{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 06

    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 06
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • hszp1.jpg
      hszp1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.8 KB
      เปิดดู:
      345
  2. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 07

    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 07
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ivfk1.jpg
      ivfk1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.8 KB
      เปิดดู:
      619
  3. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 08

    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 08
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lawp1.jpg
      lawp1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      324
  4. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 09

    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 09
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • nayw1.jpg
      nayw1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.6 KB
      เปิดดู:
      192
  5. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 10

    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 10
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • q9za1.jpg
      q9za1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.6 KB
      เปิดดู:
      466
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2012
  6. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร

    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร 11
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • yr6s1.jpg
      yr6s1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.4 KB
      เปิดดู:
      254
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2012
  7. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    รายละเอียดเพิ่มเติมเหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร

    รายละเอียดเพิ่มเติมเหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • s0ee3.jpg
      s0ee3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.4 KB
      เปิดดู:
      246
    • ll3s2.jpg
      ll3s2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.1 KB
      เปิดดู:
      112
    • 5kmq1.jpg
      5kmq1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59 KB
      เปิดดู:
      113
  8. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    รายละเอียดเพิ่มเติมเหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร เอาให้ครบถ้วน

    รายละเอียดเพิ่มเติมเหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร
    เอาให้ครบถ้วน จะได้ไม่เช่าพลาดครับ
    ขอบคุณ ท่านโชคชัย สำหรับข้อมูลดีๆครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • showimage1.jpg
      showimage1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.9 KB
      เปิดดู:
      337
    • showimage.jpg
      showimage.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.2 KB
      เปิดดู:
      439
    • vn042.jpg
      vn042.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.3 KB
      เปิดดู:
      206
  9. เทพชัย

    เทพชัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +36
    นำหลวงปู่มาให้ศึกษากันบ้างครับ ผิวพระคล้ายองค์ดารา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001_01-700.jpg
      001_01-700.jpg
      ขนาดไฟล์:
      228.4 KB
      เปิดดู:
      133
  10. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าหรือครับ
    คุณเทพชัย ช่วยให้ความรู้หน่อยได้ไหมครับ
    ว่าหลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นอย่างไร
    เชื่อว่าหลายคนน่าจะสนใจ
     
  11. เทพชัย

    เทพชัย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +36
    ผมยังไม่มีความรู้มากมายครับ ได้แต่นำพระที่มีอยู่ในบ้าน ไปถ่ายภาพมาให้ชมกันครับพี่
     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร เนื้อทองเหลือง

    เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร เนื้อทองเหลือง
    องค์นี้ผมเช่ามาไม่แรงครับ แท้แน่นอน
    แต่รู้สึกว่าด้านหลังจะสวยกว่าด้านหน้าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.9 KB
      เปิดดู:
      198
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51.9 KB
      เปิดดู:
      136
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.5 KB
      เปิดดู:
      163
  13. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เหรียญนั่งพานชนะมาร เนื้อทองเหลือง สวยมาก

    เหรียญนั่งพานชนะมาร เนื้อทองเหลือง สวยมาก

    องค์นี้ก็เพิ่งเช่ามาเหมือนกัน ราคาสูงกว่า แต่ก็สวยกว่าองค์แรก ยังเงาๆอยู่เลยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79.6 KB
      เปิดดู:
      370
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      221
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.9 KB
      เปิดดู:
      237
  14. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เก็บตกเกร็ดความรู้เรื่องการตัดขอบเหรียญ

    ความรู้เรื่องการตัดขอบเหรียญที่พี่ท่านหนึ่งเผยแพร่ไว้ แต่ท่านมิได้ลงชื่อ
    เห็นเป็นประโยชน์จึงขออนุญาตเผยแพร่ต่อครับ




    การดูขอบเหรียญเป็นวิธีดูตามหลักของเซียนพระรุ่นใหม่ ๆ รวมถึงเวียนพระรุ่นเก่าบางท่านนิยมกัน เพราะเป็นการดูตามหลักข้อเท็จจริง ตั้งแต่หนังสือคุณบอย ท่าพระจันทร์ออก ทำให้มีคนเข้าใจเรื่องขอบเหรียญมากยิ่งขึ้น ผมเคยนำพระเลี่ยมทองไปขายคุณบอยเขาองค์หนึ่งเก่งขนาดนั้นเขายังขอแกะดูขอบเหรียญเพื่อความชัวร์ ถ้าดูแล้วไม่ซื้อเขาก็ยินดีจ่ายค่าเสียหายให้หลายพันครับ

    ในทางกลับกัน เซียนพระบางท่านที่เก่งและแม่นในพระสายนั้น ๆ บางคนก็ไม่เข้าใจเรื่องขอบเหรียญก็มีครับ เช่นผมเคยคุยกับสายตรงที่เก่งมาก ๆ เรื่อง อ.ดู่ แต่เขาไม่รู้เรื่องขอบเหรียญเลยแม้แต่น้อย อาศัยความเชี่ยวชาญที่เห็นของมามากจำลายมือจำตำหนิได้ แต่เชื่อเถอะครับไม่มีอะไรชัวร์เท่าขอบเหรียญปั๊มตัด ยิ่งเหรียญยุคใหม่ ๆ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ เป็นต้นมาแทบจะเป็นตัวชี้ขาดที่ชัดเจนมากที่สุด

    เหรียญตีปลอกหรือขอบกระบอก เป็นเทคนิคสมัยก่อน ตัดโลหะให้ใกล้เคียงกับบล๊อคแล้วปั๊ม ขอบจึงเรียบ บางเหรียญก็จะมีขอบคม ๆ ปลิ้นมาด้านหลัง เช่นเหรียญมงคลบพิตรปี ๒๔๖๐ เหรียญยอดนิยมอย่างเหรียญขอเบ็ด ก็มีตำหนิธรรมชาติจากการปั๊มตีปลอก คือผิวเหรียญยุบตรงไหนนูนตรงไหน หน้าหลังถ้าเข้าใจก็จะหลงทางยากครับ

    เหรียญเลื่อย ก็ปั๊มออกมาเป็นองค์ ๆ แล้วใช้เลื่อยตัดให้พอดีขอบ อย่างเหรียญวัดพนัญเชิงปี ๒๔๖๐ ทีนี้เมื่อเรารู้ว่าเหรียญนี้ขอบเป็นเหรียญเลื่อย เมื่อเจอเหรียญนี้ขอบปั๊มตัด ก็ไม่ต้องไปไล่ตำหนิให้เสียเวลาเพราะเก๊แน่นอน เคยมีเหรียญเสี้ยนตองเข้ามาในสนามเซียนพระรุ่นเก่า ๆ หลายคนดูกันแล้วดูกันอีกไม่กล้าซื้อบางคนต่อราคาต่ำไว้ก่อนเพราะไม่มั่นใจ ผมเห็นเลยโทรไปถามเพื่อนที่เล่นสายนี้ เขาถามกลับมาว่าขอบเลื่อยหรือขอบปั๊ม ผมบอกขอบเลื่อย เพื่อนบอกเลยว่าคืนเขาไป เพราะเหรียญเสี้ยนตองเป็นเหรียญปั๊ม

    เรื่องขอบเหรียญจึงเป็นเบสิคที่นักเล่นพระรุ่นใหม่จำเป็นต้องรู้ไว้ครับ

    เหรียญปั๊มตัดขอบ หากจำรอยตัดได้ไม่ว่าจะด้านใดด้านหนึ่ง ก็หมดสิทธิ์โดนของเก๊แน่นอนครับ เพราะสมัยนี้เก๊ตำหนิได้ครบแต่ยังเก๊ขอบไม่ได้ ตัวอย่างเหรียญที่มีรอยปั๊มตัดขอบชัดเจนมากจนจำเป็นตำหนิได้ ก็คือเหรียญเปิดโลก อ.ดู่วัดสะแก จำขอบตัดด้านล่างก็พอครับ เก๊ยังไงก็ถอดไม่ได้

    ขอบตัดเป็นตัวยุติปัญหาเก๊แท้ สวดพระกันได้อีกต่างหาก แม้แต่ต่างประเทศในคดีสำคัญ ๆ ยังยึดถือเอารอยตัดของมีคม เป็นหลักฐานสำคัญในการชี้เป็นชี้ตายให้แก่คดีฆาตกรรมมาแล้ว เพราะรอยตัดของมีดแต่ละเล่มจะทิ้งร่อยรอยไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกันกับขอบปั๊มเหรียญจะทิ้งร่องรอยเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเช่นกันครับ

    ทำไมเซียนพระบางคนที่ไม่ถนัดในเหรียญนั้น ๆ มักจะส่องขอบแล้วพอสันนิษฐานได้ว่าเหรียญนั้นเก๊หรือแท้ ก่อนไปไล่ตำหนิอื่น ๆ หากเหรียญเก๊ที่ถอดพิมพ์มา เหรียญเก๊สมัยก่อนทุกเหรียญมักจะมีรอยปั๊มตัด ๒ รอยซ้อน ๆกันตรงขอบเหรียญ คือรอยตัดของเหรียญแท้ที่ถอดมา กับรอยตัดของใหม่ หากเหรียญที่มีรอยปั๊มตัดตรงขอบข้าง ๒ รอยไม่ว่าจะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เหรียญนั้นจะเก๊ทันที

    ยกเว้นเหรียญบางรุ่นที่ถอดแบบมาจากรุ่นแรก ๆ ก็เป็นข้อยกเว้นครับ
     
  15. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพระเครื่อง

         
    การสะสมพระเครื่อง แนวทางในการศึกษาพระเครื่อง

    ต้องถามตัวเองก่อนว่าชอบพระเครื่องอะไร เพราะว่าพระเครื่องมีอยู่หลายแบบทั้งเนื้อผง , เนื้อดิน , เหรียญ , กริ่ง , รูปหล่อ ฯลฯ รวมทั้งพระกรุ พระเก่า พระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ เลือกเก็บสิ่งที่ชอบจะทำให้มีความสุขในการสะสม
    เลือกเก็บพระที่ดูง่ายเป็นหลัก พระเครื่องอะไรก็ได้ที่ชอบไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ แต่จะต้องเป็นพระแท้ดูง่ายเท่านั้น
    อย่าโลภ เพราะว่าพระแท้ไม่มีถูก อย่าซื้อพระเครื่องที่ราคาใคร ๆ ก็อยากได้ของดีและถูก ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะมีแต่น้อยมาก
    ถ้ามีกำลังพยายามเก็บพระสวย แต่ถ้าหาไม่ได้พยายามหาพระเครื่องที่สภาพเดิมที่สุดเท่าที่จะทำได้
    การตรวจเช็คพระต้องเช็คกับคนเป็น อย่าหูเบา การเสนอขายในสนามพระเครื่องเป็นแนวทางการเช็คพระเครื่องที่ดีที่สุด
    วงการพระเครื่องทุกวันนี้มีมาตรฐานมากขึ้น ทำให้การสะสมง่ายขึ้น ศึกษาคนขายก่อนที่จะทำการเช่าบูชา ให้มีการรับประกันความแท้อย่างชัดเจน พึงระลึกว่าเงินของเราแท้ พระเครื่องที่ได้ก็ต้องแท้ด้วย
    พระเครื่อง เป็นวัตถุมงคลที่ไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ การได้พระเครื่องมาสะสมถือเป็นเรื่องมงคล ถ้าเช่าพระเครื่องแล้วมีปัญหาที่ทำให้ไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเรื่องใด ๆ อาทิ เรื่องเงิน , ทะเลาะกับครอบครัว , ไม่สบายใจ ฯลฯ อย่าเช่าโดยเด็ดขาด พึงระลึกเสมอว่าเรากำลังนำสิ่งที่ดีเป็นมงคลเข้าสู่บ้าน
    เคยมีคนถามผมว่าเก็บพระอะไรดี ราคาจะแพงขึ้นในอนาคต ผมจะตอบทุกท่านว่า ผมเชื่อว่าพระเครื่องทุกชนิดราคาจะขึ้น แต่จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ชนิดของพระ เก็บของที่ชอบและสวย ราคาขึ้นแน่ครับ
    พระเครื่องถือเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องค่อนข้างสูง การสะสมถือเป็นการลงทุนชนิดนึงครับ
         
    พระเครื่อง คืออะไร? เช่าพระเครื่อง-บูชาพระเครื่อง เป็นเรื่องงมงายหรือไม่?

