อ่านและศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เหตุผล - สาเหตุ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สิบหก, 2 มีนาคม 2015.

  1. สิบหก

    สิบหก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    680
    ค่าพลัง:
    +603
    การสังคายนาครั้งที่ ๒
    เมื่อพุทธศักราช ๑๐๐
    ณ วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี

    การสังคายนาครั้งที่ ๒ ปรารถพวกภิกษุวัชชีบุตร แสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวน ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชนา ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้สิสัชนาประชุมทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี เมื่อุทธศักราช ๑๐๐ โดยพระกาลาโศกราชเป็นศาสนูปภัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ

    หลังจากพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านไปได้ ๑๐๐ ปี พระภิกษุที่จำพรรษาในเมืองเวสาลี ได้ประพฤติผิดวินัย ๑๐ ประการเรียกว่าวัตถุ ๑๐ ประการคือ

    ๑. ภิกษุจะเก็บเกลือไว้ในเขนง (ภาชนะที่ทำด้วยเขาสัตว์) แล้วนำไปฉันปนกับอาหารได้

    ๒. ภิกษุจะฉันอาหารหลังจากตะวันบ่ายผ่านไปเพียง ๒ องคุลี

    ๓. ภิกษุฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้วเข้าไปสู่บ้านจะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนและไม่ได้ทำวันัยกรรมตามพระวินัยได้

    ๔. ในอาวาสเดียวมีสีมาใหญ่ ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถได้

    ๕. ในเวลาทำอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกันจะทำอุโบสถไปก่อนได้ โดยให้ผู้มาทีหลังขออนุมัติเอาเองได้

    ๖. การประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌายะอาจารย์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกพระวินัยก็ตาม ย่อมเป็นการกระทำที่สมควรเสมอ

    ๗. นมส้มที่แปรมาจากนมสดแต่ยังไม่กลายเป็นทธิ(นมเปรี้ยว)ภิกษุฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้ว จะฉันนมนั้นทั้งที่ยังไม่ได้ทำวินัยกรรม หรือทำให้เดนตามพระวินัยก็ได้

    ๘. สุราที่ทำใหม่ ๆ ยังมีสีแดง เหมือนสีเท้านกพิราบ ยังไม่เป็นสุราเต็มที่ ภิกษุจะฉันก็ได้

    ๙. ผ้าปูนั่งคือนิสีทนะอันไม่มีชาย ภิกษุจะบริโภค ใช้สอยก็ได้

    ๑๐. ภิกษุรับและยินดีในทองเงินที่เขาถวายหาเป็นอาบัติไม่


    ต่อมาพระเถระอรหันต์ รูปหนึ่งชื่อพระยสกากัณฑกบุตร จากเมืองโกสัมพีได้ไปที่เมืองเวสาลี ได้พบเห็นพระภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี นำถาดทองสำริดเต็มด้วยน้ำ นำมาวางไว้ที่โรงอุโบสถ แล้วประกาศเชิญชวนให้ชาวบ้านบริจาคเงินใส่ลงในถาดนั้น โดยบอกว่าพระมีความต้องการด้วยเงินทอง แม้พระยสเถระจะห้ามปรามไม่ให้มีการถวายเงินทองในทำนองนั้น พระภิกษุวัชชีบุตรก็ไม่เชื่อฟังชาวบ้านเองก็คงถวายตามที่เคยปฏิบัติมา พระเถระจึงตำหนิทั้งพระวัชชีบุตรและชาวบ้าน ที่ถวายเงินทองและรับเงินทองในลักษณะนั้นเมื่อพระภิกษุวัชชีบุตรได้รับเงินแล้ว นำมาแจกกันตามลำดับพรรษานำส่วนของพระยสการัณฑบุตรมาถวายท่าน พระเถระไม่ยอมรับและตำหนิอีก

