อยากถามว่า พลังจิตแบบญี่ปุ่นมีหรือไม่ ฝึกอย่างไร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย policeteam, 6 เมษายน 2005.

  1. policeteam

    policeteam สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ช่วยตอบตามที่ถามทีคับ วิถีแบบญี่ปุ่น
     
  2. น้องไข่แมงสาบ

    น้องไข่แมงสาบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +501
    ชิ. . .เม . . . โจ . . .ด๋าย . . .ชิ. . .เม . . .โจ . . .ด๋าย
     
  3. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,227
    ค่าพลัง:
    +10,593
    พลังจิตแบบญี่ปุ่น คือพลังจิตแบบหนายยอ่ะ
     
  4. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    พลังจิตแท้ๆ ดั้งเดิมเลย แบบญี่ปุ่นแบ่งเป็นสองสายครับ


    1.สายนอกพุทธ
    2.สายพุทธ


    1.สายนอกพุทธ ทางนั้นเค้าเรียกว่า องเมียวยิ องเมียจิ จะเรียกว่า หมอผี หมอเวทย์ หมอคุณไสยย์ ก็ได้ ครับ องเมียวจิในสมัยโบราณ มีทั้งพระ นักพรต นินจา ซามูไร คนในหลายอาชีพที่เป็น มีทั้งเปิดเผยตัว และ ไม่เปิดเผยตัวครับ โด่งดังถึงขนาด ประจำราชสำนักยังมีเลย เรื่องการเล่นคุณไสย พลังจิต เรื่องลี้ลับ ในสมัยโบราณ มีมานาน หลายชนชาติ ก็เรียกแตกต่างกันไป

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG][​IMG]

    คุณไสยย์ ไสยเวทย์ทางญี่ปุ่น จะได้มาจาก ลัทธิชินโต ศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมเลย บวกกับ ไสยเวทย์ ทาง ลัทธิเต๋า พุทธบางส่วน ที่ เผยแพร่มากับทางเรือ ผสมผสานกัน จนเป็นลักษณะเฉพาะตัวครับ ที่ผมรับทราบมานะ เรื่องการเล่นของ ยาสั่ง การสะกดจิต ในสมัยโบราณ มีครับ ไม่ต่างกับทางไทย มีการส่งของของ ไป สังหาร ฝ่ายศัตรู สะท้อนของกลับ เป็นปกติ มีทั้งไสยดำ และ ไสยขาว

    และอย่าลืมว่า ประวัติศาสตร์ ของทางญี่ปุ่น ตั้งแต่สมัยโบราณ มีการสู้รบมาโดย ตลอด รบทางแจ้ง ก็ เป็นการรบของไดเมียวเจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ รบกันด้วย ซามูไร ในทางลับนอกจากจะใช้นินจาแล้ว ยัง ลอบใช้ไสยเวทย์จัดการ ศัตรู ต่างฝ่าย ต่างมี องเมียวจิ ประจำแคว้นตน และ องเมียวจิบางคน เป็นนินจาด้วยครับ นินจาใช้ไสยเวทย์ได้ น่ากลัวมาก เพราะ มันเก่งมาก เหยียบทั้งสองโลก เก่งทั้งสองศาสตร์เลย ศาสตร์สังหาร กับ ไสยเวทย์

    สรุป องเมียวจิ จะเก่ง ศาสตร์เหนือธรรมชาติ ไสยเวทย์ พิธีกรรม การพยากรณ์ ต่างๆ


    คือผม ค้นคว้ามา ครับ หลายหนังสือ พอจะประมวลได้ แบบนี้แหละ ไอเรื่องการเรียนไปหามาเอง ผม แนะนำ คร่าวๆ ครับ ว่ามี

    เดี๋ยวมาต่อ ครับ ยังไม่จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2005
  5. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    :cool: น่าสนใจ

    คาเมน รอบรู้จังเลย ค่ะ

    เดี๋ยว มาอ่าน ต่อ นะคะ
     
  6. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    สายพุทธจะแตกอีก 2 สายย่อย

    1.สายมนตรยาน(ลึกลับ)
    2.เซน

    1.สายมนตรยาน(ลึกลับ)

    พุทธตอนปลายก่อจะเสื่อมจากอินเดีย ได้ผสมศาสตร์ อา ถรรพเวทของพราหมณ์ เข้าไปด้วย จึงได้พัฒนาการมาเป็น พุทธแบบเฉพาะตัว จึงมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น พุทธตันตรยาน ระหัสยาน คุยหยาน และวัชรยาน พอ มหาลัยนาลันทาสิ้น จาก กองทัพมุสสลิมรุกราน พุทธสายนี้ได้ไป เจริญรุ่งเรือง ที่ ประเทศธิเบต ผสมไสยเวทย์ท้องถิ่น ลัทธิบอน เข้าไปอีก
    ลัทธินี้ต่อมาได้เผยแพร่ เข้าไปในประเทศจีน แล้ว ข้ามทะเล ถึงประเทศญี่ปุ่นตามลำดับ

