อานิสงส์แห่งอานาปานสติ 7 ประการ

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย Moderator6, 20 พฤศจิกายน 2012.

  1. Moderator6

    Moderator6 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +3,721
    อานิสงส์แห่งอานาปานสติ ๗ ประการ


    [​IMG]

    ภิกษุ ท. ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทำ
    ให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ
    อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
    จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?


    ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้
    หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรง
    สติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
    กายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
    กายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
    ซึ่งปีติ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
    ซึ่งสุข หายใจออก”;

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตต-
    สังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตต-
    สังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
    เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
    ซึ่งจิต หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
    ให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
    ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
    ให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่
    หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
    ให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่
    หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
    ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
    ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
    ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
    ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
    ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
    ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
    ให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
    ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว อยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ ๗ ประการ
    ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้.

    ผลอานิสงส์ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
    ผลอานิสงส์ ๗ ประการ คือ :-

    ๑. การบรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบันนี้.
    ๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุอรหัตตผลในกาล
    แห่งมรณะ.
    ๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยัง
    ไม่ถึงกึ่ง).
    ๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานเมื่อใกล้จะสิ้นอายุ).
    อานาปานสติ ๙
    ๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้
    ความเพียรมากนัก).
    ๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้
    ความเพียรมาก).
    ๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
    ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่
    อกนิฏฐภพ).

    ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ผลอานิสงส์ ๗ ประการ
    เหล่านี้ ย่อมหวังได้ ดังนี้.


    ทุติยผลสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔ - ๑๓๑๖.

    อานิสงส์แห่งอานาปานสติ ๗ ประการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2012
  2. Moderator6

    Moderator6 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +3,721
    [​IMG]

    [๑๓๓๑] ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ ถ้าแม้ภิกษุพึง
    หวังว่า เราพึงสละความระลึกและความดำริของเราที่อาศัยเรือนนั้นเสีย ก็พึง
    มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่ง
    ไม่ปฏิกูลว่าปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่ง
    ปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๔] ... ถ้าแม้ภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่ง
    ไม่ปฏิกูลและในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๕] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่ง
    ปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๖] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่ง
    ปฏิกูลทั้งสองนั้นเสีย เเล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปาน
    สติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๗] ...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสงัดจากกาม สงัดจาก
    กุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ก็พึง
    มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๘] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความ
    ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ
    วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิ
    นี้แหละให้ดี.
    [๑๓๓๙] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงมีอุเบกขา มีสติ มีสัมป-
    ชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้า
    ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ก็พึง
    มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๐] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
    ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา
    เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้ แหละให้ดี.
    [๑๓๔๑] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตน
    ฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
    เพราะดับปฎิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงมานัตตสัญญา ก็พึงมนสิการอานา-
    ปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตน-
    ฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
    โดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
    ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
    ประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๔] ...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญาย-
    ตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการ-
    อานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
    [๑๓๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ ถ้าแม้ภิกษุ
    พึงหวังว่า เราพึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-
    ตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2012
  3. Moderator6

    Moderator6 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +3,721
    [๑๓๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุ
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า
    สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา
    ก็ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน
    ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ย่อมรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
    ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยสุข-
    เวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอ
    เสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น เมื่อเธอ
    เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนา
    มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เวทนา
    ทั้งหมดในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิต
    เบื้องหน้าแต่กายแตก.
    [๑๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันจะพึง
    ลุกโพลงได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ เพราะหมดน้ำมันและไส้ ประทีป
    น้ำมันไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนา
    มีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิต
    เป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหมด
    ในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิตเบื้องหน้า
    แต่กายแตก.
    จบทีปสูตรที่ ๘
     

แชร์หน้านี้

Loading...