เดินทางพร้อมพระธรรม-จากรัฐฉานถึงเมืองผู้ดี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 11 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    เดินทางพร้อมพระธรรม-จาก'รัฐฉาน'ถึง'เมืองผู้ดี'



    [​IMG]
    เธอเลือกที่จะไปวัด มากกว่าการเดินชมเมืองและซื้อของ ในดินแดนที่อยู่อีกซีกโลกของบ้าน

    ออกซ์ฟอร์ด แม้จะอบอุ่นขึ้นแล้วสำหรับคนในพื้นที่ แต่คนต่างถิ่นเช่นเธอ อุณหภูมิ 15 องศา ยังถือว่าหนาวไม่ใช่เล่น หลังแยกกับเพื่อนร่วมทางอีกกลุ่ม รถบัสคันใหญ่ วิ่งพาออกนอกเมืองราว 20 นาที มีจุดหมายอยู่ที่ วัดพุทธวิหารออกซ์ฟอร์ด เพื่อแวะไปนมัสการพระอาจารย์ ดร.คำหมาย ธมฺมสามิ เจ้าอาวาสวัดแห่งนั้น

    อ.พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นำทาง บอกว่า ทุกครั้งที่มาลอนดอนจะต้องแวะมานั่งสนทนาธรรมกับหลวงพ่อรูปนี้ บางครั้งจะมีเวลาไม่มากเนื่องจากติดภารกิจ แต่การสนทนาธรรมเพียงบทสั้นๆ ในพื้นที่ไกลบ้าน จะทำให้จิตใจที่ว้าวุ่น พะว้าพะวังจะคลี่คลายลงได้ดีนัก

    วัดที่เห็นอยู่เบื้องหน้าเวลานั้น ไม่ได้มีรูปร่างเหมือนวัดในประเทศไทย แต่มองภายนอกคล้ายกับบ้านคนทั่วไป ไม่มีเขตพัทธสีมา ไม่มีโบสถ์ วิหาร มีเพียงรั้วเล็กๆ กั้นระหว่างพื้นที่แคบๆ หน้าวัดกับถนน ในวัดมีพระประธานองค์ใหญ่ และพระพุทธรูปองค์เล็กลดหลั่นลงมาตามลำดับ ดอกไม้ ธูปเทียนรูปร่าง รูปทรงแปลกๆ ประดับอยู่ข้างๆ

    "ดีใจที่เจอกันอีก" พระอาจารย์ยิ้มอย่างมีเมตตา และทักทายกับทุกคนที่เข้าไปกราบ

    สนทนาธรรมว่าด้วยเรื่องทุกข์สุข สภาพแวดล้อม และดินฟ้าอากาศ และเหตุการณ์บ้านเมืองได้พักใหญ่ รัศมีความเมตตาและความคุ้นเคยเริ่มครอบคลุมวงสนทนา เธอจึงกล้าที่จะถามที่มาที่ไปของการมาเป็นพระอยู่ไกลบ้านไกลเมืองอย่างนี้
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ราว 40 กว่าปีก่อน ด.ช.คำหมายซึ่งมีเชื้อสายไทยใหญ่โดยกำเนิด เข้าบวชเรียนอยู่ที่วัดมหาศรี ที่ปางหลวง รัฐฉาน ประเทศพม่า จุดประสงค์การบวช เพื่อเรียนโดยเฉพาะ เพราะเหตุการในประเทศไม่ค่อยสงบนัก

    "จำเรื่องราวตอนนั้นได้ไม่มากนัก รู้แต่ว่าทุกคนอยู่กันด้วยความหวาดกลัว ไม่ค่อยมีใครกล้าออกไปไหนไกลบ้าน เด็กๆ ก็ไม่ค่อยมีใครได้ไปโรงเรียนกัน จำวัดอยู่ที่รัฐฉานได้พักใหญ่ก็เดินทางไปเรียนที่ประเทศศรีลังกา และ จ.เชียงใหม่ กระทั่งได้มาจำวัดอยู่ที่วัดพุทธวิหารออกซ์ฟอร์ด และอยู่ที่นี่ได้ 10 ปีแล้ว"

    คนไทยมาวัดกันมากไหมคะ

    "วันธรรมดาไม่ค่อยมี เพราะเขาทำงานกัน แต่วันหยุดมากันเต็มวัดเลย บางอาทิตย์แทบจะไม่มีที่นั่งด้วยซ้ำ ส่วนใหญ่ก็เป็นนักเรียน เป็นคนทำงาน เป็นลูกๆหลานๆ มาฟังธรรม มานั่งสมาธิ ทุกวันอาทิตย์เราสอนนั่งสมาธิ สอนหนังสือไทยให้เด็กไทยที่เกิดที่นี่ หรือเด็กฝรั่งที่สนใจ เด็กเล็กนี่ยอมรับว่าสอนยากหน่อย เพราะเราสอนอาทิตย์นี้ กลับไปบ้านก็พูดกับเพื่อน ดูโทรทัศน์ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยให้เขาพูดภาษาไทย พอกลับมาเรียนอีกอาทิตย์ก็ลืมหมดแล้ว แต่พวกเขาก็มีความพยายามกันดีนะ จากที่พูดไม่ได้ฟังไม่ออก เดี๋ยวนี้บางคนคล่องเลย" หลวงพ่อพูดยิ้มๆ