    อยากรู้ว่านิกายนี้ เป็นอย่างไร ผมมีประวัติความเป็นมาครับ

    <TABLE height=25 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ครั้นตกมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ นิกายนี้ได้ประกาศตนเป็นอิสระต่างหากจากพวกมหานิกายเดิมว่า "พวกเปิดเผย" โดยเรียกพวกตนเองว่า "พวกลึกลับ" กล่าวกันว่า หลักธรรมของนิกายนี้ เทศนาเปิดเผยโดยพระไวโรจนพุทธเจ้า ภายหลังพระวัชรสัตว์ ได้เก็บรวมหลักธรรมทั้งหมด บรรจุเข้าไว้ในพระเจดีย์เหล็กแห่งอินเดียภาคใต้ ต่อมาท่านคุรุนาคารชุนได้รับอภิเษกจากพระวัชรสัตว์โพธิสัตว์ และเปิดกรุพระธรรมอันลึกลับนี้ออกเที่ยวสั่งสอนแก่ประชาชน คุรุนาคารชุนได้ถ่ายทอดให้แก่สานุศิษย์คนหนึ่ง ชื่อนาคโพธิ ต่อมาท่านนาคโพธิได้จาริกมาสู่เกาะสิงหล ท่านได้ถ่ายทอดให้แก่ท่านศุภกรสิงหะและท่านวัชรโพธิ ท่านศุภภรสิงหะได้จำริกมาสู่ประเทศจีน ในแผ่นดินพระเจ้าถังเฮี่ยงจง ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ และเริ่มแปลพระสูตรของมนตรยานที่สำคัญ ๆ ออกมา พร้อมทั้งเปิดมณฑลบูชาอภิเษกให้แก่ประชาชนอีกด้วย ฝ่ายท่านวัชรโพธิได้มาประเทศจีนพร้อมด้วยศิษย์คนหนึ่งชื่อว่า "อโมฆวัชระ" ท่านทั้งสองได้สถาปนามณฑลพิธีอภิเษกในนครเชียงอาน ศิษย์ของท่านอโมฆวัชระคนหนึ่งชื่อว่า "อิกเหง" เป็นเจ้าอาวาสวัดแชเล่งยี่ ครั้งนั้น ประเทศญี่ปุ่น มีสมณะรูปหนึ่งชื่อว่า "ฮูกาย" เป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะในการศึกษาพระธรรมวินัยมาก คราวหนึ่งมีนิมิตมาปรากฏบอกท่านให้เดินทางมาศึกษา ณ ประเทศจีน ท่านฮูกายจึงออกเดินทางโดยอาศัยเรือของราชทูตญี่ปุ่นที่จะมาประเทศจีน พร้อมกันนั้น มีสมณะอีกรูปหนึ่งชื่อว่า "เด็งกโย" ก็ออกเดินทางมาด้วยกันแต่ลงเรือคนละลำ ปรากฎว่าทั้งสองท่านบรรลุถึงประเทศจีน เด็งกโยไปศึกษาปรัชญานิกายเทียนไท้ ส่วนท่านฮูกายนั้นไปศึกษา ณ วันแชเล่งยี่ ได้รับมนตราภิเษกจากท่านคณาจารย์ฮุ่ยก๊วยและได้รับเครื่องมณฑลบูชาครบชุด พร้อมทั้งตำรับตำราอีกเป็นอันมาก เมื่อกลับประเทศญี่ปุ่นได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ ตั้งสำนักแผ่ลัทธิบนภูเขาโกยาซานสำเร็จเป็นนิกายมนตรยานญี่ปุ่นขึ้น และท่านได้ทำพิธีขอฝนรักษาโรค ขับผี ประจักษ์ความศักดิ์สิทธิ์ ได้รับความยกย่องจากรัฐบาลในฐานะรัฐคุรุโกโบไดฉิ พึงทราบว่า ลัทธิหรือนิกายมนตรยานในจีนและญี่ปุ่นไม่สู้แตกต่างกับมนตรยานของธิเบตเท่าใดนัก แต่มนตรยานของธิเบตพิสดารกว่า เพราะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มหาวิทยาลัยโอทันตบุรี เช่น ท่านศานตรักษิต ท่านคุรุปัทมสัมภพ ท่านกมลศีลา ท่านอตีศะ ได้นำเข้าไปเผยแผ่โดยตรง มนตรยานแบบที่ ๓ คือ ลัทธิกาลจักรหามีในญี่ปุ่นไม่
    โดยเฉพาะในประเทศจีน เมื่อสิ้นราชวงศ์ถังแล้ว นิกายมนตรยานก็เริ่มเสื่อมโทรมลง ตกถึงสมัยราชวงศ์หงวน พระเจ้าหงวนสีโจ้วฮ่องเต้หรือกุปไลข่าน กษัตริย์ชาติมองโกล ทรงเลื่อมในพุทธตันตรยานแบบธิเบต ได้ตั้งภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า "ฟาซือปา" ให้เป็นอภิรัฐคุรุ มนตรยานแบบธิเบตจึงเจริญในประเทศจีน แต่ทว่าราชวงศ์มีอายุสั้น ยั่งยืนไม่ถึง ๑๐๐ ปี ก็ถูกโค่นลง มนตรยานจึงถึงกับเสื่อมลงอีกวาระหนึ่ง มาถึงสมัยพวกแมนจูปกครองจีน พวกแมนจูนับถือลัทธิลามะ มนตรยานจึงรุ่งเรืองชึ้นอีก มาเสื่อมโทรมอีกเมื่อสิ้นราชบัลลังก์แมนจู
    </TD></TR><TR><TD background=pic/tap.gif height=24>[​IMG] คัมภีร์สำคัญ</TD></TR><TR><TD> ๑. มหาไวโรจนาภิสัมโพธิวิกุรฺวิตาธิษฐานไวปุลฺยสูตฺเรนฺทรราชนมปรฺยายสูตร เรียกสั้นๆ ว่า มหาไวโรจนสูตร (ไต้ยิดเก็ง) ท่านศุภกรสิงหะกับ ท่านอิกเหงร่วมกันแปล
    ๒. วัชรเสขสูตร ท่านอโมฆวัชระแปล
    ๓. อรรถกถามหาไวโรจนสูตร ของคณาจารย์อิกเหง
    </TD></TR><TR><TD background=pic/tap.gif height=24>[​IMG] หลักธรรม</TD></TR><TR><TD> นิกายนี้มีหลักปรัชญาและพิธีกรรม ที่ดัดแปลงมาจากพราหมณ์และชาวพื้นเมืองในมณฑลเบงกอลหรือที่เรียกว่าแคว้นกามรูป จึงหมายความว่านิกายมนตรยานนี้มีลักษณะของพระพุทธศาสนาบริสุทธิ์น้อยกว่ามหายานทุกๆ นิกาย บัดนี้จะได้อธิบายถึงคติที่เรียกว่า รหัสยานหรือคุยหยาน ซึ่งแปลว่ายานลึกลับเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ
    ๑. เพราะเป็นความลึกลับ ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายซ่อนเร้นเอาไว้ไม่ทรงเปิดเผยแก่สาธารณะชน นอกจากบุคคลผู้มีปัญญาสูง
    ๒. เพราะธรรมชาติศัพท์สำเนียงต่างๆ ในโลก แท้จริงเป็นพระธรรมเทศนาของพระไวโรจน์ แต่ปุถุชนไม่สามารถจะทราบได้
    ๓. เพราะพุทธวจะนั้นมีอรรถรสที่ลึกซึ้ง บางครั้งพระองค์ตรัสโดยโวหาร เช่นตรัสว่า ราคะ โทสะ และโมหะ เป็นอริยมรรค ถ้าเราจับฉวยตามโวหาร ก็ผิด
    ๔. เพราะการปฎิบัติเข้าถึงโพธินั้น ลำพังกำลังของตนไม่พอที่จะต่อต้านกิเลสมารได้ จำต้องพึ่งอานุภาพของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ช่วยจึงจักสำเร็จ








