อายตนะทั้ง ๖ เช่นมีตาเห็นรูป เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 5 มกราคม 2016.

  1. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อายตนะ6 ไม่ไช่ของร้อน....มันแค่เป็นเครื่องรับรู้..ร้อนหนาวเย็น...อุ่นละมุนละไม เท่านั้น

    ที่ร้อนคือ...จิตวิญญาณรู้.....มันหลงไปเอง
     
  2. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ตามอ่านครับ
    อายตนะ6เป็นของร้อน

    แล้วอายตนะที่พระพุทธองค์บอกไว้ว่า
    "อายตนะนั้นมีอยู่ ไม่ไป ไม่มา ไม่มีอารมณ์ ฯลฯ"

    เป็นอายตนะที่เท่าไร ทำไมไม่กล่าวถึงจะได้ครบเรื่องอายตนะที่มีอยู่?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2016
  3. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    อายตนะทั้งหกยังคงมีตามปรกติ แต่ใจไม่ไหล ติดไป กับอายตนะ

    ไม่เข้าไปเป็น ไม่เข้าไปเอา ไม่เข้าไปยึดถือ ให้ค่าในอายตนะ

    ส่วนเป็นอายตนะที่เท่าไหร่ อืม ก็มันอยู่เหนืออายตนะ
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อาศัยอายตนะ (เป็นเครื่องสืบต่อ) รับรู้ รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งความปกติ หมดจดปราศจากความดิ้นรนทะยานอยาก ความเศร้าหมองใดๆ จึงรู้สภาพสิ้นตัณหา (นิพพาน) สำหรับสภาพสิ้นตัณหาแม้จะชั่วคราว (เพราะตัณหามีเกิด ก็มีดับ) จะรู้ได้ก็เมื่อยังมีขันธ์ มีอายตนะให้รับรู้ได้เท่านั้นแหละครับ

    แต่โดยแนวคิดอย่างตรรกศาสตร์ ปุถชนคนช่างสงสัยก็จะต้องหลงไปพยายามสร้างให้กลายเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ขึ้นมาจนได้ มักจะกลัวในความเป็นนามธรรม ที่ไม่มีตัวตน หยิบจับฉวยไม่ได้ เวลากล่าวจึงกระเดียดไปทางรูปธรรมจับต้องได้แบบไม่รู้ตัวเสมอ เป็นลักษณะของการมีอัตตาสักกายทิฏฐิอย่างหนึ่ง

    สักกายทิฏฐินี้ถ้าสังเกตให้ดี จะมุ่งที่การมีนัยยะแห่งการมีตัวมีตนหลงเหลืออยู่เสมอ มุ่งความสำเร็จตามใจปรารถนา ไม่ได้มุ่งตรงไปสู่การสละออกอย่างหมดจดอย่างแท้จริง สุขาวดีพุทธเกษตรมักเป็นที่สุดท้าย จบลงแบบหนังดราม่าคือ แฮปปี้เอ็นดิ้งครับ ผมไม่ได้แขวะใครนะ ว่าไปตามข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลละกัน
     
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ๏ น้ำมันกับน้ำ


    น้ำมันกับน้ำทา มันตางกัน เหมือนกับคนฉลาดก็ตางกับคนโง
    พระพุทธเจาก็ทรงอยูกับ รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    แตพระองค์ทรงเปนพระอรหันต พระองคจึงทรงเห็น
    สิ่งเหลานี้ เปนเพียงสิ่ง สักวา เทานั้น


    พระองค์ทรงปลอยวางมันไปเรื่อย ตั้งแตทรงเข้าพระทัยแลว
    วา ใจก็สักวาใจ ความคิดก็สักวาความคิด พระองค์ไมทรงเอามันมาปนกัน
    ถาคิดได รูสึกไดอยางนี้ เราก็จะแยกมันได


    ความคิด ความรูสึก อยูทางหนึ่ง ใจ ก็อยูอีกทางหนึ่ง
    เหมือนกับน้ำมัน กับน้ำทา อยูในขวดเดียวกัน แตมันแยกกันอยู


    ที่มา เหมือนกับใจคล้ายกับจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _11_214.jpg
      _11_214.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.6 KB
      เปิดดู:
      114
  6. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    มีอีกพระสูตร ทีคล้ายกัน

    สามเณรสอนตีเหี้ย

    มีเหี้ยตัวหนึ่งอาศัยในจอมปลวก
    มีทางออก หก ทาง
    เป็นทางเข้าออกของมัน...

    ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส ใจ
    เป็นเครื่องมือให้จิตอวิชชาทำงาน

    เช่นเวลาตาเห็นรูป จิตอวิชชาจะทำงานร่วมด้วย

    ถ้าทำลายจิตอวิชชาได้แล้ว(ฆ่าเหี้ย)
    เวลาตาเห็นรูป ก็สักแต่ว่าเห็น...
     
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    “.. ถ้าเรามาฝึกนั่งสมาธิทำใจให้สงบได้ เราไม่ต้องใช้เงินก็ได้ เชื่อไหม ?

    ความสุขของสมาธินี้ มันทำให้เราไม่อยากได้อะไร เมื่อไม่อยากได้อะไรก็ไม่ต้องใช้เงิน
    แม้แต่ร่างกายนี้มันจะตายก็ไม่เดือดร้อน เพราะใจไม่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข

    ถ้ามีความสุขทางใจแล้ว ไม่ต้องใช้ร่างกายหาความสุขต่างๆ

    ทุกวันนี้เราเดือดร้อนกันก็เพราะเราติด ติดลาภ ติดยศ ติดสรรเสริญ ติดรูปเสียงกลิ่นรสกัน
    เหมือนคนติดยาเสพติด เราต้องมาเลิกติดสิ่งเหล่านี้
    ให้ถือศีล ๘ นี้ให้เลิก ศีล ๘ ให้เลิกหาความสุขทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    แล้วก็ให้มานั่งสมาธิทำใจให้สงบ เจริญสติ พอใจสงบแล้วก็เลิกได้

    เพราะเวลาสงบแล้ว จะได้ความสุขที่ดีกว่าความสุขที่เราได้จากสิ่งต่างๆ
    เราก็ไม่ต้องอาศัย ไม่ต้องหาความสุขจาก ลาภ ยศ สรรเสริญ
    ไม่ต้องหาความสุขจาก รูป เสียง กลิ่น รส อีกต่อไป

    มีลาภยศสรรเสริญ หรือไม่มี ก็ไม่เดือดร้อน
    ตอนนี้เดือดร้อน เพราะเราไม่มีความสุขตัวใหม่
    ถ้าเรามีความสุขแล้ว ความสุขตัวเก่าเราก็ทิ้งไปได้
    ความสุขที่ได้จากลาภยศสรรเสิรญ มันจะสู้ความสุขตัวใหม่ไม่ได้

    ความสุขที่ได้จาก ความสงบ ..”


    คัดลอกบางส่วนจาก “ความสงบนี่แหละเป็นเหมือนแฟนใหม่”
    สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙
    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pasc01.jpg
      pasc01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.3 KB
      เปิดดู:
      121
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2016
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    วิธีดูจิต จากการกระทบ

    ที่มา การทำจิตเป็นหนึ่งเพื่อรู้แจ้ง
    พระอาจารย์เยื้อน ขันติพโล

    [ame]www.youtube.com/watch?v=_1pBCKtjPY8[/ame]
     
  9. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    "..เราจะไปตำหนิว่ารูปไม่ดี เสียงไม่ดี กลิ่นไม่ดีก็ไม่ได้
    ถ้าหากเราพิจารณาให้เป็นธรรม ไม่ลำเอียงไปทางฝ่ายกิเลส
    ก็ทราบได้ชัดว่า จิตใจเราไม่ดีเอง เราโง่เอง
    ใจคะนองไปรักสิ่งนั้น ไปชังสิ่งนี้ ไปเกลียดสิ่งนั้น ไปโกรธสิ่งนี้


    ความรักความชัง ความเกลียดความโกรธ เป็นเรื่องของกิเลส
    ไม่ใช่เรื่องของธรรม เพราะฉะนั้น
    ปัญญาจึงต้องใคร่ครวญด้วยดี เพื่อทราบความคิดปรุงต่างๆ
    กระเพื่อมขึ้นจากตัวเอง โดยอาศัยสิ่งที่มาสัมผัสนั้นเป็นสาเหตุ
    ให้กระเพื่อมขึ้นมา เรียนธรรมะจำต้องเรียนอยู่ที่ตรงนี้.."


