อนุสติ ๑๐ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ชนะ สิริไพโรจน์, 12 มีนาคม 2010.

  1. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    [​IMG]
    อนุสสติ ๑๐
    อนุสสติแปลว่าตามระลึกถึง กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึกนึกถึง
    มีกำลังสมาธิไม่เสมอกันบางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌานบางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน
    บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน และฌาน ๕ กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้
    เมื่อถึงกรรมฐานหมวดใดมีกำลังเท่าใดจะได้เขียนไว้เพื่อทราบ อนุสสติทั้ง ๑๐ อย่างนี้

    ก็เหมาะแก่อารมณ์ของนักปฏิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกันบางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต
    บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริตบางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
    กองใดหมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริตใดก็จะได้เขียนบอกไว้เพื่อทราบเมื่อถึงกองนั้น ๆ อนุสสตินี้
    มีชื่อและอาการรวม ๑๐ อย่างด้วยกัน จะได้นำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

    ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
    ๓.สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    ๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
    ๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
    ๖. เทวานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
    (อนุสสติทั้ง ๖ กองนี้เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)
    ๗. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    ๘. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์
    (อนุสสติ ๒ กองนี้เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
    ๙. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
    ๑๐. อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและวิตกจริต
    อนุสสติทั้ง ๑๐ นี้เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฏิบัติแต่ละอย่างดังนี้ ขอท่านนักปฏิบัติ
    พึงทราบและเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยของตนจะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ตั้งมั่น
    รวดเร็วไม่ล่าช้า

    กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง ๑๐

    กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง ๑๐ มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้
    พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติเทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติ
    ทั้ง ๗ นี้มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ
    สีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิและอย่างสูงสุดเป็นพิเศษถึงปฐมฌานทั้งนี้ถ้าท่าน
    นักปฏิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้แต่ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้วก็ทรงได้
    เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น
    กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียง
    ปฐมฌานเท่านั้นแต่ถ้านักปฏิบัติฉลาดทำหรือครูฉลาดสอนยกเอาสีเขียวขาวแดงที่ปรากฏใน
    อารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ท่านว่า กรรมฐานกองนี้
    ก็สามารถทรงสมาธิได้ถึงฌาน ๔ ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น

    อานาปานานุสสติสำหรับอานาปานานุสสตินี้มีกำลังสมาธิถึงฌาน สำหรับท่านที่มีวาสนา
    บารมีสาวกภูมิสำหรับท่านที่มีบารมีคือปรารถนาพุทธภูมิแล้วก็สามารถทรงสมาธิได้ถึงฌาน ๕
    ฌาน หรือ ฌาน ๕ มีอาการแตกต่างกันอย่างไรต้องการทราบโปรดพลิกดูตอนต้นที่ว่าด้วยฌาน
    เมื่อท่านทราบกำลังสมาธิและความเหมาะสมแก่จริตของบรรดาอนุสสติทั้งหมดนี้แล้ว
    ต่อแต่นี้ไป จะได้อธิบายอนุสสติเป็นกอง ๆ ไป เพื่อความเข้าใจพอสมควรเพราะการอธิบายนี้อาจไม่
    ละเอียดเท่าแบบคือวิสุทธิมรรคในบางตอนที่ควรย่อก็จะย่อลงให้สั้นบางตอนควรขยายก็จะขยายให้
    ยาวออกไป เพื่อความเข้าใจของนักปฏิบัติเป็นสำคัญหากตอนใดย่อสั้นเกินไปท่านไม่เข้าใจแล้ว
    ถ้าประสงค์จะให้เข้าใจชัดโปรดหาหนังสือวิสุทธิมรรคมาอ่านจะได้รับความรู้เพิ่มเติมครบถ้วนบริบูรณ์

    พุทธเวไนยให้เกิดความรู้ความฉลาดเพื่อกำจัดเหตุชั่วร้ายที่ฝังอยู่ในสันดานมานานมีสภาพคล้ายผีสิงเหตุชั่วร้ายนั้นก็คือ
    ก. ความโลภอยากได้สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน
    ข. ความพยาบาทคือความโหดร้ายที่ฝังอยู่ในจิตใจคิดที่จะประหัตประหารทำอันตรายผู้อื่นให้ได้รับความพินาศ
    ค.ความโง่เขลาที่คอยกระตุ้นเตือนใจให้ลุ่มหลงในสรรพวัตถุจนเกิน

    ๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน
    กรรมฐานกองนี้ท่านสอนให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้าการระลึกถึงความดีของ
    พระพุทธเจ้าระลึกได้ไม่จำกัดว่าจะต้องระลึกตามแบบของท่านผู้นั้นผู้นี้ที่สอนไว้โดยจำกัดเพราะ
    พระพุทธคุณคือคุณความดีของพระพุทธเจ้านั้นมีมากมายจะพรรณนาอย่างไรให้จบสิ้นนั้นย่อมเป็นไป
    ไม่ได้และถ้าจะมีใครมาวางแบบวางแผนว่าการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้านั้นต้องจำกัดลงไปว่าระลึก
    อย่างนั้นอย่างนี้จึงจะถูกต้องตามที่ปรากฏในปัจจุบันมีมาก

    ระลึกตามแบบ

    ระลึกตามแบบหมายความท่านผู้ใดจะนั่งนอนระลึกนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
    โดยยกเอาพระคุณของพระองค์มาระลึกถึง เช่น ระลึกถึงพระคุณสามประการคือ
    ๑. ระลึกถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์ ที่ทรงกำจัดกิเลสได้เด็ดขาดไม่มีความชั่วเหลืออยู่
    ในพระกมลสันดาน พระองค์ทรงบริสุทธิ์ผุดผ่องจริงเป็นความดีที่เราควรปฏิบัติตาม
    ๒.ระลึกถึงพระปัญญาอันเฉียบแหลมเฉลียวฉลาดของพระองค์ด้วยพระองค์มีความรู้
    ความฉลาดยอดเยี่ยมกว่าเทวดา พรหมและมนุษย์ทั้งหลายเพราะนอกจากจะทรงรู้ในหลักวิชาการ
    ต่างๆตามความนิยมของปกติชนแล้ว พระองค์ยังทรงรู้ที่มาของความทุกข์และรู้การปฏิบัติเพื่อ
    ทำลายต้นตอของความทุกข์นั้น ๆ ได้แก่ทรงรู้ในอริยสัจ ๔
    ๓. ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คือพระองค์เมื่อทรงเป็นผู้รู้เลิศแล้วพระองค์มิได้ปกปิด
    ความรู้นั้นเพื่อพระองค์เองโดยเฉพาะพระองค์นำความรู้มาสั่งสอนแก่หมู่มวลชนอย่างเปิดเผย
    ไม่ปกปิดความรู้แม้แต่น้อยพระองค์ทรงทรมานพระวรกาย เพราะสั่งสอนพอดีคือคิดปลูกฝังใจ
    ในวัตถุ โดยไม่คิดว่าของนั้นจะต้องเก่าจะต้องพังไปในสภาพ
    พระองค์ทรงพระกรุณาสอนให้รู้ทั่วกันว่าการมุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนนั้น
    เป็นความเลวร้ายที่ควรจะละเพราะเป็นเหตุของการสร้างศัตรูการคิดประทุษร้ายด้วยอำนาจโทสะ
    เป็นเหตุบั่นทอนความสุขส่วนตนเพราะผู้คิดนั้นเกิดความทุกข์ตั้งแต่เริ่มคิดคือกินไม่อิ่มนอนไม่หลับ
    ทำให้สุขภาพของตนเสื่อมโทรมยังไม่ทันทำอันตรายเขาผู้คิดก็ค่อยตายลงไปทีละน้อย ๆ แล้ว
    เพราะเหตุที่กินน้อยนอนน้อย การหลงในทรัพย์เกินไปที่ไม่คิดว่ามันจะต้องเก่า ต้องทำลายตามสภาพ
    เป็นเหตุให้เกิดความคับแค้นคือเสียใจ เศร้าใจ ทำให้ชีวิตไม่สดใส สดชื่น มีความเศร้าหมองมีทุกข์
    ประจำใจเป็นปกติ

