หลวงปู่สาร์ กนฺตสีโล : พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 14 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทิพยจักษุ - กายมีตาทิพย์


    ในเรื่องนี้ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นผู้เล่า ดังนี้: -

    “มีผู้บอกว่า เคยได้ฟังมาว่า หลวงปู่ฝั้น ดูหมอเก่ง (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมภรณ์ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นลูกศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น อีกต่อหนึ่ง)

    หลวงพ่อ แก้ว่า ไม่มีน้า ไม่เคยหรอก

    เหมือนๆ กับมีพระองค์หนึ่งว่า หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นไปตัดเหล็กไหลที่ถ้ำสระบัว ภูเขาควาย (ฝั่งประเทศลาว) มันไม่ตรงกับความจริงเลยแม้แต่นิดหนึ่ง

    พระองค์นั้นชื่อพระอาจารย์จันทร์ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ เขาบอกว่าตั้งแต่เขาเป็นเณรโน่น

    ทีนี้ เหล็กไหล มันเป็นทรัพย์ในดินสินในน้ำ ท่านผู้เคร่งต่อพระธรรมวินัยท่านจะไปทำได้อย่างไร?

    ขนาดหลวงพ่อเอาสีผึ้งใส่ในย่ามนี่ ท่านยังว่าเอาๆ ยังงงยังกะไก่ตาแตกเลย..โอ๊ย ! หลวงปู่นี่มาค้นดูย่ามเราตั้งแต่เมื่อไร
    ?

    ตลับสีผึ้งนี่โยมเขาทำให้ตั้งแต่เป็นเณรอยู่บ้านนอก เขาบอกว่าอันนี้จะไปเรียนหนังสือ มันเรียนหนังสือดี ก็เลยเอามา...

    หลวงปู่เสาร์ดุ จะมาภาวนาเอามรรคผลนิพพาน ยังเอาตลับสีผึ้งใส่ย่ามมาด้วย มันจะไปได้อย่างไร...

    ว้า
    ! หลวงปู่นี่มาค้นย่ามเราตั้งแต่เมื่อไร พอตื่นเช้ามาก็เอามัดติดก้อนอิฐ ปาลงแม่น้ำมูลเลย

    ไม่มีหรอก กรรมฐานนี่ เครื่องรางของขลัง รูป เหรียญ หมู่นี้ไม่มี
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลักคำสอนหลวงปู่ใหญ่อีกครั้ง


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พูดถึงคำสอนการภาวนาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล อีกครั้งหนึ่ง หนังสือ ฐานิยตฺเถรวตฺถุ ในหัวข้อ ศิษย์องค์สุดท้ายของหลวงปู่เสาร์

    ในตอนนั้น หลวงพ่อพุธ ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระชินวงศาจารย์ ชาวบ้านเรียก เจ้าคุณชินฯ วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา

    “อย่างครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านมาแสดงธรรมให้ฟัง เช่นหลวงปู่สิม หลวงปู่แว่น หรือ ท่านอาจารย์เหรียญ ท่านอาจารย์บัวพา เคยผ่านสำนักของครูบาอาจารย์มั่น อาจารย์เสาร์ มาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกศิษย์ต้นของท่านอาจารย์เสาร์ที่ยังเหลือค้างอยู่เวลานี้ ก็คือท่านอาจารย์บัวพาเพียงองค์เดียว นอกนั้นสึกหาลาเพศ ล้มหายตายจากไป ถ้าจะนับอีก องค์ที่ ๒ ก็คือเจ้าคุณชินวงศาจารย์

    ท่านอาจารย์บัวพา ก็ไม่ค่อยเทศน์ไม่ค่อยพูด เพราะติดนิสัยท่านอาจารย์เสาร์ แต่ที่แหวกแนวก็คือ เจ้าคุณชินวงศาจารย์ (พุธ ฐานิโย) ซึ่งเป็นศิษย์คนสุดท้ายของท่านอาจารย์เสาร์ (หลวงพ่อพูดถึงท่านเอง)

    อันนี้เป็นปฏิปทาย่อๆ ของครูบาอาจารย์ ที่นำมาเล่าเพื่อจะเป็นประโยชน์แก่สหธรรมิก

    ทีนี้ หลักบริกรรมภาวนาพุทโธ เมื่อบริกรรมภาวนาพุทโธทำจิตให้เป็นสมาธิคล่องตัวจนชำนิชำนาญพอสมควรแล้ว เพื่อจะให้จิตมีสติปัญญาก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา

    อันดับที่ ๒ ท่านให้พิจารณา กายคตาสติ ให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ให้มองเห็นเป็นสิ่งปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก

    การพิจารณากายคตาสติ ท่านถือสติเป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งพิจารณาไปโดยอนุโลมปฏิโลม ไปตามลำดับ จนครบอาการ ๓๒

    และอีกอย่างหนึ่ง ท่านให้พิจารณาเพียงอย่างเดียว คือ ให้กำหนดจดจ้องมองดูที่บริเวณหน้าอก แล้วกำหนดจิตลอกหนังลอกเนื้อออก มองให้มันถึงกระดูก พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น จนจิตเชื่อมั่นว่ามีกระดูกอยู่ตรงนี้

    ในอันดับต่อไป ท่านก็ให้บริกรรมภาวนา อัฐิๆ ๆ แล้วก็จ้องความรู้สึกของจิตลงไปบริเวณหน้าอก พยายามทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ ทำให้มากๆ

    ในที่สุดเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว จะได้นิมิตมองเห็นโครงกระดูกบริเวณหน้าอกหรือโดยทั่วตัว ในเมื่อเห็นโครงกระดูกขึ้นมาแล้ว ก็เพ่งจ้องมองดูที่โครงกระดูก จนกระทั่งโครงกระดูกมันแหลกละเอียดสลายตัวไปหรือได้อสุภกรรมฐาน

    ในเมื่อพิจารณาอสุภกรรมฐาน รู้จริงเห็นจริงเป็นอุบายระงับราคะความกำหนัดยินดี ไม่ให้เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจ เพื่อจะได้มีโอกาสบำเพ็ญเพียรภาวนาในขั้นต่อไป

    เสร็จแล้วพระอาจารย์เสาร์ ท่านสอนให้พิจารณาร่างกาย ให้มองเห็นด้วยความเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ คือ แยกออกไปว่าร่างกายนี้มีแต่ดิน แต่น้ำ แต่ลม แต่ไฟ ในเมื่อแยกออกไปแล้วก็ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา พิจารณาให้มองเห็นเป็นนิมิตว่า ร่างกายนี้มีแต่ดิน น้ำ ลม ไฟกันแท้จริง จนกระทั่งจิตยอมรับว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ในดิน น้ำลม ไฟ ไม่มีความเป็นคนเป็นสัตว์ เพราะอาศัยดิน น้ำ ลม ไฟ ยังคุมกันอยู่ มีปฏิสนธิวิญญาณมายึดครองโดยความเป็นเจ้าของ เพราะอาศัยกิเลสตัณหา อุปาทาน กรรม จึงทำให้เราเกิดยึดมั่นถือมั่นว่า อัตตาตัวตนยึดว่าของเรา ของเขา ร่างกายของเรา ของเขา

    ในเมื่อเห็นว่าร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ หาสัตว์บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่มี ในเมื่อเป็นเช่นนั้นจิตของผู้ภาวนาก็ได้ อนัตตานุปัสสนาญาณ เห็นว่าร่างกายเป็นอนัตตาหมดทั้งสิ้น ภูมิจิตภูมิใจ ก็ก้าวขึ้นสู่ภูมิธรรมเองโดยอัตโนมัติ

    อันนี้เป็นปฏิปทาของท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่นที่เคยได้ยินได้ฟังมาเพียงเล็กๆ น้อยๆ นำมาเล่าเพื่ออาจจะเกิดประโยชน์แก่วงการนักปฏิบัติบ้าง
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอบปัญหาธรรมพระเจ้าอยู่หัว


    เหตุการณ์นี้เกิดประมาณปี พ ศ. ๒๕๒๕ หลวงพ่อพุธ ฐานิโยไปเข้าเฝ้าถวายธรรมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    หลวงพ่อ เล่าว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านทรงเป็นบุคคลที่ช่างคิด เป็นนักวิชาการ เพราะพระองค์ทรงใช้พระทัยคิดอย่างไม่หยุดยั้ง การคิดด้วยการตั้งใจนี่มันก็เป็นเรื่องของสมาธิ ถึงแม้จะทรงรับสั่งถามด้วยโลกก็ตาม แต่ก็มีคุณธรรมแฝงอยู่ทุกประการ...”

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงถามปัญหาธรรมต่อหลวงพ่อว่า
    “ขอท่านได้อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมดังที่ท่านอาจารย์เสาร์สอนมา”

    หลวงพ่อ ถวายคำตอบว่า
    “โดยหลักการที่ท่านอาจารย์เสาร์ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหามานั้น ยึดหลักการบริกรรมภาวนาพุทโธและอานาปานสติ เป็นหลักปฏิบัติ

    การบริกรรมภาวนา
    ให้จิตอยู่ ณ จุดเดียว คือ พุทโธ ซึ่งพุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิต เมื่อจิตมาจดจ้องอยู่ที่คำว่า พุทโธ ให้พิจารณาองค์ฌาน ๕

    การนึกถึงพุทโธ เรียกว่า วิตก จิตอยู่กับพุทโธไม่พรากจากไป เรียกว่า วิจาร หลังจากนี้ ปีติ และความสุข ก็เกิดขึ้น

    เมื่อปีติ และความสุขเกิดขึ้นแล้ว จิตของผู้ภาวนาย่อมดำเนินไปสู่ความสงบ เข้าไปสู่ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ

    ลักษณะที่จิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ภาวะจิตเป็นพาวะสงบนิ่ง สว่างไม่มีกิริยาอาการแสดงความรู้ ในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในสมถะ

    ถ้าจะเรียกจิตก็เรียกว่า อัปปนาจิต

    ถ้าจะเรียกโดยสมาธิก็เรียกว่า อัปปนาสมาธิ

    ถ้าจะเรียกโดยฌานก็เรียกว่า อัปปนาฌาน

    บางท่านนำไปเทียบกับ ฌานขั้นที่ ๔

    จิตในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในอัปปนาจิต อัปปนาสมาธิ อัปปนาฌาน จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น นอกจากมีสภาวะรู้อยู่อย่างเดียวเท่านั้น

    เมื่อนักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่ได้ระดับจิต เมื่อจิตติดอยู่ในความสงบนิ่งเช่นนี้ จิตย่อมไม่ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้

    เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอาจารย์เสาร์ ผู้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานในสายนี้ จึงได้เดินอุบายสอนให้ลูกศิษย์พิจารณา กายคตาสติ เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น โดยน้อมนึกไปในลักษณะความเป็นของปฏิกูลน่าเกลียด เป็นของโสโครก จนกระทั่งจิตมีความสงบลง รู้ยิ่งเห็นจริงตามที่ได้พิจารณา

    เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เห็นสิ่งปฏิกูล ในที่สุดได้เห็นจริงในสิ่งนั้นว่าเป็นของปฏิกูล โดยปราศจากเจตนาสัญญาแล้ว ก็เกิดนิมิตเห็นสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกจริงๆ โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดๆ ทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็น อสุภกรรมฐาน

    เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาอสุภกรรมฐานจนชำนิชำนาญจนรู้ยิ่งเห็นจริงในอสุภกรรมฐานนั้นแล้ว ในขั้นต่อไปท่านอาจารย์เสาร์ ได้แนะนำให้พิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นธาตุ ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ จนกระทั่งเห็นเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ

    เมื่อจิตรู้ว่าเป็นแต่เพียงสักแต่ว่าธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ จิตก็จะเกิดความรู้ขึ้นมาว่า ตามที่พูดกันว่า สัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา ไม่มีมีแต่ความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น

    เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็ย่อมเกิดความคิดขึ้นมาได้ว่า ในตัวของเรานี้ไม่มีอะไร เป็นอนัตตาทั้งสิ้น มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น

    ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติจะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้ เป็นแค่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ รู้แต่เพียงว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้เพียงแค่ขั้นสมถกรรมฐาน

    และในขณะเดียวกันนั้น ถ้าภูมิจิตของผู้ปฏิบัติ ปฏิวัติความรู้ไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง -ไม่เที่ยง ทุกขัง - เป็นทุกข์ อนัตตา -ไม่ใช่ตัวตน ที่ แท้จริง

    ถ้าหากมี อนิจจสัญญา
    – ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง ทุกขสัญญา -ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นทุกข์ อนัตตสัญญา -ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา

    เมื่อผู้ปฏิบัติมาฝึกฝนอบรมจิตของตนเองให้มีความรู้ด้วยอุบายต่างๆ และมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะของอสุภกรรมฐานโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จนมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะที่ว่า กายเรานี้เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความเห็นว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็เป็นแต่เพียงธาตุ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เรา เขา ด้วยอุบายดังกล่าวแล้ว ผู้ปฏิบัติยึดหลักอันนั้น ภาวนาบ่อยๆ กระทำให้มากๆ พิจารณาให้มากๆ พิจารณาย้อนกลับไปกลับมา จิตจะค่อยๆ ก้าวเข้าสูภูมิรู้ภูมิธรรม เป็นลำดับๆ ไป

    หลักการปฏิบัติของท่านอาจารย์เสาร์ ก็มีดังนี้

    <TABLE id=table58 border=0 width=250><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
    เมื่อครั้งทรงผนวช ทรงมีพระฉายานามว่า “ภูมิพโล”
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สถานที่พำนักในจังหวัดอุบลราชธานี


    ในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้บันทึกสถานที่พำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีตามคำบอกเล่าของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ดังต่อไปนี้ : -

    “พระอาจารย์เสาร์ จำพรรษาที่บ้านข่าโคม เป็นเวลา ๓ ปี จึงย้ายมาบ้านปากกุดหวาย บ้านท่าฆ้องเหล็ก แล้วมาจำพรรษาที่วัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ ตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมกรรมฐานขึ้นที่นี่ ถึงวันเพ็ญเดือน ๓ จะมีพระสงฆ์สามเณรศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสารทิศมารวมชุมนุมกันที่วัดบูรพารามเป็นประจำมิได้ขาด เพื่อรับฟังโอวาทข้อปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องให้การปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเป็นกองทัพธรรมที่สมบูรณ์ นำสัจธรรมของพระพุทธองค์ออกเผยแพร่ให้กว้างไกลไพศาลยิ่งขึ้น ถือเป็นการประชุมสันนิบาตของคณะกองทัพธรรมพระกรรมฐานก็ว่าได้ เป็นการแสดงความเคารพนบน้อมกตัญญูกตเวทิตาต่อครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณอีกทางหนึ่งด้วย ช่วงเวลานั้นวัดในคณะธรรมยุตได้เกิดขึ้นอีกมากมาย”

    “จากบ้านข่าโคม ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ พระอาจารย์เสาร์ได้รับนิมนต์มาพำนักที่งานักสงฆ์บ้านกุดหวาย ของญาติโยมพุทธบริษัทที่เป็นลูกศิษย์ผู้เลื่อมใสในองค์ท่าน ได้นิมนต์ให้พระอาจารย์ใหญ่มาโปรดพวกตนบ้าง

    ทำเลที่พักแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำมูลเยื้องไปฝั่งน้ำตรงข้ามเป็นบ้านคูเดื่อ ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนที่มีชื่อเสียงของชาวเมืองอุบลราชธานี ที่มาพักผ่อนเล่นน้ำ ทานอาหาร ในยามหน้าแล้ง ชื่อว่าหาดคูเดื่อ เป็นโค้งน้ำมูลที่ไหลโค้งงอดั่งตะขอ ก่อให้เกิดทิวทัศน์ที่สวยงามมาก ก่อนที่จะไหลไปสู่ตัวเมืองอุบลฯ

    บริเวณที่พำนักของพระอาจารย์เสาร์ ปัจจุบันเป็นวัดป่าพูนสิน
    (สาขาของวัดหนองป่าพง) บ้านปากกุดหวาย ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี”

    “จากบ้านป่ากุดหวาย เดินไปไม่ไกลนักก็ถึงบ้านโพธิ์มูล พระอาจารย์เสาร์ได้พาคณะมาพำนักที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณนี้เป็นชายป่าริมน้ำ มีหนองน้ำที่มีน้ำใสสะอาดอยู่ติดกัน มีป่าไม้ปกคลุมร่มรื่นอยู่ด้านหลังวัดบ้านโพธิ์มูลปัจจุบันนี้

    คุณตาประสงค์ สุกวัฒน์ อายุ ๘๔ ปี บ้านท่าฆ้องเหล็ก เล่าให้ฟังว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ รับนิมนต์มาโปรดชาวบ้านปากกุดหวายและพำนักให้เป็นศิริมงคลสนองศรัทธาญาติโยมชาวโรงสีไฟบ้านปากกุดหวาย แต่เนื่องจากที่นั่นมีเสียงดังรบกวนจากขบวนรถไฟที่เข้าไปบรรทุกข้าว ท่านจึงได้ย้ายไปที่สัปปายะบ้านโพธิ์มูล และบ้านท่าฆ้องเหล็ก เป็นลำดับต่อมา

    ที่นี่คือ วัดป่าเรไรยกาวาส บ้านท่าฆ้องเหล็ก ต.คำน้ำแซบ อ.วารินชำราบ

    คุณตาประสงค์ เล่าว่า ที่นี่มีต้นกระท้อน ต้นมะพร้าวน้ำหอม ที่สมัยก่อนหน้านี้ยังไม่มีปลูกกัน พึ่งมีมาพร้อมกับตอนที่กฐินจากในวัง ของเจ้าจอมมารดาทับทิม ยกขบวนมาทอดถวายท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคมนั่นเอง จึงได้นำพันธุ์ไม้แปลกใหม่มาถวายท่านพระอาจารย์เสาได้ให้นำมาปลูกไว้ที่วัดนี้ด้วย

    มีเหตุการณ์ที่น่าสลดใจในปีนั้น คือ เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะการแพทย์และหยูกยาที่จะบำบัดรักษาในสมัยนั้นยังอัตคัดขาดแคลนอยู่เป็นอันมาก

    การระบาดของโรคร้ายครั้งนั้น ไม่มีเว้นแม้สมณชีพราหมณ์ ต่างถูกโรคร้ายคุกคาม เป็นเหตุให้แม่ชีที่เป็นลูกศิษย์ในคณะติดตามพระอาจารย์ต้องจบชีวิตลงที่นี่ถึง ๖ รูป... ไม่เพียงแต่แม่ชี ๖ รูป เท่านั้นยังมีพระภิกษุอีก ๒ รูป และสามเณรอีก ๑ รูป รวมทั้งหมด ๙ รูป ได้เสียชีวิตเพราะโรคห่าระบาดครั้งใหญ่ ในครั้งนั้นด้วย


    เมื่อออกจากวัดป่าเรไรยกาวาส บ้านท่าฆ้องเหล็ก ต.คำน้ำแซบ อ วารินชำราบ แล้ว คณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ก็เดินธุดงค์ไปทาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดเดียวกัน
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร


    ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พาคณะมาพำนักที่วัดภูเขาแก้ว แต่เดิม คือ ป่าช้าภูดิน ตั้งอยู่บนเนินสูงก่อนเข้าสู่ตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร

    ประวัติการก่อตั้งวัดภูเขาแก้วนั้น มีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้ขอร้องให้หลวงปู่ใหญ่ พิจารณาหาหนทางสร้างวัดป่ากรรมฐานขึ้นที่อำเภอพิบูลมังสาหาร ด้วยปรากฏว่าญาติพี่น้องของสมเด็จฯ ได้อพยพมาจากบ้านแคน ดอนมดแดง มาปักหลักตั้งถิ่นฐานที่บ้านโพธิ์ตาก อ.พิบูลมังสาหาร เป็นจำนวนมาก

    สมเด็จฯ ท่านอยากให้มีวัดกรรมฐาน เพื่อช่วยอบรมสั่งสอนทางธรรมให้ญาติโยมของท่าน “ได้รับแสงสว่างหายมืดหายบอด” และเพื่อโปรดญาติโยมชาวบ้านทั้งหลายให้มีสถานที่บำเพ็ญบุญ เป็นศูนย์รวมปฏิบัติธรรมอบรมภาวนาจิต จึงบัญชาให้พระอาจารย์เสงี่ยม และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน มาตั้งสำนักปฏิบัติธรรมในสถานที่ดังกล่าว โดยสมเด็จฯ ได้ให้ความสนับสนุน

    ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่นี้ว่า วัดป่า หรือวัดป่าภูเขาแก้วหรือ วัดภูเขาแก้ว ในปัจจุบัน

    ข้อมูลอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า ขุนสิริสมานการ กับนายคำกาฬ เป็นผู้มานิมนต์ หลวงปู่ใหญ่ ท่านจึงได้ให้พระอาจารย์เสงี่ยม และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน มาตั้งสำนักปฏิบัติธรรม ที่เนินป่าภูดิน นอกเมืองพิบูลมังสาหาร ซึ่งเล่ากันว่าเป็นที่อาถรรพณ์ร้ายแรง เพียงคืนแรกที่ไปปักกลดอยู่ใต้ร่มไม้ พระอาจารย์ทั้งสองก็โดนลองดีเสียแล้ว

    กล่าวกันต่อมาว่า พระอาจารย์ทั้งสองได้นำพาชาวบ้านญาติโยมละแวกนั้น ทำบุญทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติสมาธิภาวนา และทำบุญอุทิศแก่บรรพชนผู้ล่วงลับ เจ้าที่เจ้าทาง และเทพเทวดาอารักษ์ การสร้างวัดจึงดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

    ประกอบกับการสนับสนุนของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ด้วย วัดจึงมีความเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ

    เจ้าอาวาสองค์แรกคือ พระอาจารย์ดี ฉนฺโนต่อมาหลวงพ่อเพชรเป็นองค์ที่สอง และหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค (พระครูวิบูลธรรมภาณ) เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหารฝ่ายธรรมยุต

    ที่วัดภูเขาแก้ว ในปัจจุบัน มีโบสถ์ที่สวยงามมาก สร้างบนเรือจำลอง ผู้เขียนเคยพาคณะมาทอดผ้าป่าและพักปฏิบัติธรรมที่วัดนี้ ๓ - ๔ ครั้ง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สร้างวัดดอนธาตุเป็นวัดสุดท้าย

    <TABLE id=table8 border=0 align=left><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>เกาะดอนธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รับนิมนต์จากแม่ชีผุย โกศัลวิตร ไปในงานฉลองศาลาวัดภูเขาแก้ว ที่คณะศรัทธาชาวเมืองพิบูลมังสาหารสร้างถวาย

