อัชฌาสัย เจโตวิมุติ ต่างจาก ปัญญาวิมุติ อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หมูสวย, 4 กันยายน 2008.

  1. หมูสวย

    หมูสวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +123
    [​IMG]



    เจโตวิมุติ
    โดย พระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ทูล ขิปปปญโญ
    วัดป่าบ้านค้อ ต. เขือน้ำ อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี

    ผู้มีนิสัยเป็นเจโตวิมุติ ในอดีตชาติที่ผ่านมาเคยเป็นดาบสฤๅษีมาก่อน ได้บำเพ็ญสมาธิ มีฌาน อภิญญา มาจนเป็นนิสัย ไม่เคยฝึกสติปัญญาในการพิจารณาในสัจธรรมแต่อย่างใด มีแต่ตั้งใจทำสมาธิ ทำฌาน อภิญญา มาตลอด เมื่อท่านเหล่านั้นได้มาเกิดในยุคปัจจุบันนี้ การปฏิบัติก็จะมีนิสัยพอใจในการทำสมาธิความสงบ มีฌาน มีอภิญญาเกิดขึ้นตามนิสัยเดิม เมื่อฌานอภิญญาเกิดขึ้นแล้วก็จะเป็นทางตัน ปฏิบัติวกวนไปมาอยู่ในสมาธิ วกวนไปมาอยู่กับฌานอภิญญาเท่านั้น จะไม่รู้จักทางออกเพื่อความหลุดพ้นเข้าสู่กระแสธรรมได้เลย จะมีการหลงติดอยู่อย่างนี้ไปจนตลอดวันตาย ผู้มีนิสัยในทางเจโตวิมุติ การปฏิบัติให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้ ท่านเหล่านี้ต้องไปเกิดในยุคสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์ชีพอยู่ จึงจะได้บรรลุธรรมในมรรคผลนิพพานได้ เพราะท่านเหล่านี้ยังติดอยู่กับความสงบติดอยู่ในฌาน จะมาฝึกสอนให้ใช้สติปัญญาพิจารณาในสัจธรรมตามความเป็นจริงในทีเดียวไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงมีความรอบรู้ในวิธีการสอนท่านเหล่านี้เป็นอย่างดี พระองค์จะต้องสอนให้ทำสมาธิความสงบ ให้ทำฌานจนถึงที่สุด เมื่อถึงที่สุดของฌานแล้วจะทำต่อไปอีกไม่ได้ จึงเรียกว่าเป็นทางตัน เมื่อถึงทางตัน ก็จะมีการปฏิบัติแบบวกวนไปมา ก็จะเริ่มตั้งต้นในการทำฌานใหม่ เหมือนกับตาบอดพายเรืออยู่ในสระ หาทางออกไม่ได้เลย ในจุดนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงจะทรมานให้กลับใจได้ จะตรัสในเชิงตำหนิให้ข้อคิดเพื่อให้ท่านเหล่านั้นมีความสำนึกว่า การทำสมาธิความสงบ การหลงติดอยู่ในฌาน จะเกิดความสุขทางใจได้ไม่นานก็จะเสื่อมไป วิธีการทำอย่างนี้ เราตถาคตได้ทำมาก่อนแล้ว ไม่ใช่แนวทางที่จะละอาสวกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจได้ มิใช่แนวทางที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้า ที่จะหลุดพ้นเข้าสู่มรรคผลนิพพานแต่อย่างใด ในเมื่อชีวิตตายไป ก็จะได้เป็นพรหมมีอายุยืนยาว เมื่อเสื่อมจากพรหมก็จะได้มาเกิดในโลกนี้ต่อไป หลงใหลอยู่ในโลกนี้โดยไม่มีจุดหมายปลายทาง จะลอยไปตามกระแสโลกไปไม่มีที่สิ้นสุดลงได้
    ในเมื่อท่านเหล่านั้นได้ฟังคำตำหนิอย่างนี้ จึงเกิดความสำนึกตัวขึ้นมา จึงยอมปฏิบัติตามในอุบายวิธีของพระพุทธเจ้าได้อบรมสั่งสอน พระพุทธองค์ทรงให้อุบายในการปฏิบัติต่อไปดังนี้ การทำสมาธิจิตมีความสงบแล้ว ให้จิตอยู่ในความสงบนั้น อีกไม่นานก็จะมีการถอนตัวออกมา ในขณะที่จิตถอนตัว ให้มีสติกำหนดเอาไว้อย่าให้ถอนออกมาหมด ให้กำหนดจิตอยู่ในสมาธิความตั้งใจมั่นที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นโทษในการทำฌาน ว่ามิใช่เป็นแนวทางที่จะละอาสวกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจได้ การทำสมาธิความสงบ การหลงติดอยู่ในฌาน เหมือนกับก้อนหินทับหญ้าเอาไว้ เมื่อยกหินออกที่นั้นไป หญ้าก็จะเกิดขึ้นมาในที่นั้น นี้ฉันใด จิตที่หลงติดอยู่ในความสงบของสมาธิ หลงอยู่ในฌาน ก็เป็นเพียงทับกิเลสตัณหาเอาไว้ฉันนั้น เมื่อสมาธิความสงบและฌานเสื่อมไป กิเลสตัณหาน้อยใหญ่ก็เกิดขึ้นมาที่ใจตามเดิม ท่านเหล่านั้นก็จะใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นในความเป็นจริงในสัจธรรม ในธาตุสี่ขันธ์ห้า ให้เป็นไปใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาให้รู้เห็นว่าร่างกายนี้มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก อีกไม่นาน ก็จะลงทับถมในแผ่นดิน เน่าเปื่อยผุพังกลายเป็นธาตุเดิมของโลกต่อไป เมื่อท่านเหล่านั้นใช้ปัญญาพิจารณาอยู่อย่างนี้บ่อย ๆ ก็จะเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายคลายออกจากความกำหนัดยินดี จิตก็จะหลุดพ้นเข้าสู่แห่งวิมุตินิพพาน จึงให้นามพระอรหันต์จำพวกนี้ว่า เจโตวิมุติ คือผู้ที่ได้ทำสมาธิความสงบและทำฌานมาก่อน แล้วมาใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมในภายหลัง เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว จะเล่นอยู่ในฌานเล่นอยู่กับอภิญญาก็ไม่มีปัญหาอะไร
     
