อดีตพระเกจิ..ภาพเก่า-ที่น่าเก็บ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 25 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    อดีตพระเกจิ..'ภาพเก่า-ที่น่าเก็บ'

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>อดีตพระเกจิ..."ภาพเก่า ที่น่าเก็บ"</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] ในวงการผู้นิยมสะสมพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล "ภาพถ่ายพระเกจิอาจารย์" ก็มีการแสวงหาของวงการเช่นกัน ภาพพระเกจิอาจารย์เก่าๆ ที่มีการซื้อขายกันนั้น มีหลายลักษณะ คือ


    ๑.ภาพถ่ายธรรมดาๆ ที่ไม่มีการเขียนอักขระเลขยันต์ไว้เลย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่ลูกศิษย์ทำแจกฟรีในงานฉลองต่างๆ และปัจจุบันนี้การแจกภาพพระเกจิอาจารย์ในโอกาสต่างๆ สามารถพบเห็นได้ทั่วๆ ไป การแจกภาพฟรีๆ หลายคนอาจจะไม่เห็นคุณค่า แต่เมื่อเวลาผ่านไปพระเกจิอาจารย์รูปดังกล่าวมรณภาพ ก็จะมีค่า นอกจากวัตถุมงคลเป็นที่แสวงหาของนักสะสมพระเครื่องแล้ว ก็ยังมีการหาภาพพระเกจิอาจารย์มาสะสมด้วย ส่วนเรื่องการปลุกเสกภาพนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีการปลุกเสก
    ๒.ภาพถ่ายที่มีการเขียนยันต์ไว้ ด้านหน้า ด้านหลัง หรือเขียนยันต์ไว้ทั้งสองด้าน การทำภาพในลักษณะนี้มีทั้งแจกฟรี และให้เช่าบูชา หรือแจกฟรีควบคู่กับการให้เช่าวัตถุมงคล ภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะนำเข้าพิธีปลุกเสกพร้อมกับวัตถุมงคลด้วย
    ๓.ภาพถ่ายที่ทำเป็นล็อกเกตขนาดแขวนคอ มีทั้งทรงกลมและรูปสี่เหลี่ยม ส่วนใหญ่จะมีขนาดระหว่าง ๐.๕-๑.๐ นิ้ว การทำภาพในลักษณะนี้ถือว่าเป็นพระหรือวัตถุมงคลรุ่นหนึ่งของพระเกจิอาจาย์รูปนั้นๆ ซึ่งสวนใหญ่วัดจะจัดพิธีกรรมปลุกเสกเช่นเดียวกับการสร้างวัตถุมงคล
    สำหรับการแบ่งช่วงอายุภาพพระเกจิอาจารย์เก่าๆ นั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีการแบ่งออกเป็นยุคๆ อย่างชัดเจน แต่จากประสบการณ์การเก็บสะสมภาพเก่าๆ น่าจะจัดเป็น ๓ ยุค คือ
    ๑.ภาพถ่ายยุคแรก เป็นภาพเก่าที่มีอายุเกือบ ๑๐๐ ปี จากประสบการณ์ที่ซื้อขายภาพในยุคนี้ ภาพที่มีความสมบูรณ์ราคาสูงถึงหลักแสนบาท เช่น หลวงปูศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี หลวงพ่อสุน วัดศาลากุน จ.นนทบุรี หลวงพ่อทับ วัดทอง หลวงพ่อทอง วัดราชโยธา ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม เป็นต้น
    ๒.ยุคกลาง เป็นภาพเก่าที่มีอายุประมาณ ๕๐ ปี ขึ้นไป หรือถ่ายไว้ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ราคาขึ้นอยู่กับสภาพของภาพเช่นกัน แต่จะต่ำกว่าภาพยุคแรก ภาพที่มีสภาพสมบูรณ์ราคาจะสูงถึงหลักหมื่นกลางๆ ถึงหลักแสนต้นๆ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ครูบาศรีวิชัย จ.เชียงใหม่ หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม จ.สมุทรสงคราม หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน จ.นนทบุรี หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จ.สมุทรสาคร เป็นต้น
