหาก - ปฐม)

    นอกจากสมเด็จฯท่านเป็นนักปกครองที่สามารถ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปแล้ว ท่านก็ยังเป็นนักเทศน์ นักประพันธ์ เจ้าของคติธรรมคำขวัญที่มีข้อเตือนใจที่ลึกซึ้งทั้งทางคดีโลก คดีธรรม

    ทางคดีโลก เช่นคำว่า
    “ทรัพย์ในดินสินในน้ำ” คดีธรรม เช่นคำว่า “ผู้หามโลกอยู่ระดับต่ำ ผู้หิ้วโลกอยู่ระดับกลาง ผู้วางโลกอยู่ในระดับสูง” เป็นต้น และเป็นผู้เสกประเทศไทยทั้ง ๔ ภาค เป็นถิ่นต่างๆ ดังนี้ เสกภาคกลางเป็นถิ่นจอมไทย ภาคเหนือเป็นถิ่นไทยงาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นถิ่นไทยดี และเสกภาคใต้เป็นถิ่นไทยอุดม

    ตำแหน่งเจ้าอาวาสมีดังนี้ คือ -

    พ.ศ. ๒๔๔๖ เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม อุบลราชธานี
    พ ศ ๒๔๗๐ เจ้าอาวาสวัดสุทธิจินดา นครราชสีมา
    พ.ศ. ๒๔๗๕ เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    พ.ศ. ๒๔๘๕ เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ

    <TABLE id=table38 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    (ติสฺโส อ้วน)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    สมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน ตามลำดับดังนี้. -
    พ.ศ. ๒๔๔๗ พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศาสนดิลก
    พ.ศ. ๒๔๕๔ พระราชาคณะเสมอชั้นราช ที่ พระราชมุนี
    พ.ศ. ๒๔๖๔ พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเมธี
    พ.ศ. ๒๔๖๘ พระราชาคณะเสมอชั้นธรรม ที่ พระโพธิวงศาจารย์
    พ.ศ. ๒๔๗๒ พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปาโมกข์
    พ.ศ. ๒๔๗๕ พระราชาคณะชั้นหิรัญบัตร ที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองหนกลาง
    พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

    ต่อมาเมื่อ พ ศ. ๒๔๘๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆนายกและนับเป็นสังฆนายกองค์แรกของคณะสงฆ์ไทย ภายหลังท่านย้ายไปประจำที่วัดบรมนิวาส และมรณภาพที่วัดบรมนิวาสนี้เอง เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เวลา ๑๘.๔๕ นาฬิกา ด้วยอาการอันสงบ สิริอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๖๙
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฝ่ายตรงข้ามที่คอยขัดขวาง


    คำพระท่านว่า มารไม่มี บารมีไม่เกิด

    ไม่ทราบใครเป็นผู้กล่าวคำนี้ แต่ดูเหมือนจะเป็นจริงทุกยุคทุกสมัย แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ยังต้องผจญมาร ปราบมาร เอาชนะมาร รวมทั้งโปรดมาร อยู่ตลอด ตั้งแต่ก่อนตรัสรู้ และการเผยแพร่สัจธรรมภายหลังการตรัสรู้แล้ว

    คงไม่จำเป็นต้องยกเรื่องมารที่พยายามขัดขวาง กลั่นแกล้งพระพุทธองค์มาแสดง ณ ที่นี้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านจะต้องนึกออกอย่างแน่นอน

    ในชีวิตนักบวชของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ท่านก็ผจญมาร ผจญอุปสรรคขัดขวางมาตลอดเวลา หาได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยตลอดไม่

    มาร หรืออุปสรรคจากภายนอก หรือจากบุคคลอื่นนั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการไม่เห็นด้วย ที่หลวงปู่ทั้งสององค์ทำนอกประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา เช่น วัดหรือบ้านที่เคยอยู่ เคยหลับนอนสบายๆ ก็ไม่อยู่ กลับไปทรมานตนตามป่าตามเขา ตามโคนต้นไม้ ตามป่าช้า ไปอยู่ตามที่อันตราย แทบเอาชีวิตไม่รอด

    อาหารการฉัน ก็ต้องไปกินแบบอดอยากๆ ไม่มีรสไม่มีชาด เครื่องนุ่งห่มชนิดดีๆ แพงๆ ก็ไม่ใช้ ต้องใช้ผ้าบังสุกุล และจำกัดเพียง ๓ ผืน

    ความสะดวกสบายต่างๆ ท่านก็พยายามปฏิเสธ พยายามจำกัดให้มีน้อยที่สุด เท่าที่จำเป็นจริงๆ

    ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับ หลวงปู่ทั้งสององค์ ย่อมมีเป็นธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิบัติของหลวงปู่ ก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ ระหว่างการปฏิบัติที่เข้มงวด ถับการปฏิบัติที่ย่อหย่อนสบายๆ ระหว่างการละการวางการไม่สะสม กับการสะสมทรัพย์สมบัติเยี่ยงฆราวาสเขานิยมกัน เหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ และก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างแน่นอน

    การปฏิบัติของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีปฏิปักษ์ หรือฝ่ายตรงข้ามคอยขัดขวางอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นพระคนละนิกาย หรือพระเจ้าถิ่น ท่านย่อมไม่พอใจแน่ ที่อยู่ดีๆ ก็มีพระธุดงค์ต่างแดนไปปักกลดสั่งสอนประชาชนตามแนวทางใหม่ ภาษาสมัยใหม่เขาว่าเป็นการแย่งมวลชนกัน

    <TABLE id=table39 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>หลวงปู่สาม อกิญฺจโน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อีกกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ขัดขวาง ถึงกับลอบทำร้าย ต้องการเอาชีวิตกันเลย ก็มีกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ได้แก่ กลุ่มหมอผี นักไสยศาสตร์ หรือกลุ่มที่หากินกับประชาชนด้วยเล่ห์กลต่างๆ

    ถ้าเราศึกษาประวัติชีวิตการปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์องค์ต่างๆ เราจะพบว่าแต่ละองค์ล้วนแต่ผ่านอุปสรรคเหล่านั้นมาแล้วทั้งสิ้น ชนิดที่เรียกว่า ท่านผ่านความตายมาแล้ว จึงได้ธรรมะมาสอนประชาชน

    ตัวอย่าง หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านก็ถูกพระเจ้าถิ่นจ้างพวกนักเลงขี้เมาไปฆ่าท่าน โดยเอาก้อนหินทุ่มใส่ศีรษะท่านในขณะที่ท่านเข้าฌานอยู่ ถึงกับหน้าแตก ฟันหัก ซึ่งมารู้ตัวเมื่อออกจากฌานแล้ว ดังนี้เป็นต้น