  2. หมูสวย

    หมูสวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +123
    ปัญญาวิมุติ

    ปัญญาวิมุติ
    โดย พระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ทูล ขิปปปญโญ
    วัดป่าบ้านค้อ ต. เขือน้ำ อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี


    ในยุคนี้สมัยนี้ ผู้ปฏิบัติยังไม่รู้ตัวเองว่ามีนิสัยอะไร เมื่อตัวเองมีนิสัยปัญญาวิมุติ แต่ไปปฏิบัติในวิธีของผู้มีเจโตวิมุติ จะไม่เกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด หรือผู้มีนิสัยเจโตวิมุติจะไปปฏิบัติในวิธีของผู้มีปัญญาวิมุติ การปฏิบัติก็จะไม่ได้รับผลเช่นกัน ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาวิธีสังเกตตัวเองว่าเรามีนิสัยอะไร เมื่อเข้าใจแล้ว ก็ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนิสัยของตัวเองได้ ผลของการปฏิบัติจึงจะเกิดขึ้น จะไม่ทำให้เสียเวลา ในสมัยครั้งพุทธกาล ส่วนมากจะเป็นนิสัยปัญญาวิมุติ การปฏิบัติได้หลุดพ้นด้วยปัญญาถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ให้ศึกษาดูในพระสูตรในเรื่องของพระอริยเจ้าผู้ได้บรรลุธรรม ทั้งพระและฆราวาส ในระดับภูมิธรรมพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ จะรู้ได้ทันทีว่าบรรลุธรรมด้วยปัญญาวิมุติเป็นส่วนมาก เมื่อได้ฟังธรรมอยู่ในขณะนั้น บางท่านบางกลุ่มก็ได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าได้เลย หรือใช้ปัญญาพิจารณาปฏิบัติต่อไป ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าเช่นกัน ฉะนั้น ขอให้ผู้ปฏิบัติได้ทบทวนในวิธีการปฏิบัติของตัวเองเสียใหม่ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขในอุบายวิธีในการปฏิบัติของตัวเอง จะได้ไม่เสียเวลาในการปฏิบัติธรรม ในยุคนี้ผู้สอนและผู้ปฏิบัติจะทำกันในวิธีเจโตวิมุติเท่านั้น ถ้าผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติไปปฏิบัติอย่างนี้ จะไม่เกิดผลของการปฏิบัติแต่อย่างใด ผู้ปฏิบัติต้องสังเกตดูใจตัวเองว่า ในช่วงขณะเรานึกคำบริกรรม ใจมีความตั้งมั่นได้แล้ว ในขณะนี้ ใจเรามีความต้องการความสงบ หรือใจเราชอบในการคิด ถ้าใจเราชอบอยู่ในความสงบก็น้อมใจให้ลงสู่ความสงบต่อไป เมื่อใจได้ถอนออกจากความสงบแล้ว ก็น้อมใจไปในการพิจารณาด้วยปัญญาได้เลย นี้เป็นพวกเจโตวิมุติ พวกปัญญาวิมุติ เมื่อจิตมีความตั้งใจมั่นได้แล้ว ชอบมีความคิดเกิดขึ้น ถ้าเป็นในลักษณะนี้ ก็ให้หยุดในการทำสมาธิน้อมใจใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมต่อไปได้เลย เพราะนิสัยเราเป็นอย่างนี้ จะบังคับให้ใจมีความสงบก็จะไม่มีความสงบอยู่นั่นเอง <O:p</O:p

