เทคนิค ที่ช่วยส่งเสริม ในการตั้ง สมถะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 20 ตุลาคม 2010.

  1. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php? B=16&A=5846&Z=5888


    [๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้า
    ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย
    และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้
    สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ
    [๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
    เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
    ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
    ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
    *ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
    ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
    เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ
    [๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
    น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
    โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
    อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ
    [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม
    เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ
    เป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
    ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
    ๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อ
    ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
    [๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ
    ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็น
    ไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
    ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
    ๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
    ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ


    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php? B=16&A=5846&Z=5888


    ก่อนจะมาพูดเรื่องปัญญา ขอถามต่อหน่อย เจ้หลงว่า

    ในพระสูตร คำว่า สมาธิ ที่พระศาสดากล่าวถึง ทำไมพระศาสดา ไม่ทรงชี้ไปเลยว่า
    สมาธินั้นเป็น มิจฉาสมาธิ แต่ มีแต่คำว่า สมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2011
  2. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ไม่ทราบได้ครับ ปัญญาสุดแค่เท่านี้

    ไม่มีจริตน้อมไปทางพรหม ครับพี่ไมยราพ^^

    ต่อให้น้าปราบอีกหน่อย เขาว่าอานาคามีก็อยู่ในชั้นพรหม ข้อนี้มีอยู่

    อ้าวพี่ไมยราพ เสริม!
     
  3. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    พี่ซัวเจ๋ง กล่าวมาอย่างนี้ไม่เท่ห์เลย..!

    เขี่ยบุหรี่ ก่อนดีกว่าไหม เดี๋ยวขี้ตกลงไป ในภาชนะ
     
  4. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    บทว่า ทาน ศีล ภาวนา

    คำว่า ภาวนา ท่านแยกเป็น๒ คือ สมาธิภาวนา ปัญญาภาวนา

    บทว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

    คำว่า สมาธิ เป็นอันเข้าใจในที่นี้ย่อมาจากมรรค ๘ สัมมาสมาธิ สัมมาสติ สัมมาวายามะ

    เนื้อหาในพระสูตรก็ตรัสเรื่องสมาธิมิใช่น้อย แยกเป็นประเภทชัดเจน

    และสรุปลงที่ ทางเอก ที่พุทธองค์สรรเสริญ เป็นทางแห่งสติปัฏฐานสี่ อันมีปัญญาประกอบร่วม


    คำว่าสมาธิ หากใช้ในวงกว้าง นั้นมีมาก่อนพุทธกาล

    ในศาสนาพรห์มที่โดดเด่น รู้สึกจะเป็นลัทธิโยคะ แยกมาจากลักธิสางขยะ

    ปัจจุบัน สมาธิก็ใช้กันเผือ คริสต์ เต๋า เซน ฮินดู ก็มีศีล สมาธิ เป็นของตนแล้ว

    พุทธล้ำและอยู่ได้นาน ตรง ปัญญา


    แล้วน้าปราบจะลดตนไปดึง สัมมาสมาธิ เสมอ สมาธิทั่วไปทำไมหนอ

    ศึกษาดีๆนะ เรื่องสัมมาสมาธิ ดูอกุศลให้เป็นก่อน ไม่เคยห้ามให้นั่งหลับตา ^^
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80

    เท่ห์มันกินไม่ได้ครับ
    รู้เท่านี้ก็ตอบเท่านี้ ตอบเกินภูมิแล้วมันไม่เท่ห์ :cool:
     
  6. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    อย่าเพิ่งไปถีงพระอนาคามีในชั้นพรหม มันเกินภูมิไปมาก
    เอาแค่เรื่องสมาธิที่เป็นกุศล นี่ก่อน

    เดี๋ยวมาต่อเรื่องปัญญา ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2011
  7. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ตอบตรงๆ เรื่องพรหม ไม่ค่อยมีความรู้ในเชิงลึก ขอละเหมือนกัน

    หากสนใจผู้มีจริตพรหม ต้องพี่ไมยราพแล้ว ^^
     
  8. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    โยน กันเห็นๆ กับพี่ซัวเจ๋ง นั่นแหละ

    ขอหลบก่อน
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    อุเทสแห่งสัมมาสมาธิ พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิเป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.........เพราะความที่วิตก วิจาร ทั้งสองระงับ เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.......อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และ ย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข ดังนี้เข้าถึง ตติฌานแล้วแลอยู่.........เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปของโสมนัส และโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ......................(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส)
     
