เจ้าอาวาสวัดสามแยก ยันอยู่วัดต่อ และพร้อมให้ปากคำ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย slamb, 3 สิงหาคม 2008.

  1. แก้เครียด

    แก้เครียด สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +6
    กระจกเงา + หรือน้ำในขัน


    <marquee>อนิจฺจ๋ ทุกข๋ อนตฺตา</marquee>


    <embed src="http://www.clocklink.com/clocks/5010-blue.swf?TimeZone=ICT&" wmode="transparent" type="application/x-shockwave-flash" height="66" width="222">
     
  2. ธรณี

    ธรณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2005
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +233
    ดิฉันเคยอ่านคำสอนของพระเกษม และมีข้อสงสัยหลายข้อ ดิฉันเลยไปถามหลวงพี่ดิฉัน ที่ท่านปฎิบัติธรรม สายหลวงปู่มั่น ท่านบวชมานาน และท่านเคยมรณะหลายครั้ง จนบางครั้งจิตท่านไปหาที่เกิดพบกับแม่ใหม่ แต่ท่านสามารถดึงจิตท่านกลับมาได้ ช่วงเข้าพรรษาท่านก็ปฎิบัติเข้มงวด 7 วัน ฉันอาหาร 1 ครั้ง บางครั้งท่านเคยมรณะภาพไป 3 วัน แล้วกลับเข้าร่างดังเดิม และร่างของท่านตอนมรณะภาพ ไม่มีคนเห็น ถือว่าท่านปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้น เรื่องการอุทิศบุญ โอนบุญ ถ้าใครมีพระเครื่องจะอุทิศบุญไม่ออก หรือได้ไม่ดี หลวงพี่ท่านบอกว่าไม่มีติดขัดอะไร อุทิศได้เลย ไม่เกี่ยวกับพระเครื่อง ให้ใช้ปัญญาพิจารณา การทำบุญก็อุทิศได้เลย ถึงแน่นอน อย่างพระบรมสารีริกธาตุ ที่กราบไหว้อยู่ที่บ้าน ท่านก็บอกว่าเป็นบุญวาสนาบารมีของตนที่ได้กราบไหว้ เพราะมนุษย์น้อยคนนักที่จะได้กราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ถ้าใครไม่เครพกราบไหว้ ปฎิบัติตนไม่ดีแล้ว พระบรมสารีริกธาตุท่านก็จะเสด็จหนีไปเอง ไม่จำเป็นต้องนำท่านไปไว้ที่ไหน ดิฉันเคยเห็นบางคนมีพระบรมสารีริกธาตุแต่ตัวเองทำตัวไม่ดี พระบรมสารีริกธาตุท่านก็เสด็จหนีไป ส่วนเรื่องเทวดาเขาไม่ชอบมาวุ่นวายกับมนุษย์หรอกเขาชอบอยู่ตามป่าตามเขาถ้าอยู่ในโลกมนุษย์ และเขาชอบคนที่มีศีลมีธรรม มนุษย์มีกลิ่นตัวเหม็นมากโดยเฉพาะคนที่มีกิเลส ในประวัติหลวงปู่มั่นยังมีบอกไว้เลย ว่าเทวดาไม่ชอบมนุษย์ผู้มีกิเลส กลิ่นตัวเหม็นเน่ารุนแรง
     
  3. little_off2

    little_off2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +27

    สาธุ.......เห็นด้วยที่สุดครับ ท่านผู้หลุเพ้น พระอริยเจ้ามากมายท่านกราบพระพุทธรูปแต่ก็บรรลุธรรมได้ อัฐิแปรเป็นพระธาตุมากมาย..