    </TD></TR></TBODY></TABLE>




     
  7. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    2 แบบเซน

    สายแรกออกจะเน้นไปทาง อิทธิฤทธิ์ ศรัทธาความเชื่อครับ แต่ เซนจะออก ไปแนว ปัญญา การฝึกสติรู้เนื้อรู้ตัว เสมอ ทุกขณะจิต มีคนเคยบอกว่า ญี่ปุ่นเจริญมาจน เป็น ญี่ปุ่น ทุกวันนี้ได้ เพราะ เซน การฝึกไปหา เอาเอง ในไทย น่าจะมี พระที่ฝึกเซน สำเร็จ จะมี พลังจิตในระดับหนึ่งทีเดียว เซนจะมีระดับต่างๆ ขุนนาง กวี จิตร ซามูไร นักดาบ จะสนใจศึกษาเซนกัน เรียกได้ว่า ทุกอณูของ ญี่ปุ่นจะมี เซนเป็นองค์ประกอบ

    ลัทธิบูชิโด ของ ซามูไร ก็ ได้แนวคิดเซนไป เยอะ เพราะ ต้องเผชิญหน้ากับความตาย ตลอดและพุทธเราก็สอน เรื่องความตาย ให้มองความตายเป็นเรื่องปกติ ทำจิตอย่างไรเมื่อเสี้ยววินาทีนั้น คุณต้อง เผชิญกับความตาย การฝึกจิตแบบเซนจะช่วยชามูไรได้ เยอะ ซามูไรเวลาเผชิญหน้ากัน จิตเป็นสิ่งสำคัญ มองหน้ามองท่าทาง เค้า ก็ สามารถสัมผัสถึงฝีมือคู่ต่อสู้แล้ว ว่า ขนาดใหน แค่ รอยตัดกิ่ง กุหลาบ จากดาบซามูไร ซามูไรเก่งๆ จะสามารถประเมินฝีมือคู่ต่อกรได้เลย มีคนจ้องมอง คนกำลังจะรอบทำร้าย บรรยากาศรอบๆซามูไรเก่งๆ จะ รู้ได้ทันที แสดงให้เห็นถึง พลังจิตสัมผัส ในระดับหนึ่ง

    มีนิทานมาเล่าให้ฟัง นะ มีซามูไรคนหนึ่งอยากจะสำเร็จ เคล็ดสุดยอดแห่ง วิชาซามูไรจึงดั้นด้นไปขอเรียนกับ กับ ปรามาจารย์เฒ่าคนหนึ่งในหุบเขา อาจารย์ ก็ รับเข้าสำนัก วันเอาแต่ หุงข้าว ผ่า ฟืน ปรนนิบัติ อาจารย์ เจ้าลูกศิษย์ จึงสงสัย ถามอาจารย์ว่า ไม่เห็นมีอะไรเลย อาจารย์ครับเมื่อจะสอนวิชาผมซักทีล่ะ หลังจากนั้น อาจารย์ เฒ่าจึงแอบเอาไม้ไปตี ลูกศิษย์ ตีครั้งแรกโดนครั้งแรก ลูกศิษย์ กลับ งง ถามไปว่า มาตีผม ทำไมเนี่ย อาจารย์จึงสวนกลับไปว่า ถ้าแก แน่จริง หลบวิถีการตี ฉันให้พ้นสิ นับตั้งแต่วันนั้น หุง ข้าว ผ่าฟืน เข้าส้วม อาบน้ำ นอน เจ้าลูกศิษย์ ระวังตัวเสมอ คอยหลบ วิถีการตี อาจารย์ตลอด ระยะแรก เจอตีบ่อย ต่อมา เจ้าลูกศิษย์ เริ่มเก่ง โดนตี น้อยลง ท้ายที่สุด สามารถระวังตัว หลบ การตีของอาจารย์ได้ ไม่ว่าจะมาในรูปใหน หลบได้ตลอด ถึงขนาดไม่ต้องใช้ตา ใช้จิตสัมผัส ก็ รู้