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ที่มา
    ขันธ์ ๕ ต่างหากจากจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5176.JPG
      IMG_5176.JPG
      ขนาดไฟล์:
      73.6 KB
      เปิดดู:
      119
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ..หาความสงบไปอยู่ในที่สงบ ไม่อยากจะให้มีเสียง ไม่อยากจะให้มีรูป ไม่อยากจะให้มีกลิ่น ไม่อยากจะให้มีรส
    อยู่เงียบๆ อย่างนี้นึกว่ามันจะสบาย คิดว่าความสงบมันอยู่ตรงนั้น

    ซึ่งความเป็นจริงนั้น เราไปอยู่เงียบๆ ไม่มีอะไร มันจะรู้อะไรไหม?

    มันจะรู้สึกอะไรไหม?

    ลองคิดดูซี ตาของเรานั้นนะถ้าไม่เห็นรูป มันจะเป็นอย่างไรไหม?

    จมูกนี้ไม่ได้กลิ่น มันจะเป็นอย่างไรไหม?

    ลิ้นเราไม่ได้รู้จักรส มันจะเป็นอย่างไรไหม?

    ร่างกายไม่กระทบโผฏฐัพะที่ถูกต้องอะไร มันจะเป็นอะไรไหม?

    ถ้ามันเป็นอย่างนั้นมันก็เป็นคนตาบอดซิ คนหูหนวก คนจมูกขาด ลิ้นหลุดไป กายไม่รับรู้อะไร เป็นอัมพาตไปเลย มันจะมีอะไรไหม?

    แต่ใครก็มักจะคิดอย่างนั้น อยากจะไปอยู่ที่ว่ามันไม่มีอะไร ไอ้ความคิดอย่างนั้นเคยคิด...เคยคิดมา...



    ที่มา หลวงปู่ชา สุภัทโท "สัมผัส...บ่อเกิดปัญญา"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มิถุนายน 2016
  11. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2017
  12. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    "..พอทุกข์เข้า ก็เรียกว่าเราทุกข์ เพราะเราไปเป็นเจ้าของ มันก็ทุกข์
    สุขเกิดขึ้นมา เราก็ไปเป็นเจ้าของสุข มันก็สุข ก็เลยยึดมั่น ถือมั่น
    อันนั้นแหละ เป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นเขา ขึ้นมาเดี๋ยวนั้น
    มันก็เลยเป็นเรื่องเป็นราวไปอีก ไม่จบ


    การที่พวกเราทั้งหลายออกจากบ้านมาสู่ป่า ก็คือมาสงบอารมณ์
    หนีออกมาเพื่อสู้ ไม่ใช่หนีมาเพื่อหนี ไม่ใช่เพราะแพ้เราจึงมา
    คนที่อยู่ในป่าแล้วก็ไปติดป่า คนอยู่ในเมืองแล้วก็ไปติดเมืองนั้น เรียกว่า คนหลงป่า คนหลงเมือง


    พระพุทธเจ้าท่านว่า ออกมาอยู่ป่าเพื่อกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวกต่างหาก ไม่ใช่ให้มาติดป่า
    มาเพื่อฝึก เพื่อเพาะปัญญา มาเพาะให้เชื้อปัญญามันมีขึ้น
    อยู่ในที่วุ่นวาย เชื้อปัญญามันเกิดขึ้นยาก จึงมาเพาะอยู่ในป่า เท่านั้นเอง
    เพาะเพื่อจะกลับไปต่อสู้ในเมือง


    เราหนีรูป หนีเสียง หนีกลิ่น หนีรส หนีโผฏฐัพพะ หนีธรรมารมณ์ มาอย่างนี้
    ไม่ใช่หนีเพื่อจะแพ้สิ่งทั้งหลาย เหล่านี้หนีมาเพื่อฝึก หรือมาเพาะให้ปัญญาเกิด แล้วจะกลับไปรบกับมัน
    จะกลับไปต่อสู้กับมันด้วยปัญญา


    ไม่ใช่เข้าไปอยู่ในป่าแล้ว ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็สบาย ไม่ใช่อย่างนั้น
    แต่ต้องการจะมาฝึก เพาะเชื้อปัญญาให้เกิดขึ้นในป่า ในที่สงบ เมื่อสงบแล้ว ปัญญาจะเกิด


    เมื่อใคร่ครวญพิจารณาแล้ว ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น
    เป็นปฏิปักษ์ต่อเรา ก็เพราะเราโง่เรายังไม่มีปัญญา
    แต่ความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้คือ ครูสอนเราอย่างดี


    เมื่ออยู่ในป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามานี้เพื่อมาทำให้ปัญญาเกิด
    ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้นเป็นปฏิปักษ์กับเรา
    เป็นข้าศึกของเรา


    ถ้าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ นั้น ไม่ใช่ข้าศึก
    แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด
    เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว.."


    หลวงปู่ชา สุภัทโท
    ที่มา
    สองหน้าของสัจจธรรม
    ฟัง https://www.youtube.com/watch?v=AdeZkZyyAqs
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มิถุนายน 2016
  13. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ใจเป็นเอก น่ารัก วิทยายุทธอยู่ที่สมอง ความหล่ออยู่ที่กินอะไร เงินอยู่ที่ทานและกรรมดี
     
  14. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    “ทุกข์ ควร กำหนดรู้” ไม่ใช่ปฏิบัติ แล้วหมดทุกข์
    ทุกข์ หมดไป ไม่เป็น เมื่อ กายกับจิต ยังอาศัยกัน ทุกข์ของขันธ์ยังมีตลอดเวลา


    แต่จิตที่จะไปติดข้องที่จะไปยึดถือ ไปลุ่มหลง ว่าทุกข์ให้โทษแก่เราอย่างนั้นอย่างนี้
    ควรจะให้มันหายออกไป ไม่ควรจะมาบีบบังคับกายใจเรา
    ถ้าคิดไปอย่างนั้น คิดไปเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มเติมขึ้น
    เพราะสิ่งนั้น มันเป็น “ของจริง” ของมัน จะขับไล่มันไปที่ไหน มันไปไม่ได้


    “ให้กำหนดรู้ตามจริง” ของมัน ว่า “นี่คือทุกข์”


    แต่ ผู้ที่ไป “รู้ทุกข์ เป็นทุกข์หรือไม่” นั่นแหละเป็นเรื่องที่ควรกำจัด เป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติ


    เพื่อ “ทราบตามความเป็นจริง” ทุกข์คือ เวทนา ตัวหนึ่ง, จิตผู้มารู้ ก็เป็นอีกอันหนึ่ง,
    ไม่ใช่เวทนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป



    พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
    วัดป่าแก้วบ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ที่มา
    บูชาธรรม-พ่อแม่ครูอาจารย์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1306346264.jpg
      1306346264.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.1 KB
      เปิดดู:
      118
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2016
  15. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    "ความสงบที่เกิดจากปัญญานั้น ไม่ใช่ความสุข
    แต่เป็น ความรู้เห็นตามความเป็นจริง ของความสุขความทุกข์
    แล้วไม่มีอุปาทานมั่นหมาย ในสุขทุกข์ ที่มันเกิดขึ้นมา
    ทำจิตให้เหนือสุขเหนือทุกข์นั้น ท่านจึงเรียกว่า
    เป็นเป้าหมายของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง"


    หลวงปู่ชา สุภัทโท
    ที่มา ทางพ้นทุกข์
    (ฟัง)
    https://www.youtube.com/watch?v=5u2ShiIYHI8
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (4).jpg
      images (4).jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.8 KB
      เปิดดู:
      110
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 กรกฎาคม 2016
  16. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    "..พระพุทธองค์ท่านบอกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครตามดูจิตของตนคนนั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร


    ...บ่วงของมารนั้นคืออะไร?


    คือรูปหนึ่ง เสียงหนึ่ง กลิ่นหนึ่ง รสหนึ่ง โผฏฐัพพะหนึ่ง ธรรมารมณ์หนึ่ง อันนี้แหละเป็นบ่วงที่จะผูกจิตผู้ที่ไม่รู้ ให้เข้าไปในอำนาจของมัน เข้าไปในอำนาจของความเกลียดหรือความรัก


    ถ้าหากว่าเรารู้จิตของเจ้าของเช่นนั้น ทั้งเรามีสติอยู่ เราก็รู้ว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต ถ้าเรามองเห็นว่าอารมณ์เป็นอารมณ์ จิตเป็นจิต เราก็แยกมันออกเป็นสองอย่าง เราก็รู้จักว่าจิตไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์


    อารมณ์นั้นท่านเรียกว่าโลก หลงอารมณ์ก็คือหลงโลก หลงโลกก็คือหลงอารมณ์


    ...ใครเป็นคนหลง?


    จิตผู้รู้นั่นแหละมันหลง หลงตามอารมณ์ ที่ดีก็หลงไป ชั่วก็หลงไปตาม สุขก็หลงไป ทุกข์ก็หลงไป เอาตัวไปแทนเสียว่าเป็นตัวทุกข์ ความเป็นจริงนั้น จะทุกข์ก็เพราะมีอุปาทานยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เลยไปเป็นเจ้าของอารมณ์


    ความเป็นจริงนั้นอารมณ์ก็เป็นอารมณ์ จิตก็เป็นจิต มันคนละอย่างกัน


    เมื่อเราเข้าไปยึดว่าอันนั้นดีอันนั้นสวยอย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่ว่าเห็นเฉยๆ เห็นแล้วมีอุปาทานมั่นหมาย ไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขานั้นเรียกว่าบ่วงของพญามารผูกไป ความพอใจก็ผูกไป ความไม่พอใจก็ผูกไป ความสุขก็ผูกไป ความทุกข์ก็ผูกไป ชั่วก็ผูกไป ดีก็ผูกไปอย่างนี้ ก็เพราะว่าเราไม่รู้จักจิต ไม่รู้จักอารมณ์


    ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้ว อารมณ์มันก็เป็นอารมณ์ จิตมันก็เป็นจิต เป็นคนละอย่าง ถ้าเราไม่รู้จักอันนี้ เราก็เข้าไปเป็นเจ้าของอารมณ์อันนั้น เราก็ต้องรับรองอารมณ์อันนั้นอยู่ ติดตามอารมณ์อันนั้นอยู่


    ถ้าเราเห็นเช่นนี้ว่า อันนี้เป็นจิต อันนี้เป็นอารมณ์ เราก็ต้องรู้จักสอนจิตของเจ้าของ เมื่อเรามีความสงบอยู่ ถูกอารมณ์ขึ้นมาเราก็รู้จักว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต เปรียบง่ายๆคือมันอยู่ใกล้ชิดกัน เหมือนน้ำมันกับน้ำ ถ้ามันมีน้ำหนักต่างกัน จะเอาใส่ในขวดเดียวกันก็ได้ แต่ว่ามันไม่แทรกซึมเข้าหากัน จิตกับอารมณ์ก็เป็นอย่างนั้น ถ้ารู้จักว่าอันนั้นเป็นอารมณ์ อันนั้นเป็นจิต จะเห็นจิตเป็นจิต เห็นอารมณ์เป็นอารมณ์ สักแต่ว่าอารมณ์เท่านั้น.."


    หลวงปู่ชา สุภัทโท
    ที่มา
    เห็นตามเป็นจริง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    "สุขหรือทุกข์ ไม่คล้อยตามและไม่หักหาญ"

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    "..อารมณ์ทั้งหลาย ที่ว่ามานี้เหมือนกันกับงูเห่าที่มีพิษร้าย ถ้าไม่มีอะไรมาขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน
    แม้พิษของมันจะมีอยู่ มันก็ไม่แสดงออก ไม่ได้ทำอันตรายเรา เพราะเราไม่ได้เข้าไปใกล้มัน
    งูเห่าก็เป็นไปตามเรื่องของงูเห่า มันก็อยู่อย่างนั้น


    ดังนี้ ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้ว ก็จะปล่อยหมด
    สิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ไม่ชอบก็ปล่อยมันไป
    เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่าตัวที่มีพิษร้ายนั้น ปล่อยให้มันเลื้อยของมันไปมันก็เลื้อยไปทั้งพิษที่มีอยู่ในตัวมันนั่นเอง


    ฉะนั้น คนที่ฉลาดแล้ว เมื่อปล่อยอารมณ์ก็ปล่อยอย่างนั้น ดีก็ปล่อยมันไป แต่ปล่อยอย่างรู้เท่าทัน
    ชั่วก็ปล่อยมันไป ปล่อยไปตามเรื่องของมันอย่างนั้นแหละ อย่าไปจับ อย่าไปต้องมัน
    เพราะเราไม่ต้องการอะไร ชั่วก็ไม่ต้องการ ดีก็ไม่ต้องการ หนักก็ไม่ต้องการ เบาก็ไม่ต้องการ
    สุขก็ไม่ต้องการ ทุกข์ก็ไม่ต้องการ มันก็หมดเท่านั้นเอง ทีนี้ความสงบก็ตั้งอยู่เท่านั้นแหละ


    เมื่อความสงบตั้งอยู่แล้ว เราก็ดูความสงบนั้นแหละ เพราะมันไม่มีอะไรแล้ว
    เมื่อความสงบเกิดขึ้นความวุ่นวายก็ดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสว่านิพพานคือความดับ


    ดับที่ตรงไหน ? ก็เหมือนไฟเรานั่นแหละ มันลุกตรงไหน มันร้อนตรงไหน ? มันก็ดับที่ตรงนั้น
    มันร้อนที่ไหนก็ให้มันเย็นตรงนั้น ก็เหมือนกับนิพพานก็อยู่กับวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารก็อยู่กับนิพพาน
    เหมือนกันกับความร้อนกับความเย็น มันก็อยู่ที่เดียวกันนั่นเอง
    ความร้อนก็อยู่ที่มันเย็น ความเย็นก็อยู่ที่มันร้อน เมื่อมันร้อนขึ้น มันก็หมดเย็น เมื่อมันหมดเย็น มันก็ร้อน


    วัฏฏสงสารกับนิพพานนี้ก็เหมือนกัน ท่านให้ดับวัฏฏสงสารคือความวุ่น
    การดับความวุ่นวายก็คือการดับความร้อน ไฟทางนอกก็คือไฟธรรมดามันร้อน เมื่อมันดับแล้วมันก็เย็น


    แต่ความร้อนภายในคือ ราคะ โทสะโมหะ ก็เป็นไฟเหมือนกัน ลองคิดดู
    เมื่อราคะ ความกำหนัดเกิดขึ้น มันร้อนไหม ? โทสะเกิดขึ้นมันก็ร้อน โมหะเกิดขึ้นมันก็ร้อน มันร้อน
    ความร้อนนี่แหละที่ท่านเรียกว่าไฟ เมื่อไฟมันเกิดขึ้น มันก็ร้อน เมื่อมันดับมันก็เย็น ความดับนี่แหละคือนิพพาน

    นิพพานคือสภาวะที่เข้าไปดับซึ่งความร้อน ท่านเรียกว่าสงบ คือดับซึ่งวัฏฏสงสาร
    วัฏฏสงสารคือความเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น เมื่อถึงนิพพานแล้ว ก็คือการเข้าไปดับซึ่งความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
    อันนั้น เรียกว่าการดับราคะ ดับโทสะ ดับโมหะ ก็ดับที่ใจของเรานั่นแหละ .."


    อยู่กับงูเห่า
    หลวงปู่ชา สุภัทโท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lp_cha.jpg
      lp_cha.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.8 KB
      เปิดดู:
      109
  19. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    "..ตาเห็นรูป
    ธรรมดาใครๆ ก็ต้องการดูแต่ที่สวยๆ
    เพื่อให้เกิด ความเพลิดเพลิน เจริญตาเจริญใจ
    ซึ่งกาม สัตว์ทั่วไปปรารถนาอยู่แล้ว

    แต่ผู้เห็นโทษแล้ว กลับเห็นความเพลิดเพลิน
    นั้นเป็นความหลงใหลไร้สาระ
    อย่าว่าแต่ถึงกับเพลิดเพลินเลย
    แม้ขณะที่จิตแล่นออกไปจากความเป็นหนึ่งของจิต
    ก็เห็นเป็นภัยอันใหญ่หลวงแล้ว.."


    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    ที่มา ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4273.JPG
      IMG_4273.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53.5 KB
      เปิดดู:
      142
  20. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ผู้ได้ชื่อว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

    อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

    อานนท์ ! ในกรณีนี้

    อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
    อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา.
    ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    “อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต)
    เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก)
    เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน);
    แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้.

    (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้)

    อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
    อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

    อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ
    อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

    อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

    (ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา
    โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน
    ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ

    กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,

    กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,

    กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,

    กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,

    กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)

    อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑.

    http://buddhaoat.blogspot.com/search/label/อินทรียสังวร
     

แชร์หน้านี้

Loading...