    แต่พระรูปนี้ ยังยึดติดอย่างมากนัก ถ้าอยากทำลายพระพุทธรปนัก ก็อย่าเป็นพระ สึกออกมาให้มันรุ้แล้วรุ้รอด จะได้สะดวก ไม่มีธรรมวินัยมากมาย ทีนี้ก็ขับรถไล่ทุบพระพุทธรุปทั่วประเทศซะเลย

    ผู้กราบไหว้พระพุทธรุป มีทั้งหลุดพ้นไม่ได้ และหลุดพ้นได้
    ผู้ไม่กราบพระพุทธรูป ก็มีทั้งพ้นได้ และพ้นไม่ได้

    เอาเหตุผลอะไรมาเข้าข้างการกระทำของตนว่าดีที่สุด ต้องทำลาย ใจบอดแท้ๆ
     
  4. olive36

    olive36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +152
    อ่านแล้วได้ความรู้มากเลย ขอบคุณนะคะ
     
  5. olive36

    olive36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +152
    :z15เชื่อที่คนพูดกันเป็น 100 เป็น 1000 พูดมันน่าเชื่อถือกว่า และอาจจะ

    ดีกว่าเชื่อคนเสียสติพูดบ้าๆบอๆ แค่ คนเดียว
     
  6. ปัญญาพร

    ปัญญาพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +797
    พระพุทธเจ้าทรงอภัยต่อทุกคน และสรรพชีวิต พระเมตตา และพระกรุณาของพระศาสดา
    มีมากเกินประมาณ...
    ไม่ว่าพระท่านใดจะเป็นอย่างไร พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าอย่าเผลอติเตียนหรือกล่าวล่วงเกิน...เพราะจะเป็นบาปต่อเรา ปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างที่มันควรจะเป็น...ทำใจของเราให้สงบเย็น...และแผ่ความสงบเย็นเหล่านี้ให้แด่ผู้ที่กำลังทุกข์..ดีกว่านะคะ
     
  7. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๗. สกจิตตนิยวรรค
    ๑. สกจิตตนิยเถราปทาน (๖๑)

    สกจิตตนิยวรรคที่ ๗
    ๖๑. อรรถกถาสกจิตตนิยเถราปทาน
    อปทานของท่านพระสกจิตตนิยเถระนี้มีคำเริ่มต้นว่า ปวนํ กานนํ ทิสฺวา ดังนี้.
    พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเปนอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิดขึ้นในกาลเป็นที่สิ้นพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยังไม่ทันได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยังดำรงพระชนมายุอยู่.
    ในกาลที่พระองค์ปรินิพพาน ได้บวชเป็นฤาษี อยู่ในหิมวันตประเทศ ถึงป่าแห่งหนึ่งอันวิเวกน่ารื่นรมย์ ก่อเจดีย์ทรายที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง ที่นั้นเอาใจใส่ดังในพระผู้มีพระภาคเจ้า และเอาใจใส่ดังพระธาตุของพระองค์ บูชาด้วยดอกไม้ในป่า เที่ยวนมัสการอยู่.
    ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสวรรค์สมบัติอันเลิศ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งสองนั้น และจักรพรรดิสมบัติอันเลิศ.
    ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เพียบพร้อมด้วยศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสดา บวชได้เป็นพระอรหันต์ผู้มีอภิญญา ๖.
    ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปวนํ กานนํ ทิสฺวา ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวนํ ความว่า ชื่อว่าปวนะ เพราะอรรถว่าเป็นป่าโดยประการ ป่าแผ่กว้าง เป็นรกชัฏ.
    ชื่อว่ากานนะ เพราะอรรถว่าเป็นดง เป็นป่าทึบ หนาแน่นไปด้วยสัตว์ร้ายเช่น สีหะ เสือโคร่ง ยักษ์ ผีเสื้อน้ำ ช้างดุ ม้าดุ ครุฑและงู หรือมากไปด้วยเสียงแห่งหมู่นก ไก่และนกดุเหว่า.
    ชื่อว่ากานนะ ป่าใหญ่ กล่าวคือดงนั้น มีเสียงน้อย คือไม่มีเสียง เพราะเว้นจากเสียงมนุษย์.
    บทว่า อนาวิลํ ได้แก่ ไม่ขุ่นมัว. อธิบายว่า ปราศจากอันตราย.
    บทว่า อิสีนํ อนุจิณฺณํ ความว่า อันฤาษีทั้งหลายกล่าวคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพอบรมเนืองๆ คือส้องเสพเสมอ.
    บทว่า อาหุตีนํ ปฏิคฺคหํ ความว่า เครื่องบูชาและเครื่องสักการะ ท่านเรียกว่าอาหุนะ เครื่องบูชา. อธิบายว่า การต้อนรับเช่นเดียวกับเจ้าของบ้านฉะนั้น.
    บทว่า ถูปํ กตฺวาน เวฬุนา ความว่า กระทำเจดีย์ด้วยชิ้นไม้ไผ่.
    บทว่า นานาปุปฺผํ สโมกิรึ ความว่า เราเกลี่ยลง คือบูชาด้วยดอกไม้เป็นอันมากมีดอกจำปาเป็นต้น.
    บทว่า สมฺมุขา วิย สมฺพุทฺธํ ความว่า เราได้ไหว้ คือกระทำการนอบน้อมซึ่งพระเจดีย์อันสร้างขึ้นคือให้เกิดขึ้น เสมือนเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่ โดยพิเศษยิ่ง.
    คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
    จบอรรถกถาสกจิตตนิยเถราปทาน
    -----------------------------------------------------
    .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๗. สกจิตตนิยวรรค ๑. สกจิตตนิยเถราปทาน (๖๑)
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=63