    อยู่มาวันหนึ่ง ลูกศิษย์สงสัย จึงเข้าไป ถาม ว่ามีอะไร ต้องฝึกเพิ่มใหมครับท่านอาจารย์ อาจารย์ตอบกลับว่า เจ้า สำเร็จ วิชาแล้ว ข้าไม่มีอะไรต้องสอน เจ้าอีกต่อไป

    เทียบกับทางพุทธ คือ การฝึกสติให้ตื่นตัวตลอด 24 ชั่วโมง สติอยู่กับตัวตลอด ฝึกง่ายๆ จากการ คอยระวังตัว รู้เนื้อรู้ตัวทั่วพร้อมตลอด อุบายการฝึกง่ายๆ แบบนี้ มันจึงสำเร็จโดยธรรมชาติ

    มีความรู้มาเสริม

    ๒.นิกายเซ็น หรือธฺยาน (เสี่ยมจง)<TABLE cellPadding=10 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff><TABLE height=25 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD background=pic/tap.gif height=24>[​IMG] ประวัตินิกาย</TD></TR><TR><TD> นิกายนี้ ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า "เสี่ยมจง" แต่เนื่องด้วยคนไทยเราทราบชื่อนิกายนี้ตามภาษาญี่ปุ่นมาว่า "เซ็น" ซึ่งเป็นมูลศัพท์เดียวกัน จึงขอเรียกตามญี่ปุ่นไปด้วย
    นิกายนี้เป็นนิกายที่สำคัญยิ่งนิกายหนึ่ง ซึ่งมีความเจริญแพร่หลายอยู่ทุกยุคทุกสมัย คำว่า "เซ็น" มาจากศัพท์ว่า "ธฺยาน" หรือ "ฌาน" หมายถึงนิกายที่ปฎิบัติทางวิปัสสนา
    ตามประวัติเล่ากันว่า ในสมัยพุทธกาล ณ ท่ามกลางประชุมบริษัท ๔ พระศาสดาได้ทรงชูดอกหนึ่ง มิได้ตรัสเทศนาว่าอย่างไร ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย นอกจากพระมหากัสสปเถระรูปเดียวเท่านั้น ที่ยิ้มน้อยๆ อยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า "ดูก่อน กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรถ์อันถูกต้องและนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริงย่อมไม่มีลักษณะได้มอบไว้ให้แก่เธอแล้ว" เพราะฉะนั้น นิกายนี้จึงนับถือพระมหากัสสปเถระว่าเป็นปฐมาจารย์และถือว่าเป็นนิกายวิปัสสนาโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ ไม่อยู่ในกรอบแห่งคำพูดใดๆ แต่ชี้ตรงไปยังจุดของจิตใจ เพราะฉะนั้น บางทีจึงมีนามเรียกว่า "การเผยแผ่นอกคำสอน" นิกายเซ็นนับตั้งแต่พระมหากัสสปเถระ ได้มีเกจิอาจารย์สืบทอดมาอีก ๒๘ องค์ จนถึงสมัยท่านโพธิธรรม (ตั๊กม่อโจวซือ) จึงได้นำคติของนิกายนี้มาสั่งสอนในประเทศจีน ในสมัยพระเจ้าเหลียงบูเต้ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์เหลียง แล้วต่อแต่นั้นมาก็มีคณาจารย์จีนสืบทอดมาอีก ๕ องค์ จึงนับว่าท่านโพธิธรรมผู้จาริกมาสู่ประเทศจีนในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายเซ็นในประเทศจีน คณาจารย์ฮุ่ยค้อเป็นองค์ที่ ๒ ท่านฮุ่ยค้อได้มอบธรรมให้แก่คณาจารย์เจ็งชั้งเป็นองค์ที่ ๓ และท่านเจ็งชั้งได้มอบให้แก่คณาจารย์เต้าสิ่งเป็นองค์ที่ ๔ นิกายเซ็นแบ่งออกเป็น ๒ สำนัก คือ สำนักของคณาจารย์ฮ่งยิ่มเรียกว่า "สำนักอึ้งบ้วย" ซึ่งถือกันว่าเป็นสำนักที่สืบเนื่องมาโดยตรง และสำนักของคณาจารย์ฮวบย้ง เรียกชื่อว่า "สำนักงู่เท้า" ซึ่งเป็นสำนักแฝงเท่านั้น คณาจารย์ฮ่งยิ่มแห่งสำนักอึ่งบ้วยนับเป็นปฐมาจารย์ของนิกายเซ็นที่แยกสาขาออกมา
    นิกายเซ็นแห่งจีนก็เกิดแตกออกเป็น ๒ สำนักเหมือนกัน สำนักแรกถือกันว่าเป็นสำนักสืบเนื่องมาจากท่านฮ่งยิ่มโดยตรง ผู้เป็นคณาจารย์ชื่อฮุ่ยเล้ง สำนักนี้อยู่ทางใต้ของจีน แพร่หลายไปทั่วจีนใต้ คณาจารย์ฮุ่ยเล้งจึงนับเป็นองค์ที่ ๖ ประวัติของคณาจารย์ฮุ่ยเล้งนี้สำคัญมาก เล่ากันว่า ท่านเกิดในยุคราชวงศ์ถัง เดิมเป็นชาวเมืองน่ำเฮี้ยง แล้วต่อมาได้มาอยู่ในกวางตุ้ง บิดาได้สิ้นชีวิตที่นั่น เหลือแต่มารดาซึ่งยากจนมาก ท่านจึงได้พามารดาอพยพไปอยู่ที่กวางเจาและมีอาชีพหาบฟืนขายเลี้ยงมารดา วันหนึ่งท่านได้เดินผ่านเข้าไปในตลาดได้ยินเสียงสวดมนต์ของอุบาสกคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงอรรถธรรมอันลี้ลับในพระสูตร ชื่อ "วัชรเฉทิกาสูตร" ว่าด้วยการไม่ยึดถือแห่งจิต ท่านเกิดความลุกโพลงแห่งปัญญาขึ้น ได้ไต่ถามที่ไปกับอุบาสกผู้นั้น ทราบว่าเป็นสานุศิษย์ของคณาจารย์องค์ที่ ๕ แห่งนิกายเซ็น และได้แนะนำให้ท่านเดินทางไปศึกษาที่นั่นด้วย ฉะนั้น หลังจากได้จัดการให้มารดาได้ครองชีพโดยเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ออกเดินทางไปที่เมืองคีเจ้า ณ ตำบลอึ้งบ้วย และได้เข้าไปนมัสการคณาจารย์องค์ที่ ๕ พร้อมกับกราบเรียนท่านว่า ข้าพเจ้ามานี้ไม่ต้องการสิ่งใด อุตส่าห์เดินทางมาจากกว้างตุ้งอันไกลแสนไกล ก็เพื่อหวังให้เห็นแจ้งในพุทธภาวะเท่านั้น ท่านคณาจารย์ตอบว่าเจ้าเป็นชาวเมืองกวางตุ้ง ซึ่งเป็นเมืองป่าดง ความเป็นคนป่าอย่างเจ้าจะหวังเป็นพุทธะได้อย่างไร ท่านฮุ่ยเล้งกล่าวว่า ถึงแม้จะมีคนเหนือและคนใต้ หรือจะมีทิศเหนือหรือทิศใต้ก็ตาม หาได้ทำให้พุทธภาวะในคนนั้นๆ ผิดแผกแตกต่างกันไปไม่ คนดงแม้จะต่างกับพระคุณเจ้า ก็เพียงแต่ร่างกายรูปโฉมภายนอกเท่านั้น แต่ในส่วนพุทธภาวะภายในแล้วก็คงเหมือนๆ กันหมด เพราะเหตุนี้ ท่านคณาจารย์องค์ที่ ๕ จึงรับท่านไว้เป็นศิษย์และให้ไปทำงานดรงครัว มีการผ่าฟืนและตำข้าวเป็นต้น ฮุ่ยเล้งทำงานอยู่ในวัดประมาณ ๘ เดือน วันหนึ่งท่านคณาจารย์ได้ปรารภขึ้นในท่ามกลางสานุศิษย์ว่า ท่านปรารถนาจะมอบหมายตำแหน่งคณาจารย์ให้แก่ศิษย์คนหนึ่ง ซึ่งมีดวงปัญญาอันบริสุทธิ์ เข้าถึงแก่นแห่งพุทธภาวะ เวลานั้นมีสาวกรูปหนึ่งชื่อ "สิ่งซิ่ว" ได้ผูกเป็นคำกวีกล่าวถึงอรรถธรรมที่ตัวเห็นแล้ว ไปเขียนไว้ที่ผนังชอ่งทางเดินของท่านคณาจารย์ว่า
    ซินยู่พู่ถี่ฉิ่ว กายนี้อุปมาเหมือนต้นโพธิ์
    ซิมยู่เม่งเกี้ยไท้ ใจนี้อุปมาเหมือนกระจกเงา
    สี่ซี้ขึ่งฮุกชิก จงหมั่นเช็ดถูมันอยู่ทุก ๆ เวลา
    ไม่ไซเยียติ่งอาย อย่าให้ฝุ่นละอองจับคลุมได้

