อีกครั้งกับภูฏาน วันเจ้าชายจิกมีคัมแบ๊ค

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย Catt Bewer, 28 พฤศจิกายน 2006.

  1. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    [​IMG] เจ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรภูฏาน เสด็จฯ เยือนงานราชพฤกษ์ 2549 เมื่อวันที่ 24 พ.ย. โดยทรงแวะชมการจัดสวนแสดงของประเทศภูฏานและทรงรับการบรรยายจากเจ้าหน้าที่ ขณะที่มีประชาชนเฝ้ารับเสด็จ เนืองแน่น

    สำหรับสวนของภูฏานเนรมิตเป็นสวนแห่งเทือกเขาหิมาลัย สะท้อนแนวคิด "อยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ" (Living in harmony with nature) เน้นความสงบเรียบง่ายตามหลักปรัชญาแห่งพระพุทธศาสนา เต็มพื้นที่ 500 ตารางเมตร และแสดงความหลากลายทางด้านพืชสวน อาทิ สวนไม้หอม สวนสมุนไพร สวนเฟิร์น สวนไม้ดอก สวนกล้วยไม้ สวนผัก ผลไม้

    ช่างฝีมือดีจากภูฏานมาร่วมสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมของชาติที่มีเอกลักษณ์ของงานแกะสลักหินอันประณีตสวยงาม ซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์นำโชคต่างๆ รวมถึงสัญลักษณ์ทางศาสนา ซึ่งนำมาแกะสลักประดับบริเวณประตู และซุ้มแบบท้องถิ่น เน้นงานประติมากรรม และงานฝีมือแกะสลักหินและไม้อันงดงาม

    นายซิงยี ดอร์จี เอกอัครราชทูตภูฏานประจำประเทศไทย กล่าวว่า เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสอันเป็นมหามงคลแด่กษัตริย์นักการเกษตรของไทย ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวภูฏานรู้สึกเป็นเกียรติ ปลาบปลื้มอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยเชิญรัฐบาลภูฏานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้

    "ในสวนแห่งเทือกเขาหิมาลัย ทางภูฏานนำผลิตภัณฑ์จากพืชสวนและงานหัตถศิลป์ ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติมาจัดแสดง นอกจากพืชพรรณไม้ประจำชาติแล้ว สิ่งที่เราต้องการนำเสนอ คือศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและวิชาการด้านการเกษตร ที่ภูฏานคิดว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนกับประเทศไทย" เอกอัครราชทูตภูฏานกล่าว

    นายดอร์จี กล่าวต่อว่า ภูฏานเป็นประเทศที่มีสังคมเกษตรกรรมที่เรียบง่าย มีความสมบูรณ์ทางด้านพืชพรรณ สมุนไพร และไม้กลิ่นหอม ดำรงตามวิถีทางพุทธศาสนานิกายมหายาน โดยมีความสัมพันธ์ทางการทูตอันดีกับประเทศไทยมาเกือบ 20 ปี โดยเฉพาะด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาด้านการเกษตร ด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการท่องเที่ยวซึ่งเน้นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความมั่นคงทางวัฒนธรรมของประเทศ ดังปรัชญาในการพัฒนาประเทศที่เรียกว่า "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" (Gross National Happiness-GNH) ซึ่งริเริ่มโดยสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก โดยมีหลักสำคัญ 4 ประการได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวัฒนธรรม และธรรมรัฐ หรือเป็นการปกครองแผ่นดินโดยธรรม ทั้งนี้ดัชนีที่ชี้วัดความสำเร็จของแนวคิดนี้ได้เป็นอย่างดี คือความสงบสุขของบ้านเมืองและประชาชน ที่เน้นความสุขที่มาจากจิตใจมากกว่าวัตถุ ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม รวมถึงการปกครองที่ดี

    ในภาคเศรษฐกิจนั้น ภาคการเกษตรกรรมเป็นแรงขับดันทางเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนเน้นการเพาะปลูกเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน ไม่เน้นเพื่อค้าขาย ฉะนั้นการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจะมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากอินเดีย โดยพืชพรรณทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ แอปเปิ้ล ส้ม และเห็ด แต่เนื่องจากภูฏานมีพลังงานไฟฟ้าที่เหลือเฟือในประเทศ จึงตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าได้กว่า 1,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นโครงการที่นำรายได้หลักมาสู่ประเทศ โดยอินเดียเป็นผู้นำเข้าหลักพลังงานไฟฟ้าจากภูฏาน

    ในด้านของการลงทุน ทูตภูฏานกล่าวว่า เน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้านการศึกษาและวิชาการ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการสนับสนุนเรื่องทุนการศึกษาจากทางภาครัฐ อีกทั้งเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเกษตร การแพทย์ การคมนาคม และการสื่อสาร โดยประเทศหลักๆ ที่เข้ามาลงทุนในภูฏาน ได้แก่ ญี่ปุ่น และออสเตรีย

    ด้านความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ภูฏานมีเป้าหมายในการดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศและส่งเสริมการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักนโยบาย Utilitarian Engagement โดยเลือกที่จะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพียงบางประเทศ เห็นได้จากการตั้งสถานเอกอัครราชทูตประจำในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ อินเดีย บังกลาเทศ คูเวต และไทย และมีคณะทูตถาวรฯ ประจำองค์การสหประชาชาติที่นครเจนีวา และนครนิวยอร์กเท่านั้น

    "ในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีนโยบายที่เรียกว่า High Value, Low Volume Tourism เน้นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ เพื่อไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยไทยและภูฏานร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้อย่างดี นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาภูฏานนั้น ประกอบด้วยนักท่องเที่ยวจากยุโรปและญี่ปุ่นเป็นส่วนมาก ทั้งนี้ชาวภูฏานนิยมมาเที่ยวในเมืองไทยเช่นกัน เนื่องจากมีเที่ยวบินเป็นประจำทุกวันระหว่างภูฏานและไทย โดยฤดูกาลที่ถือเป็นช่วงท่องเที่ยวของภูฏานอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ระหว่างเดือน มี.ค.
     

แชร์หน้านี้

Loading...