    หลังจากงานฉลองศาลา ๔-๕ วัน หลวงปู่ใหญ่ ได้ปรารภกับลูกศิษย์ว่า... อันว่าลำน้ำมูลตอนใต้เมืองพิบูลฯนี้ องค์ท่านยังไม่เคยไปตามเกาะแก่งน้อยใหญ่ทั้งหลายนั้น จะมีผู้ใดอาสาพาไปสำรวจดูบ้าง

    ก็มีลูกศิษย์ฝ่ายฆราวาสผู้ขันอาสา ได้แก่ ขุนสิริสมานการ
    (อดีตนายอำเภอพิบูลมังสาหาร) พ่อใหญ่อาจารย์บับ, พ่อใหญ่ครูคำดี, พ่อใหญ่พุทธา เป็นต้น

    เมื่อถึงวันออกเดินทาง คณะศิษย์ได้จัดเตรียมเรือไว้หลายลำคอยอยู่ที่ท่าน้ำใต้แก่งสะพือลงไป

    ตอนเช้าหลังฉันจังหันเสร็จแล้ว ได้ออกเดินทาง หลวงปู่ใหญ่นั่งรถสามล้อถีบซึ่งมารออยู่แล้ว

    คณะพระเณรที่ไปด้วย มี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระอาจารย์กงแก้ว พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส, พระอาจารย์บุญเพ็ง นารโท, สามเณรหงส์ทอง, สามเณรคำผาย และสามเณรปุ่น เป็นต้น พากันเดินตามสามล้อหลวงปู่ใหญ่ไปลงเรือที่รอรับอยู่ ๔-๕ ลำ มีทั้งเรือแจว และเรือพาย

    กองเรือได้ออกจากท่า ล่องตามลำน้ำมูลไปทางทิศตะวันออกผ่านบ้านแก่งเจริญ บ้านหินสง บ้านหินลาด บ้านไก่เขี่ย บ้านชาด ถึงดอนคับพวง แวะขึ้นไปเดินสำรวจดู

    แล้วต่อไปยังดอนธาตุ ดอนตากไฮ ดอนเลี้ยว จนตะวันบ่ายคล้อยราว ๔-๕ โมงเย็น ท้องฟ้าเริ่มมืดครึ้ม ฝนเริ่มตั้งเค้า จึงได้จอดเรือ แล้วขนบาตรขนบริขารขึ้นไปพักที่ศาลาท่าน้ำวัดบ้านหัวดอนของอุปัชฌาย์รัตน์

    เย็นนั้นลมฝนพัดกรรโชกแรงอื้ออึง จึงได้พากันเคลื่อนย้ายไปขอพักยังศาลาวัดบ้านหัวดอนที่อยู่ใกล้กันนั้น

    ตอนนั้น อุปัชฌาย์รัตน์ เจ้าอาวาสไม่อยู่ พระลูกวัดนิมนต์หลวงปู่ใหญ่ และคณะไปพักที่ศาลาการเปรียญ แล้วส่งข่าวให้ผู้ใหญ่บ้านหัวดอน บ้านทรายมูล และชาวบ้านละแวกนั้นทราบ

    พอถึงค่ำ ผู้ใหญ่บ้าน และบรรดาลูกบ้านต่างก็พากันมากราบหลวงปู่ใหญ่ เป็นจำนวนมาก ในฐานะที่หลวงปู่ใหญ่เป็นพระอาจารย์ของพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ซึ่งเป็นพระที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาอยู่แล้ว

    หลวงปู่ใหญ่ พาคณะชาวบ้านสวดมนต์ไหว้พระ รับศีล แล้วให้พระอาจารย์ดี แสดงธรรมโปรดชาวบ้านจนดึกดื่น เป็นที่ซาบซึ้งและสร้างความศรัทธาให้ชาวบ้านมาก

    เมื่อชาวบ้านทราบเรื่องราวและกิตติศัพท์ในทางธรรมของหลวงปู่ใหญ่ และคณะพระกรรมฐาน จึงได้พากันอาราธนานิมนต์ให้อยู่เผยแพร่ธรรมโปรดศรัทธาชาวบ้านในถิ่นแถบนั้น

    รุ่งเช้าหลวงปู่ใหญ่ได้พาพระเณรออกบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวบ้านหัวดอน และบ้านทรายมูลได้พากันมาถวายจังหันเป็นจำนวนมาก

    พอฉันจังหันแล้ว หลวงปู่ใหญ่ บอกพระเณรและชาวบ้านว่าท่านพิจารณาแล้ว อยากเลือกดอนธาตุให้เป็นที่ตั้งวัด
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำรวจที่ตั้งวัด

    <TABLE id=table59 border=0 align=right><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>แผนที่เกาะดอนธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ดอนธาตุ สถานที่หลวงปู่ใหญ่เลือกเป็นสถานที่ตั้งวัดนั้น เป็นเกาะกลางแม่น้ำมูล อยู่ห่างจากตัวเมืองพิมูลมังสาหารไปทางทิศตะวันออกไปตามลำแม่น้ำมูลราว ๗-๘ กิโลเมตร เกาะมีสัณฐานทรงรี มีเนื้อที่ราว ๑๔๐ ไร่ รกทึบไปด้วยต้นยางขนาดใหญ่ ต้นพอก (ละมุดป่า) อุดมไปด้วยเห็ดและสมุนไพรนานาชนิด ทั่วบริเวณเงียบสงัดเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

    มีชาวบ้านข้ามน้ำไปทำนาปลูกข้าวในที่ลุ่มบางส่วนของเกาะ บ้างก็หาเก็บพืชผักสมุนไพร แม้ในปัจจุบันชาวบ้านก็ยังข้ามไปเก็บเห็ดที่มีขึ้นตามธรรมชาติในหน้าฝน

    หลังจากฉันภัตตาหารเช้าวันนั้นแล้ว หลวงปู่ใหญ่ และคณะศิษย์ที่มาจากอำเภอพิบูลมังสาหาร พร้อมด้วยชาวบ้านในสองหมู่บ้านซึ่งมี พ่อใหญ่จอม, พ่อใหญ่ยง, พ่อใหญ่หมาจุ้ย (หลวงปู่ใหญ่เปลี่ยนชื่อให้เป็น พ่อใหญ่มงคล) พ่อใหญ่เจียง, พ่อใหญ่สี, พ่อจารย์คูณ เป็นต้น ได้พากันยกขบวนนั่งเรือพายทวนน้ำไปเทียบฝั่งเกาะทางด้านท้ายดอนธาตุ แถวนั้นเป็นดินปนทรายมีหญ้าและต้นกระโดนขึ้นอยู่ริมน้ำ

    องค์หลวงปู่ใหญ่ ใช้ไม้เท้าพยุงร่างขึ้นไปบนฝั่งแล้วพาคณะขึ้นไปเดินสำรวจดูบนเกาะ พวกชาวบ้านหนุ่มฉกรรจ์แผ้วถางบุกเบิกให้เป็นทาง คณะเดินลึกเข้าไปเกือบถึงกลางเกาะ พบที่โล่งกว้างแห่งหนึ่งเป็นชัยภูมิที่ดี ลักษณะเป็นป่าหญ้าโล่งไม่มีต้นไม้ใหญ่

    <TABLE id=table60 border=0 align=left><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>เกาะดอนธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลวงปู่ใหญ่ หยุดยืนพิจารณา แล้วเลือกเอาบริเวณนั้นเป็นที่พักปักกลด

    คณะชาวบ้านได้ช่วยกันแผ้วถางป่าหญ้า พร้อมสร้างกระต๊อบชั่วคราวขึ้นถวาย หลวงปู่ใหญ่และพระเณรก็ตกลงพักค้างคืน ณ ที่นั้นในคืนวันนั้นเลย

    ผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยชาวบ้านได้ยกเกาะนี้ถวายเพื่อสร้างเป็นสำนักปฏิบัติธรรม และกลายมาเป็นวัดดอนธาตุตราบเท่าทุกวันนี้
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ไหนธาตุอยู่ที่ไหน?

    บันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ถึงเหตุการณ์ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลไปพักภาวนาที่ดอนธาตุ ในช่วงแรกที่ไปถึง ดังนี้ : -

    “พ่อใหญ่จอม พันธ์น้อย พร้อมด้วยชาวบ้านทรายมูลได้พากันไปฟังเทศน์ ณ ใต้ต้นเดือยไก่ ที่พระอาจารย์เสาร์ และภิกษุสามเณรอีก ๔ รูป มี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระอาจารย์กงแก้ว พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส และสามเณรคำผาย (พระอาจารย์คำผาย วัดป่าบ้านชีทวน) พำนักปักกลดอยู่

    เมื่อคณะญาติโยมนั่งลงแล้ว คำแรกที่ท่านอาจารย์เสาร์เอ่ยปากถามคือ “ไหน ธาตุอยู่ที่ไหน?”

    พ่อใหญ่จอม พันธ์น้อย กราบเรียนว่า
    “ตั้งแต่เกิดมาก็ยังไม่เคยเห็นธาตุ ที่เรียกกันว่าดอนธาตุ ก็เรียกตามบรรพบุรุษ พ่อแม่ปู่ย่าตายาย พาเรียกสืบต่อกันมาเท่านั้น ที่ปรากฏก็เห็นมีแต่ดินจี่ (อิฐ) ที่กระจัดกระจายแห่งละก้อนสองก้อนเท่านั้น ไม่สามารถยึดถือเอาเป็นหลักฐานได้ว่าตัวธาตุ จริงๆ อยู่ที่ไหน”

    ที่ท่านอาจารย์ถามหา ธาตุ เป็นคำแรก กล่าวกันว่าท่านเดินมาตามตำนานเก่าแก่ หรืออาจมาตามสมาธินิมิตของท่านก็ไม่อาจทราบได้


    หลวงปู่ใหญ่ พักปักกลดอยู่ที่นั่นไม่นาน พระเณรก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แยกย้ายกันปักกลดตามร่มไม้ทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา กันทั้งวันทั้งคืน สร้างความแตกตื่นและความเลื่อมใสศรัทธาให้ประชาชนในละแวกนั้นเป็นอันมาก เพราะไม่เคยเห็นการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรอย่างเอาจริงเอาจังเช่นนี้มาก่อน

    พระเณรทั้งหมดฉันภัตตาหารหนเดียว ต่างองค์ต่างพิจารณา ฉันในบาตรอย่างสงบสำรวม ไม่ค่อยมีการพูดคุยกัน ต่างองค์ต่างกำหนดจิตดูใจของตนเองทุกลมหายใจ ไม่ปล่อยเวลาให้ทิ้งเปล่าเลยทุกเวลานาทีเป็นการบำเพ็ญเพียรทั้งสิ้น

    ชาวบ้านมารวมสวดมนต์ฟังธรรมทุกเย็นหลวงปู่ใหญ่มอบหมายให้ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นผู้เทศน์อบรมธรรมให้แก่พระเณรและญาติโยม โดยเทศน์แนะนำให้ญาติโยมเลิกละเรื่องการเซ่นไหว้ภูตผีปีศาจ หันมาถือพระไตรสรณคมน์ รู้จักทำบุญให้ทานรักษาศีล และฝึกการปฏิบัติภาวนา

    หลวงปู่ใหญ่ได้ปรารภท่ามกลางสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกาและญาติโยม ณ ที่นั้นว่า ท่านอยากสร้างสถานที่นั้นให้เป็นวัด
    “เพราะทำเลเกาะแห่งนี้มีความเหมาะสมดีมากที่จะได้เป็นวัดป่าปฏิบัติธรรมสืบต่อไป”
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สร้างพระพุทธไสยาสน์

    ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนถึงการเริ่มต้นสร้างวัดดอนธาตุ ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้

    “เมื่อพระอาจารย์เสาร์พักอยู่ที่เกาะดอนธาตุครั้งแรกในปี
    <TABLE id=table61 border=0 align=right><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระพุทธไสยาสน์ที่พระอาจารย์เสาร์ให้สร้างไว้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พ.ศ. ๒๔๘๑ นั้นไม่นาน พระเณร ลูกศิษย์ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น ต่างปักกลดตามร่มไม้ ทำความเพียรทางจิต ปฏิบัติธรรมกรรมฐานตามแบบอย่างครูบาอาจารย์ท่านพาดำเนินมา ยิ่งได้อยู่พำนักใต้ร่มบารมีขององค์ท่านพระอาจารย์ใหญ่ด้วยแล้วยิ่งเผลอไม่ได้

    ข้อวัตรปฏิบัติที่ท่านได้เมตตาตักเตือนลูกศิษย์เสมอ เช่น

    - เราเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ ควรรีบเร่งทุกเวลาอย่าชักช้าจะเสียการ จงตั้งใจพยายามฝึกจิต ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ให้ได้ทัน

    - งานของจิตนั้นต้องถือว่าเป็นงานเร่งด่วน โดยมีความตายคืบคลานคุกคามเข้ามาอยู่ทุกขณะ ถ้าเกิดเผลอสติเพียงนิดเดียวความตายก็มาถึงตัวทันที

    ฯลฯ

    ปฏิปทาของท่านพ่อแม่ครูอาจารย์ดังนี้ ก่อให้เกิดกระแสความศรัทธา สร้างความตื่นตัวให้ชาวบ้านทั้งหลายใน ต.ทรายมูล ต.ระเว ต.คันไร่ ฯลฯ เป็นอย่างมาก ต่างพากันเลิกละความยึดถือใดๆ ที่งมงายผิดแผกไปจากครรลองคลองธรรม ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพาดำเนินทั้งสิ้น พากันประพฤติปฏิบัติแนวใหม่ ถือพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งอาศัยอย่างเคร่งครัดและถูกต้องต่อไป


    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ปรารภว่าอยากสร้างดอนธาตุขึ้นเป็นวัดกรรมฐานเพราะมีความเหมาะสม ญาติโยมต่างโมทนาสาธุการ แล้วผู้ใหญ่บ้านพร้อมทั้งประชาชนต่างยินยอมพร้อมใจยกที่ดินบริเวณเกาะดอนธาตุถวายให้ท่านนำพาสร้างวัดต่อไป

    พ่อใหญ่จอม พันธ์น้อย ได้ถวายบ้านเก่าหนึ่งหลัง พ่อใหญ่หมาจุ้ย ผลสิทธิ์ (ภายหลังหลวงปู่ใหญ่เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า พ่อมงคล)ถวายบ้านหนึ่งหลัง และชาวบ้านอีกหลายคนก็ร่วมถวาย จึงได้บ้านเก่าหลายหลัง แล้วชาวบ้านได้พากันมาปลูกสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นได้หลายหลัง

    พอถึงเทศกาลมาฆบูชา ชาวบ้านได้ช่วยกันขนหินทรายมาก่อเจดีย์ทรายถวายวัด ต่อมาหินทรายกองนั้นได้ถูกนำมาใช้สร้างพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) โดยมี พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นช่างปั้นพระพุทธรูปในครั้งนี้

    หลวงพ่อโชติ ได้บันทึกการสร้างพระพุทธไสยาสน์ว่า ท่านพระอาจารย์คำผาย (วัดป่าชีทวน) เล่าให้ฟังว่า สมัยนั้นท่านยังเป็นสามเณรอยู่ เมื่อได้วัสดุก่อสร้างมาพร้อมแล้ว พระอาจารย์ใหญ่ท่านกำหนดเอาตรงลานที่ใช้เป็นศาลาชั่วคราวเป็นที่สร้างพระ แม้จะได้มีการคัดค้านจากลูกศิษย์ลูกหา ว่ามันใกล้ตลิ่งแม่น้ำมาก กลัวว่าต่อไปน้ำจะเซาะตลิ่งพังมาถึงเร็ว แต่องค์ท่านไม่ยอม โดยให้เหตุผลว่า

    ตรงที่กำหนดจะสร้างพระนั่นแหละเป็นพระธาตุอังคาร (ธาตุเถ้าฝุ่นพระบรมศาสดา) แต่เดิมที่ทรุดลงไป ซึ่งพังทลายแล้วอย่างไม่เหลือซาก จึงได้ให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ครอบเอาไว้เป็นสัญลักษณ์สำหรับกราบไหว้ต่อไป

    เมื่อเป็นความประสงค์ขององค์ท่านเช่นนั้นจึงไม่มีใครคัดค้านอีก


    ตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำมูลตรงที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ก็ยังสมบูรณ์ดีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ไม่เห็นน้ำกัดเซาะตลิ่งพังตามที่ลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านวิตกกันเลย
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถูกต่อต้านใส่ร้ายจากกลุ่มไสยศาสตร์หมอผี


    เรื่องการต่อต้าน ใส่ร้าย ขัดขวาง คุกคาม พระกรรมฐานมีมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มาถึงยุคหลวงปู่ หลวงพ่อ ครูบาอาจารย์รุ่นหลังๆ ต่อมา ต่างก็เคยโดนเล่นงานทั้งนั้น

    ยิ่งมาถึงสมัยปัจจุบัน ทั้งที่เคยได้ทราบ และเคยประสบพบเห็นจากตัวเอง ผู้เขียนกล้าพูดได้ว่า การต่อต้านยังคงรุนแรงและซับซ้อนมากกว่าสมัยก่อน โดยเฉพาะเรื่องการสร้างวัดกรรมฐานขึ้นใหม่แต่ละแห่ง ต้องผจญทั้งภัย ทั้งอำนาจ และการใส่ร้ายข่มขู่สารพัดรูปแบบมีใช้ทั้งกฎหมาย เจ้าหน้าที่และองค์กรของรัฐ รวมทั้งใช้พลังมวลชนถ้าไม่เข้มแข็งและบารมีไม่ถึง ก็ไม่สามารถทนต่อการต่อต้าน คุกคามเหล่านี้ได้

    คณะกรรมฐานของหลวงปู่ใหญ่ ท่านก็ต้องผจญมารเหล่านี้เหมือน กัน

    จากบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้

    “เป็นธรรมดาของโลก แม้พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสเรื่องโลกธรรมจะมีสิ่งตรงกันข้ามอยู่คู่กันเสมอ มีคนยกย่องสรรเสริญ ศรัทธา ก็ย่อมมีคนที่เกลียดชัง ขัดขวาง อยู่ด้วยเป็นธรรมดา

    คนที่ต่อต้านการกระทำความดี ก็เปรียบประดุจเหล่าบัวที่ยังจมปลักอยู่ในโคลนตม ยังมืดบอดอยู่ในกิเลสตัณหา เท้าข้างหนึ่งยังอยู่ที่ขอบกระทะทองแดงในขุมนรกอเวจี เพราะในดวงจิตของเขาเหล่านั้นร้อนรุ่มไปด้วยเพลิงอิจฉา ริษยา อาฆาต ต้องร้อนรุ่มกระวนกระวายเหมือนเหยียบอยู่ปากห้อมแห่งขุมนรกที่กำลังเดือดพล่านอยู่ ทั้งที่เขาเหล่านั้นยังไม่ตาย

    ในกลุ่มพวกมิจฉาทิฏฐิที่ตั้งตัวเป็นศัตรูคอยขัดขวางและให้ร้ายป้ายสีครูบาอาจารย์ต่างๆ นานานั้น

    กลุ่มแรกได้แก่พวกเข้าจ้ำหมอผี ที่พวกเขาได้ร้อนความหลงงมงายให้กับประชาชน แล้วพากันกอบโกยตัดทอนเอาจากความโง่เขลานั้น

    การเผยแพร่ธรรมของคณะพระกรรมฐาน ได้ทำให้พวกเขาขาดลาภสักการะลงไป เพราะประชาชนหูตาสว่างขึ้นด้วยสัจธรรมที่พระอาจารย์นำมาเผยแพร่ จึงพากันเป็นเดือดเป็นแค้นพระอาจารย์ถึงขั้นอยากจะกินเลือดกินเนื้อกันทีเดียว

    พวกเข้าจ้ำหมอผี และหมอไสยศาสตร์ได้พากันหาวิธีกลั่นแกล้งพระอาจารย์ทุกวิถีทาง

    บ้างก็ออกข่าวให้เสื่อมเสียว่า พระกรรมฐานมีเมียได้ จะไปไหนก็เอาเมียไปด้วย ก็คือพวกแม่ชีแม่ขาวนั่นเอง อย่าใส่บาตรให้พวกมันกิน สู้เราเอาข้าวโยนให้หมากินยังจะได้บุญมากกว่าใส่บาตรให้พระมีเมียพวกนี้กิน

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เคยกล่าวเรื่องนี้เหมือนกัน เคยนำเสนอมาแล้วข้างต้นดังนี้
    “หลวงพ่อ อดที่จะนึกถึงเมียที่เป็นสามเณรเดินตามหลังครูบาอาจารย์ไม่ได้ ใส่ผ้าจีวรดำๆ เดินผ่านหน้าชาวบ้าน หรือพระสงฆ์ทั่วๆ ไปนี้เขาจะถุยน้ำลายขากใส่ บางทีถ้าแม่ชีเดินตามหลังไปด้วย เราจะได้ยินเสียงตะโกนมาเข้าหู – ญาคูเอ๊ย ! พาลูกพาเมียไปสร้างบ้านสร้างเมืองที่ไหนหนอ - เขาว่าอย่างนี้”

    บันทึกของหลวงพ่อโชติ มีต่อไปว่า : -

    “...สารพัดที่เขาเหล่านั้นจะเสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาใส่ร้ายป้ายสีจนบางคนบางพวกหลงเชื่อ เพราะไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นพระกรรมฐานมาก่อน ต่างพากันหลงเชื่อ และทั้งเกลียดทั้งกลัวพระกรรมฐาน ไม่ยอมเข้าวัด รวมทั้งร่วมมือขัดขวางขับไล่ต่างๆ นานา

    ส่วนพวกที่หูตาสว่างแล้วก็พากันสลดหดหู่ใจ กลัวบาปกรรมที่พวกเขาเหล่านั้นก่อสร้างขึ้น


    ชาวบ้านได้นำเรื่องเหล่านี้ไปเล่าให้หลวงปู่ใหญ่ฟัง ท่านก็ตอบด้วยน้ำเสียงราบเรียบเป็นปกติว่า : -

    “เออ ! กะซ่างเขาดอก เขามีปากกะให้เขาเว้าไป เขาว่าเขามีเมียเป็นแม่ขาว เฮาบ่มี มันกะบ่เป็นหยังดอก”

    บางครั้งมีผู้มากราบเรียนหลวงปู่ใหญ่ว่า เขาบอกว่าจะเอาสากมอง
    (สากตำข้าวครกกระเดื่อง) เอาอุจจาระของเหม็นมาใส่บาตรให้ท่าน ท่านก็ตอบเพียงว่า. -

    “เออ ! เขาเว้าไปแนวนั้นแหละ แต่เขาบ่ใส่ดอก”