    ครูบาอาจารย์ต่างๆ ท่านผ่านพ้นอุปสรรคเหล่านั้น ด้วยความอดทน หนักแน่น ใจเยน ด้วยกำลังสมาธิ และด้วยกระแสเมตตา
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ห้ามประชาชนไม่ให้ใส่บาตร


    เรื่องภวทั้งหมดที่นำเสนอนี้ เป็นบันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค (อ้างชื่อหลวงพ่อมาช่วยรับผิดด้วย) แห่งวัดภูเขาแก้ว และเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

    บันทึกของหลวงพ่อโชติ มีดังนี้ : -

    “ท่านเจ้าคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสมหาเถระ เป็นผู้หนึ่งที่แสดงตนอย่างเปิดเผยเป็นคู่ปฏิปักษ์กับท่านพระอาจารย์เสาร์

    สมเด็จฯ ท่านหาวิธีทุกอย่าง เพื่อกลั่นแกล้งพระอาจารย์เสาร์ในอันที่จะกำจัดพระคณะของท่านพระอาจารย์ให้หมดสิ้นไป

    จนถึงกับทำให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ประกาศต่อประชาชนว่า ญาคูเสาร์ กับ ญาคูมั่น ห้ามไม่ให้ใส่บาตรให้กิน เพราะพวกนั้นคือพวกเทวทัต


    ในบันทึกมีต่อไปว่า
    :-

    “แต่ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านก็เฉย ไม่เคยโต้ตอบ เพราะท่านรู้ดีว่า การสาดน้ำใส่กันนั้นมันย่อมไม่เป็นผลดีเลย เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ต้องการเปียกปอน

    <TABLE id=table40 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระอาจารย์โชติ อาภัคโค
    วัดภูเขาแก้ว อุบลราชธานี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ท่านได้รู้ได้ยิน ท่านก็เพียงแต่ยิ้ม ท่านก็ยังจาริกสมณธรรมเผยแผ่แก่พุทธบริษัทของพระบรมศาสดาไปเรื่อยๆ อย่างไม่สะทกสะท้าน ด้วยพลังจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตากตัญญูอย่างมาก

    เมื่อเจอหนักๆ เข้า ท่านก็พูดเพียงว่า สมเด็จฯ ว่าเราเป็นพวกเทวทัต เฮาบ่ได้เป็น กะบ่เห็นสิเดือดร้อน สมเด็จฯ สั่งคนบ่ให้ใส่บาตรให้เฮากิน แต่กะยังมีคนใส่ให้อยู่ พอได้ฉัน กะบ่เห็นเดือดฮ้อนอีหญัง สมเด็จฯ บ่เหนื่อยว่ากะช่างสมเด็จฯ

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ยังพาพระเณรออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ตามปกติ บอกลูกศิษย์ว่า สมเด็จฯ ท่านไม่เหนื่อยก็เป็นเรื่องขององค์ท่าน



    หลวงปู่ใหญ่ยังคงพาคณะศิษย์ปฏิบัติบำเพ็ญภาวนาและปฏิบัติกิจสงฆ์ไปตามปกติ ประชาชนก็ยังใส่บาตรให้ความอุปการะท่านไม่เปลี่ยนแปลง ในที่สุดการสั่งห้ามประชาชนตักบาตรแก่พระป่าสายของหลวงปู่ใหญ่ ก็ไม่บังเกิดผลอะไร
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ให้ตามรื้อกุฏิที่พัก


    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านจะย้ายสถานที่ในการบำเพ็ญเพียรไปเรื่อย

    ในตอนหลังเมื่อการบำเพ็ญทางจิตของท่านมีความแก่กล้ามั่นคง สามารถเป็นที่พึ่งของศิษย์ได้อย่างมั่นใจแล้ว ท่านมักจะพาคณะศิษย์ออกเดินทางรวมกันไปเป็นหมู่คณะ แล้วแยกย้ายกันปักกลดตามป่าช้า ดอนปู่ตา หรือบริเวณป่าที่ไม่ไกลหมู่บ้านนัก เพื่อจะได้อาศัยบิณฑบาตจากชาวบ้าน เพื่อยังชีพอนุเคราะห์พรหมจรรย์ไปวันๆ เท่านั้น ไม่สะสมไว้วันต่อไป

    คือ ฉันภัตตาหารวันละ ๑ มื้อ โดยออกบิณฑบาตมาฉันวันต่อวันเท่านั้น วันไหนบิณฑบาตได้ก็ฉัน บิณฑบาตไม่ได้ก็อด หรือถ้าช่วงที่เร่งภาวนาก็งดออกบิณฑบาต และงดฉัน ดังนี้เป็นต้น

    หลวงปู่ใหญ่ จะไม่พักที่ใดนานๆ บางแห่งก็อยู่คืนเดียว บางแห่งก็สอง-สามวัน หรืออาจอยู่เป็นเดือน หรือจำพรรษาอยู่ตลอดพรรษา

    ตามประวัติช่วงการเผยแพร่ธรรมของท่านหลวงปู่ใหญ่จะไม่เคยพักประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่งเกิน ๓ ปีเลย

    บันทึกของหลวงพ่อโชติ มีว่า

    “...เมื่อท่านพระอาจารย์ปักกลดลงที่ไหน ด้วยความศรัทธาของประชาชน ทำให้สถานที่แห่งนั้นกลายเป็นวัดเป็นสำนักปฏิบัติธรรมไปในที่สุด

    คือ มีสิ่งปลูกสร้างถาวรเกิดขึ้น จากแรงศรัทธาของประชาชนเช่น กุฏิ ศาลา โรงฉัน เป็นต้น ทั้งๆ ที่หลวงปู่ใหญ่ ท่านไม่เคยเอ่ยปากขอ

    สิ่งเหล่านี้คือปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่ใหญ่ ของหลวงปู่มั่น และสืบทอดมาถึงลูกศิษย์พระป่าที่แท้จริงในปัจจุบัน คือ พระท่านจะไม่เอ่ยปากขออะไรจากใครให้เขาเดือดร้อนเป็นอันขาด เว้นแต่ญาติโยมเขาปวารณาหรือบังเกิดศรัทธาเลื่อมใสขึ้นมาเอง



    นั่นคือ การปลูกสร้างวัดวาอารามและเสนาสนะต่างๆ เป็นเรื่องของศรัทธาญาติโยมเขาจะดูแลกัน เป็นไปตามกำลังศรัทธา

    (อย่างที่ หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ท่านเรียกพระบางพวกว่า พระนักรบ คือ ชอบรบกวนแจกซองชาวบ้านตลอดเวลา ราวกับบวชมาเพื่อตั้งหน้าหาเงินทองท่าเดียว-อันนี้หลวงปู่โง่นท่านว่านะครับ ผมก็อยากจะว่า แต่ไม่กล้าครับ กลัวจะตัดหนทางทำมาหากินของท่าน ก็ดูเอาเองก็แล้วกัน ย้ำ ! ผมไม่ได้ว่านะครับ)

