อานาปานสติสูตร ที่ 8

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ชั่งเถอะ, 11 มีนาคม 2018.

  1. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
    -------------------------------
    [๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
    มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก
    ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ
    ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และ
    พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาท
    พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง
    บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
    โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำ
    สอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
    [๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
    กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวัน
    ปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดย
    ลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้
    เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึง
    คุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำ
    ให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ
    ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท ๑- พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าว
    ว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่ง
    ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อ
    เฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ
    @๑. คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง
    เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บาง-
    *พวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
    โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาท
    พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
    [๒๘๔] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
    กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน
    แห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรง
    เหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรม
    อันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับ
    บริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การ
    กระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้
    บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก
    มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลก
    ยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร
    ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
    [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น
    พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
    ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ
    แล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะ
    สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับ
    มาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามี
    เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
    มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่
    ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะ
    สิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน
    เบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
    ความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้
    ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
    ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก
    แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
    ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
    สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
    อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
    ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
    ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
    ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
    รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก
    ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
    อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
    ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ
    ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย
    ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
    ไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ
    เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ
    ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา
    ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ-
    *ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความ-
    *เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
    สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ
    เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน
    ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม
    นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม
    เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
    วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส
    ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
    ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต
    ตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้
    มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
    นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อม
    เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘
    -----------------------------------------------------
     
  2. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ขออนุญาติเล่าเรื่องเปรียบเทียบการเรื่องการงานทางโลกของผมและการงานทางธรรมให้ฟังเป็นวิทยาทานครับ

    ขอให้วางอคติและความรู้ของท่านลงก่อน เปิดใจกว้างๆ เมื่ออ่านจบแล้ว ค่อยลองยกขึ้นมาคิดเปรียบลองดูครับ

    อนึ่ง ผมไม่ใช่กล่าวอ้าง ความรู้หรือหน้าที่การงานในทางโลกแต่อย่างใด เพียงแต่เปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน ในสิ่งที่ผมเห็น

    ผมทำงานเป็นวิศวกรโยธา จะกล่าวอย่างนี้ครับ คือสมัยที่ยังศึกษาอยู่ชั้น ปวช.ช่างก่อสร้าง ด้วยความที่ชอบทางด้านก่อสร้างอยู่ในตัวเอง ชอบไปทำงานช่วยช่างก่อสร้างบ้าน ตามด้วยตึก อาคารใหญ่ขึ้นๆ ตามลำดับ ตามเวลาว่างหลังเลิกเรียน เริ่มแรกที่เรียนยังเป็นแค่ความรู้ทั่วไปเพื่อเตรียมความรู้พื้นฐานทางช่าง

    แต่สิ่งที่เราได้ไปช่วย ช่างตัวจริงทำงาน และเราทำงานด้วยตั้งแต่ผสมคอนกรีต ตัดและดัดเหล็ก หล่อ ฐานราก คาน เสา เชื่อมเหล็ก ทำโครงหลังคา จนเสร็จเป็น บ้าน หรือ อาคารหลังหนึ่ง ผมมีความรู้ความเข้าใจ ในวิธีปฏิบัติ วิธีทำ บ้านหลังหนึ่ง ต้องทำอย่างไร แต่ไม่สามารถเข้าใจว่า เหตุใด จะต้องทำอย่างนี้แบบนี้ ต้องวางเหล็ก อย่างนี้ทำไมทำได้ แต่ไม่เข้าใจเหตุของมัน เข้าใจแต่ผล ว่าทำแล้วจะไม่พังลงมาทับตัวเอง

    เมื่อเริ่มเรียนสูงขึ้น ปวส. ก็ยังไม่เข้าใจดีนักเนื่องจาก ปวส.โยธา จะเน้นเรียน ปฏิบัติมากกว่า ทฤษฎี ก็เข้าใจวิธีทำมากขึ้นกว่าเดิม แต่ยังไม่เข้าใจ หลักการมากนัก

    จนเมื่อเริ่มเรียน ป.ตรี วิศวะโยธา ทฤษฎี เริ่มแน่น เริ่มพอกพูน จากการที่เราเคยทำมาก่อน ทำให้เราสามารถเรียนรู้และสามารถนำมาใช้งานได้จริง ต่างจาก เพื่อน ที่เรียนด้วยกัน จำได้แต่ ทฤษฎี แต่ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ยังไง