             พระเครื่อง หรือ “พระพิมพ์ “ นั้นจริงๆ แล้วเกิด ขึ้นมา ประมาณ 1000 กว่าปี ร่วม 2000 ปีแล้ว พระเครื่ององค์แรกๆ นั้น จะเป็น “พระกริ่ง” หรือ พระไภสัชยคุรุ หรือ พระพุทธเจ้าหมอ นั้นเองแต่ในประเทศไทยนั้นเริ่มนิยม พระเครื่องกัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีการนำพระเครื่องมาแขวนคอ หรือห้อยคอ พกติดตัวกันแล้ว ในปัจจุบัน คนไทย นิยมพระเครื่องกันมาก และสร้างพระเครื่องกันมากเช่นกัน สำหรับผม มองว่าพระเครื่อง ไม่ใช่เรื่องงมงาย ไร้สาระ เช่าพระเครื่อง- บูชาพระเครื่อง เพราะอะไรนั้น จะได้กล่าวดังต่อไปนี้

     เราสร้างและมี(สะสม)พระเครื่อง เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดังต่อไปนี้

             1. สร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ ระลึก ในกับผู้บริจากทรัพย์ หรือ สมทบทุนฯ ในโอกาสต่าง เช่น สร้างโบถส์ สร้างวิหาร สร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็น สาธารณูปโภค ต่างๆ ช่วยเหลือผู้ประสพภัยต่างเป็นต้น ทั้งนี้และทั้งนั้น เพื่อให้ผู้บริจากฯ ได้สามารถจับต้อง และระลึก ถึง ผลบุญ ที่ทำในครั้งนั้นได้

             2. สร้างพระเครื่องเพื่อให้เป็นขวัญ และกำลังใจ ในการทำงาน ในการประกอบอาชีพที่สุจริต เช่น ตำรวจ ทหาร อาชีพที่ต้องเสี่ยงภัยต่างๆ ไม่เว้น แม้การเสี่ยงขาดทุน จากการลงทุนในธุรกิจต่างๆ

    **** จาก ทั้ง 2 ข้อ จะเห็นว่า พระเครื่องมีไว้ ยึดเหนี่ยวจิตใจ จริงๆ

             3. สร้างพระเครื่อง ไว้เพื่อสืบทอด พระพุทธศาสนา การสร้างพระเครื่องในลัษณะนี้ มีมานานมากร่วม 1000 ปี ก่อนหน้านี้แล้ว โดยการสร้างพระเครื่องจำนวนหนึ่ง(ส่วนใหญ่เป็น เลขมงคล) เช่น 84000 องค์ แล้วนำพระเครื่องหรือ พระพิมพ์ นั้นไปบรรจุไว้ ในเจดีย์ หรือ ใต้ฐานพระพุทธรูปบูชาองค์ใหญ่ หรือ ใต้หลังคาอุโบสถ แล้วปล่อยไวอย่างนั้น เมื่อระยะเวลาผ่านไป นานๆ หลายสิบปี หรือ หลายร้อยปี แล้วเกิดเหตุ ให้เจดีย์แตก (กุแตก) หรือ มีการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปบูชาองค์ใหญ่ หรือ โบสถ์เก่าชำรุดสุดโทรมเสียหาย เมื่อมีผู้คนมาพบเจอ พระเครื่อง ที่เก็บไว้นั้น อย่างน้อยๆ ก็ต้องนำไปศึกษา หาที่มาที่ไป และเห็น คุณค่า ว่าเป็นของเก่า ของโบราณ ทำให้ผู้นั้นต้องรู้พระศาสนาต่อไปอีก

             จากผล ของทั้ง 3 ข้อ นั้นทำให้ปัจจุบัน มีการ เสาะแสวงหาพระเครื่องเก่า และพระเครื่องที่มีเจตนาการสร้างที่ดี มาครอบครองกัน ทำไม!!! ต้องหามาครอบครองกันด้วย ทั้งๆ ที่พระเครื่องบางองค์ แพงมาก ราคาเช่าหาบูชาระดับ 10 ล้านบาท ในความคิดของผมสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า

             1. พระเกจิอาจารย์ ผู้สร้างพระเครื่องนั้นๆ ท่านเก่ง เป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ท่านได้มรณะภาพ(เสียชีวิต)ไป กว่า 100-600 ปี แล้ว และพระเครื่องคือส่วนหนึ่งเพื่อให้ ระลึกถึงท่าน

             2. การสร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างสิ่งก่อสร้างที่เป็น สาธารณูปโภค ต่างๆ รวมทั้งช่วยเหลือผู้ประสพภัยต่างๆ นั้น ใช่ว่าจะทำหรือเกิดขึ้นกันได้ บ่อยๆ ครับ โบสถ์ วิหาร และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในแต่ละวัดแต่ละที่ ใช่ว่าจะพังทรุดโทรมกัน ง่ายๆ อย่างน้อยๆ ก็กินเวลา 80-200 ปี กันเลยที่เดียว

             3. ถ้ารักชอบ พระเกจิอาจารย์ ท่านใด ก็เก็บของที่ท่านสร้างไว้เป็นที่ระลึก เมื่อท่านมรณะภาพ ไปแล้ว ของที่ระลึกนั้นๆ ก็เป็นตัวแทนท่าน (จะไม่ยอมให้ซื้อ-ขาย หรือเช่าบูชา กันในราคาถูกๆ เป็นแน่ ) หากหายหรือไม่มีแล้ว ก็เหมือนลืมท่าน (เป็นลูกศิษย์ ซะเปล่า! สมบัติชิ้น้ล็กๆ ที่พระอาจารย์ให้ไว้ยังรักษาไม่ได้ ว่างั้น!!!!)

             สรุปก็คือ พระเครื่องมีไว้เพื่อความ ความสบายใจ เพื่อระลึกถึงสิ่งดีๆ ของตนที่ได้กระทำไว้ นั้นเอง ไม่เห็นว่าการ เช่าพระเครื่อง หรือ บูชาพระเครื่อง จะเป็นเรื่องงมงาย หรือ ไร้สาระเลย


    กรรมวิธีและวัตถุดิบในการสร้างพระ

             กรรมวิธีการสร้างพระ สามารถจำแนกตามลักษณะของวัตถุดิบในการจัดสร้างเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทพระเครื่อง และ ประเภทเครื่องราง

    ประเภทพระเครื่อง ได้แบ่งการสร้างพระเครื่องออกเป็น

             1. การสร้างพระเนื้อดิน

             2. การสร้างพระเนื้อชิน

             3. การสร้างพระเนื้อผง

             4. การสร้างพระเนื้อโลหะ ประเภทพระหล่อ พระปั้ม พระฉีด

             5. การสร้างพระเนื้อว่าน

             6. การสร้างพระจากวัสดุอื่นๆ

    1. การสร้างพระเนื้อดิน

             พระเนื้อดิน นับเป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด โดยการนำดินอันเป็นวัสดุหาง่าย คงทน มาสร้างสรรค์ปฏิมากรรมได้สะดวก นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความเชื่อ นับถือ ยกย่อง ดินประดุจเทพเจ้าที่ทรงคุณเอนกอนันต์ ในนามของ “แม่พระธรณี” ซึ่งดินที่นำมาสร้างพระล้วนเป็นดินที่นำมาจากศาสนสถานสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่เป็นมงคล ในการนำดินมาสร้างพระทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีแม่พระธรณี เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้สถิตรักษาทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีอภินิหารให้มีต่อพระเครื่องและเครื่องรางที่สร้าง นอกเหนือจากส่วนผสมอื่นๆ ที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าดีและให้คุณ ที่จะส่งเสริมความเป็นมงคลแก่พระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้าง ความพิถีพิถันในการเสาะหาและเตรียมวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญมากประการหนึ่งที่ผู้สร้างวัตถุมงคลต่างๆ ให้ความสำคัญและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาช้านาน ด้วยเชื่อว่าพระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้างขึ้นนี้ต้องมีความดีนอกและดีใน ดีในหมายถึงวัตถุดิบที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของดีมีมงคล ดีนอกหมายถึงต้องผ่านการปลุกเสกอย่างดี ผ่านพิธีกรรมที่ถูกต้องและเข้มขลัง โดยพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคุณสูง รวมถึงผู้ทำพิธีอันจะก่อเกิดความเข้มขลังให้กับพระเครื่องและเครื่องรางที่ผ่านขั้นตอนที่สำคัญนี้แล้ว

             ดังนั้น เป็นความเชื่อถือที่ยึดมั่นกันมาแต่ครั้งโบราณว่า “พระเครื่องและเครื่องรางของขลังที่ดีจริง ต้องดีนอก ดีใน คือ วัตถุที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของงดี ผู้สร้างต้องดีพร้อม และผ่านพิธีกรรมที่ดี” จากจุดนี้เราจึงเข้าใจว่าเหตุใด พระเครื่องและเครื่องรางของขลังจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ พระทุกประเภททุกเนื้อเครื่องรางทุกชนิด ล้วนเห็นข้อพึงปฏิบัติในการสร้างวัตถุมงคลนี้ โดยมีกฎเหล็กที่พึงต้องกระทำอย่างเคร่งครัด

             เมื่อได้วัตถุดิบที่ต้องประสงค์แล้ว ก็จะนำวัตถุดิบต่างๆมาผสมคลุกเคล้ากัน โดยมีดินเป็นมวลสารหลัก ในการยึดประสานมวลสารต่างๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้น จึงนำส่วนผสมไปกดลงในแม่พิมพ์ที่แกะเค้าโครงรูปร่างของพระเครื่องที่ต้องการ เมื่อนำพระที่กดลงในแม่พิมพ์ออกจากพิมพ์แล้ว จึงนำพระมาเรียง แล้วผ่านกรรมวิธีทำให้แห้ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

             1.1 พระที่ผ่านการเผา นับเป็นการสลายความชื้นและคงรูปวัตถุ ทำให้เกิดมวลสารของพระเครื่องเป็นแบบดินสุก หรือดินสีหม้อใหม่ เช่นเดียวกับการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ หากแต่ในสมัยโบราณ การเผาพระไม่มีเครื่องมือในการตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนให้คงที่และสม่ำเสมอ จึงทำให้พระที่ผ่านการเผาออกมา มีสีต่างๆกัน ตามระดับอุณหภูมิความร้อนสูงหรือต่ำที่ได้รับ

             นอกจากนี้จากการค้นคว้าศึกษายังพบว่า พระเครื่องที่ผ่านการเผายังมี 2 ลักษณะคือ พระที่ผ่านการเผาเป็นเวลานานในอุณหภูมิความร้อนที่สูง กับพระที่ผ่านการเผาพอประมาณ ใช้เวลาในการเผาไหม้ไม่นานนัก หรืออาจจะเรียกว่า ผ่านการอบให้แห้ง โดยมวลสารคายความชื้นออก เพื่อความยึดติดเข้ารูป เป็นเหตุให้พระออกมามีหลายสี แต่คงไว้ซึ่งมวลสารส่วนผสมปรากฎเห็นชัดเจนกว่าพระที่ผ่านการเผาครบขบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีผลให้มวลสารบางชนิดถูกเผาไหม้ไป ซึ่งตัวอย่างของพระที่ผ่านการเผาทั้ง 2 ลักษณะ มีดังนี้

    พระที่ผ่านการเผาจนครบขั้นตอน ได้แก่ พระรอด พระนางพญา พระกรุทุ่งเศรษฐี พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นต้น

    พระที่ผ่านการอบให้แห้ง ได้แก่ พระผงสุพรรณ พระซุ้มกอดำ เป็นต้น

             1.2 พระที่ผ่านการตากแดดให้แห้ง พระประเภทนี้เราเรียกว่า “พระดินดิบ” ซึ่งหมายถึง มวลสารถูกแยกน้ำออก ด้วยวิธีการตากแดดให้แห้ง ความแข็งแกร่งคงทนจะน้อยกว่าพระที่ผ่านการเผา ดินจะสามารถละลายตัวหากนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ พระเนื้อดินดิบ ได้แก่ พระเครื่องศิลปะศรีวิชัยที่พบทางใต้ เช่น พระเม็ดกระดุม เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังพบว่าในพระเนื้อดินมวลสารหรือเนื้อของดินได้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

                      ก. ประเภทเนื้อละเอียด หมายถึง ก่อนที่จะนำดินมาผสมกับมวลสารอื่นๆ ดินที่นำมาสร้างพระนั้นได้ผ่านการร่อนกรองจนละเอียดแล้ว พระที่สร้างออกมาจึงมีความนวลเนียนของพื้นผิว เช่น พระกำแพงกลีบบัว พระกำแพงซุ้มยอ พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นต้น

                      ข. ประเภทเนื้อหยาบ หมายถึง ดินที่นำมาสร้างพระ ได้ผ่านการร่อนกรองมาแล้วแต่ไม่มากจนได้เนื้อดินละเอียด ยังคงปรากฏมีเม็ดแร่ กรวด ทราย ปะปนอยู่ด้วย มองเห็นชัดเจน เช่น พระชุดขุนแผนบ้านกร่าง เป็นต้น

