เคยได้ยินว่าพระโพธิสัตว์ต้องรู้ทุกอย่างแม้แต่อารมณ์อรหันต์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย GenerationXXX, 15 มิถุนายน 2005.

  1. GenerationXXX บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    เคยได้ยินมาว่าพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีมานอกจากจะรู้เรื่องโลกธรรมทุกอย่างแล้วก็ยังต้องรู้ถึงอารมณ์พระอรหันต์ ซึ่งทำให้ผมเองก็งงๆ นิดหน่อย แต่ถ้าคิดให้ดีก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะอารมณ์เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต ซึ่งน่าจะทำได้โดยที่ตัวเองไม่จำเป็นต้องได้อรหันต์ผล ใครมีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ
     
  2. ammytr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +301
    ที่ อ ไก่ เล่าให้ผมฟังนะครับ

    ก็คือ คนที่เรียนหลักสูตรพระพุทธเจ้า ต้องเรียนรู้ทุกอย่างครับ ไล่เบี้ยไปหมดเลย ตั้งแต่อารมณ์พระโสดาบันยันอารมณ์พระอรหัตน์ อารมณ์ฌาณ ญาณทุกอย่าง ต้องคล่อง เพราะจะต้องไปสอนเขาครับ

    เราเป็นอาจารย์ต้องรู้ก่อนครับ ถึงจะสอนศิษย์ หรือ สาวกภูมิ ต่าง ๆ ได้ครับ ผมก็เคยสงสัยเหมือนกันครับว่าถ้าทรงอารมณ์ อริยะ แล้วจะไม่ไปนิพพานก่อนหรือ อาจารย์ได้ตอบว่า พอตายจะมีราชรถมารับ ก็เลือกเอาว่าจะไปไหน ถ้าเบื่อ ไม่อยากทำต่อ ก็ นิพพาน เลยครับ

    ส่วนตัวผมเคยอ่านหนังสือ และอาจารย์บอกว่า ถ้าทรงอารมณ์พระโสดาบัน ก่อนตายจะรู้ก่อน 7 วันครับ และผมคิดว่า การที่ทรงอารมณ์พุทธภูมิ น่าจะกวาดหมดทุกอารมณ์ ผมคิดว่าก่อนตายน่าจะรู้เช่นกันครับ และถ้าติดอธิษฐานด้วยยิ่งไม่น่าไปนิพพานก่อนครับ
     
  3. อบเชย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +37
    ตอบตามความรู้สึกนะครับ

    พระโพธิสัตว์ท่านเป็นผู้ที่จะพาเหล่าสัตว์ออกจากการเวียนว่ายตายเกิด ท่านต้องสำรวจทุกๆเส้นทาง ที่จะสามารถเดินทางไปสู่จุดหมาย รวมทั้งทราบด้วยว่าจุดหมายปลายทางมีลักษณะอย่างไร ควรไปสมควร เหมาะสม และดีที่สุด คุ้มค่ากับที่ต้องใช้เวลามากมายในการเตรียมสัมภาระและพาหนะ และมีความมั่นใจในจุดหมายปลายทางด้วย ว่าทางไหนเป็นทางไป ไม่มีหลงหรือไม่รู้เด็ดขาด ไม่มีสิ่งใดที่ไม่รู้ในการเดินทางนี้ จึงมั่นใจได้ครับ ว่าท่านสามารถเป็นผู้นำในการเดินทางไปสู่จุดหมายนั้นได้ คือพระนิพพานครับ คำอธิบายอาจจะดูวกวนหน่อย แต่คำตอบประมาณนี้ครับ
     
  4. ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    ได้อ่านได้ฟังมา

    พระโพธิสัตว์ที่บารมีพอประมาณแล้วแต่ยังเป็นอนิยตอยู่ แม้นถ้าเจริญวิปัสนาญาณ ก็จะไปได้ถึงเฉียดๆ โคตรภูญาณ (ไม่ข้ามเข้าสู่อริยภูมิ) ที่วิปัสนาญาณสูงๆเช่นนั้น แม้แต่อนุสัยกิเลสก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นสภาวะอารมณ์คล้ายของพระอรหันต์ครับ

