เดินป่า-ศึกษาสมุนไพร

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 23 กรกฎาคม 2006.

แท็ก: แก้ไข
  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD>โดย ภิรตา จิรวัชราธิกุล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <LINK href="/yingthai.css" type=text/css rel=stylesheet>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="26%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เดินป่า ศึกษาพืชสมุนไพร

    ดิฉันไม่มีบุตรธิดา แต่ก็เลี้ยงหลานชายของสามี (คุณวิจิตร จิรวัชราธิกุล) 2 คน ตั้งแต่เขาอายุ 8 ขวบ และ 6 ขวบ เสมือนเป็นลูกของตนเอง ดิฉันพยายามอบรมสั่งสอนและพาเข้ากรรมฐาน ทั้งสามีด้วย เพื่อให้เขามีวัคซีนชีวิต เป็นภูมิคุ้มกันแก่ชีวิตไม่ว่าทุกข์หรือสุขมากระทบจะได้ไม่ฟูมฟายจนเสียสติ ดิฉันเคยพูดให้กำลังใจเขาว่า ภายใต้ท้องฟ้านี้ไม่มีอะไรที่มนุษย์คิดอยากทำแล้วทำไม่ได้และมนุษย์ก็สามารถฝึกสัตว์ตัวใหญ่เล็ก เช่น ช้าง ม้า ปลาวาฬ ลิง นก ฯลฯ และที่สุดสามารถฝึกหัดพัฒนาตนจนเข้าถึงพระนิพพานได้ แต่หนทางสู่ความสำเร็จไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จะต้องมีอุปสรรคขวากหนามมาเป็นอาจารย์ฝึกหัดเราเพื่อให้เราเข้มแข็งและแข็งแกร่ง เพราะฉะนั้นเมื่ออาจารย์ใหญ่มาสอนแล้วเราจะตั้งใจเรียนและพยายามฟันฝ่าไปให้ได้ จึงจะได้ชื่อว่าเกิดมาชาตินี้ไม่เสียชาติเกิดเป็นมนุษย์ ได้ฝึกหัดพัฒนาตนไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว เขาทั้งสองเป็นคนดี มีอาชีพสุจริตโดยคนโตสนใจเรื่องรถยนต์ตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันทำธุรกิจรถยนต์ คนเล็กการเรียนปานกลางแต่ความพยายามและความตั้งใจสูง สู้จนจบวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจบปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันได้เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. หนักเอาเบาสู้ทุกรายการ ดิฉันภูมิใจปลื้มใจในตัวเขาทั้งสองมาก ความปลื้มปีติเกิดขึ้นในใจเป็นอาหารทิพย์หล่อเลี้ยงจิตใจดิฉันไว้ ความรู้สึกชุ่มชื่นและเบิกบานใจที่เกิดขึ้นนี้ ถือว่าเงินล้านเอามาซื้อไม่ได้
    ในปี พ.ศ.2545 ดิฉันได้เรียนเภสัชกรรมไทย ยอมรับว่าหนักมาก ได้เรียนวิชาในห้องเรียนและขวนขวายชวนเพื่อนๆ ออกเดินป่าศึกษาสมุนไพร ดิฉันมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งอาวุโสที่สุดในรุ่น (รุ่นที่ 5) พวกเราเรียกเธอว่าพี่ผา (บุปผา ขันธิกุล) อายุ 64 ปี พี่ผาเป็นคนที่อดทนและมีความพยายามสูงมาก พี่ผาไม่ขับรถจะนั่งรถเมล์เป็นประจำ จะรู้จักทางในกรุงเทพฯ เป็นอย่างดี เวลาไปติวกันที่ไหน ดิฉันจะเป็นคนขับ พี่ผาเป็นคนบอกทาง เพราะดิฉันจะรู้แต่ทางจากบ้านไปที่ทำงาน (เครือซิเมนต์ไทย บางซื่อ) เท่านั้น นอกเส้นทางจะรู้น้อยมาก ดิฉันเคยถามเธอว่าเคยหลับบนรถเมล์ไหม เธอบอกว่าหลับ หลับเอาแรง พอถึงบ้านจะได้มีแรงอ่านหนังสือต่อ ดิฉันยกนิ้วให้เธอและบอกว่าพี่เยี่ยมมากน้องขอคารวะ พี่ผาบอกว่าถ้าพี่สอบไม่ได้พี่จะเสียใจมาก ดิฉันตอบว่าเราได้พยายามกันอย่างหนักขนาดนี้แล้ว ฟ้ามีตา เทวดามองเห็นเป็นพยาน เราต้องสอบผ่าน พอผลสอบออกมามีชื่อเราทั้งสองคนสอบผ่านมีสิทธิ์ได้รับใบประกอบโรคศิลป์ สาขาเภสัชกรรมไทย คือต้องสอบผ่านทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เราทั้งสองกระโดดกอดกันร้องไห้ด้วยความดีใจ เป็นความปีติยินดีอย่างยิ่ง ถือว่าความพยายามของเราส่งผลแล้ว คิดถึงตอนนี้ทีไรน้ำตาคลอทุกที...
