เตือนระวังไข้เลือดออก!! ปีนี้ยอดผู้ป่วยพุ่ง 7.7 หมื่น เสียชีวิตแล้ว 81 ราย

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 2 กันยายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b887e0b984e0b882e0b989e0b980e0b8a5e0b8b7e0b8ade0b894e0b8ade0b8ade0b881.jpg

    สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2562 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2562) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF , Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 77,575 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่าน มา 4,251 ราย อัตราป่วย 117.43 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจานวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากกว่าปี พ.ศ. 2561 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน 1.5 เท่า ผู้ป่วยเสียชีวิต 81 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.10 b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b887e0b984e0b882e0b989e0b980e0b8a5e0b8b7e0b8ade0b894e0b8ade0b8ade0b881-1.jpg

    การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 154.16 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ (111.80) ภาคเหนือ (97.12) และภาคกลาง (94.93) ตามลำดับคาดว่าในช่วงนี้จํานวนผู้ป่วยจะเริ่มมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากพบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามช่วงนี้ยังมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทําให้มีน้ําท่วมขังตามภาชนะต่างๆ อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b887e0b984e0b882e0b989e0b980e0b8a5e0b8b7e0b8ade0b894e0b8ade0b8ade0b881-2.jpg

    กรมควบคุมโรค จึงขอแนะนําประชาชนให้ดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ที่อาจมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หากมีอาการไข้สูง ควรหลีกเลี่ยงการ ซื้อยารับประทานเอง หากจําเป็นให้ใช้เฉพาะยาพาราเซตามอล โดยห้ามใช้ยาในกลุ่ม NSAID เช่น ยาแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน เพราะอาจทําให้เลือดออกมากขึ้น หากไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสม b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b887e0b984e0b882e0b989e0b980e0b8a5e0b8b7e0b8ade0b894e0b8ade0b8ade0b881-3.jpg

    ทั้งนี้ ขอให้ประชาชน ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันกําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเน้นมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ

    1.เก็บบ้าน ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง ล้างคว่ำภาชนะ และเปลี่ยนน้ํา ในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์

    2.เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแผล่งเพาะพันธุ์ยุง

    3.เก็บน้ํา ปิดฝาภาชนะ ใส่น้ําให้มิดชิด ป้องกันยุงลายวางไข่ และเน้นการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยทายากันยุง นอนในมุ้ง โดยจะสามารถ ป้องกันได้ถึง 3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย e0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b887e0b984e0b882e0b989e0b980e0b8a5e0b8b7e0b8ade0b894e0b8ade0b8ade0b881.png

    ขอบคุณที่มา
    https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1107430
     

แชร์หน้านี้

Loading...