หลวงปู่สาร์ กนฺตสีโล : พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 14 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มีบัญชาให้พระป่าแสดงธรรม


    เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เข้าสู่วัยชราภาพมากแล้ว ได้ไว้ใจและชื่นชมพระป่า สายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น อย่างมาก

    ผู้เขียนเห็นว่าเป็นอุทาหรณ์ที่ดี จึงขออนุญาตนำมาแทรกไว้ ณ ที่นี้รวม ๒ ตอนต่อกัน

    เรื่องที่ยกมานี้นำมาจากหนังสือ ฐานิยตฺเถรวตฺถุ หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ดังนี้.:-

    สาเหตุที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) มีบัญชาให้พระอาจารย์ฝั้นไปจำพรรษาที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเพราะในปีนั้น สมเด็จฯ อาพาธหนัก ถึงขนาดฉันอาหารไม่ได้ ต้องถวายอาหารทางเส้นโลหิต

    ท่านจึงเรียกพระเถระฝ่ายกัมมัฏฐานเข้าไปปรึกษาหารือเพื่อหาทางบำบัดโรคในทางธรรมปฏิบัติ

    สมเด็จฯ ได้นิมนต์พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ให้อธิบายธรรมเป็นองค์แรก เมื่อพระอาจารย์สิงห์อธิบายจบลง สมเด็จฯ จึงให้พระอาจารย์ทอง อโสโก เจ้าอาวาสวัดบูรพาฯอธิบายอีก จากนั้นจึงหันมาทางพระอาจารย์ฝั้น ให้อธิบายธรรมให้ฟังอีกเป็นองค์สุดท้าย พระอาจารย์ฝั้นจึงได้อธิบายธรรมถวาย โดยมีอรรถดังนี้ .
    :-

    “ให้ท่านทำจิตเป็นสมาธิ ยกไวยกรณธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ยกอันนี้ไว้เสียก่อน

    ทำจิตให้เป็นสมาธิ เราต้องตั้งสมาธิให้ได้ ภาวนากำหนดจิตให้เป็นสมาธิ พอตั้งเป็นสมาธิดีแล้ว ให้เป็นหลักเปรียบเหมือนเรานับตั้งร้อยตั้งพัน ก็ต้องตั้งหนึ่งเสียก่อน ถ้าเราไม่ตั้งหนึ่งเสียก่อนก็ไปไม่ได้ ฉันใด จิตของเราจะรู้ได้ก็ตั้งจิตของเราเป็นสมาธิเสียก่อน

    เปรียบเหมือนนัยหนึ่ง คือ เสมือนเราจะปลูกต้นไม้ พอปลูกลงแล้ว ก็มีคนเขาว่าปลูกตรงนั้นมันจะงามดี ก็ถอนไปปลูกตรงนั้น และก็มีคนเขามาบอกอีกว่าตรงโน้นดีกว่า ก็ถอนไปปลูกตรงโน้นอีก ทำอย่างนี้ ผลที่สุดต้นไม้ก็ตายทิ้งเสียเปล่าๆ ไม่ได้อะไรสักอย่าง

    ฉันใด เราทำอะไร จะปลูกอะไร ก็ฝังให้มันแน่น ไม่ต้องถอนไปไหน มันเกิดขึ้นเอง นี่แหละสมาธิ ฉันใดก็ฉันนั้นแหละ

    หรืออีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนเราจะขุดบ่อน้ำ ต้องการน้ำในพื้นดิน เราขุดลงไปแห่งเดียวเท่านั้น พอเราขุดไปได้หน่อยเดียวได้น้ำสัก ๒ - ๓ บาตรแล้ว มีคนเขาบอกว่าที่นั่นมันตื้น เราก็ย้ายไปขุดที่อื่นอีก พอคนอื่นเขาบอกว่าตรงนั้นไม่ดี ตรงนี้ไม่ดี ก็ย้ายไปย้ายมา ผลที่สุดก็ไม่ได้น้ำกิน

    ใครจะว่าก็ช่างเขา ขุดมันแห่งเดียวคงถึงน้ำ ฉันใด เปรียบเสมือนสมาธิของเรา ต้องตั้งไว้แห่งเดียวเท่านั้น

    เมื่อเราตั้งไว้แห่งเดียว ไม่ต้องไปอื่นไกล ไม่ต้องส่งไปข้างหน้าข้างหลัง ไม่ต้องคิดถึงอดีต อนาคต กำหนดจิตให้สงบอันเดียวเท่านั้น

    ขอให้ท่านทำสมาธิภาวนา ทำจิตให้สงบ ให้พิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ และอายตนะ ออกเป็นส่วนๆ ตามความเป็นจริง พิจารณาให้เห็นความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้นตามหน้าที่ของมัน

    ให้แยกกายออกจากจิต แยกจิตออกจากกาย ให้ยึดเอาตัวจิตคือผู้รู้ เป็นหลัก พร้อมด้วยสติ

    ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้พิจารณาให้อยู่ในสภาพของมันเองแต่ละอย่าง เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นได้ว่าธาตุทั้ง ๔ ต่างเจ็บไม่เป็น ป่วยไม่เป็น แดดจะออก ฝนจะตก ก็อยู่ในสภาพของมันเอง

    ในตัวคนเราก็ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ นี้รวมกัน การที่มีความเจ็บปวดป่วยไข้อยู่นั้น เนื่องมาจากตัวผู้รู้ คือ จิต เข้าไปยึดถือด้วยอุปาทานว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นของเขาของเรา

    เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งทั้งปวงเหล่านั้นไม่ได้เป็นอะไรเลย ดินก็คงเป็นดิน น้ำก็คงเป็นน้ำ ไม่มีส่วนรู้เห็นในความเจ็บปวดใดๆ ด้วย

    เมื่อทำจิตให้สงบ และพิจารณาเห็นสภาพความเป็นจริงแล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายและจางจากอุปาทาน คือเว้นการยึดถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น

    เมื่อละได้เช่นนี้ ความเจ็บปวดต่างๆ ตลอดจนความตายย่อมไม่มีตัวตน

    เพราะฉะนั้นหากทำจิตให้สงบ เป็นสมาธิแน่วแน่แล้วโรคต่างๆ ก็จะทุเลาหายไปเอง


    เมื่อพระอาจารย์ฝั้น อธิบายธรรมถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์จบลงแล้ว สมเด็จฯ ได้พูดขึ้นว่า
    “เออ เข้าทีดี” แล้วถาม พระอาจารย์ฝั้นว่า “ในพรรษานี้ฉันจะอยู่ได้รอดตลอดพรรษาหรือไม่?”

    พระอาจารย์ฝั้น ก็เรียนตอบไปว่า
    “ถ้าพระเดชพระคุณทำจิตให้สงบได้ดังที่อธิบายถวายมาแล้ว ก็รับรองว่าอยู่ได้ตลอดพรรษาแน่นอน ”

    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์จึงมีบัญชาให้พระอาจารย์ฝั้นไปจำพรรษาอยู่กับท่านที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อจะได้ศึกษาธรรมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นดังกล่าวแล้ว โดยพระอาจารย์ฝั้นได้เลือกเอาวัดบูรพาฯ เป็นที่จำพรรษา เพราะวัดนี้อยู่ฝั่งเดียวกันกับวัดสุปัฏน์ฯ ที่สมเด็จฯ พำนักอยู่ การไปมาสะดวกกว่าวัดป่าแสนสำราญ ซึ่งอยู่ทางฝั่งอำเภอวารินชำราบ

    วัดบูรพาฯ ที่ท่านเลือกพัก มีเขตสองตอน ตอนหนึ่งเป็นสำนักเรียนปริยัติธรรม อีกตอนหนึ่งเป็นป่า มีกุฏิหลังเล็กๆ อยู่ ๕-๖ หลัง สำหรับพระเณรอาศัยปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะ

    พระอาจารย์ฝั้นได้เลือกเอาด้านที่เป็นป่าเป็นที่พักตลอดพรรษานั้น และได้หมั่นไปอธิบายธรรมปฏิบัติถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯ ที่วัดสุปัฏน์ฯ เกือบทุกวัน

    และด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรมนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ก็หายวันหายคืน ทั้งอยู่ได้ตลอดพรรษาและล่วงเลยต่อมาอีกหลายปี
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จฯ ชมพระกรรมฐาน


    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้ออกปากยอมรับในความจริง และชมว่า พระกรรมฐานนี้เป็นผู้ปฏิบัตินั้นดีจริง ทั้งยังทำได้ดังพูดจริงๆ อีกด้วย สมควรที่พระมหาเปรียญทั้งหลายจะถือเอาเป็นตัวอย่างปฏิบัติ ต่อไป

    สมเด็จฯ ได้กล่าวต่อหน้าพระอาจารย์ฝั้นด้วยว่า
    “ฉันเป็นพระอุปัชฌาย์ บวชพระบวชเณรมาจนนับไม่ถ้วน แต่ไม่เคยนึกสนใจ ตจปัญจกกัมมัฏฐาน (กรรมฐาน ๕) เหล่านี้เลย เพิ่งจะมารู้ซึ้งในพรรษานี้เอง”

    พูดแล้วท่านก็นับ เกสา โลมา นขา ทนตา ตโจ แล้วถามพระอาจารย์ฝั้นว่า
    “นี่เป็นธาตุดิน นี่เป็นธาตุน้ำ นี่เป็นธาตุลม นี่เป็นธาตุไฟ ใช่ไหม?”

    <TABLE id=table45 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระอาจารย์ฝั้น ก็รับว่าใช่

    จากนั้นสมเด็จฯ ก็ปรารภขึ้นว่า ตัวท่านเองเปรียบเหมือนผู้บวชใหม่ เพิ่งจะมาเรียนรู้ เกสา โลมา ฯลฯ ความรู้ในด้านมหาเปรียญที่เล่าเรียนมามากนั้น ไม่ยังประโยชน์และความหมายต่อชีวิตท่านเลย ยศฐาสมณศักดิ์ ก็แก้ทุกข์ท่านไม่ได้ ช่วยท่านไม่ได้

    พระอาจารย์ฝั้น ให้ธรรมปฏิบัติในพรรษานี้ได้ผลคุ้มค่า ทำให้สมเด็จฯ รู้จักกัมมัฏฐานดีขึ้น


    ในพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๗ นั้น พระอาจารย์ฝั้น เกือบไม่มีเวลาเป็นของตัวท่านเองเลย ทั้งนี้เพราะท่านได้ทำหน้าที่อุปัฏฐากพร้อมกันถึง ๒ อาจารย์ กล่าวคือ นอกจากกลางคืนจะต้องเข้าถวายธรรมแก่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ที่วัดสุปัฏน์ฯ จากหัวค่ำไปจนถึงเวลาประมาณ ๔ ทุ่ม บางครั้งก็ถึง ๖ ทุ่ม จึงได้กลับวัดบูรพาฯ

    แล้วพอเช้าขึ้น ท่านก็ออกบิณฑบาตไปเรื่อยๆ แล้วข้ามแม่น้ำมูลไปทางฝั่งอำเภอวารินชำราบ ไปฉันเช้าที่วัดป่าแสนสำราญ ฉันเสร็จก็ประกอบยารักษาโรคถวายพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ซึ่งปีนั้นกำลังอาพาธด้วยโรคปอด อยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ

    พระอาจารย์ฝั้น ได้พยายามหาสมุนไพรต่างๆ มาปรุง แล้วกลั่นเป็นยาถวายพระอาจารย์มหาปิ่น หยูกยาที่ทันสมัยก็ไม่มี เพราะขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒

    ทั้งหมดนี้มีอยู่ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ดังได้เรียนมาแล้ว
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม


    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นับเป็นศิษย์อาวุโส และมีความสำคัญที่สุดในการนำธรรมปฎิบัติของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่นออกเผยแพร่ในวงกว้าง จนได้รับฉายาว่าแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม

    ในช่วงที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ยังมีชีวิตอยู่ กล่าวกันว่าหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านดังที่สุดในยุค เป็นพระที่เก่งทั้งด้านพลังจิตและเก่งทั้งด้านการสอน ที่ธรรมปฏิบัติสายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น เผยแพร่ออกไปกว้างไกล และสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้ เป็นเพราะผลการเผยแพร่ของหลวงปู่สิงห์ องค์นี้เอง

    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หรือ ท่านเจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ เป็นบุตรของ เพียอัครวงศ์ (อ้วน) และ นางหล้า บุญโท เกิดวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๓๒ ที่บ้านหนองขอน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี บรรพชาครั้งที่สองที่วัดสุทัศนาราม ในเมืองอุบลฯ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๒ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงปู่สิงห์ ได้กราบถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นครั้งแรก ที่วัดบูรพา ในเมืองอุบลฯ และติดตามออกธุดงค์ไปกับหลวงปู่มั่น เพื่อไปกราบถวายตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่บ้านหนองสูง คำชะอี

    ใน พ ศ ๒๔๖๑ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ และ หลวงปู่สิงห์ ได้จำพรรษาร่วมกันที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

    จากนั้น พ.ศ.๒๔๖๖ หลวงปู่สิงห์ ได้นำ หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล พระน้องชายของท่าน กับ หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี เข้าถวายตัวเป็นศิษย์กับท่านพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ด้วย

    หลวงปู่สิงห์ จัดเป็นศิษย์ต้น คือศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ จึงได้เรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาครูบาอาจารย์ และได้นำแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่นออกเผยแพร่อย่างกว้างขวางทั่วภาคอิสาน โดยเริ่มต้นที่จังหวัดขอนแก่น ในต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๒ และขยายไปตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศ

    เนื่องด้วยหลวงปู่สิงห์ ได้รับมอบหมายจากหลวงปู่มั่นให้เป็นผู้นำพระเณรในสายธุดงค์กรรมฐาน ในช่วงที่หลวงปู่มั่นปลีกออกจากหมู่คณะไปอยู่ที่ภาคเหนือเป็นเวลา ๑๒ ปี หลวงปู่สิงห์ จึงเปรียบเสมือนขุนพลเอกของกองทัพธรรมสายพระกรรมฐาน

    ในช่วงท้าย หลวงปู่สิงห์ ไปสร้างวัดป่าสาลวัน ที่จังหวัดนครราชสีมา และพักประจำอยู่ที่วัดแห่งนี้ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์