    2. การสร้างพระเนื้อชิน

             พระเนื้อชินถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่งที่เกิดจากการผสมผสานของแร่หลัก 2 ชนิด คือ ดีบุก กับตะกั่ว เกิดเป็นโลหะเจือชนิดใหม่ที่เรียกว่า “เนื้อชิน” หากเรามองลึกลงไปถึงคุณสมบัติของธาตุหลักทั้ง 2 ชนิด คือ

             ดีบุก เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดประเภทหนึ่งในประเทศไทย สามารถแยกหาดีบุกออกจากสิ่งปะปนได้อย่างง่ายๆด้วยวิธีแรงโน้มถ่วง โดยการร่อนแร่ ซึ่งกระทำได้ไม่ยุ่งยาก หากต้องการ ดีบุกที่บริสุทธิ์มากขึ้น ก็สามารถนำไปย่างเพื่อขจัดซัลไฟด์ หรือธาตุที่แผงอยู่ในดีบุก

             ดีบุก เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 231.9 องศา แปรรูปง่าย เกิดโลหะเจือกับโลหะได้หลายชนิด ทำให้คุณสมบัติของโลหะใหม่มีอานุภาพป้องกันการผุกร่อนได้ นอกจากนี้ยังนำไฟฟ้าต่ำ

             ตะกั่ว  เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั่งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์รู้จักนำตะกั่วมาใช้ทำประโยชน์ตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาล รวมวิธีการถลุง ตะกั่วไม่ยุ่งยาก เพียงผ่านขบวนการเผา

             ตะกั่ว เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 327 องศา มีน้ำหนัก นับเป็นโลหะอ่อนมีแรงตึง หรือ แรงรองรับต่ำ โลหะตะกั่วจึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ แต่ความอ่อนตัวของตะกั่วมีประโยชน์ที่ทำให้โลหะผสมสามารถแปรรูปได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะทำให้เป็นแผ่นบางๆ หรือนำโลหะผสมให้สามารถแทรกซอนไปตามความลึกของแม่พิมพ์ ก่อให้เกิดลวดลายงดงามตามจินตนาการของช่างได้ นอกจากนี้ ยังนำไฟฟ้าต่ำ

             จากคุณสมบัติของธาตุทั้งสองชนิดดังกล่าว เราจะพบว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมในการนำมาหลอมรวมกันเป็นโลหะใหม่ ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำทั้งคู่ สามารถกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้ มีความอ่อนนิ่มที่สามารถจับรายละเอียดแม้เพียงบางเบาเล็กน้อยของแม่พิมพ์ได้ แม้รูปทรงจะมีความบางเรียบแบน ก็สามารถขึ้นรูปได้ ทั้งทนทานต่อความผุกร่อน และมีความนำไฟฟ้าต่ำ ทำให้ปลอดภัยเมื่อนำพกติดตัว

             เนื้อชิน  จึงนับเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติพิเศษ ลงตัว เหมาะสมที่จะนำมาสร้างพระเครื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยอันชาญฉลาดและลึกล้ำในการสร้างพระเนื้อชิน เพื่อสืบทอดพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ ในรูปแบบของพระเครื่องตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง พระเนื้อชินมี 3 ประเภทคือ

                      2.1 พระเนื้อชินเงิน คือพระที่มีส่วนผสมของดีบุกมาก พระที่พบจะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ เช่น พระหูยาน ลพบุรี พระนาคปรก วัดปืน เป็นต้น

                      2.2 พระเนื้อชินสนิมแดง  คือพระที่มีส่วนผสมของตะกั่วมาก พระที่พบจะมีลักษณะคล้ายพระชินเงิน แต่มีไขสนิมแซม ตามซอกพระ เช่น พระมเหศวร พระสุพรรณหลังผาน พระลีลากำแพงขาว เป็นต้น

                      2.3 พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ถือเป้นพระเครื่องประเภทเนื้อชิน ที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดถึง 90% พระที่พบจึงมีสีแดงของสนิมตะกั่วจับอยู่ในเนื้อพระเป็นสีแดง ที่เรียกว่า “แดงลูกหว้า” ตัวอย่างเช่น พระร่วงหลังลายผ้า-พระร่วงหลังรางปืน พระท่ากระดาน และพระร่วงพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

             กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมแร่ธาตุสำคัญดังที่กล่าวข้างต้น ข้อสำคัญคือมีการแกะแม่พิมพ์ให้งดงาม อลังการ ตามจินตนาการของช่าง พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง เพราะแม้ว่า พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำมิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำการได้

             พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นที่ครองใจผู้คนมานานนับแต่โบราณความยึดถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึกในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พระเนื้อชิน ถือเป็น  “อมตพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล”

    3. การสร้างพระเนื้อผง

             ถือเป็นขบวนการหนึ่งในศาสตร์ศิลปแขนงวิชาการปั้นปูน ซึ่งมวลสารในการปั้นมีส่วนผสมของปูนเป็นหลักใหญ่ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี และเป็นวิทยาการที่ศิลปินกรีก-โรมันกับอินเดียดึกดำบรรพ์ได้ใช้ปั้นพระพุทธรูปก่อนที่มีการนำกรรมวิธีนี้มาใช้ในการสร้างพระเครื่อง

             พระเครื่องเนื้อผง ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ พระกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย รองลงมาคือ พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สร้างโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 หรือที่รู้จักกันในนาม พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ส.2360

             สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เคารพเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระขององค์พระอาจารย์องค์นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด ดังนั้นขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างพระเนื้อผงในลำดับต่อๆมา จึงได้ยึดเอาขั้นตอนกรรมวิธี การจัดเตรียม การสร้าง และการปลุกเสก ตามอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นปัจจัยหลักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

                      3.1 การจัดเตรียมวัสดุ เป็นที่ทราบกันดีว่ามวลสารหลักในพระเนื้อผงก็คือ ผงปูนขาว ซึ่งโบราณจะใช้เปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วบดให้ละเอียด เรียกว่า “ผงปูนเปลือกหอย” ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกัน

             เมื่อได้มวลสารหลัก ก็จัดเตรียมผงที่เป็นมงคลต่างๆ อาทิเช่น ว่านดอกไม้ แร่ทรายเงิน ทรายทอง วัสดุศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลทั้งหลายที่เห็นสมควรนำมาเป็นส่วนผสมนำมาบดเป็นผง เป็นต้น

             สิ่งที่ช่วยประสานเนื้อผง และทัพสัมภาระทั้งหลาย ให้เกาะติดเป็นเนื้อเดียวกันในสมัยโบราณจะใช้กล้วยน้ำ และน้ำมันตังอิ๊ว (กล้วยน้ำเป็นคำโบราณ = กล้วยน้ำว้า , น้ำมันตังอิ๊วเป็นยางไม้ชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดความเหนี่ยว)

             จากสูตรการสร้างพระเนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้าง “สูตรนิยม” หรือ “สูตรครู” ในการสร้างพระเนื้อผงต่อๆมา) และในมวลสารของพระเครื่องที่สมเด็จโตสร้าง ท่านให้ความสำคัญกับธาตุแท้แห่งคุณวิเศษ คือ ผงวิเศษ 5 ประการ อันประกอบด้วย ผงปถมัง อิธเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นชื่อของผงแต่ละชนิดแล้วนำมารวมผสมคลุกเคล้ากัน หากแต่เป็นผงชุดเดียวกันที่ผ่านกรรมวิธีซับซ้อนถึง 5 ขั้นตอนในการสร้าง โดยเริ่มต้นที่การสร้างผงปถมังก่อน แล้วเอาผงปถมังนั้นมาทำเป็นผงอิธะเจ แล้วสร้างต่อเนื่องจากผงเดิมจนครบกระบวนการทั้ง 5 อันนับเป็นภูมิปัญญาและสมบัติล้ำค่าต่อมวลมนุษยชาติสืบมา ได้รับรู้ ศึกษากรรมวิธี และนำเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง

    ขั้นตอนการทำผงวิเศษ 5 ประการ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

             1) การสักการะบูรพาจารย์ นับเป็นประเพณีในการศึกษษพุทธาคมมาแต่ครั้งโบราณ ที่ผู้ศึกษาจะต้องทำพิธีสักการบูรพาจารย์ก่อนกระทำการใดๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และรับการประสิทธิ์ประสาทวิทยาคม โดยผู้ทำพิธีต้องทำตนให้สะอาด เป็นฆราวาสให้นุ่งขาวห่มขาว ทำจิตใจให้ผ่องใส และรับสมาทานเบญจศีลเสียก่อน เป็นพระภิกษุให้ทำสมาธิจนจิตนิ่งสงบ ผ่องใส แล้วตั้งเครื่องสักการะ

    บูชาครูอาจารย์ อันประกอบไปด้วย

             ดอกไม้ 9 สี ธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม บายศรีปากชาม ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำไทย (กล้วยน้ำว้า) ผลไม้ 9 สิ่ง หัวหมู เป็ด ไก่ ปลาช่อนนิ่งทั้งตัวไม่ขอดเกล็ด ถั่วคั่ว งาคั่ว ข้าวตอก นม เนย ขันล้างหน้า ผ้าขาว ผ้าแดง เงินค่าบำรุงครู 6 บาท

             จากนั้นให้บูชาพระรัตนตรัย แล้วร่ายโองการ (บทสวดบูชาคุณพระรัตนตรัย ต่อด้วยบทอัญเชิญทวยเทพ บทอัญเชิญครู โองการสรรเสริญครู โองการชุมนุมครู) เมื่อเสร็จพิธีคำนับครู ก็เริ่มเข้าสู่การเรียกสูตรต่างๆ

             2.) การเรียกสูตร คือ การฝึกหัดเขียน อักขระ เลข ยันต์ นานาประเภท อันประกอบด้วย การบริกรรมสูตรพระคาถาต่างๆ ตามจังหวะของการเขียนอักระเลขยันต์นั้นๆด้วย “ดินสอผงวิเศษ”

    “ดินสอผงวิเศษ” สร้างจากส่วนผสมของเครื่องเคราต่างๆอันประกอบด้วย

    -ดินโป่ง 7 โป่ง (ดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรัง มีพบอยู่ตามป่าทั่วไป ในที่นี้ให้นำดินโป่ง 7 แห่ง)

    -ดินตีนท่า 7 ตีนท่า (ดินจากท่าน้ำ 7 แห่ง)

    -ดินหลักเมือง 7 หลักเมือง (ดินจากหลักเมือง 7 เมือง)

    -ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ

    -ดอกกาหลง

    -ยอดสวาท

    -ยอดรักซ้อน

    -ขี้ไคลเสมา (คราบไคลดินบนแผ่นเสมาที่แสดงขอบเขตของโบสถ์)

    -ขี้ไคลประตูวัง

    -ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก (คราบไคลดินจากเสาหลักคู่ สำหรับล่ามช้างเผือก)

    -ราชพฤกษ์ (ไม้ต้นราชพฤกษ์ตากแห้งป่นเป็นผง)

    -ชัยพฤกษ์

    -พลูร่วมใจ (ต้นพลูที่ใช้กินกับหมาก ขึ้นเป็นดง เป็นกอ บางครั้งจึงเรียกว่า “พลูร่วมใจ” เพราะจะขึ้นพร้อมๆกัน ไม่ใช้ที่ขึ้นแยกต้น แยกกอ)

    -พลูสองหาง (ในบรรดาใบพลู จะมีบางต้นที่น้อยมาก ปรากฏปลายใบแยกเป็น 2 แฉก)

    -กระแจะตะนาว (ชื่อต้นไม้ขนาดเล็ก ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้นมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ท่อนไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องประทินผิว)

    น้ำมันเจ็ดรส (น้ำมันที่ได้จากของ 7 ประเภท จะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ ยิ่งหายากยิ่งดี

    -ดินสอพอง

    เอาส่วนผสมทั้งหมดมา ผสมกันแล้วบดให้ละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ

                    เมื่อได้ดินสอผงวิเศษ ซึ่งต้องเตรียมการไว้แล้ว ก็จะเข้าสู่การทำกรรมวิธีสร้างผงวิเศษ ที่จะต้องกระทำในพระอุโบสถ โดยเตรียมเครื่องสักการะ เช่นเดียวกับการคำนับครู โดยตั้งของต่างๆไว้เบื้องหน้าพระประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระ ยกถาดบรรจุสิ่งของเหล่านั้นขึ้น แล้วกล่าวคาถาอัญเชิญครู ประกาศอัญเชิญเทพยดา ทำประสะน้ำมนต์(ชำระล้างตัวให้สะอาดแล้วเอาน้ำมนต์ราดชำระให้ทั่วร่างกาย) พรหมตัว เรียกอักขระเข้าตัว(การเรียก หรือสวดมหาพุทธมนต์ต่างๆให้มาสถิต ประสิทธิ์กับตัวเอง)และอัญเชิญครูเข้าตัว