    ได้ยินได้ฟังมาอีกเช่นกัน

    พระโพธิสัตว์ต้องเวียนเกิดตายเรียนรู้ทุกอารมณ์และอุปนิสัยดีเลวบุญบาป คือต้องเกิดมาเป็นแบบนั้นแบบนี้ดีบ้างชั่วบ้าง ดีสุดๆก็เคย ชั่วสุดๆก็เคย และเมื่อเรียนจบในร่องอารมณ์อุปนิสัยอันหนึ่งอันใดก็จะปลงใจลงสู่วิปัสนาญาณเข้าถึง "สภาวะอรหันต์" ในร่องอุปนิสัยนั้นๆ เป็นอันจบหลักสูตรนั้นๆ เพื่อจะได้สามารถทรมานสั่งสอนผู้มีอุปนิสัยเช่นนั้นๆให้เข้าถึงธรรมได้ในภายหลัง
     
  5. Star Platinum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +1,152
    เรื่องนี้ผมก็ไม่ชัวร์ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นน่ะครับ คนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องรู้ถึงสภาวะอารมณ์ของทุกสรรพสิ่ง ต้องเรียนรู้สั่งสมมาเป็นอสงไขยกัลป์เลยทีเดียวกว่าจะรู้ซึ้งถึงจิตใจทุกคนจริงๆ
    พระพุทธเจ้าต้องเป็นผู้ที่รู้จักจิตใจและกลไกแห่งสรรพสิ่งด้วย ไม่เช่นนั้นจะเป็นการยากที่จะสอนคนทั่วไปให้เข้าใจ
    เหมือนกับที่ซุนหวู่กล่าวไว้ครับ "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"
     
  6. lotte เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +4,545
    พึงละจิตรู้(อารมณ์สมมตินิพพาน)ได้อย่างไร

    โลกนี้คือละคร เป็นมายา คนเราเกิดมาเพื่อมาบำเพ็ญบุญสร้างบารมี(กำลังใจในการละกิเลส)ให้หมดไป ต่างคนก็ต่างทำหน้าที่ของตนไปให้ดีที่สุด ไม่ต้องมาแข่งกันทำความดี แต่มีสติรู้ว่าไม่ควรให้จิตเราไปนึกน้อยต้อยต่ำใจว่าไม่มีวาสนาเหมือนคนอื่น หรือมีวาสนามากกว่าคนอื่น หรือมีวาสนาเท่ากับคนอื่น หรือมีความดีมากกว่าคนอื่นเพราะเราทุกคนล้วนแต่หลงดี หลงอยากเด่น อยากเป็น อยากบรรลุ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากผิดหวัง ไม่อยากเสียใจ หรือหงุดหงิดใจ อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ของตัวละครที่เป็นมายา เป็นอารมณ์สมมติ เช่นอารมณ์สมมติสุข อุเบกขา อารมณ์สงบสมมติเป็นต้น เราไม่ควรยึดติดเอาอารมณ์สมมติมาเป็นอารมณ์ของเรา เพราะอะไรทุกอย่าง ในขันธ์ห้า ถ้าเอามายึดติดเป็นอารมณ์ของเราจะละสักกายทิฐฐิไม่ได้ ก็บรรลุโสดาบันไม่ได้ เพราะมีแต่ยึดติดว่า อารมณ์อันประเสริฐนั้นของเรา จิตอันบริสุทธิ์นั้นของเรา จิตเรารู้เท่าทันอารมณ์สมมติแล้วปล่อยวางไม่ยึดติดเป็นอารมณ์เรา คือละจิตรู้ ละตัวรู้(อารมณ์นิพพาน) คือละได้ก็หมดความอยากที่จะเป็นนั่น บรรลุนี่ อย่างหลวงตาบัวท่านกล่าวว่า "แม้นิพพานหลวงตาก็ไม่อยากเอา ไม่อยากได้" นี่คือตัวอย่างของผู้บรรลุอรหันต์แล้วท่านหมดความปรารถนาทุกอย่าง หมดแล้วซึ่งอามณ์ปรุงแต่งให้เกิดความอยากมี อยากเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากได้ ซึ่งการที่คนเรารู้เท่าทันในโลกที่เป็นละครว่าโลกนี้เราเกิดมาเพื่อยืมอารมณ์สมมตินิพพานมาทำให้จิตเรารู้เฉยๆไม่ใช่ เป็นอารมณ์ของเรา เพียงเท่านี้เราก็เข้าใจคำว่า "มายา" หรือ ละคร ได้

