เที่ยวท่องส่อง "คุก" ที่พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 26 ตุลาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>การประหารชีวิตแบบดั้งเดิมของไทยคือการ "กุดหัว"</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    พอบอกใครต่อใครไปว่า จะไปเที่ยวคุก ก็ได้ยินเสียงถามด้วยความแปลกใจอย่างเช่นว่า ...ไปเที่ยวคุกเนี่ยนะ....คิดดีแล้วหรือ...คุกจะมีอะไรให้ดู...อยากเข้าไปอยู่ในนั้นหรือ... และอีกสารพัดคำถามตามมา ล้วนแต่ออกแนวไม่เห็นด้วยทั้งนั้น แต่ถึงยังไงฉันก็จะไปตามความตั้งใจอยู่ดี เพราะคุกแห่งนี้มีความน่าสนใจไม่น้อย

    คุกที่ว่านี้ก็คือ เรือนจำกลางคลองเปรม หรือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (เดิม) แต่ตอนนี้ได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ในสวนรมณีนาถในปัจจุบัน และยังมีอาคารเก่าซึ่งเป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์อยู่ 3 หลังด้วยกัน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการลงทัณฑ์ในสมัยก่อน มีหุ่นจำลอง และเครื่องมือจริงๆ ที่ใช้ทรมานนักโทษในอดีต ฟังดูแล้วน่าสนใจใช่ไหมล่ะ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>นักโทษถูกจองจำด้วยขื่อคา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับห้องแรกที่เข้าไปดูนั้น เป็นห้องที่จัดแสดงเครื่องพันธนาการในสมัยโบราณ เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อป้องกันการหลบหนี เช่น ตรวน กุญแจมือ โซ่ล่าม เหล็กครอบสะเอว โซ่พวงคอ ขื่อคา ตะโหงก กลัง และสมอบก เป็นต้น

    เครื่องพันธนาการอื่นๆ ก็พอจะรู้ว่ามันใช้ยังไง แต่สำหรับตะโหงก กลัง และสมอบกนั้นยังไม่คุ้นหู เมื่ออ่านดูคำอธิบายเลยรู้ว่า ตะโหงกก็คือแผ่นไม้ยาวที่ใส่ไว้ที่คอของนักโทษ ซึ่งนักโทษสามารถเดินไปเดินมาหรือใช้มือทำงานได้ แต่หลบหนีได้ยาก และกลังนั้น มีลักษณะเป็นไม้กระบอก (ไม้ไผ่) ที่ร้อยโซ่หรือเชือกเข้ากลางกระบอก ให้โซ่หรือเชือกโผล่ออกทางปลาย 2 ข้าง สวมรอบคอนักโทษ ส่วนสมอบกนั้นทำด้วยไม้เนื้อแข็งที่มีน้ำหนักมาก ตรึงด้วยโซ่ซึ่งสวมอยู่ที่ข้อเท้า ใช้สำหรับนักโทษที่ทำผิดวินัยเรือนจำ หากนักโทษจะเคลื่อนไหวจะต้องยกขอนไม้หนักๆ ติดตัวไปด้วย

    เครื่องพันธนาการเหล่านี้ใช้เป็นเครื่องมือในการลงโทษนักโทษอุกฉกรรจ์และนักโทษที่มีนิสัยดื้อด้านด้วย แต่ปัจจุบันมีการใช้เครื่องพันธนาการเพียง 4 ชนิด คือ ตรวน กุญแจมือ กุญแจเท้า และโซ่ล่ามเท่านั้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>การทรมานที่น่าหวาดเสียวด้วยเบ็ดเหล็ก </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ห้องถัดไปเป็นห้องที่จัดแสดงเครื่องมือการลงทัณฑ์สมัยโบราณ ด้วยวิธีการที่เรียกว่าจารีตนครบาล ซึ่งเป็นวิธีที่ทารุณ เช่น การบีบเล็บ และบีบขมับ เครื่องมือนี้เป็นไม้เนื้อแข็ง 2 อัน ปลาย 2 ข้างเป็นปุ่ม และ เรียวลงไปตอนกลางโป่ง ยึดปลายข้างหนึ่งไว้ด้วยเชือกให้แน่น เมื่อเอาบีบลงตรงเล็บหรือขมับของผู้ที่ถูกสอบสวนแล้ว ก็เอาเชือกรัดขันปลายอีกข้างหนึ่ง แล้วบีบให้แน่น สำหรับการบีบเล็บต้องใช้ค้อนไม้เนื้อแข็งทุบลงไปตรงกลางที่วางเล็บไว้เพื่อสร้างความเจ็บปวดด้วย

