เชิญร่วมงานปิดทองฝังลูกนิมิต ปี 2553

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Karnta, 28 มกราคม 2010.

  1. Karnta

    Karnta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,239
    ค่าพลัง:
    +1,098
    อานิสงส์การปิดทองลูกนิมิต

    __fwdDer_com__-093807782-image013.jpg

    ผู้ถาม“หลวงพ่อครับ การปิดทองลูกนิมิตมีอานิสงส์อย่างไรครับ”
    หลวงพ่อ“โอ๊ะ...อานิสงส์ใหญ่มาก ปิดหนึ่งลูกก็ไปอุดประตูนรก 1 ประตู นี่ฉันโกหกนะ”
    ผู้ถาม“อ้าว....แล้วกัน”
    หลวงพ่อ“ที่ว่ามีอานิสงส์ใหญ่มาก เพราะว่าช่วยให้พระสงฆ์มีเขตทำสังฆกรรม อย่าลืมนะวัดทั้งวัด ส่วนสำคัญที่สุดมันอยู่ที่โบสถ์ โบสถ์มีสวนสำคัญเพราะเป็นที่ประชุมสงฆ์ ถ้าไม่งั้นสงฆ์ไม่มีที่ประชุมในการทำสังฆกรรม ก็ถือว่ามีอานิสงส์หนัก เพราะลูกนิมิตมันหนัก ติด 10 ลูกก็ได้ 10 หนัก
    แต่ว่าถ้าปิดทองลูกนิมิตนี่ต้องจังหวัดสุพรรณบุรี โอ้โฮ....สมัยก่อนรถเรือมันไม่มีใช่ไหม ขนาดนอนค้างคืนยังไปเลย ศรัทธามาก ก็มีวัดหนึ่งฉันไปเทศน์ ถามโยมคนหนึ่งว่ามาจากไหน มาค้างคืนหรือเปล่า....บอกว่าค้างตามทางมาสองคืน ถามว่าเพราะอะไร...เขาบอกว่า ปิดทองลูกนิมิต 7 วัด ไม่ตกนรก”
    ผู้ถาม“จริงหรือครับ”
    หลวงพ่อ“เรื่องนี้จริง ถ้ากำลังปิดอยู่แม้แต่วัดเดียวก็ไม่ตกนรก...มันยังไม่ตายนี่”
    ผู้ถาม“อ๋อ.....”(หัวเราะ)
    หลวงพ่อ“ความจริงก็ดี ถ้าเขามีเจตนาแบบนั้น เขามีความเชื่อแบบนั้นนะ และก็จงอย่าลืมว่า ถ้าเวลาที่เขาป่วย จิตมันจะคิดอยู่เป็นอนุสสติ ก็ลงนรกไม่ได้จริง ๆ”
    ผู้ถาม “สมมุติว่ากำลังจะตายมิตายแหล่ เห็นลูกนิมิตมาลอยเคว้งคว้างล่ะครับ”
    หลวงพ่อ“ถ้าอย่างนั้นขึ้นสวรรค์ทันที ถึงแม้จะไม่เห็นมาลอยก็ตาม แต่จิตคิดว่าเราเคยปิดทองมาแล้ว 7 วัด เราไม่ตกนรกแน่ จิตมันก็เป็นกุศล ใช่ไหม...นี่ถูกของเขา”

    โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ปริศนาธรรมในงาน "ปิดทองฝังลูกนิมิต