    คนไทยที่มาทำงานที่นี่จะพาลูกหลานมาพบปะ เรียนธรรมะ และสนทนากับพระที่นี่ เพื่อจะช่วยปลูกฝังความเป็นพุทธศาสนิกชน ทุกตารางเมตรในพื้นที่วัดจึงถูกจัดสรรให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด มีสมุด หนังสือเรียนภาษาไทยขั้นต้น บทสวดมนต์ วางเรียงเอาไว้ริมห้องอย่างเป็นระเบียบ ด้านหลังสุดของวัดเป็นที่เก็บอุปกรณ์ในครัวทุกอย่าง มีอาหารแห้งหลายชนิดถูกเก็บอยู่ในตู้ <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    วัดพุทธวิหารออกซ์ฟอร์ด มีพระจำวัดอยู่ 5 รูป วัตรปฏิบัติของพระที่นี่อาจไม่คุ้นเคยกับพุทธศาสนิกชน ที่มาจากประเทศไทยอย่างเธอนัก แต่ผู้รู้หลายคนยืนยันว่า วัตรปฏิบัติเช่นนี้ ไม่ได้บกพร่องและขัดกับกิจของสงฆ์

    พระพรพล ปสันโน พระลูกวัดอีกรูปในวัดนั้น เล่าให้ฟังว่า พระที่นี่เคร่งครัดไม่แตกต่างจากวัดในประเทศไทย แต่กิจบางอย่างสภาพแวดล้อมไม่เอื้อ ก็ต้องเลี่ยง ไปปฏิบัติวิธีอื่นที่ไม่ขัดหลักพระพุทธศาสนาแทน

    "ตอนเช้าที่นี่ เราไม่สามารถออกไปบิณฑบาตเหมือนที่เมืองไทย เพราะส่วนใหญ่ที่นี่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ แต่ร้านอาหารไทยที่เมืองนี้บอกว่าอยากใส่บาตรถวายพระทุกวัน ระยะทางระหว่างร้านอาหารกับวัดนั้นอยู่ไกลกันมาก พระจึงต้องนั่งรถเมล์ถือปิ่นโตไปรับอาหารที่นั่น ใหม่ๆ ก็ไม่ค่อยคุ้น ไม่คุ้นทั้งพระ ทั้งคนในรถเมล์ที่เห็นพระ แต่ตอนนี้เป็นปกติแล้ว" พระพรพลเล่า

    ท่านบอกต่อว่า ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ไม่ต้องออกไป เพราะมีคนมาวัดกันเยอะ มีอาหารทั้งสดและแห้งมาถวาย สำหรับอาหารแห้งนั้นในวันธรรมดา หากมีนักเรียนไทยแวะมาปรึกษาพระอาจารย์ เรื่องเรียนหนังสือ หรือเรื่องอื่นๆ เสร็จแล้วบางวันเขาก็จะทำอาหารกินกัน

    หลวงพ่อคำหมายเรียนจบปริญญาเอกทางด้านจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ด้วย นอกจากมานั่งสนทนาธรรม และฝึกสมาธิแล้ว นักเรียนไทยที่นี่ยังมาปรึกษาปัญหาเรื่องเรียนกับหลวงพ่ออยู่เป็นประจำ และหลายๆ คนบอกต่อจนงานรับปรึกษาปัญหาการเรียนของนักเรียนที่นี่ เหมือนจะเป็นอีกงานประจำของหลวงพ่อไปแล้ว

    "ออกซ์ฟอร์ดเป็นเหมือนเมืองแห่งการเรียนหนังสือ นักเรียนไทยที่มาเรียนที่นี่ตอนแรกๆ หลายคนอาจจะยังปรับตัวไม่ได้ สาเหตุหลักๆ เลยคือ การขาดสมาธิ จิตยังไม่นิ่งพอ พะว้าพะวังกับสิ่งแวดล้อมมากเกินไป ทำให้เครียด หากเขามาที่วัดก็จะแนะนำให้ทำสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออก อยู่กับปัจจุบัน สติในความนิ่งเงียบย่อมก่อให้เกิดพลังเสมอ ปัญหาเรื่องการเรียนหนังสือของเด็กนักเรียนไทยที่นี่เกือบทุกเรื่อง อาตมาจะแนะนำให้ใช้สมาธิและตั้งสติ เพราะเรื่องของสติปัญญานั้น หากดั้นด้นมาเรียนได้ถึงมหาวิทยาลัยแห่งนี้แล้ว ต้องมีความสามารถที่จะเรียนให้สำเร็จแน่นอน"

    ทุกคนที่เคยมาสนทนาธรรม ขอคำแนะนำจากหลวงพ่อเรื่องการเรียน กระทั่งเรียนจบ ได้ทำงานมีฐานะหน้าตาหรูหราในสังคม หลวงพ่อบอกว่า นั่นเป็นเพราะความเพียรที่สั่งสมมา และทุกครั้งที่คนเหล่านั้นแวะกลับมาเยี่ยม สิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อบอกอยู่เสมอคือ รวยไม่ว่าแต่อย่าละโมบ

    วันนั้น ที่ออกซ์ฟอร์ดมีแดดรำไร ท้องฟ้าโปร่งสวย อบอุ่นกว่าทุกวันในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

    โดย ชุติมา นุ่นมัน aae_ok@yahoo.com





    ที่มา...

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...