<TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>IT Man, แหน่ง+, ปฐม+ </TD></TR></TBODY></TABLE>
สวัสดีครับท่านแหน่ง...ปฐม..
หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน)
ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย psombat, 18 มีนาคม 2010.
หน้า 50 ของ 430
-
ครั้งแรกๆ ที่เริ่มสะสมพระ ผมก็ได้พระสมเด็จที่มีเม็ดพลอยหลายๆสีเหมือนกันครับ บางคนเขาเรียกว่า "กรุพระธาตุพนม" บางตำราบอกว่ามาจากพระกรุที่พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม บางตำราบอกว่ามาจากพระธาตุพนมจำลองที่ทำขึ้นในวังหน้า ยังไม่เคยให้ครูบาอาจารย์เช็คเลยครับ
แต่ที่เก็บตอนนั้นที่เก็บเพราะพลังท่านเหลือเกินครับ มากว่าสมเด็จวัดระฆัง อยู่ประมาณ 5 เท่าครับ -
(องค์เสกกลุ่มเดียวกับองค์ดำของท่าน nont.)
หากไม่เชื่อโปรดวางอุเบกขานะครับ กรรมหนัก...เข้าขั้นปรามาส -
<TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>แหน่ง, มูริญโญ่ </TD></TR></TBODY></TABLE>
สวัสดีครับพี่มู
สบายดีไหมครับ
คิดถึงนะครับ -
โอ้ว...สามศรีพี่น้อง...:boo: -
สวัสดีครับทุกท่าน
ผมพยายามโพสข้อความบางอย่าง แต่มีเหตุไม่ให้ผมส่งข้อความดังกล่าวออกอากาศ ผมจึงขอแค่ทักทายกันนะครับ -
<TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 5 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>แหน่ง, nontayan, tuta_868, IT Man, มูริญโญ่ </TD></TR></TBODY></TABLE>
สวัสดีทุกๆๆ ท่าน
วันนี้อบอุ่นจังเลยนะครับ
ยังขาด Dr. ใช่ไหมเนี่ย -
<TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>แหน่ง, IT Man, มูริญโญ่ </TD></TR></TBODY></TABLE>
รู้สึกว่าจะเริ่มบ่อยขึ้นแล้วที่พวกเราอยู่พร้อมๆกัน 5555+ -
-
ครับเช่นกันสวัสดีครับ
ช่วงนี้งานยุ่งไม่ได้ตอบกลับต้องขอโทษด้วยนะครับ
พอมีเวลาก็จะแว๊ปเข้ามาบ้างครับ -
ในแง่ประวัติศาสตร์ กล่าวกันว่ารัชกาลที่ 5 ทรงนำเอา พระสมเด็จเขียว (ปรกเมล็ดโพธิ์) ออกแจกจ่ายประชาชนเมื่อคราวโรคห่าระบาดในกรุงเทพฯในช่วงนั้น พระชุดนี้กลุ่มวังหน้าเป็นผู้สร้างถวายสมเด็จโตเพื่อปลุกเสกและอธิษฐานจิตในช่วงปี 2411 ในวาระที่รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ ซึ่งต่อมารัชกาลที่ 5 ได้นำมาแจกจ่ายประชาชนจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้ทำน้ำมนต์รักษาโรคห่าที่ระบาดในช่วงเวลานั้น ลองพิจารณาดูกันนะครับ เจอที่ไหนอย่าให้หลุดมือไปได้นะครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ความรู้ผมน้อยนักขอแค่มาชื่นชมบารมี พี่ๆและท่านอาจารย์ครับ
-
หลังจากผมกลับจากการบรรยายที่กรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา ผมได้กลับไปร่วมในพิธีอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสด็จมาทางอากาศในบ้านของเพื่อนธรรมที่โคราช เสร็จพิธีก็ร่วมตีสองครับ ผมจึงนำภาพบรรยากาศมาให้ดู ส่วนพระและลูกแก้วเสด็จมามากพอสมควร แต่ขอนำมาให้ดูแค่ส่วนหนึ่ง เป็นการศึกษาแบบนอกกำมือเซียนครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระดีนอกกำมือเซียน
พระดีนอกกำมือเซียน
“นนต์”<O:p</O:p
<O:p</O:p