    ขออนุญาตย้อนกลับไปพูดถึงปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ว่า ท่านไม่เคยพักประจำอยู่แห่งใดเกิน ๓ ปี แล้วท่านจะเดินทางไปที่แห่งใหม่ ที่ที่เหมาะต่อการบำเพ็ญเพียรของลูกศิษย์ และพอประกาศเผยแพร่ประดิษฐานสัจจธรรมของพระพุทธองค์ได้

    การย้ายสถานที่บ่อยๆ นั้น หลวงปู่ใหญ่ท่านบอกลูกศิษย์ว่า เพื่อผลการภาวนา จะได้ไม่ติดวัตถุ ไม่ติดสถานที่ ไม่ติดญาติโยม และไม่ติดลาภสักการะ

    แม้องค์พระศาสดา พระบรมครู ก็ไม่พำนักอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งเป็นการถาวร

    เหตุการณ์ที่ไม่น่าเชื่อคือ หลังจากที่หลวงปู่ใหญ่และคณะออกเดินทางไปที่ใหม่
    “สมเด็จฯ จะสั่งรื้อถอนกุฏิ ศาลา สำนักของท่านทิ้งทันทีอย่างไม่ให้เหลือซาก ให้คนกลั่นแกล้งจนพระอยู่ไม่ได้ เพราะท่านมีอำนาจมากในสมัยนั้น” นี่คือบันทึกของหลวงพ่อโชติ

    ในบันทึกมีต่อไปว่า : -

    “เมื่อสมเด็จฯให้คนรื้อกุฏิวิหาร ก็มีคนไปกราบเรียนนมัสการให้ท่านพระอาจารย์ได้ทราบ แทนที่จะแสดงอาการบึ้งตึง ขึ้งเคียด หรือโกรธเคือง ตรงกันข้าม ท่านกลับหัวเราะเบาๆ อย่างไม่อนาทรร้อนใจ

    ท่านพูดด้วยสีหน้าสงบเย็นเป็นปกติว่า เออ
    ! สมเด็จฯ ท่านรื้อก็ช่างท่าน ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร ใครทำใครได้ ของเหล่านั้นก็ไม่ใช่ของใคร เมื่อเราตายไปก็เอาอะไรไปด้วยไม่ได้หรอก นอกจากบุญบาปเท่านั้น เพราะนั่นมันเป็นของภายนอก ไม่จีรังยั่งยืน”

    หลวงพ่อโชติ ได้แสดงความคิดเห็นต่อคำพูดและปฏิกิริยาของหลวงปู่ใหญ่ว่า

    “วาจาของท่าน ทั้งปฏิปทา การแสดงออกของท่าน เราทั้งหลายคงจะมองเห็นความเยือกเย็น สุขุมคัมภีร์ภาพ แห่งดวงใจของท่านพระอาจารย์เสาร์ อย่างหาประมาณเปรียบปานมิได้

    ด้วยขันติธรรม ซึ่งนอกจากภายในจิตสันดานของท่านจะไม่ยึดถือเก็บความโกรธเอาไว้แล้ว ยังแสดงออกให้เห็นถึงความเป็นผู้ไม่ติดข้องอยู่ในรูปสมบัติเลย ท่านไม่มีความอาลัยอาวรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น


    จากปัญหาความยุ่งยากที่เกิดจากการไม่เห็นด้วยในการออกธุดงค์ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งนี้ เพราะสมเด็จฯท่านพยายาม
    “จัดระเบียบพระ”ให้อยู่เป็นหลักแหล่ง มีสังกัดที่แน่นอนนี้เอง ท่านจึงไม่เห็นด้วยกับ “พระธุดงค์เร่ร่อน”

    <TABLE id=table41 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>ท่านธมฺมธีโร (แสง)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    บูรพาจารย์บางองค์ท่านหลบหลีกความรำคาญ ข้ามโขงไปอยู่ทางฝั่งลาวก็มี บางองค์ เช่น ท่านธมฺมธีโร (แสง) ท่านก็หนีความรำคาญใจ จากวัดศรีทองเมืองอุบลฯ ไปอยู่หนองบัวลำภู เพราะท่านโดนข้อหาว่าเป็น “ธรรมยุตเถื่อน” จนกระทั่งท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ รับรองว่าท่านธมมธีโรเป็นสายของท่าน และขึ้นต่อวัดศรีทอง

    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ให้ความเห็นใน
    วงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน” เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

    “การบริหารคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานี้ ถ้ามีแต่ปริยัติอย่างเดียว
    แล้วก็เป็นเช่นนี้แหละ เพราะปริยัติและปฏิบัติเป็นคู่กันไป ถ้ามีแต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ครบทั้งสองก็จะเสื่อมทรามลงอย่างนี้

    หลวงปู่เทสก์ ได้ให้ความเห็นว่า
    “ส่วนดีก็มีอยู่บ้าง คือ ถ้าท่านไม่เป็นอย่างนั้น ธรรมยุตไม่ได้เผยแพร่ออกไป”

    จะเห็นว่าการที่หลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่มั่น และคณะศิษย์ไม่อยู่ประจำที่ สามารถเผยแพร่คำสอนไปได้กว้างไกล และเกิดวัดกรรมฐานขึ้นมากมาย นับเป็นผลดีอย่างยิ่ง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่มั่นก็โดนทดสอบ


    ทางด้านหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ก็โดนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเล่นงานเหมือนกัน

    ตัวอย่างเช่น เมื่อคราวหลวงปู่มั่น ปลีกออกจากหมู่คณะไปบำเพ็ญเพียรทางเชียงใหม่ เพื่อหวังวิมุตติหลุดพ้นในชาติปัจจุบันให้ได้นั้น ท่านก็ออกแสวงวิเวกไปตามป่าเขาตามลำพังองค์เดียว ยอมสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง และสละตำแหน่งพระอุปัชฌาย์

    โดยอุปนิสัยที่แท้จริง หลวงปู่มั่น ท่านชอบความสงบไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ท่านมักเทศน์บอกลูกศิษย์ลูกหาเสมอว่า “ใจจริงนั้นไม่อยากจะเอาใคร ต้องการอยู่ป่าเขาลำเนาไพรเพียงผู้เดียว แต่ด้วยบารมีที่เคยสร้างร่วมกันไว้ในอดีตชาติ พอตกมาในภพนี้ชาตินี้ จึงต้องมาเป็นครูบาอาจารย์-ลูกศิษย์ลูกหากันอีก”