    __fwdDer_com__-093807786-image014.jpg

    ชาวพุทธเชื่อว่า การทำบุญปิดทองฝังลูกนิมิตได้บุญมาก เพราะเหตุผลคือ หนึ่งวัดจะจัดได้เพียงครั้งเดียว การเตรียมการก็ประกอบด้วย อุปกรณ์และสิ่งของอันเป็นมงคลมากมาย การประกอบพิธีก็จะต้องมีการสวดถอนสีมา เพื่อให้เป็นสถานที่ที่บริสุทธิ์จริงๆ พ้นจากสภาพที่อาจเคย เป็นสีมามาก่อน และสถานที่นั้นต้องได้รับ พระราชทาน เป็นเขตวิสุงคามสีมา เป็นสิทธิของสงฆ์แห่งวัดนั้นถูกต้องตามกฎหมาย
    ผู้ที่มีโอกาสได้ทำบุญปิดทองฝังลูกนิมิต จึงถือว่าได้ทำบุญ ที่ยิ่งใหญ่เป็นมหากุศลบารมีประดับชีวิตตลอดไป เป็นบุญที่จะหาโอกาสทำได้ไม่ง่ายนัก
    เมื่อมีพิธีปิดทองฝังลูกนิมิตแต่ละครั้งจะต้องเตรียมของที่จะใส่ลงไปกับลูกนิมิต ทางวัดต้องจัดไว้จำหน่ายหรือผู้มีศรัทธาจัดหามาเอง และต้องเป็นสิ่งที่ถือเป็น ความหมายมงคล ประกอบด้วย
    ๑.ดอกไม้ จะใช้ดอกมะลิ ดอกบานไม่รู้โรย และอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งความสวยงาม ผู้ที่ได้โปรยหรือใส่ดอกไม้ลงไปในหลุมนิมิต บูชาพระอริยสงฆ์ เกิดทุกภพทุกชาติจะเป็น คนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวพรรณผุดผ่อง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีแต่คนเคารพนับถือ ยึดมั่นในหลักศีลธรรม
    ๒.ธูป ใส่ธูปลงไปภายในหลุมนิมิตเพื่อถวายการบูชา พระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ เกิดชาติใดภพใดก็จะไม่ห่างเหินจากพระพุทธศาสนา หรือได้พบเห็นพระพุทธเจ้า
    ๓.เทียน ใส่เทียนลงไปในหลุมนิมิตเพื่อบูชาพระธรรม ที่ให้แสงสว่างทางปัญญาแก่มวลมนุษยชาติ เกิดชาติใดภพใด ก็จะไม่ห่างเหินจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และทำให้มีปัญญาสามารถเข้าใจและ รู้ธรรมนำให้หมดกิเลสพ้นทุกข์ได้
    ๔.เข็ม เป็นสัญลักษณ์ของความแหลมคม ผู้ที่ได้ทำบุญถวายเข็มลงไปในหลุมนิมิต เกิดทุกภพทุกชาติจะเป็นคนที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว แก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้ไม่ติดขัด เป็นคนมีเหตุผลละเอียดรอบคอบ สามารถบรรลุธรรมและพ้นทุกข์ได้ในที่สุด
    ๕.ด้าย เป็นสัญลักษณ์แห่งความยืดยาว การทำบุญด้วยการใส่ด้ายลงไปในหลุมนิมิต เชื่อว่าจะทำให้เป็นคนที่มีอายุยืนยาว ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
    ๖.แผ่นทองคำ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีราคาในตัว มีความสวยงาม ไปอยู่กับสิ่งใดทำให้สิ่งนั้นมีค่ามีราคายิ่งขึ้น การนำแผ่นทองคำมาปิดองค์พระ ปิดลูกนิมิต หรืออื่นๆ เป็นการยกย่องเชิดชูให้เป็นสิ่งสูงส่งควรแก่การสักการะ เชื่อว่าจะทำให้เป็นคนที่มีเกียรติยศสูงส่ง มีคนยกย่องนับหน้าถือตา มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาผิวพรรณงดงามทุกภพทุกชาติ
    ๗.สมุด ดินสอ เป็นอุปกรณ์การบันทึก เป็นสัญลักษณ์แห่งการจดจำ ผู้ที่ทำบุญด้วยการใส่สมุด ดินสอ ลงไปในหลุมนิมิต จะเป็นคนที่มีสติปัญญาเยี่ยม มีความทรงจำไม่เลอะเลือน เป็นเลิศ สติไม่ฟั่นเฟือนก่อนตายสงบ ไม่ทุรนทุรายทรมาน และไปสู่สุคติ