    พระโพธิสัตว์ สามารถรักษาศีลได้อย่างหมดจดงดงามทั้งที่ท่านเป็นเพียงคนธรรมดาสามัญ เป็นมานพผู้อ่อนเยาว์อยู่ในวัยเล่าเรียน ทั้งยังต้องตกอยู่ในภาวะบีบคั้น อันเนื่องมาจากคำสั่งของผู้เป็นอาจารย์ แต่ท่านกลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่สวนทางกับสังคมคนรอบข้าง อย่างไม่หวั่นไหว ทั้งนี้เพราะท่านมี หิริ โอตตัปปะ อยู่ในใจ จึงไม่ยอมให้สิ่งใดมาเป็นข้ออ้าง หรือ เงื่อนไข ให้กระทำผิดศีลได้เลย
    ผู้รักษาศีลด้วย หิริ โอตตัปปะ จึงรักษาได้อย่างมั่นคง และรักษาด้วยความจริงใจโดยไม่ต้องให้ใครมาดูแลกำกับ
    ตรงข้ามกับผู้ที่ปราศจากหิริ โอตตัปปะ นอกจากจะเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการสมาทานศีลแล้ว ยังเป็นผู้ที่ล่วงละเมิดศีลได้ง่าย ไม่ว่าเวลาใด หรือในที่แห่งใด ไม่ล่วงในที่แจ้ง ก็ล่วงในที่ลับ เพราะไม่มี หิริ โอตตัปปะ คอยดูแลกำกับนั่นเอง
    ดังคำกล่าวที่ว่า


    ....."เมื่อมีหิริและโอตตัปปะอยู่ ศีลก็เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้


    .....เมื่อไม่มีหิริและโอตตัปปะ ศีลก็ไม่เกิดขึ้นและตั้งอยู่ไม่ได้"


    .....หิริ โอตตัปปะ จึงเป็นธรรมะที่สร้างสรรค์สังคมให้ร่มเย็นเป็นสุข ให้ทุกชีวิตปลอดภัย ได้พบแต่สิ่งที่ดีงาม มีความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

    ....ทั้งในชาติปัจจุบันและสัมปรายภพ
    แม้ว่า หิริ โอตตัปปะ จะเป็นธรรมะที่สูงส่งถึงเพียงนี้ แต่กลับเป็นธรรมะที่สร้างสมขึ้นได้ ด้วยวิธีง่าย ๆ กล่าวคือ
    หิริ ความละอายต่อบาป เกิดขึ้นด้วยการพิจารณาถึงฐานะของตนเอง ๔ ประการ คือ


    .....๑. พิจารณาถึงชาติกำเนิดของตนเองว่า ตัวเราเกิดในตระ***ลที่ประกอบอาชีพสุจริต เราจึงไม่ควรผิดศีล เลี้ยงชีพในทางที่ผิด ให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระ***ล


    .....๒. พิจารณาถึงอายุของตนเองว่า คนมีอายุเช่นเรา ได้รับการสั่งสอนอบรมมาแล้ว ทั้งยังได้เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตว่า อะไรดีอะไรชั่ว ถ้าเรายังผิดศีล ก็เสียทีที่มีอายุมากเสียเปล่า แต่ไม่มีสติปัญญาตักเตือนตนเองเสียเลย


    .....๓. พิจารณาถึงความกล้าหาญของตนเองว่า ตัวเราต้องมีความกล้าหาญ ตั้งใจมั่นอยู่ในคุณความดี บำเพ็ญประโยชน์เพื่อตนเองและผู้อื่น ต่างจากผู้ที่ทำผิดศีล เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน เพราะมีจิตใจอ่อนแอ ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส


    .....๔. พิจารณาถึงความเป็นพหูสูตของตนเองว่า ตัวเรานั้นเป็นผู้ศึกษาธรรมะมามาก มีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เราจึงควรเป็นผู้มีศีล มีการกระทำอันงาม ต่างจากคนพาลซึ่งทำบาปอกุศล เพราะไม่มีหลักธรรมใด ๆ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
    โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป เกิดขึ้นได้เพราะกลัวว่าตนเองจะเดือดร้อนในภายหลัง จากภัย ๔ ประการคือ