    ท่านว่า เขาพูดไปอย่างนั้นแหละ แต่เขาไม่ทำหรอก

    สิ่งที่หลวงปู่ใหญ่สอนลูกศิษย์เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำดังกล่าวได้แก่ การเร่งบำเพ็ญภาวนา สร้างพลังจิตให้แก่กล้า แล้วแผ่เมตตาแผ่บุญกุศลให้พวกเขาทุกวัน ถ้าเขามีบุญพอ คลายจากทิฏฐิเหล่านั้นได้ ก็จะเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลด้วยกันทั้งสองฝ่าย
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุข่าวเรื่องอีแร้งหม่น

    <TABLE id=table62 border=0 align=left><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>กุฏิและรูปเหมือนหลวงปู่ใหญ่ วัดดอนธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในกลุ่มผู้ขัดขวาง ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ เห็นว่าน่าสงสารที่สุด ได้แก่กลุ่มของพระอุปัชฌาย์พรหมา แห่งบ้านระเว อยู่คนละฝั่งของแม่น้ำมูล กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เปิดเผย ขัดขวางทั้งด้วยการพูดและการกระทำ

    พระอุปัชฌาย์พรหมา เป็นพระผู้ใหญ่ มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธากว้างขวาง และมีลูกศิษย์ลูกหามาก ท่านเป็นคนบ้านเดียวกับหลวงปู่ใหญ่ก็ว่าได้ คือบ้านเกิดของท่านอยู่ที่ บ้านทุ่งขุนน้อย
    –ทุ่งขุนใหญ่ ใกล้บ้านข่าโคม บ้านเกิดของหลวงปู่ใหญ่

    ครั้งแรกที่หลวงปู่ใหญ่ พาคณะศิษย์มาโปรดชาวบ้านตำบลทรายมูล และตำบลระเวนั้น พระอุปัชฌาย์พรหมาได้ให้การต้อนรับขับสู้ด้วยดี แต่พอลับหลังท่านเปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม คือให้ร้ายป้ายสีขัดขวาง ขับไล่ คณะของหลวงปู่ใหญ่ ด้วยอุบายต่างๆ นานา ทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ และเป็นการแสดงออกอย่างเปิดเผย

    แสดงว่าท่านก็มีความเป็นนักเลงสมตัว (อันนี้ผมพูดเองครับ)

    วันหนึ่ง พระอุปัชฌาย์พรหมาได้ข้ามฝั่งไปที่เกาะดอนธาตุ เห็นหลวงปู่ใหญ่นั่งผิงแดดอยู่ข้างศาลา

    พระอุปัชฌาย์พรหมา รีบเข้าไปในหมู่บ้าน เที่ยวบอกข่าวที่น่าตื่นเต้นกับชาวบ้านว่า
    “แห้งอีหม่น โตบั้กใหญ่ลงมาผึ่งแดดอยู่ศาลาวัดดอนธาตุ ไผอยากเห็นให้ฟ่าวไปเบิ่งเด้อ !”

    ชาวบ้านต่างตื่นเต้นหอบลูกจูงหลานไปดู
    “แห้งอีหม่นโตบั้กใหญ่” (อีแร้งสีหม่นตัวใหญ่) กัน ต่างคนต่างผิดหวังและรู้ว่าถูกหลอก เพราะเห็นมีเพียงหลวงปู่ใหญ่ ท่านนั่งหันหลังผึ่งแดดอยู่ริมศาลา ท่านเป็นพระร่างใหญ่ ผิวหนังออกสีแดง และมีเส้นเกศาสีเทาเต็มศีรษะ

    ชาวบ้านรู้ว่าถูกหลอก พากันกราบขอขมาท่านแล้วเล่าเรื่องให้ท่านฟัง หลวงปู่ใหญ่ฟังด้วยอาการสงบเย็น แล้วหัวเราะ หึ หึ ในลำคอแค่นั้น
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอุปัชฌาย์เป็นพระหุ่นยนต์


    เมื่อตอนที่หลวงปู่ใหญ่ดำริจะให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ ที่วัดดอนธาตุ ไว้ให้ประชาชนได้สักการบูชานั้น เรื่องได้ทราบไปถึงพระอุปัชฌาย์พรหมา ท่านจึงคิดที่จะขัดขวางยับยั้งไม่ให้มีการก่อสร้าง

    ปกติ หลังจากทำภัตกิจเสร็จแล้ว หลวงปู่ใหญ่จะกลับขึ้นกุฏิเพื่อพักผ่อนเล็กน้อย ก่อนจะออกมาเดินจงกรม

    แต่ในเช้าวันนั้น ท่านกลับบอกให้พระเตรียมปูอาสนะไว้บนศาลาที่ฉัน บอกว่า “เดี๋ยวจะมีพระแขก (อาคันตุกะ) มาฟังเทศน์”

    บรรดาพระเณรต่างงุนงง แต่ไม่มีใครกล้าซักถาม

    ชั่วประเดี๋ยวก็มีเสียงเรือมาจอดที่ท่าน้ำของวัด แล้วพระอุปัชฌาย์พรหมา พร้อมพระติดตาม ๒-๓ รูป เดินตรงมาหาหลวงปู่ใหญ่ บนศาลา

    หลวงปู่ใหญ่ให้การต้อนรับ นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่เตรียมไว้แล้วบอก
    “เอ้า พากันกราบพระซะ”

    พระอุปัชฌาย์พรหมา และพระติดตาม ก็นั่งคุกเข่าประนมมือกราบพระประธาน ๓ ครั้ง แล้วประนมมืออยู่อย่างนั้น

    หลวงปู่ใหญ่ ได้พูดว่า
    “เออ ! กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์ อันเป็นที่พึ่งที่นับถือของพวกเราทั้งหลาย” ต่อจากนั้นท่านก็พูดเป็นการอบรมไปอีกเล็กน้อย แล้วก็บอกพระอาจารย์ดี ฉนฺโนว่า “เอ้า ! อาจารย์ดี เทศน์ต่อ”

    พระอาจารย์ดี ฉนฺโนจึงลงมือเทศน์พระเณร ณ ที่นั้นก็นั่งสมาธิภาวนา ส่วนพระอุปัชฌาย์พรหมา และพระติดตาม ก็นั่งคุกเข่าประนมมือสงบนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น

    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน แสดงธรรมเป็นเวลา ๓ ชั่วโมงเต็ม

    เมื่อเทศน์จบ หลวงปู่ใหญ่พูดกับคณะของพระอุปัชฌาย์พรหมาว่า
    “เอ้า ! กราบพระซะ แล้วพากันกลับไปได้”

    คณะพระอาคันตุกะทำตาม แล้วลุกขึ้นเดินกลับไป ไม่ได้พูดอะไรเลยแม้แต่คำเดียว !
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กล่าวหาพระพุทธรูปนอนขวางฟ้าขวางฝน


    เมื่อการสร้างพระพุทธไสยาสน์ที่วัดดอนธาตุเสร็จแล้ว เป็นเวลาใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่ใหญ่เดินทางกลับไปที่วัดบูรพาราม ในเมืองอุบลฯ แล้วกลับไปจำพรรษาที่บ้านข่าโคมอีกครั้งหนึ่ง

    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมพระเณรที่เหลือ กลับไปจำพรรษาที่วัดภูเขาแก้ว ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหารวัดเดิมของท่าน

    ในปีนั้นเกิดดินฟ้าอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกต้องฤดูกาลก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ประชาชนชาวไร่ชาวนาต่างเดือดร้อนกันมาก

    ฝ่ายพระอุปัชฌาย์พรหมา และบรรดาพวกมิจฉาทิฏฐิได้ฉวยโอกาสกล่าวร้ายโจมตีหลวงปู่ใหญ่ และบรรดาศิษย์กรรมฐานของท่าน ว่า

    “ที่เกิดฝนแล้งก็เพราะพระอาจารย์เสาร์มาสร้างพระนอนที่ดอนธาตุนี้แหละ พระนอนขวางฟ้าขวางฝนอยู่ทำให้ฝนไม่ตก...”

    ประชาชนบางส่วนหลงเชื่อ จึงได้พากันยกพวกไปที่ดอนธาตุเพื่อทำลายพระพุทธรูป แต่คงไม่กล้าทำลายองค์พระทั้งหมด เพียงแต่มีผู้ขึ้นไปทุบจมูกพระให้เสียหาย เอาเป็นเคล็ดว่าทำลายพระพุทธรูปที่นอนขวางฟ้าขวางฝนเรียบร้อยแล้ว ต่อไปฝนคงจะตกตามปกติ

    ทว่า...ฝนฟ้าหาได้ตกตามที่ผู้นำกลุ่มได้บอกไว้ไม่ บางคนเกิดความสำนึกเสียใจ และกลัวบาปจากความโฉดเขลาเบาปัญญาของพวกเขาในครั้งนั้น

    คำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า “กมฺมุนา วตตี โลโก - สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” บุคคลทำกรรมใดไว้ ผลกรรมย่อมตามสนองไม่ช้าก็เร็ว !

    เหตุการณ์ในครั้งนั้นต่างประจักษ์แก่ชาวบ้านในละแวกตำบลระเว ตำบลทรายมูล ตำบลคันไร่ เรื่อยมาถึงตัวอำเภอพิบูลมังสาหารเป็นอย่างดี

    คือ หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีข่าวว่า พระอุปัชฌาย์พรหมาไหลตาย

    ลูกศิษย์ลูกหาเห็นท่านตื่นสายผิดสังเกต ได้พังประตูกุฏิเข้าไปดูปรากฏว่าท่านมรณภาพนอนตัวแข็งทื่อไปแล้ว

    บันทึกของหลวงพ่อโชติ เขียนไว้ว่า
    “นอกจากอุปัชฌาย์พรหมา บ้านระเวแล้ว ยังมีคนบ้านคันไร่อีกคนหนึ่งนอนไหลตายเช่นกัน และได้ข่าวว่าคนที่ไปทุบจมูกพระนอนนั้นโดนยิงตายใกล้ควายที่ถูกใครก็ไม่ทราบไปขโมยมาฆ่าชำแหละเนื้อ !”

    ในหนังสืออาจารย์พิศิษฐ์ เขียนว่า
    “...ส่วนผู้ที่ทุบจมูกพระพุทธไสยาสน์นั้น ก็โดนฟ้าผ่าตายทั้งนี้ไม่มีเค้าว่าฝนจะตก...”

    สรุปว่า กรรมตามสนองทันตาเห็น !

    ย้อนหลังไปก่อนการมรณภาพของท่านพระอุปัชฌาย์ไปประมาณ ๑ เดือน หลวงปู่ใหญ่ จะเพิ่งให้ลูกศิษย์ได้ยินเสมอๆ ว่า : -

    “สงสารอุปัชฌาย์พรหมาแท้เด๊ !”
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมโภชพระพุทธไสยาสน์


    พอออกพรรษาปวารณาในปีนั้นแล้ว หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลพร้อมด้วยคณะศิษย์ ประกอบด้วยพระ เณร ชี อุบาสกอุบาสิกา และผู้ติดตามจำนวนมากจากบ้านข่าโคม สมทบกับคณะของท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน จากวัดภูเขาแก้ว ก็ได้เดินทางกลับมาที่เกาะดอนธาตุ เพื่อประกอบพิธีทำบุญสมโภชพระพุทธไสยาสน์ที่ได้สร้างไว้

    ครั้งแรกที่ทุกคนย่างเหยียบขึ้นไปบนเกาะ เห็นพระนอนโดนทุบจมูกทิ้ง ต่างก็รู้สึกสลดหดหู่ใจ ทำไมหนอเขาจึงสามารถกระทำเช่นนั้น ได้

    นรกแท้ๆ !