    เมื่อจบออกมาได้เข้าทำงานกับ บ.ออกแบบอาคาร ทั้งที่จบใหม่ แต่ความสามารถของผม เกินเด็กจบใหม่ไปไกล ยิ่งเราได้เรียนรู้การออกแบบจริงๆ ทำให้เข้าใจ และเห็นภาพในหัวออกแบบได้ สามารถสร้างได้จริง ซึ่ง เพื่อนที่ทำงานด้วยกัน จบมาแล้วหลายปี ออกแบบได้แต่ ไม่สามารถเข้าใจได้ว่า ทำไมต้องออกแบบเช่นนี้ ตามที่ได้แนะนำกันมา เพราะ ไม่เคยออกภาคสนาม ปฏิบัติมาก่อนเลย ต่างจากผม ยิ่งออกแบบมากขึ้น ยิ่งเข้าใจ หลักการที่แท้จริง ในการก่อสร้าง อาคารใหญ่ๆ ยิ่งซับซ้อนเกินกว่า เด็กที่มุ่งแต่ เรียน ทฤษฎีมา และมาทำงานออกแบบอย่างเดียว

    ระดับหน้าที่การงานสูงขึ้นเกินกว่า หัวหน้างานของเรา จนถึงจุดอิ่มตัวในสายงานออกแบบ จึงเริ่มเบนความสนใจออกไปในสายภาคสนาม เมื่อผมเริ่มงานภาคสนาม จริงๆ ในหน้าที่ใหม่จริง ๆ ต่างจาก ที่เคยแค่ช่วยช่างก่อสร้างทำบ้าน

    กลายเป็นว่า โอ่ เราหนอเรา ความรู้เท่าหางอึ่ง คิดว่าตัวเองเก่งเสียเต็มประดา ในออฟฟิต เมื่อเจองานที่ต้องรับผิดชอบจริงๆ ความรับผิดชอบสูงขึ้น ชอบดูถูก วิศวะ สายหน้างานว่าพวกนี้ เรียนมาซะสูง แต่ดันไม่ใช้เลยน่าเสียดายแท้ กับเด็กรุ่นเดียวกันเราโดดเด่น อย่างมาก แต่กับ ระดับ วิศวกร อาวุโส ที่อยู่หน้างานมานาน ท่าน กำหลาบเราซะอยู่หมัด ไม่ว่าจะเถียงอะไรไป สู้ไม่ได้เลย แม้แต่ขนาดว่า ทฤษฎี ของเราถูกต้อง แต่หน้างาน ไม่สามารถทำตามได้ เมื่อได้รับคำสั่งให้ออกแบบใหม่ให้สามารถทำงานได้ หัวตัน อยู่ในกรอบ ที่เรียนมา คิดวิธีไม่ออก จนเป็น อาทิตย์ก็ไม่สามารถ ทำออกมาได้

    ในที่สุดจึงลด ทิฐิลง มาขอคำปรึกษา และ ความรู้จาก อาวุโส ท่านให้คำชี้แนะ แนวทาง ต้องออกแบบอย่างไร เมื่อได้ฟัง เราก็เถียง ท่านก็ค่อยอธิบาย จนเรายอมในที่สุด

    เรื่อง ทฤษฎี และการปฏิบัติ ต้องควบคู่กัน จริง แต่บ้างครั้ง ทฤษฎี นั้นเป็นของที่มีเพื่อให้เป็นหลักยึด ในการออกแบบ แต่ต้องสามารถ พลิกแพลง ได้ด้วยในการปฏิบัติ แต่ก็ยังอยู่ใน สมการ ของ ทฤษฎี ที่ยอมได้ บางสิ่ง ที่สามารถ ออกแบบได้ แต่ไม่สามารถทำตามได้ เพราะยึดเอาหลักการเกินไป ตีตามตัวหนังสือเกินไป คิดว่ารู้แล้ว แต่จริงๆ ความรู้แค่ในตำรา อยู่ในกะลาครอบ เมื่อทำจริงๆ ทำไม่ได้ ต้องมี อาวุโสคอยสอน เพราะเรื่องนี้ เกินกว่าจะคิดและวิเคราะห์ เองได้ เกินวิสัย ของตำราและปัญญา


    เรื่องทางธรรมผม ไม่ต่างกัน ปฏิบัติมาแต่เด็ก เรียนรู้วิธีปฏิบัติ จำได้ พอมาอ่านตำรา ยิ่งเข้าใจ แต่จองหองเกินตัว เพียงอ่านไม่กี่บท คิดว่าตนเลอเลิศ เพราะเข้าใจ เมื่อเจอสภาวะที่ไม่มีอธิบายในตำรา ก็ไปไม่เป็น ตามหาอาวุโส เจอ ถึงรู้ว่า ตัวเองแค่หางอึ่ง

