หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จุดพิจารณารูปหล่อ พิมพ์ขี้ตา 3 ชาย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 22 กันยายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8ade0b980e0b887e0b8b4e0b899-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ae0b8b2e0b887e0b884e0b8a5e0b8b2e0b899-e0b888.jpg


    โดย อาจารย์ชวินทร์ chavintapoti@gmail.com


    หากกล่าวถึงพระเครื่องรูปหล่อโลหะผสมที่แพงที่สุด ก็ย่อมเป็นพระเครื่องรูปหล่อของ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตรนั่นเอง แต่รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ซึ่งมี 2 พิมพ์คือ พิมพ์นิยมซึ่งแพงเป็นอันดับหนึ่ง และพิมพ์ขี้ตา แพงรองลงมา และแน่นอนที่สุดทั้งสองพิมพ์ คือเป็นพระเครื่องรูปหล่อที่แพงที่สุดในวงการนักสะสมพระเครื่องของไทย

    b8ade0b980e0b887e0b8b4e0b899-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ae0b8b2e0b887e0b884e0b8a5e0b8b2e0b899-e0b888.jpg

    มาชมพระรูปหล่อที่นักสะสมพระทุกคนอยากได้ไว้ในครอบครอง นั่นคือรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา 3 ชาย ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน นอกจากส่องดูพิมพ์ถูกต้อง ต้องดูความเก่าของโลหะซึ่งส่องปุ๊บมองเห็นความแห้งเก่าของเนื้อโลหะ และกระแสโลหะเหลืองอมเขียวเป็นจุดพิจารณาอันหนึ่ง ทำให้เป็นพระที่ดูง่าย ค่านิยมปัจจุบันอยู่ที่หลักล้านกลางขึ้นอยู่กับความสวยสมบูรณ์ขององค์พระ

    มาดูจุดพิจารณาที่สำคัญของพิมพ์ขี้ตา 3 ชาย เหตูที่เรียกว่าพิมพ์ขี้ตา เพราะองค์พระจะมีเนื้อเกินที่ขอบตาล่างด้านซ้าย รูปหล่อพิมพ์ขี้ตานี้ เป็นงานเทหล่อฝีมือช่างชาวบ้าน เป็นการหล่อเททีละองค์ โดยใช้เบ้าแม่พิมพ์ประกบเข้าหากันเรียกว่า เบ้าหก

    โดยการเทกรอกโลหะเข้าใต้ก้นองค์พระแบบคว่ำหัวลง เมื่อปล่อยให้โลหะเย็นตัวแล้ว สังเกตใต้ก้นองค์พระเป็นรอยขรุขระในแต่ละองค์จะไม่เหมือนกัน เป็นธรรมชาติของรูปหล่อเบ้าประกบทุกองค์ บางองค์จะมีรอยแต่งตะไบ และฐานบางองค์หนา ฐานบางองค์บาง เกิดจาการเทเนื้อโลหะลงในเบ้า บางองค์เทพอดี บางองค์เทหนาหน่อย

    ade0b980e0b887e0b8b4e0b899-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ae0b8b2e0b887e0b884e0b8a5e0b8b2e0b899-e0b888-1.jpg

    และที่สำคัญด้วยการเทแบบเบ้าประกบนี้ ทำให้พิมพ์ขี้ตามีรอยตะเข็บด้านข้างเห็นชัดเจน เหมือนเนื้อเกินออกมาเป็นเส้นตลอดแนวจากบนลงล่าง และต้องไม่มีรอยก้านชนวนที่ใต้ก้น ด้านความสวยงามเมื่อเทียบกับพิมพ์นิยมซึ่งเทหล่อโดยนายช่างจากบ้านช่างหล่อ ย่อมแตกต่างกัน

    มาดูที่ผิวองค์พระ เมื่อส่องดูอย่างละเอียดจะเห็นหลุมเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน อันเกิดจากเม็ดดินขี้เบ้าที่หลุดกร่อนออกไปตามกาลเวลา เม็ดขี้เบ้าจะมีลักษณะเป็นเม็ดสีดำเกาะอยู่ในเนื้อพระทั่วทั้งองค์ สันนิษฐานได้ว่าเกิดจากดินเบ้าที่มาประกบกัน เมื่อเจอความร้อนจากโลหะที่กรอกลงไปก็มาเกาะอยู่ที่เนื้อโลหะขององค์พระ

    การพิจารณาพระรูปหล่อเนื้อโลหะทองเหลืองผสม ซึ่งมีอายุ 100 ปี ก็จะเหมือนเนื้อโลหะผสมเก่าซึ่งแก่ทองเหลือง โทนสีเนื้อโลหะ ต้องมีสีเหลืองอมเขียว ผิวโลหะแห้งเก่า ไม่หม่นหมอง

    สีของโลหะทองเหลืองจะไม่เสมอกันเพราะเป็นธรรมชาติของพระหล่อ ซึ่งเนื้อโลหะสัมผัสกับดินเบ้าในอุณหภูมิที่ต่างกันขณะเทหล่อแต่ละองค์ ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพระหล่อนั่นเอง

    ade0b980e0b887e0b8b4e0b899-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ae0b8b2e0b887e0b884e0b8a5e0b8b2e0b899-e0b888-2.jpg