    ภาพในยุคกลางนี้มี ภาพทรงผนวช ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ฉายไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ ซึ่งได้รับความนิยมทุกภาพ โดยจะเห็นได้ว่าในปีมหามงคลฉลองครองสิริราชสมบัติ ๖๐ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ และฉลองพระชนมายุครบ ๘๐ ปี พ.ศ.๒๕๕๐ มีการอัดภาพที่ระหว่างทรงผนวชออกมาให้เลือกสะสมจำนวนมาก
    ๓.ยุคปัจจุบัน ซึ่งถ่ายไว้หลัง พ.ศ.๒๕๐๐ ภาพพระเกจิอาจารย์ที่นิยมในยุคนี้ เช่น หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น
    สิ่งหนึ่งที่อยากแนะนำผู้ที่เช่าที่ภาพพระเกจิอาจารย์ คือ ชื่อของพระเกจิอาจารย์ในอดีตนั้น มีชื่อที่เหมือนกันหลายท่านหลายวัด ที่สำคัญคือทั้งพระเครื่องและวัตถุมงคลของท่าน ต่างก็ได้รับความนิยมพอๆ กัน เช่น หลวงปู่ทิม มีทั้งวัดละหารไร่ จ.ระยอง และ หลวงปู่ทิม (พระอาจารย์ทิม) วัดช้างให้ จ.ปัตตานี หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี และ หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    ในขณะที่ หลวงพ่อสุ่น ก็มี ๒ วัด คือ วัดศาลากุน จ.นนทบุรี และวัดไลย์ จ.ลพบุรี รวมทั้ง หลวงพ่อเงิน ก็มี ๒ วัดคือ วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม กับ วัดบางคลาน จ.พิจิตร
    อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่มีความนิยมสะสมภาพพระเกจิอาจารย์ต้นฉบับดั้งเดิม ปัจจุบันนี้มีการทำภาพใหม่ให้ดูเก่า โดยอัดให้เป็นสีซีเปีย จากนั้นก็นำไปแช่น้ำ แล้วนำไปอบแห้ง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ดูว่าเป็นภาพเก่าได้เหมือนกัน
    แต่ถ้าสังเกตดีๆ ภาพเก่าและภาพใหม่ที่ถูกทำให้เก่า จะมีข้อแตกต่างกันมาก ถ้าไม่ชำนาญเรื่องการดูภาพเก่า ข้อแนะนำง่ายๆ คือ นำภาพนั้นไปถามร้านถ่ายรูปที่ไว้ใจได้ เป็นการดีที่สุด
    ---------ล้อมกรอบ----------
    8.แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม (ใส่ภาพนี้ไว้ในล้อมกรอบ)
    ภาพฆราวาสที่น่าเก็บ
    ในบรรดา "ภาพเก่าที่น่าเก็บ" นั้น ที่ไม่ใช่พระเกจิอาจารย์ แต่เป็นภาพที่แสวงหาของนักสะสมภาพเก่ากันมาก คือ ภาพอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ จ.พระนครศรีอยุธยา และ ภาพแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม หรือที่บรรดาเหล่าคณะสามัคคีวิสุทธิ เรียกท่านว่า คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๔ ปีมะเมีย ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลา ๑๑.๒๐ น. ตรงกับวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๓๗ และละสังขารเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๐๗