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="20%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ดิฉันได้มีโอกาสพบอาจารย์หมอน้อย (บุญยืน ผ่องแผ้ว) เป็นอาจารย์หมอพื้นบ้านที่มีใบประกอบโรคศิลป์ เป็นผู้ที่มีความช่ำชอง เชี่ยวชาญและชำนาญในพืชสมุนไพรเป็นอย่างยิ่ง ถือว่าเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งที่หาได้ยากในแผ่นดิน อาจารย์ได้เมตตาถ่ายทอดวิชาโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและไม่เคยเรียกร้องผลตอบแทนใดๆ มีความสุขในการให้อย่างแท้จริง อาจารย์ได้พาเราบุกป่าปีนเขาหลายครั้ง เช่น ป่าเขาสมโภชน์ อ.ชัยบาดาล เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา อ.ลำสนธิ ป่าเขาตำบล จ.ลพบุรี ป่ากระเจียวงาม วัดประตูชุมพล อ.เทพสถิต วัดป่าเขาบังเหย จ.ชัยภูมิ และป่าในเขต จังหวัดขอนแก่น
    การเดินป่า ณ เขาสมโภชน์ เริ่มออกเดินทางกันตั้งแต่เช้าจรดเย็น เดินขึ้น-ลงเขา 4 ลูก ฝนก็ตกลงมาเป็นระยะ เนื้อตัวเปียกแล้วแห้งสลับอยู่อย่างนั้น หนทางก็ลื่น โชคดีที่พี่เล็ก (รัตนา เอกะหิตานนท์) เคยเป็นประธานชมรมถ่ายภาพเครือซิเมนต์ไทยร่วมเดินทางด้วยและได้ถ่ายภาพสวยๆ ไว้เป็นจำนวนมาก พี่เล็กบอกว่าเจ็บเข่า ดิฉันถามว่าไหวไหม พี่เล็กตอบว่าไหวเดี๋ยวลงเขาแล้วค่อยว่ากัน พี่เล็กป็นหญิงร่างเล็กแต่ใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ (พี่เล็กเป็นผู้หญิงคนเดียวเคยเดินป่ากับคณะถ่ายภาพที่เป็นชายล้วนจาก อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เดินทางในป่า 6 คืน 7 วัน จนถึง จ. ตาก) เมื่อพี่เล็กว่าได้ ดิฉันก็ได้ด้วย ลืมตัวลืมป่วย ยังสงสัยตัวเองเหมือนกันว่าทำได้อย่างไร เพราะใจพาไป
    การเดินป่าเป็นประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่ามาก ได้ฝึกความอดทน ได้เรียนรู้ธรรมชาติที่เกื้อกูลกัน ได้เห็นทรัพย์สมบัติอันมีค่าของแผ่นดิน ได้สัมผัสบรรยากาศบริสุทธิ์สดชื่นที่หาได้ยากมากในกรุงเทพฯ ดิฉันมีความสุข สนุกและสดชื่น ได้เรียนรู้ ได้ออกกำลังกาย ได้ฟอกปอดรับอากาศบริสุทธิ์ ถ้าถามว่าเหนื่อยไหม ก็ตอบว่าเหนื่อย แต่ก็ได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ จนหลงรักป่า ถ้าว่างเมื่อไรเป็นต้องชวนสามีและพรรคพวกไปเดินป่ากันดีกว่า ตลอดทางจากพื้นราบจนถึงยอดเขาไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ยา เป็นตัวยาทั้งหมด ดิฉันตื้นตันใจ ดีใจที่ได้เกิดบนดินแดนแห่งนี้ ขอให้ทุกท่านจงยินดีและสำนึกในบุญแห่งตนที่ได้เกิดในประเทศนี้ ซึ่งเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชนานาพันธุ์ ที่เป็นคุณแก่ชีวิตอย่างยิ่ง เมื่อเราไม่ได้เรียนเราก็ไม่รู้ เมื่อได้เรียนถึงได้รู้ ถึงได้รัก ถึงได้ประทับใจ แม้แต่ต้นหญ้ายังมีคุณ...