    ท่านคณาจารย์เห็นเข้าก็ยกย่องสรรเสริญ แต่กล่าวกับสิ่งซิ่วว่าเจ้ามีวุฒฺปัญญามาถึงเพียงประตูแห่งความจริงเท่านั้น ไม่อาจล่วงทวารความจริงเข้ามาได้ ฉะนั้นจงกลับไป แล้วจงบำเพ็ญภาวนาให้ดีขึ้นกว่านี้อีก
    ส่วนท่านฮุ่ยเล้ง เดินมาพบคนมุงดูหนังสือของสิ่งซิ่ว จึงถามเด็กว่านี้นเป็นโศลกของใคร เด็กก็ตอบว่าของท่านสิ่งซิ่ว และขอร้องให้เด็กอ่านให้ฟังพร้อมกับให้ช่วยเขียนโศลกของท่านด้วย โศลกของท่านว่า
    พู่ที้ปึ่งบ่ฉิ่ว ต้นโพธิ์นี้เดิมมิใช่เป็นต้นโพธิ์
    เม่งเกี่ยเอี่ยฮุยไท้ ไม่มีกระจกเงาอันใสบริสุทธิ์ด้วย
    ปึ๋งไล้บ่เจ็กม้วย แต่เดิมไม่มีอะไรสักอย่าง
    ห่อฉู่เยียติ่งอาย แล้วฝุ่นละอองจะจับคลุมที่ตรงไหน
    ปรากฏว่าท่านคณาจารย์องค์ที่ ๔ เลื่อมใสท่านฮุ่ยเล้งมากจึงได้มอบบาตรและผ้ากาสาวพัสตร์ตำแหน่งคณาจารย์องค์ที่ ๖ ให้และบอกให้รีบไปตั้งสำนักที่ทางใต้ สำนักนี้จึงเจริญแพร่หลายไปทั่วจีนใต้ ต่อมา ท่านสิ่งซิ่วได้ไปตั้งสำนักอยู่ที่จีนเหนือ ต่อจากนั้นมา นิกายใต้ยังแตกออกอีก ๕ สำนักคือ
    ๑. สำนักฮุ่นมึ้ง
    ๒. สำนักนิ่มชี้
    ๓. สำนักเช่าตั่ง
    ๔. สำนักอุ้ยเอี้ยง
    ๕. สำนักฮวบงั้ง
    ทั้ง ๕ สำนักนี้ สำนักนิ่มชี้แพร่หลายที่สุด จนถึงปัจจุบันนี้
    อนึ่ง ด้วยทัศนะของคณาจารย์ฮุ่ยเล้งและคณาจารย์สิ่งซิ่วต่างกันเช่นนี้ วิธีปฎิบัติจึงพลอยต่างกัน สำนักเหนือมีวิธีปฎิบัติค่อยเป็นค่อยไปโดยลำดับ ส่วนสำนักใต้ปฎิบัติอย่างฉับพลัน เรียกว่า "น้ำตุ้งปักเจี๋ยม" แปลว่าใต้เร็วเหนือลำดับ