    นี่ขนาดแค่ เจดีย์ทราย นะครับ เพียงนึกถึงว่าเป็นตัวแทนพระพุทธองค์ นึกถึงว่าเป็นตัวแทนพระธาตุของพระองค์ บูชาถึงเพียงนึ้ ยังเป็นพระอรหันต์ด้วยกรรมเพียงนี้ ยังกล่าวไปใยถึงพระพุทธรูปเล่า


    เรากล่าวเเล้ว ท่านมินำพา....ฤา
     
  8. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    เจดีย์นี้ก็ไม่มีพระบรมสาริริกธาตุ ท่านก็ยังไหว้ได้ แค่เอาใจใส่ดังพระธาตุของพระองค์ แค่นี้ นี่ผมค้านท่านแล้วนะ เอาพระไตรปิฏกมาค้านด้วย
     
  9. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๐. สุธาวรรค
    ๑. สุธาปิณฑิยเถราปทาน (๙๑)

    สุธาวรรคที่ ๑๐
    ๙๑. อรรถกถาสุธาปิณฑิยเถราปทาน
    อปทานของท่านพระสุธาปิณฑิยเถระมีคำเริ่มต้นว่า ปูชารเห ปูชยโต ดังนี้.
    พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญบุญได้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อมหาชนพากันก่อพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านใส่ก้อนปูนขาวก่อเจดีย์นั้น.
    ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านไม่เห็นอบาย ๔ ในระหว่างนี้ จำเดิมแต่กัป ๙๔ เสวยเทวสมบัติ.
    ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานก็เป็นพระอรหันต์.
    ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทานของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปูชารเห ปูชยโต ดังนี้.
    ในคำเหล่านี้มีอธิบายดังต่อไปนี้.
    พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดา บิดา และครูเป็นต้น ชื่อว่าปูชารหบุคคล (บุคคลที่ควรบูชา) ใครๆ ไม่สามารถจะทำการนับส่วนแห่งบุญที่บุคคลบูชาแล้วในปูชารหบุคคลเหล่านั้นด้วยสักการะมีระเบียบดอกไม้ดอกปทุม ผ้า เครื่องอาภรณ์และปัจจัย ๔ เป็นต้น ด้วยทรัพย์ตั้งแสนเป็นต้น แม้ด้วยอานุภาพอันใหญ่ได้ มิใช่เพียงบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น แม้บูชาในพระเจดีย์ พระปฏิมาและต้นโพธิ์เป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แม้ปรินิพพานไปแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน.
    เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตุนฺนมฺปิ จ ทีปานํ ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุนฺนมฺปิ ทีปานํ ความว่า พึงรวมทวีปทั้ง ๔ กล่าวคือ ชมพูทวีป อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีปและบุพพวิเทหทวีป และทวีปน้อย ๒,๐๐๐ อันรวมอยู่ในทวีปทั้ง ๔ นั้นเข้าเป็นอันเดียวกัน แล้วพึงกระทำความอิสระ คือความเป็นพระราชาผู้จักรพรรดิในห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้น.
    บทว่า เอกิสฺสา ปูชนาเยตํ ความว่า นี้เป็นทรัพย์ทั้งสิ้นมีรัตนะ ๗ เป็นต้น ในชมพูทวีปทั้งสิ้นแห่งการบูชาอันหนึ่ง ที่กระทำไว้ในห้องพระธาตุคือพระเจดีย์.
    บทว่า กลํ นาคฺฆติ โสฬสึ ความว่า ไม่ถึงส่วนที่ ๑๖ ที่จำแนกไว้ ๑๖ ครั้งแห่งการบูชาที่กระทำไว้ในพระเจดีย์.