    ความหมายลูกนิมิต

    __fwdDer_com__-093807788-image015.jpg

    เมื่อได้มีการสร้างวัด กับทั้งการสร้างอุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเสร็จเรียบร้อยแล้วยังคงเหลืองานใหญ่อีกอย่างหนึ่ง คือ งานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เป็นกิจที่ต้องทำในเมื่อสร้างอุโบสถแล้ว ตามธรรมดาอุโบสถที่สร้างกันอยู่ทั่ว ๆ ไปนั้นต้องสร้างในเขตวิสุงคามสีมาที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งเป็นแดนต่างหากจากแดนบ้าน ไม่ปะปนกับใคร นับว่าเป็นดินแดนที่พิเศษบริสุทธิ์ใช้ทำสังฆ์กรรมต่าง ๆ ได้แล้ว ประกอบด้วย
    คณะสงฆ์ได้พร้อมเพรียงกันกระทำพิธีฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมานั้นอีก เป็นการประกาศให้รับรู้กันทั้งฝ่ายบ้านเมือง และคณะสงฆ์ว่าที่ตรงนี้ทางการบ้านเมืองยกให้คณะสงฆ์ สงฆ์ก็รับไว้จึงทำให้เนื้อที่นั้นบริสุทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์วิเศษยิ่งขึ้น การผูกพัทธสีมาหรือการฝังลูกนิมิตที่กระทำกันโดยทั่วไปเวลานี้ นิยมใช้หินกลมขนาดไม่ใหญ่เท่าศีรษะช้าง จำนวน ๙ ลูก สำหรับใช้เป็นลูกนิมิตประจำทิศละ ๑ ลูก
    อีกลูกหนึ่งอยู่ในอุโบสถ เรียกกันว่า "ลูกนิมิตเอก" ท่านแนะนำไว้ว่าหลุมที่ฝังลูกเอกนี้ต้องอยู่ตรงที่สายพระเนตรพระประธานทอดลงหลุมนั้นพอดีถือว่าเป็นอุดมมงคล ถ้าหลุมนิมิตอยู่ห่างไปเวลาทอดพระเนตรหลุมนิมิต ต้องเงยพระพักตร์ขึ้นจึงทอดพระเนตรหลุมนิมิต อย่างนี้ท่านว่าเจ้าอาวาส พระ เณร ในวัดเอาใจใส่แต่เรื่องนอกวัด เรื่องในวัดไม่ค่อยเอาธุระ ถ้าหลุมนิมิตเข้าหาพระประธานมาก เวลาทอดพระเนตรหลุมนิมิตต้องก้มพระพักตร์ลง เช่นนี้ เจ้าอาวาส พระ เณร ในวัดนั้นมักจะเอากิจวัตรไม่เหลียวแลชาวบ้านบ้างเลย ที่ว่านี้เป็นมติของเกจิอาจารย์ น่าพิจารณา
    พุทธศานิกชนนิยมปิดทองลูกนิมิต เพราะเป็นการกระทำที่มีความบริสุทธิ์ คือ ..
    ๑. ลูกนิมิตเป็นหินบริสุทธิ์โดยธรรมชาติ ไม่ใช่ของเก๊ของปลอม
    ๒. ทองคำเปลว เป็นของบริสุทธิ์ธรรมชาติปราศจากมลทิน ไม่มีสนิม
    ๓. จิตของผู้ที่ปิดทองลูกนิมิตก็บริสุทธิ์ อิ่มเอิบด้วยศรัทธาปสาทะ ปราศจากโลภะ เจตนาอันจักทำให้มัวหมอง
    การปิดทองลูกนิมิตนั้นประกอบด้วยความบริสุทธิ์ดังนี้ จึงทำให้ผู้ปิดทองได้บุญมากและเพื่อนำท่านผู้ปิดทองลูกนิมิต ให้มีแนวน้อมใจระลึกในเวลาปิดทองขอให้โปรดเข้าใจดังนี้ คือ
    นิมิตลูกเอกอยู่ในโบสถ์เป็นเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเป็นใหญ่ เป็นประธานอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ เป็นเอกองค์เดียวไม่มีสอง ดังนั้นเมื่อเวลาปิดทองลูกนิมิตลูกเอก ก็ให้น้อมใจระลึกถึงพระพุทธคุณว่า อรหังสัมมาสัมพุทโธ บทใดบทหนึ่งทำใจให้ถึงพระพุทธเจ้า และปิดทอง ส่งอีก ๘ ลูก ที่อยู่ใน ๘ ทิศนั้น เป็นเครื่องหมายแทนพระอรหันต์สาวกผู้ล้ำเลิศด้วยคุณธรรมที่พระพุทธองค์ทรงยกย่อง ๘ องค์ อยู่ประจำทิศละองค์เรียกว่า "พระอรหันต์ ๘ ทิศ" ดังนี้
    ๑) ลูกทิศตะวันออก เป็นเครื่องหมายพระอัญญาโกญฑัญญะ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น เอตทัคคะในทางรอบรู้ราตรี ในทางผู้อาวุโส (ปัจจุบัน ตาทิพย์ หมอดู โหร หรือ นักดาราศาสตร์)
    ๒) ลูกทิศอาคเนย์ เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระมหากัสสปะ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น เอตทัคคะในทางธุดงค์คุณ (ปัจจุบันเรียกว่า มีกำลังภายในดี)
    ๓) ลูกทิศทักษิณ เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระสารีบุตร อัครสาวกผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะล้ำเลิศในทางปัญญารอบรู้ (ปัจจุบันเปรียบด้วยนักวิทยาศาสตร์)
    ๔) ลูกทิศหรดี เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระอุบาลีเถระ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะล้ำเลิศในทางทรงไว้ซึ่งพระวินัย (ปัจจุบันเปรียบด้วยนักกฎหมาย)
    ๕) ลูกทิศปัจฉิม เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระอานนท์ เป็นพุทธอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ ผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะล้ำเลิศในคุณธรรม ๕ ประการ มีความทรงจำไม่หลงลืมเป็นต้น
    ๖) ลูกทิศพายัพ เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระควัมปติ เป็นพระอรหันต์ที่นับเข้าในจำนวนสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่งในคราวที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา ท่านได้ประกาศพระศาสนาในนานาชนบทช่วยสั่งสอนให้กุลบุตรกุลธิดาเกิดความเชื่อความเลื่อมใส
    ๗) ลูกทิศทักษิณ เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระโมคคัลลานะ อัครสาวกผู้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะล้ำเลิศในทางมีอิทธิฤทธิ์มาก
    ๘) ลูกทิศอิสาน เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระราหุล ผู้เป็นพุทธชิโนรส ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางการศึกษา
    ๙) ลูกที่อยู่กลางโบสถ์ เป็นเครื่องหมายแทนองค์สมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า
    สรุปย่อ ๆ แล้วก็คือ วัดเป็นเครื่องหมายในแดนวัตถุ และในด้านตัวคน สำหรับในด้านตัวคนก็มีความหมายหลายประเภท หลายชั้น หลายตระกูล หลายวรรณะ มีทั้งดีและชั่ว มีเกียรติ ไม่มีเกียรติ มั่งมีศรีสุข และมีทั้งแร้นแค้นยากจน นานาประการ ส่วนด้านวัตถุก็มีหลายอย่าง หลายประเภท หลายแบบ นับตั้งแต่รูปพรรณขนาด หรือในตัวอาคารบ้านเรือน ตึก ปราสาท ตัวราชฐาน ก็จะนำไปรวมกันไว้ที่วัดหมด