...พวกเราชาวพุทธคงเคยได้ยินคำสอนของพระพุทธองค์ที่ได้ตรัสกับเหล่าสาวกเมื่อครั้งพุทธกาลว่า ความรู้หรือธรรมะบางข้อที่พระพุทธองค์นำมาสั่งสอนพระสาวกนั้น เป็นความรู้หรือความจริงแท้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เปรียบเสมือนใบไม้ที่อยู่ในกำมือของพระองค์ แต่ใบไม้ที่อยู่นอกกำมือนั้นมีอยู่มากมาย ลองหันไปดูบนต้นไม้ ในป่านี้ หรือในป่าทั้งโลก และยังมีอยู่ในจักรวาลและอนันตจักรวาลอีกมากมาย ฉะนั้น ในการศึกษาพระเครื่องหรือในเรื่องใดๆก็ตาม ที่เราเรียนรู้มาจากครูอาจารย์ จากเซียน จากคำบอกเล่า หรือจากตำราที่อ้างสืบๆกันมานั้น มันก็เป็นเพียงความรู้เพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจมีทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้อง (ธรรมะของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ถูกต้องและเที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง) แล้วนับประสาอะไรกับความรู้ของเซียนที่อ้างสืบๆต่อกันมา มันจะเป็นความจริงไปเสียทั้งหมดเช่นนั้นหรือ แล้วไฉนหลายๆท่านจึงยังคงเชื่อเฉพาะความรู้เก่าๆ โดยไม่เปิดใจไปเรียนรู้ ใบไม้นอกกำมือเซียน บ้าง บางทีท่านอาจพบกับความมหัศจรรย์ของสิ่ง(พระ)ดีๆ อย่างคาดไม่ถึงก็เป็นได้
<O:p</O:p
...อย่างไรก็ตาม การเสนอความคิดเห็นในบทความนี้ ก็นับเป็นความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้หรือ ประสบการณ์ และความมหัศจรรย์จากการปฏิบัติธรรม(ปัจจัตตัง)ของผู้เขียน จึงเป็นเพียงมุมมองหนึ่งเท่านั้น ขอให้ทุกท่านจงใช้สติปัญญา อย่าพึ่งเชื่อ จนกว่าท่านจะได้พิสูจน์ด้วยตัวของท่านเอง(ตามหลักกาลามสูตร) หรือจนกว่าท่านจะได้ประมวลความรู้จากแหล่งต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงควรจะเชื่อไปตามนั้น แนวทางการศึกษาพระเครื่องจึงมีหลายแนวทาง ผู้เขียนจึงขอสรุปดังนี้
<O:p</O:p
แนวทางการศึกษาพระเครื่อง
1. ด้านพุทธศาสตร์และวัฒนธรรม ได้แก่ คติความเชื่อและประเพณีนิยมในการสร้างพระ เช่น การสร้างพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านมีเจตนาในการสร้างพระเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา การอธิษฐานจิตทุกครั้งจึงต้องอาศัยพุทธบารมี ธรรมบารมี สังฆบารมี และในบางครั้งได้อาราธนาอัญเชิญองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาร่วมในการอธิษฐานจิตด้วย (เป็นเรื่องเหนือโลกหรือเหนือความรู้ของเซียน) ฉะนั้น ผู้ใดปรามาสพระพิมพ์ที่แท้ แต่ไปกลับบอกว่าเป็นพระปลอมด้วยอกุศลจิต ย่อมถือว่า เป็นการปรามาสหรือลบหลู่พระพุทธเจ้า จึงนับเป็นบาปที่หนักหนามาก ขอจงพึงระวังให้มาก อย่าให้เงินมาผูกขาดอัตตาของตัวเอง จนเดินไปสู่ขุมนรก หรือความวิบัติในบั้นปลายของชีวิต
2. ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น มีบางคนบอกว่า พระสมเด็จที่มีเหรียญรัชกาลที่ 5 ติดอยู่ด้านหลัง เป็นพระสมเด็จวัดระฆังที่ปลุกเสกและอธิษฐานจิตโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ในการสร้างเหรียญกษาปณ์ จะพบว่ามีการสร้างเหรียญพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2417 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากสมเด็จโตมรณภาพไปแล้ว 2 ปี (2415) อีกอย่างเหรียญรัชกาลที่ห้ามีพระพักตร์แก่แล้ว หรือแม้จะมีพระพักตร์หนุ่มก็ยังไม่ทันปี 2415 อยู่ดี ฉะนั้น ในแง่ของประวัติศาสตร์จึงเป็นไปไม่ได้ว่า พระดังกล่าวจะทันสมเด็จโตเป็นผู้ปลุกเสก ประวัติศาสตร์จึงบิดเบือนไม่ได้
