เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

  1. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนนี้พระปัจเจกหลวงปู่พิศดูแบบธรรมดา ราคามากกว่า 2222 เสียอีก เพราะฉะนั้นพระปัจเจกกระทู้นี้ใครขายห้ามต่ำกว่า 3500 นะครับ
     
  2. kajit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,656
    ค่าพลัง:
    +3,351
    พระพุทธกัมมัฏฐาน พิชิตมาร
    ขอแบ่ง 1 องค์ครับ
     
  3. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948


    พระอาจารย์ตั๋น วัดบุญญาวาส

    ปกติแล้วท่านพระอาจารย์เป็นศิษย์สายหลวงพ่อชา สุภัทโท ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีเจตนารมย์งดวัตถุมงคลตั้งแต่ปี 2522
    และวันนั้น คนในศาลา ก็เยอะมากๆ คงจะไม่สะดวกถ้านำไปอธิษฐานจิต แต่ด้วยความเป็น dekdelta2+ลูกวัดท่าซุง ความด้านเลย*2 ครับว่ายังไงมาทั้งทีนอกจากธรรมะของท่านแล้วก็อยากให้ท่านแผ่เมตตาให้เป็นมงคลด้วย<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    พระอาจารย์ตั๋นเป็นผู้ที่สามารถเทศน์ได้อย่างคล่องแคล่ว และท่านฉลาดในการตอบ สมกับเป็นศิษย์ที่หลวงพ่อชา และหลวงตามหาบัวไว้ใจ หลวงปู่พิศดู เคยฝาก ไม้เท้าพญางิ้วดำมาให้พระอาจารย์ แต่ท่านก็ไม่ได้สนิทกับหลวงปู่ เท่ากับ หลวงปู่ฟัก วัดเขาน้อยสามผาน

    มาถึงเรื่องการอธิษฐานจิต ท่านบอกว่า ท่านบวชมา ก็เพื่องดเว้นจากสิ่งเหล่านี้ วันนี้วัดแหลมทองจัดงานพุทธาภิเษก นิมนต์ท่าน ท่านยังไม่ไปเลย ท่านให้แต่ธรรมะ และถามซะละเอียดยิบ ดูพระทุกชิ้นที่อธิษฐานจิต ทั้งเจตนา การตั้งราคาทำบุญ

    และท่านบอกว่า วัดเราไม่เห็นต่้องมีวัตถุมงคล ก็มีสาธุชนมาเสียสละทรัพย์ทำบุญ ก็ชี้แจงท่านว่า แต่ละคนมีบารมีไม่เหมือนกัน
    แต่ในที่สุดท่านก็อนุโลมเมตตาอธิษฐานให้ ต่อหน้าสาธุชนเป็นพยาน เต็มศาลาวัดบุญญาวาส

    ใครที่อยากฟังธรรมะ ที่มีความกระชับ เข้าใจง่าย และพระที่เป็นเสาหลักพระกรรมฐานแห่งบูรพาทิศ ตามคำกล่าวของ องค์หลวงปู่พิศดู และ หลวงตามหาบัว ต้องนี่เลย
     
  5. Jintamuttha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    986
    ค่าพลัง:
    +1,956
    สวัสดีครับ วันนี้ผมโอนค่าเบี้ยแก้อมฤตศุภมงคลญาณสังวร ที่เคยจองไว้ไปแล้วครับ^^
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1208.JPG
      ขนาดไฟล์:
      88.6 KB
      เปิดดู:
      54
  6. พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    พรุ่งนี้เช้าจะโอนค่าจองพระให้นะครับ
     
  7. radien เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2010
    โพสต์:
    902
    ค่าพลัง:
    +1,057
    รอจนวันสุดท้ายแล้ว หมุนไม่ทันจริงๆสงสัยคงไม่มีวาสนาได้บูชา เฮ้อ
     
  8. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
  9. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการสมเด็จองค์ปฐม อาจารย์พุทธนิรันดร์และคุณ pee177 คุณ Farren โอนแล้วครับ
     
  10. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    พระอาจารย์เยื้อน เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2495 ที่บ้านระไซร์ ต.นาดี อ.เมือง จ. สุรินทร์ เดิมชื่อ นายเยื้อน หฤทัยถาวร บิดาชื่อ นายมอญ หฤทัยถาวร มารดาชื่อ นางฮิต หฤทัยถาวร มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน ท่านเป็นบุตรคนแรก

    อุปสมบท -- เมื่ออายุครบ 20 ปี ในวันที่ 16 เมษายน 2515 ณ วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ (ธรรมยุต) โดยมี พระรัตนากรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสถิตยสารคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูวิมลสีลคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    การศึกษา - จบประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านระไซร์ ต.นาดี อ.เมือง จ.สุรินทร์

    ฝึกอบรมและศึกษาดูงาน

    ศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนาตั้งแต่ปี 2515 เริ่มในวันแรกที่บวช โดยศึกษากับหลวงปู่ดุลย์ ซึ่งท่านได้สอบจิตทำความสงบ สามารถปฏิบัติภาวนาได้รวดเร็วมีจิตสงบนิ่ง หลวงปู่ดุลย์จึงได้สนับสนุนให้ปฏิบัติธรรม โดยท่านกล่าวว่า "จิตเข้าสู่โลกุตรธรรมแล้ว ไม่ต้องเรียนหนังสือ ให้ปฏิบัติธรรมต่อไป" ต่อมาท่านได้ฝากให้เข้ารับการศึกษาอบรมข้อวัตรปฏิบัติกับ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2516 ได้ฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงตาจนถึงปี 2518

    ในช่วงระหว่างปี 2518 - 2519 เขมรแดงได้เข้ายึดครองประเทศกัมพูชา ทหารเขมรแดงได้เข่นฆ่าประชาชนฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามแตกกระเจิงรุกล้ำเข้ามายังเขตแดนของประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ฝ่ายกองกำลังผู้ก่อการร้ายในประเทศไทยเอง ก็สู้รบกับกำลังทหาร ตำรวจไทยอย่างดุเดือดรุนแรง โดยเฉพาะตามแนวตะเข็บชายแดน สาเหตุจากการขัดแย้งด้าน การเมือง

    ฝ่ายทหารไทยโดยกองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารีต้องการได้พระภิกษุมาปลอบขวัญทหารที่ทำการสู้รบ จึงทูลขอจากสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งขณะนั้นยังดำรงเป็นสมเด็จพระญาณสังวรแห่งวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้พระมาอยู่ประจำกับค่ายทหารที่ชายแดนในโครงการ "พระสงฆ์นำการทหารเพื่อความมั่นคง"

    สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาให้ทหารไปขอพระภิกษุจากพระราชวุฒาจารย์หรือหลวงปู่ดูลย์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์โดยตรง ในฐานะที่ท่านเองก็อยู่ในท้องถิ่นนั้นอยู่แล้ว หลวงปู่ดูลย์พิจารณาแล้วเห็นว่าพระที่จะไปอยู่กับทหารเห็นมีเหมาะสมเพียงองค์เดียว คือพระเยื้อน ขันติพโล เท่านั้น จึงสั่งให้พระจากวัดพร้อมกับทหารไปนิมนต์พระเยื้อนซึ่งขณะยังปฏิบัติธรรมศึกษาอยู่กับหลวงตามหาบัวที่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ทหารกับพระที่มาด้วยแจ้งต่อพระเยื้อนว่า หลวงปู่ดูลย์ต้องการตัวให้รีบมาด่วน พระเยื้อนจึงกราบลาหลวงตามหาบัวเดินทางกลับสุรินทร์

    เมื่อเข้าพบหลวงปู่ดูลย์ท่านก็บอกว่า การอบรมวิปัสสนากรรมฐานเพียงพอแล้ว ให้กลับมาเผยแผ่ศาสนาในจังหวัดสุรินทร์ โดยมีกองทัพภาคที่ 2 สนับสนุนสร้างสำนักสงฆ์ให้ไปจำพรรษาที่เนิน 424 ช่องพริก ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุ รินทร์

    พระเยื้อนกราบเรียนหลวงปู่ดูลย์ว่าท่านเองปฏิบัติวิปัสสนามาน้อย พรรษาก็น้อยไม่เพียงพอกับการรับภารกิจนี้ได้ จำเป็นต้องอยู่ศึกษากับหลวงตามหาบัวอีกนาน แต่หลวงปู่ดูลย์ยืนกรานให้มาช่วยทางสุรินทร์ และได้ทำหนังสือขอตัวพระเยื้อนจากหลวงตามหาบัวในเวลาต่อมา ฝ่ายหลวงตามหาบัวเมื่อได้รับหนังสือขอตัวพระเยื้อนกลับไป ท่านก็กล่าวว่า เสียดายไม่อยากให้กลับเลย แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อหลวงปู่ดูลย์ขอตัวมาก็ต้องให้กลับไปช่วยท่านก่อน และได้ฝากคำพูดกับพระเยื้อนว่า "ถ้าออกไปแล้วสู้ไม่ไหวก็กลับมา วัดป่าบ้านตาดเปิดประตูรับท่านตลอดเวลา"