    ทางแก้ไข

    ๑. ความโลภอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตนพระองค์ทรงสอนให้รู้จักการให้ทาน
    เป็นการแก้ความรู้สึกเดิมเพราะ ทาน เป็นการสละออกมีอาการตรงข้ามกับการคิดอยากได้
    ผลทานนี้ก็มีผลเป็นเครื่องบันดาลความสุขในปัจจุบันเพราะผู้รับทานย่อมมีความรักและเคารพในผู้ให้ทาน
    การให้ทานเป็นการสร้างมิตรตรงกันข้ามกับการคิดอยากได้ของผู้อื่นเป็นเหตุของความทุกข์
    เป็นเหตุของการสร้างศัตรู
    ๒. พยาบาทท่านสอนให้รักษาศีลเป็นเครื่องบั่นทอนกำลังพยาบาทเพราะมาจากโทสะ
    ความคิดประทุษร้ายเป็นสมุฏฐานสำหรับการรักษาศีลนั้นมีเมตตาความแสดงออกถึงความรัก
    ความสงสารเป็นเป็นสมุฏฐานเมื่อรักษาศีลก็ต้องมีเมตตา กรุณาถ้าเมตตากรุณา ไม่มีแล้วศีลก็
    ทรงตัวไม่ได้ฉะนั้นที่พระองค์ทรงสอนให้รักษาศีลก็คือฝึกจิตให้มีเมตตาปรานีนั่นเอง ซึ่งมีคติ
    ตรงข้ามกับพยาบาทและเป็นอารมณ์หักล้างพยาบาท เป็นเหตุของความสุข เพราะคนที่มีความ
    เมตตาปรานีนั้นย่อมเป็นที่รักของมวลชน แม้สัตว์เดียรัจฉานก็รัก เราจะเห็นได้ว่าบ้านที่มีสุนัขดุ ๆ
    ใคร ๆ ก็เข้าไม่ได้ ถ้าเราหมั่นเอาอาหารไปให้สุนัขตัวนั้นบ่อย ๆไม่ช้าก็เชื่อง เป็นมิตรที่ดีไม่ทำ
    อันตรายคนมีเมตตามีความสุขเพราะเป็นที่รักของชนทั่วไปอย่างนี้เป็นการแก้เหตุของ
    ความทุกข์ให้เป็นเหตุของความสุข จัดว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างมหันต์
    ๓. ความหลงคือความโง่ที่มีความคิดว่า อะไรที่เรามีแล้ว ต้องมีสภาพคงที่ ไม่เก่า
    ไม่ทำลายพอของสิ่งนั้นเก่าหรือทำลาย ความเสียใจก็เกิดขึ้นกฎข้อนี้เป็นปกติธรรมดาก็จริง
    ที่พอจะรู้ได้อย่างไม่ยากแต่คนในโลกนี้ก็ไม่ค่อยคิดตามกลับคิดฝืนกฎธรรมดาจนเป็นเหตุของ
    ความทุกข์อย่างมหันต์เพราะคนเกิดแล้วต้องตาย ชาวบ้านชาวเมืองตายให้ดูเยอะแยะ ไม่จดจำ
    แต่พอตัวจะตายญาติตาย เกิดทุกข์ร้องไห้เสียใจ ความจริงความตายนี้เป็นของปกติธรรมดา
    ไม่มีใครพ้น แต่คนไม่คิดมีแต่ความผูกพัน คิดว่าจะอยู่ตลอดกาล พระองค์เห็นว่าคนทั่วโลกโง่
    อย่างนี้จึงทรงแก้ด้วยการสอนวิปัสสนาญาณคือสอนให้รู้กฎของความเป็นจริงยอมรับนับถือ
    ตามความเป็นจริงเป็นการเปลื้องอุปาทานคือความโง่ออกเสียจากความรู้สึกเป็นการสร้าง
    ความสบายใจให้เกิดแก่มวลพุทธศาสนิกชนทั่วไป
    ท่านจะคิดใคร่ครวญถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าตามนี้ก็ได้หรือจะคิดอย่างอื่นก็ได้
    แต่ขอให้อยู่ในข่ายระลึกนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นใช้ได้

    เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p

    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>

    ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เชิญท่านแวะชมและโมทนาบุญ
    มีข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มจากเดิมอีกหลายรายการครับ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2010
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ระลึกตามบทพระพุทธคุณ ๙ อย่าง

    การระลึกตามแบบพระพุทธคุณ ๙ อย่างนี้เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์ทรงบรรลุ
    จะไม่นำมาเขียนไว้เห็นท่าจะไม่เหมาะขอนำมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

    ๑. อรหังคำว่าอรหังนี้ แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลสหมายความว่าพระพุทธองค์
    ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองอยู่ในพระหฤทัยเลยเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริง ๆอารมณ์กิเลส
    ที่พระอรหังหรือที่เรียกว่าพระอรหันต์ละได้นั้น มี ๑๐ อย่าง คือ