3. ด้านพุทธศิลป์ จะบอกให้รู้ว่า พุทธลักษณะและศิลปะที่ปรากฏเป็นองค์พระนั้น สามารถบอกยุคสมัย และกรรมวิธีในการสร้างได้ มีร่องรอยให้ค้นหาความจริงคล้ายด้านประวัติศาสตร์ อีกทั้งลักษณะที่งดงามขององค์พระ(พุทธศิลป์)นั้น จะเป็นสิ่งเสริมบารมีให้แก่ผู้สร้างและเสริมความสง่างามให้แก่พระพิมพ์นั้นๆ อาทิเช่น พระสมเด็จวัดระฆังของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) นั้น มีความสง่างามอันเนื่องด้วยมีสัดส่วนที่ลงตัวมากที่สุด ดังเช่น สัดส่วนทอง หรือโกลเด้นเซ็คชั่น (Golden section) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เกิดตามกฎแห่งความงามที่ชาวกรีกโบราณใช้มานาน ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนของกระดาษเอ 4 หน้าจอทีวี จอโน๊ตบุ๊ค และอีกมากมาย สัดส่วนทองมีขนาดกว้าง 3 ส่วน และยาว 4 ส่วน จะย่อหรือขยายเท่าไหร่ก็ได้ เมื่อนำเอาพระสมเด็จวัดระฆังมาทาบกับสัดส่วนทองจะได้ขนาดพอดีกันอย่างมหัศจรรย์ ฉะนั้นอย่าแปลกใจเลยว่า ทำไมพระสมเด็จวัดระฆัง จึงเป็นยอดแห่งจักรพรรดิของพระเครื่องไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระดีนอกกำมือเซียน
พระดีนอกกำมือเซียน (ต่อ)
4. ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นี่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการศึกษาคน จะแท้จะปลอมก็อยู่ที่ตัวคน ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดวาทกรรมว่า "แท้" หรือ "ปลอม" ผู้มีอิทธิพลในวงการจึงเป็นพระเจ้า(god) ที่จะตีพระแท้พระปลอมได้โดยไม่ต้องส่องพระ ถ้าศึกษาให้ลึกซึ้งจะเห็นความเคลื่อนไหวของวงการพระที่ผูกติดอยู่กับการตลาดยุคโลกาภิวัตน์อย่างแนบแน่น เป็นธุรกิจเดียวที่มีกำไรมากที่สุดในโลก ซื้อมาร้อยอาจขายได้ถึงห้าสิบล้าน ฉะนั้น อิทธิพลของคนบางกลุ่มจึงเกิดขึ้น อย่าลืมว่า การศึกษาจากตำราและคำบอกเล่าของเซียนโบราณ ก็เป็นความจริงเพียงส่วนหนึ่ง เป็นใบไม้ในกำมือเซียน แต่ใบไม้นอกกำมือเซียนนั้นมีอีกตั้งมากมาย ลองเปิดใจศึกษาให้ดีๆ เราจะเข้าใจบางสิ่งบางอย่างว่า กลุ่มใดอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลัง และกลุ่มใดมีพลังในการซื้อขายพระ(ธุรกิจ) ก็ย่อมสร้างวาทกรรมที่ผู้คนนอกกลุ่มต้องฝืนยอมรับ เมื่อเขาต้องการที่จะซื้อจึงจะบอกว่าแท้ หากเขาไม่ต้องการที่จะซื้อก็ย่อมจะบอกว่าไม่แท้ เงินบวกจิตอกุศลหรืออัตตา เป็นตัวสร้างวาทกรรมที่ว่า “แท้” และ “ไม่แท้” รวมถึงการประกวดพระก็เช่นกัน ประกวดกันไปเพื่ออะไร รูปพระพุทธเจ้าที่อยู่ในองค์พระ เอามาล้อเล่นได้อย่างนั้นหรือ ลองพิจารณาดูให้ถ้วนถี่ แล้วท่านจะเห็นว่า เงินนั้นแหละที่อาจทำให้หลายๆคนเกิดกรรมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
<O:p</O:p