    หลวงปู่สิงห์ มรณภาพเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔ เมื่ออายุ ๗๓ ปี พรรษา ๕๑
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล


    หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระน้องชายแท้ๆ ของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ทั้งสององค์จึงเป็นเสมือนสองแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรมสายพระกรรมฐาน

    หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้ทำให้วงการสงฆ์สั่นสะเทือนมากเหตุการณ์หนึ่งในสมัยนั้น กล่าวคือท่านเป็นพระมหาเปรียญ ๕ ประโยคจากวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ และความก้าวหน้าทางการศึกษาด้านพระปริยัติ ออกปฏิบัติธรรมกรรมฐานอยู่ป่าเขา ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่ มั่น ก่อให้มีพระเณรออกปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ อีกเป็นจำนวนมาก

    ครั้งแรกหลวงปู่สิงห์ ท่านเป็นครูสอนด้านพระปริยัติธรรม เมื่อได้ฟังธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นแล้ว จึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนแนวการศึกษาด้านปริยัติไปเป็นการปฏิบัติกรรมฐานแทน และได้ติดตามปฏิบัติธรรมไปกับหลวงปู่มั่น

    ต่อมาหลวงปู่สิงห์ ได้นำหลวงปู่พระมหาปิ่น ไปกราบฟังธรรมกับหลวงปู่มั่น เกิดความศรัทธามาก และได้ให้ปฏิญาณว่า จะขอลาไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ สัก ๕-๖ ปี แล้วจึงจะออกมาปฏิบัติธรรมด้วย

    ในปี พ ศ ๒๔๖๖ หลังจากหลวงปู่พระมหาปิ่น สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค จากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ แล้ว จึงได้กลับมาอุบลฯ บ้านเกิด

    หลวงปู่สิงห์ กับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระคู่สหธรรมิกได้นำหลวงปู่พระมหาปิ่น พร้อมทั้ง หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ไปกราบถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ตามที่หลวงปู่พระมหาปิ่นปฏิญาณไว้

    นับแต่นั้นมา หลวงปู่พระมหาปิ่น จึงได้ออกธุดงค์ปฏิบัติพระกรรมฐานตามแนวทางที่ได้รับจาก พระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ซึ่งเป็นข่าวดังที่ฮือฮามาก ดังกล่าวมาข้างต้น

    หลวงปู่พระมหาปิ่นได้ติดตามพระพี่ชายของท่านคือ หลวงปู่สิงห์ออกธุดงค์ตามป่าเขา บางครั้งก็แสวงหาที่สงัดเพียงลำพัง หากมีข้อสงสัยในธรรมะหรือติดขัดในการปฏิบัติ ท่านก็กลับไปกราบเรียนถามอุบายธรรมนั้นกับครูบาอาจารย์ แล้วก็กลับไปฝึกหัดบำเพ็ญภาวนาต่อ

    เมื่อหลวงปู่พระมหาปิ่น สามารถนำแนวทางของครูบาอาจารย์มาใช้เป็นหลักใจได้แล้ว ก็ได้ติดตามหลวงปู่สิงห์ พร้อมด้วยหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ พร้อมกับสร้างเสนาสนะป่าเพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญเพียรด้านวิปัสสนากรรมฐาน

    เมื่อครั้งจัดงานบำเพ็ญกุศลครบรอบ ๘๐ ปี ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์เมื่อปี พ ศ. ๒๔๘๑ หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้ร่วมกับ หลวงปู่สิงห์เรียบเรียงหนังสือที่ระลึก เรื่องกติกาวิธีสัมมาปฏิบัติ ว่าด้วยข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สำหรับสำนักชีกรรมฐาน ถวายมุทิตาจิตแด่หลวงปู่ใหญ่เสาร์เพื่อพิมพ์แจกในงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ หลวงปู่สองพี่น้องนี้ก็ได้ร่วมกันแต่งหนังสือ แบบถึงพระไตรสรณคมน์ โดยถวายหลวงปู่ใหญ่ให้พิจารณาตรวจทานด้วย

    <TABLE id=table46 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล
    และพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้มรณภาพลงที่วัดอำมาตยาราม นครจำปาศักดิ์ หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่พระมหาปิ่น และคณะศิษย์ ได้เดินทางไปรับศพหลวงปู่ใหญ่ และยังเป็นกำลังสำคัญในการจัดงานถวายเพลิงศพของหลวงปู่ใหญ่ที่วัดบูรพา ในเมืองอุบลฯ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖

    ในบั้นปลายชีวิต หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้ไปพักประจำที่ วัดป่าศรัทธารวม หัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

    ในปี พ ศ. ๒๔๘๗-๒๔๘๘ หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้อาพาธอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และมรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สร้างวัดพระศรีมหาธาตุ : ความพยายามรวมมหานิกายกับธรรมยุต

    การสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน นอกจากเจตนาเพื่อเป็นที่ระลึกแห่งประชาธิปไตยแล้ว รัฐบาลในขณะนั้นยังมีความประสงค์ที่จะรวมพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย กับฝ่ายธรรมยุตให้รวมอยู่ในที่เดียวกันและปฏิบัติภายใต้กฎระเบียบอันเดียวอันด้วย นับเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจกรณีหนึ่งในการพยายามรวมนิกายนี้

    วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ตรงมุมอนุสาวรีย์หลักสี่ กิโลเมตรที่ ๑๘ ตำบลอนุสาวรีย์ (เดิมชื่อตำบลกูบแดง) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

    ประวัติการสร้าง เริ่มต้นเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๘๓ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีขออนุมัติเงินสร้างวัด เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย และต้องการให้เสร็จทันในงานวันชาติ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ ศ. ๒๔๘๕

    ด้านสถานที่นั้น เห็นว่า ควรจะสร้างใกล้ๆ กับอนุสาวรีย์หลักสี่ ด้วยเหตุผลที่ว่า ชาติกับศาสนาเป็นของคู่กัน เพราะศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และกล่อมเกลาอุปนิสัย และน้ำใจประชาชนให้บำเพ็ญตนและปฏิบัติในสิ่งที่ชอบ. ฯลฯ

    อีกประการหนึ่งเห็นว่า ศาสนาเป็นหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตย... และ... “การเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ดี งานสร้างชาติซึ่งกระทำภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ดี ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและประสบความสำเร็จอย่างดีมาแล้ว ก็ได้อาศัยพุทธานุภาพคุ้มครองป้องกันประเทศชาติราษฎร และอำนวยความสถาพรสำเร็จประโยชน์อย่างดีที่สุดที่จะเป็นได้”

    คณะรัฐมนตรีเห็นว่า
    “สมควรที่จะสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่ง เพื่อให้เป็นที่เชิดชูพระบวรพุทธศาสนาคู่กันไปกับเกียรติศักดิ์ของประเทศชาติ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบด้วยเป็นเอกฉันท์ให้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งในที่ใกล้อนุสาวรีย์หลักสี่ และให้ชื่อว่าวัดประชาธิปไตย”

    ประกอบกับขณะนั้นรัฐบาลได้ส่งทูตพิเศษโดยมีพลเรือตรี ถวัลย์ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเจริญสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ในจักรภพอังกฤษภาคเอเซีย

    “รัฐบาลอินเดีย...เห็นว่าประชาชนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีอยู่ในนานาประเทศเป็นอันมาก แต่ประเทศเอกราชที่ยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาทางราชการ และพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภกก็มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น

    จึงได้มอบพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบ ณ มหาสถูปธรรมราชิกะ และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พร้อมทั้งกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ และดินจากสังเวชนียสถาน ให้ตามความประสงค์

    รัฐบาลได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ ต้นพระศรีมหาโพธิ ๕ ต้น พร้อมดินจากสังเวชนียสถาน มาประดิษฐานที่วัดที่สร้างใหม่นี้ แล้วตกลงตั้งชื่อวัดตามศุภนิมิตนี้ว่า
    “วัดพระศรีมหาธาตุ”

    <TABLE id=table47 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระศรีมหาโพธิ์ วัดพระศรีมหาธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    สำหรับกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ ได้ปลูกไว้ที่เกาะกลมที่สุดของคูทั้ง ๒ ข้าง ทางทิศตะวันออก เกาะละต้น รวม ๒ ต้น ที่เหลือ ๓ ต้น อัญเชิญไปปลูกที่ วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ และ วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช

    ผู้อำนวยการก่อสร้างวัดได้แก่ พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ กับ หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น

    รัฐบาลเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การสร้างวัดนี้
    “จึงควรยกให้เป็นงานของชาติ” จึงเปิดให้ประชาชนทั่วประเทศได้ร่วมบริจาค (ซึ่งไม่ทราบว่าได้รับยอดบริจาคจำนวนเท่าใด)

    ที่น่าสนใจมาก คือประมาณการก่อสร้าง เป็นค่าที่ดินซื้อเพิ่มเติม ๕๐ ไร่ ค่าถมที่ และสิ่งก่อสร้าง มี เจดีย์ใหญ่ โบสถ์ วิหาร ที่เก็บอัฐิ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง หอไตร กุฏิเจ้าอาวาส กุฏิสงฆ์ ๒๔ หลัง โรงครัว ที่เก็บศพและอยู่กรรม ฌาปนสถาน ฯลฯ

    ท่านเดาออกไหมครับ ประมาณการค่าใช้จ่ายเท่าไร
    ?

    บอกให้เลยก็ได้ ตั้ง ๓๗๕,๐๐๐ บาท

    ค่าใช้จ่ายหลักๆ มี ค่าที่ดินไร่ละ ๔๐๐ บาท ๕๐ ไร่ รวมเป็น ๒๐,๐๐๐ บาท, ค่าสร้างเจดีย์ใหญ่ ๔๐,๐๐๐ บาท, ค่าสร้างโบสถ์ และวิหาร หลังละ ๔๐,๐๐๐ บาท, กำแพงรอบวัด ๒๔,๐๐๐ บาท, กุฏิสงฆ์ ๒๔ หลัง หลังละ ๑,๐๐๐ บาท ถามว่า ถ้าเป็นสมัยนี้จะเป็นเงินเท่าไร

    <TABLE id=table49 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระมหาเจดีย์ วัดพระศรีมหาธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พูดถึงพระมหาเจดีย์ สูง ๓๘ เมตร มีนามว่า พระเจดีย์ศรีมหาธาตุ สร้างเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกเป็นองค์เจดีย์ใหญ่ ชั้นในเป็นองค์เจดีย์เล็กอยู่ตรงกลาง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เข้าไปกราบไหว้ได้ มีอะไรบ้างผมไม่บอก ขอให้หาโอกาสไปกราบเอง (ผมเองก็ไม่เคยเข้าไปกราบ กว่าหนังสือเล่มนี้จะพิมพ์เสร็จผมต้องไปกราบมาเรียบร้อยแล้ว สัญญาครับ)

    วัดพระศรีมหาธาตุ ได้กระทำพิธีเปิด เพื่อเป็นเสนาสนะแห่งพระภิกษุสงฆ์ เป็นรัฐพิธี เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นประธาน

    เวลา ๙.๐๐ น. เชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพระที่นั่งพุทไธยสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ พระอุโบสถ

    เวลา ๑๔.๐๐ น. แห่พระภิกษุสงฆ์ ๒๔ รูป จากวัดบรมนิวาส ไปอยู่วัดพระศรีมหาธาตุ

    ประเด็นที่ผมสนใจ ดังกราบเรียนแต่ต้น คือ รัฐบาลต้องการรวมพระฝ่ายมหานิกาย กับฝ่ายธรรมยุตให้อยู่ด้วยกัน อยู่ภายใต้ระเบียบปฏิบัติอันเดียวกัน คือ ตื่นนอนตี ๓ สวดมนต์ทำวัตรเช้า - ภาวนา, ออกบิณฑบาตมาฉันด้วยปลีน่องของตน, ฉันมื้อเดียว, ฉันในบาตร, ไม่จับเงิน, หนักในทางสมาธิภาวนา เดินจงกรม, ไม่ต้อนรับแขกที่กุฏิ, ไม่เก็บอาหารไว้ที่กุฏิ ฯลฯ

    ได้มอบหมายให้แต่ละนิกายคัดเลือกพระมาอยู่ที่วัดนี้ โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เป็นเจ้าอาวาส

    พระสงฆ์ที่ได้รับคัดเลือก และจัดขบวนแห่มาอยู่ที่วัดนี้ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ มี ๒๔ รูป ดังนี้

    ๑. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดบรมนิวาส
    ๒. พระญาณดิลก วัดสุทธจินดา นครราชสีมา
    ๓. พระมหาเขียน ๙ ประโยค วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๔ พระมหาสนั่น ๘ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๕ พระมหาผุย ๘ ประโยค วัดปทุมวนาราม
    ๖ พระมหาเอี่ยม ๗ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๗. พระมหาสาย ๗ ประโยค วัดบวรมงคล
    ๘. พระมหาเขียน ๗ ประโยค วัดสระเกศ
    ๙. พระมหาโกศล ๖ ประโยค วัดมหรรณพาราม
    ๑๐. พระมหาเส็ง ๖ ประโยค วัดสัมพันธวงศ์
    ๑๒
    . พระมหาสำรอง ๕ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๑๒. พระมหาปรีชา ๕ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๑๓. พระมหาบุญมา ๕ ประโยค วัดจักรวรรติราชาวาส
    ๑๔. พระมหาแสวง ๕ ประโยค วัดทองนพคุณ
    ๑๕. พระมหาละห้อย ๕ ประโยค วัดประยุรวงศาวาส
    ๑๖. พระมหาสมพร ๕ ประโยค วัดอนงคาราม
    ๑๗. พระมหาพร ๕ ประโยค วัดพระเชตุพน
    ๑๘. พระมหาจิตร ๕ ประโยค วัดมหาธาตุ
    ๑๙. พระมหาคม ๕ ประโยค วัดเบญจมบพิตร
    ๒๐. พระมหาเอี่ยม ๔ ประโยค วัดราชบูรณะ
    ๒๑. พระมหาทัสนัย ๔ ประโยค วัดสามพระยา
    ๒๒. พระมหาจันดี ๓ ประโยค วัดสุทัศน์เทพวราราม
    ๒๓. พระมหาสมบูรณ์ ๓ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๒๔. พระมหาแสวง ๓ ประโยค วัดบรมนิวาส

    ผลการที่พระสงฆ์ ๒ นิกายมาอยู่ด้วยกัน ปรากฏว่า พอสิ้นพรรษาแรก พระฝายมหานิกายยังเหลือแค่ ๒ รูป และก่อนเข้าพรรษาที่สอง พระฝ่ายมหานิกายไม่มีเหลืออยู่เลย

    ด้วยเหตุนี้ วัดพระศรีมหาธาตุ จึงกลายเป็นวัดธรรมยุตมาจนทุกวันนี้ .