    ข้อมูลจาก:วัดเจริญราษฎร์บำรุง (วัดหนองพงนก) เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑๒
    ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๘๐

    __fwdDer_com__-093807790-image016.jpg

    "คำอธิษฐานปิดทองลูกนิมิต ๙ ทิศ"
    ปิดนิมิตอุโบสถทศพล เริ่มลูกต้นกลางโบสถ์โชติตระการ ปิดนิมิตลูกเอกเสกประสาท งามโอภาสมาสเฉลิมเสริมสัณฐาน
    เป็นนิมมิตเตือนตาสาธุการ ท่ามกลางงานบุญพิธีผูกสีมา เกิดชาติหน้าอย่ารู้เข็ญได้เป็นใหญ่ รูปวิไลเป็นเสน่ห์ดังเลขา
    " ทิศบูรพา" ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต ลูกทิศ บูรพา ให้ก้าวหน้า เกียรติยศ ปรากฏไกล
    " ทิศอาคเนย์" ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต ลูกทิศ อาคเนย์ ขอให้เทวา ประสิทธิ์ พิสมัย
    " ทิศทักษิณ" ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต ลูกทิศทัก ษิณศักดิ์ชัย ให้สมใจ สมบัติ วัฒนา
    " ทิศหรดี" ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต ลูกทิศ หรดี ขอให้ชี วิตมั่น ชันษา
    " ทิศปัจจิม" ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต ลูกทิศปัจจิม อิ่มอุรา ปรารถนา ใดได้ ดั่งใจปอง
    " ทิศพายัพ" ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต ลูกทิศพายัพ ดับทุกข์โศก นิราศโรค นิราศภัย ร้ายทั้งผอง
    " ทิศอุดร" ขอเดชะ บุญทาน การกุศล ปิดนิมิต ลูกทิศอุดร กรประคอง ได้เงินทอง สมหมาย ทุกรายการ
    "ทิศอีสาน" ปินิมิต ลูกทิศอีสาน ประการท้าย ให้สมหมาย ได้สุข ทุกสถาน
    รวมเก้าลูก สุกใส ใจเบิกบาน กว่าจะถึง ซึ่งนิพพาน เมื่อนั้นเทอญ...

    นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ อนาคะเต กาเล

    งานปิดทองฝังลูกนิมิต ปี 2553

    __fwdDer_com__-093807792-image017.jpg

    1 วัดโคกเคี่ยม 6 - 14 มีนาคม 2553 ต.ห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่
    2 วัดสะพาน 12 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 แขวงบางขุนพรม เขตตลิ่งชัน จ.กรุงเทพ
    3 วัดปรังกาสี 30 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    4 วัดใหม่ดงสัก 30 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
    5 วัดแก่งสามัคคี (แก่งระเบิด) 11 - 17 กุมภาพันธ์ 2553 ต.วังกะแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
    6 วัดลำเหยสามัคคีธรรม 10 - 19 กุมภาพันธ์ 2553 ต.หลุมรัง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี
    7 วัดถ้ำขุนแผน (พุทธาวาส) 12 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
    8 วัดวังเจ้า 27 ธันวาคม 2552 - 2 มกราคม 2553 ต.โกสัมพี อ.โกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร
    9 วัดวังทอง 26 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.วังทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
    10 วัดเจริญวารี 11 - 15 เมษายน 2553 ต.โนนพะยอม อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
    11 วัดโป่งจันทร์ 12 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.คลองพลู อ.เขาคิชกูฎ จ.จันทบุรี
    12 วัดป่าคลองกุ้ง 12 - 28 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ตลาด อ.เมือง จ.จันทบุรี
    13 วัดตะบกเตี้ย 13 - 22 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ตลาด อ.เมือง จ.จันทบุรี
    14 วัดศิริการ 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี
    15 วัดสะตอน 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.สะตอน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
    16 วัดปากน้ำ (ปากน้ำโจ้โล้) 11 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ปากน้ำ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
    17 วัดหนองบอน (เทพธาราประชาบำรุง) 12 - 20 กุมภาพันธ์ 2553 ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    18 วัดเจริญธรรม 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
    19 วัดโพธิ์ 13 - 22 กุมภาพันธ์ 2553 ต.บ้านโขด อ.เมือง จ.ชลบุรี
    20 วัดราษฎร์ศรัทธา (ท้ายดอน) 13 - 22 กุมภาพันธ์ 2553 ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี
    21 วัดสันติภักดิ์ 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี
    22 วัดป่าเขาพุวนาราม (เนตรดี) 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
    23 วัดไพรประเสริฐราษฎร์บำรุง 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี
    24 วัดเขาหลักแก้วพรหมรังษี 26 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.สะพานหิน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท
    25 วัดห้วยสอง 26 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.สุขเดือนห้า อ< /SPAN>.เนินขาม จ.ชัยนาท
    26 วัดมณีรัตนาราม(วัดดอนกำ) 30 ธันวาคม 2552 - 7 มกราคม 2553 ต.ดอนกำ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    27 วัดนรเทพธรรมคุณ 14 - 17 มกราคม 2553 ต.หนองขาม อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
    28 วัดบ้านหนองกระเทือง 13 - 20 กุมภาพันธ์ 2553 ต.กะฮาด อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิ
    29 วัดควนมณี 27 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.นากระตาม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร
    30 วัดถ้ำสำเภาทอง 12 - 18 เมษายน 2553 ต.ทุ่งคา อ.เมือง จ.ชุมพร
    31 วัดอุทกวนาราม (นางแลใน) 29 ธันวาคม 2552 - 2 มกราคม 2553 ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย
    32 วัดเวียงเชียงรุ้ง 5 - 7 มีนาคม 2553 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
    33 วัดชัยมงคล 14 - 16 มกราคม 2553 ต.ป่าซาง อ.เวียงเชียงรู้ง จ.เชียงราย
    34 วัดเด่นสารภี 9 - 10 มกราคม 2553 ต.บ้านตาล อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
    35 วัดอ่างกระป่อง 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ท่าโสม อ.เขาสมิง จ.ตราด
    36 วัดแสนตุ้ง 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด
    37 วัดห้วงพัฒนา 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด
    38 วัดสวนใน 12 - 20 กุมภาพันธ์ 2553 ต.กระแจะ อ.เมือง จ.ตราด
    39 วัดกลางสวนดอกไม้(วัดพระเจ้าตาก) 23 - 27 ธันวาคม 2552 ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก
    40 วัดโป่งแค 27 ธันวาคม 2552 - 2 มกราคม 2553 ต.วังประจบ อ.เมือง จ.ตาก
    41 วัดคลองใหม่ 12 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.โคกกรวด อ.ปากพลี จ.นครนายก
    42 วัดโพธิ์ไทร 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.บ้านใหญ่ อ.เมือง จ.นครนายก
    43 วัดคลอง 24 (สามัคคีธรรม) 11 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ศีรษะกระบือ อ.องค์รักษ์ จ.นครนายก
    44 วัดหนองหมู 12 - 20 กุมภาพันธ์ 2553 ต.สระพัฒนา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
    45 วัดตะโกสูง 12 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.สามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
    46 วัดกงลาด 12 - 22 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ห้วยด้วน อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