    ผิวโลหะส่วนที่โดนสัมผัสการใช้ โลหะจะเปล่งประกาย ส่วนผิวที่ไม่โดนสัมผัส เมื่อสังเกตในซอกผิวจะปรากฏคราบสนิมสีน้ำตาลอมดำ ไม่เป็นสีดำด้าน บางองค์อาจจะเห็นสนิมทองเหลือง (ออกไซด์)ออกสีแดงน้ำตาลคลุมเป็นจุด อันเป็นธรรมชาติความเก่าของเนื้อทองเหลือง

    หากเรายังสงสัยว่าเนื้อทองเหลืองเก่าเป็นอย่างไร สนิมทองเหลืองหรือออกไซด์ที่เกิดจากปฏิกิริยาของอากาศกับทองเหลืองควรเป็นอย่างไร อาจแวะไปดูที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ดูเนื้อพระโลหะทองเหลืองเก่า หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นทองเหลืองเก่าเพื่อเทียบเคียงสีของโลหะทองเหลือง หรือ โลหะทองเหลืองเก่าผสมได้เพื่อเป็นองค์ความรู้

    รูปหล่อพิมพ์ขี้ตา 3 ชาย จะมีขนาดเล็กกว่ารูปหล่อพิมพ์ขี้ตาทุกพิมพ์ จมูกของพิมพ์ขี้ตานี้จะเหมือนสามเหลี่ยม,ไล่ดูจากชายริ้วจีวรด้านขวาของสังฆาฏิขององค์พระ จะมีริ้วจีวร 3 เส้น เส้นล่างเป็นเส้นหนาปลายเส้นชนแขน และเส้นจีวรที่แขนซ้ายเป็นเส้นคว่ำ เรียกว่า 3 ชายจีวรคว่ำ

    ade0b980e0b887e0b8b4e0b899-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ae0b8b2e0b887e0b884e0b8a5e0b8b2e0b899-e0b888-3.jpg

    จุดพิจารณาสำหรับพระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา 3 ชายที่สำคัญอีกแห่ง คือ บริเวณหัวตาด้านขวาองค์พระจะเป็นรอยเส้นเฉียงขึ้นเล็กน้อย และบริเวณซอกลำคอข้างหูด้านขวาองค์พระจะเห็นเม็ดติ่งเล็กๆอยู่หนึ่งเม็ด และบริเวณซอกลำคอจากด้านขวาขององ์พระมายังด้านซ้าย ซอกลำคอจะลึกไล่มาตื้นทางด้านซ้ายองค์พระ ซึ่งถ้าเป็นของเลียนแบบซอกลำคอมีความลึกเท่ากัน

    รูปหล่อพิมพขี้ตามี 4 พิมพ์คือ พิมพ์ขี้ตา 3 ชาย, พิมพ์ขี้ตา 4 ชาย ให้สังเกตริ้วจีวรด้านขวาองค์พระ จะเห็นริ้วจีวร 4 เส้นลาดโค้งมาจากขอบสังฆาฏิขวาลงมาชนท้องแขนขวา ( พิมพ์ขี้ตา 4 ชายยังแยกเป็น 2 บล็อกคือ บล็อกจีวรสั้นและบล็อกจีวรยาว ) , พิมพ์ขี้ตา 5 ชาย ให้สังเกตเส้นริ้วจีวรขวามือองค์พระจะเห็นริ้วจีวร 5 เส้นโค้งซ้อนลงมาท้องแขนขวา

    การศึกษาพระเครื่องรูปหล่อโบราณนั้น นอกจากพิมพ์ที่ถูกต้องที่เราจะสังเกตหาจุดที่เหมือนกันขององค์พระในพิมพ์เดียวกัน จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นจุดสังเกตของพิมพ์เฉพาะตัวเราเอง

    ade0b980e0b887e0b8b4e0b899-e0b8a7e0b8b1e0b894e0b89ae0b8b2e0b887e0b884e0b8a5e0b8b2e0b899-e0b888-4.jpg

    การสังเกตถึงความเก่าของเนื้อโลหะทองเหลืองผสมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงของเนื้อโลหะตามธรรมชาติเป็นสิ่งที่ปลอมแปลงยังไงก็ไม่เหมือน ผิวของโลหะ สีของโลหะ สนิมโลหะ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องค้นคว้าศึกษาเทียบเคียงดูครับ

    เพราะรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน ทุกพิมพ์ล้วนมีราคาแพงเป็นหลักล้านทั้งสิ้น และในด้านประสบการณ์จากการใช้พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่บันทึกกันไว้มีมากมาย พระเครื่องของท่านเด่นทั้งเรื่องแคล้วคลาด มหาอุด เมตตามหานิยม ขออะไรได้หมดดั่งแก้วสารพัดนึกครับ



    ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/601425
     

แชร์หน้านี้

Loading...