    ผู้เขียนเคยถามครูบาอาจารย์ว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น? ได้คำตอบว่า
    “เพิ่นจะอยู่ได้อย่างไร ข้าวก็กินมื้อเดียว เงินทองที่ผ่านมืออย่างคล่อง ก็จับต้องไม่ได้ เคยมีสีกาไปนั่งอยู่ถึงกุฏิ ก็ทำไม่ได้ ตื่นตี ๓ ก็ไม่เคย สมาธิไม่เคยนั่ง เดินจงกรมก็ไม่เคย แล้วเพิ่งจะทนได้จังได๋ เพิ่นเป็นมหา เอาแต่เรียนหนังสือ ไม่เคยนำมาปฏิบัติจักเทื่อ..”

    ความจริงแล้ว เรื่องต่างนิกายไม่น่าจะสำคัญมาก ถ้าปฏิบัติอยู่ในธรรมวินัยเดียวกัน ดังพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ในหนังสือพุทธศาสนวงศ์ ที่ว่า

    “การที่พระภิกษุสงฆ์แยกออกเป็นนิกายต่างๆ ไม่ใช่เป็นการแปลกมีในทุกๆ ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และการที่แยกกันออกไปนี้ อาจกล่าวตามประวัติศาสตร์ว่าต้องมีเป็นธรรมดา ถึงพยายามรวมให้เป็นหนึ่งเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาจสำเร็จได้ชั่วคราว แต่ต่อมาไม่นานก็กลับแยกกันออกไปอีก ในศาสนาอื่นๆ ก็มีแยกเป็นลัทธินิกายต่างๆ เหมือนกัน

    การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา มิใช่อยู่ที่การพยายามเพื่อรวมนิกายสงฆ์ แต่อยู่ที่การพยายามให้พระสงฆ์ทุกนิกายตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย ส่วนการรวมกันนั้น เมื่อดีเสมอกัน หรือเสื่อมเสมอกัน ก็รวมกันเข้าได้เอง


    สาธุ !

    ขอพูดถึงหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ท่านมีลูกศิษย์ทั้งสองนิกาย โดยเฉพาะหลวงปู่ใหญ่ ท่านบอกให้ลูกศิษย์ทั้งสองนิกายพักจำพรรษาด้วยกัน ลงอุโบสถด้วยกัน จนกระทั่งทางฝ่ายปกครองมีคำสั่งไม่ให้ทำสังฆกรรมรวมกัน ท่านจึงบอกศิษย์ว่า
    “เมื่อผู้ใหญ่เขาไม่ให้ทำสังฆกรรมรวมกัน ต่างคนก็ต่างแยกกันทำซะ ไม่มีปัญหาอะไรดอก ”

    <TABLE id=table48 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ภาพถ่ายทางอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
    ประมาณ พ.ศ ๒๕๐๐
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรื่องของธรรมะจัดสรร


    การที่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ท่านไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน และหาทางขัดขวางต่างๆ นานา ในตอนแรก ทำให้พระกรรมฐานหลายองค์พยายามหนีออกไปอยู่ไกลๆ ส่วนหนึ่งก็หนีความรำคาญ เช่น ท่านธมฺมธีโร (แสง) หนีจากอุบลฯ ไปอยู่หนองบัวลำภู ได้สร้างวัดหลายแห่ง และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย

    บูรพาจารย์สายกรรมฐานหลายท่าน ข้ามไปบำเพ็ญภาวนาและเผยแพร่ธรรมทางฝั่งลาว เกิดวัดกรรมฐานขึ้นหลายแห่ง

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ก็ไปเผยแพร่ธรรมอยู่ทางภาคอีสานตอนบน แถบจังหวัดอุดรธานี นครพนม สกลนคร หนองคาย รวมไปถึงจังหวัดเลย เกิดวัดกรรมฐานหลายร้อยแห่ง

    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาโค และศิษย์ ก็เป็นคณะใหญ่ ออกเผยแพร่ธรรมแถบจังหวัดขอนแก่น แล้วมาพำนักประจำที่จังหวัดนครราชสีมา

    ถ้าจะมองในแง่การเผยแพร่กรรมฐานของบูรพาจารย์พระกรรมฐานในยุคแรก ต้องเจอกับอุปสรรค หรือมารผจญอย่างหนักหนาสากรรจ์ อุปสรรคใหญ่มาจาก ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มพ่อมดหมอผี พวกไสยศาสตร์ต่างๆ กลุ่มที่สอง การขัดขวางจากพระสงฆ์เจ้าถิ่นที่อยู่เดิม ในกลุ่มนี้ยังเป็นอุปสรรคสำคัญ และยังเข้มข้นมาจนทุกวันนี้ และกลุ่มที่สาม จากพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตด้วยกันเอง ตัวอย่างจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นต้น

    ในทางธรรมะ การเอาชนะอุปสรรคถือเป็นการสร้างบารมีดังคำพังเพยที่ว่า “มารไม่มี บารมีไม่เกิด” พระพุทธองค์ยังต้องผจญมารและเอาชนะนักบวชกลุ่มต่างๆ ด้วย ขันติธรรม เมตตาธรรม และปัญญาธรรม พระองค์ท่านไม่เคยผูกพยาบาทกับศัตรูเลย

    ถ้ามองในแง่ของ การบริหารจัดการ ตามแนวความคิดปัจจุบันต้องบอกว่า เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส หรือมองในสายตาธรรมะต้องบอกว่า ธรรมะจัดสรร

    กล่าวคือ การที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และคณะศิษย์ ได้ออกจากจังหวัดอุบลฯ ไปเผยแพร่ธรรมในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งในประเทศลาวนั้น ผลดีที่ตามมา ทำให้ประชาชนเข้าใจและศรัทธาในคณะธรรมยุต ศรัทธาในสายพระป่า ก่อให้เกิดวัดป่าหรือวัดกรรมฐานขึ้นมากมาย

    ต่อมา หลวงปู่มั่น ได้ปลีกจากหมู่คณะไปบำเพ็ญธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ๑๒ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๘๒ ก่อให้เกิดวัดป่าหรือวัดกรรมฐานอีกมากมาย ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดสันติธรรม อำเภอเมือง วัดป่าดาราภิรมย์ วัดห้วยน้ำริน อำเภอแม่ริม วัดป่าอาจารย์ตื้อ วัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง วัดเจติยบรรพต วัดดอยแม่ปั๋ง วัดป่าอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) อำเภอพร้าว วัดโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง วัดถ้ำผาปล่อง วัดถ้ำปากเปียง อำเภอเชียงดาว วัดถ้ำผาผึ้ง อำเภอฝาง เป็นต้น

    นอกจากวัดป่าสังกัดสายธรรมยุตแล้ว ยังมีวัดป่าหรือวัดกรรมฐานสังกัดสายมหานิกายอีกมากมาย ที่ถือเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่นเช่น สายวัดหนองป่าพง ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท สายวัดทุ่งสามัคคีธรรม อ สามชุก จ.สุพรรณบุรี ของหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก พระอาจารย์ของหลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ วัดสังฆทาน นนทบุรี หลวงพ่อสำรวม สิริภทฺโท วัดไกลกังวล เขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม อ.หันคา จ.ชัยนาท ทางภาคตะวันออก ก็มีหลวงปู่ใช่ สุชีโว วัดเขาฉลาก บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี หลวงพ่อณรงค์ มหาวโร วัดบ้านเพ (รำไพพรรณีวัน) บ้านเพ ระยองเป็นต้น

    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ผู้บันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า

    “สำหรับเรื่องนี้ เป็นอุทาหรณ์สอนใจเป็นอย่างดีว่า ความจริงย่อมเป็นความจริงวันยังค่ำ ธรรมชาติทองคำนั้นแม้จะเอาไปซุกซ่อนไว้ในโคลนตม มันก็ยังเป็นทองคำอยู่ดี ไม่เปลี่ยนแปลง ในธรรมชาติความเป็นจริงก็เหมือนกัน แม้บางครั้งจะมีเมฆหมอกแห่งความชั่วร้ายเข้ามาบดบังอยู่บ้าง แต่คราใด ขันติธรรม เราถึงพร้อม ใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ อดทน รอเวลาให้เมฆหมอกเหล่านั้นเคลื่อนตัวออกไปอย่างไม่วู่วามรีบด่วนตัดสินใจไปก่อนวันสมหวังจะมาถึง ผลที่เกิดขึ้นในที่สุด ก็คือความแจ่มจำรัสของท้องนภากาศแห่งตะวันอันเจิดจ้า เพราะธรรมย่อมชนะอธรรม ธรรมแท้ย่อมเป็นของจริง ที่ทนต่อการพิสูจน์ เยี่ยงพระบูรพาจารย์ของเรา ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ ผู้ได้ยอมทนเพื่อพระศาสนา และเพื่อความวิมุตติหลุดพ้น อย่างแท้จริง”
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภาค ๕ : เตรียมกลับอุบลบ้านเกิด : ไปวัดอรัญญิกาวาส นครพนม


    ขออนุญาตกลับมาต่อเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ช่วงที่ออกเผยแพร่ธรรมทางภาคอีสานตอนบนกันต่อนะครับ

    บันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้.:-

    “ปี พ ศ ๒๔๗๗ ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้เดินทางจากสกลนครมาที่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อฉลองศาลาโรงธรรม ที่พระอาจารย์บุญมา (มหายโส) กราบนิมนต์

    ลูกศิษย์จำนวนมากมารวมกัน และท่านพระอาจารย์ (เสาร์) ปรารภที่จะกลับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอน แต่ได้ปรึกษากันว่าทางอุบลฯ จะยินดีให้การสนับสนุนหรือไม่

    ท่าน (หลวงปู่ใหญ่ฯ) ได้ให้ทำหนังสือถึงเจ้าคณะจังหวัดอุบลฯ และในเวลาต่อมาได้รับตอบจากท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) วัดศรีทอง เจ้าคุณพระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุปัฏนาราม ว่ามีความยินดีสนับสนุนต่อไป


    จากข้อความข้างต้น หมายความว่า เมฆหมอกทางจังหวัดอุบลฯ คืออุปสรรคขัดขวางการเผยแพร่ธรรมของพระธุดงค์กรรมฐานจากพระผู้ใหญ่ฝ่ายบริหารกิจการคณะสงฆ์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว หลวงปู่ใหญ่จึงมีความประสงค์จะกลับบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายที่นั่น

    จากหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ บันทึกเหตุการณ์ในช่วงเดียวกันว่า

    ในปีพรรษานั้นไม่มีหลักฐานใดบ่งบอกว่าท่านพระอาจารย์ใหญ่
    “ญาท่านเสาร์” ได้อยู่พักจำพรรษา ณ ที่ใด แต่ช่วงหลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านคงจะไป-มา อยู่ระหว่าง ธาตุพนม-สกลนคร-นครพนม เพราะวัดป่าสุทธาวาสทางสกลนครนั้น มีหลักฐานว่า ได้สร้างกุฏิพระแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๗๕ (มีป้ายติดไว้ที่กุฏิ พ.ศ. ๒๔๗๕) โดยกุฏิชั่วคราวที่ปลูกสร้างในปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้นมีลักษณะ “กว้าง ๒.๕ - ๓ เมตร ใต้ถุนสูง ๑ เมตร มีชานด้านหน้า และพื้นปูด้วยไม้ยาง หลังคามุงด้วยจาก ฝากั้นด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ ค่าก่อสร้างจำไม่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าประมาณหลังละ ๒๕ บาท กุฏิที่กล่าวนั้นคงได้ใช้ชั่วคราวจริงๆ คือเพียง ๕-๖ ปี ก็หมดอายุ”

    ข้อความข้างต้นที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด
    “__” คัดจาก หนังสือเรื่อง “ตอนหนึ่งจากความทรงจำเรื่องวัดสุทธาวาส สกลนคร” ของท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ที่เขียนในหนังสือสุทธาวาสที่ระลึกในงานทอดกฐินวัดป่าสุทธาวาส วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๕
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ใต้ต้นกะบก-ดงบาก มาเป็นวัดป่าสุทธาวาส


    ปี พ.ศ.๒๔๗๘-๒๔๗๙ เป็นพรรษาที่ ๕๔-๕๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พักจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร พอถึงช่วงออกพรรษาท่านก็ออกเผยแพร่ธรรมไปตามที่ต่างๆ ไม่ได้อยู่ประจำที่ดังที่ทราบกันดีแล้ว

    ในตอนนี้ผมขอพูดถึงการตั้งวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนครพอให้เป็นที่เข้าใจสำหรับท่านที่ยังไม่เคยทราบ ส่วนท่านที่ทราบแล้วก็ถือว่าเป็นการทบทวนเรื่องเก่าก็แล้วกัน

    สถานที่ตั้งวัดป่าสุทธาวาส ในปัจจุบัน แต่เดิมเป็นป่าอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมืองสกลนคร ชาวบ้านเรียกว่า “ดงบาก” ซึ่งก็คือป่าดงไม้กระบากนั่นเอง มีสภาพเป็นป่าทึบเป็นแนวกว้าง พื้นที่เป็นดินทราย อยู่บนสันดอนแหลมมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาทึบปกคลุมทั่วบริเวณ เป็นที่สงบ ร่มรื่นตลอดทั้งวัน

    แต่เดิมมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ชุกชุม ค่ำเย็นลงระงมไปด้วยเสียงจักจั่นเรไร และเสียงนกกลางคืน เป็นสถานที่วิเวกเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการบำเพ็ญภาวนาของพระธุดงค์ ที่สำคัญก็อยู่ไม่ห่างไกลจากชุมชนมากนัก พอออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ได้โดยไม่ลำบาก