    วิศวะแบ่งสายเช่นกัน คือ ออกแบบและหน้างาน

    สายออกแบบ ไม่เคยออกหน้างาน ออกแบบไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็เข้าใจหลักการของการก่อสร้างจริงๆ จากการที่ออกแบบมามากมาย

    สายหน้างาน ทำอย่างเดียว สร้างเข้าไป รู้วิธีก่อสร้างเริ่มซึมซับ รู้ว่าเจอแบบนี้จะต้องทำเช่นไร จนรู้จริงเรื่องก่อสร้าง

    และสายสุดท้ายคือ ทั้งออกแบบ และ หน้างานไปพร้อมกัน เข้าใจได้ดีกว่าทั้งสองสายแรกแบบโดดๆ จะอิงสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากก็ไม่ได้ ต้องมีผ่อน มีหนัก ให้งานออกมาสมบูรณ์ ที่สุดได้


    เช่นกัน ปัญญาวิมุติ ก็มีทาง ของปัญญาวิมุติ

    เจโตวิมุติ ก็มีทางของ เจโตวิมุติ

    และก็ยังมีทั้ง สองสายทำคู่กันไป

    หากท่านเห็นแต่สายตัวเอง ว่าดีเลิศ ก็ย่อมไม่เห็น อีกสายว่าเป็นเช่นไร เมื่อรู้เช่นนี้ ลองเปลี่ยนงาน ดูบ้างเป็นเช่นไร หากลองดูแล้วและเห็นจริง แต่ไม่ชอบ ก็กลับมาทำเช่นเดิมไม่เป็นไร แต่ สุดท้าย ท่านจะเห็นว่า ทุกทางคือทางไปสู่จุดหมาย เดียวกันหมด

    เล่าเรื่องเป็นวิทยาทาน สำหรับทุกท่านครับ คิดเห็นเป็นประการใดกับตัวท่านเอง

    เจริญในธรรมยิ่งๆ ครับ
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    สาวก ก็คือ สาวก

    จะ ปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ ก็เป็นแค่ ผู้เดินตามมรรค อย่างมะงุมมะงาหรา อ้าว !!ผ่าน !!

    ไม่มีทางจะมี ฐานะ จะฉลาดในมรรค กำหนดรู้อินทรีย์ ใครหน้าไหน ทั้งนั้น (แม้นแต่ ตัวเอง )

    มรรคที่ตนใช้ ก็แค่ วาสนายังพอมี หากไม่มี ทำถูกมรรคแค่ไหน ก็ได้แค่
    ต้องไปถาม องค์มัธยมเพื่อหลอกตัวเอง

    การปฏิบัติสมควรแก่ธรรม มันก็อยู่ตรงนี้ ตรงที่
    ยอมจำนนซะ อย่า ทะลึ่ง คิดว่า ฉลาดในมรรค จนก่อเป็น "จลศรัทธา" ปิดทางตัวเอง

    อย่า ทะลึ่ง ทุกอย่างออกมาจาก "จิต" ( ธรรมจักร ตถาคตเท่านั้น เป็นผู้หมุน )

    สาวก คือ ศาสตรา

    พระตถาคต คือ หมอ ผู้ใช้ ศาสตรา กระทำลงไปในการ ผ่าตัด

    ไม่มีทางที่ ตัวเครื่องมือ จะมา กลายเป็น ศัลยาแพทย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2018
  4. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    อธิบายหน่อย มันกำกวม ทุกอย่างออกจากจิตเนี่ย จิตเหรอครับ ถ้าคุณว่านั่นจิต ผมจะได้ประเคนสันติให้คุณครับ ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัย
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    องค์ความรู้ประกอบด้วย
    Knowledge & skill
    การนำไปใช้งานขึ้นอยู่
    กับการรู้จัก apply ครับ
    ขึ้นอยู่กับวิธีคิด ระบบในการคิด
    ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก skill หรือ knowledge
    ที่ตนมีนั่นหละครับ. ถ้ายึดเท่าที่ตนรู้
    ก็จะเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาได้เป็นเรื่องปกติ

    โครงการก่อสร้าง หลักๆประกอบด้วย ๔ ส่วนงานสำคัญ ๔ ช่วงตามทฤษฎี(พูดแบบหยาบๆนะครับ)
    ๑ ช่วงออกแบบดีไชด์
    ๒ ช่วงก่อสร้าง
    ๓ ช่วงดำเนินงาน
    ๔ ช่วงส่งมอบงาน