    วิวัฒนาการของการจำแนกพิมพ์

    ยุคที่ 1 ยุคโบราณจากบันทึกของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดย์

    กล่าวไว้ว่า “พระพิมพ์ที่พบในพระราชอาณาจักรสยาม อาจแบ่งออกได้เป็นหลายหมวดด้วยกัน ตามที่สืบสวนได้จากพระราชพงศาวดารสยามดังนี้”

    หมวดที่ 1 แบบพระปฐม

                    ราวๆ พ.ศ. 950-1250

    หมวดที่ 2 แบบถ้ำแหลมมลายู

                    ราวๆ พ.ศ. 1450-1550

    หมวดที่ 3 แบบขอม

                    จะสมัยเดียวกันกับถ้ำมลายูหรือใหม่กว่าสักเล็กน้อย

    หมวดที่ 4 แบบสุโขทัย

                    ราวๆ พ.ศ. 1750-1950 โดยมากเป็นพระพุทธรูปเดินหรือที่เรียกกันว่า พระลีลา

    หมวดที่ 5 แบบอยุธยา

                    หลัง 1950 เป็นแบบที่ทำขึ้นใหม่ ตามธรรมดามักเป็นรูปพระพุทธเจ้ามีท่าตามปางต่างๆ อยู่ภายในซุ้มเล็กๆชนิดหนึ่งเรียกกันว่า “เรือนแก้ว”

    หมวดที่ 6 พระเครื่องต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 6 แบบ

                    พระพิมพ์แบบพระปฐม แบ่งได้เป็น 2 ชนิด พิจารณาตามสมัยทั้ง 2 ชนิดนี้เก่ามากเป็นฝีมือช่างช่าวอินเดียวในรัชสมัยพระเจ้าคุปตะ (ราว พ.ศ. 900-1200) ซึ่งพบมากในถ้ำ

                    พระพิมพ์แบบถ้ำแหลมมลายู เป็นพระพิมพ์ต่างๆที่พบได้เป็นจำนวนมากตามถ้ำทั้งหลายในแหลมมลายู พระพิมพ์เหล่านี้เป็นดินดิบหรือดินเหนียวสุก

                    พระพิมพ์ของแหลมมลายูบางชนิดลักษณะเหมือนกับรูปสลักที่สร้างขึ้นในเมืองระหว่างอินเดียกับชวา เพราะอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองปาเลบังในเกาะสุมาตรานั้น เมื่อ พ.ศ.1150-1750 ได้แผ่อาณาเขตไปถึงฝั่งบนแหลมมลายูและทางทิศเหนือจนถึงเมืองไชยา รูปพระโพธิสัตว์อันสวยงามซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้พบที่เมืองไชยานั้นเป็นฝีมือช่างอันวิจิตรของอาณาจักรศรีวิชัย และพระพิมพ์แบบที่ 2 นี้ จัดว่าเป็นฝีมืออย่างดีที่สุดของอาณาจักรนั้นเป็นส่วนมากเหมือนกัน

                    พระพิมพ์แบบขอม เครื่องแต่งกายและรูปพรรณมีลักษณะ คล้ายกับรูปสลักของขอมโบราณมักพบเห็นกันมากตัวอย่างเช่น พระพิมพ์ในสมัยลพบุรี ผู้ที่ได้เห็นรูปสลักโบราณ หรือจารึกของขอมแล้ว ย่อมจะทราบได้ดีทีเดียวว่า พระพิมพ์นี้มีรูปสลัก 3 องค์ประกอบกัน คือ พระพุทธเจ้าประทับนั่งบนนาค 1 องค์ เทวดาสี่หน้า 1 องค์ สตรี 1 องค์ พระเครื่องศิลปลพบุรีนี้จะพบได้ตามจารึกในพุทธศาสนาของขอมโบราณเป็นส่วนมาก

                    พระพิมพ์แบบสุโขทัย  โดยมากเป็นพระปางลีลา ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่พิมพ์เท่านั้น แม้พระพุทธรูปหล่อ และรูปแกะสลักอื่นๆ ก็เป็นพระสีลาเช่นกัน

                    ความนิยมของช่างไทยในการทำรูปของพระพุทธเจ้าปางลีลา หรือเดินนั้น เห็นจะไม่ใช่เหตุบังเอิญ คือในช่วงปี 1750-1850 อาณาจักรไทยเป็นชาติที่กำลังขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง โดยได้ปราบปรามประเทศที่อยู่ในดินแดนระหว่างอินเดียกับจีนตอนกลางให้อยู่ในอำนาจเป็นประเทศราช ในสมัยสุโขทัยไทยได้ขับไล่พวกขอมออกไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งได้นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในประเทศเหล่านั้น เช่นเดียวกับไทยที่เชียงแสนและเชียงราย ก็ได้ขับไล่พวกมอญออกไปจากลุ่มแม่น้ำปิง อาณาจักรสุโขทัยรัชสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช และผู้สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระองค์ได้สร้างพระพุทธรูปลีลาขึ้นเป็นจำนวนมากมายเกินที่จะนับ เช่นเดียวกับพระเจ้ามังรายมหาราชซึ่งมีชัยชนะพระเจ้ามอญที่เมืองลำพูนแล้ว และสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น ก็ได้ทรงหล่อรูปพระลีลาขึ้นมากเช่นกัน

                    พระพิมพ์ต่อจากสมัยอยุธยาลงมานั้น คือพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นภายหลัง พ.ศ.1950 พระพิมพ์รุ่นนี้ นับว่ามีคุณค่าไม่น้อยกว่าพระพิมพ์รุ่นก่อนๆ เนื่องจากเป็นของที่มีคุณค่าทางวิชาช่างเป็นอย่างมาก พุทธลักษณะเป็นพระทรงเครื่องอยู่ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งหมายถึงองค์พระพุทธเจ้าตามปางต่างๆ คือ นั่งบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง นอนบ้าง โดยมากมักจะทำด้วยดิน ลงรักปิดทอง

                    พระพิมพ์ขนาดเล็ก  ยังมีพระพิมพ์อีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในประเภทพระเครื่องสมัยของพระพิมพ์ชนิดนี้เป็นการยากที่จะกำหนดให้แน่นอนลงได้

     

    ยุคที่ 2 ยุคเก่า เป็นช่วงเวลาต่อจากยุคโบราณที่เริ่มมีการแบ่งกลุ่มประเภทพระ จากประสบการณ์ในกรรมวิธีสร้างพระเครื่อง

                    ทำให้สามารถแยกพระเครื่องหรือพระพิมพ์ออกไปได้หลายลักษณะด้วยกัน ซึ่งสามารถสรุปการจำแนกเป็น 2 แนวทางด้วยกันคือ

                    1. การจำแนกตามประเภทวิธีช่าง ซึ่งสามารถพิจารณาได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

    1.1 แบ่งจากลักษณะการสร้าง จำแนกออกไปได้เป็น 3 ประเภท

                    พระพิมพ์แบบอัด

                    พระพิมพ์แบบหล่อ

                    พระพิมพ์แบบปั๊ม

    1.2 แบ่งจากลักษณะความหนาของส่วนโค้งนูน

                    ปฏิมากรรมแบบแบนนูนสูง

                    ปฏิมากรรมแบบแบนกึ่งนูนสูง

                    ปฏิมากรรมแบบแบนนูนต่ำ

    1.3 แบ่งลักษณะเนื้อวัสดุ จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

                    พระพิมพ์เนื้ออโลหะ

                    พระพิมพ์เนื้อโลหะ              

                    2. การจำแนกตามประเภทคุณวิเศษ สามารถพิจารณาได้ 2 ลักษณะคือ

    2.1 ประเภทคุณวิเศษโดยทั่วไป จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ

                    พระเครื่องฯ ประเภทมหานิยม

                    พระเครื่องฯ ประเภทมหาอุตม์

                    พระเครื่องฯ ประเภทนิรันตราย

    2.2 ประเภทคุณวิเศษทางเนื้อวัตถุ แบ่งตามลักษณะวัสดุที่สร้าง เป็น 3 กลุ่มคือ

                    พระเครื่องฯ เนื้อโลหะ

                    พระเครื่องฯ เนื้อดินเผา

                    พระเครื่องฯ เนื้อปูนปั้น

     

    ยุคที่ 3 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การจำแนกพระในช่วงแรกของยุคหลัง ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา

                    ยังคงเน้นในทางคุณวิเศษทางพุทธคุณ ที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้างถึงวิถีแนวทางของนักเล่นพระ หรือ นักเลงพระรุ่นนี้ ซึ่งจำแนกพระออกเป็น พระดีทางคงพระพัน พระดีทางนิรันตราย พระดีทางเมตตามหานิยม พระดีทางแคล้วคลาด ฯลฯ จนเกิดเป็นพุทธาคมที่เด่นของพระเครื่องมากมายสืบทอดมาจนทุกวันนี้โดยไม่สนใจในองค์ประกอบอื่นใดเลยในการจำแนก

     

    ยุคที่ 4 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

                    การสะสมพระได้ขยายตัวขึ้นมาก และเริ่มมีผู้รู้ผู้ชำนาญการเขียนตำราการศึกษษพระเครื่องขึ้นมา จึงทำให้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง อาจารย์ตรี ยัยปวาย เป็นผู้มีส่วนสำคัญท่านหนึ่งซึ่งทำให้เกิดแนวคิดนี้ขึ้น

                    อาจารย์ตรี ยัมปวาย เป็นนักสะสมพระรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีกลุ่มนักสะสมด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งล้วนเป็นปรมาจารย์ของวงการพระในปัจจุบันทั้งสิ้น และท่านยังเป็นผู้กำหนดการจัดกลุ่มพระชุดเบญจภาคีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยพิจารณาจากคุณค่า รูปทรง ขนาดของพระเครื่องที่จะจัดขึ้นสร้อยไว้คล้องคอ เพื่อให้ดูสวยงามและเหมาะสม ทั้งค่านิยม ความเก่าและคุณวิเศษ

                จากจุดเริ่มที่มีการจัดพระชุดเบญจภาคีนี้เอง ก็เริ่มมีการจำแนกประเภทพระในหมู่นักสะสมยุคนั้น ตามวัตถุดิบที่นำมาจัดสร้างพระ ดังนี้

                    1.พระชุดเบญจภาคี

                    2.พระชุดเนื้อดิน

                    3.พระชุดเนื้อชิน

                    4.พระชุดเนื้อผง

                    5.พระชุดเนื้อโลหะ

                    6.พระปิดตา

                    7.พระประเภทเหรียญ

                    8.เครื่องรางของขลัง

                    จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาก็ได้มีการจำแนกพระเครื่องเพิ่มเติมและชัดเจนขึ้น โดยเติมพระกริ่งและรูปหล่อขึ้น หลังจากนั้นก็มีการเพิ่ม พระชุดหลวงปู่ทวดเข้ามา

                    ยุคปัจจุบันการจำแนกพระออกเป็นหมวดหมู่ยังคงใช้แนวตามเดิม เพียงแต่เพิ่มรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างข้างต้น

                    1.พระชุดเบญจภาคี

                    2.พระชุดเนื้อดิน

                                    -พระเนื้อดินยอดนิยม

                                    -พระเนื้อดินทั่วไป

                    3.พระชุดเนื้อชิน

                                    -พระเนื้อชินชุดยอดขุนพล

                                    -พระเนื้อชินทั่วไป

                    จะเห็นได้ว่าจำแนกพระมีความละเอียดชัดเจนมากขึ้น เข้าใจง่ายมากขึ้น

    ความหมายพระพิมพ์

             พระพิมพ์ เป็นคำที่ใช้เรียกซึ่งมีความหมายในทางโบราณคดี บ่งบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของพระพุทธ ปฏิมากรรม ที่สร้างขึ้นมาด้วยการนำเอาเนื้อวัสดุที่เตรียมไว้มากดประทับลงในแม่พิมพ์ หรือถ้าเป็นเนื้อโลหะซึ่งหลอมละลายแล้ว ก็นำมาเทหล่อเข้าไปในแม่พิมพ์ สำหรับแม่พิมพ์จะมีลักษณะแกะลึกลงไปในกรอบหิน หรือวัตถุอื่นๆ

             พระเครื่อง เป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่า “พระศักรพุทธปฏิมา” ซึ่งเป็นนามที่ใช้เรียกในทางอิทธิฤทธิ์กฤตยาคม มิใช่การกำหนดความหมายในทางโบราณคดีโดยความเป็นจริงแล้ว “พระพิมพ์” หรือ “พระเครื่อง” ก็คือสิ่งเดียวกัน จากหลักฐานสำคัญ เช่น จารึกบนแผ่น

             จารึกลานทองของกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี และแผ่นจารึกลานเงินของกรุพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น ได้แสดงให้ทราบถึงพุทธาคม กรรมวิธีในการสร้างพระเครื่อง ซึ่งเป็นมรดกตกทอดสืบสานมาถึงทุกวันนี้ จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าพระพิมพ์ทั้งหลายได้ผ่านกรรมวิธีบรรจุพุทธคุณวิทยาคาถา และพุทธปรมาภิเษกสำเร็จเป็น พระศักรพุทธปฏิมาอันวิเศษแล้ว

             ความจริงแล้วคำว่า “พระเครื่อง” เป็นคำใหม่ที่พึ่งประยุกต์ใช้กันมาไม่นาน เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวที่พระองค์ทรงสั่งเครื่องจักรเพื่อมาผลิตเหรียญที่ระลึก เหรียญกษาปณ์ และเหรียญพระคณาจารย์โบราณในยุคนั้น ผู้ที่ได้รับพระจึงเรียกกันตามความเข้าใจที่ง่ายและเหมาะสมในยุคนั้นว่า “พระเครื่อง” (หมายถึงพระที่ทำมาจากเครื่องจักร) ซึ่งนำไปสู่การเรียกพระขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ทั้งหมดทุกประเภทว่า “พระเครื่อง” จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

             หากแต่จารึกในแผ่น ลานเงิน ลานทอง ต่างๆ ยังคงใช้คำว่า “พระพิมพ์” และมีความหมายตรงกันคือการจำลองสิ่งเคารพอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา เพื่อสามารถนำมาสักการะเป็นการส่วนบุคคลแล้ว ดังนั้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเรียกว่า “พระพิมพ์” หรือ “พระเครื่อง” ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจตรงกัน ทั้งรูปสมบัติ คุณสมบัติ และสรรพคุณ

    เรื่องราวของพระพิมพ์นี้มีมาเป็นเวลายาวนาน นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วกว่า 100 ปี และมีวิวัฒนาการมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน


    From Zoonphra
     
  16. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ข้อมูลสำหรับผู้นิยมสะสมพระเหรียญ

    สำหรับคนชอบเล่นเหรียญ

              คนที่เล่นเหรียญหรือสะสมเหรียญ มักจะบอกว่า “ เหรียญ…เล่นง่ายกว่าพระเครื่องอย่างอื่นๆ ” เพราะมีการจดจำพิมพ์หรือตำหนิต่างๆ ในรายละเอียดได้ง่ายและแม่นยำกว่านั่นเอง แล้วก็ยังสามารถเก็บรักษาดูแลได้ง่ายกว่าพระเครื่องเนื้ออื่นๆ ด้วยซ้ำไป แต่ปัจจุบันในมุมมองส่วนตัวของผมเอง กลับคิดว่าเหรียญกำลังเป็น “ดาบสองคม” เนื่องจากวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยล้ำยุค และต้องยอมก้มหน้าเพื่อยอมรับกันแต่โดยดีๆ ว่าตามไม่ทันกันแล้วจริงๆ ครับ ขนาดคนใกล้ๆ เทคโนโลยียังบ่นอุบ…แล้วคนที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับมันล่ะครับ เขาเหล่านั้นจะเป็นยังไงบ้าง

               เหรียญที่ทำปลอม แบ่งเป็น 3 แบบคือ

                          1. เหรียญที่ปลอมโดยการปั๊ม

                          2. เหรียญที่ปลอมโดยการหล่อ

                          3. เหรียญที่ปลอมโดยการฉีด

                เวลาที่เล่นเหรียญนั้น คนเล่นต้องพยายามศึกษาประวัติที่มาที่ไปของเหรียญให้ดี ใครเป็นผู้สร้าง สร้างปีไหน มีกี่รุ่น มีกี่พิมพ์ มีเสริมหรือเปล่า ข้อมูลเหล่านี้อาจจะนำมาใช้เป็นพื้นฐานประกอบในการพิจารณาได้บ้างไม่มากก็น้อย เพราะก็จะยังดีกว่าไม่ทราบอะไรมาบ้างเลยก็แล้วกันครับ ต่อไปนี้จะขอแจกแจงเรื่องของ “เหรียญ” ที่ทำให้วงการมักจะมีปัญหาในการเล่นบ่อยๆ ดังต่อไปนี้

    ประเภทที่ 1 เหรียญปลอม

             1.1 เหรียญปลอมเลียนแบบของจริง เป็นเหรียญที่ทำขึ้นมาใหม่เป็นจำนวนมากจนลายตา มีให้เห็นกันทั่วไปมากกว่าของจริงเสียอีก แต่ยังไงๆ ก็ไม่เหมือนของจริง มันยังห่างจากของจริงมากนักครับ เหรียญแบบนี้ยังไม่ค่อยน่ากลัวสำหรับนักเล่นพระหรอก แต่คนที่มีความโลภบดบังสายตาอยู่ บางทีอาจจะมองไม่เห็นว่ามันเก๊นะครับ

             1.2 เหรียญปลอมเหมือนของจริง เป็นเหรียญที่ผู้ทำมีเจตนาทำให้เหมือนของจริงให้มากที่สุด เท่าที่อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ตลอดจนลอกกรรมวิธีการต่างๆ ทุกขั้นตอน และใช้วิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยอย่างเต็มที่ แบบนี้พอทำออกมาแล้วนักเล่นอาจจะดูไม่ออกว่าเป็นเหรียญแท้หรือเหรียญปลอมกันแน่ เพราะเป็นฝีมือการสร้างสรรค์ที่สุดยอดระดับเซียนโดยแท้ มีการทำกันเป็นขบวนการเลยทีเดียว บางครั้งมีการนำตัวอย่างมาลองตานักเล่นและคนในวงการ เพื่อตรวจสอบถึงระดับความเหมือนหรือใกล้เคียงกันว่าพอจะใช้ได้หรือยัง เหรียญแบบนี้แหละที่ทำให้วงการมีปัญหาอยู่มาจนถึงทุกวันนี้เลยครับ

    ประเภทที่ 2 เหรียญที่ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. เก่า

            คือเป็นเหรียญแท้ๆ แต่สร้างขึ้นในลักษณะที่เป็นเหรียญตาย หมายถึงถูกจัดสร้างขึ้นภายหลังจากที่พระเกจิอาจารย์ในเหรียญนั้นท่านได้มรณภาพลงไปแล้วนั่นเอง อาจจะเป็นศิษย์หรือคณะกรรมการจัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานศพหรืองานอื่นๆ หลังจากงานศพไปแล้ว บางเหรียญก็ไม่ได้บอกปี พ.ศ. หรือรายละเอียดของการจัดสร้างเอาไว้ด้วย เหรียญแบบนี้เป็นเหรียญที่วงการไม่ค่อยยอมรับหรือเล่นกันแพร่หลายได้เท่าที่ควร นักเล่นหลายท่านเพียงเห็นว่าเป็นเหรียญแท้ และมีปี พ.ศ. เก่าดี ลึกดี อะไรทำนองนั้น จึงเช่าหรือบูชากันได้ และบางครั้งก็เช่าแพงมากจริงๆ เพราะไม่รู้มาก่อนนั่นเอง ต่อมาพอศึกษาหรือทราบข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง และรู้ว่าเป็น “เหรียญตาย” ที่วงการเขาไม่นิยมเล่นกัน ลมแทบใส่ก็มีอยู่หลายรายนะครับ ท่านเคยโนกันบ้างไหมกับกรณีเหรียญที่มีปัญหาเช่นนี้

    ประเภทที่ 3 เหรียญที่สร้างขึ้นมาในยุคหลัง แต่ย้อน ปี พ.ศ.

    เหรียญแบบนี้สร้างขึ้นมาใหม่จริงๆ แต่มีการลง พ.ศ. กำกับในพิมพ์ไว้เลย เรียกว่าดูผ่านๆ เผลอๆ แล้วจะตกหลุมพรางเอาง่ายๆ ถ้าใจร้อนเกินไปนะครับ คือจะเป็นการจงใจในการสร้างขึ้นมาหรือเปล่าก็มิอาจจะเดาได้ หรือจะเป็นเรื่องของการตลาดที่จะทำให้เกิดผลต่อราคาของเหรียญนั้นก็มิอาจล่วงรู้ได้เลยจริงๆ นักเล่นมือใหม่ๆ อาจจะสับสนในเรื่องของ ปี พ.ศ. ได้ แต่หากศึกษาถึงเบื้องลึกในเนื้อโลหะมาบ้าง รับรองว่าโดนยากครับ คือจะพบว่าเหรียญย้อน พ.ศ. นั้นไม่เก่าจริงๆ ทั้งที่เป็นเหรียญแท้ๆ ก็ตาม แต่บางท่านก็ดูเป็นของปลอมไปเลยก็มีนะครับ ดังนั้นหากคิดจะสร้างเหรียญขึ้นมาแล้ว ผมว่าก็พิมพ์ ปี พ.ศ. ที่จัดสร้างขึ้นมาซะเลยก็หมดเรื่องครับ วันหน้าวันหลังจะได้ไม่ต้องสับสนกับปีที่เห็น

    ประเภทที่ 4 เหรียญที่มีแม่พิมพ์ตั้งแต่ 2 พิมพ์ หรือ 2 บล๊อกขึ้นไป

        จริงๆ เป็นเหรียญแท้ๆ เก่าเดิมๆ ประมาณนั้นแหละครับ แต่ถูกสร้างหรือจัดทำขึ้นมาพร้อมๆ กัน ออกในรุ่นเดียวกัน ปีเดียวกัน หรือพิธีเดียวกันด้วยซ้ำไป การที่มีพิมพ์ของเหรียญมากกว่า 1 บล๊อกนั้น ถ้านักเล่นพระเกิดไม่ทราบประวัติและข้อมูลบางอย่างที่ชัดเจนจริงๆ แล้ว อาจจะเกิดปัญหาในการเช่าบูชาหรือปล่อยออกไปได้แน่นอน เพราะวงการมักจะแบ่งเรื่องพิมพ์เรื่องบล็อกกันออกไปอีกขั้น แถมยังมีการเล่นที่ราคาแตกต่างกันไปด้วย หากไม่ทราบเกิดเช่าหากันผิดราคาก็ยุ่งอีก ไอ้ที่เช่าถูกได้ของแพงคงจะดีใจกันไป แต่คนที่เช่าแพงแต่ได้บล็อกถูกๆ นี่สิ ปัญหาใหญ่จริงๆ คิดว่ามีหลายท่านที่โดนแบบนี้มาบ้างแล้วนะครับ ลองคิดย้อนกลับไปดูแล้วกรุณาลองยกตัวอย่างขึ้นมาให้ทราบกันเป็นความรู้ก็จะดีไม่น้อยเลยครับผม ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เราเคยเห็นเหรียญนี้ หรือเคยเช่า หรืออ่านเจอในหนังสือพระเครื่องอะไรสักอย่างก็ได้ ซึ่งอาจจะสรปุเองเออเองคนเดียวว่าแท้และดีต้องเก็บหรือบุกไปออกตัวต่อไปได้ แต่สุดท้ายดันไปเก็บเอาเหรียญที่เขาไม่นิยมกันก็จบเห่เท่านั้นเองครับ บางทีอาจจะเป็นของดีของแท้อยู่แบบเดียว แต่พอเห็นอีกบล็อกซี่งก็แท้และดีเช่นกัน แต่ดันคิดไปแล้วว่าเป็นของปลอมก็ได้นะครับ เพราะไม่เหมือนกับที่เห็นมาก่อน แต่ความจริงคือไม่ทราบประวัติการจัดสร้างที่ชัดเจนของเหรียญรุ่นนั้นมากกว่านั่นเอง ถึงบอกว่า “เหรียญ” แท้ๆ ไม่ได้เล่นกันง่ายๆ นะครับท่าน