    </TD></TR><TR><TD background=pic/tap.gif height=24>[​IMG] คัมภีร์สำคัญ</TD></TR><TR><TD> ความจริงนิกายเซ็นถือว่าเป็นคำสอนพิเศษ เผยแผ่ด้วยวิธีใจสู่ใจ ไม่อาศัยตัวหนังสือหรือการอธิบาย แต่เนื่องด้วยอินทรีย์ของสัตว์มีสูงต่ำ นิกายนี้จำต้องอาศัยหนังสือและคำพูดมาเป็นส่วนประกอบ ซึ่งถือว่าเป็นเพียงอุบายวิธีเท่านั้น ฉะนั้น คัมภีร์ของนิกายนี้จึงมีมากไม่แพ้นิกายอื่น คัมภีร์ที่เป็นหลักคือ
    ๑. ลังกาวตารสูตร (เล่งแคเก็ง) ท่านคุณภัทระแปล และฉบับแปลของท่านโพธิรุจิ ศึกษานันทะแปลอีก ๒ ฉบับ
    ๒. วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (กิมกังปัวเยียกปอลอมิกเก็ง) ท่านกุมาชีพแปล
    ๓. วิมลเกียรตินิทเทศสูตร (ยุ่ยม่อเคียกซอส้วยเก็ง) ท่านกุมารชีพแปล
    ๔. มหาไพบูลย์สมันตโพธิสูตร (ไต้ฮวงก้วงอี่กักเก็ง) ท่านพุทธตาระแปล
    ๕. ศูรางคมสมาธิสูตร (ซิวเล่งเงี้ยมซาม่วยเก็ง)
    ๖. หลักโจ้วไต่ซือฮวบป้อตั่วเก็ง ซึ่งเป็นปกรณ์สำคัญที่สุด กล่าวถึงประวัติของคณาจารย์ฮุ่ยเล้ง และภาษิตของท่าน
    ๗. ซิ่งซิมเม้ง (จารึกศรัทธาแห่งจิต) ของคณาจารย์เจ็งชั้ง
    ๘. จวยเสี่ยงเสงหลง (อนุตตรยานศาสตร์) ของคณาจารย์ฮ่งยิ่ม
    ๙. จงเกี้ยลก (บันทึกกระจกแห่งนิกาย) รวบรวมโดยท่านเอี่ยงซิว
    ๑๐. บ่อมึ่งกวง (ด่านที่ไม่มีประตู) ของท่านจงเสียว
    ๑๑. นั้งเทียนงั่งมัก (จักษุแห่งเทพยดาแลมนุษย์) ของท่านตี้เจียว
    ๑๒. ตุ้งหงอหยิบเต๋าฮวบมึ้ง (ประตูวิถีแห่งการเข้าถึงธรรมอย่างฉับพลัน) เป็นหนังสือถามตอบอย่างง่ายแก่การเข้าใจ นอกจากนี้ยังมีบรรดาอาจริยภาษิตของคณาจารย์ต่างๆ แห่งนิกายเซ็นอีกมาก
    </TD></TR><TR><TD background=pic/tap.gif height=24>[​IMG] หลักธรรม</TD></TR><TR><TD> นิกายนี้ถือว่าสัจจภาวะนั้น ย่อมอยู่เหนือการพูดการคิด เราจะค้นสัจธรรมในหนังสือพระไตรปิฎกย่อมไม่พบ นอกจากเราจะต้องหันมาบำเพ็ญดูจิตใจของตนเอง เพราะความจริงเราจะหาได้ภายในตัวเรานี้เอง จะไปค้นหาภายนอกไม่ได้ จึงมีคำขวัญประจำนิกายนี้ว่า "ปุกลิบบุ่งยี่ ติกจี้นั่งซิม เกียงแส่เซ่งฮุก" แปลว่า ไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือ แต่ชี้ตรงไปยังจิตใจของคน ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริง แล้วบรรลุเป็นพุทธะ
    ดังนั้น นิกายนี้จึงสอนว่า "สรรพสัตว์มีพุทธภาวะหรือธรรมกายรุ่งเรืองสุกใสอยู่ด้วยกันทุกๆ คน คำพูดหรือตัวหนังสือหาเพียงพอที่จะอธิบายถึงสัจจะภาวะอันนี้ไม่ เพราะฉะนั้น บางคราวจำเป็นต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่เสียดแทงเข้าไปถึงหัวใจ ช่วยพาไปให้รู้จัก วิธีนี้นิกายเซ็นเรียกว่า "โกอาน" ซึ่งแปลว่า ปริศนาธรรม สำหรับมอบให้ศิษย์นำไปขบคิด ผู้ใดขบคิดปัญหาโกอานแตกผู้นั้นก็ดวงตาเห็นธรรมได้ ปริศนาเหล่านี้ สะพานไหล น้ำไม่ไหล, ก่อนพ่อแม่ให้กำเนิดเรา หน้าตาดั้งเดิมของเราเป็นอย่างไร, สิ่งทั้งหลายรวมไปที่หนึ่ง หนึ่งนั้นคืออะไร ฯลฯ
    นอกจากนี้นิกายเซ็นกล่าวว่า การปฎิบัติธรรม โดยผ่านตามลำดับขั้นแห่งไตรสิกขานั้น เป็นการเนิ่นนานล่าช้า สู้วิธีการของเซ็นไม่ได้ วิธีการของเซ็นเข้าโดยปัญญาอย่างเดียว เมื่อมีปัญญารู้แจ้งแล้ว ศีลสมาธิก็ย่อมปรากฏเอง คณาจารย์เซ็นอธิบายถึงลักษณะของพุทธภาวะว่า คือจิตเดิมแท้ของแต่ละบุคคลนั่นเอง ดังวาทะของท่านผู้หนึ่งว่า "มหึมาหนอ เจ้าจิต ฟ้าที่สูงไม่อาจประมาณได้ ถึงสุดยอดแล้ว แต่จิตก็อยู่สูงเหนือฟ้านั้นขึ้นไป แผ่นดินที่หนาไม่อาจวัดได้ แต่จิตก็อยู่พ้นแผ่นดินนั้นลงไปแสงสว่างของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไม่อาจข้ามได้ แต่จิตก็อยู่พ้นแสงสว่างของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นไปอีก