    ผู้ที่รู้จักคุณแม่บุญเรือนดี ตั้งแต่อายุท่านยังน้อยอยู่ คงพอจะทราบได้ดีว่า ท่านเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยมารยาทและคุณธรรมอันสูงส่ง ท่านเป็นผู้รักการบำเพ็ญทานการกุศลตั้งแต่อายุน้อย ตลอดมาจนเติบใหญ่ และจนตลอดชีวิตของท่าน ท่านเคารพศรัทธาเลื่อมใสในคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง เคร่งครัดตลอดเวลา ท่านฝึกจิตใจ และความรู้สึก ให้เป็นผู้ที่เต็มไปด้วยการเสียสละ
    นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ที่ไม่นิยมการสะสม โปรดการให้เป็นหัวใจสำคัญ ตัดความรู้สึกด้าน รัก โลภ โกรธ และหลง โดยสิ้นเชิง ท่านรักการสวดมนต์ ฟังธรรม ถือศีล และภาวนา ฝึกและชำระจิตใจให้สะอาด ปราศจากมลทิน
    นับได้ว่าท่านเป็นชาวพุทธไทยที่สำคัญยิ่งผู้หนึ่ง ซึ่งยากจะหาผู้อื่นที่บำเพ็ญตนให้เท่าเทียมท่านได้ ด้วยเหตุนี้อาจกล่าวได้ว่างานสำคัญในชีวิตของท่านก็คืองานบุญของชาวพุทธนั่นเอง
    คุณแม่บุญเรือนเป็นผู้นิยมทำทานเสมอ ไม่ว่จะเป็นทานต่อบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือการถวายของแด่พระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งการถวายอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค คุณแม่บุญเรือนเพียรบำเพ็ญตลอดมา ไม่ขาดสาย การถือศีลของคุณแม่บุญเรือน ท่านเคร่งครัดมากในศีล ๕ วันธรรมสวนะยึดมั่นในศีล ๘ แต่ชีวิตตอนหลังส่วนใหญ่ท่านถือศีล ๕ เป็นประจำ การภาวนา อันประกอบด้วยการสวดมนต์ ฟังธรรม และทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฝึกจิตให้มีสมาธิแน่วแน่ เกิดปัญญา แจ่มแจ้งในธรรมอันวิเศษ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้เพียรบำเพ็ญปฏิบัติ โดยสม่ำเสมอ จนตลอดชีวิตของท่าน

    -->[​IMG]
    ในวงการผู้นิยมสะสมพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล "ภาพถ่ายพระเกจิอาจารย์" ก็มีการแสวงหาของวงการเช่นกัน ภาพพระเกจิอาจารย์เก่าๆ ที่มีการซื้อขายกันนั้น มีหลายลักษณะ คือ
    ๑.ภาพถ่ายธรรมดาๆ ที่ไม่มีการเขียนอักขระเลขยันต์ไว้เลย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่ลูกศิษย์ทำแจกฟรีในงานฉลองต่างๆ และปัจจุบันนี้การแจกภาพพระเกจิอาจารย์ในโอกาสต่างๆ สามารถพบเห็นได้ทั่วๆ ไป การแจกภาพฟรีๆ หลายคนอาจจะไม่เห็นคุณค่า แต่เมื่อเวลาผ่านไปพระเกจิอาจารย์รูปดังกล่าวมรณภาพ ก็จะมีค่า นอกจากวัตถุมงคลเป็นที่แสวงหาของนักสะสมพระเครื่องแล้ว ก็ยังมีการหาภาพพระเกจิอาจารย์มาสะสมด้วย ส่วนเรื่องการปลุกเสกภาพนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีการปลุกเสก
    ๒.ภาพถ่ายที่มีการเขียนยันต์ไว้ ด้านหน้า ด้านหลัง หรือเขียนยันต์ไว้ทั้งสองด้าน การทำภาพในลักษณะนี้มีทั้งแจกฟรี และให้เช่าบูชา หรือแจกฟรีควบคู่กับการให้เช่าวัตถุมงคล ภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะนำเข้าพิธีปลุกเสกพร้อมกับวัตถุมงคลด้วย [​IMG]
    ๓.ภาพถ่ายที่ทำเป็นล็อกเกตขนาดแขวนคอ มีทั้งทรงกลมและรูปสี่เหลี่ยม ส่วนใหญ่จะมีขนาดระหว่าง ๐.๕-๑.๐ นิ้ว การทำภาพในลักษณะนี้ถือว่าเป็นพระหรือวัตถุมงคลรุ่นหนึ่งของพระเกจิอาจาย์รูปนั้นๆ ซึ่งสวนใหญ่วัดจะจัดพิธีกรรมปลุกเสกเช่นเดียวกับการสร้างวัตถุมงคล