    ภิกษุวัชชีบุตรไม่พอในที่พระเถระไม่ยอมรับและตำหนิ จึงประชุมกันฉวยโอกาสลงปฏิสาราณียกรรม คือการลงโทษให้ไปขอขมาคฤหัสถ์โดยกล่าวว่าพระเถระรุกรานชาวบ้าน ซึ่งพระเถระก็ยินยอมไปขอขมา โดยนำภิกษุอนุฑูตไปเป็นพยานด้วย เมื่อไปถึงสำนักของอุบาสก พระเถระได้ชี้แจงพระวินัยให้ฟัง และบอกให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบว่า การกระทำของพระภิกษุวัชชีบุตรเป็นความผิด โดยยกเอาพระพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงไว้ความว่า

    "พระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่ได้ร้อนแรงและรุ่งเรืองด้วยรัศมีเพราะโทษมลทิน ๔ ประการ คือ หมอก ควัน ธุลี และอสุรินทราหู กำบังฉันใด ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะไม่มีตบะ รุ่งเรืองด้วยศีล เพราะโทษมลทิน ๔ ประการปิดบังไว้

    คือ ดื่มสุราเมรัย เสพเมถุนธรรม ยินดีรับเงินและทองอันเป็นเหมือนภิกษุนั้นยินดีบริโภคซึ่งกามคุณ และภิกษุเลี้ยงชีพในทางมิชอบด้วย เวชชกรรม กุลทูสกะ (ประจบเอาใจคฤหัสถ์ด้วยอาการอันผิดวินัย) อเนสนา (การหาลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรภิกษุ) และวิญญัติ (ขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ที่ไม่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา) พร้อมด้วยกล่าวอวด อุตตริมนุษย์ธรรม อันไม่มีจริง"

    เมื่อพระยสกากัณฑกบุตรชี้แจง ให้อุบาสกอุบาสิกาเข้าใจแล้ว คนเหล่านั้นเกิดความเลื่อมใสพระเถระ อาราธนาให้ท่านอยู่จำพรรษา
    ณ วาลการาม โดยพวกเขาจะอุปฐาก บำรุงและได้อาศัยท่านบำเพ็ญกุศลต่อไป ฝ่ายภิกษุที่เป็นอนุฑูตไปกับพระเถระ ได้กลับมาแจ้งเรื่องทั้งปวงให้ภิกษุวัชชีบุตรทราบ ภิกษุวัชชีบุตรจะใช้พวกมากบีบบังคับพระเถระด้วยการลงอุปเขปนียกรรม (ตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว) แก่ท่านได้พากันยกพวกไปล้อมกุฏิของพระเถระ แต่พระเถระทราบล่วงหน้าเสียก่อนจึงได้หลบออกไปจากที่นั้น

    พระยาสกากัณฑกบุตรพิจารณาเห็นว่า เรื่องนี้หากปล่อยไว้เนิ่นนานไป พระธรรมวินัยจะเสื่อมถอยลง พวกอธรรมวาทีอวินัยวาทีได้พวกแล้วจักเจริญขึ้น จึงได้ไปเมืองปาฐา เมืองอวันตี และทักขิณาบถแจ้งให้พระที่อยู่ในเมืองนั้น ๆ ทราบ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไข
    และได้ไปเรียนให้พระสาณสัมภูตวาสี ซึ่งพำนักอยู่ ณ อโหคังคบบรรพตทราบและขอการวินิจฉัยจากพระเถระ พระสาณสัมภูตวาสีมีความเห็นเช่นเดียวกับพระยาสกากัณฑกบุตรทุกประการ

    ในที่สุดพระเถระอรหันต์จากเมืองปาฐา ๖๐ รูป จากแคว้นอวัตีและทักขิณาบถ ๘๐ รูป ได้ประชุมร่วมกับพระสาณสัมภูตวาสีและพระยสกากัณฑกบุตร ณ อโหคังคบพรรพต มติของที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าเรื่องนี้จะต้องมีการชำระกันให้เรียบร้อย โดยตกลงให้ไปอาราธนาพระเรวตเถระ ซึ่งเป้นพระอรหันต์ที่เป็นพหูสูตร ชำนาญในพระวินัยทรงธรรมวินัยมาติกาฉลาดเฉียบแหลม มีความละอายบาปรังเกียจบาปใคร่ต่อสิขาและเป็นนักปราชญ์ ให้เป็นประธานในการวินิจฉัยตัดสินเรื่องวัตถุ ทั้ง ๑๐ ประการนี้

    พระสาณสัมภูตวาสีได้นำเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ เรียนถวายให้พระเรวตเถระทราบ และขอให้ท่านวินิจฉันทีละข้อ ปรากฏว่าทุกข้อที่ภิกษุวัชชีบุตรกระทำนั้น เป็นความผิดทางวินัยทั้งหมด จึงตกลงร่วมกันที่จะชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัยทั้งหมด จึงตกลงร่วมกันที่จะชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัยตามที่พระสังคีติกาจารย์ได้กระทำมาแล้วในคราวสังคายนา

    ในที่สุดที่ประชุมของพระอรหันต์ทั้งหลายได้ตกลงกันว่า อธิกรณ์ (เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ) เกิดขึ้นในที่ใด ควรไปจัดการระงับในที่นั้นโดยพระเรวตเถระได้ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ขอให้สงฆ์ระงับอธิกรณ์ด้วยอพุพาหิกา คือ การยกอธิกรณ์ไปชำระในที่เกิดอธิกรณ์ สงฆได้คัดเลือกพระเถระ ๘ รูปคือ

    - พระสัพพากามีเถระ พระสาฬหเถระ พระขุชชโสภิตเถระ พระวาสภคามีเถระทำหน้าที่แทนฝ่ายปราจีนคือพวกวัชชีบุตร ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยอธิกรณ์
    - พระเรวตเถระ พระสาณสัมภูตวาสี พระยสกากัณฑกบุตร เถระพระสุมนเถระเป็นตัวแทนฝ่ายเมืองปาฐา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายเมืองปาฐา ทำน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายสงฆ์ธรรมวาที มีหน้าที่ในการเสนออธิกรณ์ต่อสงฆ์

    สงฆ์ได้มอบหมายการสวดปาติโมกข์ การจัดแจงเสนาเสนะให้เป็นหน้าที่ของพระอชิตะ ซึ่งพรรษาได้ ๑๐ พรรษา และตกลงเลือกเอาวาลิการามหรือวาลุการาม เมืองเวสาลี อันเป้นที่เกิดเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ เป็นศิษย์ของพระอนุรุทธเถระ อีก ๖ รูป เป้นศิษย์ของพระอานนท์เถระซึ่งเป็นสังคีติกาจารย์สำคัญในราวปฐมสังคายนา

    เมื่อพระเจ้ากาลาโศกราชรับสั่งให้พระสงฆ์ทัเง ๒ ฝ่ายประชุมร่วมกัน และขอให้แต่ละฝ่ายแถลงเหตุผลให้ทราบ ทรงโปรดในเหตุผลของฝ่ายพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงปวารณาพระองค์ที่จะให้การอุปถัมภ์ฝ่ายอาณาจักรทุกประการ และโปรดให้ชำระมลทินพระศาสนา พร้อมด้วยการทำทุติยสังคายนา (การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒) ที่วาลุการาม เมืองเวสาลี พระอรหันต์เข้าร่วม ๗๐๐ รูปโดยมีการทำตามลำดับดังนี้

    ๑. พระเถระที่ได้กำหนดหน้าที่กันฝ่ายละ ๔ รูปนั้น พระเรวตเถระเอาวัตถุ ๑๐ ประการขึ้นมาถามทีละข้อ พระสัพพากามีเถระได้ตอบไปตามลำดัสว่า