    บทว่า สิทฺธตฺถสฺส ฯเปฯ ผลิตนฺตเร ความว่า ในระหว่าง คือในท่ามกลางแห่งแผ่นอิฐทั้งสองที่กำหนด ที่มหาชนพากันฉาบด้วยปูนขาวที่ห้องเป็นที่บรรจุพระธาตุ ในพระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะผู้เลิศประเสริฐกว่านระ.
    อีกอย่างหนึ่ง เชื่อมความว่า เราได้ใส่ก้อนปูนขาวลงในระหว่างที่เป็นที่ถวายดอกไม้.
    คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
    จบอรรถกถาสุธาปิณฑิยเถราปทาน
    -----------------------------------------------------


    เอามาค้านเพิ่ม
     
  10. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๓. เสเรยยกวรรค
    ๒. ปุปผถูปิยเถราปทาน (๑๒๒)

    ๑๒๒. อรรถกถาปุปผถูปิยเถราปทาน
    อปทานของท่านพระปุปผถูปิยเถระมีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺส อวิทูเร ดังนี้.
    แม้พระเถระรูปนี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ.
    ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ท่านได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว ศึกษาศิลปะไว้ประจำตัวตนสำเร็จ แต่ก็มองไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น ตนเองพร้อมกับศิษย์ ๕,๐๐๐ คนจึงพากันละบ้านเรือนร่วมเดินทางไปยังป่าหิมพานต์ ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้นแล้ว สร้างบรรณศาลาอยู่อาศัยใกล้ภูเขาชื่อกุกกุระ.
    ครั้งนั้นเขาได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมกับพวกศิษย์ แต่ถูกโรคภัยบางอย่างเบียดเบียนจึงเข้าไปยังบรรณศาลา ได้ทราบอานุภาพและลักษณะของพระพุทธเจ้าจากสำนักของศิษย์ แล้วมีใจเลื่อมใส ให้พวกศิษย์นำเอาดอกไม้นานาชนิดเช่น ดอกจำปา ดอกอโศกและยอดหมากเม่าเป็นต้นมาจากหิมวันตประเทศแล้วก่อสถูป บูชาพระสถูปคล้ายบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว เขากระทำกาละแล้ว ก็ได้เข้าถึงพรหมโลก.
    ลำดับนั้น พวกศิษย์เหล่านั้นจึงพากันกระทำฌาปนกิจท่าน เสร็จงานแล้ว พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุ ก็ทรงทราบชัดด้วยพระอนาคตตังสญาณ.
    ในชาติต่อมา คือในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุลในกรุงสาวัตถี พอบรรลุนิติภาวะแล้ว ด้วยพลังแห่งวาสนาที่ตนได้สั่งสมมาในกาลก่อน จึงมีความเลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
    ต่อมาท่านระลึกถึงกุศลกรรมของตนในชาติก่อนได้ มีความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
    ถ้อยคำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกฺกุโร นาม ปพฺพโต ความว่า ยอดแห่งภูเขาที่เรียกกันว่ากุกกุรบรรพต เพราะตั้งตระหง่านมีลักษณาการคล้ายกับสุนัข.
    อธิบายว่า สร้างบรรณศาลาอยู่ร่วมกับดาบส ๕,๐๐๐ คน ใกล้ๆ กับภูเขาลูกนั้น.
    คำที่เหลือในที่ทุกแห่งจะว่าโดยเนื้อความแล้ว มีเนื้อความง่ายๆ ทั้งนั้น.
    จบอรรถกถาปุปผถูปิยเถราปทาน
    -----------------------------------------------------
    .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๓. เสเรยยกวรรค ๒. ปุปผถูปิยเถราปทาน (๑๒๒)
    และ นี่อีก ทำคล้ายบูชาท่าน แต่เจดีย์ไม่มีพระธาตุ 5555
     