    ก. สักกายทิฎฐิเห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกายกายไม่มีในเรา ท่านละ
    ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคลเราเขาเสียได้ "โดยเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔
    คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราวเป็นที่อาศัยของนามธรรม คือ เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ และ
    ไม่สุขไม่ทุกข์คืออารมณ์วางเฉยจากอารมณ์สุขทุกข์ สัญญามีความจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล้ว
    สังขารอารมณ์ชั่วร้ายและอารมณ์เมตตาปรานีสดชื่นอันเกิดต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล คือความดีและ
    อารมณ์ที่เป็นอกุศลคือความชั่วที่เรียกกันว่า อารมณ์เป็นบุญและอารมณ์เป็นบาปที่คอยเข้าควบคุมใจ
    วิญญาณ คือ ความรู้ หนาว ร้อนหิวกระหายเผ็ดเปรี้ยวหวานมันเค็ม และการสัมผัสถูกต้องเป็นต้น
    วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิดตัวนึกคิดนั้นคือจิตวิญญาณกับจิตนี้คนละอันแต่นักแต่งหนังสือมักจะเอาไป
    เขียนเป็นอันเดียวกันทำให้เข้าใจเขว ควรจะแยกกันเสีย เพื่อความเข้าใจง่ายอีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามา
    อาศัยกายและไม่ตายร่วมกับร่างกาย สิ่งนั้นก็คือจิตเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณนี้ ตายร่วมกับ
    ร่างกาย คือกายตายก็ตายด้วยแต่จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามาอาศัยชั่วคราว เมื่อกายตั้งอยู่คือ
    ดำรงอยู่ร่วมพร้อมกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตก็อาศัยอยู่ แต่ถ้าขันธ์ มีร่างกายเป็น
    ประธานตายแล้วจิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อาศัยใหม่คำว่าเราในที่นี้ท่านหมายเอาจิตที่เข้ามา
    อาศัยกายเมื่อท่านทราบอย่างนี้ท่านจึงไม่หนักใจและผูกใจว่า ขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเราเป็น
    ของเราเราไม่มีในกายกายไม่มีในเราเราคือจิตที่เข้ามาอาศัยในกาย คือ ขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ ๕
    ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้ก็อาศัยต่อไปถ้าผุพังแล้วท่านก็ไม่หนักใจ ไม่ตกใจไม่เสียดายห่วงใยใน
    ขันธ์ ท่านปล่อยไปตามกฎของธรรมดาเสมือนกับคนอาศัยรถหรือเรือโดยสารเมื่อยังไม่ถึง
    เวลาลงก็นั่งไป แต่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไรก็ลงจากรถจากเรือโดยไม่คิดห่วงใยเสียดายรถ
    หรือเรือโดยสารนั้นเพราะทราบแล้วว่ามันไม่ใช่ของเราเขาก็ไม่ใช่เราเราก็ไปตามทางของเรา
    ส่วนรถเรือโดยสารก็ไปตามทางของเขาต่างคนต่างไม่มีห่วงใยพระอรหันต์ทั้งหลายท่าน
    มีความรู้สึกอย่างนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมอรหันต์พระองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านนักปฏิบัติ
    ที่ระลึกถึงพระคุณข้อนี้ก็ควรทำความพอใจตามที่พระองค์ทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์อย่างนี้
    จะเป็นเครื่องบั่นทอนกิเลสลงได้มาก จนเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์อย่างพระองค์
    ข.วิจิกิจฉาพระอรหันต์ท่านเชื่อมั่นในธรรมปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้ว
    โดยไม่เคลือบแคลงสงสัยและปฏิบัติตามด้วยศรัทธายิ่ง