    ประเภทที่ 5 เหรียญที่สร้างเป็นการเสริมขึ้นมาภายหลัง

    เหรียญแบบนี้ ในความคิดส่วนตัวแล้วผมว่าน่ากลัวที่สุดนะครับท่าน เรียกว่า “เซียนขยาด” กันทั้งวงการเลยทีเดียว จะไม่ให้น่ากลัวได้ยังไงกัน เพราะส่องกล้องดูกี่ทีกี่ครั้งก็ยังดูไม่ออกเลยว่าเป็นเหรียญแท้สร้างในพิธีหรือเหรียญเสริมสร้างขึ้นในภายหลังกันแน่ครับ จะดูเรื่องตำหนิ เหรียญแบบนี้ก็มีครบจริงๆ จะดูเรื่องใบหน้า หน้าก็ดันเหมือนอีกนะ หรือจะดูตัวหนังสือก็ต้องตอบว่า “ใช่” อีกแหละครับ พอพลิกเหรียญดู “ขอบข้าง” บ้าง ก็ถูกต้องเสียอีกนี่กระไร คือว่าไม่รู้จะไปหาข้อผิดพลาดตรงส่วนไหนมาพิจารณากันดีนะ เขาใช้แม่พิมพ์เดิมๆ มาปั๊มเหรียญขึ้นมาใหม่ แล้วแบบนี้จะเป็นเหรียญปลอมได้ที่ไหนล่ะครับ ชักจะงงกันใหญ่แล้วนะเนี่ย เพียงแต่ว่าเหรียญเสริมนั้น “ไม่ได้ผ่านพิธี” มาเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงแยกกันไม่ออกว่าเหรียญไหนผ่านหรือไม่ผ่านพิธีมาก่อน แล้วก็ที่จะมาสาธยายกันต่อเรื่องเป็นของปลอมนั้นก็ให้ตัดทิ้งประเด็นนั้นไปได้เลยทันทีครับ ใครจะไปทดสอบโดยการ “ลองของ” อะไรก็ตามใจนะครับ แต่ผมไม่เอาด้วยคนหนึ่งละกัน ถามหลายท่านเรื่อง “เหรียญเสริม” ว่าจะระวังยังไงกันดี เรื่องนี้ตอบยากจริงๆ ครับผม ใครที่มีข้อแนะนำในการแยกแยะหรือพิจารณาของเสริมนี้ช่วยอธิบายแทนผมด้วยนะครับ ในบางกรณีหากมีการใช้แม่พิมพ์เดิมๆ มาปั๊มสร้างเหรียญขึ้นใหม่ บางคนบอกว่าให้ดูที่ “ขี้กลาก” บนเหรียญนะครับ คือมี “ขี้กลาก” ก็อย่าเล่นเป็นดีที่สุด แต่ผมว่าไม่แน่เสมอไปนะครับ เพราะเหรียญบางรุ่น เห็นว่าต้องมี “ขี้กลาก” เขาถึงเล่นกันเสียอีก ผมเลยยิ่งงงกันไปใหญ่

             ถึงตรงนี้ในฐานะที่ผมได้มีการสะสม “เหรียญ” พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน 2485 อยู่ด้วยจึงต้องขอบอกให้ทุกท่านก็ควรจะต้องศึกษาและพิจารณากันให้ดีๆ ก่อนเช่นกันนะครับ เพราะเท่าที่ทราบมีของปลอมมานานแล้วเสียด้วยนะ เดี๋ยวจะหาว่า “ไม่หล่อ” แล้วไม่เตือนกันครับผม

    ข้อคิดสำหรับคนเล่นพระ

           แต่ละท่านที่สะสมพระเครื่องนั้นมีความชอบชนิดของพระเครื่องแตกต่างกันออกไป เช่น พระกรุ พระเกจิอาจารย์ หรือแยกเป็น เนื้อดิน ชิน ผง ว่าน เป็นต้น ในความนิยมย่อมต้องมีพระประเภทเหรียญอยู่แน่นอน อาจแยกออกได้เป็นเหรียญหล่อ เหรียญปั๊ม เป็นต้น

           การสร้างพระเครื่องให้อยู่ในรูปของเหรียญปั๊มนั้นมีข้อดีหลายประการ คือ ความสวยงามคมชัด หรือความคงทนของเหรียญเนื่องจากเป็นโลหะ ประการสำคัญคือใช้งบประมาณในการสร้างไม่มากนักเมื่อเทียบกับเนื้องาน ดังนั้นเหรียญจึงมีอยู่ในความนิยมของนักสะสมและผู้สนใจมาโดยตลอด

            นักสะสมที่ชื่นชอบการสะสมเหรียญทั้งคณาจารย์และพระพุทธ ต่างก็มีวิธีการศึกษาจดจำ พิสูจน์ความแท้-ปลอมของเหรียญต่างกันออกไป เช่น การจำตำหนิบนเหรียญ ดูการตัดขอบเหรียญ หรือดูความเป็นธรรมชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนต้องอาศัยความช่างสังเกต จดจำ สะสมข้อมูลเป็นเวลาพอสมควร อาจกล่าวง่ายๆว่าต้องใช้ประสบการณ์

            วิธีการจำแนกความแท้-ปลอม ของเหรียญที่ดีวิธีหนึ่งก็คือ การทำความเข้าใจธรรมชาติของเหรียญ ในที่มีที่นี้จะเล่าถึงวิธีการสร้างเหรียญทั้งแท้และปลอม ทั้งสองแบบมีวิธีการต่างกันอยู่และเป็นที่มาของการสังเกตแยกแยะ หากข้อเขียนนี้มีประโยชน์ใดๆอยู่บ้างก็ขอยกความดีให้กับผู้มีพระคุณของผมทุกท่าน ส่วนมีข้อผิดพลาดประการใดนั้นผมขอน้อมรับไว้ด้วยความเต็มใจ และเป็นเกียรติอย่างยิ่งหากมีผู้เสริมเติมส่วนที่ขาด หรือแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด

           การสร้างเหรียญปั๊มในปัจจุบันนี้จำแนกออกตามวิธีการสร้างคือ เหรียญตัวตัด เหรียญตีปลอก และเหรียญข้างเลื่อย ทั้งสามแบบจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวต่างกันออกไป เนื่องจากวิธีการทำต่างกัน ซึ่งจะเล่าคร่าวๆดังนี้

           เหรียญตัวตัด ถือว่าเป็นวิธีการที่นิยมกันมากเนื่องจากสะดวก ง่าย และไม่เปลืองอุปกรณ์และเวลา ซึ่งเหรียญที่สร้างหลังปี 2500 มา จะเป็นแบบนี้ ที่เรียกว่าเหรียญตัวตัดนั้นเกิดจากในขั้นตอนการปั๊มต้องมีการใช้พิมพ์ตัดเพื่อตัดเหรียญที่ปั๊มออกมาแล้วให้มีขนาดตามที่ต้องการ โดยก่อนที่จะปั๊มนั้นต้องตัดโลหะที่จะปั๊มเป็นเหรียญให้มีขาดใหญ่กว่าเหรียญก่อน เมื่อปั๊มออกมาได้รายละเอียดตามแม่พิมพ์แล้ว ก็ต้องนำไปตัดให้ได้ขนาดแล้วค่อยนำไปเจาะหูเหรียญต่อไป

           เหรียญตีปลอกนั้นโดยมากพบในเหรียญยุคเก่า วิธีการปั๊มนั้นต้องมี ปลอก ซึ่งทำจากโลหะที่มีรูปร่างตามรูปเหรียญที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นรูปไข่ เสมา หรือเหรียญกลม ปลอกที่ว่านี้จะสวมอยู่กับเครื่องปั๊มมีหน้าที่คอยบังคับไม่ให้เนื้อโลหะเกินออกไปจากรูปเหรียญ ดังนั้นเมื่อปั๊มเสร็จแล้วก็ไม่ต้องนำไปตัดอีก เพราะออกมาเป็นรูปที่ต้องการเลย ซึ่งเหรียญเก่าๆที่ใช้การเชื่อมหูเหรียญนั้นจะพบว่าทำด้วยวิธีนี้ แต่เหรียญหูในตัวที่ใช้การตีปลอกก็ยังพบได้ เช่น เหรียญพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง เหรียญหลักของทางใต้เหรียญหนึ่งชึ่งเป็นรูปไข่หูในตัว

           เหรียญข้างเลื่อยนั้นวิธีการเหมือนกับเหรียญตัวตัดทุกประการต่างกันที่เมื่อปั๊มออกมาแล้วก็ใช้แรงคนเลี่อยปีกเกินของเหรียญออกให้ได้รูป จะพบในเหรียญเก่าๆ เช่น หลวงพ่อคง วัดศรัทธาราษฎร์ ราชบุรี เป็นต้น

          ทั้งสามแบบที่เล่ามานั้นมีธรรมชาติในตัวแตกต่างกันออกไป เหรียญตัวตัดนั้นแน่นอนว่าต้องมีรอยตัดอยู่ที่ข้างเหรียญ เป็นรอยที่เกิดจากโลหะตัดโลหะซึ่งจะเหมือนกันทุกเหรียญที่ตัดจากตัวตัดเดียวกัน ส่วนเหรียญตีปลอกโดยมากจะพบรอยปลิ้นของเนื้อโลหะบริเวณขอบเหรียญ ข้างเหรียญ เกิดจากปลอกที่สวมบังคับไว้มีการเขยื้อนตามแรงปั๊มของเครื่องจักร สุดท้ายเหรียญข้างเลื่อยที่จะมีรอยเลื่อยอยู่ที่ขอบเหรียญ สังเกตได้ว่าต่างจากการตัดด้วยตัวตัด เพราะการใช้คนเลื่อยนั้นย่อมไม่สม่ำเสมอเหมือนใช้เครื่อง นอกจากนี้แล้วยังมีการสร้างแบบปลีกย่อยอีก เช่น ตัดด้วยตัวตัดแล้วมาใช้เครื่องเจียรให้ขอบเหรียญเรียบ (พระธาตุพนมช่วยไทย) หรือ ตัดแล้วมาตะไบซ้ำ(25 พุทธศตวรรษ พิมพ์เสมา) เป็นต้น

          ต่อไปจะขอเล่าถึงการทำเหรียญปั๊มแท้ว่าทำอย่างไร เพราะวิธีการสร้างนั้นจะเป็นที่มาของการแยกแยะความแท้-ปลอม

          ก่อนจะเริ่มปั๊มเหรียญแท้นั้น ต้องมีการแกะพิมพ์โดยใช้ช่างแกะพิมพ์ที่มีความชำนาญ แกะตามแบบที่ตกลงกับทางวัดหรือผู้สั่งทำว่าจะให้มีรายละเอียดอะไรบ้าง มีตัวหนังสือบอกอะไร รูปร่างเหรียญเป็นแบบใด การแกะแบบจะทำบนท่อนเหล็กปาดหน้าเรียบ เมื่อแกะเสร็จแล้วก็จะมีการชุบท่อนเหล็กดังกล่าวให้แข็ง เพื่อนำไปทำเป็นบล๊อก ซึ่งจะต้องมีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อได้บล๊อกออกมาแล้วก็นำไปติดตั้งบนเครื่องปั๊ม เพื่อทำการปั๊มเหรียญออกมา หากเป็นชนิดเหรียญตัวตัดก็ต้องมีการทำพิมพ์ตัดให้มีรูปร่างตามที่ต้องการไว้ หากเป็นแบบตีปลอกก็ต้องสร้างปลอกให้มีขนาดเท่ากับรูปร่างที่ต้องการแล้วนำไปสวมบังคับไว้กับเครื่องปั๊ม ส่วนเหรียญข้างเลื่อยจะไม่มีขั้นตอนพวกนี้ เมื่อปั๊มได้จำนวนเหรียญตามต้องการแล้ว ก็นำไปตัด เจาะหู รมดำ หรือลงกะไหล่ต่อไป

           จุดสำคัญของเหรียญแท้นั้นอยู่ที่บล๊อกและตัวตัด บล๊อกที่ทำจากเหล็กกล้าชุบแข็งจะมีความแข็งมากกว่าโลหะที่นำมาใช้เป็นเนื้อเหรียญ เครื่องปั๊มจะปั๊มได้เต็มกำลังทำให้เกิดความตึงแน่นบนเนื้อเหรียญ รายละเอียดคมชัด และที่เรียกกันว่าผิวไฟที่เกิดจากการกระแทกอย่างแรงระหว่างโลหะต่อโลหะ เกิดเสี้ยนสาดกระจายออกรอบๆผิวเหรียญ ตัวตัดแต่ละตัวจะมีรอยตัดที่ไม่ซ้ำกันและเป็นสิ่งที่ถอดพิมพ์ไม่ได้ เราจะเห็นว่าหลายๆเหรียญพิสูจน์ความแท้-ปลอม โดยการดูที่ตัวตัด เช่น เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ หลวงปู่ทวด ปี 08 หรือ เหรียญพุฒซ้อน หลวงปู่ทวด ปี 09 เป็นต้น