    ในทุกช่วงที่กล่าวมา ยังมีส่วนงานซอยแยกย่อยไปหลายส่วนมากครับ เช่นตัวอย่าง ช่วงแรก การหาเงินทุน การทำสัญญา ฯลฯ พูดให้หมดจะเยอะ และมีรายละเอียดปลีกย่อยถี่ยิบ
    นักปฎิบัติเราก็เหมือนไปอยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่ง แล้วหมายมั่นคิดว่าตนรู้งานก่อสร้างทั้งโครงการและรู้รายละเอียดส่วนงานย่อยในส่วนหลักของงานก่อสร้างโครงการนั้นๆนั่นหละครับ จึงเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา

    จนกว่าเราจะเริ่มมี knowledge and skill
    มากพอที่จะมองเห็นภาพทั้งหมดของโครงการได้ ถึงจะรู้ว่าที่ตนเองรู้นั้นมันน้อยมาก ท่านถึงได้สอนว่าให้รู้จักถ่อมตน
    และอย่าคิดว่าตนเป็นผู้รู้

    เพราะถ้าเราไม่มี knowledge พอจะทราบว่าทั้งโครงการก่อสร้างมีส่วนงานอะไรบ้าง
    และถ้าเราไม่มี skill พอที่จะเข้าใจ
    ในส่วนงานย่อยต่างๆ ไม่รู้จักประยุกต์หรือใช้งานจริงมาก่อน ก็ยังไม่ถือว่าเป็นผู้รู้หรอกครับ เป็นแต่ผู้ที่หลง ในสิ่งที่ตนรู้
    หรือยึดในสิ่งที่ตนรู้เท่านั่นเองครับ

    รู้ทางโลกมันไม่จบไม่สิ้นหรอกครับ
    ต่างกับทางธรรมที่มันรู้เพื่อจบ

    แต่เราประยุทธ์ใช้ทางธรรมเพื่อ
    ดำรงความเป็นอยู่ทางโลกแห่งตน
    ให้เหมาะสมตามเหตุและวาระแห่งตน
    เพื่อให้จบทางธรรมให้เป็นในขณะที่
    ดำรงชีวิตร่วมกับชาวโลกให้เป็นครับ
     
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ถึงเจ้าของกระทู้ มันไม่มีทุกทางหรอกครับ

    ลองเดินเข้ามรรควิธี มีหนึ่งเดียว
    มรรค แปลว่า ทาง

    ทางสายเอก อันเดียว
    ไม่ว่า จะเรียกแบบปัญญาวิมุติ เจโตวิมุติ

    เตวิชโช ฉฬภิญโญ สุขวิปัสโก ล้วนเดิน สาย มรรค นี้อันเดียวเท่านั้น ไม่มีทางอื่น

    หากลองเดินเข้ามรรคแล้ว เหมือนกันหมด
    ไอ้ที่ถกๆ แย้งๆ กัน ก็มาจาก ยังไม่เดิน ลงมรรค
     
  7. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ในกระทู้นี้ ผมพยายามจะสือถึง จุดหมายเดียว คือ นิพพาน
    เปรียบ ให้ท่านเดินทาง ไป สถานที่หนึ่ง มีทางแยกไป ตั้งแต่ต้นทาง เป็นหลายสาย หรือถ้าไม่อยากไปทาง ตามทางพื้นดิน จะขับ เครื่องบินไปก็ยังได้ ถ้าท่านมีเครื่องบินและบินเป็น จะเดินไป จะขี่จักยานไป หรือไม่ชอบใจ ไปทางน้ำ ว่ายไป ขี่เรือไป แต่จุดหมายคือที่เดียวกัน ต้องผ่านประตูเมือง หรือต้องผ่าน หมู่บ้านนี้เป็นที่สุดท้าย ก่อนจะไปถึงเมือง หรือ มีหมู่บ้าน อื่นอีกก็ได้ ก่อนจะถึงเมือง

    มรรคจะมีหนึ่งเดียว หรือ มีมรรคอื่นอีก นั้นเป็นสิ่งที่คุณ รู้ตอนนี้ จริงๆ มันอาจจะมีหลายมรรค หรือมรรคเดียว ก็ได้ อันนี้ผมไม่รู้ บางท่านอาจรู้จริงๆ แต่ผม ยังไม่รู้ ผมจึงยังต้องเดินตามทางนี้ก่อน ในทางที่มั่นใจว่าถึง แต่มันอาจไม่ถึงก็ได้ ผมจะถามคนตามทางไปเรื่อยๆ คนที่อยู่กลางทางหรือ หลงไปแล้ว กลับมาเดินทางนี่