    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ผู้ปั้นได้พูดขึ้นว่า “โอ๊ย ! พระนอนไปเฮ็ดอีหยังให้เขา ย่านเขาบาปหลายเด้”

    หลวงปู่ใหญ่ ท่านดูสงบเย็นเป็นปกติ หัวเราะในลำคอ หึ ! หึ ! แล้วพูดยิ้มๆ ว่า
    “เห็นบ่ อาจารย์ดีเพิ่นเฮ็ดบ่งาม เขาจึงมาทุบถิ่ม คั่นว่าแปงใหม่งามแล้ว สิบ่มีไผมาทุบถิ่มดอก”

    (เห็นไหม อาจารย์ดี ทำพระไม่สวยเขาจึงมาทุบทิ้ง ถ้าทำใหม่สวยงามแล้ว คงไม่มีใครมาทุบทิ้งหรอก)

    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ได้ทำการโบกปูนปั้นเสริมเติมต่อจนพระสมบูรณ์งดงามดังเดิม เสร็จแล้วจึงได้จัดพิธีสมโภชขึ้น โดยหลวงปู่ใหญ่นั่งปรกเป็นองค์ประธาน นำคณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์มีการแสดงธรรมและปฏิบัติสมาธิภาวนา

    พระพุทธไสยาสน์ที่วัดดอนธาตุจึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ให้ประชาชนได้กราบไหว้ขอพรมาจนทุกวันนี้
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์ฯ


    เมื่อเสร็จงานฉลองสมโภชพระพุทธไสยาสน์ บนเกาะดอนธาตุเรียบร้อยแล้ว องค์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้อยู่พักจำพรรษาที่นี่เป็นเวลาติดต่อกัน ๓ ปี นับเป็นวัดสุดท้ายในชีวิตของท่าน

    ในระยะนี้หลวงปู่ใหญ่งดการเดินธุดงค์ไปไหนเป็นระยะไกลๆ นอกเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    ขณะนั้น หลวงปู่ใหญ่มีอายุย่างเข้าปีที่ ๘๐ แล้ว การออกธุดงค์ไกลๆ ทำได้ไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน

    วัดที่สร้างใหม่บนเกาะดอนธาตุนี้ยังไม่มีชื่อเรียกเป็นทางการ

    วันหนึ่ง ในท่ามกลางศิษย์ที่เป็นพระเณร พ่อขาว แม่ชี และฆราวาสญาติโยมทั้งหลาย ที่อยู่พร้อมเพรียง ณ ที่นั้น หลวงปู่ใหญ่ได้พูดขึ้นเชิงปรึกษาหารือ ว่า

    “วัดนี้ พวกหมู่เจ้าสิให้ชื่ออีหยัง เหอ?”

    ในที่ประชุมต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “แล้วแต่พ่อแม่ครูอาจารย์เป็นผู้ตั้ง...”

    หลวงปู่ใหญ่จึงพูดขึ้นว่า
    “ถ้าจังซั่น ข่อยสิให้ชื่อจังซี่ สิดีบ่ ฟังเด้อ !...วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา”

    บรรดาสานุศิษย์ ณ ที่นั้นต่างอนุโมทนาสาธุการ

    หลวงปู่ใหญ่ ถามย้ำความเห็นวา
    “พวกหมู่เจ้าเห็นดิบเห็นดีบ่ ถ้าเห็นดีกะให้เอากระดาษดินสอจดไว้เด้อ”

    เป็นอันว่าวัดที่สร้างใหม่ ก็มีชื่ออันเป็นมงคลดังได้กล่าวมาแล้ว

    ครูบาอาจารย์ในยุคนั้นเรียกสั้นๆ ว่า
    “วัดเกาะแก้ว” และมีชื่อในปัจจุบันตามชื่อสถานที่ว่า “วัดดอนธาตุ” อันเป็นปัจฉิมสถาน คือวัดสุดท้ายที่หลวงปู่ใหญ่นำสร้างและพำนักจำพรรษาในช่วงสุดท้ายของชีวิต

    ข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ
    “พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐานท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร” ได้เขียนเกี่ยวกับวัดแห่งนี้ว่า

    “เดิมนั้นวัดดอนธาตุ ท่านพระอาจารย์เสาร์ ตั้งชื่อว่าวัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา ต่อมากรมการศาสนาเปลี่ยนให้เป็น วัดดอนธาตุ...” และ

    “..ที่เกาะวัดดอนธาตุ มียาสมุนไพรขึ้นมาก ท่านพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์ดี เป็นผู้เริ่ม ยาพระกัมมัฏฐาน เป็นยาหม้อใหญ่ ชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นโรคอะไร เจ็บตรงไหน ก็อธิษฐานจิตเอา จะกินขม กินฝาด กินเปรี้ยว

    สมัยนั้นคนเป็นอหิวาตกโรคกันมาก ชาวบ้านอาศัยยาวัดดอนธาตุรักษาเยียวยา และถอนพวกเวทย์มนต์คาถาได้

    เวลาท่านพระอาจารย์เสาร์ทำน้ำมนต์ ท่านไม่ได้พูดอะไร โยมเอาน้ำมาวางไว้ตรงหน้าท่านนั่ง ท่านนั่งพิจารณาเฉยๆ และบอกให้เอาไปๆ

    จิตท่านบริสุทธิ์เป็นอิสระ ท่านนั่งพิจารณาน้ำจึงบริสุทธิ์

     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ใหญ่


    ไหนๆ ก็พูดถึงวัดดอนธาตุแล้ว ก็ขอโอกาสเสนอเรื่องราวของเจดีย์พิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งสร้างโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเปิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ น๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕ นี้เองเรื่องที่คัดลอกมานี้ชื่อ “ความเป็นมาของการก่อสร้างเจดีย์พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล” มีสาระสำคัญดังนี้ : -

    ด้วยเหตุที่วัดดอนธาตุตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำมูลปัจจุบันอยู่ห่างจากสถานที่ตั้งของเขื่อนปากมูล ไปทางเหนือน้ำประมาณ ๓๐ กิโลเมตร

    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนปากมูล เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อจ่ายไฟฟ้าแก่บริเวณอีสานใต้ ให้มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ

    ในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัยโดยรอบโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ทางวัดดอนธาตุซึ่งเป็นจุดยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญของราษฎรหมู่บ้านทรายมูล และหมู่บ้านใกล้เคียงสถานที่ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล มีท่านพระอาจารย์สมบูรณ์ ขนฺติโก ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ เป็นผู้ที่คอยให้ความรู้แก่ราษฎร ทำให้ชาวบ้านมีความกระจ่างต่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล

    ทาง กฟผ. ในเวลานั้น ดร.ณัฏฐวุฒิ อุทัยเสน วิศวกรหัวหน้าหน่วยวิศวกรสนาม โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ก็ได้มีการติดต่อกับท่านเจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ อยู่เสมอ

    จากโอกาสที่ได้รู้จักคุ้นเคยกับทางวัด ต่อมาท่านพระอาจารย์สมบูรณ์ ได้ปรารภว่า พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระบูรพาจารย์ท่านเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดดอนธาตุในช่วงปัจฉิมวัย

    <TABLE id=table14 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    วัดดอนธาตุ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เพื่อระลึกถึงท่าน จึงน่าจะรวมกันคิดสร้างเจดีย์ท่านพระอาจารย์เสาร์ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เป็นที่สักการบูชา และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ให้ดำเนินชีวิตตามแนวทางของพระบูรพาจารย์

    พระอาจารย์สมบูรณ์ ท่านเล็งเห็นว่า กฟผ. มีศักยภาพที่จะผลักดันให้มีการก่อสร้างพระเจดีย์พระอาจารย์เสาร์ ให้สำเร็จได้อีกทั้งเป็นโอกาสอันดีที่ กฟผ. จะได้ทำความดีฝากไว้ที่แผ่นดินแห่งนี้

    หลังจากได้ปรึกษากันแล้ว พระอาจารย์สมบูรณ์จึงได้ประชุมหารือกับญาติธรรม และกำนันผู้ใหญ่บ้าน ว่าน่าจะคิดสร้างเจดีย์เพื่อเก็บอัฐิธาตุของหลวงปู่เสาร์ เพราะท่านเป็นครูอาจารย์ชั้นสูง ควรแก่การกราบไหว้บูชา

    คณะศิษย์และชาวบ้านได้ประชุมกัน เห็นพ้องต้องกันว่า ควรสร้างพระเจดีย์พระอาจารย์ปู่เสาร์ กนฺตสีโล ไว้ ณ วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

    หลังจากนั้นพระอาจารย์สมบูรณ์ ได้ไปกราบเรียนปรึกษาหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ท่านได้อนุโมทนาเป็นปัจจัยก้นถุงในการก่อสร้างเป็นเงิน ๙๒๐ บาท และได้เอ่ยถึง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวันจังหวัดนครราชสีมาว่าเคยเป็นเณรน้อยติดสอยปรนนิบัติ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ภายหลังเมื่ออุปสมบทปี พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๘๙ ได้มาเป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร และจำพรรษาที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีที่พระอาจารย์เสาร์ เคยจำพรรษา

    หลวงพ่อพุธ เห็นด้วยในการสร้างพระเจดีย์และแนะนำให้ไปกราบเรียนพระอาจารย์โชติ อาภคฺโค เจ้าคณะอำเภอ ให้ดำเนินการออกหนังสือแจ้งเจ้าคณะจังหวัด และพระเถระผู้ใหญ่

    ดร.ณัฏฐวุฒิ อุทัยเสน ซึ่งภายหลังได้ออกไปทำงานเป็นรองประธานบริหารบริษัทอิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด แต่ยังผูกพันกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำเรื่องสร้างพระเจดีย์ เรียนปรึกษาท่านอดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายจีระศักดิ์ พูนผล ในขณะนั้นท่านเป็นกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเป็นรองประธานกรรมการคณะกรรมการประสานงานอพยพราษฎรและคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สิน โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล ท่านเห็นด้วยและผลักดันให้มีการดำเนินการก่อสร้างพระเจดีย์พระอาจารย์เสาร์อย่างจริงจัง โดยนำเรื่องปรึกษาผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขณะนั้น คือ นายวีระวัฒน์ ชลายน ซึ่งต่อมาได้เดินทางไปเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัทอิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด และได้มีโอกาสปรึกษากันเรื่องการสร้างพระเจดีย์ซึ่งท่านยินดีร่วมมือกับ กฟผ. สร้างพระเจดีย์ให้สำเร็จ โดยทางบริษัทอิตาเลี่ยนไทยดีเวลลอปเมนท์ จำกัด พัดาเนินงานก่อสร้างส่วนโครงสร้างให้ โดยบริจาคทั้งวัสดุก่อสร้าง และค่าแรงก่อสร้าง

    งานสร้างพระเจดีย์ได้เริ่มอย่างเป็นรูปธรรมในปี ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นวาระที่ นายวิทยา คชรักษ์ เป็นผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ โดยมีท่านองคมนตรี กำธน สินธวานนท์ เป็นประธานที่ปรึกษา และทางเจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการก่อสร้างโดย นายวิทยา คชรักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เป็นประธานทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างโดย นายเปรมชัย มุสิกะภุมมะ รองผู้ว่าการก่อสร้าง เป็นประธาน และอนุมัติให้ฝ่ายออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง ดำเนินการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โดยมอบหมายให้ นางโสภาพิศ อหันทริกเป็นสถาปนิกออกแบบ