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="27%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในป่ามีต้นไม้ต้นใหญ่ๆ มากมาย เช่น ต้นมะซางซึ่งใหญ่มากจนดิฉันโอบไม่รอบ ต้องแหงนมองคอตั้งบ่า ต้นขาวหมวยสวยอึ๋ม (ตะแบก) ต้นพระเจ้าห้าพระองค์ ต้นสลัดได ต้นชิงชี่อายุ 100 ปี ต้นโสมพันปี (มะยมป่า) ซึ่งเป็นอาหารของเลียงผา อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเลียงผามีต่อมน้ำมันข้างจมูก ถ้ามันได้รับบาดเจ็บก็จะเลียน้ำมันนั้นทาบาดแผล ไม่นานนักก็จะกระโดดไปได้อย่างคล่องแคล่ว ถ้านายพรานจับเลียงผาได้ก็ตัดขาเพื่อไม่ให้วิ่งหนี แล้วจะตัดหัวมาขายเพื่อเอามาทำน้ำมันเลียงผา น่าเศร้าจัง ดิฉันปรุงยาหลายตำรับแต่ไม่มีสักตำรับที่เข้าสัตว์วัตถุ จะใช้เฉพาะพืชและธาตุวัตถุ ยาก็แสดงฤทธิ์ดีมากแล้ว...
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="20%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในหลักเภสัชกรรมไทยเรื่องที่พวกหมอต้องรู้และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนคนทั่วไปด้วย นั่นก็คือรสยา รสบอกฤทธิ์ยาซึ่งมีทั้งหมด 10 รส คือ
    * รสฝาด ช่วยสมานทั้งภายนอกและภายใน คือเป็นกลุ่มที่รักษาแผล ฝี หนอง แผลสด แผลเปื่อย กัดเนื้อร้าย แก้โรคบิด ท้องร่วง ถ้าทานรสฝาดมากเกินไปจะแสลงกับโรคไอเนื่องจากคอแห้ง (เสมหะแห้ง) รสฝาดจะทำให้ไอมากขึ้น และทำให้ท้องผูก โรคลม พรรดึก (โรคพรรดึกเกิดมาจากอาการของท้องผูก ถ้าทานรสฝาดเข้าไปก็จะยิ่งทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้นและทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อมากยิ่งขึ้นด้วย)
    * รสหวาน มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเนื้อ เช่น ทำให้เนื้อในร่างกายชุ่มชื้น บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงหัวใจ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้เสมหะแห้งและแก้หอบ ถ้าทานมากเกินไปจะแสลงกับโรคเบาหวาน ฟันผุ และเสมหะเฟื่องคือมีเสมหะเต็มคอต้องคอยถุยออกตลอด หรือไอมีน้ำมูกไหลถ้าให้กินหวาน เช่น ชะเอม ก็จะทำให้อาการยิ่งกำเริบขึ้นไปอีก
    * รสเมาเบื่อ มีสรรพคุณแก้พิษดี พิษเสมหะ พิษโลหิต พิษไข้ พิษสัตว์กัดต่อย แก้พยาธิ ผื่นคัน ถ้าทานมากเกินไปจะแสลงกับโรคหัวใจพิการและไอ
    * รสขม มีสรรพคุณแก้ในทางโลหิตและดี โลหิตคือเลือด ดีคือน้ำดี ระบบการย่อยเผาผลาญ แก้กำเดา กำเดาคือความร้อนในร่างกาย ในสมัยก่อนเขาจะเรียกไข้รากสาดว่าไข้กำเดา เพราะไข้รากสาดจะมีความร้อนสูงทำให้เลือดออกทางจมูกได้ก็จะเรียกว่าไข้กำเดา กลุ่มของยารสขมจึงแก้ไข้ที่รุนแรงต่างๆ เช่น ไข้เหนือ ไข้พิษ ไข้กาฬ
    ไข้เหนือ คือ โรคที่ชุกชุมทางภาคเหนือ เช่นไข้มาลาเรีย
    ไข้พิษ คือ ไข้ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
    ไข้กาฬ คือ ไข้ที่มีผื่นขึ้น ลักษณะแสดงออกทางผิวหนัง
    รสขมยังช่วยบำรุงน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร ถ้าทานมากจะแสลงโรคหัวใจเพราะจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น โรคลมจุกเสียด
    * รสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียดอาหารไม่ย่อย ขับลมให้ผายหรือเรอ ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร จะแสลงกับโรคไข้ตัวร้อน เพ้อคลั่ง (ไม่ใช่คนบ้าแต่เป็นเพราะมีไข้ขึ้นสูง)
    โรคลมจุกเสียดต้องให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นโรคกระเพาะอาหารเพราะถ้าเป็นโรคดังกล่าว ถ้าทานเผ็ดร้อนจะทำให้อาการทรุดหนักลงไปอีก