    เรารู้ไม่หมด ผู้รู้จริง องค์ล่าสุด ผ่านมาแล้ว 2561 ปี จำต้องคลำหาทาง ไปเรื่อยๆ ครับ สำคัญคือ หากรู้ว่าผิดทาง เดินยังไง ก็ไม่มีวี่แววจะเห็นซักที ควรจะพิจารณา แล้ว ว่าเราเดินผิดทางอยู่หรือไม่ หรือถูกทางแต่ ช้าเป็นหอยทาก อีก 2 ล้านปี ก็ไม่รู้จะถึงหรือเปล่า กับทางกับ พาหนะที่เราใช้ ต้องหาวิธีอื่นแล้ว

    บางทีไปเจอเมืองอื่นเข้า พาลจะคิดว่าเป็นเมือง ที่ต้องการไปซะอีก ก็ติดอยู่อย่างนั้น

    หากถูกทางจริง มันจะมีความมั่นใจเอง และ มีอะไรฝห้สังเกตุเยอะแยะ ตามที่ผู้เคยไปมาแล้ว กลับมาบอก

    เจริญในธรรมครับ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    จขกท สนใจ กระโถน ปะ

    ผมมีหลายใบ เก็บมาเยอะ

    กระโถนพระป่า เลยนะ

    พระป่า ท่าน นิยมพูดสั้นๆ

    เวลา มีคนไปปรารภ ว่า " รู้จริตตน ต้องทำอย่างนั้น ต้องรู้อย่างนี้
    ต้องฝึกอย่างนั้น สะสมอย่างนี้ เพื่อประโยชน์อันโน้น เพื่อประโยชน
    คนนี้ ต้องคลุกคลีสายโน้น ต้องฝึกปรือสายนี้................."

    พระป่า ท่านจะพูดว่า

    " ไอ้ที่มันดิ้นรนหนะ มีแต่ กิเลส "

    ถ้ามุขนัยพระป่าข้างบน ไม่เข้าใจ

    ก็เสียดายด้วยที่ จขกท มาสมัครสมาชิกช้า ไม่เคยเจอ "สันโดษ"
    ไม่เช่นนั้นคงได้ มี อา จอย กันบ้าง

    ฮิวววววววววววววววววส์




    มรรคมาก นัก ก็ กราบเท้าลา
     
  9. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    สันโดษ ผม ไม่รู้จักความหมายอย่างลึกซึงครับ

    เพราะไม่รู้จริตตนจึงต้องหา นี้อย่างไรครับ

    ชอบอันไหนก็ทำอันนั้น

    หากหลงทางผมจะกลับมาเอง
     
  10. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267

    ครับ อ.นพ เหมือนเราเข้าไปถึงจุดที่เป็นที่สุดแห่งคำสอนของพระศาสดาแล้ว แม้จะเพียงชั่วประเดี๋ยวประด๋าวก็ตาม แต่ก็เหมือนกับเราได้เห็นทั้งหมดแล้ว ที่เหลือก็มีเพียงแต่เก็บรายละเอียดให้หมดให้รอบด้าน หรือให้หายโง่หายหลงโดยสิ้นเชิงเท่านั้นเองครับ

    ทีนี้สิ่งที่เราเห็นประเดี๋ยวประด๋าวนั้นแหละคือคำตอบของทั้งหมด พระพุทธเจ้าสอนอะไร นั่นคือที่สุดของคำสอน คือมันตอบโจทย์ได้ทุกเรื่อง จะว่าคำสอนทั้งหมดออกมาจากจุดนั้นก็ไม่ผิด ก็เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้พระนิพพาน. พระนิพพานคือธรรมอันยิ่ง ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง การที่ทรงประกาศสัจธรรม และแสดงพระสัทธรรมได้ เพราะมีจุดเริ่มต้นมาจากการเห็นพระนิพพานเป็นที่สุดก่อน เหตุไฉนใยจึงมีคนโชว์ห่วยทำท่าจะมาบีบบังคับไม่ให้ผมพูดสรรเสริญคุณพระศาสดา ให้ผมลืมพระคุณของพระศาสดา กล่าวว่า พระธรรมทั้งหมดที่รู้ไม่ใช่มาจากพระองค์เล่า

    ธรรมส่วนที่ผมรู้นั้นเป็นปัจจัตตัง คือรู้ได้เฉพาะตน นั้นเป็นเรื่องจริง จะไปบอกแก่ใครได้ แต่น่าอัศจรรย์อาศัยพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงจำแนกแจกแจงไว้ดีแล้วนี้นี่เอง เป็นดั่งอนุศาสนียเทศนาปาฏิหารย์เป็นเครื่องส่องนำทางช่วยเหลือสงเคราะห์บุคคลอื่นต่อไป ทำได้เพราะพระบารมีพระพุทธองค์ล้วนๆ จะให้ว่ายังไงได้