    สำหรับการแบ่งช่วงอายุภาพพระเกจิอาจารย์เก่าๆ นั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีการแบ่งออกเป็นยุคๆ อย่างชัดเจน แต่จากประสบการณ์การเก็บสะสมภาพเก่าๆ น่าจะจัดเป็น ๓ ยุค คือ
    ๑.ภาพถ่ายยุคแรก เป็นภาพเก่าที่มีอายุเกือบ ๑๐๐ ปี จากประสบการณ์ที่ซื้อขายภาพในยุคนี้ ภาพที่มีความสมบูรณ์ราคาสูงถึงหลักแสนบาท เช่น หลวงปูศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี หลวงพ่อสุน วัดศาลากุน จ.นนทบุรี หลวงพ่อทับ วัดทอง หลวงพ่อทอง วัดราชโยธา ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม เป็นต้น [​IMG]
    ๒.ยุคกลาง เป็นภาพเก่าที่มีอายุประมาณ ๕๐ ปี ขึ้นไป หรือถ่ายไว้ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ราคาขึ้นอยู่กับสภาพของภาพเช่นกัน แต่จะต่ำกว่าภาพยุคแรก ภาพที่มีสภาพสมบูรณ์ราคาจะสูงถึงหลักหมื่นกลางๆ ถึงหลักแสนต้นๆ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นครปฐม ครูบาศรีวิชัย จ.เชียงใหม่ หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม จ.สมุทรสงคราม หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน จ.นนทบุรี หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จ.สมุทรสาคร เป็นต้น
    ภาพในยุคกลางนี้มี ภาพทรงผนวช ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ฉายไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ ซึ่งได้รับความนิยมทุกภาพ โดยจะเห็นได้ว่าในปีมหามงคลฉลองครองสิริราชสมบัติ ๖๐ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ และฉลองพระชนมายุครบ ๘๐ ปี พ.ศ.๒๕๕๐ มีการอัดภาพที่ระหว่างทรงผนวชออกมาให้เลือกสะสมจำนวนมาก
    ๓.ยุคปัจจุบัน ซึ่งถ่ายไว้หลัง พ.ศ.๒๕๐๐ ภาพพระเกจิอาจารย์ที่นิยมในยุคนี้ เช่น หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น
    สิ่งหนึ่งที่อยากแนะนำผู้ที่เช่าที่ภาพพระเกจิอาจารย์ คือ ชื่อของพระเกจิอาจารย์ในอดีตนั้น มีชื่อที่เหมือนกันหลายท่านหลายวัด ที่สำคัญคือทั้งพระเครื่องและวัตถุมงคลของท่าน ต่างก็ได้รับความนิยมพอๆ กัน เช่น หลวงปู่ทิม มีทั้งวัดละหารไร่ จ.ระยอง และ หลวงปู่ทิม (พระอาจารย์ทิม) วัดช้างให้ จ.ปัตตานี หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี และ หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    ในขณะที่ หลวงพ่อสุ่น ก็มี ๒ วัด คือ วัดศาลากุน จ.นนทบุรี และวัดไลย์ จ.ลพบุรี รวมทั้ง หลวงพ่อเงิน ก็มี ๒ วัดคือ วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม กับ วัดบางคลาน จ.พิจิตร
    อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่มีความนิยมสะสมภาพพระเกจิอาจารย์ต้นฉบับดั้งเดิม ปัจจุบันนี้มีการทำภาพใหม่ให้ดูเก่า โดยอัดให้เป็นสีซีเปีย จากนั้นก็นำไปแช่น้ำ แล้วนำไปอบแห้ง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ดูว่าเป็นภาพเก่าได้เหมือนกัน
