อนุปุพพีกถา - เทศนาที่แสดงเพื่อโปรดสัตว์ตามลำดับอินทรีย์ของสรรพสัตว์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 4 พฤศจิกายน 2018.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,115
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,977
    45345748_1794513240671823_1180748906955276288_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_ht=scontent.fbkk5-7.jpg


    พระพุทธเจ้าทรงสอดส่องญาณตรวจดูด้วยสัพพัญญุตญาณ หากพบว่าบุคคลใดมีบุญบารมี มีอินทรีย์แก่กล้าพอจะบรรลุธรรมได้ พระพุทธองค์จึงจะทรงแสดงธรรมแก่บุคคลนั้น พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงเพื่อปรับสภาพจิตใจให้ประณีตขึ้น คือ อนุปุพพีกถา เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่าเขามีจิตควรบรรลุธรรมแล้ว จึงตรัสอริยสัจ ๔
    *****************
    [๖๙] หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพีกถา แก่อุบาลีคหบดี คือ

    ทรงประกาศทานกถา (เรื่องทาน) สีลกถา (เรื่องศีล) สัคคกถา (เรื่องสวรรค์) กามาทีนวกถา (เรื่องโทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)และเนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)

    เมื่อใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุบาลีคหบดีมีจิตควรบรรลุธรรม มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส

    เมื่อนั้นจึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า(พระองค์ก่อนๆ) ทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    ผ้าขาวสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อน จะพึงรับน้ำย้อมต่างๆ ได้อย่างดี แม้ฉันใด

    ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อุบาลีคหบดี ขณะที่นั่งอยู่นั่นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
    เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    …………..
    ข้อความบางตอนใน อุปาลิวาทสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=6

    อนุปุพพีกถา หมายถึงเทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจต่อไป ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้วควรรับน้ำย้อมต่างๆ ได้ด้วยดี (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๘)

    ทานกถา หมายถึงกถาที่พรรณนาคุณของทานหลายนัย เช่น ทานเป็นเหตุแห่งความสุข เป็นมูลรากแห่งสมบัติทั้งหลาย เป็นที่ก่อให้เกิดโภคสมบัติทั้งปวง อุปมาด้วยสิ่งต่างๆ ตามความหมายที่มุ่งถึง เช่นถ้ามุ่งถึงความหมายว่าเป็นที่ตั้ง ก็อุปมาด้วยแผ่นดินใหญ่ มุ่งถึงความหมายว่าหน่วงเหนี่ยว ก็อุปมาด้วยเชือกโยง (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๘)

    สีลกถา หมายถึงกถาที่พรรณาคุณของศีลว่าเป็นที่พึ่ง ที่อาศัย ที่ตั้ง ที่หน่วงเหนี่ยว ที่ป้องกัน ที่เร้น ที่ไป ที่ไปเบื้องหน้า เช่น สมบัติทั้งหลายในโลกนี้และโลกอื่นล้วนอาศัยศีลเป็นที่พึ่งที่อาศัย เป็นต้น จึงได้มา (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๙)

    สัคคกถา หมายถึงกถาที่พรรณนาคุณของสวรรค์ว่า น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ และอื่นๆ อีกเป็นอันมาก (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๙)

    กามาทีนวกถา หมายถึงกถาที่พรรณนากามว่ามีโทษมากมีคุณน้อย มีความเลวทรามมาก มีความดีน้อย มีความเศร้าหมองมาก มีความผ่องแผ้วน้อย มีทุกข์มาก มีสุขน้อย เป็นต้น (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๖๙-๗๐)

    เนกขัมมานิสังสกถา หมายถึงกถาที่พรรณนาคุณความดีของการไม่ติดใจเพลินอยู่ในกาม ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน การออกบวช เพื่อให้มีฉันทะที่จะแสวงหาความดีงาม และความสุขอันสงบที่ประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านั้น (ม.ม.อ. ๒/๖๙/๗๐)

    ดูรายละเอียดในอรรถกถาอุปาลิวาทสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13.0&i=62&p=3


    ****************************************

     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,115
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,977
    45401808_1794511990671948_6322094703256797184_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_ht=scontent.fbkk5-7.jpg


    ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ เมื่อได้ฟังอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ จากพระพุทธเจ้า จึงบรรลุเป็นพระโสดาบันในขณะที่นั่งฟังธรรมนั่นเอง เพราะท่านมีความเห็นแจ้งได้เร็ว มีปัญญาเฉียบแหลม และเป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาบุคคล.
    *************
    [๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ชายคนหนึ่งชื่อสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน ยากจน กำพร้ายากไร้

    วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เห็นหมู่มหาชนนั้นนั่งประชุมกันแต่ที่ไกล ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ชนทั้งหลายกำลังแจกของเคี้ยวหรือของบริโภค ในที่นี้เป็นแน่ ทางที่ดีเราควรเข้าไปยังหมู่มหาชนนั้น พึงได้ของเคี้ยวหรือของบริโภคในที่นี้บ้าง”

    ลำดับนั้น ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เข้าไปยังหมู่มหาชนนั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ จึงมีความคิดดังนี้ว่า “ชนทั้งหลายคงไม่แจกของเคี้ยวหรือของบริโภคในที่นี้ พระสมณโคดมนี้แสดงธรรมในบริษัท ทางที่ดีเราควรฟังธรรมบ้าง”

    จึงนั่งลง ณ ที่สมควรในที่นั้น ด้วยตั้งใจว่า “เราจักฟังธรรม”

    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการกำหนดจิตของบริษัททุกหมู่เหล่าด้วยพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควรรู้แจ้งธรรม พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น

    จึงทรงพระดำริดังนี้ว่า “ในบริษัทนี้ชายคนนี้แลควรรู้แจ้งธรรม” พระองค์ทรงปรารภชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ จึงตรัส
    อนุปุพพีกถา คือ ทรงประกาศ
    ๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
    ๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
    ๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
    ๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)
    ๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)

    เมื่อทรงทราบว่าชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะมีจิตควรบรรลุธรรม สงบ อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันไร้ธุลี ปราศจากมลทิน
    ได้เกิดแก่ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ ณ ที่นั่งนั้นนั่นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี

    ครั้งนั้นแล ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรมหยั่งลงสู่ธรรม ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
    บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

    เมื่อชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้ฟังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วก็ชื่นชมยินดีพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    จึงลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทแล้วลุกขึ้นทำประทักษิณจากไป ทันใดนั้นเองโคแม่ลูกอ่อนได้ขวิดชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะผู้จากไปไม่นานจนล้มลงเสียชีวิต

    ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะผู้ได้ฟังพระดำรัสที่พระองค์ทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจ
    ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา เขาเสียชีวิตแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบาก เพราะธรรมเป็นเหตุ ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ เป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
    ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า”

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ชายชื่อสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน ยากจน กำพร้า ยากไร้ พระพุทธเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะเป็นบุตรเศรษฐีในกรุงราชคฤห์นี้เอง เขาออกไปยังสวนสาธารณะ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธะนามว่าตครสิขี กำลังเดินบิณฑบาตในพระนคร เขาครั้นเห็นแล้ว จึงได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ใครนี้ เป็นโรคเรื้อนห่มผ้าสกปรกเที่ยวไป’ แล้วถ่มน้ำลายเดินแซงไปทางด้านซ้าย เพราะผลแห่งกรรมนั้น เขาไหม้อยู่ในนรกหลาย ๑๐๐ หลาย ๑,๐๐๐ หลาย ๑๐๐,๐๐๐ ปี เพราะเศษแห่งวิบากกรรมนั้นยังเหลืออยู่ เขาจึงเกิดเป็นชายโรคเรื้อนยากจน กำพร้า ยากไร้ในกรุงราชคฤห์นี้เอง

    เขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว ยึดมั่น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เขาครั้นได้อาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้วยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ และรุ่งโรจน์เหนือกว่าเทวดาเหล่าอื่น ในชั้นดาวดึงส์นั้น ด้วยวรรณะและยศ-”

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า

    บัณฑิตในโลกนี้ เมื่อยังมีความบากบั่นอยู่
    ควรละเว้นบาปทุกอย่าง
    เหมือนคนตาดีละเว้นทางขรุขระ ฉะนั้น
    ****************
    สุปปพุทธกุฏฐิสูตร ขุททกนิกาย อุทาน
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=78

    บทว่า ตสฺมึเยว อาสเน ได้แก่ ในที่นั่งนั้นนั่นเอง.
    ด้วยคำนี้ เป็นอันทรงแสดงถึงความที่สุปปพุทธกุฏฐินั้นมีความเห็นแจ้งได้เร็ว
    มีปัญญาเฉียบแหลม และเป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาบุคคล.
    .....................
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=112
     

แชร์หน้านี้

Loading...