    .....๑. ภัยเพราะติเตียนตนเอง
    เมื่อทำผิดศีล เราย่อมรู้สึกเดือดร้อน กระวนกระวายใจในภายหลัง เพราะนึกติเตียนตนเองที่ทำในสิ่งไม่สมควร


    .....๒. ภัยจากการที่ผู้อื่นติเตียน
    เมื่อบัณฑิต ได้รู้ถึงการกระทำที่ผิดศีลของเรา เขาย่อมติเตียนว่า เราเป็นคนพาล เป็นผู้กระทำบาปกรรม เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน


    .....๓. ภัยจากอาชญา
    เมื่อเราผิดศีล จนเป็นผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน ย่อมต้องถูกลงโทษจากกฎหมายบ้านเมือง ได้รับความเดือดร้อนตอบแทนกลับมา


    .....๔. ภัยในทุคติ


    .....การผิดศีล ย่อมจะนำเราไปสู่อบายภูมิ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ทำให้ต้องประสบทุกข์ภัยเป็นอันมากในภพชาติเบื้องหน้า เมื่อละจากโลกไปแล้ว
    ด้วยวิธีการหมั่นฝึกคิดพิจารณาเช่นนี้ ในที่สุด หิริ โอตตัปปะ จะเกิดขึ้นในใจของเราอย่างแน่นอน และเมื่อนั้นการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ย่อมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป


    .....ศีล จัดเป็นบารมี


    .....แม้เราจะเป็นเพียงชีวิตเล็ก ๆ ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องนานับประการ แต่เราก็โชคดีที่สุด ที่ได้เป็นศิษย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นยอดคน เพราะไม่อาจหาใครที่จะมีคุณสมบัติล้ำเลิศยิ่งไปกว่าพระองค์ได้เลย
    การเข้าถึงฐานะอันเลิศของพระองค์ ย่อมมิใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน หากแต่เป็นสิ่งที่มีเหตุและผลอย่างครบถ้วนทุกประการ ฐานะอันเลิศของพระองค์ได้มาจากการสั่งสมบุญบารมีอย่างยิ่งยวดและยาวนาน จนบารมีของพระองค์เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ และการสร้างบารมีด้วยการรักษาศีล ก็เป็นพื้นฐานอันสำคัญยิ่ง สู่ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    .....การรักษาศีล เกิดเป็นบารมีได้ เนื่องจากทุกครั้งที่รักษาศีล จะเกิดกระแสแห่งความดีขึ้นในใจ ที่เราเรียกว่า กระแสบุญ รู้สึกได้จากใจที่สบาย และปลอดโปร่ง เมื่อรักษาศีลได้ดีขึ้นบุญที่เกิดขึ้นนี้ จะฟอกใจให้ใสสะอาดจนกระทั่งปรากฏเป็นดวงกลมใส ที่เรียกว่า ดวงศีล เมื่อสั่งสมความบริสุทธิ์แห่งศีลให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ในที่สุด ดวงศีลจะกลั่นเป็นบารมี ซึ่งบารมีนี้ก็คือวิถีทางเข้าถึงความเป็นเลิศนั่นเอง