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เลือกเป็นที่พักบำเพ็ญเพียรในช่วงที่มาเผยแพร่ธรรมะให้กับชาวสกลนคร

    ตามปรารภของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านมีความประสงค์จะสร้างวัดใกล้กับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ๒ แห่ง มีที่พระธาตุพนม แห่งหนึ่ง คือวัดอ้อมแก้ว หรือ วัดเกาะแก้วอัมพวัน ในปัจจุบัน ดังที่นำเสนอแล้ว และวัดที่ ๒ ที่สกลนครซึ่งมีพระธาตุเชิงชุม เป็นพุทธสถานศักดิ์สิทธิ์ได้แก่วัดป่าสุทธาวาส นี้เอง

    ที่ผมใช้คำว่าเป็น พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์ เพราะสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาจริงๆ ไม่มีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือลัทธิอื่นมาเจือปน องค์พระธาตุก็เป็นความเชื่อแบบพุทธล้วนๆ เรียกว่า พุทธบริสุทธิ์ก็ได้ เป็นศิลปแบบล้านช้าง ซึ่งสืบทอดมาจากฝั่งลาว สายเดียวกันกับ ศิลปล้านนา ของชาวเหนือ เรียกว่าเป็นศิลปแบบพุทธแท้เลยทีเดียว มาระยะหลังๆ ในปัจจุบันเริ่มมีอิทธิพลจากศาสนาและลัทธิต่างๆ เข้ามาแทรก เช่น มีเทวรูป พระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร หรือเจ้าแม่กวนอิม เทพเจ้าลัทธิต่างๆ มาปน ทำให้ความบริสุทธิ์ด้านศิลปชาวพุทธแท้ๆ ต้องแปรเปลี่ยนไป (อันนี้ผมว่าเองนะครับ ถ้ามีผิดพลาดก็กราบท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วย-ปฐม)

    ขอพาท่านกลับมาที่ ป่าดงบาก กันต่อนะครับ

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านธุดงค์มาปักกลดใต้ต้นกะบกใหญ่

    กะบกใหญ่ ต้นนั้นหักโค่นไปแล้ว หลวงปู่ใหญ่ ได้ปรารภว่า
    “บริเวณป่าแห่งนี้มีทั้งที่เป็นสิริมงคลหลายอย่าง น่าจะได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น เพื่อพระธุดงค์ที่ปลีกวิเวกจะได้มาพักพิง และชาวบ้านก็จะได้มาทำบุญปฏิบัติธรรมรักษาศีลภาวนา”

    <TABLE id=table50 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พิพิธภัณฑ์บริขารท่านพระอาจารย์มั่น
    วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ที่ดงบากแห่งนี้ ต่อมาก็ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ และพัฒนามาเป็นวัดป่าสุทธาวาส ซึ่งเป็นสถานที่ที่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มาละขันธ์มรณภาพ ณ วัดแห่งนี้เอง นับเป็นสถานที่มงคลสำหรับชาวพุทธเป็นอย่างยิ่ง


    สภาพป่าในปัจจุบันหายไปหมดแล้ว กลายเป็นบ้านเรือนขึ้นอยู่ล้อมรอบวัด ด้านหน้าวัดก็เป็นทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ สกลนครกาฬสินธุ์ และมีศูนย์ราชการย้ายออกมาตั้งอยู่คนละฝั่งถนนกับที่ตั้งวัด แต่ภายในวัดก็ยังสงบร่มรื่นอยู่เช่นเคย

    หมายเหตุ
    : ไม้กะบก กับ กะบาก เป็นคนละต้นกัน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เรียกว่า กระบก กับ กระบาก มีคำอธิบาย ดังนี้

    กระบก - ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้ ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก

    กระบาก -ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ มีหลายชนิด ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลำต้นตรงสูงได้ถึง ๓๐-๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนักโดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต

    เมื่อมีโอกาสไปดูไม้จริง อันไหน กระบก อันไหน กระบาก ท่านต้องสืบค้นเอาเอง
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บันทึกการสร้างวัดป่าสุทธาวาส


    ขอโอกาสท่านผู้อ่าน เขียนถึงกำเนิดหรือการสร้างวัดป่าสุทธาวาส ในสมัยเริ่มแรก ซึ่งมีอยู่ ๓ บันทึก คือ

    ๑. กำเนิดวัดป่าสุทธาวาส ในความทรงจำของข้าพเจ้า โดย นายวิศิษฐ์ วัฒนสุชาติ สามีของคุณลูกอินทน์ น้องสาวคนเล็ก ๓ พี่น้อง ผู้นำในการสร้างวัด บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗

    ๒. สารคดีวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร โดย พระทองคำ จารุวณฺโณ บันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ในการอุปสมบทครั้งที่ ๒

    ๓ ข้อคิดเกี่ยวกับประวัติและสารคดีวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร โดย นายแพทย์เจริญ วัฒนสุชาติ

    ผมขอโอกาสคัดลอกบางตอนของบันทึกทั้ง ๓ ฉบับ มานำเสนอด้วยกัน ดังนี้

    หลวงตาทองคำ เริ่มต้นบันทึกว่า “วัดป่าสุทธาวาส เป็นวัดที่ ๓ พี่น้องหญิง คือ นางนุ่ม นางนิล ชุวานนท์ และนางลูกอินทน์ วัฒนสุชาติ สร้างถวายพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น โดยเฉพาะ”

    นายวิศิษฏ์ วัฒนสุชาติ ได้บันทึกเหตุการณ์ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ ปีแรกที่หลวงปู่ใหญ่มาพักว่า
    “...ในระยะนี้ได้มีพระธุดงค์มาจากถิ่นต่างๆ มาปักกลดพักเพื่อปฏิบัติธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานในบริเวณดงบาก ซึ่งเป็นป่าไม้ทึบใกล้สนามบิน และอยู่ชานเมืองสกลนครด้านทิศใต้ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒ กิโลเมตร ประชาชนจังหวัดสกลนครได้ออกไปทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา และฝึกสมาธิตามศรัทธา พระธุดงค์เหล่านั้น ส่วนมากมาพักปฏิบัติธรรมอยู่ชั่วคราว แล้วท่านก็จาริกไปอยู่ที่อื่นต่อไป..”

    บันทึกของนายวิศิษฏ์ พูดถึงการเริ่มต้นก่อตั้งเป็นวัดว่า
    “ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ท่านอาจารย์หล้า มีลูกศิษย์ตามมาด้วย ๓ - ๔ องค์ มาปักกลดพักอยู่บริเวณป่าแห่งนี้ (อยู่ตรงกลางที่สร้างวัดป่าสุทธาวาส)

    พี่นุ่ม พี่นิล และลูกอินทน์ ภรรยาของข้าพเจ้า ซึ่งมีความเคารพและเลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติ ของอาจารย์พระกรรมฐานที่เคยผ่านมาเป็นทุนอยู่แล้ว จึงได้ชักชวนผู้ใกล้ชิด ซึ่งมีข้าพเจ้าคนหนึ่ง และว่าจ้างคนงานไปช่วยถากถางปาในบริเวณนี้ให้กว้างขวางออกไป แล้วตัดไม้ในบริเวณนั้นเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างเป็นกุฏิเตี้ยๆ พอพักได้องค์เดียว

    มุงหลังคาด้วยหญ้าคาและฟางเท่าที่หาได้ สร้างได้ ๔-๕ หลัง และได้สร้างศาลาเตี้ยๆ ยกพื้นสูงประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร ปูพื้นด้วยไม้กลมเลี่ยนลำ มุงหลังคาด้วยหญ้าคาขึ้น ๑ หลัง เพื่อเป็นที่ฉันจังหัน และแสดงธรรมให้แก่ชาวบ้านที่สนใจฟัง และหัดนั่งสมาธิภาวนา ตามแต่โอกาสจะอำนวยให้

    ในช่วงนี้ ชาวบ้านกกสัมโรง (กกสำโรง ในภาษากลาง) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของสนามบิน มีลุงหมื่นราษฎร์ ลุงตัน เป็นหัวหน้า ได้ชักชวนชาวบ้านมาช่วยกันถากถางให้บริเวณนี้กว้างออกไปอีก จนเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมา จึงได้อาราธนานิมนต์ท่านอาจารย์ (หล้า) และคณะ พักปฏิบัติธรรมและจำพรรษาอยู่ ณ สำนักสงฆ์แห่งนี้

    เนื่องจากบริเวณป่าแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่ ท่านขุนอุพัทธ์ระบิล เป็นผู้ขออนุญาตจับจองไว้ พี่นุ่ม จึงได้ติดต่อกับท่านขุนอุพัทธ์ระบิลเพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์

    ท่านขุนอุพัทธ์ระบิลมอบให้ด้วยความยินดี ที่ดินแปลงนี้ตั้งอยู่บนเนินสูงเป็นดินปนทราย เวลาหน้าฝนน้ำไม่ขัง มีป่าไม้ปกคลุมหนาแน่น

    ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๓ เป็นต้นมา สำนักสงฆ์แห่งนี้ขยายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นตามลำดับ มีต้นไม้ใหญ่ๆ ขึ้นปกคลุม ร่มรื่นดี พี่นุ่ม พี่นิล และคณะผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เห็นว่ากุฏิชั่วคราวชำรุดทรุดโทรมลง จึงได้ชักชวนกันสร้างกุฏิที่ดีกว่าเดิมขึ้นใหม่ มีขนาด ๓.๐๐๒.๕๐ เมตร ใต้ถุนสูงประมาณ.๑.๕๐ เมตร ทำด้วยเสาไม้แก่น พื้นไม้ยาง ฝาไม้ไผ่ขัดแตะ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา มีผู้รับสร้างให้ในราคาหลังละ ๒๕ บาท

    กุฏินี้เมื่อสร้างแล้วคงมีความมั่นคงอยู่ได้ประมาณ ๕-๖ ปี ได้มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อสร้างกุฏิดังกล่าวนี้คนละหลัง รวมแล้วได้หลายหลัง พอเพียงกับพระที่ท่านมาพำนักอาศัย ทำให้ท่านได้รับความสะดวกดียิ่งขึ้น

    ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๘๐ ได้มีการสร้างกุฏิถาวรขึ้นมา และสร้างศาลาโรงธรรมขึ้น ๑ หลัง ขนาด ๒
    o ๑๐ เมตร ยกพื้นสูง๑ เมตร มุงหลังคาด้วยกระเบื้องไม้ มีพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานจำพรรษาและพักอาศัยติดต่อกันตลอดมา

    ในระหว่างปี ๒๔๘๑-๒๔๘๒ ทางวัดได้ดำเนินการขออนุญาตตั้งวัดเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยตั้งชื่อว่า วัดสุทธาวาส และท่านขุนอุพัทธ์ระบิล ทำหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นที่สร้างวัด ซึ่งได้รับอนุญาตจากทางการ ตามใบอนุญาต เลขที่ ๑๓๑ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๘๒ สมัยท่านพระครูวิมลสกลเขต เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเชิงชุม เป็นเจ้าคณะแขวง และท่านขุนศรีประทุมวงศ์ เป็นนายอำเภอเมืองสกลนคร

    วัดสุทธาวาส จึงเป็นวัดธรรมยุตที่ถูกต้องแต่บัดนั้นเป็นต้นมา มีอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์และ ท่านอาจารย์มั่น ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาพักจำพรรษา และอยู่ประจำติดต่อกันมาจนปัจจุบัน


    นายวิศิษฏ์ เจ้าของบันทึก แสดงความรู้สึกในตอนท้ายว่า
    “ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสใช้กำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิดและกำลังทรัพย์ เท่าที่หามาได้ด้วยตนเอง ผนึกกำลังกับชาวบ้านและมีบทบาทในการสร้างวัดสุทธาวาส เริ่มตั้งแต่การถากถางป่า จนกลายเป็นสำนักสงฆ์และวัดที่สมบูรณ์แบบ ถูกต้องตามกฎหมาย”

    สาธุ ! สาธุ ! สาธุ !

    บันทึกอีก ๒ ฉบับ ก็มีเนื้อหาเช่นเดียวกัน ต่างกันในรายละเอียดบ้าง เพราะบันทึกหลังจากเหตุการณ์ผ่านมานานแล้ว ก็คงไม่ต้องยกมากล่าวอีกนะครับ

    สำหรับเจ้าสำนัก หรือเจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส มีตามลำดับ ดังนี้

    (ถือตามบันทึกของ นายวิศิษฏ์ วัฒนสุชาติ)

    ๑. ท่านอาจารย์หล้า

    ๒. ท่านอาจารย์โชติ

    ๓. หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล

    ๔. หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ

    ๕. พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)

    ๖. ท่านอาจารย์มหาไพบูลย์ (ท่านเจ้าคุณราชคุณาภรณ์ ต่อมาเป็นเจ้าคณะจังหวัดฝ่ายธรรมยุต และเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโพนเมือง)

    ๗. ท่านอาจารย์มหาทองสุก สุจิตฺโต (พระครูอุดมธรรมคุณ) ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๕๐๘

    ๘. ท่านอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร (พระญาณสิทธาจารย์) ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๐๙

    ๙ ท่านอาจารย์วัน อุตฺตโต ปี พ.ศ. ๒๕๐๙

    ๑๐. ท่านอาจารย์แว่น ธนปาโล พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๒๓

    ๑๑. ท่านพระครูวินัยธร ประมูล รวิวํโส (พระวิบูลธรรมภาณ) เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร ฝ่ายธรรมยุต ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๓๗

    ๑๒.หลวงปู่คำดี ปญฺโญภาโส พ.ศ. ๒๕๓๗-ปัจจุบัน ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสกลนครฝ่ายธรรมยุต

    <TABLE id=table51 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    โบสถ์วัดป่าสุทธาวาส ณ สถานที่ถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓ ซึ่งต่อมามีการสร้างพระอุโบสถขึ้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    (หลวงปู่คำดี เป็นพระกรรมฐานที่เมตตามาพักที่บ้านผู้เขียนเป็นองค์แรก หลังจากนั้นก็มีหลวงปู่หลวงพ่อองค์อื่นๆ เมตตามาพักโปรดญาติโยมที่บ้านอยู่เรื่อยๆ จนที่บ้าน คือ บ้านนิคมานนท์กลายเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมกลายๆ -ปฐม)