    พระเยื้อนขัดคำสั่งหลวงปู่ไม่ได้ เมื่อทหารเอารถมารับจึงได้มาอยู่ที่เนิน 424 ตั้งแต่ปี 2518 เหตุการณ์ในช่วงนั้นบ้านเมืองกำลังลุกเป็นไฟ ภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และจากทหารเขมรแดงก่อความเดือดร้อนทั้งชาวไทยและชาวเขมร ชาวบ้านหนีตายถึงกับบ้านแตกสาแหรกขาด ถูกล้อมเผาหมู่บ้านต้องอพยพหนีภัยกันอย่างน่าสลดใจยิ่ง

    ต่อมาในปี 2519 มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นที่เนิน 424 เวลาประมาณ 03.00 น. ถึงประมาณเที่ยงของวันรุ่งขึ้น มีกองกำลังไม่ทราบสัญชาติมาโจมตีหน่วยตระเวณชายแดนที่อยู่ห่างจากวัดประมาณ 500 เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน แล้วก็มาเผาวัด เผาโรงเรียน เอาจรวจ อาร์ พี จี ยิงใส่พระพุทธรูปจนระเบิด เวลานันพระเยื้อนต้องหลบหนีเอาตัวรอด เมื่อหาที่อยู่ไม่ได้ จึงกลับไปอยู่ที่วัดบูรพารามและจำพรรษาอยู่ที่นั่น 1 พรรษา

    ในเวลานั้นมีผู้ไม่หวังตีต่อพระอาจารย์เยื้อน ขณะที่อาจารย์ไปสรงน้ำให้หลวงปู่ดูลย์ ลักลอบนำสีกาไปไว้ให้นอนบนเตียงในห้องอาจารย์เยื้อน เมื่ออาจารย์กลับมาเข้าห้องไม่ได้จึงให้สามเณรปีนหน้าต่างไปดู พบสีกาอยู่ภายในจึงขับไล่ไปเสีย พระอาจารย์เยื้อนเกิดความสังเวชใจจึงกราบเรียนปรึกษาหลวงปู่ดูลย์และขออนุญาตปลีกตัวออกวิเวก เมื่อได้รับอนุญาตแล้วท่านจึงออกธุดงคไปยังสถานที่อันสงบตามป่าเขาในจังหวัดกาญจนบุรี ท่านธุดงค์ด้วยเท้าไปทางด่านเจดีย์สามองค์ จนผ่านด่านลึกเข้าไปในเขตแดนกะเหรี่ยง ถูกทหารกะเหรี่ยงจับไปคุมขังไว้ 4 วัน เนื่องจากคิดว่าเป็นสายลับของทหารพม่า ต่อมาทหารกะเหรี่ยงสอบสวนแน่ชัดแล้วว่าไม่ใช่ฝ่ายศัตรูจึงปล่อยตัวมา พระอาจารย์เยื้อนเดินทางกลับ แต่หลงป่าเสียอีก 22 วันโดยไม่ได้ฉันอาหารเลย ฉันแต่น้ำ ครั้นหาทางออกจากป่าได้แล้ว จึงเดินทางกลับมากราบหลวงปู่ดูลย์ที่สุรินทร์

    รับงานใหญ่ สร้างวัดให้หลวงปู่ดูลย์

    ระหว่างปี 2520 หลวงปู่ดูลย์ปรารถนาจะสร้างวัดสาขาขึ้นในอำเภอสนม เป็นวัดให้ภิกษุ สามเณรได้ศึกษาปฏิบัติกัมมัฏฐาน จึงมอบหมายให้พระอาจารย์เยื้อนไปสำรวจสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อดำเนินงานต่อไป เมื่อได้รับมอบหมายท่านอาจารย์เยื้อนจึงนำเรื่องการสร้างวัดไปปรึกษากับแม่ชีกาญจนา บุญญลักษม์ (แม่ชีน้อย) ซึ่งเป็นโยมอุปฐาก และเป็นศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่ดูลย์คนหนึ่ง แม่ชีกาญจนาจึงมอบหมายให้บุตรชายของท่านคือ นายไพบูลย์ บุญญลักษม์ ซึ่งมีภูมิลำเนาทำการค้าอยู่ในอำเภอสนมอยู่แล้ว ให้ช่วยสำรวจสถานที่สร้างวัด