    การทำสมาธิในยุคนี้มีหลายสำนัก ที่สอนภาคปฏิบัติมีความแตกต่างกันไปและต่างกันกับในสมัยครั้งพุทธกาลอยู่มาก ในยุคนั้นทำสมาธิไม่ให้มีความอยาก ที่ในยุคนี้ทำสมาธิ เพื่อให้เกิดความอยาก เช่น อยากให้ฌานอภิญญาเกิดขึ้น อยากให้ใจมีความบริสุทธิ์ อยากละกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจ อยากให้ปัญญาเกิดขึ้นจากสมาธิ เข้าใจว่าถ้าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะไปละกิเลสตัณหาน้อยใหญ่ให้หมดไปจากใจได้ ก็จะสำเร็จเป็นพระอริยเจ้าเกิดขึ้นมาเอง ความเห็นในลักษณะนี้มีความแตกต่างจากคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าอยู่มาก ในสมัยครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนใครที่ไหน ไม่มีใครเกิดปัญญาขึ้นมาจากความสงบนี้เลย ไม่มีพยานบุคคลเป็นตัวเอย่าง ขอให้ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าให้เข้าใจ ไม่เช่นนั้น จะมีคนเกิดความเข้าใจผิดและความเห็นผิดต่อไป ทำไมจึงสอนและปฏิบัติอยากรู้เห็นในนิมิตนั้น ๆ เมื่ออกจากสมาธิแล้วครูสอนจะถามว่าเป็นอย่างไร เห็นอะไรบ้างไหม เห็นเป็นลักษณะใด ถ้าผู้มีนิมิตให้เห็นก็พูดไปตามนั้น เห็นเป็นท้องฟ้าบ้าง เห็นเป็นเทวดาบ้าง เห็นนรกเห็นเปรตบ้าง และเห็นลูกกลม ๆ ใส ๆ บ้าง และเห็นแตกต่างกันไป ผู้ที่ยังไม่เห็นก็อยากจะเห็น เป็นอันว่าทำสมาธิเพื่ออยากเห็น ในบางแห่งก็สอบอารมณ์ว่าอารมณ์อย่างนั้นเป็นฌานนั้นได้ขั้นนี้ไป ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกองค์ไหนไปสอบอารมณ์อย่างนี้ และมีอีกหลายวิธีในการทำสมาธิแตกต่างกันไป ในสมัยครั้งพุทธกาล ทำสมาธิเพื่อนำมาเสริมปัญญาเท่านั้น มิใช่ว่าทำสมาธิเพื่อให้เกิดเป็นอย่างนั้น มีนิมิตเป็นอย่างนี้เหมือนยุคปัจจุบัน <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2008
  3. หมูสวย

    หมูสวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +123
    ถาม-ตอบ

    ถาม : ถ้าการปฏิบัติธรรมที่เราคิดจะหนีกรรม ทีนี้ถ้าสามารถปฏิบัติได้ถึงให้เข้าสู่พระนิพพานแล้วนี่ แสดงว่ากรรมนั้นไม่ได้ถูกชดใช้เลยใช่มั้ยคะ ?