    งานก่อสร้างได้เริ่มในปี ๒๕๔๔ และได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม โดย ฯพณฯ พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์องคมนตรี เป็นประธาน

    <TABLE id=table73 border=0 width=183 align=left><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>ป้ายชื่อ “เจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน”
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในระหว่างทำพิธีอยู่นั้น ได้มีเหตุอันน่าอัศจรรย์ประจักษ์แก่ผู้ที่อยู่ร่วมพิธี กล่าวคือ มีฟ้าร้องครืนๆ และท้ายสุดมีเสียงฟ้าฟาดเปรี้ยงและมีฝนเทลงมาดุจน้ำมนต์ประพรมจากสวรรค์ เสมือนเทพยดาฟ้าดินได้รับรู้กับงานมหากุศลครั้งนี้

    เมื่อเริ่มต้นนั้นทางวัดดอนธาตุ ยังไม่มีผู้บริจาคมากนัก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จึงได้บริจาคเงิน ๒ ล้านบาท เป็นการเริ่มให้งานก่อสร้างดำเนินไปได้

    งานก่อสร้างบนเกาะนี้เป็นไปด้วยความยากลำบากในการขนถ่ายวัสดุ เครื่องจักรเครื่องมือ อีกทั้งฝนตกน้ำท่วมในช่วงหน้าฝน แต่ด้วยแรงศรัทธาและพลังใจมุ่งมั่นที่จะสร้างถวายพระบูรพาจารย์ งานก่อสร้างได้รุดหน้าไปเสมือนเนรมิต เป็นที่ประหลาดใจแก่ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายที่มากราบนมัสการท่านเจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ

    ในระหว่างการก่อสร้างได้มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และทยอยกันส่งเงินมาบริจาค อีกทั้งบริจาคเป็นวัสดุและชิ้นงานก่อสร้าง จนทำให้งานก่อสร้างองค์พระเจดีย์แล้วเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งงานตกแต่งสวนโดยรอบองค์พระเจดีย์ งานติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ดึงสายไฟฟ้าข้ามแม่น้ำมูลมายังวัดดอนธาตุ งานซ่อมแซมกุฏิหลวงปู่เสาร์ ในเชิงอนุรักษ์ และงานก่อสร้างห้องน้ำและห้องสุขาสำหรับพระภิกษุ จำนวน ๘ ห้อง สำหรับอุบาสก ๕ ห้อง อุบาสิกา ๘ ห้อง รวมห้องน้ำห้องสุขาที่ก่อสร้างจำนวนทั้งหมดรวม ๒๑ ห้อง

    รวมเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๖,๗๒๓,๒๗๓ บาท

    แนวทางในการออกแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์

    • ออกแบบให้เรียบง่าย สมถะ ยึดตามแนวปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์
    • มีเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมอิสาน ทั้งรูปแบบและการใช้วัสดุท้องถิ่น
    • การจัดวางผังให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับธรรมชาติต้นไม้ แท่นที่นั่งสมาธิของหลวงปู่ โดยอนุรักษ์กุฏิ แท่นที่หลวงปู่เคยนั่งสมาธิ และเก็บรักษาต้นไม้ที่มีอยู่ไว้
    • ใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น หินทรายในการตกแต่งให้เข้ากับธรรมชาติ องค์เจดีย์ทาสีกรัก สีจีวรของพระวัดป่า ยึดความสมถะของหลวงปู่ ไม่หรูหรา แต่สง่าหมดจด
    • ออกแบบให้ยอดเจดีย์มีความสูงเห็นได้จากฝั่งตรงข้ามแม่น้ำยอดฉัตรจึงมีความสูงระดับพ้นยอดต้นไม้ใหญ่
    • ประหยัดค่าก่อสร้าง ใช้โครงสร้างและวัสดุที่มีราคาพอสมควรไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ แต่ใช้ระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ
    • มีความคงทนถาวรง่ายในการบำรุงรักษาไม่ใช้วัสดุที่หลุดง่ายเช่น กระเบื้องโมเสด
    • รักษาความเป็นป่าและธรรมชาติเดิมไว้ให้มีการตัดต้นไม้น้อยที่สุด
    • ได้ประโยชน์ใช้สอยสูงสุด ให้ห้องปฏิบัติธรรมที่ฐานใต้องค์เจดีย์ที่จำเป็นต้องยกเพื่อให้เจดีย์สูง

    • งานสถาปัตยกรรม
    <TABLE id=table41 border=0 width=122 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>ซุ้มประดิษฐานรูปหล่อพระอาจารย์เสาร์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ปู่เสาร์ กนฺตสีโลได้รับการออกแบบให้มีโครงสร้างที่มั่นคงถาวร เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดฐานเจดีย์ ๑๖.๐๐๑๖.๐๐ เมตร ความสูงถึงยอดฉัตร ๓๓.๐๐ เมตร

    ส่วนบน เป็นที่ประดิษฐานรูปพระอาจารย์เสาร์ และห้องพิพิธภัณฑ์ทรงสี่เหลี่ยม ขนาด ๙.๕๐๙.๕๐ เมตร สอบเข้าและย่อมุม มีซุ้มประตู ๓ ด้าน ต่อเนื่องกับบันไดขึ้นและลง ส่วนด้านหลัง เป็นซุ้มตันประดิษฐานรูปหล่อพระอาจารย์เสาร์บนแท่น เพดานรูปทรงกลม

    ข้างนอก เป็นลานพื้นคอนกรีตกว้าง โดยรอบฐานส่วนล่างเป็นห้องอเนกประสงค์ใช้ปฏิบัติธรรม ด้านนอกฐานประดับด้วยหินทรายสีเข้มเข้ากับธรรมชาติ

    เหนือส่วนองค์เจดีย์ มีปล้องไฉนปิดทองเป็นข้อรูปแปดเหลี่ยมหมายถึง มรรค ๘ ซ้อนกัน ๓ ข้อ หมายถึง พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์ดี ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ย่อมุมรูปดอกบัวปิดทอง อันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเป็นดอกไม้ประจำพระบวรพุทธศาสนา

    สัณฐานเจดีย์ รูปทรงเป็นรูปกรวย เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมอิสาน ทรงแปดเหลี่ยม หมายถึง มรรคมีองค์แปด อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ต่อด้วยยอดเจดีย์ หมายถึง นิพพาน เป็นรูปกรวยกลมแหลมประดับปิดด้วยทองอร่ามตา เป็นยอดสูงสุดแลลิ่วสู่ฟากฟ้าเหนือสุดมีฉัตรทอง ปรกองค์พระเจดีย์อันสูงส่ง ควรแก่การสักการบูชา

    การตกแต่งภายใน

    ภายในองค์เจดีย์เป็นห้องพิพิธภัณฑ์ขนาด ๙.๕๐๙.๕๐ เมตร มีประตูบานไม้สักหนา ๒ นิ้ว เปิดเข้าออกได้ ๓ ด้าน คือด้านหน้าและด้านข้าง ๒ ด้าน พื้นปูด้วยแกรนิต ผนังภายในห้องกรุด้วยหินทรายสีขาว แสดงถึงความเป็นธรรมชาติ

    <TABLE id=table42 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    มีแท่นหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อของหลวงปู่เสาร์ ในท่านั่ง ประดับซ้ายขวาด้วยพานพุ่ม อยู่ภายใต้ซุ้มด้านหลังองค์พระเจดีย์ เสมือนหลวงปู่นั่งเจริญภาวนาในถ้ำ

    เบื้องหน้าเป็นตู้แสดงอัฐิธาตุของหลวงปู่เสาร์ รูปทรงปิระมิด เจียระไนขอบ ยอดเป็นทองเหลืองชุบทองพร้อมด้วยเครื่องบูชา และดอกไม้ประดับเป็นพุทธบูชาอยู่เบื้องล่าง

    ที่ขอบด้านหลังเป็นกำแพงหินทรายรูปโค้งยอดแหลม ล้อตามรูปซุ้ม เป็นขอบ
    STAIN-GLASS สีต่างๆ ให้แสงสว่างลอดเข้ามาจากเบื้องหลัง ทำเป็นรูปดอกบัวต่างรูปแบบ

    ถัดจากแท่นรูปปั้นหลวงปู่ รายล้อมด้วยตู้พิพิธภัณฑ์ ๔ ตู้พร้อมไฟส่อง จัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามรายการอัฐบริขาร ของใช้ของหลวงปู่ ดังต่อไปนี้ -

    ๑ บาตรพร้อมขาบาตร ๑ ชุด
    . เชิงเทียนไม้ สูง ๓๕ ซม ๑ คู่
    ๓. กระโถน ๑ ใบ
    ๔. กาน้ำ ๑ ใบ
    ๕ มีดโกน ๑ อัน
    ๖ ไม้ย้อมผ้า ๑ อัน
    ๗. ผ้าปูนอน ๑ ผืน
    ๘ ผ้าปูนั่ง ๑ ผืน
    ๙. ย่าม ๑ ใบ
    ๑๐ พระพุทธรูป สูง ๑๒ ซม. ๑ องค์
    ๑๑. พระพุทธรูป สูง ๑๖ ซม. ๑ องค์
    ๑๒. พระพุทธรูป สูง ๖๕ ซม. ๑ องค์
    ๑๓. พระพุทธรูป สูง ๒๖ ซม ๑ องค์
    ๑๔ พระพิฆเนศ สูง ๙ ซม ๑ องค์
    ๑๕. มังกรโลหะ สูง ๑๘ ซม ๑ ตัว

    ซึ่งการจัดพิพิธภัณฑ์ได้ดำเนินการโดยกรมศิลปากร

    <TABLE id=table18 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ภูมิสถาปัตยกรรม
    พระเจดีย์ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้ใหญ่ ที่ยังรักษาสภาพป่าไม้ธรรมชาติเดิมไว้ ฐานพระเจดีย์เป็นกำแพงหินทรายโดยรอบยกสูง ปูหญ้าและจัดสวนตกแต่ง

    เบื้องหน้าพระเจดีย์ทางซ้าย มีกุฏิที่พระอาจารย์เสาร์เคยอยู่จำพรรษา เป็นกุฏิไม้เล็กๆ ขนาดห้อง ๒ ๕๐๔.๐๐ เมตร ยกใต้ถุนสูง ๑.๒๐ เมตร มีเพียง ๑ ห้อง และมีระเบียงหน้าห้องยาวตลอด ทางขึ้นเป็นบันไดไม้พาด ๓ ขั้นก้าวห่างๆ ผนังกั้นเป็นผนังไม้ซ้อนทับเกล็ดหลังคามุงด้วยแผ่นไม้ ผ่าเป็นแผ่นยาว ๐
    .๔๐ เมตร ซ้อนทับกัน มีลักษณะง่ายๆ สมถะ

    <TABLE id=table65 border=0 align=left><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>แท่นหินที่นั่งกรรมฐานของหลวงปู่ใหญ่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ถัดมาเป็นแท่นหิน ที่นั่งกรรมฐานของหลวงปู่เสาร์ เบื้องหน้าเป็นทางเดินจงกรมที่หลวงปู่เสาร์เคยใช้เดินจงกรม และที่ทางเดินจงกรมที่หน้าบันไดกุฏิด้วย ทำให้เห็นถึงปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ ที่มุ่งมั่นปฏิบัติสมาธิภาวนา