    ด้วยเหตุนี้กระมัง บรรดาศิษย์ทั้งหลาย เมื่อได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่มั่น ปลีกตัวไปบำเพ็ญเพียรอยู่ตามดงตามเขาสูง โปรดพวกชาวเขาชาวบ้านป่าดงอยู่ จึงได้พากันด้นดั้นบุกป่าฝ่าดง เดินทางจากภาคอีสานขึ้นไปตามหาท่านที่ภาคเหนือ แม้จะยากลำบากสักปานใดก็ไม่ย่อท้อ อดทนฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เพื่อจะได้มีโอกาสรับโอวาทธรรมและการอบรมจากท่าน

    ครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาติดตามเสาะหา หลวงปู่มั่นที่พวกเราทราบกันดีก็มี เช่น หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร และครูบาอาจารย์องค์อื่นอีกมากมาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็มี หลวงปู่เจี้ยะ จุนฺโท, หลวงปู่หนู สุจิตฺโต เป็นต้น

    สมัยนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเดินทางไปตรวจงานการคณะสงฆ์ มณฑลภาคเหนือ และมีโอกาสได้พบกับ หลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่

    ด้วยความเป็นคู่ปรับกับพระกรรมฐานมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงตั้งคำถามในลักษณะตำหนิว่า

    “ญาคูมั่น เธอเที่ยวตามป่าเขาอยู่เพียงลำพังผู้เดียวอย่างนี้เธอได้สหธรรมิก ได้ธรรมวินัย เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติที่ไหน เธอได้รับฟังธรรมจากสหธรรมิกอย่างไร ทำไมเธอจึงได้ปฏิบัติมางมไปอย่างนั้น เธอทำอย่างนั้นจะถูกหรือ”

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถามในเชิงติเตียนหลวงปู่มั่น เช่นนั้น เพื่อจะแสดงให้ผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้นเห็นว่าหลวงปู่มั่น เป็นพระเร่ร่อน หลักลอย ไม่มีสังกัด ไม่มีหมู่คณะรับรอง

    ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ในครั้งนั้น ได้ถึงกับมีการตรวจหนังสือสุทธิกันเลยทีเดียว

    ปกติหลวงปู่มั่น ท่านไม่เคยยอมแพ้ใคร และก็ไม่เอาชนะใครเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาต่างยกย่องว่า ท่านเป็นผู้มีสติปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ ที่เฉียบคมและฉลาดปราดเปรื่องหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก

    หลวงปู่มั่น ได้กราบเรียนตอบสมเด็จฯ ไปว่า

    “...สำหรับเรื่องนี้ พระเดชพระคุณท่านไม่ต้องเป็นห่วงกังวล กระผมอยู่ตามป่าตามเขานั้น ได้ฟังธรรมจากเพื่อนสหธรรมิกตลอดเวลา คือมีเพื่อนและฟังธรรมจากธรรมชาติ เลี้ยงนกเสียงกา เสียงจิ้งหรีด จักจั่นเรไร เสียงเสือ เสียงช้าง มันเป็นธรรมชาติไปหมด

    มันทุกข์หรือสุขกระผมก็รู้ เขาคอยตักเตือนกระผมอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้ลืมสติว่า เจ้าเป็นใครมาจากไหน อยู่อย่างไร แล้วก็จะไปไหน

    เวลาใบไม้ร่วงหล่นจากขั้ว ทับถมกันไปไม่มีสิ้นสุด ก็เป็นธรรม บางต้นมันก็เขียวทำให้ครึ้ม บางต้นมันก็ตายซากแห้งเหี่ยว เหล่านั้นมันเป็นธรรมเครื่องเตือนสติสัมปชัญญะไปหมด

    ฉะนั้น พระเดชพระคุณท่าน โปรดวางใจได้ ไม่ต้องเป็นห่วงกระผม เพราะได้ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน


    เมื่อได้ฟังคำตอบเช่นนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็จนด้วยเหตุผล ไม่อาจจะหาคำพูดมาติเตียนหลวงปู่มั่น ต่อไปได้

    อีกเหตุการณ์หนึ่ง ผมไม่แน่ใจว่าเป็นครั้งเดียวกันกับเหตุการณ์ข้างต้นหรือไม่ ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟังว่า หลวงปู่มั่น ได้พาลูกศิษย์ ๗ - ๘ องค์ มาร่วมประชุม โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นประธาน

    <TABLE id=table42 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    คณะของหลวงปู่มั่น นั่งสงบเสงี่ยมเรียงตามลำดับอาวุโสพรรษา ดูจีวรขมุกขมัวไม่สดใสเหมือนกับพระที่อยู่ในเมือง

    เจ้าประคุณสมเด็จฯ เอ่ยปากถามว่า
    “พวกพระที่จีวรดำๆ อยู่ข้างหลังนั้น มัวแต่อยู่ป่าอยู่ดง ได้พระปาฏิโมกข์กันบ้างหรือเปล่า?”

    หลวงปู่มั่นที่เป็นหัวหน้าคณะกราบทูลว่า “ขอให้พระเดชพระคุณท่านเลือกชี้เอาเถอะครับ จะเอาจากหัวไปท้าย หรือเอาจากท้ายไปหัวก็ได้ครับ ”

    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเลือกชี้เอาองค์หนึ่งแบบที่ไม่มั่นใจว่าจะแสดงปาฏิโมกข์ได้ เพราะมัวแต่นั่งหลับตาอยู่ป่าอยู่ดง

    ปรากฏว่าผิดคาด พระป่าที่ถูกชี้ตัวให้แสดงปาฏิโมกข์ท่านว่าได้อย่างคล่องแคล่ว องอาจ แถมอักขรฐานกรณ์ก็ถูกต้องชัดเจนเกินความคาดหมายด้วย

    ทำความประหลาดใจให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ และที่ประชุมสงฆ์อย่าง มาก
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พาพระมหาเปรียญมาจับผิดหลวงปู่มั่น


    ครูบาอาจารย์เล่าว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังไม่เลิกทิฎฐิที่จะเอาชนะพระกัมมัฎฐานให้ได้

    ในคราวงานผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านไปเป็นประธานในงานนี้ หลวงปู่มั่น ก็ได้รับนิมนต์ไปในงานนี้ด้วย

    พอตกเย็น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ก็พาพระมหาเปรียญจากกรุงเทพฯ ๒-๓ รูป ไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่มั่น ทราบกันดีว่าในครั้งนั้น ต้องการจะให้พระเปรียญที่คงแก่เรียนนั้น ไปไล่ต้อนให้หลวงปู่มั่นจนมุมให้จงได้

    พระมหาเปรียญเหล่านั้นไม่มีใครกราบหลวงปู่มั่นตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกัน คงจะถือว่าพวกท่านเป็นพระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ หรือถือตัวว่าเป็นพระมหาเปรียญผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ส่วนพระป่าที่เอาแต่นั่งหลับตา ไม่น่าจะรู้ธรรมะได้แตกฉานลึกซึ้งเท่า

    เบื้องแรกมีการสนทนาไต่ถามทุกข์สุข ทำความคุ้นเคยกันพอสมควรแล้ว พระมหากลุ่มนั้นก็ตั้งปัญหาถามหลวงปู่มั่นว่า

    “ในฐานะที่ท่านมีความชำนาญในสมาธิภาวนา จึงอยากจะถามท่านเกี่ยวกับเรื่อง กสิณ ว่าท่านใช้วิธีเพ่งกสิณอย่างไร เช่น การเพ่งดิน น้ำ ลม ไฟ หรือสีเหลือง แดง ขาว พวกนั้นมันเป็นอย่างไร ท่านใช้เพ่งอย่างไร ขอให้อธิบายด้วย?”