    ตอบ : ไม่ได้ใช้เลยเขาเรียก อโหสิกรรม คือต้องขาดกันไปโดยอัตโนมัติเลย เพราะอีกผู้หนึ่งบริสุทธิ์จนกระทั่งพ้นเขตของกรรมไปแล้ว กรรมไม่สามารถส่งผลให้ได้เขาเรียก “อโหสิกรรม” คราวนี้ว่าการปฏิบัติเพื่อหนีกรรมนี่ ถ้าเรามั่นคงในทาน ศีล ภาวนาจริง ๆ กฎของกรรมตามได้ไม่เกิน ๒๕% อันนี้หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านบอกไว้เองนะ เพราะฉะนั้นโดยเฉพาะตัวภาวนาทำให้มากเข้าไว้ กำลังยิ่งสูงเท่าไหร่ บุญก็จะส่งให้เราห่างกรรมออกไปมากเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถาม : คนที่ปฏิบัติที่มีการปฏิบัติอยู่ตลอดเวลานี่ ....(ไม่ชัด)...จะมากกว่าคนทั่วไปใช่มั้ยคะ ?
    <O:p</O:p

    ตอบ : ก็ไม่แน่เหมือนกันปฏิบัติอยู่ตลอดเวลานี่แต่ฟุ้งซ่านก็ไม่เอาไหนอยู่นะจ๊ะ ท่านหมายความว่ากำลังใจของเขาถ้าต้องมุ่งตรงแล้วต้องเป็นหนึ่งแล้ว ลักษณะเหมือนท่อน้ำท่อหนึ่ง ถ้าหากว่ามันแตกแขนงออกมากมายเท่าไหร่ก็ตาม กำลังน้ำที่มันจะมุ่งตรงไปมันก็เบาลงเท่านั้น ใช้งานได้ยาก
    แต่ถ้าเราปิดท่อที่แตกแขนงออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ กำลังน้ำมันก็จะแรงขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเต็มกำลังของมันลักษณะเดียวกับเราสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านี้เป็นต้น ถ้าหากว่าไม่เปิดช่องให้มันแลบออกไปข้างนอกได้ กำลังมันรวมตัว พอการตัดกิเลสต่าง ๆ มันก็ง่ายขึ้น
    <O:p</O:p

    ถาม : อย่างนี้พูดง่าย ๆ คือการรักษาให้มั่นคงใช่มั้ยคะ ?
    <O:p</O:p

    ตอบ : จ้ะ รักษาให้มั่นคงมันไม่ยาก มันยากตรงทำให้ต่อเนื่อง เพราะว่ากำลังใจของเราอย่างฌานโลกีย์พอเรารวมกำลังใจได้มันก็มั่นคง ทรงฌาน ๔ ก็ทรงเป๋งเลย แต่ทำอย่างไรที่เราจะรักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่องยาวนานได้ตรงนี้สำคัญกว่า ส่วนใหญ่พวกเราจะประสบปัญหาก็คือว่า พอเลิกภาวนาก็เลิกเลยมันใช้ไม่ได้ เพราะว่าอันนั้นมันจะเท่ากับว่าหากินทีละมื้อ ตำข้าวสารกรอกหม้อเฉย ๆ พอเราลุกขึ้นต้องรักษาอารมณ์ตอนนั้นให้อยู่กับเราให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพื่อให้จิตมันชินกับการที่กิเลสหรือว่านิวรณ์โดนกดเอาไว้ก่อน จนกว่าเราจะละมันได้เอง ถ้าเรากดมันไว้จนชินมันมีสิทธิ์ที่จะบรรลุมรรคผลได้เรียกว่า บรรลุโดยเจโตวิมุติ คือใช้กำลังใจข่มเอาไว้ เขาเปรียบเหมือนเอาหินทับหญ้าทับนาน ๆ เข้าหญ้ามันตายไปเอง เพราะเราเองต้องพยายามทับหญ้ามันไว้ให้ยาวนานที่สุดเท่าที่เราทำได้ ไม่ใช่ลุกขึ้นแล้วเลิกเลยนะ
    ตัวรักษาอารมณ์ต่อเนื่องสำคัญที่สุดในการปฏิบัติ จะก้าวหน้าหรือไม่ก้าวหน้าอยู่ตรงนี้แหละ ถ้าเราไม่รักษาให้ต่อเนื่องไม่หมั่นพิจารณาดูว่า เหตุอะไรที่ทำให้ใจของเราสบายแล้วทำเหตุนั้น เหตุอะไรที่ทำให้ใจเราไม่สบายแล้วละเหตุนั้นเสีย ถ้าเราไม่รู้จักเลือกหาตรงจุดนี้แล้วรักษาอารมณ์เราให้ต่อเนื่องในด้านดีเอาไว้ มันจะก้าวหน้าลำบาก จะสงสัยว่า เอ๊ะ ! ทำเท่าไหร่ ๆ มันก็ได้แค่นั้น ก็เราทำแค่นั้นมันไม่ทำให้เยอะกว่านั้นนี่

    ถาม : เรียกว่าล้มเหลวได้มั้ยคะ ?
    ตอบ : จะเรียกว่าล้มเหลวก็ได้ แต่จริง ๆ มันยังได้อยู่คือ ได้ทำ (หัวเราะ) ได้ทำนี่เหนื่อย แต่งานมันได้น้อย<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2008
  4. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  5. tem04

    tem04 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +54
    ขอบคุณค่ะ เมื่อวานนี้searchหาอยู่ แต่ยังไม่ได้คำตอบ เคยมีเพื่อนที่เป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ทูลพูดถึง ยังคิดอยู่ว่าต้องไปถามเขาดีกว่า ดีเลยได้อ่านข้อความคุณหมูสวยก่อนจะได้มีอะไรในหัวบ้าง
     
  6. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    "ในสมัยครั้งพุทธกาล ทำสมาธิเพื่อนำมาเสริมปัญญาเท่านั้น มิใช่ว่าทำสมาธิเพื่อให้เกิดเป็นอย่างนั้น มีนิมิตเป็นอย่างนี้เหมือนยุคปัจจุบัน ...................."

    อนุโมทนาสาธุ .................ผมรู้จักท่านในหนังสือบริจาค เรื่อง ทวนกระแส พ้นกระแส ฯลฯ นับเป็นพระในสายวัดป่าที่มีแนวคำสอนแตกต่างจากครูบาอาจารย์สายวัดป่าหลายท่าน ที่สำคัญคือ ท่านมีความรู้สูงมาก เมื่อมาปฏิบัติแล้ว สามารถถ่ายทอดออก

    มาเป็นคำพูดได้ดี เหมือนท่านอาจารย์ชา สุภัทโท และ ท่านพุทธทาส แต่บางท่านแม้ปฏิบัติได้ดี ท่านถ่ายทอดให้เรารู้ตามได้ยาก นอกจากบรรดาลูกศิษย์ที่ช่วยเกลาภาษาให้ พวกเราจึงได้รับรู้ เข้าใจ ธรรมที่รู้จากใจของท่าน ได้มากขึ้น.

    <O:p</O:p<!-- / message --><!-- edit note -->
     
  7. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...
     
  8. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ
    (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากมุตโตทัย)

    อนาสวัง เจโตวิมุตตัง ปัญญาวิมุตตัง ทิฏเฐวะ ธัมเมะสยัง อภิญญา สัจฉิกตวา อุปปสัมปัชชะ วิหรติ
    พระบาลีนี้แสดงว่า
    พระอรหันต์ทั้งหลายไม่ว่าประเทศใด ย่อมบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติที่ปราศจากอาสวะในปัจจุบัน
    หาได้แบ่งแยกไว้ว่าประเภทนั้นบรรลุแต่เจโตวิมุตติหรือปัญญาวิมุตติไม่

    ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่าเจโตวิมุตติเป็นของพระอรหันต์ผู้ได้สมาธิมาก่อน
    ส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของพระอรหันต์สุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆนั้น
    ย่อมขัดแย้งต่อมรรค มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีทั้งสัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ
    ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรมจำต้องบำเพ็ญมรรค ๘ บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็จะบรรลุวิมุตติธรรมไม่ได้

    ไตรสิกขาก็มีทั้งสมาธิทั้งปัญญาอันผู้จะได้อาสวักขยญาณต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน
    ฉะนั้นจึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ ด้วยประการฉะนี้แล

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ^_^
     
  9. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,938
     
  10. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เพื่อความเข้าใจในเชิงอรรถ ขออนุญาติยกคำอธิบาย วิมุตติ 2 ดังนี้
    ที่มา : http://www.dhammathai.org/dhamma/group02.php?#43

    ซึ่งจะเห็นว่า เจโตวิมุตติ คือ ส่วนที่ทำให้พ้นจากราคะ
    ส่วน ปัญญาวิมุตติ คือ ส่วนที่ทำให้พ้นจากอวิชชา ต่างส่วน
    ต่างทำหน้าที่คนละอย่าง และการหลุดพ้นจำต้องอาศัย วิมุตติ 2
    ประกอบด้วยกัน ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปไม่ได้

    หากเจริญแต่ เจโตวิมุตติ ทำสมถะ สมาธิแต่เพียงส่วนเดียว ก็หลุด
    พ้นได้จากราคะเพียงส่วนเดียว ดังนั้น การทำวิปัสสนาเจริญปัญญา
    จะต้องกระทำด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2008
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666