    หรืออยากจะทดลองใจกันก็ไม่รู้ อย่าทดลองบ่อยนะ
     
  11. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    สู่รู้ไม่เข้าเรื่อง ญาติผมทั้งนั้นเลยนะจะบอกให้ เพื่อนร่วมชั้นเรียนผมก็เยอะ พอผมเห็นความจริง สิ่งที่ผมจะทำได้ คือช่วยพวกเขาก่อน เขาเข้าใจผิดกันมาก และกำลังถุกหลอกด้วย คุณยุ่งอะไร คุณรู้ตื้นลึกหนาบางเขาเท่าไหร่ ถึงได้กล้ามาวิจารณ์กันแบบนี้ เคยอยู่ในสังคมนั้นเหรอ สอดตัวเข้าไปสุ่รุ้ทำไม เหมือนที่พระท่านบอกว่า เขาถ่ายหนังกันอยุ่ เจ้าของไม่รู้เรื่อง ดันวิ่งทะเล่อล่าเข้าไปห้ามโน่นห้ามนี่ ทำเขาเสียหายหมด แบบนี้เรียกว่าอะไร. บาปกรรมแท้ๆ
     
  12. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    พระพุทธเจ้า ท่านแจ้งแล้ว นำมาบอกต่อ ปักป้ายบอกทางไว้ให้แล้ว
    ผมก็ไม่ได้รู้เองหรอกครับ

    ก็อ่านตามป้ายบอกทางที่พระพุทธเจ้าท่านปักป้ายบอกไว้
    ว่าทางอันเอก ทางสายเอก ที่เป็นทางแห่งนิพพาน

    จะเรียก มรรค 8 หรือจะเรียก สติปัฐฐาน4 ก้ไม่ต่างกัน

    ไม่ต้องไปเสียเวลาอ่านตำราอะไรที่มันนอกทางอันเอกนี้
    ไม่หลงทางด้วย ท่านสอนไว้หมดแล้ว ไม่ต้องไปนั่งหลับตา
    ขอคำสอนในนิมิตอีก

    อันนั้น ยิ่งจะหลงไปใหญ่
     
  13. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267

    นั่นมันสันโดษของคุณ ความสันโดษถ้าสันโดษเป็นอยู่ที่ไหนก็เป็นคุณทั้งหมด เพราะมันมีจุดเรียนรู้ ทำให้รู้คุณรู้โทษรู้ประโยชน์ไม่ใช่ประโยชน์ได้ จะไปกลัวอะไรกับการเรียนรู้ สรุปง่ายๆ พูดเพราะๆ ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะมายุ่ง เนาะ
     
  14. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    โอ้ย พี่T5 ที่รัก ของผม

    นิพพานถึงแล้วก้ต้องถึงไปเลยซิขอรับ
    มีสูตรมาเก็บรายละเอียดอีก

    ปล่อยไปก่อน แล้วกันขอรับ
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ สันโดษ ที่กล่าวกันในที่นี้ ไม่ใช่ "ความสันโดษ" แต่เป็น user = สันโดษ

    +++ รอบคอบหน่อย เขามี link ไว้ให้แล้ว ไม่กดเข้าไป "พิสูจน์" มันก็จะกลายเป็น "มโน" กันน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง ไปเสียเปล่า ๆ นะ
     
  16. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ขอโทษนะครับ คุณเข้าใจความหมายของคำว่า ผู้ถึงกระแสนิพพานไหมครับ ทำไมเขาไม่จบกิจไปเลยล่ะครับ แค่ถึงทำไมครับ
     
  17. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    เหรอครับขอบคุณครับ ผมนึกว่าใครบางคนเขาห้ามไม่ให้ผมแสดงธรรมอะไรทั้งนั้นซะอีกครับ เข้าใจผิดกันมโหฬารเลย
     
  18. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    สำหรับกระแสพระนิพพาน
    เข้าใจว่าถึงกระแสนิพพาน ไม่ได้ถึงนิพพานจริง
    เพียงแต่ มีความแน่นอนมั่นคงแล้ว ว่า ถึงนิพพานแน่นอนในกาลต่อไป
    ไม่เกิน กี่ชาติ สองชาติว่าไป

    เหมือน ชาวนาได้เข้าเฝ้าพระราชา รออยู่ที่ท้องพระโรงแล้ว
    รอแต่พระราชาเสด็จ มาพบกันเท่านั้น ก็จบกิจ
     
  19. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339

    มีตัวอย่างครับ เคยอ่านผ่าน และจำได้ จึงหามาเป็นข้อที่ผม จำใส่ใจครับ เลือกผิด ชีวิตเปลี่ยน แต่สมัยนั้นมี องค์สมเด็จ ฯ ท่านชี้นำจึง ง่าย สมัยนี้ต้องขนขวายกันเอง มีมาก ถึง 84000 กอง หาลำบากนะครับ


    ความสำคัญของกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต(เรื่องบุตรนายช่างทอง)
    ๗. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ [๒๑๐]

    ข้อความเบื้องต้น
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุจฺฉินฺท" เป็นต้น.