    ตั้งคำถามเหมือนกับข้อสอบ พระมหากลุ่มนั้นหวังจะให้หลวงปู่มั่น ท่านตกหลุมพราง จะได้เป็นหลักฐานกล่าวได้ว่าหลวงปู่มั่นและศิษย์ประพฤติปฏิบัติตนออกนอกรีตนอกรอยของพระพุทธศาสนา

    ฝ่ายหลวงปู่มั่น ท่านไม่ต้องรอคิดหาคำตอบ ท่านตอบทันทีว่า :-

    “อ๋อ ! นั่นก็กสิณเหมือนกัน ที่เพ่งภายนอกนั้น แต่มันเป็นกสิณของพวกฤๅษีชีไพร

    ส่วนกสิณของพระพุทธเจ้า ท่านให้เพ่งน้อมเข้ามาในกายตน เช่นเพ่งไฟ ก็ไฟธาตุในตน เพ่งน้ำ ก็น้ำเลือด น้ำดี น้ำหนอง น้ำเสลด เพ่งดิน ก็ดูผม ขน เล็บ ฟัน เพ่งลม ก็ลมหายใจเข้าออก ลมระบายออกทางทวาร ลมวิ่งไปในกระเพาะ ลมตีขึ้นเบื้องสูง ลมตีลงเบื้องต่ำ

    ส่วนการเพ่งสีนั้น ก็เพ่งในร่างกายของเรานี้เอง สีแดงก็เลือด สีเหลืองก็หนอง สีขาวก็กระดูก สีเขียวก็น้ำดี

    เพ่งให้เป็นธาตุปฏิกูล ความเปื่อยเน่า ความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนเราเขา

    นี่คือกสิณของพระพุทธเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส สำหรับผู้ไปเพ่งอย่างอื่นที่อยู่นอกตัว ยังเพ่งไม่ถูกแน่...

    เมื่อได้ฟังคำตอบขอหลวงปู่มั่น เช่นนั้นพระมหาเปรียญผู้ถามถึงกับตลึงงัน เพราะไม่คิดว่าจะพลิกผันไปเช่นนี้ แถมยังเป็นสุดยอดของคำถามคำตอบ ซึ่งอ่านในตำราจนจบก็ไม่สามารถหาได้

    ทุกองค์ยอมจำนน ไม่มีใครกล้าถามต่อไปอีก
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การรู้วาระจิตของคนอื่น


    บรรดาครูบาอาจารย์สายพระกรรมฐานต่างก็ยกย่องเรื่องการรู้วาระจิตของคนอื่นของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ว่าท่านเก่งในเรื่องวิชาปรจิตนี้มาก ใครมีความคิดอย่างไร หลวงปู่มั่น ก็รู้ได้ ถ้าองค์ท่านต้องการจะรู้ ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกล หลักฐานประจักษ์พยานมีอยู่ในประวัติของครูอาจารย์แต่ละองค์ที่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น

    ประจักษ์พยานมีว่า แม้ลูกศิษย์ของท่านบางองค์บางรูป รวมทั้งศิษย์ฆราวาส ถ้าคิดไปในทางไม่ดี หลวงปู่มั่นจะทัก จะสอนทันที จนลูกศิษย์ทุกคน เมื่ออยู่กับท่าน จะต้องระมัดระวังความคิดกันเป็นที่สุด ระวังใจไม่ให้คิดไปนอกลู่นอกทาง ไม่เช่นนั้นจะต้องโดนทักโดนสอน ด้วยคำสอนที่แปลกๆ ชนิดคาดไม่ถึงเสมอ

    ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับฆราวาส เมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่นพักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งวัดแห่งนี้มีโยมย่านุ่ม ชุวานนท์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ในการอุปัฏฐากวัดและพระเณร บรรดาพระเณรต่างก็ให้ความนับถือและเกรงใจโยมย่านุ่มกันทั้งนั้น

    ปัญหาที่ญาติโยมต้องการจะกราบเรียนหลวงปู่มั่น ก็ด้วยที่วัดป่าสุทธาวาส ในระยะเข้าพรรษา จะมีพระภิกษุและสามเณรมากแทบล้นวัด ญาติโยมแทบจะรับภาระเลี้ยงดูไม่ไหว แต่พอออกพรรษาปวารณาแล้ว พระเณรต่างองค์ต่างแยกย้ายกันไปหมด วัดแทบร้างจะหาพระเณรทำบุญด้วยก็แสนยาก

    คณะศรัทธาได้ปรึกษากัน เห็นว่าควรจะนำเรื่องนี้ไปกราบเรียนหลวงปู่มั่น และขอให้ท่านจัดพระเณรอยู่ประจำ หลังออกพรรษาจะได้ไม่มีสภาพเหมือนวัดร้าง

    ปัญหาคือ ใครจะเป็นผู้ไปกราบเรียนท่าน ต่างคนต่างก็กลัว จึงได้ขอร้องแกมบังคับ ให้โยมย่านุ่ม นำเรื่องเข้ากราบเรียนหลวงปู่มั่น ส่วนคนอื่นรอฟังข่าวอยู่ห่างๆ ข้างนอก

    ในวันนั้น หลวงปู่มั่น นั่งอยู่ใต้ร่มไม้เพียงองค์เดียว กำลังเหลาติ้วตาด (ไม้กวาดทางมะพร้าว) อยู่ มองเห็นแต่เพียงด้านหลังของท่าน

    โยมย่านุ่ม รวบรวมความกล้า ค่อยๆ เดินท่องไปด้านหลังท่าน ด้วยอาการแผ่วเบาที่สุด พอได้ระยะห่างพอควรจึงหยุด แล้วนั่งกราบกราบลง ๓ หน

    หลวงปู่มั่น ยังคงนั่งเหลาติ้วตาดอยู่ตามปกติไม่ได้หันมามองเลย โยมย่านุ่ม กราบแล้วนั่งประนมมือนิ่งอยู่ พูดไม่ออก