    ค. สีลัพพตปรามาส ท่านรักษาศีลเป็นอธิศีล คือไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองไม่แนะให้ใคร
    ละเมิดศีลไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดศีล
    ฆ. ละกามฉันทะ คือความยินดีในกามารมณ์ท่านหมดความรู้สึกทางเพศเด็ดขาดมีอสุจิ
    เหือดแห้งความรู้สึกพอใจในกามารมณ์ไม่มีในความรู้สึกของท่านเลย
    ง. พยาบาทท่านตัดความโกรธความพยาบาทได้สิ้นเชิง มีแต่ความเมตตาปรานีเป็นปกติ
    จ. รูปราคะท่านตัดความสำคัญในรูปฌานว่าเลิศเสียได้โดยเห็นว่ารูปฌานนี้เป็นกำลังส่งให้
    เข้าถึงวิปัสสนาญาณไม่ใช่ตัวมรรคผลนิพพาน
    ฉ.ท่านตัดความเห็นว่าเลิศในอรูปฌานเสียได้โดยเห็นว่าอรูปฌานนี้ก็เป็นเพียงกำลังส่งให้
    เข้าถึงวิปัสสนาญาณเช่นเดียวกับรูปฌาน
    ช. มานะ ท่านตัดความถือตัวถือตนว่า เราเลวกว่าเขาเราเสมอเขาเราดีกว่าเขาเสียได้
    โดยวางอารมณ์เป็นอุเบกขา คือเฉย ๆต่อยศฐาบรรดาศักดิ์และฐานะความเป็นอยู่เพราะทราบแล้ว
    ว่าไม่มีอะไรยั่งยืนตลอดกาล
    ซ. อุทธัจจะ ท่านตัดอารมณ์ฟุ้งซ่าน ที่คิดนอกลู่นอกทางเสียได้มีอารมณ์ผ่องใสพอใจ
    ในพระนิพพานเป็นปกติ
    ฌ.ท่านตัดอวิชชาคือความโง่ออกเสียได้สิ้นเชิงท่านหมดความพอใจในสิ่งที่มีชีวิตและ
    ไม่มีชีวิตโดยที่คิดว่าเป็นสมบัติยั่งยืนได้สิ้นเชิงท่านเห็นว่าไม่ว่าอะไรทั้งสิ้นมีเกิดแล้วก็เสื่อมในที่สุด
    ก็ต้องทำลาย ฉะนั้นอารมณ์ของท่านจึงไม่ยึดถืออะไรมั่นคง มีก็ใช้เมื่อสลายตัวไปก็ไม่มีทุกข์
    ท่านตัดความกำหนัดยินดีในสมบัติของโลกเสียทั้งหมดไม่มีเยื่อใยรักใคร่หวงแหนอะไร
    ทั้งหมดแม้แต่สังขารของท่าน
    พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ท่านที่เจริญอนุสสติข้อนี้ เมื่อ
    ใคร่ครวญตามความดีทั้งสิบประการนี้เสมอ ๆทำให้อารมณ์ผ่องใสในพระพุทธคุณมากขึ้นเป็น
    เหตุให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างไม่ยากนัก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2010
  3. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    ๒.สัมมาสัมพุทโธแปลว่าตรัสรู้เองโดยชอบความหมายนี้ หมายความว่าพระองค์
    ทรงรู้อริยสัจทั้ง๔ คือ รู้ทุกข์คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ รู้สมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่
    ตัณหา ๓ประการ คือ
    ๑. กามตัณหา ทะยานอยากได้ในสิ่งที่ยังไม่เคยมีอยากให้มีขึ้น
    ๒. ภวตัณหาสิ่งใดที่มีอยู่แล้วอยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่า ไม่อยากให้
    เปลี่ยนแปลง
    ๓.วิภวตัณหา อยากให้สิ่งที่จะต้องสลายตัวนั้น ที่เป็นไปตามกฎธรรมดามีความปรารถนา
    ไม่ให้กฎธรรมดาเกิดขึ้น คือ ไม่อยากให้สลายและไม่อยากเสื่อมไม่อยากตายนั่นเอง ความรู้สึกอย่างนี้
    เป็นความรู้สึกที่ฝืนกฎธรรมดาเป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์
    ทรงนิโรธะคือความดับสูญไปแห่งความทุกข์และทรงทราบมรรคคือปฏิปทาที่ปฏิบัติให้
    เข้าถึงความทุกข์ คือทุกข์นั้นสูญสิ้นไปได้แก่ทรงทราบมรรคคือข้อปฏิบัติ ๘ ประการดังต่อไปนี้
    ๑. สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
    ๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันโต มีการงานชอบ
    ๕.สัมมาอาชีโวเลี้ยงชีพชอบ
    ๖. สัมมาวายาโม ความพยายามชอบ
    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