    แต่ถ้าสังเกตดีๆ ภาพเก่าและภาพใหม่ที่ถูกทำให้เก่า จะมีข้อแตกต่างกันมาก ถ้าไม่ชำนาญเรื่องการดูภาพเก่า ข้อแนะนำง่ายๆ คือ นำภาพนั้นไปถามร้านถ่ายรูปที่ไว้ใจได้ เป็นการดีที่สุด

    8.แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม
    ภาพฆราวาสที่น่าเก็บ
    ในบรรดา "ภาพเก่าที่น่าเก็บ" นั้น ที่ไม่ใช่พระเกจิอาจารย์ แต่เป็นภาพที่แสวงหาของนักสะสมภาพเก่ากันมาก คือ ภาพอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ จ.พระนครศรีอยุธยา และ ภาพแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม หรือที่บรรดาเหล่าคณะสามัคคีวิสุทธิ เรียกท่านว่า คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๔ ปีมะเมีย ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลา ๑๑.๒๐ น. ตรงกับวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๓๗ และละสังขารเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๐๗
    ผู้ที่รู้จักคุณแม่บุญเรือนดี ตั้งแต่อายุท่านยังน้อยอยู่ คงพอจะทราบได้ดีว่า ท่านเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยมารยาทและคุณธรรมอันสูงส่ง ท่านเป็นผู้รักการบำเพ็ญทานการกุศลตั้งแต่อายุน้อย ตลอดมาจนเติบใหญ่ และจนตลอดชีวิตของท่าน ท่านเคารพศรัทธาเลื่อมใสในคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง เคร่งครัดตลอดเวลา ท่านฝึกจิตใจ และความรู้สึก ให้เป็นผู้ที่เต็มไปด้วยการเสียสละ
    นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ที่ไม่นิยมการสะสม โปรดการให้เป็นหัวใจสำคัญ ตัดความรู้สึกด้าน รัก โลภ โกรธ และหลง โดยสิ้นเชิง ท่านรักการสวดมนต์ ฟังธรรม ถือศีล และภาวนา ฝึกและชำระจิตใจให้สะอาด ปราศจากมลทิน
    นับได้ว่าท่านเป็นชาวพุทธไทยที่สำคัญยิ่งผู้หนึ่ง ซึ่งยากจะหาผู้อื่นที่บำเพ็ญตนให้เท่าเทียมท่านได้ ด้วยเหตุนี้อาจกล่าวได้ว่างานสำคัญในชีวิตของท่านก็คืองานบุญของชาวพุทธนั่นเอง
    คุณแม่บุญเรือนเป็นผู้นิยมทำทานเสมอ ไม่ว่จะเป็นทานต่อบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือการถวายของแด่พระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งการถวายอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค คุณแม่บุญเรือนเพียรบำเพ็ญตลอดมา ไม่ขาดสาย การถือศีลของคุณแม่บุญเรือน ท่านเคร่งครัดมากในศีล ๕ วันธรรมสวนะยึดมั่นในศีล ๘ แต่ชีวิตตอนหลังส่วนใหญ่ท่านถือศีล ๕ เป็นประจำ การภาวนา อันประกอบด้วยการสวดมนต์ ฟังธรรม และทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฝึกจิตให้มีสมาธิแน่วแน่ เกิดปัญญา แจ่มแจ้งในธรรมอันวิเศษ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้เพียรบำเพ็ญปฏิบัติ โดยสม่ำเสมอ จนตลอดชีวิตของท่าน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2006/09/25/j001_50354.php?news_id=50354
     

แชร์หน้านี้

Loading...