โลกธาตุทั้งปวงมีปริมาณดุจเมล็ดทรายไม่มีที่สิ้นสุด แต่จิตก็อยู่นอกเหนือจักรวาลทั้งหลายดังกล่าวไปอีก จะว่าเป็นอากาศหรือ จะว่าเป็นธาตุสภาวะหรือ จิตก็ครอบงำอากาศ ทรงไว้ซึ่งธาตุภาวะเดิม อาศัยตัวของเราฟ้าจึงครอบจักวาล และดินจึงรับรองจักรวาล อาศัยตัวของเรา ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จึงหมุนเวียนไป อาศัยตัวของเราฤดูทั้ง ๔ จึงมีการเปลี่ยนแปลง อาศัยตัวของเรา สรรพสิ่งจึงอุบัติขึ้น ใหญ่โตจริงหนา! เจ้าจิตนี่ข้าให้นามแก่เจ้าละว่า ปรมัตถสัจจะและอนุตตรสัมโพธิ หรือศูรางคมสมาธิและสัมมาธรรมจักษุครรภ์ หรือนิพพานจิต"
    นอกจากนี้ วิธีขบปริศนาโกอาน หรือที่เรียกว่าปริศนาธรรมนั้น มีวิธีการแปลกๆ เช่น ครั้งหนึ่งในฤดูหนาว มีหลวงจีนรูปหนึ่งชื่อ ตังเฮี้ยเดินทางมาขออาศัยพักแกรมในวัดแห่งหนึ่ง เมื่อหิมะตกจัด หลวงจีนรูปนี้จึงเข้าไปในโบสถ์ แล้วนำเอาพระพุทธรูปออกมา ทำฟืนเผาไฟ บังเอิญสมภารวัดเดินผ่านมาพบเข้า จึงทักท้วงการกระทำเช่นนั้น หลวงจีนตังเฮี้ยกล่าวว่าที่เผาพระพุทธรูปก็เพราะต้องการหาพระบรมธาตุ สมภารแย้งว่า พระพุทธรูปไม้จะเอาพระบรมธาตุมาแต่ไหน หลวงจีนต้งเฮี้ย จึงย้อนเอาว่าเมื่อหาพระบรมธาตุไม่ได้ ก็ขอเอาพระพุทธรูปมาเผาอีกสัก ๒-๓ องค์ สมภารเมื่อได้ฟังดังนั้น ก็มีดวงตาเห็นธรรมทันที โกอานอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าคราวหนึ่งมีขุนนางไจ๊เสี่ยง เดินทางไปถามปัญหาธรรมกับพระกัมมัฎฐานรูปหนึ่งว่าพระนิพานมีลักษณะอย่างไร พุทธภาวะมีลักษณะ อย่างไร พระรูปนั้นตอบว่า เชิญท่านไจ๊เสี่ยงไปนั่งเก้าอี้ดื่มน้ำชาก่อน ขุนนางตอบไปว่า ผมมาในที่นี้เพราะอยากถามเรื่องนิพานกับพุทธภาวะท่านโปรดอธิบายให้ฟังก่อน พระรูปนั้นตอบว่า อากาศข้างนอกเย็นสบายดีจริง ขุนนางไม่พอใจแสดงกิริยาเคืองออกมาให้เห็นพร้องกล่าวว่า ผมไม่ต้องการฟังคำพูดอย่างงนั้นผมอยากรู้เรื่องพระพุทธภาวะและพระนิพานเท่านั้น พระรูปนั้นจึงว่า ไม่มีภาษา ไม่มีบัญญัติ ไม่มีโวหาร สิ่งๆ นั้นมีอยู่ในตัวของท่านเอง
    ซาเซ็น (การปฏิบัติณาน)
    พุทธภาวะที่ไม่เกิดแก่เจ็บตายอันมีอยู่ทั่วไปและมีอยู่แก่สรรพสัตว์ทั้งสิ้นและเป็นภาวะบริสุทธิ์มาแต่ดั้งเดิม แต่ปุถุชนถูกอวิชชากำบัง เข้าใจว่าตนนั้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งดป็นความหลงผิดนั้น ต้องกำจัดอวิชชานี้ออกไปเสียด้วยวิธีทำซาเซ็น ซึ่งภาษาจีนว่า "ชัมเซี้ยม" คือทำณานให้เกิด
    นิกายเซ็นกล่าวว่า ปัญญากับณานจะแยกกันมิได้ ณานที่ไร้ปัญญาก็มิใช่ณานชนิดโลกุตตระ นิกายเซ็นมีวิธีเรียกว่า " ชัมกงอั่ว "หรือภาษาญี่ปุ่นว่า" โกอาน " ซึ่งแปลว่าปริศนาธรรมเช่นว่าสุนัขมีพุทธภาวะหรือไม่ ผู้ใดเป็นผู้สวดมนต์ภาวนาอยู่นี้ ศิษย์จะนำไปขบคิดจนกระทั่งขบแตก ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกของปัญญา ที่จะนำตนให้พ้นวัฎฏสงสารทีเดียว
    ภูมิธรรม การบรรลุธรรมของนิกายเซ็นแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ
    ระยะแรกเรียกว่า " ชอกวง "หรือ"ปุนซัม " ได้แก่การขบปริศนาธรรมแตก เกิดปัญญารู้แจ่มจ้า เห็นภาวะดั่งเดิมอันบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสของตนเอง
    ระยะกลางเรียกว่า " เต้งกวง " คือการใช้ปัญญาพละและในระยะนั้นเอง ก็กำหราบสรรพกิเลสให้อยู่นิ่งเป็นตะกอนน้ำนอนก้นถังอยู่
    ระยะหลังเรียกว่า " หมวงเอ้ากวง " คือการทำลายกิเลสที่เป็นตะกอนนอนก้นนั้นให้หมดสิ้นไป
    นิกายเซ็นมีอิทธิพลครอบงำความคิดความอ่านของชนชั้นนักศึกษาจีนและญี่ปุ่นนับเป็นพันๆปีจนถึงปัจจุบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. jeds22