    วัดป่าสุทธาวาส ปัจจุบันมีสิ่งสักการบูชาที่สำคัญคือ โบสถ์ที่สร้างตามสนองความคิดของหลวงปู่มั่น จัดสร้างบนเมรุที่เผาศพของท่าน มีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่มั่น และเจดีย์ของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานร่างต้นแบบด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง

    นับเป็นสถานที่มงคลเป็นอย่างยิ่ง ใครยังไม่เคยไป ควรหาโอกาสไปให้ได้ เพราะเป็นแดนบุญที่บริสุทธิ์จริงๆ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่บัวพา ศิษย์อุปัฏฐากรุ่นสุดท้าย


    เหตุการณ์นี้เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ พรรษาที่ ๕๔ ในปีนี้ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กลับมาพำนักที่ป่าดงบาก หรือ วัดป่าสุทธาวาส เมืองสกลนคร อีกครั้งหนึ่ง

    ศิษย์อุปัฏฐากของหลวงปู่ใหญ่ ในขณะนั้น คือ พระภิกษุอุย จากบ้านหนองดินดำ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร มีเหตุให้ต้องกราบลาไปเยี่ยมบ้าน เพื่อดูแลรักษามารดาที่กำลังป่วย ซึ่งโยมมารดาของท่านได้ถึงแก่กรรม ก่อนที่ท่านจะออกเดินทางไปเพียงวันเดียว

    ขณะเดียวกันนั้น ท่านพระอาจารย์กอง วัดประชานิยม บ้านโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ.ยโสธร) ซึ่งเป็นศิษย์ของ ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน วัดป่าสุนทราราม บ้านกุดแห่ อ เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ ยโสธร) ได้นำศิษย์ที่เพิ่งบวชได้ ๒ พรรษา คือ พระอาจารย์บัวพา ปญญาภาโส วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ หนองคาย ไปถวายตัวเป็นศิษย์อุปัฏฐากทำหน้าที่แทนพระอาจารย์อุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    <TABLE id=table52 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    จากหนังสือ ประวัติพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส กล่าวถึงเรื่องราวในตอนนี้ว่า “พอออกพรรษาแล้ว มีเพื่อนชวนไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัดป่าบ้านโพนทัน พระที่ไปด้วยกันได้ขอทำทัฬหีกรรม ญัตติเป็นธรรมยุตหมด ยังเหลือแต่พระภิกษุบัวพา ที่ยังไม่พร้อมที่จะญัตติเป็นพระธรรมยุต เนื่องจากยังไม่ได้บอกพระอุปัชฌาย์

    ในปีนั้น ท่านได้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่วัดป่าบ้านโพนทัน กับ ท่านพระอาจารย์กอง ฝึกหัดนั่งสมาธิ เดินจงกรม บำเพ็ญเพียรในอิริยาบถต่างๆ รู้สึกว่าจิตใจสงบร่มเย็นขึ้นโดยลำดับ ตั้งแต่นั้นต่อมาท่านก็เลยเลิกเรียนปริยัติ มุ่งหน้าแต่ด้านปฏิบัติกรรมฐานเพียงอย่างเดียว

    ด้วยเหตุที่มีจิตใจมุ่งมั่นในการปฏิบัติกรรมฐาน พระภิกษุบัวพาจึงออกเดินทางไปวัดสีฐาน อ.มหาชนะชัย (จ.ยโสธร) เพื่อฝึกอบรมกรรมฐานให้ได้ผล และแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความชำนาญในการสอนกรรมฐาน

    ในช่วงนั้น ชื่อเสียงและปฏิปทาของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลและหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กำลังเลื่องลือและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

    พระภิกษุบัวพา ก็อยากพบเห็น เพื่อจะได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์จึงได้ชักชวนเพื่อนสหธรรมิก เดินทางไปยังจังหวัดสกลนคร

    การเดินทางในสมัยนั้นลำบากมาก เพราะไม่มีถนน ไม่มีรถยนต์ ต้องเดินทางด้วยเท้าไปตามทางเกวียน ผ่านป่าดงดิบหนาทึบ ข้ามภูเขาหลายลูก คณะของพระภิกษุบัวพา จึงออกเดินทางจากอำเภอมหาชนะชัย ไปจังหวัดสกลนคร

    ในขณะเดียวกันก็มีคณะพระภิกษุสามเณรจะเดินทางไปอำเภอบัวขาว จังหวัดกาฬสินธุ์ และจะต่อไปยังสกลนคร พระภิกษุบัวพา จึงขอร่วมเดินทางไปด้วย

    เมื่อไปถึงสกลนครแล้ว ก็ได้เข้าไปกราบนมัสการ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ที่ วัดป่าสุทธาวาส ขอฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของท่าน

    เมื่อฝึกปฏิบัติกรรมฐานไปได้ระยะหนึ่ง จิตใจของท่านรู้สึกสงบเยือกเย็นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านจึงตกลงใจว่า สมควรที่จะขอทำทัฬหีกรรม เป็นพระธรรมยุตได้แล้ว

    ดังนั้น พระอาจารย์เสาร์ จึงสั่งการให้จัดเตรียมบริขารใหม่ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ท่านจึงให้พระภิกษุ ๒ รูป นำคณะของพระภิกษุบัวพา เดินทางไปขอทำทัฬหีกรรมที่จังหวัดนครพนม

    พิธีการญัตติเป็นพระธรรมยุตครั้งนี้ มีขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๗๘ ณ พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐารามโดยมีพระครูสารภาณมุนี
    (เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาพรหมา โชติโก (พระราชสุทธาจารย์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ต่อจากนั้นพระภิกษุบัวพา และคณะ จึงได้เดินทางกลับไปยังสกลนคร อยู่ปฏิบัติกรรมฐานกับพระอาจารย์เสาร์เรื่อยมา


    หลวงปู่บัวพาได้ติดตามอุปัฏฐาก หลวงปู่ใหญ่ เรื่อยมาจนถึงกาลสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ จึงถือได้ว่า หลวงปู่บัวพา เป็นศิษย์อุปัฏฐากรุ่นสุดท้าย ตามชื่อหัวเรื่องที่ตั้งไว้ข้างต้น
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส


    หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ บ้านบึงแก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นบุตรของนายหยาด และนางทองสา แสงสี

    พ.ศ. ๒๔๗๕ อุปสมบทครั้งแรกที่วัดกุดกุง อำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร โดยพระอาจารย์ม่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้พระอาจารย์กอง วัดป่าโพนทัน เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานองค์แรก

    ด้วยหลวงปู่บัวพา มีจิตใจใฝ่ในการปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อทราบข่าวท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มาพักอยู่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร จึงน้อมจิตอธิษฐานถึงหลวงปู่เสาร์ว่า “ขอได้พบ และเป็นศิษย์ติดตามปฏิบัติอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์เสาร์ด้วยเถิด”

    หลวงปู่บัวพา ได้เดินทางไปวัดป่าสุทธาวาส เพื่อมอบกายถวายชีวิตเป็นศิษย์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ซึ่งท่านได้เมตตารับเป็นศิษย์ในสำนักซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บัวพา ยังเป็นพระมหานิกายอยู่

    หลวงปู่ใหญ่ ได้ฝึกหัดหลวงปู่บัวพาปฏิบัติตัวให้ถูกต้องก่อนที่จะญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมี พระครูสารภาณมุนี
    (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระมหาพรหมา โชติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    อุปสมบทเป็นพระธรรมยุตแล้ว หลวงปู่บัวพาก็กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส ซึ่งครูบาอาจารย์ พระเณร ประชุมกันเพื่อจัดเวรอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ โดยพระทุกองค์ในวัดจะได้รับเวรปรนนิบัติรับใช้ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสมอกันทุกองค์ จัดเวรกันวันละ ๓ องค์ คือ พระสองกับเณรหนึ่งองค์

    ส่วนหลวงปู่บัวพานั้น ตั้งใจจะอุปัฏฐากถวายหลวงปู่ใหญ่ตลอดไป จึงเข้าทำการอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่ทุกวัน แม้วันที่ไม่ใช่เวรท่านก็ตาม ก็มาช่วยหมู่เพื่อนอยู่ทุกวัน จนหลวงปู่ใหญ่ จำหน้าท่านได้เป็นอย่างดี

    วันหนึ่ง หลวงปู่ใหญ่ ได้ถามหลวงปู่บัวพาว่า
    “เจ้าชื่อหยัง อยู่บ้านได๋ เมืองได๋?”

    หลวงปู่บัวพา ได้กราบเรียนหลวงปู่ใหญ่ ให้ทราบความเป็นมาของท่านด้วยความเคารพ แล้วหลวงปู่ใหญ่ก็พูดว่า
    “เฮามันคนเมืองอุบลฯ ทางเดียวกันน้อ”

    หลังออกพรรษาในปีนั้น หลวงปู่ใหญ่ได้ปรารภกับลูกศิษย์ลูกหาว่า
    “โยมทางเมืองอุบลฯ มานิมนต์ให้เขาไปโปรดญาติโยมทางบ้านเก่าบ้าง หากจะไปกันหมดวัดก็คงไม่งาม คงจะต้องแบ่งกันไป เขาจะว่าพระกรรมฐานเราได้ พระกรรมฐานตอนอยู่ก็แย่งกันอยู่ เมื่อตอนไปก็แย่งกันไป มันบ่อดีเด้อ”

    ต่อมาหลวงปู่ใหญ่ได้นัดประชุมเรื่องจะเดินทางไปเมืองอุบลฯ ก่อนเลิกประชุม หลวงปู่ใหญ่ ได้คัดเลือกพระเณรที่จะติดตามท่านไปเมืองอุบลฯ

    หลวงปู่บัวพาเป็นพระบวชใหม่พรรษาแรก นั่งอยู่ท้ายสุด ได้อธิษฐานในใจว่า
    “นับถูกเราไหม? นับถูกเราไหมหนอ? ขอให้เราได้ติดตามไปกับท่านพระอาจารย์เสาร์ด้วยเถิด”

    หลวงปู่บัวพา นั่งแบบใจหายใจคว่ำ จนหลวงปู่ใหญ่นับมาถึงองค์สุดท้าย ชี้มือมาทางท่านแล้วพูดว่า

    “เจ้าผู้หนึ่งไปนำข้อย เรามันคนทางเดียวกัน บัดถ้าเจ็บป่วยไขได้เบิ่งกัน”

    หลวงปู่บัวพา บอกว่าท่านดีใจจนน้ำตาไหล หมู่คณะที่มาประชุมหันมามองหลวงปู่บัวพาเป็นตาเดียว ที่เห็นหลวงปู่ใหญ่เรียกชื่อท่านเป็นองค์สุดท้าย

    การที่หลวงปู่ใหญ่ เลือกหลวงปู่บัวพา และพูดว่า
    “ถ้าป่วยไข้จะได้ดูแลกัน” เหมือนท่านจะทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า เพราะต่อมาภายหลังเวลาหลวงปู่ใหญ่อาพาธ หลวงปู่บัวพาจะอุปัฏฐากดูแลท่านไปตลอดจนท่านถึงมรณภาพ

    ก่อนที่หลวงปู่ใหญ่ จะเดินทางจากวัดป่าสุทธาวาส ไปเมืองอุบลราชธานีนั้น คิดได้แวะพักที่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม และไปนมัสการพระธาตุพนมต่อ ซึ่งขณะนั้นพระอุปัฏฐากซึ่งเป็นชาวขอนแก่น ได้กราบลาไปดูแลโยมมารดาที่กำลังป่วย ดังนั้นหลวงปู่บัวพาจึงรับหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    หลวงปู่บัวพาได้ติดตามรับใช้ใกล้ชิด หลวงปู่ใหญ่ไม่ว่าจะธุดงค์ไปสถานที่ใด ทั้งในเมืองอุบลฯ วัดบูรพา วัดป่าบ้านข่าโคม วัดภูเขาแก้ว วัดดอนธาตุ หรือแม้แต่ธุดงค์ออกไปประเทศลาว หลี่ผี ปากเซ และนครจำปาศักดิ์ รวมทั้งครั้งสุดท้ายที่วัดอำมาตยาราม ที่หลวงปู่ใหญ่มรณภาพลงในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔

    หลวงปู่บัวพา เป็นศิษย์ที่อุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่ใหญ่ด้วยความเคารพยิ่ง โดยท่านตื่นแต่ตี ๓ ทำวัตรเช้า-สวดมนต์ เสร็จก็มาที่กุฏิหลวงปู่ใหญ่ เตรียมน้ำร้อน ไม้สีฟัน น้ำล้างหน้า ผ้าเช็ดตัว ถวาย ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ จะเดินจงกรมจนถึงสว่าง

    ระหว่างนั้นหลวงปู่บัวพา จะเทกระโถนปัสสาวะของหลวงปู่ใหญ่ แล้วกลับลงมาที่ศาลา ปัดกวาดเช็ดถู เตรียมบริขารบิณฑบาต ทั้งของหลวงปู่ใหญ่ และของท่านเอง แล้วตามหลวงปู่ใหญ่ไปบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็จัดเตรียมถวายอาหารที่รับประเคนมาถวายหลวงปู่ใหญ่

    ช่วงเย็นท่านจะมาสรงน้ำหลวงปู่ใหญ่ แล้วก็ลงทำวัตร-สวดมนต์เย็น แล้วจึงมาถวายการบีบนวด ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ ให้การอบรมสั่งสอนและให้อธิบายธรรมไปในตัว

    หลวงปู่บัวพา ได้เล่าถึงแนวทางปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่ ดังนี้. -

    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ ถือตามแบบเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านเคร่งครัดมาก ลูกศิษย์ทุกคนต้องถือเคร่งกับการปฏิบัติภาวนาแต่หัวค่ำยันรุ่ง การประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญภาวนา พูดคุยกันไม่ได้ เวลาปฏิบัติต้องเอาจริง เมื่อถือธุดงค์กรรมฐานอย่างเคร่งครัดแล้ว พอตี ๓ ตื่นนอนทันที ก่อน ๔ ทุ่มต้องเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ศึกษาข้อวินัยกับท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านไม่นิยมให้คลุกคลีกับหมู่คณะ การหลับนอนให้เคร่งครัด หัดจนคล่องตัว ถ้าใครฝึกได้ ท่านก็จะแนะนำการสอนต่อไป”