    <TABLE id=table43 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>นางนิล-นางนุ่ม-นางลูกอินทน์
    มหาอุบาสิกา ๓ พี่น้อง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    นั่งอยู่อย่างนั้นนานพอสมควร จึงก้มลงกราบ แล้วค่อยคลานออกไปเฉยๆ หมู่คณะก็ต่อว่าต่อขานกันใหญ่ และรบเร้าให้เข้าไปกราบเรียนท่านเป็นครั้งที่สอง

    โยมย่านุ่ม ต้องรวบรวมความกล้าเข้าไปเป็นครั้งที่สอง ก็เหมือนกันกับครั้งแรก อ้าปากพูดไม่ออก คลานกลับออกมาเฉยๆ ฝ่ายหลวงปู่มั่น ก็นั่งเหลาติ้วตาดเฉยอยู่เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

    โยมย่านุ่ม ต้องเข้าไปใหม่เป็นครั้งที่สาม ครั้งนี้พอกราบเสร็จ หลวงปู่มั่นก็หันหน้ามา แล้วพูดด้วยเสียงดุว่า

    “ห่วงมันทำไมวัด ขี้ดินขี้ดอน ตายแล้วเอาไปด้วยได้หรือ ก็วัตรของตัวเอง คือวัตรใจ นั้น ทำไมไม่หมั่นกวาดให้มันสะอาดบ้าง ปล่อยให้มันรกรุงรังอยู่อย่างนั้น”

    โยมย่านุ่ม พูดอะไรไม่ออก ยิ่งเพิ่มความกลัวองค์หลวงปู่มากขึ้น แล้วพูดละล่ำละลักว่า
    “เจ้าข้า ดิฉันก็ว่าอย่างนั้น”

    พูดเสร็จก็ก้มลงกราบ แล้วคลานออกมาเลย เรื่องที่เตรียมไว้ว่าจะกราบเรียนท่านยังไม่ได้พูดแม้แต่คำเดียว

    ตัวอย่างนี้ แสดงถึงปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ สืบทอดไปถึง หลวงปู่มั่น และต่อเนื่องไปถึงหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น อีกทอดหนึ่ง

    ที่ยกเรื่องนี้มาพูด แสดงถึงพลังจิตของพระกรรมฐานในเรื่องการรู้ใจคน ดังใจคน และสะกด - ทรมานคน เพื่อการชี้แนะแนวทางที่ถูกที่ควรให้ ซึ่งหลวงปู่สิงห์นำไปใช้ในการ
    “ทรมาน” ให้สมเด็จฯ ท่านหลายทิฏฐิ เลิกเอาชนะคะคานพระกรรมฐาน เพราะไม่บังเกิดผลดีใดๆ แก่ใครเลย
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บทบาทของของหลวงปู่สิงห์


    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ได้มอบภาระให้หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นผู้แก้ทิฏฐิของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพราะท่านเป็นครูเป็นศิษย์กัน

    กล่าวคือ ตอนหลวงปู่สิงห์ ท่านทำญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์

    หลังการญัตติกรรมแล้ว หลวงปู่สิงห์ ก็ได้เป็นศิษย์กรรมฐานออกปฏิบัติบำเพ็ญเพียรติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น

    สำหรับประวัติการเผยแพร่ธรรมของหลวงปู่สิงห์นั้น ท่านทำได้อย่างกว้างขวาง พลังจิตท่านมีอำนาจมาก เวลาท่านเทศน์ ท่านแสดงธรรมไม่ว่าพระเณรหรือฆราวาส จะนิ่งฟังเงียบเหมือนทุกคนโดนสะกดจิต แทบไม่ไหวติงเลยทีเดียว การเผยแพร่ธรรมของท่านจึงได้ผลเป็นอย่างมาก

    <TABLE id=table44 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์
    (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    กล่าวกันว่า ช่วงที่หลวงปู่มั่น ยังดำรงขันธ์อยู่ กิตติศัพท์ชื่อเสียงของหลวงปู่สิงห์ จะเป็นที่รู้จักมากกว่า กล่าวคือ หลวงปู่สิงห์ ท่านดังมากกว่าครูอาจารย์ของท่านในสมัยนั้น คือ ท่านเก่งทั้งบู๊และบุ๋น ครบเครื่องเลยทีเดียว

    ในประวัติ หลวงปู่สิงห์ ท่านปราบพวกไสยศาสตร์ พวกหมอผีพวกมิจฉาทิฎิ และพวกใช้พลังจิตอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ มามากต่อมาก

    ภาระในการทรมาน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงเป็นเรื่องของหลวงปู่สิงห์ น่าจะเหมาะสมที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่าท่านเป็นครูกับศิษย์ ดังที่กล่าวแล้ว ประการที่สอง ท่านเป็นคนอุบลฯ บ้านเดียวกัน ใช้ภาษาถิ่นกันได้อย่างสนิทสนม ประการที่สาม หลวงปู่สิงห์ในฐานเป็นศิษย์ เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปกราบเยี่ยมเจ้าประคุณสมเด็จฯ อยู่บ่อยๆ และที่สำคัญ ท่านคุ้นเคยสนิทสนมกัน ชนิดที่ว่าพูดกันได้ตรงๆ อย่างไม่ต้องเกรงใจกัน
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทรมานสมเด็จฯ ให้คลายทิฏฐิ


    เมื่อหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้รับมอบภาระในการ “ทรมาน” ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้คลายทิฏฐิ เลิกกลั่นแกล้งขัดขวางพระกรรมฐานเสีย นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่พระศาสนาแล้ว ยังเป็นการสร้างบาปกรรมให้เกิดกับองค์ท่านเองอีกด้วย

    หลวงปู่สิงห์ เคยกราบเรียนเรื่องนี้ แต่สมเด็จฯ ท่านไม่ฟัง มิหนำซ้ำ องค์ท่านยังมีบัญชากับพระเณรด้วยว่า
    “ถ้าเห็นอาจารย์สิงห์มาอย่าให้ใครต้อนรับเด็ดขาด ให้ไล่ตะเพิดเสีย”

    หลวงปู่สิงห์ ทราบคำบัญชานี้ดี แต่พอท่านก้าวเข้าไปในวัดจริงๆ ด้วยพลังจิตอันแรงกล้า ในวันนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ออกต้อนรับหลวงปู่สิงห์ซึ่งเป็นศิษย์ ด้วยตัวท่านเอง ต้อนรับขับสู้เป็นอันดี แล้วยังบริภาษตำหนิพระเณรเป็นการใหญ่ หาว่าไม่ใส่ใจดูแลให้การต้อนรับลูกศิษย์ของท่าน ดูคล้ายกับว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะลืมคำบัญชาของท่านสิ้น