  11. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๔. โสภิตวรรค
    ๕. รโหสัญญิกเถราปทาน (๑๓๕)

    ๑๓๕. อรรถกถารโหสัญญกเถราปทาน๑-
    ____________________________
    ๑- บาลีว่า รโหสัญญิกเถราปทาน.

    อปทานของท่านพระรโหสัญญกเถระมีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
    แม้พระเถระรูปนี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในภพนั้นๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ.
    ในกาลที่ว่างจากพระพุทธเจ้ากาลหนึ่ง เขาได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในมัชฌิมประเทศ เจริญวัยแล้วสำเร็จการศึกษาในศิลปะของตนแล้ว มองไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น อย่างดีก็เพียงยังท้องให้เต็มเท่านั้น มองเห็นแต่อกุศลมีโกธะ มทะและมานะเป็นต้น. จึงละเพศฆราวาส เข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤาษี มีดาบสหลายร้อยคนเป็นบริวาร สร้างอาศรมอยู่ใกล้ภูเขาวสภะ อยู่ที่ภูเขาหิมวันต์เท่านั้นจนตลอด ๓,๐๐๐ ปี มีความคิดว่า
    เราเป็นอาจารย์ของพวกศิษย์มีประมาณเท่านี้ เป็นครุฐานียะควรแก่ความเคารพ ควรแก่การกราบไหว้โดยชอบ แต่เสียใจว่า อาจารย์ของเราไม่มี.
    จึงให้ประชุมพวกศิษย์ทั้งหมดนั้นแล้วประกาศความไม่มีการบรรลุพระนิพพานเพราะความไม่มีพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตนเองผู้เดียวนั่งในที่ลับอันสงัด กระทำความสำคัญว่าพระพุทธเจ้าไว้ในใจ คล้ายนั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าฉะนั้น เกิดความปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ นั่งคู้บัลลังก์ในศาลา กระทำกาละแล้วได้เกิดในพรหมโลก.
    ในชาตินั้น ท่านอยู่ได้นานเพราะมีฌานเป็นประธาน ในพุทธุปบาทกาลนี้ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูล มีความเบื่อหน่ายในกามทั้งหลาย พอมีอายุได้ ๗ ปีก็บวช พอปลายมีดโกนจรดที่ผมเท่านั้นก็ได้บรรลุพระอรหัต เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ด้วยปุพเพนิวาสญาณ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.
    บทว่า วสโภ นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาที่ถึงการนับว่าวสภะ เพราะสูงที่สุด เพราะประเสริฐที่สุดกว่าภูเขาที่เหลือทั้งหลาย เว้นภูเขาหิมวันต์.
    คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
    จบอรรถกถาโหสัญญกเถราปทาน
    -----------------------------------------------------
    .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๔. โสภิตวรรค ๕. รโหสัญญิกเถราปทาน (๑๓๕)