    ๑.๑ การเก็บเกลือไว้ในแขนง โดยตั้งใจว่าจะใส่ลงในอาหารที่จืดฉันเป้นอาบัติปาจิตตีย์ (จัดไว้ในจำพวกอาบัติเบา พ้นได้ด้วยการแสดง) เพราะการสะสมอาหารตามโภชนสิกขาบท

    ๑.๒ การฉันโภชนะในเวลาวิกาลเมื่อตะวันบ่ายคล้อยไปแล้ว ถึง ๒ องคุลี ผิดต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในยามวิกาล

    ๑.๓ ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้วคิดว่าจักฉันอาหารเข้าไปในบ้านแล้วฉันโภชนะที่เป็นอนติริตตะ (อาหารซึ่งไม่เป็นเดน ที่ว่าเป็นเดนมี ๒ คือ เป็นเดนภิกษุไข้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑) ผิดเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ และไม่ได้ทำวินัยกรรมก่อน

    ๑.๔ สงฆ์ทำสังฆกรรมด้วยคิดว่าให้พวกมาทีหลังอนุมัติทั่งที่ยังประชุมไม่พร้อมหน้ากัน ผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในจัมเปยขันธกะ ใครทำต้องอาบัติทุกกฏ
    ๑.๕ อาวาสแห่งเดียวมีสีมาเดียวเท่านั้น ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรมไม่ได้ ผิดหลักที่สรงบัญญัติไว้ในอุปโบสถขันธกะ ใครขืนทำต้องอาบัติทุกกฏ

    ๑.๖ การประพฤติปฏิบัติด้วยความเข้าใจว่าอุปัชฌาย์อาจจารย์ของเราเคยประพฤติมาอย่างนี้ ไม่ถูกต้องนัก เพราะท่านเหล่านั้นอาจจะประพฤติผิดหรือถูก ก็ได้ ต้องยึดหลักพระวินัยจึงจะสมควร

    ๑.๗ นมส้มที่ละความเป็นนมสดไปแล้ว แต่ยังไม่กลายเป็นทธิภิกษุฉันภัตตาหารส้มห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันไม่เป็นเดนภิกษุไข้หรือยังไม่ทำวินัยกรรมไม่ควรต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่เป็นอนติริตตะ

    ๑.๘ การดื่มสุราอย่างอ่อนที่มีสีเหมือนเท้านกพิราบ ซึ่งยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมาไม่ควร เป็นปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย

    ๑.๙ ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชายภิกษุจะใช้ไม่ควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ซึงต้องตัดเสียจึงแสดงอาบัติตก

    ๑.๑๐ การรับเงินทองหรือยินดีทองเงินที่เขาเก็ไว้เพื่อตนไม่ควรต้องอาบัตินิสสัคคียะ ปาจิตติยะ เพราะรับทองและเงินซึ่งจะต้องสละจึงแสดงอาบัติตก

    ทุกข้อที่พระสัพพกามีวิสัชชนา ฝ่ายพระเรวตเถระได้เสนอให้สงฆ์ทราบทุกข้อและขอมติจากสงฆ์เพื่อให้ยอมรับว่า

    "วัตถุเหล่านี้ผิดธรรม ผิดวินัย เป็นการหลีกเลี่ยงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า" และได้ขอให้สงฆ์ลงมติทุกครั้นที่พระสัพพากมีเถระตอบ มติของสงฆ์จึงเห็นว่าวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ผิดธรรม ผิดวินัย โดยเสียงเอกฉันท์

    ๒. จากนั้นพระเถระทั้งหลายจึงเริ่มสังคายนาพระธรรมวินัยตามแบบที่พระมหากัสสปเถระ เป็นต้น ได้กระทำในคราวปฐมสังคายนากระทำสังคายนาคราวนี้ใช้เวลา ๘ เดือนจึงสำเร็จ


    อ้างอิง http://www.dhammathai.org/buddha/g832.php

    https://ariyavinaya.wordpress.com/อภิสมาจาริกาสิกขา/จุลวรรค-ภาค-2/8-สัตตสติกขันธกะ/

    .::
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...