  10. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711

    ก็นั่นไงครับ ที่ชวนมาดู ว่า ทำไม พระศาสดา จึงยกมาแต่ คำว่า สมาธิ
    ไม่ได้ ชี้ชัดลงไป ว่า ต้องเคารพ สัมมาสมาธิ หรือ ไม่เคารพ มิจฉาสมาธิ

    ฉะนั้น สมาธิ จึงเป็นคำกลางๆ อย่างที่เจ้หลง ยกมาใน ลัทธิต่างๆมาให้ดู

    และคำว่า สมาธิ ที่เป็นกลางๆนี้ มันจึงมีประโยฃน์
    เป็นพื้น ฐานได้ เป็นกำลังได้ และใช้ไปในทางที่ถูกต้อง
    ก็จะเป็นประโยชน์ในทางที่ถูกต้อง

    ส่วนคำว่า มิจฉาสมาธิ แม้จะเรียกว่า มิจฉาสมาธิ
    แต่ก็เป็น สมาธิที่ประกอบด้วยกุศลมีอยู่
    เป็น รากฐานพัฒนาไปสู่ สัมมาสมาธิได้

    และ คำสอนพระศาสดาที่ว่า

    ทำความดี
    แม้การทำมิจฉาสมาธิที่ประกอบด้วยกุศลก็ชัดเรียกได้ว่าเป็นการทำความดีชนิดนึง


    ละเส้นความชั่ว
    การกระทำในเบื้องต้นที่ว่าด้วยมิจฉาสมาธิที่ประกอบด้วยกุศลจัดได้ว่า ละเว้นความชั่ว

    ก่อนจะไปก้าวสู่ ทำจิตให้บริสุทธิ์


    ทีนี้ ผมเข้าใจว่า การเรียกมิจฉาสมาธิที่ประกอบด้วยกุศล จึงจัดแบบอนุโลม
    เป็น สัมมาสมาธิ เพราะ เพื่อให้ กำลังใจนักปฏิบัติ

    ก่อนจะรู้จริงเห็นจริงด้วยตัวเอง ว่า นี่ สัมมาทิฐิเกิดแล้ว
     
  11. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อันนี้ไม่ได้แตกประเด็นนะ

    พุทธค้านเรื่อง บรมอัตตา เทวนิยม คว่ำมาแล้วทุกสำนัก

    ยืนกราน ว่าเป็น อเทวนิยม

    แต่เนื้อหาในพระสูต ก็ยังกล่าว เรื่องเปรต สัตว์นรก เทวดา พรหม เทพ ถูกไหม


    เช่นเดียวกัน สมาธิต่างๆ ที่มีในพระสูตร มันก็มีอยู่แล้วในพุทธกาล จนถึงทุกวันนี้

    ท่านก็แยกออกมา ว่า สัมมาสมาธิ ต่างกันอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กันยายน 2011
  12. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ประเด็น ก็อย่างที่ผมแจงเสนอไป
    อะไรที่เป็นกุศลที่ยังไม่เกิด
    ก็พึงเจริญให้เกิด
    อะไรที่เป็นอกุศลที่จะเกิด ก็ห้ามเสีย

    นี่ก็เป็นทางดำเนิน ที่พระศาสดาสอน
     
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    ภูมิของจิต ที่ ยังติดข้อง หากจิตยังติดข้อง กุศลใดที่จิตดวงนั้นจะแสวงหา
    สิ่งเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ แก่ภายภาคหน้า ที่ยังต้องมี เพราะ จิตที่ติดข้อง
    เป็น กบฏ ก็คงต้องปล่อยไปตามนั้น

    การที่เขาเหล่านั้น จะพึงได้ ประโยชน์แบบนั้น มันก็ถือว่าเป็นประโยชน์

    การที่ คนๆนั้น เขาติดข้อง เพราะจิตยังกบฏอยู่ ไม่ใส่ใจธรรม ก็ไม่จำเป็น
    ต้อง ไปชี้อะไรให้มาก

    เพราะ หากมีความเป็นบัณฑิตขึ้นมาแล้ว บางอย่างก็แทบจะไม่ต้องพูด
    ไม่ต้องชี้

    * * * * *

    เรื่องของธรรม จริงๆ แล้ว ไม่มีความขัดแย้ง

    หากเมื่อไหร่มีการขัดแย้ง แปลว่า มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เอา โลก มา ปน กับ ธรรม