    47 วัดรัตนรังสี 12 - 22 กุมภาพันธ์ 2553 ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม
    48 วัดโฆสมังคลาราม 26 - 28 ธันวาคม 2552 ต.โคกสว่าง อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    49 วัดป่ามหาชัย (วัดป่าอรัญญคาม) 9 - 10 กุมภาพันธ์ 2553 ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
    50 วัดโนนเมือง 12 - 18 กุมภาพันธ์ 2553 ต.โนนเมืองพัฒนา อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
    51 วัดบ้านโป่ง 26 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    52 วัดปางอโศก 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    53 วัดหินเพิง 11 - 19 กุมภาพันธ์ 2553 ต.วังไทร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    54 วัดหนองจะบก 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    55 วัดระเริง 27 ธันวาคม 2552 - 4 มกราคม 2553 ต.ระเริง อ .วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
    56 วัดโนนค่าง (ป่าโพธิภาวัน) 26 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.อุดมทรัพย์ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีม า
    57 วัดวิมุตติธรรม 9 - 19 เมษายน 2553 ต.กฤษณา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    58 วัดพุนกยูง 29 ธันวาคม 2552 - 4 มกราคม 2553 ต.พุนกยูง อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
    59 วัดพุทธนิมิต 29 ธันวาคม 2552 - 6 มกราคม 2553 ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
    60 วัดปากง่าม 27 ธันวาคม 2552 - 4 มกราคม 2553 ต.วังมหากร อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
    61 วัดปากดงสามัคคีธรรม 26 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.ทุ่งทอง อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
    62 วัดอัมพวัน 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
    63 วัดหนองเสม็ด 29 ธันวาคม 2552 - 4 มกราคม 2553 ต.นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
    64 วัดสหมิตรนฤมาน 8 - 14 กุมภาพันธ์ 2553 ต.โคกย่าง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
    65 วัดบ้านโคกย่าง 10 - 16 เมษายน 2553 ต.โคกย่าง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
    66 วัดบ้านไทร 15 - 20 กุมภาพันธ์ 2553 ต.บ้านไทร อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
    67 วัดโคน 17 - 24 มกราคม 2553 ต.ประโคนชัย อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
    68 วัดเวฬุวนาราม (หนองบัวลี) 10 - 17 เมษายน 2553 ต.ไทยสามัคคี อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์
    69 วัดศิริจันทราราม 29 ธันวาคม 2552 - 6 มกราคม 2553 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
    70 วัดถ้ำเขาไม้รวก 12 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.อ่างทอง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์
    71 วัดสี่แยกบ่อนอก 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.บ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์
    72 วัดท่าข่อย 11-20 กุมภาพันธ์ 2553 ต. เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
    73 วัดคลองปลาดุกลาย 11 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ทุ่งโพธิ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
    74 วัดราษฎร์เจริญศรัทธาธรรม 11 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.กรอกสมบูรณ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
    75 วัดสระข่อย 13-21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
    76 วัดราษฎร์อุปถัมภ์ (วัดบางเหรียง) 22 - 30 มกราคม 2553 ต.บางเหรียง อ.ทับปุด จ.พังงา
    77 วัดโคกชะงาย 10 - 16 เมษายน 2553 ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง
    78 วัดห้วยน้ำโจน 26 ธันวาคม 2552 - 4 มกราคม 2553 ต.ห้วยร่วม อ.ดงเจริญ จ.พิจิตร
    79 วัดหนองโก 26 ธันวาคม 2552 - 4 มกราคม 2553 ต.ลำประดา อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร
    80 วัดสระเศรษฐี 26 ธันวาคม 2552 - 4 มกราคม 2553 ต.เนินกุ่ม อ. บางกระทุ ่ม จ.พิษณุโลก
    81 วัดน้ำปาด 25 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.ชมพู่ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    82 วัดบ้านน้อย 26 ธันวาคม 2552 - 4 มกราคม 2553 ต.บ้านน้อย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    83 วัดเด่นโบสถ์โพธิ์งาม 26 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
    84 วัดหนองชุมพล 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.หนองชุมพล อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
    85 วัดหนองขาม 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ห้วยทรายเหนือ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    86 วัดจันทราวาส 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
    87 วัดสมอดาน 13 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 ต.หนองพลับ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
    88 วัดเฉลียงลับ 30 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553 ต.นาป่า อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
    89 วัดบ้านวังทอง 29 มีนาคม - 4 เมษายน 2553 ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
    90 วัดท่ากกแก 13 - 17 มกราคม 2553 ต.ตาลเดี่ยว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์