    ช่วงที่หลวงปู่สิงห์พักอยู่กับพระอาจารย์ของท่าน วันหนึ่งมีการจัดการประชุมเถรสมาคม (อันนี้ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่าเป็นการประชุมเถรสมาคมจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิง เอาเป็นว่าเป็นการประชุมผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาก็แล้วกัน-ปฐม) วัตถุประสงค์ของการประชุมเป็นการอภิปรายเรื่องหัวใจพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นองค์ประธานการประชุม

    ด้วยความเมตตาต่อศิษย์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ให้หลวงปู่สิงห์ ติดตามท่านไปด้วย โดยท่านพูดว่า
    “สิงห์ ข้าจะพาเจ้าเข้าไปฟังเขาประชุมกัน เจ้ามันพระป่า มัวแต่หลับหูหลับตาอยู่เฉยๆ เจ้าจะไปรู้อะไรทันเขา ไปเปิดหูเปิดตาดูเขาเสียบ้าง จะได้หายโง่”

    หลวงปู่สิงห์ รู้สึกขอบคุณที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีเมตตาต่อท่าน จึงได้ติดตามเจ้าประคุณสมเด็จฯไปในฐานะศิษย์ใกล้ชิด

    ในที่ประชุมล้วนมีแต่เจ้าฟ้า เจ้าคุณ ข้าราชการผู้ใหญ่ ล้วนแต่ผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาทั้งนั้น แทบทั้งวัน ต่างอภิปรายถกเถียงกันอย่างเอาจริงเอาจัง ต่างคนต่างแสดงเหตุผลของตนเอง คล้ายกับการทำสังคายนาเพื่อค้นหาหัวใจของพระพุทธศาสนา แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุป หรือข้อตกลงกันได้ ต่างคนต่างก็ว่าข้อเสนอของตนถูกต้องมีการหยิบยกข้อความในพระไตรปิฎกมาสนับสนุนเหตุผลของตน

    หลวงปู่สิงห์ เป็นคนเดียวในที่ประชุมที่นั่งฟังอย่างนิ่งเงียบตลอดเวลา ในที่สุดท่านได้ยกมือขอโอกาสแสดงความคิดเห็นจากพระเถรานุเถระทั้งหลาย แล้วพูดด้วยน้ำเสียงที่ฉาดฉานว่า

    “..เรื่องหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่พระคุณท่านตลอดทั้งผู้มีเกียรติทั้งหลายได้อธิบายมาแล้วนั้น เกล้ากระผมพระอาจารย์สิงห์พระป่า ลูกศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น ขออธิบายกราบเรียนว่า

    เรื่องที่พระคุณท่านทั้งหลายได้อธิบายนั้น กระผมเห็นว่าเป็นเพียงเปลือกและกระพี้เท่านั้น ยังลูบๆ คลำๆ อยู่ เปรียบเสมือนคนตาบอดคลำช้าง ซึ่งก็มีส่วนถูกเหมือนกัน แต่ถูกคนละจุดถูกคนละส่วน ยังไม่อาจบอกได้ว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาที่แท้จริง

    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ถ้าพูดถึงหัวใจจะต้องมีอันเดียว นี่คือจุดสุดยอดของความถูกต้องที่สุด

    หัวใจพระพุทธศาสนานั้น ที่ถูกต้องแท้จริงก็ต้องมีอย่างเดียวเหมือนกัน สิ่งที่ว่านั้นคือ สติ

    คนเราถ้าไม่มีสติจะทำอะไรได้ การที่คนเราจะทำดี จะทำชั่วหรือแม้จะทำให้เบิกบานนั้น จะต้องมีสติกำกับเสียก่อนจึงจะทำได้

    ฉะนั้น เกล้ากระผมจึงเห็นว่า หัวใจของพระพุทธศาสนานั้นคือ สติ นอกจากนั้นไป เป็นเปลือกเป็นกระพี้หมด...


    ต่อจากนั้นหลวงปู่สิงห์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมโดยยกตัวอย่างและอุปมาอุปมัยต่างๆ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างเด่นชัด

    พระเถระทั้งหลายและสมาชิกในที่ประชุมต่างสงบนิ่งฟังด้วยความสนใจ ชนิดที่ว่าแทบไม่กระพริบตาเลย จะมีก็แต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นองค์ประธาน ถึงกับหน้าซีดเซียว พูดไม่ออก ท่านบอกตอนหลังว่ารู้สึกอายแทบจะเป็นลม เพราะท่านรู้สึกว่านำศิษย์คนนี้มาเพื่อตบหน้าหมู่คณะในที่ประชุม รวมทั้งตบหน้าท่านด้วย หมู่คณะคงจะต้องเพ่งเล็งมายังท่าน พร้อมกับมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับท่านอย่างแน่นอน

    แต่ในขณะที่หลวงปู่สิงห์ ลุกขึ้นพูดนั้น ไม่มีใครพูดขัดขึ้นเลย ต่างนั่งฟังอย่างสนใจตั้งแต่ท่านเริ่มต้นพูดจนกระทั่งจบลง

    เกี่ยวกับประวัติการแสดงธรรมของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมตามที่ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟัง บอกว่า พระเถระรูปนี้มีพลังจิตสูงมากสามารถใช้พลังจิตสั่งให้คนยืน เดิน นั่งนิ่ง ได้ทั้งนั้น

    คราใดที่ท่านแสดงธรรม แบบจะมีผู้ฟังเป็นร้อย หรือหลายร้อย ขณะที่ท่านแสดงธรรมอยู่นั้น จะไม่มีเสียงแม้ไอหรือจาม หรือนั่งยุกยิกทุกคนจะนั่งนิ่งเงียบกริบตลอดเวลา

    เมื่อการประชุมสัมมนาในวันนั้นยุติลง หลวงปู่สิงห์ ก็กลับวัดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ แบบศิษย์ที่ดีตามครู พอถึงวัด เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านบริภาษหลวงปู่สิงห์เป็นการใหญ่ ว่า

    “สิงห์ เจ้าทำไมทำขายหน้าข้าฯ อย่างนี้? ข้าฯ ให้เจ้าไปนั่งฟังเขาพูดกันเฉยๆ ไม่ได้ให้เจ้าไปสอนเขา ข้าฯ อายเขามากรู้ไหม?”

