โรค มะเร็ง ยังมีอัตราการเกิดขึ้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก สำหรับประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 1 ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้ลักษณะชีวิตประจำวันของมนุษย์เปลี่ยนไป
อีกทั้ง ภาวะความกดดันทางสังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งเหตุบ้านการเมือง ยังส่งความกดดันให้กับจิตใจ มนุษย์เกิดความเครียดมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สุขภาพทรุดโทรม นำไปสู่โรคร้ายอย่างมะเร็งได้
ปัจจุบันผลการรักษามะเร็ง ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งไม่หาย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งหายแต่ต้องติดตามผลการรักษาต่อไป บางคนอาจหายขาดตลอดไป บางคนหายขาดชั่วคราวแล้วเกิดเป็นมะเร็งซ้ำใหม่ที่เดิมหรือกระจายไกล บางคนมะเร็งตำแหน่งเดิมหายแล้วแต่เกิดมะเร็งชนิดใหม่ที่ตำแหน่งใหม่
ผล การรักษาโดยรวมมะเร็งทุกระยะและทุกอวัยวะนั้น ยังเป็นสถิติที่น่าวิตก โดยพบว่าในประเทศพัฒนาแล้ว มีอัตราการตายร้อยละ 40 รอดชีวิตร้อยละ 60 ในประเทศกำลังพัฒนา อัตราการตายร้อยละ 50 รอดชีวิตร้อยละ 50 ส่วนในประเทศด้อยพัฒนา อัตราการตายร้อยละ 60 และรอดชีวิตร้อยละ 40
การ ต่อสู้กับ “มะเร็ง” มหันตภัยร้ายที่คืบคลานเข้ามากัดกร่อนชีวิตและพลังใจของมนุษย์ให้หมดไป คงอาศัยเพียงยา หรืออุปกรณ์เครื่องมือที่จะมาพิฆาตเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ในแต่ละวันการต่อสู้กับมะเร็งร้ายของผู้ป่วยแต่ละคนสิ่งอาศัยพลังอันยิ่ง ใหญ่ที่อยู่ภายใน ที่เรียกว่า “กำลังใจ”
“กำลังใจ” จากตนเอง... กำลังใจจากผู้คนรอบข้าง ที่จะมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังกายให้ยืนหยัด อยู่ในโลกได้อย่างยาวนาน
รศ.พญ.สุ พัตรา แสงรุจิ จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า “การรักษามะเร็งที่ดีที่สุดนั้น จุดประสงค์ในการรักษาก็เพื่อให้หายขาด หรือเพื่อบรรเทาอาการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากรักษาทางร่างกายแล้ว ต้องรักษาใจไปด้วย การเติมกำลังใจให้กับผู้ป่วยมะเร็ง แน่นอนที่สุดเกิดขึ้นได้จากความใกล้ชิด การดูแลเอาใจใส่เรื่องของโภชนาการเป็นอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ ผู้ป่วยมะเร็งมีความต้องการด้านโภชนาการสูงกว่าความต้องการในคนปกติ ปัจจุบันโภชนบำบัดถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรคมะเร็งด้วย ไม่ว่าก่อนหรือหลังการรักษา”
โดย พล.อ.ต.นพ.วิบูลย์ ตระกูลฮุน นายกสมาคมเวชบำบัดวิกฤติแห่งประเทศไทย แพทย์ประจำโรงพยาบาลภูมิพล ได้แนะ วิธีประเมินภาวะโภชนาการในการคัดกรองภาวะทุพโภชนาการเบื้องต้น ด้วยวิธีการง่ายๆ สะดวก รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลือง ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้ คือ
1. รับประทานอาหารได้น้อยลงหรือไม่
2. น้ำหนักลดลงหรือไม่
3. มีดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 หรือไม่
หาก มีคำตอบว่า “ใช่” 1 ใน 3 ข้อข้างต้น ให้ประเมินเบื้องต้นได้ทันทีว่า มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ และต้องการการดูแล ฟื้นฟู ให้มีสารอาหารและพลังงานเพียงพอ
เช่นเดียวกับแนวคิดในการ สร้างทัศนคติเรื่องของอาหารหรือโภชนาการให้กับผู้ป่วยมะเร็ง ของ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ นักกำหนดอาหารและนักเภสัชวิทยา ที่ปรึกษาชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่กล่าวถึงหลักโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งไว้ว่า “หลักโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คือ อาหารพลังงานสูง โปรตีนสูง ซึ่งความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกันไป ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากนักกำหนดอาหาร
สิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ที่ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลสามารถกระทำได้ง่ายนิดเดียว ยังมีเทคนิคในการดูแลและรักษาผู้ป่วยมะเร็งรวมทั้งเทคนิคเพื่อต้านมะเร็งอีก มากมาย ซึ่งล้วนมีประโยชน์และเป็นหนทางที่จะบอกให้ได้รู้ว่า “มะเร็ง...ยังมีทางออกที่ไม่สิ้นหวัง”
เติมกำลังใจสู้ภัย “มะเร็ง” | สุขภาพกาย - สุขภาพใจ - Tamdee.net ค่ายพุทธบุตธทำดี - Powered by PHPWind
เติมกำลังใจสู้ภัย “มะเร็ง”
ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย dhamaskidjai, 19 พฤศจิกายน 2010.
-
-
มาอ่านค่ะ....................
-
เช่นเดียวกับแนวคิดในการ สร้างทัศนคติเรื่องของอาหารหรือโภชนาการให้กับผู้ป่วยมะเร็ง ของ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ นักกำหนดอาหารและนักเภสัชวิทยา ที่ปรึกษาชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่กล่าวถึงหลักโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งไว้ว่า “หลักโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คือ อาหารพลังงานสูง โปรตีนสูง ซึ่งความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกันไป ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากนักกำหนดอาหาร
*************************************************
ถ้าการรักษาทางการแพทย์ในประเทศไทยคิดกันแบบนี้ รับประกันว่าต้องมีคนตายเพราะมะเร็งอีกมากมายมหาศาล เพราะรักษาผิดทางอย่างร้ายแรง
เพราะโปรตีนเป็นอาหารอย่างดีที่จะเลี้ยงเชื้อมะเร็งให้เติบโตและมีอานุภาพในการแพร่กระจายสูงขึ้น การให้โปรตีนและอาหารที่ให้พลังงานเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้มะเร็งเป็นอย่างดี......รู้แบบนี้แล้วเศร้าจริงๆสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทย