อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    15032064_672060272953894_342049357320382799_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=291ef3ba56f80684474621b071352abc.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974

    กิเลส 16 ชนิดที่แฝงมากับการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค....

    1. อภิชฌาวิสมโลภะ

    เห็นใครโพสภาพบ้านหลังใหญ่ๆ รถหรูๆ อาหารดีๆ ภาพการพักผ่อนในโรงแรมสวยๆ ภาพชีวิตหรูหรา ก็เกิดความรู้สึกอยากได้เหมือนอย่างเขา เกิดความไม่พอใจชีวิตของตนเอง เกิดความโลภ เกิดความทุกข์ หดหูใจว่าทำไมหนอ ชีวิตคนอื่นจึงดีกว่าชีวิตของตนเอง นานวันเข้าก็พัฒนาไปสู่ความโลภ อยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช่ของตัว รู้สึกอยากจะโพส อยากจะอวดเหมือนอย่างเขาบ้าง

    2. พยาบาท
    เปิดเฟสส่องดู เห็นคนที่ตนเกลียดมีความสุข ก็คิดหมั่นไส้อยู่ในที แต่เมื่อเปิดดูแล้ว เห็นคนที่ตนเกลียดมีความทุกข์ หรือมีปัญหาก็รู้สึกยินดีพอใจ

    3. โกธะ
    ใครโพสสิ่งใดไม่ถูกใจ ไม่ตรงกับความคิดของตัว ก็นึกโกรธ จับโยงความคิดผู้อื่นมาปะทะกับความคิดของตนเอง จนกลายเป็นความทุกข์ใจ

    4. อุปนาหะ
    เมื่อโกรธ เพราะคิดเห็นต่างกัน ก็ผูกใจเกลียดคนๆ นั้น โดยไร้เหตุผล

    5. มักขะ
    เห็นใครทำความดีก็นึกหมั่นไส้เขา เห็นคำสอนปราชญ์ คำสอนพระ คำสอนศาสดา คำสอนผู้รู้ใดๆ ที่ไม่เข้ากับความคิดของตน ก็นึกดูแคลน พยามใช้ความคิดของตนหักล้าง ทั้งที่รู้ว่าสิ่งที่เขานำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์

    6. ปลาสะ
    ไม่เคยชื่นชมใคร เห็นใครโพสอะไรก็ไม่พอใจไปหมด ฟาดงวงฟาดงาไปหมด เห็นอะไรก็ขวางหูขวางตาไปหมด

    7. อิสสา
    จิตเกิดความอิจฉาจนทนไม่ได้ ต้องพิมพ์ ต้องแสดงออกด้วยการเสียดสีประชดประชัน โพส เม้น วิจารณ์ด้วยความไม่สุภาพ ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ใดๆ

    8. มัจฉริยะ
    เมื่อนำเสนอใดไปแล้ว วันหนึ่งมีผู้อื่นนำความคิดของตนไปดัดแปลง ก็นึกเสียดาย เกิดความทุกข์ นึกหวงความรู้ของตนขึ้นมาในที

    9. มายา
    ยึดติดอยู่กับโลกมายา ตั้งใจโอ้อวดให้ผู้อื่นเกิดความอิจฉา
    ฝังตัวอยู่หน้าคอม ไปไหนมาไหน เปิดดูโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา
    ยึดติดกับยอดไลค์ ยอดเม้น ยอดแชร์
    หลงอยู่ในมายาของโลกโซเชียล
    ไม่สามารถหยุดติดต่อกับโลกโซเชียลได้นานๆ
    พึ่งพาโลกโซเชียลสร้างความสุขแบบปลอมๆ ให้กับตนเอง

    10. สาเถยยะ
    โพสสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง สร้างภาพว่าตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่ตนเองไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย นำไปสู่การยึดติดกับภาพลักษณ์ที่ตนสร้างขึ้น ต้องฉลาดอยู่ตลอดเวลา ต้องแสนดีอยู่ตลอดเวลา ต้องสวยต้องหล่ออยู่ตลอดเวลา ภาพลักษณ์ต้องดูดีอยู่ตลอดเวลา ที่สุดแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็นำมาซึ่งความทุกข์ในชีวิตจริงของตนเอง

    11. ถัมภะ
    เมื่อมีใครแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง รีบโต้เถียงในทันที จ้องแต่จะเถียง โดยไม่ได้นำความคิดนั้นมาตรึกตรองจนเกิดปัญญา โพสระบายความในใจอย่างไร้เหตุผล ไหลไปตามอารมณ์ของตนเป็นใหญ่ บ่นตลอดเวลา ระบายอารมณ์อยู่ตลอดเวลา

    12. สารัมภะ
    คอยแต่จะเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น แข่งดีแข่งเด่นกับเขา เขามีคนกดไลค์กี่คนแล้ว เรามีกี่คนแล้ว เขามีเพื่อนกี่คนแล้ว มีคนเม้น คนแชร์กี่คนแล้ว ทำไมของเขามีเยอะ ทำไมของเราจึงมีเท่านี้ ตั้งหน้าตั้งตาเอาชนะกันในเรื่องไร้สาระ ทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนด้วยซ้ำ

    13. มานะ
    เมื่อมีคนกดไลค์มากๆ มีคนชื่นชมมากๆ ก็หลงว่าตนเก่ง ตนดีกว่าเขา ทั้งที่ความจริงแล้ว ทุกคนย่อมมีทั้งด้านดีและไม่ดี มีสิ่งที่เชี่ยวชาญและสิ่งที่โง่เขลา มีสิ่งที่พิเศษ และสิ่งที่ธรรมดา เมื่อหลงตนมากเข้า อัตตาตัวตนก็ขยายตัวใหญ่ขึ้น เกิดเป็นมานะทิฐิว่า ข้าคือผู้ยิ่งใหญ่ ข้าคือคนสำคัญ

    14. อติมานะ
    เมื่อคิดว่าตนดีกว่าใคร ก็เริ่มดูถูกผู้อื่น เริ่มพูด เริ่มเม้น เริ่มแสดงความคิดเห็นประชดประชันว่าตนดีกว่าเขา

    15. มทะ
    เสพติดคำชื่นชม ปล่อยให้ใจฟูไปกับคำชมทั้งวัน คุยแต่ว่าวันนี้มีใครมาชมบ้าง พัฒนาไปสู่ความมัวเมาต่อคำสรรเสริญเยินยอ

    16. ปมาทะ
    ใช้เวลาอยู่ในโลกโซเชียลนานเกินไป จนไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันในชีวิตจริง ละเลยการงาน ครอบครัว สุขภาพ หมดเวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือจอโทรศัพท์ ทำให้ชีวิตจริงตกต่ำลงเรื่อย
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    37274230_2270609629833286_7410481279109431296_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    37590496_1647218582067957_4174941570170093568_n.jpg






    เพราะความทุศีล มีศีลวิบัติ สัมมาสมาธิจึงไม่มี
    เพราะสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะจึงไม่มี
    เพราะยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะจึงไม่มี
    เพราะนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะจึงไม่มี
    เพราะความมีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล สัมมาสมาธิจึงมี
    เพราะสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะจึงมี
    เพราะยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะจึงมี
    เพราะนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะจึงมี
    *************
    [๒๔] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มียถาภูตญาณทัสสนะ ของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทา และวิราคะ ของ
    บุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว

    สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์

    ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

    สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์
    ******
    ทุสสีลสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=24
    อรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=24
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    37212000_1636471573142658_3135595467774099456_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    37516348_1725411354233277_1760611857472684032_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    37691250_1976004789085959_8306430088623161344_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    37923943_2112503379072866_2383974546001625088_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    37823157_1981021541917617_5473243487203753984_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    วาทะท่านพ่อลี ธ้มมธโร

    "โลก เป็นของกว้างขวาง และหมุนอยู่เสมอ ยากที่จะมองเห็นได้ง่าย ท่านจึงสอนให้เราหยุดหมุนตามโลก ให้มองแต่ตัวของเราอย่างเดียว แล้วเราก็จะมองเห็นโลกได้ ตัวของเรานี้ เป็นของเล็กน้อย เพียงยาววา หนาคืบ กว้างศอกกำมาเท่านั้น เสียก็แต่พุงมันใหญ่ กินเท่าไรๆ ก็ไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ หมายถึงความโลภแห่งดวงจิตของคนเรา เหตุนั้นทำให้เกิดความทุกข์ เพราะความไม่พอ ความอยาก ความหิวกระหาย การที่จะมองดูตัวของเรา หรือมองให้เห็นโลกนั้น ท่านสอนให้สำรวจตัวเราเองตั้งแต่ศีรษะลงไปถึงปลายเท้า ตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาถึงศีรษะ "
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    37897884_2074871012752487_5583176520924397568_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง

    การฝึกพระกรรมฐาน นี่จะต้องเป็นคนที่สืบบำเพ็ญความดี คือ บุญบารมีมาร่วมกัน ถ้าหากว่าต่างคน ต่างพวก ต่างหมู่
    ต่างคณะกันมาในกาลก่อน เราก็ไม่สามารถจะพูดให้เข้าใจได้เหมือน
    กันบางท่านชอบใจพระองค์นี้ บางท่านชอบใจพระองค์นั้น บางท่านชอบใจคณะโน้น บางท่านชอบใจสำนักนี้ ที่ชอบใจคือเขามาที่นี่
    ไม่ชอบใจที่นี่ แต่ไปชอบใจที่อื่น ก็จงอย่าคิดว่าท่านผู้นั้นเป็นคนโง่
    จงทราบว่านั่นท่านไม่เคยอบรมความดีร่วมมากับคณะของเราในอดีตชาติ มันเป็นเรื่องการอบรมกันมากับคนอื่นจึงได้พูดกันรู้เรื่องกัน

    คัดลอกมาจากโอวาทหลวงพ่อ เล่ม 1 หน้า 45




    38294551_2024163627897566_1692882327748739072_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    38406520_302237207010136_995719439510929408_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    มีญาติโยมถามปัญหาว่า เมื่อปฏิบัติไปแล้วเข้าถึงความว่าง จะทราบได้อย่างไรว่าความว่างนั้นเป็นความว่างแบบไหน ? ซึ่งความว่างในการปฏิบัติของเรานั้นมีหลายระดับชั้นด้วยกัน

    ความว่างระดับแรกก็คือ สติ สมาธิ เริ่มทรงตัวเป็นฌาน ถ้าอย่างนี้รัก โลภ โกรธ หลง ต่าง ๆ จะโดนอำนาจของฌานกดดับลงไปชั่วคราว สภาพจิตที่เคยรุงรังด้วยกิเลสต่าง ๆ ก็สงบราบเรียบลง เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นสำหรับตัวเองมาก่อน ก็จะรู้สึกว่าง เบาสบายอย่างยิ่ง อย่างนี้เรียกว่าว่างเพราะอำนาจของฌานสมาบัติกดทับกิเลสเอาไว้

    ความว่างระดับต่อไป คือ ความว่างในอากาสกสิณ เป็นการกำหนดช่องว่างส่วนใดส่วนหนึ่งจับมาเป็นนิมิตในการภาวนา ถ้าเป็นในลักษณะอย่างนั้นจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่เคยมีของเก่าในอดีต ฝึกเกี่ยวกับอากาสกสิณมาก่อน เมื่อทำไปจนสมาธิเริ่มทรงตัว ของเก่ากลับคืนมา เกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น ก็จะรู้สึกถึงความว่างได้เช่นกัน ในส่วนนี้ถ้าจิตของเราละเอียดพอ ก็จะแยกแยะออกได้ว่า ถ้าเป็นความว่างของกสิณนั้นจะเป็นความว่างอยู่ในลักษณะที่เรากำหนดเฉพาะเจาะจงจุดใดจุดหนึ่งตรงหน้า

    ความว่างระดับถัดไปนั้นเป็นความว่างของอรูปฌาน ไม่ว่าจะเป็นอากาสานัญจายตนะฌานก็ดี วิญญาณัญจายตนะฌานก็ดี อากิญจัญญายตนะฌานก็ดี เนวสัญญานาสัญญายตนะฌานก็ดี อรูปฌานทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการที่เราเพิกรูปทิ้งไป แล้วจับความว่างของอากาศ จับความไร้ขอบเขตของวิญญาณ จับความรู้สึกที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเสื่อมสลายพังไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ และกำหนดความรู้สึกว่ามีเหมือนกับไม่มี รู้เหมือนกับไม่รู้ เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็จัดเป็นความว่างอีกอย่างหนึ่ง

    บุคคลที่เคยทรงอรูปฌานในอดีต เมื่อกระทำไปจนกระทั่งกำลังทรงตัวแล้ว เข้าถึงอรูปฌานเดิม ๆ ก็ทำให้รู้สึกถึงความว่างเช่นกัน ตรงจุดนี้ถ้าจะสังเกตแยกแยะออกก็จะต้องสังเกตว่า เรายังทรงกำลังของฌานสมาบัติอยู่ การที่เราทรงกำลังของฌานสมาบัติอยู่แม้ว่าจะเบาสบายเพียงใดก็ตาม ความที่ยังต้องทรงฌานอยู่ก็จัดเป็นความหนัก บุคคลที่มีจิตละเอียดจริง ๆ ถึงจะแยกแยะออกได้

    ประการสุดท้ายนั้นเป็นความว่างเนื่องจากจิตมองเห็นโทษของร่างกายนี้ มองเห็นโทษของสภาพจิตที่คลุกคลีอยู่กับรัก โลภ โกรธ หลงทั้งหลาย แล้วสามารถที่จะปล่อยวางสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ลงจนหมด ยกจิตของตนเองขึ้นมาพ้นจากสภาพของราคะ โลภะ โทสะ โมหะได้ ก้าวล่วงจากสมมติเข้าสู่ความเป็นวิมุตติ ก้าวล่วงจากโลกเข้าสู่ทางธรรมแท้ ๆ

    สภาพจิตของตนจะเหลือแต่เพียงผู้รู้เด่นอยู่เท่านั้น เป็นผู้รู้ที่มีหน้าที่กำหนดรู้เฉย ๆ ไม่ไปปรุงแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดเป็นรัก โลภ โกรธ หลง เหมือนกับเราก้าวขาข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อข้ามฝั่งไปแล้วเราก็ไม่ย้อนกลับมาแตะต้องวอแวในสิ่งที่เคยผ่านมา ถ้าลักษณะนั้นจึงจะเป็นความว่างที่แท้จริง เป็นความว่างในลักษณะของการว่างจากกิเลส เป็นความว่าง ความใส ความสะอาด จากสภาพจิตที่ปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นความว่างของการเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง

    ดังนั้น..ถ้าพวกเราต้องการจะเข้าถึงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เราก็ต้องเน้นในเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา โดยเฉพาะในส่วนของปัญญาที่มองเห็นทุกข์เห็นโทษของร่างกายนี้ ของโลกนี้ จนกระทั่งสามารถปล่อยวางได้ การที่เราจะมีกำลังมากพอที่จะยกจิตให้พ้นขึ้นมาจากร่างกายนี้ พ้นจากโลกนี้ได้ แล้วปล่อยสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ลง ก็ต้องมีกำลังสมาธิที่เข้มแข็งพอเพียง

    กำลังสมาธิจะเข้มแข็งพอเพียงได้ เราก็ต้องมีศีลอย่างน้อย ศีล ๕ เป็นพื้นฐาน เมื่อสภาพจิตของเราจดจ่ออยู่กับการระมัดระวังรักษาศีลทุกสิกขาบทไม่ให้บกพร่อง การที่เราเอาจิตจดจ่อแน่วแน่ระมัดระวังศีลอยู่นั่นเอง สมาธิก็จะเกิดขึ้น เมื่อสมาธิเกิดขึ้นทรงตัว ตั้งมั่น มีกำลังกดกิเลสดับลงได้ชั่วคราว ตัวปัญญาก็จะเด่นขึ้น ผ่องใสขึ้น ก็จะเห็นช่องทางว่าจะทำอย่างไรถึงจะสละ ตัดละ ร่างกายนี้ โลกนี้ ความยินดีต่าง ๆ

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อสละออก ตัดออก ละออกได้ ก็จะก้าวเข้าสู่ความว่างอย่างแท้จริง เป็นความว่าง ใส สะอาด ที่เปี่ยมสุข ไม่สามารถจะอธิบายรายละเอียดเป็นภาษามนุษย์ได้ ไม่สามารถที่จะอธิบายรายละเอียดเป็นภาษาหนังสือได้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ก้าวล่วงการปรุงแต่งทั้งปวงไปแล้ว ภาษามนุษย์ก็ดี ภาษาหนังสือก็ดี ยังเป็นภาษาที่ประกอบไปด้วยการปรุงแต่งอยู่ จึงไม่สามารถที่จะอธิบายสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้นได้

    มีแต่สภาพจิตของเราที่เด่น ผ่องใส สะอาด เหลือแต่ตัวรู้อย่างเดียว ไม่ไปแตะต้อง ไม่ไปปรุงแต่ง ถ้าสิ่งไหนจำเป็นก็ออกไปสัมผัสด้วยความระมัดระวัง แล้วก็ย้อนกลับเข้ามาอยู่กับความผ่องใสที่ปราศจากกิเลสของตนต่อไป ถ้าอย่างนี้จึงจะเป็นความว่างที่แท้จริง

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าเราจะก้าวเข้าสู่ความว่างที่แท้จริงหรือสภาวะพระนิพพานนั้น ก็ต้องอาศัยศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งจะพูดให้กว้างออก ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    สำหรับพวกเราทั้งหลายนั้นก็ต้องมาเน้นเรื่องของสมาธิ เพราะเราทั้งหมดส่วนใหญ่มีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี ในเมื่อศีลบริสุทธ์บริบูรณ์แล้ว ยังไม่สามารถจะก้าวล่วงไปได้ ก็แปลว่ากำลังสมาธิยังไม่เพียงพอ เราจึงต้องมาเน้นการฝึกสมาธิอย่างจริง ๆ จัง ๆ เพื่อที่จะประคองจิต รักษาจิตของเราให้มีความผ่องใส จนกระทั่งกำลังสมาธิเพียงพอ ดวงปัญญาก็จะเกิดขึ้น มีความแกร่งกล้า มีความแหลมคมพอ ก็สามารถที่จะสลัด ตัด ละ ความยินดี ความพอใจในร่างกายนี้ ในร่างกายของคนอื่น ในโลกนี้และในโลกอื่น ภพภูมิอื่นลงได้ เราก็จะหลุดพ้นไปสู่ธรรมอันว่างอย่างยิ่ง ก็คือพระนิพพานนั่นเอง

    ลำดับต่อไปให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
    วันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

    ที่มา www.watthakhanun.com
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    sombut01.jpg


    อุปาทาน และ อคติ ๔ (ตัวเดียวกัน)


    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. กฎของกรรมนั้นเที่ยงอยู่เสมอ ไม่ว่าจักเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่ว การมีชีวิตอยู่ในวัฏฏะสงสารย่อมไม่พ้นกฎของกรรมตามส่งผล

    ๒. จิตของบุคคลผู้ไม่หมดจากกิเลส ย่อมหวั่นไหวไปตามผลของกฎของกรรมนั้นๆ ที่มากระทบ กรรมดีปรากฏแก่ตน ก็ย่อมจักดีใจ กรรมชั่วปรากฏแก่ตน ก็ย่อมจักเสียใจ จัดเป็นความหวั่นไหว อันเป็นธรรมดาของบุคคล ที่ยังไม่เข้าถึงพระอรหัตผล เรียกว่ายังไม่พ้นอุปาทาน และอคติ ๔ นั้นแหละเจ้า ตัวเดียวกัน

    ๓. เพราะฉะนั้นจง ศึกษากฎของกรรม อย่าตำหนิกรรม เพราะพวกเจ้าเองก็ยังไม่หมดอุปาทาน เมื่ออุปาทานมี อคติ ๔ ก็ยังหมดไปไม่ได้เช่นกัน ดูอารมณ์จิตของตนเองเข้าไว้ให้ดี ๆ อย่าหลงอารมณ์ของตนเอง ตราบใดที่ยังมีอารมณ์พอใจกับไม่พอใจอยู่ ก็ยังเป็นแค่อนาคามีมรรค ยังไม่ถึงผล สังโยชน์เบื้องสูงอีก ๕ ข้อ ก็ยังไม่หมด ดังนั้น อย่าพึงคิดว่าตนเองดี อย่าพึงตำหนิใคร จักเป็นเหตุให้ตนเองสิ้นความดี เพราะมีความประมาทในกรรมทั้งปวง


    ๔. การที่จักให้เข้าถึงความหมดอุปาทาน หรืออคติ ๔ นั้น จักต้องไม่วางอารมณ์กำหนดรู้ในอริยสัจ ๔ หรือกำหนดรู้กฎของกรรมทั้งปวง คือ รู้ทั้งกรรมที่เป็นกุศล - อกุศลและอัพยากฤต รู้ผลของกรรมทั้ง ๓ ประการ ที่ส่งผลแก่มนุษยโลก พรหมโลก เทวโลก และอบายภูมิ ๔ อยู่เนือง ๆ

    ๕. แม้ในขณะนี้พวกเจ้าเองก็ยังอยู่ในกฎของกรรมทั้ง ๓ ประการส่งผลอยู่ ให้หมั่นตรวจสอบอารมณ์จิตอยู่เสมอ ก็จักรู้ว่ากรรมดีส่งผล จิตพวกเจ้าก็ยังยินดีมีความพอใจอยู่ กรรมชั่วส่งผล จิตของพวกเจ้าก็ยังเศร้าหมองมีความไม่พอใจอยู่ และในบางขณะกรรมไม่ชั่ว-ไม่ดีส่งผล จิตของพวกเจ้ามีความสบายไม่สุข-ไม่ทุกข์ แต่ก็ยังมีความประมาทอยู่ เพราะกรรมหรือธรรมอัพยากฤต ยังมีกำลังอ่อน ไม่ใช่ขั้นของพระอนาคามี หรือเต็มระดับอย่างพระอรหันต์ เป็นสังขารุเบกขาญาณยังไม่ได้ เพราะยังเฉยไม่จริง

    ๖. อย่ามองใครว่าผิดหรือถูก อย่ามองใครว่าชั่วหรือว่าดี จงมองให้ทะลุถึงกฎของกรรมทั้ง ๓ ประการนั้น ๆ และ คำนึงถึงความจริงเอาไว้เสมอ กรรมใดใครก่อ ผลแห่งกรรมนั้นย่อมตกอยู่แก่บุคคลนั้นๆ และกรรมใครกรรมมัน เตือนจิตตนเองให้ยอมรับอยู่อย่างนี้เสมอ ให้ยอมรับจริง ๆ มิใช่สักเพียงแต่ว่าคิด ยอมรับเพียงชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นอารมณ์ยอมรับหลอกๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ผลของการปฏิบัติจักไม่ปรากฏ มีผลไม่ทรงตัว ต้องใช้ความเพียรให้เป็น อย่าให้ความเกียจคร้านเข้ามาบั่นทอนความดี ปล่อยให้ความเลวมันขยันทำกรรมชั่วอยู่เรื่อย ก็ใช้ไม่ได้ ไม่ต้องดูอารมณ์จิตของบุคคลอื่น ให้มุ่งดูอารมณ์จิตของตนเองเป็นสำคัญ


    ๗. หากรู้อารมณ์จิตของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไตร่ตรองใคร่ครวญกรรมให้รอบคอบ การแก้ไขอารมณ์จิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี เป็นของไม่ยาก แต่ทุกวันนี้พวกเจ้ามักจักปล่อยให้กิเลสมันจูงจมูกไปก่อนเป็นประจำ นี่เพราะไม่คล่องในอานาปานัสสติกรรมฐาน และอ่อนในการใช้จริต ๖ ประการ ที่จักแก้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ ส่วนใหญ่จับจด พิจารณาลวก ๆ ตรงเป้าบ้าง ไม่ตรงเป้าบ้าง แล้วด่วนปล่อยกิเลสให้ผ่านไป จุดนี้ต้องแก้ไขให้ดี ถ้ายังดีไม่ได้ ก็แก้ไขจุดอ่อนไม่ได้เช่นกัน
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    paragraph__141_211.jpg


    อย่าสำคัญตนเอง


    อย่าสำคัญว่าตนเอง..........

    เก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย

    ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเอง

    จนไม่มีวันสร่างซา

    เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์

    ยังไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้

    ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร


     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    38831412_2070821492968521_8269121159421755392_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    38765833_1675716845884797_702370115177414656_n.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    วิมุตติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ [๒๖] หน้า ๒๑ - ๒๓


    เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ

    ๑. ได้ฟังธรรม และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีได้แสดงธรรมไว้

    ๒. ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมที่ตนแสดง

    ๓. ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมที่ตนสาธยาย

    ๔. ได้ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ตรึกตรองใคร่ครวญ

    ๕. ได้เล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่เล่าเรียนมา
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...