    ในมรรคคือข้อปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงความดับสูญไปแห่งทุกข์นี้ย่อลงเหลือสามคือได้แก่ศีล
    การรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อยตามขอบเขตของสิกขาบทสมาธิการดำรงความตั้งมั่นของจิต
    ที่ไม่เป็นเวรเป็นภัยต่อสังคม คือดำรงฌานไว้ด้วยดีเพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณปัญญาได้แก่การ
    เจริญวิปัสสนาญาณจนรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎธรรมดาไม่มีอารมณ์คิดที่จะฝืนกฎธรรมดานั้น
    ๓.วิชชาจรณสัมปันโนแปลว่าพระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือทรงมี
    ความรู้รอบและความประพฤติครบถ้วน
    วิชชาแปลว่าความรู้หมายถึงรู้ในวิชชาสาม ที่สามัญชนไม่สามารถจะรู้ได้คือ
    ๑.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณทรงมีความรู้ในการระลึกชาติที่ล่วงแล้วมาได้อย่างไม่จำกัด
    ไม่มีผู้อื่นใดจะระลึกชาติได้มากเท่าพระองค์และพระองค์ทรงมีความชำนาญในการระลึกชาติได้
    อย่างเยี่ยม
    ๒.จุตูปปาตญาณ พระองค์ทรงมีความรู้ ความเกิด และความตายของสัตว์ โดยทรงรู้ว่า
    สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้ไปเกิด ณ ที่ใด มีความสุขความทุกข์เป็นประการใดเพราะผลกรรมอะไรเป็น
    เหตุ และทรงทราบว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้มาจากไหนที่มีความสุขความทุกข์อยู่นี้ เพราะอาศัยกรรม
    อะไรเป็นเหตุ
    ๓.อาสวักขยญาณ ทรงรู้วิชชาที่ทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป
    จรณะหมายถึงความประพฤติ พระองค์มีความประพฤติครบถ้วนยอดเยี่ยมท่านประมวล
    ความประพฤติที่พอจะนำมากล่าวไว้ได้โดยประมวลมี ๑๕ ข้อด้วยกัน คือ
    ๑. สีลสัมปทา พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยศีลคือทรงปฏิบัติในศีลไม่บกพร่อง
    ๒. อินทรียสังวรทรงระมัดระวังในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ
    ๓. โภชเนมัตตัญญุตาทรงรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
    ๔. ชาคริยานุโยคทรงประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่คือมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน
    บริบูรณ์
    ๕. สัทธา ทรงมีความเชื่อมั่นในผลการปฏิบัติ ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย
    ๖. หิริ ทรงมีความละอายต่อผลของความชั่วทั้งมวล
    ๗.โอตตัปปะ ทรงเกรงกลัวต่อผลของความชั่วทั้งมวล
    ๘. พาหุสัจจะทรงสั่งสมวิชาการต่าง ๆ ด้วยการศึกษามาแล้วด้วยดี
    ๙. วิริยะทรงมีความเพียรไม่ท้อถอย โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
    ๑๐. สติทรงมีสติสมบูรณ์
    ๑๑. ปัญญามีปัญญารอบรู้ในวิทยาการทุกแขนงและทรงรู้แจ้งในอริยสัจ โดยที่มิได้ศึกษา
    จากผู้ใดมาในกาลก่อนทรงค้นคว้าพบด้วยพระองค์เอง
    ๑๒. ปฐมฌาน ทรงฝึกฌาน จนได้ปฐมฌาน
    ๑๓. ทุติยฌาน ทรงฝึกจนได้ฌานที่สอง
    ๑๔. ตติยฌานทรงฝึกสมาธิ จนได้ฌานที่สาม
    ๑๕. จตุตถฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนทรงฌานที่ ๔ไว้ได้ด้วยดีเป็นพิเศษ
    ทั้งหมดนี้ จัดเป็นจริยาคือความประพฤติของพระองค์อันเป็นแบบอย่างที่บรรดาพุทธสาวก
    จะพึงปฏิบัติตามให้ครบถ้วนบริบูรณ์เพื่อผลไพบูลย์ในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล เพราะพระองค์ทรงมี
    ความประพฤติอย่างนี้จึงทรงบรรลุมรรคผล หากพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระองค์ปฏิบัติตามก็มีหวัง
    ได้บรรลุมรรคผลในชาติปัจจุบัน