    มาณพบวชแล้วได้กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย

    ได้ยินว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปสวย บวชในสำนักของพระเถระแล้ว. พระเถระดำริว่า "พวกคนหนุ่ม มีราคะหนา" แล้วได้ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ท่าน เพื่อกำจัดราคะ. แต่กัมมัฏฐานนั้นไม่เป็นที่สบายสำหรับท่าน เพราะเหตุนั้น ท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น ๓ เดือน ไม่ได้แม้ซึ่งคุณมาตรว่าความเป็นผู้มีจิตแน่แน่วแล้ว จึงมาสู่สำนักของพระเถระอีก

    เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ท่าน กัมมัฏฐานมาปรากฏแก่ท่านแล้วหรือ?" จึงบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระเถระกล่าว (กะท่าน) ว่า "การถึงการปลงใจว่า ‘กัมมัฏฐานไม่สำเร็จ’ ดังนี้ ย่อมไม่สมควร" แล้วบอกกัมมัฏฐานนั้นแหละให้ดีขึ้นอีก แล้วได้ให้แก่ท่าน.

    แม้ในวาระที่ ๒ ท่านก็ไม่อาจยังคุณวิเศษอะไรๆ ให้เกิดขึ้นได้ จึง (กลับ) มาบอกแก่พระเถระ. แม้พระเถระบอกกัมมัฏฐานนั้นเอง ทำให้มีเหตุมีอุปมา. ท่านก็มาบอกความที่กัมมัฏฐานไม่สำเร็จแม้อีก.

    พระเถระคิดว่า "ภิกษุผู้ทำ (ความเพียร) ย่อมทราบนิวรณธรรม มีความพอใจในกามเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในตนว่า ‘มีอยู่’ และที่ไม่มีว่า ‘ไม่มี’ ก็ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้ทำ(ความเพียร) มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ แต่เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั่น, ภิกษุนั่นจักเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าพึงแนะนำ"

    จึงพาท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาเย็น แล้วกราบทูลความเป็นไปนั้นทั้งหมดว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระองค์, ข้าพระองค์ให้กัมมัฏฐานชื่อนี้แก่ภิกษุนี้ ด้วยเหตุนี้."

    พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น

    ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า "ชื่อว่าอาสยานุสยญาณนั่น ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีแล้ว ยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือแล้ว ถึงความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล" แล้วทรงรำพึงอยู่ว่า "ภิกษุนี้บวชจากสกุลไหนหนอแล?"

    ทรงทราบว่า "จากสกุลช่างทอง" ทรงพิจารณาอัตภาพที่ล่วงมาแล้ว ทรงเห็นอัตภาพ ๕๐๐ ของภิกษุนั้นอันเกิดโดยลำดับเฉพาะในสกุลช่างทอง แล้วทรงดำริว่า "ภิกษุหนุ่มนี้ ทำหน้าที่ช่างทองอยู่ตลอดกาลนาน หลอมแต่ทองมีสีสุกอย่างเดียว ด้วยคิดว่า "เราจักทำให้เป็นดอกกรรณิการ์และดอกปทุมเป็นต้น. อสุภปฏิกูลกัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่ภิกษุหนุ่มนี้, กัมมัฏฐานที่พอใจเท่านั้น จึงจะเป็นกัมมัฏฐานที่สบายแก่เธอ"

    จึงตรัสว่า "สารีบุตร เธอจักเห็นภิกษุที่เธอให้กัมมัฏฐาน ลำบากแล้วตลอด ๔ เดือน บรรลุพระอรหัตในภายหลังภัต ในวันนี้นั่นแหละ เธอไปเถิด" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระเถระไป ทรงนิรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนหลั่งหยาดน้ำจากใบและก้าน แล้วได้ประทานให้ด้วยพระดำรัสว่า "เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ (สีแดง สีแดง)"

    เมื่อภิกษุนั้นรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้น จิตก็เลื่อมใสแล้ว, ท่านไปยังท้ายวิหารพูนทรายขึ้นแล้ว เสียบก้านดอกปทุมที่กองทรายนั่นแล้ว นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า เริ่มบริกรรมว่า "โลหิตกํ โลหิตกํ."