    หลวงปู่ใหญ่ ไม่ค่อยจะพูดอะไรมาก อธิบายธรรมนี้ก็เหมือนกัน ถามก็ตอบ ถ้าไม่ถามก็นั่งเฉยกันทั้งวัน หลวงปู่บัวพา จึงไม่ค่อยเทศน์ ไม่ค่อยพูดตามหลวงปู่ใหญ่ไปด้วย หลวงปู่บัวพาจึงเป็นพระที่พูดน้อย สันโดษ มักน้อย ไม่ติดในลาภยศ ท่านถือแบบอย่างของหลวงปู่ใหญ่เป็นแนวทางการดำเนินตลอดมา

    หลังจากหลวงปู่ใหญ่มรณภาพแล้ว อัฐบริขารของท่านได้แจกจ่ายลูกศิษย์หมู่คณะองค์อื่นๆ หลวงปู่บัวพาไม่รับอะไรเลย ท่านให้เหตุผลว่า
    “เฮาได้ตัวท่านพระอาจารย์เสาร์แล้ว เฮาพอใจแล้ว” ท่านพอใจที่ได้อยู่อุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่ และท่านก็ได้ดำเนินตามแนวทางปฏิปทาของหลวงปู่มาโดยตลอด

    <TABLE id=table53 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ เสร็จจากงานถวายเพลิงศพหลวงปู่ใหญ่แล้ว หลวงปู่บัวพา กลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุ ๑ พรรษา แล้วกลับไปโปรดโยมมารดาที่บ้านเกิด จากนั้นได้ธุดงค์ไป วัดป่าบ้านหนองผือ และอยู่ศึกษาธรรมกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีก ๑ พรรษาจึงธุดงค์ต่อไปอีกหลายจังหวัด

    จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ ท่านจึงได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ในอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่าพระสถิตย์

    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ หลวงปู่บัวพา ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นตรี ที่พระครูปัญญาวิสุทธิ

    หลวงปู่บัวพา พำนักอยู่ที่ วัดป่าพระสถิตย์ จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้มรณภาพลง สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วันพรรษา ๖๑
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บันทึกจากหนังสือหลวงปู่หลุย


    เรื่องราวต่อไปนี้ปรากฏในหนังสือ จนฺทสาโรบูชา ประพันธ์โดยคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต มีดังนี้ : -

    “...ครั้งแรก ท่าน (หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร) คิดจะเดินทางกลับไปทางจังหวัดบ้านเกิด (จังหวัดเลย) เพราะมีนิมิตถึงโยมมารดาและตัวท่านก็ธุดงค์จากบ้านเกิดมาช้านาน

    อย่างไรก็ดี พอดีได้ทราบว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส ท่านจึงรีบไปกราบด้วยความเคารพ ทั้งนี้เพื่อจะรายงานเรื่องการที่ท่านสั่งให้ไปอยู่ ถ้ำโพนงาม แต่เมื่อปีก่อนโน้นให้ทราบด้วย

    การได้มาอยู่ปรนนิบัติรับใช้ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่อีกวาระหนึ่ง ทำให้ท่านคิดว่าเป็นโอกาสอันประเสริฐ เหมือนจู่ๆ ได้เห็นแก้ววิเศษลอยมาใกล้ตัว จะไม่เชิญแก้วดวงวิเศษไว้บูชาหรือ จะปล่อยให้ลอยผ่านพ้นไปได้อย่างไร.. โอกาสเช่นนี้มีไม่ได้ง่ายๆ สำหรับการกลับไปเยี่ยมบ้านนั้นน่าจะรอต่อไปได้ บ้านโยมมารดาก็คงอยู่ ณ ที่เก่า ไม่ได้ถอนเสาเรือนหายไปไหน อีกทั้งเราได้แผ่เมตตาให้มารดา ทำร่มมุ้งกลดแจกจ่ายพระเณร แม่ชี อุทิศกุศลให้มารดาตลอดเวลาอยู่แล้ว

    ปี ๒๔๗๙ท่านจึงได้อธิษฐานพรรษาอยู่ด้วยท่านพระอาจารย์เสาร์ ณ วัดสุทธาวาส เนื่องจากท่านไม่มีนิสัยชอบเทศนาอบรมเอง หลวงปู่หลุยจึงรับหน้าที่เป็นผู้คอยดูแลอบรมพระเณรที่มาอยู่กับท่านพระอาจารย์เสาร์ ให้อยู่ในธรรมวินัยและอาจาริยวัตร ข้อปฏิบัติอันดีงาม

    อาจาริยวัตรที่ท่านฝึกปรือมาแต่สมัยอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญ (พระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุฒฺโฑ พระกรรมวาจาจารย์ของ หลวงปู่หลุยกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งบวชพร้อมกันเป็นคู่นาคซ้าย-ขวา) ปฏิบัติรับใช้อาจารย์องค์แรกของท่านมาด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเป็นเวลา ๖ - ๗ ปี

    มาครั้งนี้ท่านก็ใช้อย่างเต็มที่ แม้ท่านจะมีพรรษากว่าสิบแล้ว แต่ท่านก็คงนอบน้อมถ่อมองค์ให้พระเณรรุ่นหลังได้เห็นเป็นตัวอย่างให้ตระหนักในวัตรเหล่านั้น

    - ต้องฉันทีหลังอาจารย์ ฉันให้เสร็จก่อนอาจารย์
    - นอนหลังอาจารย์ และ ตื่นก่อนอาจารย์ เป็นอาทิ

    การอุปัฏฐากพิเศษที่พระเณรพยายามปฏิบัติเป็นกิจวัตร แต่ทำไม่ค่อยคล่องก็คือ การกดเอ็นท้องให้ท่านในเวลานวดเส้นตอนกลางคืน ท่านเป็นคนรูปร่างใหญ่ หนังท้องค่อนข้างหนาด้วยท่านมีอายุมากแล้ว อีกประการหนึ่ง ท่านก็เคยชินต่อการนวดแรงๆ มาแล้ว การกดเอ็นท้องของท่านจึงต้องใช้และกำลังแข็งแกร่งมากเป็นพิเศษ

    พระเณรผู้ปฏิบัติไม่ค่อยมีกำลังนิ้วมือแข็งแรงพอ จึงมาปรารภกัน หลวงปู่ (หลุย) ได้เข้าไปขออนุญาตนวดเอ็นท่าน และสุดท้ายก็ได้อุบายมาสอนกัน คือ ให้พยายามกำหนดภาวนาไปด้วย เมื่อจิตเป็นสมาธิกำลังมือก็จะหนักหน่วง แข็งแรง ..ใจสู่ใจ ผู้รับนวดก็จะสบายกาย ผู้นวดก็จะไม่เปลืองแรง...ดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย

    หลวงปู่ (หลุย) บันทึกเรื่องเกี่ยวกับพระอาจารย์เสาร์ให้หลายแห่ง หลายวาระ คงจะเป็นความประทับใจของท่านอย่างมาก ที่เคยเดินธุดงค์และจำพรรษากับพระอาจารย์เสาร์...


    ผมคัดลอกข้อเขียนของคุณหญิงฯ มาอย่างยืดยาวเต็มที่ ท่านคงไม่ว่าอะไรนะครับ ถ้าเป็นประเทศฝรั่งแล้วละก็เกิดเรื่องแน่ คือคัดลอกได้ครั้งละไม่เกิน ๘ บรรทัด ไม่เช่นนั้นจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

    อันนี้ครูอาจารย์ท่านสอนตอนเรียนอยู่ต่างประเทศ (ขอคุยสักหน่อย) แต่ไม่ทราบว่ากฎเกณฑ์ในตอนนี้จะเปลี่ยนไปแล้วหรือยังก็ไม่ทราบ เพราะหยุดงานวิชาการอย่างสนิทมาเป็น
    “ลุงคนขับรถให้วัดหลายปีแล้ว
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ข้อมูลจากปากคำ หลวงปู่กิ

    <TABLE id=table54 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์กิ ธมฺมุตฺตโม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เรื่องราวของหลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ที่มาเกี่ยวข้องเป็นศิษย์ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั้นมีในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ดังต่อไปนี้

    “ลุ พ.ศ. ๒๔๗๘ พระอาจารย์เสาร์ พำนักที่ วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ชวนท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล (ศิษย์ทางสายมหานิกาย ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง จำพรรษาที่วัดธาตุศรีคูณ อ.นาแก จ.นครพนม

    ขณะนั้นประจวบกับเป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุหนุ่มใจเด็ดองค์หนึ่งมีนามว่า พระกิ ธมฺมุตฺตโม มาจากบ้านหนองผำ นครจำปาศักดิ์ แขวงจำปาศักดิ์ แดนดินถิ่นประเทศไทยในครั้งกระโน้น

    เมื่อแรกเข้ามาเมืองอุบลราชธานีก็ได้ติดตามพระอาจารย์บุญมาก ฐิติปุญฺโญ ซึ่งท่านได้นำศิษย์ ๑๐ กว่ารูป ออกเดินทางธุดงค์จากอุบลฯ เพื่อเข้ากราบคารวะพระอาจารย์เสาร์

    ระหว่างทางที่ติดตามมาจนถึงอำเภอนาแก ได้พบกับท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ กอปรกับย่างเข้าเดือน ๘ หน้าพรรษากาลพอดี จึงได้อยู่พักจำพรรษาที่วัดธาตุศรีคูณกับท่านพระอาจารย์ทองรัตน์

    พอออกพรรษาแล้ว ได้ร่วมเดินทางออกติดตามไปกราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าอรัญญิกาวาส จ. นครพนม ซึ่งในครั้งนั้นพระอาจารย์เสาร์ เดินทางจากวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร มาเป็นประธานในการฉลองศาลาการเปรียญของวัดป่าอรัญญิกาวาส

    ช่วงนั้นเป็นหน้าหนาว ขึ้นปี พ.ศ. ๒๔๗๙

    อาจารย์พิศิษฐ์ พูดถึงหลวงปู่กิ ว่า
    “พระกิ ที่เป็นพระหนุ่มองค์นี้ ท่านก็คือ หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม แห่งวัดป่าสนามชัย บ้านสนามชัย อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ทรงศีล สมาธิ พรหมจรรยา มีความทรงจำเป็นเลิศ รอบรู้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิประเทศทั้งภูเขาและเถื่อนถ้ำในแดนลาว และแถบชายแดนภาคอิสาน”

    อาจารย์พิศิษฐ์ ได้บันทึกเรื่องราวจากความทรงจำของหลวงปู่กิต่อไปว่า : -

    “ท่านหลวงปู่กิได้เล่าเรื่องราวแต่หนหลังจากความทรงจำอันแม่นยำว่า...

    ครั้งแรก ท่านจะไปกราบคารวะท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าสุทธาวาส พอดีทราบข่าวว่า องค์พระอาจารย์เสาร์มารับถวาย ศาลาหอแจก ที่วัดโพนแก้ว จึงติดตามไป

    ปีนั้นหมอกลงหนาทึบแผ่ปกคลุมทั่วเมืองนครพนม อากาศหนาวเหน็บแทรกซอนผิวหนัง แผ่ซ่านความเย็นเฉียบเข้าไปทั่วทุกอณูขุมขนแห่งกายคตานี้

    ยิ่งตอนเช้าเดินเหยียบน้ำค้าง อันเย็นยะเยือกบนยอดหญ้า ฝ่าสายหมอก ลัดทุ่งไปบิณฑบาต ยิ่งหนาวเหน็บจนเท้าเป็นตะคริว ต้องอาศัยขออังฝ่าเท้าด้วยกองไฟจากชาวบ้านที่สุมฟืนผิงไฟไล่ความหนาวอยู่หน้าบ้าน จนพอค่อยยังชั่วจึงออกเดินบิณฑบาตต่อไปได้

    กล่าวถึงศาลาการเปรียญหลังนี้ เป็นศาลาไม้พื้นฝากระดาน หลังคามุงแฝก ที่ชาวบ้านรวบรวมปัจจัยไปซื้อเรือนไม้เก่ามาปลูกสร้างศาลาเป็นที่พำนักฉันภัตตาหาร และประกอบศาสนกิจ เมื่อแล้วเสร็จ จึงพร้อมใจกันถวายเป็นสมบัติของสงฆ์ โดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นประมุขประธานสงฆ์

    ในคราวนั้นมีลูกศิษย์จำนวนมากมาชุมนุมรวมกัน โดยท่านเจ้าคุณปู่พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสารภาณมุนีพนมเขต สุทธิศักดิ์พิเศษคณาภิบาลสังฆวราหะ ในรัชกาลที่ ๘ วัดศรีเทพประดิษฐาราม เจ้าคณะจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นเก่าครั้งพระอาจารย์เสาร์ เปิดศักราชการธุดงค์บุกเบิกมาถึงนครพนมครั้งแรก ได้รับนิมนต์แสดงธรรม

    ท่านเจ้าคุณปู่ฯ ได้แสดงพระธรรมเทศนาด้วยกัณฑ์เทศน์ที่ว่า...

    โจรโต ปิติ ตสฺวา - บุญโจรนำไปด้วยได้ยาก


    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ได้ขมวดลงท้ายว่า
    “นี่คือบันทึกจากปากคำของท่านหลวงปู่กิ ที่จดจำเหตุการณ์เมื่อ ๖๐ ปีก่อนโน้นได้ แม้แต่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ลืมเลือนเลย นับว่าเป็นบุญของเราที่ได้รับรู้เรื่องราวในอดีตกาลก่อน เพราะหลังจากนั้นไม่นาน องค์ท่านก็มาด่วนละสังขารไปโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเลย”

    ครับ ! ผมก็คัดลอกมาอย่างสบายๆ ไม่ต้องไปเสาะหาข้อมูลด้วยตนเอง เขียนหนังสือแบบผมก็สบายอย่างนี้แหละ !

