อาการนอนสะดุ้งในเด็กแรกเกิด คุณแม่จะทำอย่างไร

ในห้อง 'ลงประกาศ ซื้อ-ขาย หรือทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย przab, 13 มิถุนายน 2018.

  1. przab

    przab สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +0
    อาหารเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างและพัฒนาการเด็ก ดังนั้นคุณแม่มือใหม่หลายๆ ท่านขณะที่กำลังตั้งครรภ์ต่างก็จะหาแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมต่างๆเพื่อได้ศึกษาข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลลูกน้อยเมื่อเขาได้ออกมาดูโลก
    ที่สดใสสวยงามพร้อมกับสมาชิกที่อบอุ่นในครอบครัวเช่นเดียวกัน ดังนั้นเรามาดูกันว่า มีพัฒนาการใดบ้างที่เสริมสร้างให้ลูกน้อยของเราได้เติบโตสมวัย และควรที่จะจัดการดูแลด้านโภชนาการอย่างไรค่ะ

    เด็กแรกเกิดนั้นเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้โลกใบใหม่ พร้อมเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ภายในรอบตัวของเขาอยู่แล้ว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่จึงต้องเตรียมพร้อมอย่างละเอียด แบบก้าวต่อก้าว เดือนต่อเดือน เพื่อเราจะได้เรียนรู้พัฒนาการของลูกน้อยแบบก้าวต่อก้าว เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตสมบูรณ์ และมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านตั้งแต่ก้าวแรกที่เกิดมาเลยค่ะ

    วัยแรกเกิด
    ช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่จะเห็นทารกน้อยนั้นจะหลับพริ้มทั้งวัน แต่ใช่ว่าลูกจะทำอะไรไม่ได้เลยนะคะ เพราะทุกช่วงเวลา
    นาทีที่ผ่านไปคุณแม่ช่วยสร้างเสริมพัฒนาการต่างๆของลูกน้อยได้ไม่ต่างจากทารกวัยอื่นๆ เลยค่ะ เพราะอีกทั้งช่วงเวลานี้ยังเป็น
    ช่วงเวลาที่สำคัญมากๆ เพราะเป็นช่วงที่ทั้งคุณแม่และคุณลูกน้อยอยู่ระหว่างการปรับตัวเข้าหากันค่ะ

    พัฒนาการด้านสติปัญญาและการเรียนรู้

    สัปดาห์ที่ 1ของทารกน้อย เมื่อลูกน้อยต้องการเวลานอนหลับอย่างน้อย 17-18 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับที่เพียงพอ สำคัญยิ่ง
    ต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของลูกน้อย เพราะขณะที่เขาหลับนั้น ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone ซึ่งเป็นตัวช่วยในการ
    เจริญเติบโตและช่วยเพิ่มพลังงานให้สมองพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในยามตื่น ฉะนั้นการนอนหลับที่ไม่เพียงพอหรือการหลับไม่สนิทนั้น
    ย่อมไม่ส่งผลดีต่อลูกน้อยเอามากๆ เลยค่ะ

    development_newborn_0-1Y_M1_development_651x400.jpg

    ประสาทหู การรับรู้การได้ยินนั้นเด็กทารกนั้นจะค่อนข้างไวต่อเสียงได้ยินเสียงดังหรือเสียงอะไรก็แล้วแต่มักจะสะดุ้งผวา
    แสงแดดจ้า ทารกน้อยแรกเกิดนั้นจะยังมองไม่เห็นชัดมากนัก จะมองเห็นได้เพียงลางๆ ระยะห่างไม่เกิน 8 นิ้วเท่านั้น ดังนั้นเมื่อถูกแสง
    แดดกระทบทารกน้อยก็จะหยี่ตา ลองสังเกตุลูกน้อยด้วยนะคะ

    ประสาทสัมผัส ทารกน้อยรับรู้การสัมผัสได้ ยิ่งเป็นการสัมผัสของคุณแม่เวลาโอบอุ้มให้อยู่ในท่าที่มั่นคงเพื่อให้นมลูกน้อย ก็จะสามารถไซร้หา
    หัวนมคุณแม่ได้จากประสาทสัมผัสค่ะ

    คว้าจับสิ่งของ ทารกน้อยสามารถคว้าจับสิ่งของได้แต่ในการจับนั้นลูกน้อยจะกำแน่น ไม่เชื่อลองสอดนิ้วคุณแม่ในอุ้งมือน้อยๆ ของทารกดูสิคะ
    ลูกน้อยจะกำนิ้งของคุณแม่ไว้แน่นเลยค่ะ

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการพัฒนาการทารก ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านภาษาการสื่อสาร หรือการรับรู้ด้านอารมณ์และสังคม ล้วนแล้วแต่เป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาการของลูกน้อยทั้งสิ้น สามารถหาอ่านบทความดีๆ ไขปัญหาต่างๆสำหรับคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ได้ที่ enfababy ค่ะ แล้วเดี๋ยวจะมาคอยอัพเดตการพัฒนาลูกน้อยให้เรื่อยๆ นะคะ ลองติดตามกันค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...