           เหรียญปลอมจะเริ่มต้นด้วยการถอดพิมพ์ โดยนำเหรียญต้นแบบที่มีความคมชัด ไม่มีรอยกลากหรือกาบโลหะ มาถอดพิมพ์ด้วยยางซิลิโคลน ทั้งด้านหน้าและหลัง ยางซิลิโคลนจะเก็บรายละเอียดทุกอย่างบนเหรียญแท้ไว้ แล้วจึงนำยางซิลิโคลนดังกล่าวไปเหวี่ยงขึ้นรูปเป็นบล๊อกแม่พิมพ์ ซึ่งจะทำด้วยทองเหลือง เมื่อได้บล๊อกมาแล้วก็จะดำเนินการตามวิธีการสร้างเหรียญแท้ทุกประการ ถ้าเหรียญต้นแบบใช้ตัวตัดก็จะทำตัวตัดขึ้นมา ดังนี้แล้วความเชื่อที่ว่าขอบเหรียญปลอมต้องมีรอยตะไบ เพราะเหรียญปลอมไม่ได้ใช้ตัวตัดตัดออกมานั้น ควรต้องปรับเสียใหม่ เพราะเหรียญปลอมยุคนี้ใช้วิธีการเดียวกันทุกประการ แม้กระทั่งเจาะหูเหรียญก็ใช้เครื่องเจาะเช่นกัน จุดที่ควรจะดูควรเป็นรอยตัดของตัวตัดมากกว่าว่าเป็นตัวตัดแท้หรือไม่ อาจใช้การจดจำจุดที่เป็นรอยเด่นๆ หรือให้ง่ายเข้าก็ควรมีเหรียญที่แท้แน่นอนไว้เทียบรอยตัด วิธีนี้แน่นอนมาก

            จุดสำคัญของเหรียญปลอมนั้นอยู่ที่บล๊อกที่ทำจากทองเหลืองนั้นมีความแข็งไม่เท่ากับเหล็กกล้า ทำให้การปั๊มทำได้ไม่เต็มกำลังเครื่องปั๊ม หากว่าให้แรงเครื่องจักรเต็มที่แล้วก็จะทำให้บล๊อกแตกเสียหาย ผู้ทำปลอมต้องใช้วิธีการปั๊มซ้ำๆกันหลายๆครั้งจนกว่ารายละเอียดของเหรียญจะปรากฎตามต้องการ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความคมชัดของเหรียญปลอมจะสู้เหรียญแท้ไม่ได้ แต่การจะสังเกตออกได้ต้องมีประสบการณ์ดังที่กล่าวไปตอนต้น หรือ นำมาเทียบกันดู และรอยตัดของตัวตัดจะไม่เหมือนกันกับเหรียญแท้

            การได้เห็นเหรียญบ่อยๆไม่ว่าแท้หรือปลอมจะทำให้แยกแยะได้ดีขึ้น และควรจะดูผสมกันไปทั้ง ตำหนิ ตัวตัด ธรรมชาติความคมชัด หากไปเน้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วอาจทำให้ผิดพลาดได้ เช่น เหรียญหลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว รุ่นแรก ที่มีรอยจารตรงด้านหลัง เข้าใจกันว่าปลอมยาก หรือจารไม่เหมือนก็ดูได้ สำหรับหรียญนี้ที่เป็นบล๊อกฆ่าเซียนนั้นถอดติดแม้กระทั่งรอยจารบนเหรียญ ถ้าจำเพียงลายมือจารอย่างเดียวรับรองได้ว่าเรียบร้อย

    มีอะไรที่เหรียญปลอมถอดไม่ติดหรือไม่?

           มีแน่นอน แต่ผู้ที่รู้ชำนาญก็มักจะหวงแหนไม่ยอมถ่ายทอดให้ใคร เนื่องจากเป็นเคล็ดลับส่วนตัว แต่ละท่านจะมีจุดตาย หรือตำหนิที่ดูต่างกัน แต่สุดท้ายก็ต้องมาดูธรรมชาติของเหรียญอยู่ดี บางท่านั้นประสบการณ์สูง เห็นเหรียญมามาก ก็จะทำให้ดูได้รวดเร็ว แม่นยำ

    จำเป็นหรือไม่ที่เหรียญปลอมต้องบวม?

           ไม่จำเป็นเลย ส่วนใหญ่ที่พบว่าบวมจะเป็นเหรียญปลอมสมัยเก่าที่วิธีการปั๊มไม่ดีนัก อุปกรณ์ไม่ทันสมัย ปั๊มได้ไม่ดีนักก็จะบวม แต่เหรียญปลอมรุ่นใหม่ๆนั้นไม่บวมแล้ว เว้นแต่ว่าเหรียญแม่แบบจะบวม ซึ่งก็มีเหรียญแท้บางรุ่นที่บวม เช่น เหรียญหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ปี 91 ซึ่งเล่นหากันในราคาสูงพอควรแม้จะเป็นเหรียญตายก็ตาม เหรียญนี้ก็บวมด้านหน้าทั้งที่เป็นเหรียญแท้ เป็นต้น

          สำหรับเราๆท่านๆที่สะสมนั้นจะทำอย่างไรให้รอดปลอดภัยจากเหรียญปลอม ผมได้ข้อสรุปจากประสบการณ์ และปัญญาอันน้อยนิดของตัวเองว่าอย่างแรกที่ต้องทำคือ ทำใจ อาจจะฟังดูท้อถอยแต่เป็นเรื่องจริง เล่นใหม่ๆหัดดูใหม่ๆ ต้องโดนของปลอมบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา แต่โดนแล้วศึกษา เรียนรู้ ให้ผิดเป็นครู ก็จะดีขึ้นๆ ส่วนใครที่เล่นมาไม่เคยโดนเลย(โดยเฉพาะเหรียญ) ก็ถือเป็นบุญวาสนาของท่านอย่างยิ่ง ผมมีวิธีการง่ายๆเสนอ

           1. ศึกษาประวัติความเป็นมาของการสร้างเหรียญให้ชัดเจน ว่าสร้างจำนวนเท่าใด มีเนื้ออะไรบ้าง มีโค้ดใดๆหรือไม่ ถ้าจะให้ดีควรรู้ว่าสร้างด้วยวิธีใด ตัวตัด ตีปลอก หรือ เลื่อย เล่านี้อาจใช้วิธีสอบถามเอาจากผู้รู้ที่รู้จริง และมีความเต็มใจที่จะให้ข้อมูล

          2. ศึกษาเหรียญจากรูปภาพ โดยดูจากสื่อต่างๆหรือไปซื้อรูปถ่ายมาเองจากร้านถ่ายรูปพระ เช่นที่ท่าพระจันทร์ก็มีขาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญแท้ (วิธีนี้ผมชอบเพราะผมไม่ค่อยมีเงินเช่าเหรียญ) ส่วนการดูรูปจากสื่อต่างๆก็ควรเลือกที่เชื่อถือได้

          3. เช่าเพื่อศึกษาและใช้เทียบ คือเราไปเช่าเหรียญมาจากผู้ที่รู้จริง ไว้ใจได้ เพื่อมาดูว่าเหรียญนี้มีตำหนิ มีธรรมชาติอย่างไร และเวลาจะเช่าเหรียญที่เป็นรุ่นเดียวกันก็สามารถเอาไว้ใช้เทียบได้ ไม่ต้องอายที่ควักเหรียญของเรามาส่องเทียบ เพราะเซียนใหญ่ มีชื่อเสียงแล้วเขาก็ทำกัน เพื่อความปลอดภัย

          4. อย่าโลภ ของดี ราคาถูกนั้นไม่มีสำหรับคนที่ยังไม่ชำนาญ หรือมีก็น้อยมาก (เช่าถูกหวังฟลุกนั้นคนที่ ฟลุกจริงๆ คือคนที่เอาพระมาให้ท่านเช่าครับ อยู่ดีๆ มีคนเอาเงินมาให้) และอย่าเช่าทั้งๆที่ไม่แน่ใจแต่บางท่านชอบเสี่ยงและมีกำลังเสี่ยงก็ไม่ห้ามกันครับ สุดท้ายคือ สะสม เช่าหา ด้วยสติและควรมีที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ และทำตัวเป็นนักเรียนอยู่เสมอ

          เรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังเรื่องนี้อาจจะยาวไปสักนิดนะครับ แต่ก็เรียบเรียงมาจากความทรงจำของผมเอง และจากประสบการณ์อันน้อยนิดอีกทั้งอัตคัตขาดรูปประกอบจึงขออภัยไว้ด้วยครับ ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่านครับ

    วิธีการดูพระเครื่องประเภทรูปเหมือน

    รูปเหมือนปั้ม

          การดูพระรูปเหมือนปั๊มให้ใช้หลักการดูเหรียญปั๊มได้เลย เพราะพระหล่อปั๊มคือ พระโลหะปั๊มเป็นรูปองค์เท่านั้น ถ้าปั๊มแบนเป็นแผ่นก็คือเหรียญปั๊มนั่นเอง เช่น รูปเหมือนปั้มหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นก้นระฆัง

    รูปเหมือนฉีด

          การดูพระรูปเหมือนฉีดให้ดูพิมพ์รวมเป็นหลัก พระทุกองค์จะต้องรูปร่าง เท่ากันทุกองค์ 100% แต่ไม่คมชัดเหมือนพระปั๊ม บริเวณก้นองค์จะมีรอยตะไบบริเวณรอยฉีดโลหะเข้าทุกองค์ เช่น พระหล่อใบโพธิ์ เจ้าคุณนรฯ ปี 13

    รูปเหมือนหล่อโบราณ มี 2 ชนิด คือ

          เบ้าทุบ ไม่มีรอยตะเข็บข้าง แต่จะมีรอยตะไบเดือยที่ก้นทุกองค์ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม

          เบ้าประกบ มีรอยตะเข็บซ้าย-ขวาข้างองค์พระทุกองค์ ก้นจะมีรอยเนื้อเทไม่เต็ม เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา

    จุดสังเกตสำคัญ

           พิมพ์หรือรูปร่างโดยรวมของพระรูปหล่อจะต้องเหมือนกัน รูปหล่อที่มีโค๊ด โค๊ดจะต้องคมชัดเพราะใช้ตอกด้วยโลหะ รอยปั๊มหรือรอยตะไบ ถ้าเป็นพระที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรที่จะไม่มีความคมและไปในทางเดียวกันไม่สับสน

    วิธีการดูพระเครื่องประเภทเหรียญ

           หลาย ๆ คนบอกว่าพระเครื่องประเภทเหรียญปัจจุบันนี้ เล่นยากมาก เพราะทำเก๊ได้เหมือนของแท้เหลือเกิน โดยเฉพาะเก๊คอมพิวเตอร์ แต่ในความคิดของผม ผมว่าเหรียญทุกชนิดจะดูง่ายขึ้น ถ้าเรามีหลักการในการดูดังนี้

          เมื่อพบเหรียญใด ๆ ให้ดูด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมหรือไม่ ถ้าบวมหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์เอง เช่น เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนร ฯ

          เมื่อเหรียญไม่บวมก็ให้ดูตำหนิเทียบกับหนังสือพระเครื่องทั่ว ๆ ไปได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้าเหรียญผิดพิมพ์หรือไม่มีตำหนิ ก็คือ เก๊แน่นอน จากแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2 กรณีคือ

     1.แท้

     2.เก๊คอมพิวเตอร์

        การแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้องดูตำหนิแล้ว ให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจากเหรียญแท้เสมอ หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่

    จุดพิจารณาร่วมในการดูเหรียญ

            อายุของโลหะต้องมีความเก่าตามอายุการสร้างของเหรียญ เช่น เหรียญ พ.ศ. 2460 ทองแดงไม่เก่าก็คือ เก๊นั่นเอง กระไหล่หรือรมดำ ต้องเก่าตามอายุเหรียญ

           เหรียญสึก ควรสึกเฉพาะส่วนที่นูนของเหรียญเท่านั้น ส่วนลึกสุดของเหรียญต้องคมชัด และดูได้ว่าเป็นเหรียญปั๊ม

    การดูรอยตัดปั๊มขอบเหรียญ ถ้าไม่มีหรือเป็นรอยตะไบถือว่าไม่ใช่เหรียญปั๊ม ยกเว้นเหรียญปั้มบังคับปลอก(บังคับขอบเหรียญ) เช่นเหรียญ ลพ.เดิม ปี 2482 ขอบจะเรียบครับ หรือเหรียญที่ตะไบขอบเช่นเหรียญ ลพ.คง วัดบางกระพ้อม บล็อกขอบตะไบ ครับ แต่เหรียญพิเศษแบบนี้จะมีไม่มากครับ แต่ถ้ามีรอยตัดปั๊มอาจเก๊คอมพิวเตอร์ก็ได้

           เหรียญห่วงเชื่อม รอยเชื่อมเงินต้องมีความเก่า

           ไม่ควรเช่าเหรียญที่เลี่ยมพลาสติกไว้เพราะดูลำบากอาจหลอกตาได้ ยกเว้น เหรียญดูง่าย

    From Zoonphra
     
  17. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ข้อมูล กล้องส่องพระ อาวุธคู่กายนักสะสม

    ตามลิ้งค์ไปนะครับ
    มีข้อมูลดีๆสำหรับท่านที่สนใจศึกษาเรื่องกล้องส่องพระครับ
     
  18. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    บทความ "ชั้นเชิงเซียน"

    ไปอ่านเจอ เห็นว่าน่าสนใจดี เลยก๊อบมาอีกทีครับ ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนครับ


    นักเลงพระรุ่นเก่าแนะนำว่า
    1. ให้นำพระท่านส่งเข้าประกวด (งานใหญ่ ซัก 2-3 งาน)ถ้ากรรมการเขารับพระท่านประกวดก็สบายใจได้ว่าแท้ระดับหนึ่ง

    2. แกะกรอบทองออกแล้วใส่กรอบสเตนเลท ให้เด็กคนไว้ใจได้ ไปสนามพระ ทำทีร้อนเงินจะปล่อยถ้าเซียนแผงใหญ่ถามเช่าก็สบายใจได้ แต่ทั้งนี้ราคาออกตัวต้องให้เขามีความหวังบ้างนะครับอย่าให้จับไต๋ได้ว่าแห่

    3. ให้เซียนดู ถ้า 7 คนบอกแท้ 3 คนตีเก๊ ให้เก็บพระไว้ก่อน


    ระวังอย่าเช่าพระ...
    1. อย่าเช่าตอนกลางคืน เพราะเงาแสงจะหลอกตา
    2. อย่าเช่าพระเลี่ยมกรอบไว้ เซียนพลาดมาแล้วโดยเฉพาะเหรียญ และเนื้อดิน
    3. อย่าแลกพระกับเซียนถ้าไม่รู้จริง เพราะเซียนจะมีพระชุดหนึ่งไว้แลก ที่แขวนคอก็ไว้แลก ไม่มีใครเขาเอาพระหลักมาแลกกันหรอกครับเขาอุบไว้
    4. เวลานำพระมาโชว์เซียน ถ้าเซียนรู้ว่าพระนั้นดีเขาจะไม่ตื่นตูม ทักบอกเราแต่จะเงียบทำทีสนใจองค์อื่น บางทีเขาจะเช่าพระเก๊เราทั้งๆที่รู้ หรือยอมเสียเปรียบนำพระราคาสูงกว่ามาแลกกับพระที่ไม่มีราคาของเรา ให้เราดีใจเล่น แต่จริงๆเขาจะเล็งหมายตาพระอีกองค์ของเราเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจเรานั่นเอง


    สิ่งสำคัญ.....
    1. อย่าบ้าพระให้มากนักถึงขนาดมีเงินเท่าไหร่เช่าพระหมดทุกรุ่น บางท่านนำฝังดินไว้ นอนละเมอเห็นก้อนดินนึกว่าพระ เห็นมุ้งก็จินตนาการเป็นสมเด็จ ฯ
    2. อย่าจับพระมาถูเหงื่อ ให้จับขอบพระ เจ้าของจะหวง แสดงว่าเราไม่อนุรักษ์
    3. อย่า ไถหรือหลอกพระเขาฟรีๆ หรือเช่าพระที่ลักมาบาปครับ...เจริญพร
    4. ดูเซียนให้ออกว่าใครของจริง
    พิสูจน์โดยนำพระแท้ๆจากคนที่เรายืมได้หรือพระของผู้ที่วงการยอมรับเชื่อถือมาเกะใส่กรอบพลาสติก ปนมากับพระเก๊ ให้เขาดูฟังเขาวิจารณ์แล้วถ้าเขาสวดเก๊ก็ถามว่า จุดไหนที่เก๊ ยื่นพระให้ไม่กล้าเช่าต้องรอถามพวก บางเซียนปลอมตอบเข้าป่าเข้าดงวางฟอร์ม
    ..มีเยอะครับพระตัวเองแท้เท่านั้น พอเขาถามว่าที่เก๊นะตรงไหนก็ตอบเขาไม่ได้หรือดันโกรธเขาอีก ..งง?

    พระนอกจากดูว่าแท้ไม่ซ่อมแล้ว
    พระบางองค์เลี่ยมทองเก่าแบบปิดหลังเปิดหน้าทำให้พระมีสภาพใช้ บางคนจึงเกิด " ตากลับ "
    ท่านเคยเจอไหม???
    1. คิดว่าพระรอดมหาวัณแต่เป็นพระรอดพระสิงห์,
    2. คิดว่านางพญาสังฆาฏิแต่เป็นนางพญาโรงบาลสงฆ์2500
    3. คิดว่านางพญาเข่าตรง,ขุนแผนเคลือบแต่เป็นหลวงพ่ออั้น
    4. คิดว่าสมเด็จขาโต๊ะแต่กลับเป็นหลวงพ่อโชติ
    5. คิดว่าชินราชใบเสมา พิษณุโลกแต่เป็นหล่อวัดเบญจมบพิตร
    6. คิดว่าวัดพลับแต่เป็นพิมพ์พนมปู่โต๊ะ
    7. คิดว่ากริ่งวัดสุทัศน์แต่เป็นวัดดอนเจียรประภามณฑลออก
    8. คิดว่าซุ้มกอแต่เป็นซุ้ม(เปิม)แกะ
    9. คิดว่าปิดตาปู่เอี่ยม,แร่บางไผ่แต่กลับเป็นปู่กลิ่น,ปู่เกิดวัดดื่อ
    10. คิดว่ากริ่งชินราชเจ้าคุณสนธิแต่เป็นหลวงปู่เผือก,อินโดจีน
    11.คิดว่ากริ่งปวเรศแต่เป็นกริ่งอรหังถอดพิมพ์แล้วแต่ง
    12.คิดว่าสมเด็จพิมพ์ใหญ่บางขุนพรหมแต่เป็นปู่ภู3ชั้นลบหูติ่งหรือเอาคราบกรุใหม่จริงๆปนกับกรุเทียมทีหลั
    งหรือเอาสมเด็จเนื้อเก่ามาแกะพิมพ์อกครุฑสภาพใช้ช้ำปล่อยร้อนเงิน
    13.คิดว่าเหรียญเงินแต่เป็นทองแดงชุบกะไหล่เพิ่มมูลค่า
    14.คิดว่าปู่บุญบางแก้วแต่เป็นปู่เพิ่ม
    15.ผงสุพรรณ เกจิหลวงพ่อดี วัดพระรูป(ลืมชื่อ)
    16.คิดว่าพระหูตากระพริบราคาแพงแต่จริงๆแล้วแกะศัยกรรม

    - บางคนถูกเซียน"อำ"แกล้งต่อราคาเล่นๆแล้วหลงทางคิดว่าพระตนแท้ก็มีพระถ้าผิดรุ่นผิดสภาพราคาต่างกันลิบนะครับ
    - บางทีพระคงกรุใหม่พวกเล่นถูเหงื่อแล้วปล่อยเป็นกรุเก่าก็มีครับ
    - บางทีเหรียญบล็อกคอมฯถ้าห่วงรอยเชื่อมมักจะไม่เก่าหรือตำหนิเช่นเส้นขนแมวมักจะจงใจชัดเกินไปหรือไม่พริ้ว ผิวเหรียญไม่ใช่
    - ส่วนเนื้อดินดูอย่างพระรอดพิมพ์ใหญ่ที่ปลอมเส้นพิมพ์แตกและเส้นน้ำตกยังไม่เหมือนเลยครับ
    ผมว่าถ้าไม่ " โลภ " ก็จะไม่พลาดหรือไม่รู้สี่รู้แปดก็แห่ดีกว่าครับ

    ส่วนที่โดนทุ๊บประจำก็พระคง,สมเด็จ,ปู่ทวด,โสธร,เหรียญหลักระวังหน่อยครับบล็อกคอมฯผิวเหรียญยังทำได้ไม่เก่าดีส่วนพระเก่าคราบกรุมักไม่กินเนื้อพระครับ


    อีกท่านนึงเพิ่มเติมดังนี้ครับ
    1. เป็นเซียนเปิดร้านแต่พอถามพระในร้านบอกว่าอันนี้ดูไม่เป็น (อย่าเชื่อนะครับ พระในร้านถึงดูไม่เป็นก็รู้อยู่แล้วว่าแท้หรือปลอม เซียนพวกนี้พวกเยอะเช็กแป๊บเดียวก็รู้แล้วครับ)
    2. ถามพระในร้านบอกว่าเค้าฝากมาปล่อย การันตีไม่ได้ (อย่าเชื่อครับ ถ้าแท้การันตีให้แล้วครับ)
    3. พระรุ่นนี้มีหลายบล็อก (อันนี้ระวังหน่อย บล็อกไม่นิยมหรือไม่ก็ปลอมไปเลยครับ อ้างว่าหลายบล็อกไปอย่างนั้นละ)
    4. ถ้าเก๊เอามาเปลี่ยนได้ (สุดท้ายต้องเอาพระมาเปลี่ยนองค์อื่นๆ ในร้านไป เสียตังอยุ่ดี ไม่ได้ตังคืนครับ)
     
  19. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822

    ต้องขอบพระคุณพี่โอกระบี่อย่างยิ่ง
    ที่กรุณาแวะเข้ามาโพสต์ภาพพระสวยๆ
    และข้อมูลแบบจัดเต็ม เพื่อเป็นความรู้แก่พวกเรา

    ตำนานเขาอ้อ การแช่ว่าน และพระปิดตาสายเขาอ้อ
    เป็นสิ่งที่เชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะเคยได้ยินมาทั้งสิ้น
    ส่วนพระขุนแผนองค์งามนี้ ต้องบอกว่าสำหรับผมแล้ว
    เป็นความรู้ใหม่เพิ่มเติมจริงๆ เพราะพระดีๆในประเทศนี้
    ยังมีอีกมากมาย บางครั้งอาจจะได้ผ่านพิธีที่เข้มขลัง
    แต่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ก็อยากเชิญชวนพี่ๆเพื่อนๆ ที่มีความรู้
    นำความรู้และประสบการมาแชร์ให้พวกเราเป็นวิทยาทานครับ
     
  20. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วิธีพิจารณาเหรียญเพิ่มเติม

                  ทุกวันนี้ พระเหรียญหลายๆคนบอกเล่นยากมากแท้เหลือเกิน โดยเฉพาะเก๊คอมพิวเตอร์แต่ในความเป็นจริงเหรียญทุกชนิดจะดูง่ายขึ้น ถ้าเรามีหลักการในการดูดังนี้นะครับ   

           1. พระเหรียญ ให้ดูด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมหรือไม่ ถ้าบวมนูนตรงกลางหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์เอง เช่น เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนร ฯ   
           2. เมื่อดูว่าเหรียญไม่บวมแล้วก็ให้ดูตำหนิเทียบกับหนังสือพระเครื่องทั่ว ๆ ไปตามที่เราได้เรียนรู้และจำได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้าเหรียญผิดพิมพ์หรือไม่มีตำหนิ ตรงตามของแท้มาตรฐาน ก็คือ เก๊แน่นอน จากการแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญ ถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2 กรณีให้พิจารณาต่อไปอีก คือ  
                  - แท้ 
                    - เก๊คอมพิวเตอร์   

            3. วิธีที่เราจะแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้องดูตำหนิแล้วให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจากเหรียญแท้เสมอ หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่ ในส่วนนี้เราจำเป็นต้อง คุ้นเคยกับเหรียญแท้ๆ มาก่อนก็จะทำให้แยกแยะได้ง่ายขึ้น
    จุดพิจารณาในการดูเหรียญปั๊มโลหะ    


            1. อายุของโลหะต้องมีความเก่าตามอายุการสร้างของเหรียญ เช่น เหรียญ พ.ศ. 24กว่า เนื้อทองแดงไม่เก่าก็คือ เก๊นั่นเอง   
           2.  กระไหล่หรือรมดำ ต้องเก่าตามอายุเหรียญนั้นๆ   
           3.  เหรียญสึก ควรสึกเฉพาะส่วนที่นูนของเหรียญเท่านั้น ส่วนลึกสุดของ
    เหรียญต้องคมชัด และดูได้ว่าเป็นเหรียญปั๊มโลหะ   
           4.  การดูรอยตัดปั๊มขอบเหรียญ ถ้าไม่มีหรือเป็นรอยตะไบถือว่าไม่ใช่เหรียญปั๊มยกเว้นเหรียญปั้มบังคับปลอก(บังคับขอบเหรียญ) เช่นเหรียญ ลพ.เดิม ปี 2482 ขอบจะเรียบ หรือเหรียญที่ตะไบขอบเช่นเหรียญ ลพ.คง วัดบางกระพ้อม บล็อกขอบ ตะไบ  แต่เหรียญพิเศษแบบนี้จะมีไม่มาก แต่ถ้ามีรอยตัดปั๊มอาจเก๊คอมพิวเตอร์ก็ได้   
           5.  เหรียญห่วงเชื่อม รอยเชื่อมเงินต้องมีความเก่า   
           6.ไม่ควรเช่าเหรียญที่เลี่ยมพลาสติกไว้เพราะดูลำบากอาจหลอกตาได้ ยกเว้น เหรียญดูง่ายจริงๆ เพราะทำเก๊ได้เหมือนของ 

    อ้างอิง top rich
     

แชร์หน้านี้

Loading...