    Fwdder.com - เชิญร่วมงานปิดทองฝังลูกนิมิต ปี 2553 - โพสเมื่อ 2010-01-28 09:38:08
     
  2. เจี๊ยบ รักพ่อหลวงภูมิพล

    เจี๊ยบ รักพ่อหลวงภูมิพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,646
    ค่าพลัง:
    +4,272
    กราบอนุโมทนาบุญปิดทองฝังลูกนิมิต ปี 2553 กับทุกวัดค่ะ สาธู
     
  3. mokhpoo

    mokhpoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +239
    ขออนุโมทนาบุญกับงานปิดทองฝังลูกนิมิตทุกๆวัดครับ...สาธุ...
     
  4. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ ๆ กับท่านทั้งหลาย
    ที่มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างบุญกุศลในกาลนี้
    ทุกๆ อย่างด้วยครับ สาธุ ๆ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  5. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    การปิดทองลูกนิมิต เหมือนเราได้ร่วมทำบุญสร้างอุโบสถ จัดเป็นบุญวิหารทาน
    เป็นวัตถุทานที่มีอานิสงส์สูงสุด คนที่ไปร่วมงานปิดทองฝังลูกนิมิตไม่ได้ไปปิดทอง
    อย่างเดียว มีงานบุญอีกหลายหลายเช่น ร่วมทำบุญสร้างอุโบสถ ถวายสังฆทาน
    ทำบุญซื้อที่ดิน ใส่บาตรพระประจำวัน เป็นต้น
    มีคำกล่าวว่าถ้าใครปิดทองฝังลูกนิมิตได้ ๙ วัดจะไม่ตกนรก แต่ในความเป็นจริง
    ขึ้นอยู่กับว่าเวลาจะตายนึกถึงบุญหรือเปล่า ถ้านึกถึงบุญที่ทำก็ไม่ตกนรกแน่นอน
    แต่บางคนปิดทองฝังลูกนิมิตมากมายหลายวัดแต่ตอนตายจิตไม่ได้นึกถึงบุญ
    แต่ไปนึกถึงบาปกรรมที่ทำไว้ก็ต้องไปใช้กรรมในนรกก่อน
    ที่สำคัญที่สุดก็คือจิต อย่าให้เศร้าหมองเพราะอกุศลกรรม ควรรีบเร่งทำแต่กุศลกรรม
    ด้วยการบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา ทำจิตให้ผ่องใส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2010
  6. kungfuloma

    kungfuloma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +1,011
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อนุโมทนา สาธุการทุกๆ ท่าน ทุกๆ ประการค่ะ


