เที่ยวเชิงเกษตรรับปีใหม่ที่...จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม (ปักธงชัย)

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย เพพัง, 26 ธันวาคม 2009.

  1. เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,756
    ค่าพลัง:
    +8,250
    <object style="" data="/assets/dbozone-regular.swf" name="sIFR_replacement_0" id="sIFR_replacement_0" type="application/x-shockwave-flash" class="sIFR-flash" width="930" height="34">




    </object>เที่ยวเชิงเกษตรรับปีใหม่ที่...จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม


    แปลงผักสลัดเรดโอ๊คและกรีนโอ๊ค.


    ทิวทัศน์สวยงามภายในฟาร์ม.
    หลาย คนตั้งตารอคอยเทศกาลแห่งความสุขในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ต่างวางแผนการท่องเที่ยวในช่วงนี้กันอย่างคึกคัก บางคนบอกจะขอไปสัมผัสสายลมหนาวที่ต่างประเทศ ขณะที่ส่วนใหญ่ขอแค่ได้ไปสูดไอเย็นทางภาคเหนือก็ชื่นใจแล้ว แต่ถ้าใครไม่อยากเดินทางไกล แถมยังได้สัมผัสลมหนาวในบรรยากาศกลิ่นอายท้องทุ่งชนบท และได้เห็นทุ่งดอกไม้บานสะพรั่งสวยงามไม่แพ้ประเทศนอก แนะนำให้ไปที่นี่เลย จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม แหล่งท่องเที่ยวทางเกษตรสุดไฉไลไม่ไกลกรุงเทพฯ


    จุดต้อนรับบริเวณสวนลอยฟ้า.

    จิ ม ทอมป์สัน ฟาร์ม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2531 บริหารงานโดย บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด (จิม ทอมป์สัน) ตั้งอยู่ที่เชิงเขาพญาปราบ ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากตัวอำเภอปักธงชัย ที่มีชื่อเสียงในเรื่องผ้าไหม แค่ 25 กิโลเมตร บนเนื้อที่กว่า 600 ไร่ เป็นแหล่งผลิตไข่ไหมลูกผสม เพื่อจำหน่ายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมทั่วประเทศ และปลูกต้นหม่อน ซึ่งเป็นอาหารของหนอนไหมเป็นหลัก รวมทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมผ้าไหม ขณะเดียวกัน ยังเพาะปลูกพืชผักผลไม้หลายชนิดด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง

    ต่อ มาเมื่อปี พ.ศ.2542 จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปที่สนใจและชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เข้าเยี่ยมชมปีละครั้งในช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศเย็นสบาย และพืชผักผลไม้กำลังออกผลิตผล โดยเฉพาะแคนตาลูป และฟักทองหลากหลายสายพันธุ์ที่ปลูกไว้มากมาย จนกลายเป็นเอกลักษณ์ ของฟาร์มแห่งนี้ไปแล้ว


    ทัศนียภาพหมู่บ้านอีสาน.

    ทันที ที่มาถึงหน้าฟาร์ม เราจะได้เห็นผลฟักทองยักษ์จำลองสีส้มอร่ามตาตั้งอยู่โดดเด่น เมื่อเข้าไปในฟาร์ม จุดแรกจะเป็น สวนลอยฟ้า มีการเพาะปลูกมะเขือเทศ แบบห้อยหัวลง (Upside Down Tomato) ซึ่งให้ผลผลิตมากมายเหลือเชื่อ นอกจากนี้ ยังมี ฟัก แฟง และน้ำเต้าหลายสายพันธุ์ ใกล้กันมีแปลงปลูกมะเขือเทศไว้ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเก็บชิมกันสดๆจากต้น ได้ด้วย เขยิบไปอีกหน่อยเป็นทุ่งปอเทือง ที่กำลังออกดอกเหลืองอร่ามตระการตา ทางฟาร์มปลูกไว้เป็นพืชคลุมดิน และจะไถฝังกลบให้เป็นปุ๋ยหมักบำรุงดินก่อนปลูกพืชอื่น


    ทุ่งดอกคอสมอสบานสะพรั่ง.

    จาก นั้นนักท่องเที่ยวจะต้องนั่งรถยนต์ที่ทางฟาร์มจัดไว้เพื่อความเป็นระเบียบ เข้าไปเยี่ยมชมจุดท่องเที่ยวยอดฮิตและเป็นไฮไลต์อีกแห่ง นั่นคือ ตลาดฟักทอง ที่อยู่บริเวณ จุดชมวิวลำสำลาย ที่นี่จะได้ตื่นตาตื่นใจกับผลฟักทองยักษ์ของจริง แต่ละลูกหนักหลายสิบกิโลกรัม รวมไปถึงผลฟักทองนานาพันธุ์ที่มีเยอะมาก ใครที่อยากเห็นฟักทองรูปทรงแปลกตาเลือกซื้อเลือกหาดูได้จากที่นี่ที่เดียว บริเวณตลาดฟักทองแห่งนี้ยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของลำสำลาย แหล่งน้ำสำคัญของผู้คนแถบนี้ได้ ไม่ไกลกันนักเป็นจุดถ่ายภาพที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ นั่นคือ ทุ่งดอกคอสมอส และ ทุ่งทานตะวัน สีสันสดใส กำลังเบ่งบานชูช่อล้อแสงตะวันยามเช้า โดยมีทิวสนและเทือกเขาพญาปราบเป็นฉากหลัง เห็นแล้วโรแมนติกไม่แพ้ต่างประเทศเลย

    จากตลาดฟักทอง กลับขึ้นรถยนต์เพื่อไปสัมผัสมนต์เสน่ห์ของวัฒนธรรมอีสานผ่าน หมู่บ้านอีสาน ที่ทางจิม ทอมป์สัน ได้รวบรวมบ้านเรือนชาวอีสานจากทั่วสารทิศ มาปลูกรวมกันไว้เป็นหมู่บ้านขนาดย่อมๆ พร้อมจำลองประเพณีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์อันหนึ่งที่ จิม ทอมป์สัน มุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาวอีสานออกสู่สายตาชาวไทยและชาว ต่างชาติ เพื่อสร้างสำนึกในคุณค่าของประเพณีและวัฒนธรรมอันเก่าแก่งดงามของคนอีสานให้ ดำรงอยู่สืบไป


    ผลฟักทองยักษ์ที่เกษตรกรภาคภูมิใจ.