5. ด้านวิทยาศาสตร์ ก็สำคัญไม่ว่าจะเป็นมือเก่าหรือมือใหม่ เพราะการศึกษาทางด้านกายภาพ (Physical) ด้วยตาเนื้อ ด้วยกล้อง 10x หรือกล้องจุลทัศน์และเครื่องมือสมัยใหม่ จะทำให้เห็นมวลสาร ส่วนผสม แร่ธาตุต่างๆ และธรรมชาติความเก่าที่อยู่บนผิวพระ (Surface) องค์นั้นๆ แต่ถ้าเป็นพระที่มีอายุเก่านับพันปีขึ้นไป อาจใช้การตรวจคาร์บอนได้ หากต่ำกว่านั้นจะได้ค่าผิดพลาด (error) ถึง 80% เขาจึงไม่นิยมตรวจคาร์บอนในวัตถุที่มีอายุน้อย ในปัจจุบันจะมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาช่วยตรวจสอบหาเนื้อมวลสารได้ และยังสมารถตรวจสอบพลังออร่า (aura) และสเคลาร์ (scalar) เป็นต้น
6. ด้านพลังพุทธานุภาพ ซึ่งเป็นเรื่องอจินไตย เป็นเรื่องเหนือโลก ที่กลุ่มเซียนส่วนใหญ่หรือผู้มีอิทธิพลไม่ได้สนใจในด้านนี้ เพราะถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคล อีกอย่างมันอาจไปเปิดเผยพระที่พวกเขาทำปลอมขึ้นมาก็ได้ ในปัจจุบันผู้ปฏิบัติธรรมมีจำนวนมากขึ้น ผู้มีฌานสมาบัติก็มีมากขึ้น พระอริยเจ้าก็มี ผู้มีองค์เทพ องค์บารมีที่มีตาที่สามก็มีจำนวนมาก จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่า พระเครื่ององค์นั้นมีพลังพุทธานุภาพหรือไม่ ซึ่งนับเป็นวิธีการตรวจสอบว่าเป็นพระแท้หรือพระปลอมที่เที่ยงแท้อีกวิธีหนึ่ง แต่ถ้าให้ดีท่านต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้รู้ให้เห็นด้วยตัวท่านเองเป็นปัจจัตตังจะดีที่สุด แล้วท่านจะเห็นสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นมากมาย ผู้ที่เชื่อในเรื่องพุทธานุภาพ จึงเป็นชนกลุ่มน้อย หรือ “เป็นพวกอกหัก” ในสายตาของเซียน ผู้มีบุญและตระกูลที่ครอบครองพระมาก่อนที่กลุ่มเซียนจะเกิด จึงกลายเป็นกลุ่มนอกกำมือเซียน ซึ่งที่จริงบุคคลกลุ่มนี้มีมากกว่ากลุ่มอิทธิพลตั้งหลายเท่า เพียงแต่ผู้มีบุญเหล่านั้นไม่ได้สนใจในวาทกรรมของเซียน เพราะพระดีที่ท่านมี เป็นเพียงเครื่องแสดงถึงบุญบารมีของผู้ครอบครองเท่านั้น
<O:p</O:p
7. ด้านจิตใจ จะอยู่ที่ตัวท่านว่าจะ "เปิด" หรือ "ปิด" ในการรับรู้ใบไม้นอกกำมือเซียน ถ้าปิดก็ย่อมไม่เชื่อ จึงไม่มีโอกาสได้รับพระแท้ที่หายาก ถ้าอยากได้พระแท้ตามเกณฑ์ของเซียนก็ต้องไปบูชาจากเซียนในราคาสูงๆ ถ้าเปิดก็ย่อมมีทั้งเชื่อและไม่เชื่อจึงจะมีโอกาสได้รับพระแท้ราคาถูกอยู่บ้างตามบุญบารมี หรือถ้าเป็นพระปลอมแต่จิตของท่านก็ยังเคารพว่าเป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ หรือพระอริยเจ้าแท้ เมื่อศรัทธาพระ บารมีของพระท่านย่อมคุ้มครอง เช่น พระหลวงปู่ทวด พระสมเด็จวัดระฆัง พระกริ่งปวเรศ เป็นต้น แม้จะไม่ผ่านพิธีปลุกเสก แต่ดวงจิตของท่านจะมาสถิตอยู่ในพระของคนดีที่ศรัทธาท่านอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้าท่านยึดพระเป็นตัวเงินเมื่อไหร่ ความทุกข์ก็จะตามมามากมาย ดังข้อความที่ผู้เขียนขอนำมาเป็นสติเตือนใจดังต่อไปนี้
<O:p</O:p
"คนคุ้มครองพระ" คือ เมื่อผู้ใดมีพระเครื่องที่ราคาแพงและหายาก มักจะเกิดความทุกข์ตามมาอาทิเช่น กลัวถูกปล้น ถูกขโมย จึงนำไปฝากธนาคาร หรือใส่ตู้เซ็ฟไว้ไม่นำติดตัวไปไหน ขอยกตัวอย่างความจริงที่เล่ากันมาว่า มีท่านหนึ่งมีพระสมเด็จวัดระฆังที่มีผู้รู้บอกว่าเป็นพระแท้และมีราคาแพงตามสภาพในขณะนั้น จึงนำไปฝากตู้เซ็ฟของธนาคารไว้ ต่อมาอีกหลายปีจึงนำออกมาจากธนาคารเพื่อไปปล่อยให้เซียนพร้อมกับหาคนคุ้มกันพระไปด้วย แต่เมื่อเซียนตีเป็นพระเก๊ก็ถึงกับเป็นลม อันนี้เรียกว่า คนคุ้มครองพระ เพราะมองพระเป็นเงิน จึงเกิดความทุกข์ตามมามากมาย