    ในวันนั้น ร้อนถึงพระเณรในวัด ต้องวิ่งหาน้ำร้อน หายาลมและพัดวีเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นการใหญ่

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พูดเสียงดังว่า
    “พวกกรรมฐาน พวกอลัชชี พวกเทวทัต ใครๆ ก็คบไม่ได้”

    เป็นอันว่าวันนั้นหลวงปู่สิงห์ ก็ไม่สามารถโน้มน้าวเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้เลิกจงเกลียดจงชังพระกรรมฐานได้ เป็นแต่ว่าท่านเริ่มมีอะไรมาสะดุดใจให้ครุ่นคิดมากขึ้น ดูท่าทางท่านยังลังเลสับสนอยู่พอสมควร
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ คลายทิฏฐิ


    ต่อมาภายหลังเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ท่านได้มีโอกาสออกตรวจการณ์คณะสงฆ์ตามหัวเมืองมณฑลอิสาน ปรากฏว่าการออกตรวจการณ์ในครั้งนั้น ได้สร้างความประทับใจให้ท่านเป็นอย่างมาก

    สมเด็จฯ ท่านเห็นประจักษ์ด้วยตาท่านเองว่า ทั่วอิสานได้เกิดวัดป่าสังกัดคณะธรรมยุตขึ้นอย่างมากมาย นับจำนวนหลายร้อยวัด ทั้งๆ ที่พระผู้ใหญ่ที่มีตำแหน่งฝ่ายบริหารขยายวัดธรรมยุตได้เพียง ๒ - ๓ วัด และก็อยู่ในเมืองที่เจริญแล้วเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถขยายออกไปตามอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านรอบนอกได้

    การที่วัดป่าเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ก็เกิดจาก หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น และลูกศิษย์พระกรรมฐานพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสององค์

    ยิ่งกว่านั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังพบว่า เมื่อท่านผ่านไปตามหมู่บ้านที่พระกรรมฐานเคยจาริกปฏิบัติธรรม และที่มีวัดป่าเกิดขึ้น ปรากฏว่าประชาชนในหมู่บ้าน มีกิริยามารยาทเรียบร้อย แสดงว่าได้รับการอบรมมาดี รู้จักปฏิบัติต่อพระสงฆ์องค์เจ้า รู้จักการปฏิบัติต้อนรับ รู้ของควร ไม่ควร เข้าใจหลักการพระพุทธศาสนา รู้จักสวดมนต์ไหว้พระ มีการรักษาศีล มีการปฏิบัติสมาธิภาวนา และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนน่าชมเชย

    ต่างกันกับหมู่บ้านที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น และลูกศิษย์ลูกหาไม่เคยจาริกผ่านไป

    ความประทับใจในครั้งนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงกับประกาศในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ว่า

    “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องให้พระกรรมฐานเป็นแนวหน้า หรือเรียกว่า กองทัพธรรมแนวหน้า”

    นับจากนั้นเป็นต้นมา เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ก็เริ่มมีทัศนคติที่ดีต่อ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น และคณะพระธุดงค์กรรมฐาน

    คำเรียกแต่เดิมว่า “ญาคูเสาร์ ญาคูมั่น” ก็เปลี่ยนไปเป็น“พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น” ส่วนลูกศิษย์พระกรรมฐานที่มีอาวุโส สมเด็จฯ ท่านก็เรียกว่า “อาจารย์สิงห์ ท่านลี (ธมฺมธโร) ท่านกงมา (จิรปุญฺโญ)” เป็นต้น

    เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีความรู้สึกที่ดีต่อพระธุดงค์กรรมฐานแล้ว ท่านก็ให้ความสนับสนุนพระกรรมฐานเป็นอย่างดี แม้แต่วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีที่ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านก็บัญชาให้สร้างเพื่อถวายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ด้วยแห่งหนึ่ง

    เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) พระองค์นี้ท่านสร้างความเจริญให้แก่พระพุทธศาสนา ทั้งด้านปริยัติธรรมศึกษา และด้านการปฏิบัติภาวนา จนเกิดมีพระผู้ได้รับการศึกษาสูง และมีพระกรรมฐานที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างมากมาย สืบต่อมาจนปัจจุบัน

    เรื่องนี้ก็จบลงด้วยดี ทุกท่านคงจะโล่งใจกัน ส่วนบาปกรรม (ถ้ามี) ก็ขอให้หลวงพ่อโชติ กับ อาจารย์ปฐม ผู้เขียนรับไปคนละครึ่งก็แล้วกัน
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จฯ สนใจด้านสมาธิภาวนา


    ครั้งหนึ่ง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตได้เข้าไปนมัสการเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ที่วัดบรมนิวาส ในกรุงเทพฯ

    สมเด็จฯ ได้ถามหลวงปู่มั่น เกี่ยวกับความขัดข้องในการปฏิบัติจิตภาวนาของท่านว่า “เออ ! นี่อาจารย์ ท่านสิงห์ (ขนฺตยาคโม) ท่านลี (ธมฺมธโร) มาสอนให้ผมภาวนา พุทโธ พุทโธ ให้จิตอยู่ที่พุทโธอารมณ์เดียว ไม่ให้จิตสอดส่ายไปไหน รู้สึกว่ามันยากเหลือเกิน ไม่สามารถทำให้มันหยุดนิ่งได้

    เพราะเราก็เป็นผู้ปกครอง บริหารงานการคณะสงฆ์ทั้งประเทศ ยุ่งแต่กิจการงาน พอนั่งภาวนาพุทโธครั้งใดทีไร ความคิดก็พุ่งไปคิดอยู่แต่ในงานการบริหารคณะสงฆ์ ไม่สามารถทำให้หยุดคิดได้เลย จะทำให้ไม่คิดนี้มันยาก

    ท่านอาจารย์มีวิธีอื่นบ้างไหม ที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิภาวนา
    ?

    หลวงปู่มั่นท่านเป็นผู้รู้จิตอุปนิสัยของคนดีอยู่แล้ว คือ วิชาปรจิตของท่าน เฉียบคมเป็นพิเศษ ท่านจึงกราบนมัสการสมเด็จฯ ว่า

    “การนั่งสมาธิภาวนานั้น ท่านให้คิดได้ แต่ให้มีสติตามรู้ พิจารณาถึงสภาพความเป็นจริง อนิจลักษณะ อยู่ตลอดเวลา”

    ต่อจากนั้นหลวงปู่มั่น ท่านได้ให้คำอธิบายเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องด้านสมาธิภาวนาของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จนบังเกิดผลดี

    เป็นอันว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเคยเป็นปฏิปักษ์กับพระกรรมฐาน มาบัดนี้ท่านกลับมาเป็นมิตรแล้ว ท่านเคยว่า พระกรรมฐานมัวแต่นั่งหลับหูหลับตาเฉยๆ จะมีประโยชน์มีความหมายอะไร เป็นการหลงโง่มัวเมางมงาย ไม่เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาต่อการพัฒนา

    มาบัดนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านหันมานั่งหลับหูหลับตาเสียเอง ที่ท่านเคยส่งให้คนไปทำลายรื้อสำนักกรรมฐานต่างๆ บัดนี้ท่านกลับมาให้การสนับสนุนบำรุงเป็นอย่างดี เช่น การก่อสร้าง วัดภูเขาแก้วถวายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ก็เป็นบัญชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดังกล่าว มา แล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...