    อันนี้สุดแปลก เกิดในสมัยไม่มีพระพุทธเจ้า แต่นั่งนึกถึงพระพุทธเจ้า (น่าจะเป็นอะไรที่คล้ายพระพุทธเจ้า)
     
  12. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑



    ปุนนาคปุปผิยเถราปทานที่ ๙ (๑๕๙)
    ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบุนนาค
    [๑๖๑] เราเป็นนายพรานเข้าไปสู่ป่าใหญ่ ได้เห็นดอกบุนนาคกำลังบาน จึงระลึก
    ถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ได้เก็บเอาดอกบุนนาคนั้นอันมีกลิ่นหอม
    ตระหลบอบอวลแล้ว ได้ก่อสถูปที่กองทรายบูชาแด่พระพุทธเจ้า ในกัลป
    ที่ ๙๒ แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น
    เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เรา
    ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง มีนามว่าตโมนุทะ สมบูรณ์ด้วย
    แก้ว ๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
    และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
    ดังนี้.
    ทราบว่า ท่านพระปุนนาคปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
    จบ ปุนนาคปุปผิยเถราปทาน.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๔๓๕๓ - ๔๓๖๕. หน้าที่ ๒๐๑ - ๒๐๒.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=4353&Z=4365&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=161
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๒
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=32&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_32

    นี่แค่ก่อพระเจดีย์ทราย ไม่มีพระธาตุ บูชาแค่นั้นเอง แค่เป็นรูปให้ระลึกถึง 5555+ แล้วกล่าวไยถึงพระพุทธรูปเล่า
     
  13. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    ท่านเอาพระไตรปิฏกมา ผมก็เอาพระไตรปิฏกมา อย่าบอกว่าเป็นแค่อรรถกถา เถราจารย์แต่งภายหลัง ลองไปหาดูในพระไตรปิฏก ก็ได้บอกตามนั้นตรงๆ เป็นจริงตามนั้น แต่เถราจารย์มาขยายนิดหน่อย ตรงท้าย ๆแต่คงความบริบูรณืของเนื้อความไว้เต็มเปี่ยม 5555+
     
  14. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    ....เรื่องของพระเกษม เป็นอย่างไรต่อ ครับ เนี่ย
     
  15. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    ...
     
  16. พิชิตพล

    พิชิตพล สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +7
    เพียงแต่ท่านอยากจะสอนมนุษย์ผู้มีกิเลสและปาบกรรมที่หนาขึ้นๆๆ ทุกวันๆๆ ก็เท่านั้นเอง
    แต่ท่านไม่สามารถที่จะพูดจาไพเราะเพราะนุ่มนวลเสนาะหู แชกเช่น ท่าน ว. ได้ ก็เท่านั้น
    เราอย่าไปวิจารณ์สงฆ์เลยคับ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ผมว่าดี สุด
    คนเราก็แปลกคนดีพูดเพราะเค้าหลอกก็เชื่อ แต่คนที่เค้ารู้แจ้งเห็นจริงพูดจาโพงพางกลับมองว่าบ้าไรสาระไม่มีอยู่จริง ผมไม่ได้แก้ตัวแทนใคร และไม่ได้จะกล่าวร้ายว่าผู้ใด เพียงแต่ อยากให้เข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติ บาปกรรมมีจริงแตะต้องได้ เพียงแต่มองไม่เห็นตัวเท่านั้นเอง เปิดใจกว้างๆ หน่อยนะคับ ในบทสวดมนต์มีอะไร? มีไว้ทำใม? แปลได้ครบที่คำไหม? จะนำไปใช้ได้ถูกต้องหหรือไม่? คำถามแค่นี้ก็คงพอที่จะทำให้ท่านที่ศึกษา พระไตรปิฎกและความหมายของบทสวดมนต์ต่างๆ ได้เข้าใจ

    ขอบคุณคับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...