"พระคุ้มครองคน" คือ เมื่อผู้ใดมีพระเครื่องราคาแพงและหายาก แต่ตัวเองได้มาราคาถูกหรือได้มาแบบปาฏิหาริย์ จึงเชื่อมั่นในพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และศรัทธาว่าพระนั้นเสด็จมาเพื่อช่วยคุ้มครองตัวเองจากภัยอันตรายต่างๆ จึงนำติดตัวไปโดยไม่เกรงกลัวว่าพระจะอยู่หรือจะไป เพราะเชื่อว่า ถ้าพระองค์นั้นเป็นของเราและเรามีบุญแล้ว ก็ย่อมอยู่กับตัวเรา อันนี้จึงเรียกว่า พระคุ้มครองคน
"พระเลือกคน" คือ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หรือผู้มีบุญ มักเจอเหตุการณ์และพบเห็นพระดีแบบมหัศจรรย์ เช่น มักมองเห็นพระองค์นั้นๆเด่นมาแต่ไกล พอจับจะมีพลังวิ่งเข้าสู่ตัวจนเกิดปีติ หรือดลใจให้ได้รับพระองค์นั้นๆด้วยวิธีแปลกๆ บางครั้งก็ได้ด้วยวิธีอธิษฐานจิต หรือได้รับมาด้วยราคาถูก เป็นต้น อันนี้เรียกว่า พระท่านทรงเลือกคน หรือคนดีจึงถูกพระเลือกนั่นเอง
"คนเลือกพระ" คือ เกิดจากกิเลสของคนที่อยากได้พระองค์นั้นๆ จึงพยายามหาทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มา ไม่ว่าจะเป็นมุกของเซียนที่ตีพระของเขาปลอมแต่ลับหลังกลับหาวิธีให้ได้มา หรือยอมทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้มา จึงเกิดความทุกข์ตามมา บางครั้งจึงมักได้ข่าวว่าเซียนพระถูกตี ถูกฆ่า หักหลังกัน หรือเจ้าพ่อใหญ่ถูกยิงถล่มตายคาที่ทั้งที่ห้อยพระชุดเบญจภาคีราคาแพงก็ตาม นั่นเป็นเพราะกิเลสที่ทำให้คนผิดศีลธรรม แม้จะเป็นพระแท้แต่พระท่านไม่คุ้มครองคนชั่ว แม้บางคนจะร่ำรวยจากการซื้อขายพระโดยไม่สุจริตในภพนี้ แต่ในบั้นปลายหรือในภพหน้าก็มิอาจหลีกเลี่ยงกฎแห่งกรรมไปได้
<O:p</O:p
...อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนทั้งหมดนี้ เป็นเพียงการนำเสนอมุมมองหนึ่งที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ได้เข้าไปคลุกคลีกับวงการพระเครื่องของเมืองไทยในช่วงเวลาหนึ่ง จนเข้าใจในสภาวธรรมหรือสัทธรรมของสรรพสิ่งซึ่งล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และการสะสมพระเครื่องก็เป็นดังนั้นเช่นกัน ผู้เขียนได้เรียนรู้จากหลายๆแหล่ง จากกิเลสที่อยากมีอยากได้ นำไปสู่การค้นคว้าทั้งจากตำรา ผู้รู้ ผู้ไม่รู้ ของจริงของแท้ ของไม่จริงของไม่แท้ ผสมปนเปกันไป เสียเวลา เสียเงินไปก็มาก ได้รับทั้งพระแท้และพระปลอมคละเคล้ากันไปนับพันๆองค์ มีทั้งสุขและทุกข์ อยู่ในโลกอีกมิติหนึ่ง จนหลงเข้าไปสู่วงการพระเครื่องเกือบเต็มตัว ได้รับเกียรติไปบรรยายพระก็หลายครั้ง เห็นความทุกข์ของคนเล่นพระก็มาก(เกือบทั้งหมด) ซึ่งหนีไม่พ้นสองคำอมตะคือ "แท้" กับ "ไม่แท้"
...ในปัจจุบันเราต้องยอมรับกันว่า คติความเชื่อและการสร้างพระได้เปลี่ยนไปจากคติดั้งเดิมมาก ในอดีตท่านผู้สร้างพระมีเจตนาเพื่อเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา จึงไม่ได้ผูกติดกับการตีค่าเป็นเงินตรา แต่ในกาลปัจจุบัน ผู้คนได้แปรค่าจากอริยทรัพย์(บุญฤทธิ์) ไปเป็นโภคทรัพย์(เงิน)เรียบร้อยแล้ว จึงไม่แตกต่างอะไรกับสินค้าชนิดหนึ่ง ผู้เขียนจึงอยากให้ท่านทั้งหลาย ลองกลับมาพิจารณาให้ดีว่า เราควรแสวงหาพระดีๆสักองค์ เพื่อเป็นสิ่งมงคลหรือเป็นอริยทรัพย์ เพื่อช่วยปรับภูมิภายในของผู้แขวนให้มีความเป็นอริยทรัพย์ไม่ดีกว่าหรือ เมื่อผู้ใดมีศีลและความเป็นอริยทรัพย์ภายในดีแล้ว คลื่นพลังงานดีย่อมแผ่ออกมาดึงดูดโภคทรัพย์ภายนอก ให้หลั่งไหลเข้ามาสู่ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หรือหากท่านมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน หรือมีหลายๆองค์ ก็อาจขออนุญาตและขอพระบารมีพระองค์นั้นๆ เพื่อแบ่งให้ผู้อื่นเช่าก็ย่อมได้ แต่ขอให้กระทำด้วยจิตอันเป็นกุศล ให้เป็นไปโดยธรรมชาติ และตามบุญบารมี ท่านจึงจะไม่เกิดความทุกข์ หากได้เงินหรือปัจจัยมาก็ขอให้แบ่งไปทำบุญ แล้วอุทิศให้แก่องค์ผู้สร้าง ตลอดจนเทวดาผู้รักษาพระองค์นั้นๆด้วย จึงจะนับว่า เป็นการสะสมพระที่ถูกทาง และถูกต้อง แล้วท่านจะได้รับแต่สิ่งดีๆ อย่างคาดไม่ถึง การศึกษาตามแบบของนักปฏิบัติธรรมและนักวิชาการ จึงเป็นการศึกษาแบบนอกกำมือเซียน แล้วท่านหละจะเลือกแบบใด -
แหมๆ ใจตรงกันเลยคุณอ๊อด หุหุ
โมทนาสาธุครับท่านนนต์ :cool: -
-
หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า...ปางภัตกิจ
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ (3 จบ)
พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ชื่อ "อุปคุต" แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษา
พระอุปคุตเป็นพระที่เป็นที่นิยมของชาวอินเดีย มอญและชาวไทยทางเหนือ และอีสาน สมัยก่อนพระมอญได้นำพระบัวเข็มมาถวายรัชกาลที่ 4 ในตอนที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ แม้รัชกาลที่ 5 ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนด้วย
เชื่อกันมาว่า พระอุปคุตมีอิทธิฤทธิ์ปราบพระยามาร มีเรื่องเล่ามาว่า ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้ของประเทศอินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมดที่พระองค์สร้างอย่างยิ่งใหญ่ ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่ถูกพระยามารมาผจญ ท่านจึงนิมนต์พระอุปคุตไปปราบพระยามารจนพระยามารยอมแพ้[1] จากนั้นพระอุปคุตก็มีชื่อเสียงในทางปราบมาร ท่านมีอีกชื่อว่า "พระบัวเข็ม"
ปัจจุบันยังมีความเชื่อในหมู่ชาวล้านนาว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวล้านนาจะเรียกว่าเป็น "วันเป็งปุ๊ด" พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น -
หลวงปู่ทวด (หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์)
ประวัติ
ตามตำนาน<SUP id=cite_ref-1 class=reference>[2]</SUP>กล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านสวนจันทร์ (บ้านเลียบ) ต.ดีหลวง (ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อ.สทิงพระ(จะทิ้งพระ) จ.สงขลา แรกเกิดมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน
เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม
เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7ขวบ พ.ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป
ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาร 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น
โดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225 สิริรวมอายุได้ 99 ปี
[แก้] ความเชื่อในวัตถุมงคลที่เนื่องด้วยหลวงปู่ทวด