    ภิกษุนั้นสำเร็จคุณวิเศษ

    ครั้งนั้น นิวรณ์ทั้งหลายของท่านระงับแล้วในขณะนั้นนั่นเอง อุปจารฌานเกิดแล้ว. ท่านยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ในลำดับแห่งอุปจารฌานนั้น ให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญโดยอาการ#- ๕ นั่งอยู่ตามเดิมเทียว บรรลุฌานทั้งหลายมีทุติยฌานเป็นต้นแล้ว นั่งเล่นฌานในจตุตถฌานที่ชำนาญอยู่.

    #- อาการ ๕ คือ
    อาวัชชนะ การนึก, สมาปัชชนะ การเข้า, วุฏฐานะ การออก,
    อธิฏฐานะ การตั้งใจปรารถนา, ปัจจเวกขณะ การพิจารณา.

    พระศาสดาทรงทราบว่าฌานทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาดูว่า "ภิกษุนี่จักอาจเพื่อยังคุณวิเศษอันยิ่งให้เกิดขึ้นตามธรรมดาของตนหรือหนอ?" ทรงทราบว่า "จักไม่อาจ" แล้วทรงอธิษฐานว่า "ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป" ดอกปทุมนั้นได้เหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น.

    ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว แลดูดอกปทุมนั้น เห็นอนิจจลักษณะว่า "ทำไมหนอแล ดอกปทุมนี้ถูกชรากระทบแล้ว จึงปรากฏได้, แม้เมื่ออนุปาทินนกสังขารอันชรายังครอบงำได้อย่างนี้, ในอุปาทินนกสังขารก็ไม่จำต้องพูดถึง, อันชราคงจักครอบงำอุปาทินนกสังขารแม้นี้."

    ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้น อันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน. ภพ ๓ ปรากฏแล้วแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้ว และดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ.

    ในขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลภิกษุนั้น เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้ว ทำให้เป็นกองไว้บนบก. ภิกษุนั้นแลดูดอกโกมุททั้งหลายบนบกและในน้ำ. ลำดับนั้น ดอกโกมุทในน้ำงดงาม ปรากฏแก่เธอประดุจหลั่งน้ำออกอยู่ ดอกโกมุทนอกนี้เหี่ยวแห้งแล้วที่ปลายๆ. ภิกษุนั้นเห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นดีขึ้นว่า "ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมจึงจักไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า?"

    จงตัดความเยื่อใย เจริญทางสงบ

    พระศาสดาทรงทราบว่า "บัดนี้ กัมมัฏฐานปรากฏแก่ภิกษุนี้แล้ว ประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงเปล่งพระรัศมีไป. พระรัศมีนั้นกระทบหน้าภิกษุนั้น. ครั้นเมื่อท่านพิจารณาอยู่ว่า "นั่นอะไรหนอ?" พระศาสดาได้เป็นประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ตรงหน้า.

    ท่านลุกขึ้นแล้วประคองอัญชลี.
    ลำดับนั้น พระศาสดาทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบายของเธอแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-


    ๗. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน
    กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
    สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย
    นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ.
    เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย เหมือนบุคคลถอน
    ดอกโกมุทที่เกิดในสรทกาลด้วยมือ, จงเจริญทางแห่ง
    สันติทีเดียว (เพราะ) พระนิพพาน อันพระสุคตแสดง
    แล้ว.


    แก้อรรถ

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺฉินฺท คือ จงตัดด้วยอรหัตมรรค.
    บทว่า สารทิกํ ได้แก่ ที่เกิดแล้วในสรทกาล.
    บทว่า สนฺติมคฺคํ คือ ซึ่งทางอันมีองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน.
    บทว่า พฺรูหย คือ จงเจริญ.
    บทว่า นิพฺพานํ ความว่า เพราะพระนิพพานอันพระสุคตทรงแสดงแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจงเจริญทางแห่งพระนิพพานนั้น.
    ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

    เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จบ.

    ที่มา: http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=7
     
  20. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    อันนี้ไม่เห็นลิ้งค์ ครับ ต้องขอโทษคุณ นิวรณ์ จริงๆ เลยเข้าใจไปโน้นเลย

    พอเข้าไปดูแล้ว กลายเป็น ที่ ท่านสันโดษ โพส มา หายหมดแล้ว ใน ยูทูบ หมดอายุ หรือลบหมดแล้วครับ ไม่ทราบว่าท่านเป็นคนที่ บรรลุธรรมแล้วหรืออย่างไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...