    ส่วนตระกร้อช้างเตะ ตอนแรกฉันเข้าใจว่า แค่เป็นตะกร้อที่ให้คนเข้าไปอยู่ข้างในให้ช้างเตะกลิ้งไปกลิ้งมาเวียนหัวเล่นเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วในตะกร้อจะมีช่องขัดเสียบเหล็กแหลมลงไปช่องละ 6-9 ตัว ทั่วทั้งตะกร้อ คราวนี้กลิ้งไปทางไหนก็ไม่มีทางหลบเหล็กแหลมได้พ้น ทรมานน่าดู

    แล้วยังมีหวายสำหรับโบยไต่สวนคนร้ายให้รับสัตย์ (รับผิด) เริ่มใช้สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และเลิกใช้สมัยรัชกาลที่ 5 หวายนี้มี 3 ลักษณะด้วยกันคือ หวายแช่น้ำแสบ (น้ำเกลือ) หวายกระชากหนังกำพร้า และหวายสามแนว การลงหายนี้จะนับเป็นยก หนึ่งยก หมายถึง 30 ขวับ จนกว่าคนร้ายจะยอมรับสัตย์ (รับผิด) ส่วนหีบทรมาน ก็เป็นเครื่องมือลงโทษที่อึดอัดไม่น้อย คือเป็นโลงไม้พอดีตัว เจาะรูไว้สองรูพอให้หายใจได้ แล้ววางนอนหรือวางยืนไว้กลางแดด ทั้งร้อนทั้งแคบทั้งอึดอัด

    แต่ที่เห็นว่าน่าหวาดเสียวที่สุดเห็นจะเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า เบ็ดเหล็ก ที่เป็นการทรมานโดยใช้เบ็ดเหล็กเกี่ยวเข้าใต้คาง ให้ปลายแหลมของเบ็ดเหล็กเสียบทะลุคางถึงใต้ลิ้นแล้วชักรอกดึงรั้งคางของนักโทษให้ปลายเท้าลอยพ้นจากพื้นดิน โดยไม่ให้คางหลุดจากเบ็ด ยืนดูไปก็คลำใต้คางตัวเองไปด้วยความหวาดเสียว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ทางเดินหน้าห้องขังนักโทษภายในแดน 9</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> วิธีทรมานเหล่านี้เป็นวิธีการไต่สวนผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาแผ่นดินให้รับสารภาพด้วยวิธีการทรมานร่างกายให้เกิดความทุกข์ ทรมานเจ็บปวด ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นแล้วจึงเลิกไป

    ออกจากห้องนี้ด้วยความขนลุกพอสมควร ก่อนจะไปชมห้องต่อไปที่จัดแสดงการประหารชีวิตแบบสมัยโบราณ ห้องนี้มีหุ่นจำลองแสดงภาพการประหารชีวิตโดยการ "กุดหัว" โดยเพชฌฆาต 3 คน คือดาบหนึ่ง ดาบสอง และดาบสาม ผู้ที่ฟันคอนักโทษคนแรกคือดาบหนึ่ง หากฟันไม่ขาด ดาบสองและดาบสามจะเป็นคนฟันซ้ำจนขาด