หลวงปู่ทวดเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยและรู้จักเป็นอย่างดีในวงการพระเครื่องมาก จากตำนานและการที่มีผู้เชื่อตำนานดังกล่าวว่าท่านเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่เก่งกล้ามากรูปหนึ่งจนได้รับสมญานามว่า "หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด"
[แก้] คาถาสักการบูชาหลวงปู่ทวด
การสักการบูชาให้ตั้งสวด นโม ตสฺส ฯลฯ 3 จบ ตามด้วยคาถานี้ 3 จบเช่นกัน
<TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
นโม โพธิสตฺโต อาคนฺติมาย อิติภควา</TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>
</TD></TR></TBODY></TABLE>
มีความหมายว่า "ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชคซึ่งเข้ามาสถิตอยู่ในตัวของข้าพเจ้านี้" คำว่า อาคนฺติมาย ควรจะเป็น อาคนฺตีมาย เนื่องจากเป็นคำสนธิระหว่าง อาคนฺติ กับ อิมาย แต่คงเสียงสระสั้นไว้เพื่อความไพเราะของภาษา <SUP id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.B8.E0.B8.87.E0.B8.AA.E0.B8.A2.E0.B8.B2.E0.B8.A1_2-0 class=reference>[3]</SUP>
อาจารย์ชะเอม แก้วคลาย (ป.ธ.๗) และอาจารย์สุวัฒน์ โกพลรัตน์ (ป.ธ.๙) ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณของหอสมุดแห่งชาติ ได้วิเคราะห์ไว้ว่า คาถานี้ไม่ถูกหลักไวยากรณ์ภาษาบาลี แต่เป็นการผูกเงื่อนงำในทางความหมาย การผูกประโยคจึงต้องนำศัพท์เข้ามาเพิ่ม ประโยคที่สมบูรณ์จึงควรเป็นดังนี้ <SUP id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.B8.E0.B8.87.E0.B8.AA.E0.B8.A2.E0.B8.B2.E0.B8.A1_2-1 class=reference>[3]</SUP>
<TABLE style="BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
โย เถโร โพธิสตฺโต อิติภควา อิมาย ชนาย อาคนฺติ นโม ตสฺส โพธิสตฺตสฺส อิติภควโต เถรสฺส อตฺถุ</TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20>
[อันว่าพระเถระรูปใดเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคย่อมมาสู่ชน (หรือบุคคล) ผู้นี้
อันว่าความนอบน้อมขอจงมีแก่พระเถระ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้ชื่อว่าผู้มีโชครูปนั้น]
</TD></TR></TBODY></TABLE>
จากวิกิพีเดีย -
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
ชาติภูมิ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 17 เมษายนพ.ศ. 2331<SUP id=cite_ref-5 class=reference>[6]</SUP> ที่บ้านท่าหลวง อำเภอท่าเรือ<SUP id=cite_ref-6 class=reference>[7]</SUP>จังหวัดพระนครศรีอยุธยา<SUP id=cite_ref-7 class=reference>[8]</SUP>
มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร <SUP id=cite_ref-8 class=reference>[9]</SUP> หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ<SUP id=cite_ref-9 class=reference>[10]</SUP> อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) <SUP id=fn_2_back>2</SUP> เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง<SUP id=fn_3_back>3</SUP>
สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป<SUP id=cite_ref-10 class=reference>[11]</SUP>
[แก้] บรรพชาและอุปสมบท
เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้วได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา ต่อมาปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 ได้โปรดเกล้าฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดฯรับไว้ในพระราชูปถัมภ์
[แก้] ธุดงควัตรและไม่ปรารถนาสมณศักดิ์
ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณ และเกียรติคุณแต่ท่านไม่ยอมรับ (ปกติท่านไม่ปรารถนายศศักดิ์ดังจะเห็นได้จากเจ้าประคุณสมเด็จฯ ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ไม่ปรารถนายศศักดิ์จึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระเปรียญ) ต่อมาเล่ากันว่า “…ท่านออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆกัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง นอกจากนี้ยังมีปูชนียสถานที่เจ้าประคุณสมเด็จฯได้สร้างไว้ในที่ต่างๆอีก ซึ่งทุกอย่างที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระคุณท่าน อนึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่ว่าท่านจะไปอยู่ ณ ที่ใดๆท่านย่อมเป็นที่รักใคร่ของมหาชนทุกหนทุกแห่งและด้วยบารมีของเจ้าประคุณสมเด็จฯนี้เอง จึงทำให้บรรดาพุทธศาสนิกชนในยุคนั้นเคารพเลื่อมใส ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูปองค์ใหญ่โตที่ท่านสร้างจะต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้าง จึงจะทำได้สำเร็จ ฉะนั้น จึงสรุปได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่าเมื่อท่านจะทำการใดคงจะต้องมีผู้อุทิศทั้งทรัพย์และแรงงานช่วยทำการก่อสร้างปูชนียวัตถุจึงสำเร็จสมดังนามของท่านทุกประการ
[แก้] สมณศักดิ์สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ทรงโปรดปรานสมเด็จฯเป็นอย่างมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2395 ได้พระราชทานสมณศักดิ์ครั้งแรกถวายเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติ ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี ครั้งนั้นท่านยอมรับสมณศักดิ์ (โดยมีเหตุผลที่ทำให้ต้องยอมรับสมณศักดิ์) ครั้นต่อมาอีก 2 ปี คือพ.ศ. 2397 ได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ “ พระเทพกวี “ อีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามจารึกตามสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระพุฒาจารย์” เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ อนึ่งกิตติคุณ และชื่อเสียงของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ขจรกระจายไปทั่วทิศานุทิศว่า “ เจ้าประคุณสมเด็จ คือ ที่พึ่งของสัตว์โลกผู้ตกอยู่ในห้วงของความทุกข์ทั้งมวล”
[แก้] บั้นปลายชีวิต
ในราวปี พ.ศ. 2410 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ องค์หลวงพ่อโต ที่วัดอินทรวิหาร ครั้นท่านทำการก่อสร้างได้สูงถึงพระนาภี (สะดือ) ก็มีเหตุให้ไม่สำเร็จ เพราะวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สิ้นชีพิตักษัย (มรณภาพ) บนศาลาเก่าบางขุนพรหม สิริอายุคำนวณได้ 84 ปี 2 เดือน 5 วัน และมีชีวิตอยู่ในสมณเพศได้ 65 พรรษา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้า 50 ของ 430