    [​IMG]


    ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน “ลูกนิมิต” หมายถึง ลูกที่ทำกลมๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหิน ใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ ส่วนพจนานุกรมฉบับมติชน ให้ความหมาย “ลูกนิมิต” ว่า ก้อนหินที่วางบอกเขตพัทธสีมาในการทำสังฆกรรม

    ดังนั้น ลูกนิมิต คือ ลูกหินกลมที่ใช้ฝัง เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกให้ทราบว่าตรงไหนเป็นเขตอุโบสถหรือโบสถ์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมนั่นเอง

    การกำหนดเขตแดนที่จะทำสังฆกรรม หรือพูดง่ายๆ ว่า การกำหนดสถานที่ประชุมสงฆ์ทำได้ยากและมักคลาดเคลื่อน ต่อมาจึงการพัฒนากำหนดนิมิตใหม่อีกประเภทหนึ่งขึ้นแทน คือ เป็นนิมิตที่จัดสร้างหรือทำขึ้นเฉพาะ เช่น บ่อ คู สระ และก้อนหิน โดยเฉพาะก้อนหินเป็นที่นิยมกันมาก เพราะทนทานและเคลื่อนย้ายได้ยาก ครั้นเมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงได้มีการประดิษฐ์ก้อนหินให้เป็นลูกกลมๆ เป็นเครื่องหมายที่ค่อนข้างถาวรขึ้นแทน และเรียกกันว่า ลูกนิมิต ดังที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงมีการเรียกเขตแดนที่ใช้ทำสังฆกรรมนี้ว่า โบสถ์

    สมัยก่อนโบสถ์คงมีลักษณะตามธรรมชาติมากกว่าจะเป็นถาวรวัตถุเช่นสมัยนี้ และเมื่อมีลูกนิมิตเป็นเครื่องหมายบอกเขต ต่อมามีพิธีที่เรียกว่าการฝังลูกนิมิต

    การฝังลูกนิมิต มีชื่อเรียกเป็นทางการอีกอย่างหนึ่งว่า การผูกพัทธสีมา (แปลว่า เขตทำสังฆกรรมที่กำหนดตามพุทธานุญาต) โดยปัจจุบันจะเริ่มจากพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันในโบสถ์ เพื่อทำพิธีสวดถอน มิให้อาณาบริเวณที่จะกำหนดนี้ไปทับที่ที่เคยเป็นสีมา หรือเป็นที่ที่มีเจ้าของครอบครองอยู่ก่อน

    เมื่อพระสงฆ์สวดถอนเป็นแห่งๆ ไปตลอดสถานที่ที่กำหนดเป็นเขตแดนทำสังฆกรรมแล้วว่ามีอาณาเขตเท่าใด จากนั้นจะต้องไปขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อให้ที่ดินบริเวณนั้นเป็นสิทธิ์ของสงฆ์ ที่เรียกว่า ขอวิสุงคามสีมา (คือเขตที่ได้พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม) เป็นการแยกส่วนบ้านออกจากส่วนวัด (วิสุง แปลว่า ต่างหาก, คาม แปลว่า บ้าน) การที่ต้องขอพระบรมราชานุญาตเพราะถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของแผ่นดิน การจะกระทำใดบนพื้นแผ่นดินจึงต้องขอพระบรมราชานุญาตก่อน

    ::
     
  8. manmanee

    manmanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +134
    ขออนุญาตเพิ่มเติมครับ

    วันที่ 27 ธันวาคม 2553 - 4 มกราคม 2554
    วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง เลขที่ 206 หมู่ 6 บ.โนนธาตุ ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย 43000
    Web-Site: http://www.pty.ac.th
     

แชร์หน้านี้

Loading...