    นอกจากนั้นก็ยังมีวัตถุเครื่องมือใช้และพิธีทางไสยศาสตร์ เช่น สายมงคลล้อมรอบบริเวณประหาร กันผีตายโหงจะเฮี้ยน และการตัดสายมงคลต้องใช้มีดโดยเฉพาะ จะใช้ของอื่นไม่ได้ มีขันทำน้ำมนต์ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ สำหรับเพชฌฆาตใช้ทำน้ำมนต์ก่อนและหลังพิธีตัดคอนักโทษประหารชีวิต เชื่อว่าน้ำมนต์ในขันปัดรังควานและอาบหรือพรมตามร่างกายป้องกันวิญญาณร้ายเข้าสิง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>จากการกุดหัว ได้เปลี่ยนการประหารเป็นการยิงเป้า</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> แต่ในสมัยรัชกาลที่ 7 วิธีการประหารก็ได้เปลี่ยนไปจากการตัดคอเป็น "ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิตให้เอาไปยิงเสียให้ตาย" หรือเป็นการยิงเป้าแทน ในขั้นตอนการประหารนั้น นักโทษจะได้ฟังเทศน์จากพระภิกษุสงฆ์หรือนักพรตในศาสนาที่เขาเลื่อมใส หลังจากกินอาหารมื้อสุดท้ายแล้ว ก็จะนำผู้ต้องโทษเข้าสู่หลักประหารซึ่งเป็นลักษณะเป็นไม้กางเขน มีความสูงขนาดไหล่ ผู้ต้องโทษจะถูกมัดด้วยด้ายดิบ ข้อมือทั้งสองผูกมัดติดกับหลักประหารในลักษณะประนมมือกำดอกไม้ธูปเทียน

    เมื่อพร้อมแล้วเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณโดยโบกธงสีแดง ผู้ทำหน้าที่ลั่นไกปืนและคณะกรรมการประหารชีวิตร่วมกันตรวจสอบจนแน่ใจว่านักโทษถึงแก่ความตายอย่างแท้จริง และปัจจุบันแทนที่จะนำนักโทษประหารไปกุดหัว หรือยิงทิ้งเช่นเดิม ก็เปลี่ยนเป็นการให้นอนบนเตียง ประหารชีวิตด้วยการฉีดยาแทน

    นอกจากนั้นอาคารนี้ก็ยังมีการจัดแสดงอาวุธปืน ซึ่งเคยใช้ในราชการของกรมราชทัณฑ์ในสมัยต่างๆ และอุปกรณ์การลักลอบนำยาเสพติดเข้าเรือนจำ อุปกรณ์การหลบหนี และอุปกรณ์ก่อเหตุร้ายของผู้ต้องขังชนิดต่างๆ ด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ตั้งอยู่ในสวนรมณีนาถ รอให้คนเข้าไปชม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ชมตึกนี้เสร็จแล้วก็ไม่ลืมจะเดินมายัง "แดน 9" ซึ่งเคยเป็นอาคารเรือนนอน และคงสภาพเดิมไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะของอาคารห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้องควบคุมผู้ต้องขัง และสภาพการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ต้องขัง เช่น การกินอยู่หลับนอน ในช่วงหนึ่งอาคารแห่งนี้ยังเคยเป็นที่คุมขังนักการเมืองคนสำคัญของประเทศอย่าง จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งของไทยด้วย

    ทางเดินเล็กๆ หน้าห้องขัง มีหุ่นจำลองพนักงานในชุดทำงานยุคต่างๆ เช่น เครื่องแต่งกายผู้คุมในพ.ศ.2480 เครื่องแต่งกายเจ้าพนักงานเรือนจำหรือทัณฑสถาน พ.ศ.2504 ปะปนกับหุ่นจำลองหญิง-ชายในชุดผู้ต้องขัง

    ถ้าจะบอกว่าการมาชมพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์เป็นความบันเทิงก็คงจะพูดได้ไม่เต็มปากนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ได้แน่นอนก็คือความรู้ในเรื่องของการ และอีกสิ่งที่อยากให้ทุกคนรู้สึกเหมือนกันก็คือความหวาดกลัวต่อการกระทำผิด หวาดกลัวว่าจะต้องมารับกรรม รับความทุกข์ทรมานอย่างที่ได้มาเห็นในวันนี้ ...เชื่อเถอะว่า อยู่นอกคุกน่ะสบายที่สุดแล้ว


    * * * * * * * * * * * * * *

    พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ตั้งอยู่ที่ 436 ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร-เสาร์ เวลา 08.30-16.30 น. มีรถประจำทางสาย 1, 5, 35, 37, 42, 56, 7 ผ่าน สอบถามรายละเอียดโทร. 0-2226-1704, 0-2225-7320

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    โอ้.... น่ากลัว
     

แชร์หน้านี้

Loading...