    ๔. สุคโตแปลว่าเสด็จไปดีแล้วหมายความว่าพระองค์เสด็จไปที่ใด พระองค์
    นำแต่ความสุขไปให้เจ้าของถิ่นคือนำความรู้อันเป็นเหตุของความสุขไปให้ไม่เคยสร้างความ
    เดือดร้อนให้แก่ผู้ใดใครก็ตามบูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้รับความสุขในทางปฏิบัติ
    ๕.โลกวิทูแปลว่ารู้แจ้งโลกหมายความว่า โลกทุกโลกมียมโลกคือโลกแห่งการ
    ทรมาน ได้แก่นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกและพระนิพพานอันเป็น
    ดินแดนพ้นโลก พระองค์ทรงทราบตลอดหมดสิ้นแม้แต่ปฏิปทาที่จะให้ไปเกิดในโลกนั้น ๆ
    ๖. อนุตตโรปุริสทัมมสารถิแปลว่าเป็นนายสารถีผู้ฝึกไม่มีนายสารถีใดมีความ
    สามารถฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ทั้งนี้หมายความถึงการฝึกธรรมปฏิบัติ พระองค์ทรงมีญาณพิเศษ
    ที่เรียกว่าเจโตปริยญาณ ทรงรู้ใจคนว่า ผู้นี้ควรสอนอย่างไรจึงได้ผลพระองค์ทรงฝึกสอนตามที่รู้ด้วย
    พระญาณนั้น จึงมีความสามารถฝึกได้ดีเป็นพิเศษ
    ๗. สัตถา เทวมนุสสานังแปลว่าพระองค์ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ทั้งนี้
    หมายความว่าการสั่งสอนเพื่อมรรคผลนั้น พระองค์มิได้ทรงสั่งสอนแต่มนุษย์เท่านั้นแม้เทวดาและ
    พรหม พระองค์ทรงสั่งสอนการสอนมนุษย์ท่านอาจไม่สงสัยแต่การสอนเทวดานั้นท่านอาจจะแปลกใจ
    ข้อนี้ขอให้อ่านพุทธประวัติจะทราบว่าพระองค์ทรงสั่งสอนเทวดาและพรหมเป็นปกติเกือบทุกวัน
    เช่นเดียวกับสอนมนุษย์เหมือนกัน
    ๘. พุทโธแปลว่าผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้วได้เหมือนกัน ความหมายถึงคำว่า
    พุทโธก็มีอย่างนี้ คือหมายถึงพระองค์ทรงรู้พระองค์ด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะอยู่
    ตลอดเวลานั่นเอง
    ๙. ภควาแปลว่าผู้มีโชคหมายถึงพระองค์เป็นผู้มีโชคก่อนใคร ๆที่พระองค์เป็นผู้รู้เท่าทัน
    อวิชชาคือความโง่เขลาเบาปัญญาความโง่ไม่สามารถครอบงำพระองค์ได้ โดยอาศัยที่พระองค์ทรง
    ค้นพบอริยสัจ ๔จึงสามารถทำลายอำนาจอวิชชาคือความโง่ให้สลายตัวไปเสียได้เหลือไว้แต่ความฉลาด
    หลักแหลมความโง่ไม่สามารถจะบังคับบัญชาพระองค์ให้หลงใหลไปในอำนาจกิเลสและตัณหาได้ต่อไป
    พระองค์ทรงพบความสุขที่ยอดเยี่ยมไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า ความสุขที่ว่านี้ คือ พระนิพพาน
    พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้พระอาจารย์รุ่นเก่าท่านประพันธ์ไว้ให้บรรดาพุทธศาสนิกชน
    ระลึกนึกถึงจัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐานคือตั้งอารมณ์ข่มนิวรณ์ปรารภถึงความดีของพระพุทธเจ้า
    เมื่อพระโยคาวจรคือท่านนักปฏิบัติพระกรรมฐานได้คำนึงถึงความดีของพระพุทธเจ้าตามที่เขียนมานี้
    ทั้งหมด หรือข้อใดข้อหนึ่งหรือจะนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าในลักษณะอื่นแต่เป็นไปตามแบบพระ-
    พุทธจริยาแล้ว จนจิตมีความเคยชินระงับนิวรณธรรมห้าประการเสียได้ จิตตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิแล้ว
    เจริญวิปัสสนาญาณท่านว่าท่านผู้นั้นสามารถจะชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้เพราะอาศัยความ
    เลื่อมใสในพระพุทธจริยา จัดว่าเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่งคือจะได้สำเร็จมรรคผลได้โดยฉับพลัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2010
  4. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    พุทธานุสสติกรรมฐานนี้ที่กล่าวมาแล้วนั้น กล่าวตามแบบแผนที่ท่านสอน และเป็นแบบตรง
    ตามพระพุทธประสงค์เพราะอาศัยที่พุทธานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คิดจึงมีกำลัง
    เพียงอุปจารฌาน ไม่สามารถจะเข้าให้ถึงระดับฌานได้แต่ที่ท่านสอนกันในปัจจุบัน ในแบบพุทธา-
    นุสสตินี้ ท่านสอนแบบควบหลาย ๆอย่างรวมกัน เช่น
    แบบหลวงพ่อปานวัดบางนมโค

    เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน โดยพิจารณาว่าขันธ์ ๕ นี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ ๕จนละเอียดแล้วสั่งให้พิจารณาไปท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้
    ถ้าพิจารณาได้ตลอดไปโดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ท่านให้พิจารณาเรื่อยไปท่านบอกว่าพิจารณา
    ได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณเพียงแต่ท่านบอกว่า ก่อนภาวนาควร
    พิจารณาขันธ์เสียก่อน และไม่ต้องรีบภาวนาถ้าใครพิจารณาจนเห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เราไม่มีในขันธ์ ๕ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุประชุมเป็นร่างเป็นที่อาศัย
    ชั่วคราวของจิต จนละความห่วงใยในขันธ์ ๕ เสียได้โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี

    ต่อเมื่อจิตจะส่ายพิจารณาไม่ได้ดีท่านให้ภาวนาโดยตั้งอารมณ์ดังต่อไปนี้

    กำหนดลมหายใจไว้สามฐานคือที่จมูกอก และศูนย์เหนือสะดือลมจะกระทบสามฐานนี้
    ให้กำหนดรู้ทั้งสามฐานเพื่อลมหายใจเข้าออกตลอดเวลาพร้อมกันนั้นท่านก็ให้ภาวนาว่าพุทธภาวนา
    เมื่อสูดลมหายใจเข้าโธภาวนาเมื่อหายใจออกแล้วท่านให้นึกถึงภาพพระพุทธที่ผู้ปฏิบัติเคารพมาก
    จะเป็นพระพุทธรูปวัดใดองค์ใดก็ได้ตามใจสมัคร
    ท่านสอนดังนี้ผู้เขียนเรียนกับท่านไม่เคยรู้เลยว่าตอนแรกท่านให้เจริญวิปัสสนาญาณ
    คิดว่าเป็นสมถะตอนที่ภาวนาคิดว่าเป็นพุทธานุสสติล้วน ต่อมาถึงได้ทราบว่า ท่านให้กรรมฐาน ๔
    อย่างร่วมกันคือ ตอนพิจารณาขันธ์ ๕เป็นวิปัสสนาญาณตอนกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็น
    อานาปานานุสสติกรรมฐาน ตอนภาวนาเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ตอนเพ่งรูปพระเป็นกสิณท่านมี
    ความฉลาดสอนรวมคราวเดียว ๔อย่าง กำลังพุทธานุสสติมีเพียงอุปจารฌานอานาปานและกสิณ
    มีกำลังถึงฌาน ๔รู้สึกว่าท่านฉลาดสอน ท่านสอนเผื่อเหนียวไว้พร้อมมูลหากพบท่านที่มีอุปนิสัย
    สุกขวิปัสสโกเข้าท่านเหล่านั้นก็พอใจในวิปัสสนาญาณท่านก็จะพากันได้มรรคผลไปตาม ๆ กัน
    แบบท่านวัดปากน้ำภาษีเจริญ

    ท่านสอนแบบพุทธานุสสติควบแบบอื่นเหมือนกัน โดยท่านให้กำหนดลม ๗ฐาน แล้วภาวนาว่า
    สัมมาอรหัง แล้วกำหนดดวงแก้วตามแบบของท่านควรวิจัยอย่างนี้
    กำหนดฐานลมเป็นอานาปานานุสสติภาวนาเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน กำหนดดวงแก้ว
    เป็นอาโลกกสิณ เป็นกสิณกลางเป็นเหตุให้ได้ทิพยจักษุญาณและได้มโนมยิทธิ
    รวมความว่าท่านอาจารย์ในกาลก่อนท่านฉลาดสอนเพราะท่านได้ผ่านถึงท่านไม่ทำแบบ
    สุกเอาเผากินและไม่ใช่สอนแบบเดาสุ่มขอท่านนักปฏิบัติควรทราบไว้และอย่าเอาคำภาวนาเป็นเหตุ
    สร้างความสะเทือนใจในกันและกันจะกลายเป็นสร้างบาปอกุศลไป
    (จบบรรยายพุทธานุสสติแต่เพียงโดยย่อไว้เท่านี้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...