เตรียมพร้อมและป้องกันโรคกระดูกพรุน ด้วยอาหารเสริมแคลเซียมบำรุงกระดูก

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย natalee7545, 13 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. natalee7545

    natalee7545 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2018
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +1
    23511113_952043174944240_8292830202510265512_o.jpg

    โครงสร้างร่างกายของมนุษย์เราประกอบไปด้วย เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อกระดูก และอวัยวะต่างๆภายใน กระดูกในร่างกายเราจะมีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักร่างกาย กระดูกมีหน้าที่สำคัญในการยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ สำหรับการเคลื่อนไหว และปกป้องอวัยวะที่สำคัญภายในร่างกาย อย่างสมองจะมีกะโหลกศีรษะห่อหุ้มอยู่ ส่วนปอดและหัวใจจะมีส่วนกระดูกซี่โครงป้องกันจากการกระทบกระเทือน ที่สำคัญกระดูกยังเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือด และแหล่งเก็บสะสมแคลเซียมที่สำคัญของร่างกายอีกด้วย

    โรคของกระดูกและข้อมักเกิดจากความเสื่อมของกระดูกในร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีการใช้งานข้อหรือกระดูกมาอย่างยาวนาน จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย การป้องการโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้โดยการดูแลตนเอง กินอาหารที่มีแคลเซียม เสริมกระดูก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อถึงวัยควรตรวจสุขภาพกระดูกด้วย เพื่อเตรียมตัวรับมือกับโรคไว้ตั้งแต่เนินๆ อย่าปล่อยให้กระดูกของเราเสื่อมสภาพจนกลายเป็นโรคต่างๆ หันมาดูแลกระดูกของเราด้วยการทานแคลเซียมเสริมกระดูกหรืออาหารเสริมกระดูก เพื่อเสริมสร้างและปกป้องกระดูกของเราให้แข็งแรง

    24129606_959199667561924_3271162527567749250_nc2b8ffd74740b0ba.jpg

    แล้วเราควรทานอาหารเสริมแคลเซียมแบบไหนดี แคลเซียมที่ดีจะต้องสกัดจากธรรมชาติ แคลเซียมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือ แคลเซียม แอลเทรเนต (แอล-ทรีโอเนต) เป็นแคลเซียมที่สกัดจากข้าวโพด สามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูกได้ดี ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยตัวเองถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ไม่ทิ้งสารตกค้างในร่างกาย และช่วยยับยั้งการสลายตัวของกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรงมากขึ้น สามารถรับประทานก่อนหรือหลังมื้ออาหารก็ได้ เนื่องจากไม่ต้องพึ่งกรดในกระเพาะอาหารช่วยในการละลาย และไม่ทำให้ท้องอืด ท้องผูก อีกด้วย

    สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ที่ต้องการเสริมแคลเซียมให้กับร่างกาย สามารถเข้ามาพูดคุย ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกได้ที่ http://www.cal-t.com/
     

แชร์หน้านี้

Loading...