    <TABLE id=table66 border=0 align=right><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>ทางจงกรมของหลวงปู่ใหญ่ วัดดอนธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    โดยรอบพระเจดีย์ เป็นลานกว้างให้ปฏิบัติศาสนกิจ เช่น เวียนเทียน และมีทางเชื่อมศาลากับเจดีย์เป็นลานคอนกรีตที่ยังเก็บรักษาต้นไม้ที่มีอยู่ไว้จึงมีต้นไม้ใหญ่ผุดขึ้นในลานดูร่มรื่นและให้บรรยากาศของวัดป่า ด้านขวามีป้ายชื่อ “เจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน” ทำด้วยหินทรายสีขาว ขนาด ๒.๘๐ เมตร สูง ๑.๒๐ เมตร

    หาโอกาสไปดูไปชม และไปกราบไหว้เพื่อรำลึกถึงคุณธรรมของหลวงปู่ และเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ให้ได้นะครับ ผมขอเชิญชวนด้วยใจจริง
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระเณรที่พำนักกับหลวงปู่ใหญ่


    เป็นอันว่า ๓ ปีสุดท้าย หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พำนักจำพรรษาที่วัดดอนธาตุแห่งนี้

    สำหรับพระเณร ลูกศิษย์ลูกหา ที่พำนักอยู่กับหลวงปู่ใหญ่ในช่วง๓ ปีนั้น มีท่านผู้ใดบ้าง ผมขอคัดหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติมาเสนอ ดังต่อไปนี้ :-

    “มีเรื่องราวที่บันทึกจากปากคำของคุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก (อดีตพระภิกษุบุญเพ็ง นารโท หลานชายของหลวงปู่ใหญ่) และชาวบ้านทรายมูลรุ่นอาวุโสอีกหลายท่าน ที่ยังจดจำเรื่องราวแต่หนหลังได้แม่นยำเช่น.. (ระบุชื่อคุณตา-คุณยาย ๓ ท่าน อายุ ๖๗ - ๗๒ - ๗๗)... เล่าว่าพระเณรที่อยู่พำนักด้วย และเห็นไปมาอยู่สม่ำเสมอจนจำได้มี

    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน, พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส, พระอาจารย์อุย บ้านหนองดินดำ, พระอาจารย์ดำ บ้านดงหัวเปือย, พระอาจารย์บุญมี ญาณมุนี อำเภอสูงเนิน, พระอาจารย์สี เมืองปักธงชัย, พระอาจารย์น้อย บ้านท่าคันโท, พระอาจารย์เหลี่ยม บ้านคันว้า จำปาศักดิ์, พระอาจารย์กงแก้ว ขนฺติโก บ้านหนองสูง คำชะอี, พระอาจารย์กิ ธมฺมุตฺตโม, พระอาจารย์เสงี่ยม, สามเณร หงส์ทอง ธนกัญญา (พระหงส์ทอง สหธมฺโม หลานพระอาจารย์ดี ฉนฺโน) สามเณรคำดี, สามเณรผาย

    ส่วนแม่ชี ก็มีแม่ชีจันทร์, แม่ชีสาลิกา สกลนคร, แม่ชีคำ บ้านโคกศรีโคกดอน สกลนคร เป็นต้น

    (พระเณรและแม่ชี) ท่านพากันปฏิบัติธุดงควัตรตามแบบอย่างครูอาจารย์พาดำเนินอย่างพร้อมเพรียงและเคร่งครัด เป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวลุ่มน้ำมูลตอนใต้ทั้งมวล”
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สละเลือดให้ทานปลิง


    เรื่องนี้เป็นปฏิปทาที่แปลกเรื่องหนึ่งของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มีเขียนไว้ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ดังนี้

    “เรื่องนี้มีเล่าว่า...องค์ท่านได้ปรารภว่า.. องค์ท่านนั้นยังไม่ได้ให้ทานเลือด ให้ทานยางในกาย เพื่อพลีให้เป็นทาน ลูกศิษย์จึงไปจับเอาปลิงควาย (พันธุ์ตัวใหญ่ ส่วนพันธุ์ตัวเล็กเรียก ปลิงเข็ม) ใส่ไว้ในขวดมาให้ดูดกินเลือดที่หัวแม่เท้าของพระอาจารย์ท่าน จนอิ่มหนำสำราญแล้ว (ปลิงจะหลุดออกเองหลังจากดูดเลือดพอแล้ว) จึงได้ปล่อยลงแม่น้ำมูลไป

    นี่เป็นคำบอกเล่าของคุณยายสีฟอง และคุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก

    ข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ
    “พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร” เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้ -

    “และที่วัดนี้ ท่านพระอาจารย์เสาร์ นำปลิงมาเลี้ยงที่บ่อล้างเท้าก่อนขึ้นกุฏิ เอาจอกแหนมาวางลง แล้วท่านก็เอาเท้าของท่านหย่อนลงในบ่อให้ปลิงดูดเลือดเวลาปวดแข้งปวดขา ตามธรรมดาคนแก่เกิดปวดชาตามขา ซึ่งท่านบอกว่า มันเป็นยาดูดเลือดออกจากตัว และก็เป็นบุญเป็นกุศลให้เลือดเป็นทานกับปลิงด้วย

    นอกจากน้ำผึ้งแล้ว ท่านชอบพวกหมากน้อย ย่านาง ลูกไข่หิน เป็นยาเย็นในการฉันด้วย


    ผม (นายปฐม นิคมานนท์) ขออนุญาตแทรกเรื่อง
    “สละเลือด” ในทำนองนี้ตามที่เห็นมาเรื่องหนึ่ง คือ กรณีของหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม (พระลูกชายของหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ) ซึ่งท่านมาโปรดที่บ้านเป็นประจำ

    เรื่องแปลกคือ ยุงไม่กัดองค์ท่าน ซึ่งผมก็ (ทะลึ่ง) กล่าวล้อเลียนท่านว่า
    “หลวงปู่มีแต่กระดูก ยุงที่ไหนจะกัดลงล่ะ ขืนกัดปากมันคงยู่ไปเลย...”

    หลวงปู่เล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางขอนแก่น ได้แวะพักปักกลดแถวบ้านไผ่ ท่านภาวนาอยู่ในกลด แต่เณรนอนข้างนอก ใช้จีวรห่ม ท่านลุกขึ้นมาดูเณรตอนดึก ท่านบอก สงสารเณรจับใจ เพราะเนื้อตัวเณรมียุงกัดเต็มไปหมด ยุงแต่ละตัวมีเลือดเป่งๆ ทั้งนั้น ที่ร่วงลงพื้นก็มี

    เกิดความสังเวชใจ ปลุกเณรขึ้นไปนอนในกลด มอบกลดให้เณรตั้งแต่บัดนั้น ท่านออกมานั่งสมาธิข้างนอกให้ทานเลือดแก่ยุงจนสว่าง

    “อาตมาก็ว่าแปลกมาก จากวันนั้นมายุงไม่กัดอาตมาเลย จ้างห้าบาทมันก็ไม่กัด...” แล้วท่านก็หัวเราะด้วยอารมณ์ดี

    <TABLE id=table67 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>ภาพเหมือนหลวงปู่ใหญ่ และหลวงปู่สมบูรณ์ ขนฺติโก
    เจ้าอาวาสวัดดอนธาตุ องค์ปัจจุบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภาค ๖ ช่วงสุดท้าย : งานถวายมุทิตาจิตอายุ.๘๐ ปี


    ขณะที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พำนักอยู่ที่วัดดอนธาตุ หรือที่ครูอาจารย์สมัยนั้นเรียกว่า วัดเกาะแก้ว นั้น ท่านมีอายุเข้า ๘๐ ปี อยู่ในวัยชราภาพมากแล้ว ท่านมีอาการอาพาธอยู่บ่อยๆ

    คณะศิษย์ได้ร่วมกันจัดงานบุญ เพื่อแสดงมุทิตาสักการะและพิธีสืบชะตา ถวายแด่ท่านหลวงปู่ใหญ่

    งานนี้มี หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นประธานจัดขึ้นที่วัดบูรพารามในเมืองอุบลราชธานี

    เมื่อ วัน ๗ <SUP>ฯ</SUP><SUB></SUB> ๑ ค่ำ (อ่านว่าวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ มีกำหนดจัดงาน ๓ วัน

    ในงานนี้คณะศิษย์ได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกแจกจ่ายเป็นธรรมทานให้ผู้มาร่วมงาน เขียนโดย หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และหลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ชื่อ
    “ข้อกติกาชีสัมมาปฏิบัติ ว่าด้วยข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สำหรับสำนักชี คณะกรรมฐาน”

    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค บอกว่าหนังสือเล่มนี้หายากยิ่งในปัจจุบัน ท่านแนะขุมทรัพย์ให้แล้ว ใครมีหนังสือเล่มนี้ช่วยบอกกล่าวกันด้วยนะครับ !

    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ เขียนถึงการจัดงานตามคำบอกเล่าของ คุณตาบุญเพ็ง และคุณยายสีฟอง คำพิพาก ดังนี้ : -

    “พระภิกษุที่ได้รับนิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์ในงานพิธีนี้ มีจำนวน ๘๐ รูป ครบเท่าอายุ โดยคณะศรัทธาญาติโยมได้จัดเตรียมผ้าจีวรครบ ๘๐ ชุด สำหรับท่านพระอาจารย์ใหญ่ ได้ทอดถวายเป็นผ้าบังสุกุล

    นอกจากนี้คณะพระลูกศิษย์ของท่าน ยังได้ช่วยกันตัดเย็บผ้าขาวเป็นจำนวน ๘๐ ผืน ให้ท่านได้แจกทานแด่แม่ชีที่มาในงานครั้งนี้ด้วย


    ในงานมุทิตาจิตหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลนี้ไม่มีมหรสพสมโภชใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่การปฏิบัติธรรมและแสดงพระธรรมเทศนา โดย ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ท่านพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล และพระลูกศิษย์ที่มีเทศนาโวหารเก่งๆ ทั้งหลาย ได้ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นธรรมาสน์กล่าวธรรมกถาสะกดผู้ฟังที่มากันเต็มศาลาใหม่วัดบูรพารามนั้น

    นี่แหละคือครรลองของงานบุญล้วนๆ ที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านพาดำเนินมา และเป็นรูปแบบในการจัดงานบุญในวัดกรรมฐานสืบทอดมาจนปัจจุบัน ที่พวกเราชั้นลูกชั้นหลานจะได้รักษาสืบทอดกันต่อไป
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เตรียมหีบศพไว้ล่วงหน้า


    จากข้อมูลในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนเรื่องนี้ อันมีเนื้อหาสาระดังนี้. -

    ในงานทำบุญฉลองอายุ ๘๐ ปี ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อปี พ ศ. ๒๔๘๓ ที่วัดบูรพารามในเมืองอุบลฯ นั้น หลวงปู่ใหญ่ได้สั่งให้ศิษย์เตรียมต่อโลงไว้ให้ท่าน ลักษณะเป็นหีบไม้สักล้วนๆ ทรงสี่เหลี่ยม ที่ถูกส่งลงมาถวายจากทางวัดอ้อมแก้ว (วัดเกาะแก้วอัมพวัน) อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

    องค์หลวงปู่ใหญ่ ได้ลงไปทดลองนอนกะขนาดตรวจดูความเรียบร้อยด้วยองค์ท่านเอง แล้วมอบให้ลูกศิษย์เก็บรักษาไว้ที่วัดบูรพารามเพื่อเตรียมไว้บรรจุร่างท่านตอนละสังขาร

    ไม่มีใครคาดคิด โลงที่เตรียมไว้ได้ใช้บรรจุร่างของท่าน เมื่อท่านละสังขารหลังจากนั้นอีก ๓ ปี
     

แชร์หน้านี้

Loading...