    สิ่งร้อยรัดสามตัวแรก วิปัส อย่างเดียวข้ามได้ แต่ที่เหลือนี่ ถ้าไม่ได้ สมถะ ช่วยก็จะเป็นเรื่องยาก

    ไม่ได้บอกว่าวิปัสข้ามหมดไม่ได้นะ แต่บอกว่ายาก

    ควรได้ทั้งสอง ทั้งสมถะ และวิปัส จะได้สิ้นสงสัย ^-^
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เท่าที่เจอ ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้บวชเป็นพระ ก็ประสบทุกข์ จนอยากพ้นทุกข์ มีวิปัสนำซะเยอะ ส่วนสมถะนำที่เข้าถึงผลโดยไม่หลงซะก่อน ไม่ค่อยเจอ จะเห็นก็แต่พระเกจิต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ทั้งสองสายที่แยกจากกันชั่วคราว ถ้าเพียรจริง ๆ มันแยกกันไม่ออก ในแง่การปฏิบัติ ^-^
     
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เจโตวิมุตติ นี้คืออะไร คือ การทำสมาธิ จิตตั้งมั่นใช่หรือไม่ หากจิตตั้งมั่น
    แล้วเรื่องกิเลสพื้นฐานอย่าง โลภะ โทษะ ให้ยกไป ไม่ต้องกล่าว เพราะใครๆ
    ก็รู้ว่าตอนนั่งสมาธิ หรือ จิตตั้งมั่น กิเลสหยาบๆ สองตัวนี้แทรกเข้ามาไม่ได้

    ส่วน โมหะ คือ ส่วนของอวิชชา หากเจโตวิมุตติทำแล้วพ้นโมหะได้ ก็คงไม่
    ต้องอาศัยปัญญาวิมุตติอีก

    การกล่าว ราคะ นั้น อย่าไปคิดตื้นๆแค่ กามราคะ แต่หมายถึง ตัณหาโดยรวม
    ( ตัณหา 3 มี กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ) เจโตวิมุตติสาธารณะ
    ของศาสนาอื่นๆทำได้แค่ละกามราคะ

    แต่ละอีกสองส่วน ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ละไม่ได้

    ไม่เหมือนเจโตวิมุตติของพุทธ
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    งั้นเวลาจะแย้ง ต้องสิ้น โทษะ โลภะ โมหะ นะ

    ก็ทบทวนเสียก่อน
     
  15. ดาราจักร

    ดาราจักร ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,707
    ค่าพลัง:
    +10,094
    ขออนุญาติ

    ในเมื่อ ราคะ อันเป็น ตัณหา นั้นถูกละไปได้แล้วจริง ฉันใด

    โทสะ กับ โมหะ ก็ อันเนื่องมาจาก ตัณหา ก็จะละตามกันไปได้ ฉันนั้น

    แล้ว วิชชา จะไม่เกิดได้อย่างไร

    เป็นเรื่องของลำดับ ก่อนหลัง ครับ ไม่ได้แบ่งแยก ว่าเป็นวิมุตินั้นต่างกัน

    เพราะ อธิจติ ก็ต้องอาศัย ปัญญา เพื่อหลุดพ้น

    หรือ เพราะ อธิปัญญา ก็ต้องอาศัย สมาธิ เพื่อหลุดพ้น

    หรือ เพราะ สมาธิ กับ ปัญญา ก็ต้องอาศัย อธิศีล เป็นบาท เป็นพื้น ก่อน จึงจะมีได้

    เพราะฉะนั้น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงให้ ศึกษาทั้ง 3 อย่าง คือ ไตรสิกขา

    1 ศีล 2 สมาธิ 3 ปัญญา

    หรือ มรรค 8 ผล 8

    หรือ อริยสัจ 4

    หรือ ทาน ศีล ภาวนา

    หรือ เพียรทำดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

    หรือ ทั้ง 84,000 พระธรรมขรรค์ อันมีอยู่ในพระไตรปิฎก ครับ

    เพราะ เรามีธรรม เอาใว้เพือละ มิใช่เพื่อ ยึดมั่นถือมั่น ในธรรมนั้นครับ

    คนที่ทำสมถะสมาธิ ก็เจริญวิปัสสนาได้ คนที่เจริญวิปัสสนา ก็ทำสมถะได้ครับ

    เรื่องนี้ไม่มีใครห้าม ไม่ได้เกิดจากการคาดหวังอะไรจากการกระทำใดใด

    อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...