    เอา ความโสมมมาปนธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2011
  14. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ที่ทำๆกันอยู่ ก็เป็นมิจฉาสมาธิทั้งนั้นล่ะ
    ต่อเมื่อหลุดผลั๊วะ เกิดสัมมาญาณะ มีญาณรอบรู้
    มีนัยยะเป็นผล ในองค์แห่งอริยมรรค

    ฉะนั้น ที่จะอนุโลม เป็นสัมมาๆ ในองค์แห่งมรรค
    นั่นเพราะ สัมมาอันเป็นสาสวะ ยังผลในส่วนโลกียะ
    ก็ไม่เสียหลาย

    ต่อเมื่อวิปัสสนาญาณเกิด เป็นไปในไตรลักษณญาณ เป็นสัมมาในโลกุตตระ
    จึงได้เต็มคำว่า "สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน"

    ดังใน มหาจัตตารีสกสูตร
     
  15. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ทีนี้ มาเข้าเรื่องของปัญญา

    หากว่า อยู่ๆ สัมมาทิฐิ จะเกิดเลย ก็หาได้ยาก
    การดำเนินทาง มรรค 8 จึงเป็นทางไปสู่ปัญญา

    เจ้หลงว่า
    สัมมาทิฐิ เกิดได้ ยังไง
     
  16. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ไม่สนใจเรื่องให้กำลังใจอะไรนะครับ พูดกันตรงๆเลย ดีกว่าเข้าพง

    น้าปราบจะเลือกฉุกคิดแล้วปรับ หรือเลือปล่อยละแล้วปฏิบัติตามเดิม

    โดยไม่ใส่ใจอะไรเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ อะไรสงัดอกุศล อะไรสงัดจากกาม ก็แล้วแต่วาสนา



    เคยนำพระสูตรมาเปรียบเทียบให้ดูแล้วนี่ครับ

    เรื่องสัมมาสามธิ มิจฉาสมาธิ

    มีองค์ธรรม วิตก วิจาร เอกคัทตา อินทรี พละ ฯลฯ ทุกอย่างเหมือนกันหมด
    ต่างกันตรง สมาธิถูกต้อง สมาธิไม่ถูกต้อง

    ซึ่งไม่มีทางรู้ในสภาวะนั้นได้เลย ถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิ


    ก็จะย่อง่ายๆอีกครั้งนึง

    หากใส่ใจอยากนั่งหลับตา สมาธิไม่ได้อยู่ที่ตาหลับ แต่อยู่ที่ใจตั่งมั่น

    สมาธินี้หมายถึงสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิมรรค ต้องมีปัญญาเกิดร่วม

    เกิดอย่างไร ก็รู้ตรงธรรมปัจจุบันที่ปรากฏ สภาพที่ปลอดจากอนุพยัญชนะ

    เมื่อเห็นธรรมเป็นกลาง ไม่ใช่ คนสัตว์ ตัวกู ของกู นั้น

    อโลภะ อโมะ อโทสะ ย่อมเกิด ตรงนี้สงัดในอกุศล

    พิจารณาอะไรมันก็ไม่มีความเป็นกูอยู่ในธรรม มันก็เห็นอะไรไปตามจริง

    รู้ได้อย่างไร ก็รู้ลงลักษณะ จะกายเบา ใจเบา เป็นอุเปกขาอะไรก็ว่ากันไป

    หรือชอบสมถะเพียว ก็ดูธรรมไปตรงๆ ให้มันตั้งมั่นไปเลย ธาตุ ขันธ์ อานาปา ได้หมด ลุแก่ฌาณ
     
  17. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ถ้าสัตปุรุษหาไม่ได้ ให้สุตะแทน
     
  18. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    หมดเวลาแล้วเดี๋ยวมาใหม่ ^^
     
  19. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ที่คุยมา ไม่เห็นเสนออะไรเลย

    เห็นแต่ไล่เบี้ยนายหลง ยืนกรานว่าสมาธิที่อยู่ ที่เป็น นั้นถูกแล้ว

    เหมาเอาว่า สิ่งใดเรียกสมาธิ สิ่งนั้นประหนึ่ง ถูกแล้วทางมรรค ^^

    ข้อนี้คุยกับน้าปราบ มาหลายครั้งแต่ไม่เคยฟังเลย
     
  20. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    นั่นแหละ และก็ทำกันอย่างนั้น เข้าใจกันอย่างนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...