    สรุป พระราชดำรัส พระญาณสังวรสกลมหาสังคปรินายก และในหลวง หลวงปู่ทวด ฯลฯ
    เราควรที่จะคำนึงเห็นถึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ไม่ควรเพ่งโทษว่าผู้ใดโดยขาดเมตตา อุเบกขา ควรคำนึงถึงทุกข์ของคนส่วนใหญ่ว่าเป็นทุกข์ของเราด้วย พึงช่วยเขาได้ก็ควรช่วยหรือส่งแผ่เมตตาจิตเขาให้เขาสบายขึ้น เราควรอยู่เหนือกามเหนือเกียรติ ไม่ไปยึดติดธรรมะทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่ในใจเราว่าเป็นของเรา สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ธรรมะทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ไม่ควรยึดติดกับอาจารย์ ไม่ด่วนเชื่ออะไรง่ายๆ และไม่หลงงมงายบนบานสานกล่าว ขอหวยเพราะจะลูบคมศีล ที่เรียกว่าสีลัพตปรามาส
    ไม่พึงหวังผลประโยชน์ใดๆให้สำเร็จจากการคิด พูด ทำจากจิตเรา
    คิด พูดทำอะไรไม่มีเจตนาสักเเต่เป็นเพียงกริยา
    พึงนึกเสียว่าคนทั้งหลายบนโลกหรือในนรก ทั้งหลายที่ได้รับความทุกข์หรือเป็นคนชั่ว ก็เป็นเพื่อนร่วมโลกเราหรือเป็นญาติเราควรพึงเจริญพรหมวิหารสี่ ไม่มีอคติว่าชอบพอใจ ไม่พอใจคนนั้นมากกว่าคนนี้ ความยึดติดกับสถานที่ที่พอใจ หรือคนที่เราพอใจก็เป็นกิเลส
    พึงเจริญจิตอยู่ทุกขณะจิตว่านึกปรุงเเต่งคำพูดในจิตใจว่าอยาก ไม่อยากอะไร หรือเฉยๆและนึกเสียว่าหายใจเข้าออกทุกอิริยาบถ ทุกขณะจิตก็เจริญสติว่าไม่หายใจเข้าออกก็ตาย
    พึงเจริญไม่เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นว่าเรามีอะไรพิเศษกว่าคนอื่นคือไม่ไปเปรียบเทียบว่าเรามีอะไรคือไม่หลงว่าเราเป็นคนดี ไม่หลงสมมติกับศัพท์ธรรมะนิพพาน หรืออนัตตา ว่าเป็นอารมณ์ของเรา คือตัวเราไม่มีอะไรเป็นความว่างอย่างยิ่ง คือนิพพานคือการว่างอย่างยิ่ง(ว่างจากกิเลส) ไม่ไปยึดติดกับอารมณ์สมมติใดๆว่าเป็นของเรา หรือไม่ไปยึดติดกับตำแหน่งพระอริยะว่าเป็นตำแหน่งของเรา เป็นอารมณ์ของเรา เป็นผลงานของเรา คือจิตรวมใจเป็นเอกัคคตา
    พึงช่วยเหลือทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเต็มความสามารถ ไม่ทำอะไรหวังผลให้เป็นการคิด พูด ทำตามสมมติ เกิดมาเพื่อมาทำหน้าที่สมมติ ยืมอารมณ์พระอรหันต์มาใช้ทำประโยชน์ให้แก่คนอื่น เราไม่มีอารมณ์ใดๆมาปรุงแต่งให้เราเกิดความมี ความอยาก ความเป็นอะไรได้
     
  7. wit บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    เป้าหมายสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก็คือความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็คือเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน แต่ว่าต้องมีความรู้ในเรื่องอื่นๆครบถ้วนหมดเห็นแจ้งแทงตลอดทั้งเรื่องธรรมที่ตัดกิเลสหรือธรรมที่เกี่ยวกับโลก และญาณปัญญาต่างๆเพื่อที่จะได้นำมาสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ครับ
    ปล.บารมีที่สำคัญก็คืออธิษฐานบารมี แม้แต่ผู้ที่จะเป็นพระอรหันต์นั้นก็ต้องมีการอธิษฐานในชาติแรกเหมือนกันนะครับ จึงจะค่อยๆสร้างความดีต่างๆจนกระทั่งบุญกุศลและบารมีที่สะสมไว้เพียงพอ ก็จะมาเกิดในยุคของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งได้ฟังธรรมปฎิบัติธรรมแล้วจึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในยุคของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นครับ
     
  8. Kamo52 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2005
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +43
    เป็นอย่างนั้นครับ

    ต้องขออนุญาตทุกท่านในการตอบ ผมมิได้รู้ด้วยตัวเอง หากแต่เป็นการศึกษา ได้อ่าน ได้ฟังมา สามารถอ่านเพิ่มเติมในประวัติของหลวงปู่ปาน และหลวงพ่อพระราชพรหมยาน คืออารมณ์จะเทียบเคียง แต่ไม่แน่ใจ อย่างเช่น ตอนที่หลวงปู่ปานสอนวิธีและอารมณ์ปฏิบัติให้หลวงพ่อ แต่ก็ให้หลวงพ่อไปศึกษากับท่านอาจารย์ท่านอื่นเพราะท่านไม่แน่ใจว่าเป็นไปตามทางของพระอริยะหรือเปล่า จึงเรียนให้ทุกท่านทราบและศึกษาเพิ่มเติมครับ
     