    หมายเหตุ
    : หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ เกิด พ.ศ. ๒๔๘๕ มรณภาพ พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่ออายุ ๘๔ ปี อายุพรรษา ๖๖ ท่านถูกอัธยาศัยกับ หลวงปู่เพ็ง พุทฺธมฺโม ของผมเป็นอย่างดี อายุคราวเดียวกัน รูปร่าง ผิวพรรณ การพูดจาคล้ายกันมาก

    ผมพาคณะไปทอดผ้าป่า ๒ ครั้ง ก่อนท่านมรณภาพ ๒-๓ ปี ก่อนหน้านั้นมีเรื่องเศร้าและตื่นเต้นคือลูกศิษย์ของท่านไปก่อเรื่องขึ้นแล้วมาหลบซ่อนตัวที่กุฏิของท่านแล้วถูกตามมายิงตายต่อหน้าท่าน

    หลวงปู่กิเป็นพยานคนเดียวที่อยู่ในเหตุการณ์ เขาจึงยิงหลวงปู่ด้วยกระสุนหลายนัด เพื่อหวังปิดปาก กระสุนนัดที่หนึ่งเข้าที่หัวไหล่ แล้ววิ่งไปตุงอยู่ใต้ผิวหนัง นัดที่สอง ถูกตรงหัวใจ วิ่งไปตุงอยู่ใต้ผิวหนัง ทั้งสองนัดเข้าไปไม่ถึงเนื้อ นัดที่สามผมจำไม่ได้ หมอเพียงผ่าตัดแค่ผิวหนังเพื่อเอากระสุนออกเท่านั้น

    ถามหลวงปู่ว่ามีอะไรดี ท่านว่า ท่านก็มีพุทโธอยู่อย่างเดียวเท่านั้น

    เหตุการณ์ครั้งนั้น ลูกศิษย์ได้ทำเหรียญรุ่นที่ ๑ ให้หลวงปู่แผ่พลังจิต แล้วแจกในงานทำบุญฉลองอายุของท่าน พวกเราคณะผ้าป่าได้รับกันทุกคน แล้วท่านยังเมตตามองให้ผมอีก ประมาณ ๑๐๐ เหรียญ รุ่นที่ ๒ ในปีต่อมา ผมก็ได้รับประมาณ ๑๐๐ เหรียญอีก ได้แจกจ่ายไปหมดแล้ว

    ท่านที่เคยร่วมทำบุญกับผม ถ้าสนใจลองไปค้นดู จำได้ว่าเคยมอบให้ท่านไปคู่กับเหรียญ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค วัดภูเขาแก้ว อ พิบูลมังสาหาร เป็นเหรียญศักดิ์สิทธิ์ที่มีเรื่องราวปาฏิหาริย์ทั้งคู่
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มอบหมายวัดให้ลูกศิษย์


    ท่านผู้อ่านคงยังพอจำได้ว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้เคยไปพำนักที่จังหวัดนครพนม และสร้างวัดโพนแก้ว ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดอรัญญิกาวาส มาจนปัจจุบัน

    หลวงปู่ใหญ่ ได้มอบหมายให้พระลูกศิษย์คือ หลวงปู่บุญมา มหายโส หรือ พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ เป็นผู้ดูแลปกครองวัด ในระหว่างที่หลวงปู่ใหญ่ไม่อยู่

    และมาในขณะนี้ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙ หลวงปู่ใหญ่ ได้มาเป็นประธานรับถวาย ศาลาหอแจก หรือ ศาลาการเปรียญ จึงได้กลับมาพำนักที่วัดโพนแก้ว นี้อีกครั้งหนึ่ง

    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนถึงเหตุการณ์ต่อไปดังนี้ : -

    วันหนึ่ง ประมาณ ๔ ทุ่ม ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้เรียกท่านพระอาจารย์บุญมา มหายโส ไปพบท่านที่กุฏิ แล้วพูดว่า

    “เราได้ปฏิบัติพระศาสนา เที่ยวอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรประชาชนทั้งหลาย ให้รู้แจ้งเห็นจริงในศีลธรรมมาด้วยความยากลำบากแสนเข็ญ ก็สู้อดทนมา

    บางบ้านเขาเอาปืนไล่ยิง บ้างบ้านเขาว่าเป็นอีแร้งหม่น (หม่น = สีปนดำ, สีเทา) มันเป็นเสียอย่างนี้ ก็สู้ทนมาจึงถึงบัดนี้

    ขอให้ท่านพิจารณาดูเอา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมของพระบรมศาสดาจารย์ แล้วใช้วิริยะความเพียร ปฏิบัติอย่าท้อถอย อย่าได้ละทิ้งวัดนี้ไป เทอญ


    หลวงปู่ใหญ่ ได้มอบภาระการเป็นเจ้าวัดอย่างเต็มที่ให้แก่หลวงปู่บุญมา มหายโส ตั้งแต่บัดนั้น

    <TABLE id=table56 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก
    </TD><TD>
    พระอาจารย์บุญมา มหายโส
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์ทอง อโสโก
    </TD><TD>
    พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปรารภกลับจังหวัดอุบล


    บัดนี้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล อายุ ๗๗ ปี ท่านเข้าสู่วัยชรามากแล้ว และก็จากอุบลฯ บ้านเกิดเมืองนอนมานานปี การขัดขวางแนวทางพระธุดงค์กรรมฐานจากพระผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจบริหารการคณะสงฆ์ก็คลี่คลายไปแล้ว เป็นเวลาสมควรที่ท่านจะกลับไปพำนักเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายที่จังหวัดอุบลได้แล้ว

    หลังจากงานฉลอง ศาลาหอแจก วัดโพนแก้ว จังหวัดนครพนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ใหญ่ได้ปรารภถึงการกลับจังหวัดอุบลฯ ท่ามกลางบรรดาศิษย์ที่มาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก

    บรรดาศิษย์อาวุโส เช่น พระเทพสิทธาจารย์, พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน, พระอาจารย์กว่า สุมโน, พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปญฺโญ, พระอาจารย์บุญมี ญาณมุนี (ครูบาอาจารย์มักเรียกว่า อาจารย์บุญมี สูงเนิน เพราะท่านเป็นชาวอำเภอสูงเนิน นครราชสีมา ขณะนั้นเพิ่งกลับจากไปธุดงค์ประเทศพม่า) เป็นต้น

    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ปรารภที่จะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่จังหวัดอุบลฯ แล้ว คณะศิษย์ก็เห็นชอบด้วย และควรจะได้สอบถามไปทางจังหวัดอุบลฯ ก่อนว่า คณะสงฆ์ที่นั่นยังยินดีให้การต้อนรับสนับสนุนการกลับบ้านเกิดของท่านหรือไม่

    ทางคณะศิษย์ได้ทำหนังสือไปปรึกษาหารือกับเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาก็ได้รับคำตอบจากท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) วัดศรีทอง และ ท่านเจ้าคุณ พระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุปัฏนาราม ว่าต่างมีความยินดี ขอนิมนต์หลวงปู่ใหญ่ กลับจังหวัดอุบลฯ พร้อมที่จะให้การต้อนรับสนับสนุนอย่างเต็มที่

    เมื่อทราบคำตอบจากจังหวัดอุบลฯ อย่างชัดเจนแล้ว หลวงปู่ใหญ่จึงได้นัดแนะให้คณะศิษย์ไปประชุมร่วมกันวางแผนการกลับ และร่วมทำบุญวันมาฆบูชาที่อำเภอธาตุพนม ที่ วัดอ้อมแก้ว หรือ วัดเกาะแก้วอัมพวัน ที่ท่านได้มาสร้างและเคยมาพำนักอยู่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓

    ดังนั้น เมื่อใกล้ถึงวันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือนสามในปีนั้น คือปี พ ศ. ๒๔๗๙ คณะศิษย์ทั้งหลาย ทั้งใกล้ ทั้งไกล ที่ทราบข่าวการนัดหมาย ต่างก็ทยอยกันเดินทางมาพร้อมกันที่วัดอ้อมแก้ว อำเภอธาตุพนม กันอย่างไม่ขาดสาย

    หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม เล่าไว้ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ว่า...หลังจากท่านได้กราบคารวะหลวงปู่ใหญ่ ที่วัดอรัญญิกาวาสแล้ว ก็ได้แยกย้ายกันเดินทางมาอำเภอธาตุพนม พร้อมกับคณะท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล

    หลวงปู่กิ รับสะพายบาตรของท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ด้วยจนบ่าท่านเป็นแผล พากันเดินธุดงค์ล่องใต้มาเรื่อย ผ่านบ้านหนองจันทร์ ท่าค้อ ชะโงม บ้านกลาง นาถ่อน ดอนนางหงส์ แสนพัน หลักศิลา พระกลาง จนถึงธาตุพนม เห็นมีพระสงฆ์สามเณร มาร่วมชุมนุมกันมากมายหลายร้อย ทำให้บริเวณวัดอ้อมแก้วแคบลงไปถนัดใจ

    การประชุมศิษย์ในวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ในครั้งนั้น ถือเป็นภารกิจครั้งสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ ที่จังหวัดนครพนม เพราะหลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้กลับมาที่นครพนมอีกเลย

    ในปีนั้นหลวงปู่ใหญ่ อายุล่วงเข้า ๗๗ ปี อายุพรรษา ๕๗ มีความชราภาพมากแล้ว เวลาเดินต้องใช้ไม้เท้าพยุงกาย แต่ท่านก็ยังเดินเหินได้คล่องแคล่วสำหรับผู้สูงอายุในวัยนั้น

    หลวงปู่ใหญ่ได้ให้โอวาทแก่บรรดาศิษย์ ถือเป็นโอวาทครั้งสุดท้ายแก่ศิษย์ที่มีภารกิจไม่สามารถติดตามท่านไปยังเมืองอุบลได้

    ต่อจากนั้น บรรดาศิษย์ต่างก็แยกย้ายกันไปบำเพ็ญเพียรหรือปฏิบัติสมณกิจของแต่ละองค์ ตามแบบครรลองของพระบูรพาจารย์เจ้าต่อไป

    การประชุมศิษย์ในครั้งนั้น ถือเป็นการชุมนุมพระธุดงค์กรรมฐานครั้งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครพนมในยุคสมัยนั้น

    <TABLE id=table55 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล
    </TD><TD>
    พระอาจารย์กินนรี จนฺทิโย
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระครูญาณโศภิต
    (พระอาจารย์มี ญาณมุนี)
    </TD><TD>
    พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปญฺโญ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มอบภาระและจัดขบวนทัพ


    คณะศิษย์ที่จะเดินทางติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลไปพำนักที่จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนั้นมีไม่น้อยกว่า ๗๐-๘๐ รูป จัดเป็นคณะพระธุดงค์คณะใหญ่ ถ้าไม่มีการจัดการที่ดีย่อมทำความแตกตื่นโกลาหลให้แก่ประชาชนตามเส้นทางที่ผ่านไปไม่น้อยทีเดียว

    แต่คณะของท่านไปอย่างแนบเนียน และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่

    ถ้าพูดแบบวิชาการสมัยใหม่ต้องบอกว่า ท่านมีวิธีบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม ซึ่งผมจะกล่าวอีกครั้งในหัวข้อต่อไป

    หลวงปู่ใหญ่ได้จัดแบ่งคณะศิษย์ที่จะติดตามออกเป็นหลายกลุ่มหรือหลายคณะ ศิษย์ที่มีอาวุโสรับเป็นหัวหน้าแต่ละคณะ พร้อมทั้งกำหนดหมู่บ้านต่างๆ ที่แต่ละคณะจะไปพำนักเพื่อโปรดญาติโยมชาวเมืองอุบลฯ เช่น -

    - ให้ พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ไปตั้งวัดจำพรรษาอยู่ที่บ้านชีทวน

    - พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปญฺโญ ไปอยู่บ้านท่าศาลา

    - ให้พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่บ้านสวนงัว เพราะเคยอยู่มาก่อน

    - พระอาจารย์ดี ฉนฺโนให้ไปอยู่บ้านกุดแห่ เพราะเป็นบ้านเกิด

    สำหรับองค์หลวงปู่ใหญ่ เองนั้นท่านจะไปโปรดญาติโยมชาวบ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน ซึ่งบ้านข่าโคมนี้ อยู่ไม่ไกลจากบ้านชีทวนที่มอบหมายให้พระอาจารย์ทองรัตน์ ศิษย์ฝ่ายมหานิกายไปอยู่ บ้านสองแห่งนี้มีลำน้ำเซบายขวางกั้น อยู่ห่างกันราว ๘ กิโลเมตรเท่านั้น

    <TABLE id=table57 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์ทอง อโสโก
    </TD><TD>
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์กงแก้ว ขนฺติโก
    </TD><TD>
    พระครูพิศาลสังฆกิจ
    (พระอาจารย์โทน กนฺตสีโล)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรื่องของพระธรรมยุตและมหานิกาย


    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านเห็นว่าเรื่องของนิกายไม่ใช่เรื่องสำคัญ ท่านให้ความสำคัญที่การปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เป็นเรื่องสำคัญมากกว่า และเป็นเรื่องที่พระภิกษุจะต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด อย่างไม่มีข้อยกเว้นหรือข้ออ้างใดๆ ทั้งสิ้น

    หลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ ท่านเน้นเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา แยกออกจากกันไม่ได้ เป็นเอกภาพของมรรค

    ในเรื่องศีลของสงฆ์ ท่านถือพระวินัย จากสิกขาบท ๒๒๗ ข้อในพระปาฏิโมกข์เป็นหลักใหญ่ ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ด่างพร้อย ไม่ล่วงละเมิด เพราะจะนำพาพระไปสู่ความบริสุทธิ์ สร้างความสามัคคีในหมู่สงฆ์ และถ้าศีลบริสุทธิ์แล้ว ในการภาวนาจิตก็รวมลงเร็ว

    นอกเหนือจากสิกขาบท ๒๒๗ ข้อในพระปาฏิโมกข์แล้ว หลวงปู่ใหญ่ทั้งสอง ก็ยังเน้นข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลายที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ซึ่งมี ๓ หมวดเรียกว่า ศีลอภิสมาจาร มีทั้งข้อห้ามและข้อทรงอนุญาต เป็นบทกำกับวิถีดำเนินของพระสงฆ์ ตั้งแต่เรื่องการรักษาความสะอาดของร่างกาย การแสดงความเคารพคารวะต่อกัน การรักษา การบริโภคใช้สอยปัจจัยและเครื่องบริขาร เรียกว่า ข้อวัตร ๑๔ หรือกิจวัตร ๑๔ ของสงฆ์ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ หมวด คือ

    - วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่างต่างๆ ที่สมณะควรประพฤติ