    ที่ หมู่บ้านอีสาน เราจะได้เห็นเรือนโบราณ หรือที่คนอีสานออกเสียงว่า "เฮือน" ซึ่งนับวันจะสูญหายไปตามกาลเวลา โดยเรือนแต่ละหลังจะตั้งชื่อตามเจ้าของเดิม เช่น เฮือนนางสาหร่าย เฮือน นางแตงอ่อน หลายคนสงสัยทำไมมีแต่ชื่อผู้หญิง เนื่องจากพ่อแม่จะยกเฮือนให้กับลูกสาวก่อน ส่วนลูกชายจะได้ที่นา และต้องไปปลูกเฮือนสร้างครอบครัวเอาเอง เอกลักษณ์ อีกอย่างของเฮือนอีสานดั้งเดิมคือ "ประตูแมว" หรือช่องแมวลอด ที่ไม่ได้มีไว้ให้น้องเหมียวลอดเข้าออก แต่มีไว้เพื่อป้องกันลูกสาวหนีเที่ยว นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เฉียบแหลมจริงๆ

    อ้อ! มาเยือนหมู่บ้านอีสานทั้งที อย่าลืมแวะไปทักทาย คุณบุญหลาย เจ้าถิ่นแถวนี้บางนะ พี่เขาดังมากขอบอก เป็นพรีเซ็นเตอร์ของผลิตภัณฑ์หลายอย่าง อาทิ ปุ๋ยบุญหลาย และเสื้อยืดบุญหลายในอิริยาบถต่างๆ ไปสัมผัสเองแล้วจะรู้ว่าพี่เขาน่ารักขนาดไหน


    นักท่องเที่ยวสนุกสนานกับการเก็บมะเขือเทศ.

    จาก หมู่บ้านอีสาน ขึ้นรถชมวิวในฟาร์มไปอีกสักพักก็จะถึงจุดที่นักท่องเที่ยวรอคอย นั่นคือ สวนดอกไม้เมืองหนาว และตลาดจิม ทอมป์สัน ซึ่งทางฟาร์มได้เพาะปลูกไม้ดอกเมืองหนาวและผักสลัดไว้ให้ชื่นชมหลายสาย พันธุ์ อาทิ ดอกฮอลลี่ฮอค ผักเรดโอ๊ค ผักกรีนโอ๊ค มาถึงที่นี่หลายคนไม่สนใจอะไรแล้ว ลงจากรถได้ปรี่เข้าไปเลือกซื้อเลือกหาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมนานาชนิด ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า หมวก ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ที่จัดมาจำหน่ายในราคาถูกพิเศษ รวมถึงช็อปปิ้งพืชผลทางการเกษตรปลอดสารพิษ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูปอื่นๆของทางฟาร์ม เรียกว่าหอบกันจนเต็มสองมือ แหม... นานทีมีปีละหนอย่างนี้ พลาดได้ยังไง

    นาย สุรินทร์ ศุภสวัสดิ์พันธุ์ รองกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด (จิม ทอมป์สัน) กล่าวว่า ในปีนี้ยังมีกิจกรรมพิเศษ คือ โครงการ Jim Thompson Art Center on Farm ที่หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ร่วมกับ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม จัดขึ้นเป็นปีแรก โดยเชิญศิลปินจากหลายแวดวงงานศิลป์ อาทิ สุดศิริ ปุยอ๊อก, จักรกริช และภัทรี ฉิมนอก, จักรวาล นิลธำรงค์, สถาบันอาศรมศิลป์ และคณะครูสอนศิลปะโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย สุริศรา บัวนิล มาจัดทำผลงานศิลปะในบริบทของการเกษตรเชิงนิเวศ และงานสถาปัตยกรรมอีสาน เพื่อเป็นสะพานเชื่อมโยงศิลปะ ชีวิต และธรรมชาติเข้าด้วยกัน ผ่านแนวคิดอันน่าทึ่งของศิลปินแต่ละท่าน และจะนำมาจัดแสดงตามจุดท่องเที่ยวต่างๆใน จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ด้วย


    ผลิตภัณฑ์ของทางฟาร์ม.

    ใคร ที่ไม่อยากรอถึงปีหน้าต้องรีบไป เพราะจิม ทอมป์สัน ฟาร์ม จะเปิดให้เข้าเที่ยวชมระหว่าง วันที่ 19 ธันวาคม-10 มกราคม นี้เท่านั้น ตั้งแต่เวลา 09.00 -17.00 น. สอบถามที่ โทร. 0-2762-2566, 0-4437-3116 หรือ www.jimthompsonfarm.com จะได้ ความกระจ่างมากขึ้น.

    ที่มา เที่ยวเชิงเกษตรรับปีใหม่ที่...จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  2. ปรานต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +668
    ฟักทองยักษ์กินกันได้ทั้งหมู่บ้าน
     

แชร์หน้านี้