  9. Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,402
    เป็นตามนี้ครับ แต่ถ้าได้คล่องขนาดนี้แล้ว ถือว่าอยู่ขั้นปลายแล้วครับ ขั้นต้น ๆอารมณ์จะยังไม่ถึงขนาดนี้ครับ
     
  10. จอมมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +176
    พระโพธิ์สัตว์ไม่สามารถรู้อารมณ์พระอริยะ จนเมื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าจึงรู้ได้ทั้งหมด
    ไม่เช่นนั้นเจ้าชายสิทธะเมื่อยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิ์ญาณ จะค้นหาเพื่อตรัสรู้ไปอีกทำไมในเมื่อรู้อารมณ์ของพระอรหันต์แล้ว พระพุทธเจ้าก็คืออรหันต์องค์หนึงแต่ต่างจากพระอรหัตน์สาวกตรงที่ท่านเป็นผู้ที่ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองและเป็นผู้สั่งสอนสัตว์โลกให้เห็นทาง พระโพธิสัตว์ต้องผ่านมาทุกอย่างจริงเพราะต้องสอนสรรพสัตว์ทุกเหล่าชั้น แต่ชั้นสูงสุดนั้นตรัสรู้ตอนที่บรรลุพระโพธิญาณ ไม่เช่นนั้นการตรัสรุ้เป็นพระพุทธเจ้าจะมีประโยชน์อะไร พระองค์จะค้นหาในสิ่งที่รู้อยู่แล้วไปทำไม
     
  11. GenerationXXX เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +2,163
    มันเป็นเพียงแค่อารมณ์พระอรหันต์ครับ ไม่ให้เป็นพระอรหันต์ มันต่างกันนะครับ เหมือนกับอารมณ์รัก อารมณ์เกลียด อารมณ์โกรธ ฯลฯ มันก็แค่อารมณ์ ไม่ได้เป็นไปตามอารมณ์นั้นๆ ดังนั้นจึงมีได้ครับ นึกว่าจะไม่เจอพวกปราถนาองค์สุดท้ายซะแล้ว ไม่ทราบว่าสุดท้ายแบบไหนกันครับ
     
  12. จอมมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +176
    พุทธะ = ผู้รู้ + สุดท้าย = รู้คนสุดท้ายไง แปลออกจะง่าย
    แล้วรู้คนสุดท้าย = คนอื่นรู้แต่เรายังไม่รู้ ถูกปะละ
    สงสัยอะไรอีก ถามได้
     
  13. จอมมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +176
    มีอะไรชี้แนะ ผมยินดีรับฟังเสมอ และขอขอบคุณมากๆด้วยที่เอื้อเฟื้อความรู้ให้กัน :)
     
  14. GenerationXXX เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +2,163
    ยินดีครับผม มีอะไรผมจะคุยที่กระทู้ปราถนาองค์สุดท้ายแล้วกันนะครับ ขอบคุณครับ:cool:
     
  15. KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,802
    ค่าพลัง:
    +18,984
    ...
    ก็เชื่อว่าเป็นแบบนั้นครับ
     
  16. stupidcupid สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +23
    การที่จะรู้อารมณ์ของพระอริยะเจ้า ในระดับต่างๆนั้น ตนจะต้องรู้ด้วย เพราะจะต้องดูอารมณ์ของตัวเองก่อน รู้จัก ตนเองก่อน แล้วถึงจะสอนคนอื่นได้

    <O:p</O:p
    เหมือนกับการที่เราจะสอนคนให้ว่ายน้ำข้ามฝั่ง เราต้องรู้ก่อนว่าฝั่งอยู่ตรงไหน วิธีว่ายมีกี่วิธี ว่ายแบบไหนเหนื่อยน้อยที่สุด ว่ายแบบไหนไปได้เร็วที่สุด วิธีไหนเหมาะกับตัวเรามากที่สุด และที่สำคัญที่สุดของที่สุด ย้ำ The most important thing!!!! คือเราต้องว่ายน้ำเป็น ถ้าเรากระโดดลงน้ำแล้วจม แล้วใครจะว่ายตามคะ

    <O:p</O:p
    แต่ตนจะรู้ได้อารมณ์ของพระอริยะเจ้าในระดับไหนนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าตนเองบรรลุธรรมขั้นไหนค่ะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้