    - จริยาวัตรว่าด้วยมารยาทที่สมณะควรประพฤติ

    - กิจวัตร ว่าด้วยกิจที่สมณะควรกระทำ

    นี่ผมว่าตามตำราหรอกนะ อาจผิดบ้างถูกบ้างก็ต้องกราบขออภัย ส่วนรายละเอียดผมไม่กล้าอธิบาย เพราะเคยบวชพระแค่ ๓ เดือนตอนเป็นหนุ่มหล่อเท่านั้น

    อีกเรื่องที่ หลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ ท่านเน้นมากและส่งเสริมให้พระได้อธิษฐานปฏิบัติตามความเหมาะสม คือ ธุดงค์วัตร ๑๓ แม้ไม่บังคับให้พระถือปฏิบัติ แต่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เพื่อให้พระใช้เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมความมักน้อยและสันโดษ

    ธุดงค์วัตร ๑๓ ดูจะเป็นเรื่องที่ขาดความสนใจในวงพุทธบริษัทเสมอมา ไม่ค่อยเห็นมีผู้ฟื้นฟูขึ้นมาปฏิบัติให้จริงจัง การที่ธุดงค์วัตรปรากฏเด่นชัดในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน ก็เพราะ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น เป็นผู้พาดำเนินอย่างจริงจัง หลวงปู่ทั้งสององค์ ถือปฏิบัติทั้ง ๑๓ ข้อ ตามโอกาสอันควร

    ธุดงค์วัตร ๗ ข้อ ที่หลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเป็นประจำ และเป็นแบบอย่างของพระสายปฏิบัติในปัจจุบันได้แก่ ถือผ้าห่มบังสุกุลจีวร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นประจำ ถือฉันในบาตร ถือฉันหนเดียว รับเฉพาะอาหารที่ได้มาในบาตร ไม่รับอาหารที่ตามส่งภายหลัง ถือการอยู่เสนาสนะป่า และถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร

    แม้ธุดงค์วัตร จะไม่ใช่วินัยที่บังคับให้พระต้องปฏิบัติ แต่การปฏิบัติธุดงค์ไม่ว่าข้อใด ย่อมเป็นความสง่างามของพระ ทั้งเป็นผู้เลี้ยงง่าย อยู่ง่าย เบากายเบาใจ ไม่พะรุงพะรังทั้งทางอารมณ์และเครื่องเป็นอยู่ต่างๆ เป็นอุบายการขจัดกิเลสตัณหาได้อย่างดี

    ที่ผมเขียนมายืดยาวนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ท่านเน้นให้พระภิกษุปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และข้อวัตรต่างๆ ที่เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของธรรมยุต หรือมหานิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของพระแต่ละรูปแต่ละองค์ ว่าจะถือเคร่งครัด และปฏิบัติจริงจังเพียงใดต่างหาก

    แต่ที่พระธรรมยุต กับ มหานิกาย ไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน เช่นการลงพระอุโบสถ นั้น เป็นข้อห้ามของพระสงฆ์ที่เรียกว่า นานาสังวาสซึ่งผมก็ไม่ค่อยรู้รายละเอียดเหมือนกัน

    จะเห็นว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีทั้งที่สังกัดฝายธรรมยุต และสังกัดฝ่ายมหานิกาย ที่สังกัดฝ่ายมหานิกายรุ่นบูรพาจารย์ยุคต้นได้แก่ พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ วัดอรัญญวาสี อ ท่าบ่อ หนองคาย, พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล วัดป่าบ้านคุ้ม จ.อุบลฯ, พระอาจารย์บุญมี ญาณมุนี วัดป่าสูงเนิน จ.นครราชสีมา, หลวงปู่ชา สุภทโท วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี และที่อยู่ในภาคเหนือก็เช่น หลวงปู่คำปัน สุภทฺโท วัดสันโป่ง อ.แม่ริม จ เชียงใหม่, หลวงปู่คำแสน คุณาลงฺกาโร วัดดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นต้น
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ให้ศิษย์ธรรมยุตกับมหานิกายจำพรรษารวมกัน


    ก่อนออกเดินทางกลับอุบลฯ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้บอกพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ศิษย์ฝายมหานิกายของท่านว่า : -

    “ท่านทองรัตน์ เมือนี่ ให้ไปจำพรรษาที่บ้านชีทวน ชีทวนข่อยเคยไปอยู่ เป็นบ่อนสำคัญบ่อนหนึ่ง คนมีความรู้ความฉลาดมาก คนดีกะมีหลาย คนขี้ฮ่ายกะมีมาก ให้ไผผู้อื่นไปอยู่บ่ได้ เฮาลงไปนี่ให้จำพรรษาโฮมกันทั้งธรรมยุตกับมหานิกาย ท่านมีให้ไปจำพรรษานำข่อย เราไปฮอดตำอิดไปโฮมกันอยู่วัดบูรพา”

    หลวงปู่ใหญ่ ท่านพูดเป็นภาษาอิสาน และผมก็ลอกมาจากหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์อีกนั่นแหละ

    หลวงปู่ใหญ่ บอกกับ หลวงปู่ทองรัตน์ ที่วัดเกาะแก้วอัมพวัน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม บอกว่า เมื่อไปถึงอุบลฯ ให้หลวงปู่ทองรัตน์ไปจำพรรษาที่บ้านชีทวนซึ่งหลวงปู่ใญ่เคยไปอยู่มาก่อนทั้งนั้นเป็นหมู่บ้านสำคัญแห่งหนึ่ง คนดีมีความรู้ก็มีมาก คนไม่ดีก็มีมากเหมือนกัน ปะปนกันอยู่ ครั้นจะให้ผู้อื่นไปก็กลัวจะทนอยู่ไม่ได้ พอไปถึงอุบลฯ ให้จำพรรษารวมกันทั้งธรรมยุตและมหานิกาย เมื่อเกิดปัญหาจะได้ช่วยกัน ส่วนท่านมี (หลวงปู่บุญมี สูงเนิน ศิษย์มหานิกายอีกท่านหนึ่ง) ให้ไปจำพรรษาอยู่กับท่าน เมื่อไปถึงอุบลฯ แล้วให้ไปรวมกันที่วัดบูรพารามก่อน

    คือแต่ละกลุ่มแต่ละคณะแยกกันเดินทาง ไม่ได้ไปพร้อมกันเป็นคณะใหญ่

    <TABLE id=table58 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
    </TD><TD>
    พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์กินรี จนฺทิโย
    </TD><TD>
    พระอาจารย์ชา สุภทฺโท
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน


    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นศิษย์อาวุโสที่ติดตามหลวงปู่ใหญ่จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ ประวัติย่อมีดังนี้ -

    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวน ๙ คน ของหลวงอินทร์ และแม่จันทรา วงศ์เสนา เกิดที่บ้านกุดน้ำใส อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ปีมะโรง พ ศ. ๒๔๓๕

    ประมาณ พ ศ.๒๔๕๒ ครอบครัวของบิดาได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จึงจัดเป็นตระกูลที่เก่าแก่หลักบ้านหลักเมืองตระกูลหนึ่ง

    พระอาจารย์ดี เคยบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๖ ปี จนถึงอายุ ๑๘ ปี ได้ลาสิกขาออกมาช่วยงานทางบ้าน พออายุ ๒๐ ปี ได้แต่งงานกับนางมี กาฬสุข อยู่ด้วยกัน ๓ ปี ไม่มีบุตร ได้หย่าร้างกัน

    หลังจากนั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระธรรมบาล วัดบ้านกุดมะฮง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ ศ. ๒๔๕๗ แล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ จนได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ เป็นพระเถระนับพรรษาได้ ๒๔ พรรษา

    วัดกุดแห่ ในสมัยพระอาจารย์ดี นั้นเป็นวัดที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในถิ่นนั้น มีศาลาโรงธรรมที่มีเสาใหญ่ที่สุด วัดโดยรอบได้ ๑ เมตร มีถึง ๓๖ ต้น

    ท่านสร้างหอไตรที่มีลวดลายวิจิตรสวยงาม ทั้งประดิษฐ์ธรรมาสน์แบบไทยเดิม สร้างกุฏิใหญ่ ๒ หลัง เพราะท่านมีความชำนาญในทางช่างไม้ ช่างก่อสร้าง แกะสลัก เขียนภาพ ช่างเหล็ก ช่างปูน ช่างปั้นดินเผา ช่างเครื่องหนัง (เช่น ทำเข็มขัด อานม้า รองเท้า กระเป๋าหนัง เป็นต้น อีกทั้งมีความรู้ทางว่านยาแผนโบราณ เก่งทั้งทางคาถาอาคม เชี่ยวชาญในการปราบผีทุกชนิด จนชาวบ้านตั้งฉายาว่า “อาจารย์ดี ผีย่าน” (ย่าน คือ กลัว) อีกทั้งเทศนาโวหารก็เฉียบคม ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปไกลมีลูกศิษย์ลูกหามาก

    พ.ศ.๒๔๖๙ พระอาจารย์ดี ได้เดินทางไปบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เพื่อเสาะหาของขลัง และเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติม ได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ได้มาเป็นศิษย์ศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แล้วได้เข้าญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่วัดสร่างโศก หรือวัดศรีธรรมาราม จังหวัดยโสธร ในปัจจุบัน

    หลังจากนั้น พระอาจารย์ดี ก็ได้เป็นกำลังสำคัญช่วยเผยแผ่ธรรมปฏิบัติในกองทัพธรรมพระกรรมฐานตลอดภาคอิสาน และฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอีกด้วย

    พระอาจารย์ดี ได้มีโอกาสกราบและถวายตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลกจนกระทั่งได้ออกธุดงค์ติดตามตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ไปจนตลอดอายุขัยของหลวงปู่ใหญ่

    พระอาจารย์ดี ได้ติดตาม หลวงปู่ใหญ่ ไปจังหวัดอุบลราชธานีและไปพำนักอยู่กับท่านที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของหลวงปู่ใหญ่ ต่อมาได้ธุดงค์ไปที่อำเภอพิบูลมังสาหาร มีญาติโยมศรัทธาถวายที่ดินให้หลวงปู่ใหญ่สร้างวัดกรรมฐานขึ้น ชื่อวัดภูเขาแก้ว

    หลวงปู่ใหญ่ มอบให้พระอาจารย์ดี เป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขาแก้ว แล้วท่านไปสร้างวัดใหม่บนเกาะกลางลำแม่น้ำมูลชื่อ วัดดอนธาตุ และพำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้เป็นวัดสุดท้ายในชีวิตของท่าน

    พระอาจารย์ดี ได้ติดตามหลวงปู่ใหญ่ ไปอยู่ที่วัดดอนธาตุเป็นประจำ เห็นว่าพระอาจารย์ดี ท่านมีฝีมือในทางปั้น หลวงปู่ใหญ่ จึงได้มอบให้พระอาจารย์ดี เป็นผู้ปั้นพระพุทธไสยาสน์ ไว้สักการบูชามาถึงทุกวันนี้ นอกจากนั้น หลวงปู่ใหญ่ยังได้มอบหมายให้พระอาจารย์ดีเป็นผู้เทศน์ให้การอบรมแก่พระเณรและฆราวาสญาติโยมแทนท่านเสมอ

    ในช่วงชีวิตสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ พระอาจารย์ดี ได้ติดตามหลวงปู่ใหญ่ไปที่นครจำปาศักดิ์ จนกระทั่งหลวงปู่ใหญ่ได้มรณภาพทิ้งขันธ์ที่วัดอำมาตยาราม ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔

    ในปัจฉิมวัย พระอาจารย์ดี มีปัญหาด้านสุขภาพ ท่านเจ็บป่วยบ่อย จึงไปพักรักษาตัวที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี จนกระทั่งมรณภาพลง ณ ที่นั้น เมื่อเวลา ๐๕.๓๐ น. ของวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ ในอิริยาบถท่านั่งอิงหมอนใหญ่ คล้ายกับนั่งเอนกายพักผ่อนตามปกติ

    หลังจากนั้นอีก ๑ ปี คณะศิษย์จึงได้ทำการฌาปนกิจ ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ


    พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ เป็นลูกศิษย์ฝ่ายมหานิกายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น อีกองค์หนึ่งที่ควรพูดถึง ท่านได้สร้างวัดกรรมฐานหลายวัด และมีลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นฝ่ายปฏิบัติในสังกัดมหานิกายสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

    พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ เกิดที่บ้านค้อ อำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี เป็นศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์รุ่นกลางของหลวงปู่ใหญ่เสาร์

    ในปี พ ศ ๒๔๖๑ พระอาจารย์สุวรรณได้ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น ไปจำพรรษาที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร พร้อมกับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

    พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๗ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ได้ออกธุดงค์มาแถบอิสานเหนือ คือ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หลวงปู่ทั้งสองได้จำพรรษาที่บ้านค้อ อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี

    หลังออกพรรษาแล้ว จาริกมายังอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พระอาจารย์สุวรรณ ได้ติดตามมาฟังธรรมปฏิบัติด้วย

    พระอาจารย์สุวรรณ มีนิสัยชอบสร้างวัด เช่น วัดป่าบ้านค้อ วัดป่าโศรกนาคำ วัดป่าสุจิณณารมย์ และวัดป่าอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

    พระอาจารย์สุวรรณ สร้างวัด หรือโบสถ์วิหารใดๆ ท่านจะมีรูปปั้นสุนัขเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมีผู้เล่าว่า เมื่อท่านอายุ ๖ เดือน มารดาได้เสียชีวิตลง ท่านได้คลานไปดูดนมสุนัขแทนนมมารดา ท่านจึงได้ชื่อเล่นว่า “หมา” ตั้งแต่นั้นมา

    พระอาจารย์สุวรรณ เห็นว่าสุนัขมีบุญคุณต่อท่าน การสร้างวัดโบสถ์ วิหาร แทบทุกครั้งท่านจึงสร้างรูปสุนัขเป็นสัญลักษณ์ เป็นการสำนึกถึงบุญคุณนั้น นับเป็นการกตัญญูกตเวทีเป็นอย่างยิ่ง

    ในตอนปัจฉิมวัย พระอาจารย์สุวรรณ ได้กลับมาจำพรรษาที่เมืองอุบลฯ บ้านเกิด และมรณภาพที่วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...