    jeds22 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +498
    ดีจริงๆครับ
     
  9. Ninja aa

    Ninja aa บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    อยากรู้ว่า นินจา มันแยกร่างได้ยังไง คับ หรือ มันมีคาถา อะไรหรอคับ
     
  10. pongsiri

    pongsiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2005
    โพสต์:
    1,074
    ค่าพลัง:
    +638
    ความจริงนินจาแยกร่างไม่ได้ครับ ที่เราเห็นเขาแยกร่างเพราะว่าตาเราลาย (ตาลายมาเห็นมาก)อ่ะครับ
     
  11. undeath13

    undeath13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    1,480
    ค่าพลัง:
    +1,830
    นินจาแยกร่าง นอนจาหายตัว นินจาแปลงร่างๆลๆ


    สงสัยเป็นนินจาอภิญญามั้ง -*-
     
  12. เอ๊ะ!...ใครว๋า

    เอ๊ะ!...ใครว๋า บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    เจอเพื่อนชาวอาทิตย์อุทัย เค้าเล่าว่า กำลังฝึกมิทดิเทชั่นควบกสิณด้วยการเพ่งก้อนคริสตันกลมที่จัดแบบสวนถาดมีน้ำ หินเขาจำลอง มีแสงกระจ่างในคริสตัน มีควันเย็นพวยพุ่ง เค้าบอกครบทุกธาตุ เพ่งแล้วดีทั้งทางกายและใจ เราก้อบอกคล้ายๆกันแหล่ะกับการเพ่งกสิณของไทย ตอนนี้คลินิคต่างๆจะนิยมจัดห้องรับรองคนไข้ด้วยสวนถาดแบบที่ว่าเพื่อลดความเครียดของคนไข้
     

แชร์หน้านี้

Loading...