    * รสมัน มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเส้นเอ็น บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ บำรุงเยื่อกระดูก ในกลุ่มยาอายุวัฒนะจะมีรสมันร้อนติดมาด้วย ซึ่งจะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย จึงไม่เหมาะกับคนที่มีอาการร้อนในกระหายน้ำบ่อยๆ และคนไข้ที่เป็นเสมหะพิการ คือ ไอหอบ และมีอาการไข้ตัวร้อน
    * รสหอมเย็น ช่วยบำรุงหัวใจ ตับปอด บำรุงครรภ์ แก้อ่อนเพลีย แก้กระหายน้ำ ดับพิษร้อนแสลงกับโรคจุกเสียดแน่น ลมป่วง คืออาการขาดน้ำเนื่องจากท้องเสียขั้นรุนแรงและมีอาการส่งผลถึงสมองจะมีอาการร้องโวยวาย
    * รสเค็ม จะซึมซาบไปตามผิวหนัง และถ่ายเมือกมันในลำไส้ แสลงกับอุจจาระธาตุพิการ คือบิดมูกเลือด ถ้าใช้รสเค็มจะทำให้มีอาการปวดมวนมากขึ้นและจะทำให้เลือดออกในลำไส้ และโรคกระเพาะอาการก็จะไม่ใช้รสเค็มเหมือนกัน
    * รสเปรี้ยว แก้เสมหะพิการ แก้เสมหะเหนียว แก้ไอ แก้ท้องผูก ระบายอุจจาระ ฟอกโลหิต แก้กระหายน้ำ แสลงกับโรคน้ำเหลืองเสียและไข้ต่างๆ รสเปรี้ยวจะเข้าไปรบกวนการทำงานของรสขม เพราะฉะนั้นห้ามเอารสเปรี้ยวไปผสมกับรสขมในกรณีที่คนกำลังเป็นไข้
    * รสจืด แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ ดับพิษไข้ ดับพิษปวดร้อน ถ้าใช้ยารสจืดซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวยาในกลุ่มขับปัสสาวะให้คนไข้มากเกินไป จะขับปัสสาวะออกมามากจนทำให้ร่างกายขาดโปตัสเซียม ทำให้มีอาการหอบเหนื่อย เป็นอันตรายกับคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจได้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="27%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ดิฉันหวังว่า 10 รส ดังกล่าวข้างต้นจะช่วยให้ท่านมีแนวทางในการบริโภค เมื่อบริโภคได้ถูกต้องก็จะเกิดคุณแก่ชีวิตและสุขภาพค่ะ และต่อไปจะยกตัวอย่างอาหารเป็นยาโดยจะใช้ถั่วเขียวรักษาโรคไขข้อเสื่อม นำถั่วเขียวไปคั่วจนหอมและแช่น้ำไว้ 2 ชั่วโมง น้ำที่แช่ถั่วห้ามทิ้ง ให้เอาลงไปต้มด้วย ต้มจนถั่วเขียวเปื่อย แล้วเอาขิงแก่ประมาณ 2 หัวแม่มือใส่ลงไปแล้วหรี่ไฟให้อ่อน ชิมดูถ้าขิงออกรสเต็มที่แล้วดับไฟ เติมน้ำตาลทรายแดงให้พอหวานเล็กน้อย หลังจากทานถั่วเขียวต้มจะมีอาการปวดข้อมากขึ้น จะเป็นแค่ 2-3 วัน แล้วอาการที่เป็นทั้งหมดก็จะหายไป แต่ถ้ากินไม่หมดห้ามเอาไปต้มซ้ำเพราะส่วนที่เป็นยาจะถูกทำลายไปหมด ถ้าถั่วเขียวต้มน้ำตาลธรรมดา จะเป็นเรื่องของการล้างพิษ หรือจะใช้เห็ด 3 อย่าง มารวมกันก็จะล้างพิษได้เหมือนกัน ควรรับประทานอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ก็จะช่วยลดสารพิษในร่างกายได้
    ท่านที่มีความประสงค์จะดูธาตุเจ้าเรือน ดูจุดอ่อนสุขภาพและอาหารที่ควรบริโภค สามารถเขียนชื่อ-ที่อยู่ พร้อมสอดแสตมป์ราคา 3 บาท จำนวน 2 ดวง ส่งมาที่ คุณภิรตา จิรวัชราธิกุล 118 รามคำแหง ซอย 4 สวนหลวง กทม. 12050[​IMG]







    ที่มา : นิตยสารหญิงไทย
    ฉบับที่ 740 ปีที่ 31 ปักษ์แรก
     
  2. countdown

    countdown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,016
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ดีครับผมก็กำลังศึกษา แต่เป็นยาที่ใช้รักษา ยังไม่ค่อยรู้จักตัวสมุนไพรเท่ารัย ยาดีมากครับ รักษาตามโรคมีหลายโรค ยังอีกนานเพราะศึกษาเองค้นคว้าเองมันจำดีครับดีกว่าเรียนแบบอ่านและท่อง
     

แชร์หน้านี้

Loading...