    คณะสำรวจไปพบสถานที่แห่งหนึ่งเป็นที่สาธารณะและเป็นป่าช้าเก้ารกร้างที่ตำบลบ้านโดน อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ จึงกราบเรียนหลวงปู่ หลวงปู่จึงสั่งให้อาจารย์เยื้อนไปปักกลดจำศีลภาวนาปฏิบัติธรรมในป่าช้าแห่งนั้นเพื่อเป็นการบุกเบิก

    วิบากกรรม

    เมื่อพระอาจารย์เยื้อน ขันติพโล ได้รับมอบหมายจากหลวงปู่ดูลย์ แล้วก็มิได้นิ่งนอนใจ เริ่มเดินทางไปอำเภอสนม และเข้าไปปักกลดปฏิบัติภาวนาในป่าช้าสาธารณะแห่งนั้นทันที คืนแรกของการอยู่กลดธุดงค์ หลังจากได้สวดมนต์ทำวัตรเย็น และภาวนาก็ปรากฏเหตุคล้ายฝัน ซึ่งฝันในทางพระพุทธศาสนา ท่านกล่าวไว้ว่าความฝันเกิดได้ 4 ประการคือ กรรมนิมิต จิตอาวรณ์ เทพสังหรณ์ และธาตุพิการ จะด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 เหตุที่ว่ามานี้ พระอาจารย์เยื้อนได้เห็นภูมิเทวดาในชุดสีขาว 4 องค์ ถือพานดอกไม้ธูปเทียนเข้ามากราบนมัสการและนิมนต์ให้ท่านไปอยู่ที่วัดคู่เมือง พร้อมทั้งชี้ไปรอบๆ พื้นที่ว่างเปล่า ณ ที่นั้นพร้อมกับบอกแก่ท่านว่า หากมาอยู่ที่นี่คิดจะทำกิจการสิ่งใด ก็จักสำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ พระอาจารย์เยื้อน อยู่ปฏิบัติที่ป่าช้าสาธารณะแห่งนี้เป็นเวลา 4 วัน จึงกลับวัดบูรพาราม

    ต้นปี พ.ศ.2520 อุบาสิกากาญจนาได้นิมนต์หลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่สาม ท่านอาจารย์สมพร และภิกษุสงฆ์อื่นๆ อีก 6 รูป ไปเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญบ้านบุตรชายที่อำเภอสนม และได้ถือโอกสนั้นนิมนต์หลวงปู่ดูลย์ไปดูสถานที่ป่าช้าสาธารณะแห่งนั้น เมื่อหลวงปู่ได้พิจารณาแล้วเห็นเหมาะสมที่จะสร้างวัดป่าเพื่อเป็นวัดปฏิบัติสืบต่อไปได้ตามปราถนา จึงได้ให้พระอาจารย์เยื้อนมาปฏิบัติบุกเบิกอยู่ ณ ที่นี้ต่อไป

    การมาอยู่ป่าช้าครั้งที่ 2 นี้ พระอาจารย์เยื้อนได้ปฏิบัติกิจออกบิณฑบาต และกลับไปอยู่ภาวนาที่กลด ปรากฏว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้น เลื่อมใสสนใจมานมัสการ สนทนาธรรมและรับการอบรมสมาธิภาวนากับพระอาจารย์ แต่เมื่อย่างเข้าวันที่ 13 ปรากฏว่าการมาอยู่ป่าช้าของพระอาจารย์เยื้อนเริ่มมีอุปสรรคขัดขวางและมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย พระอาจารย์ต้องได้รับความทุกข์จากการถูกขับไล่ให้ออกจากป่าช้านั้นด้วยการกลั่นแกล้งด้วยวิธีต่างๆ เป็นเรื่องราวใหญ่โตจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดในครั้งกระนั้น

    ท่านประสบกับการต่อต้านทั้งจากฆราวาสและพระสงฆ์ที่อยู่เดิมในอำเภอนั้น พยายามในวิธีการต่างๆ ที่จะขับไล่ไสส่งให้พระอาจารย์ฯต้องออกจากพื้นที่ป่าช้าแห่งนั้นให้ได้ และได้กระทำถึงขั้นการใส่บาตรโดยเอาข้าวผสมผงขัดหม้อ กรวดทราย และการใช้ยาสั่ง และการเผาปะรำที่ชาวบ้านผู้ศรัทธาสร้างถวายให้อยู่ เป็นต้น เรื่องได้ลุกลามถึงขั้นที่เจ้าหน้าที่ทางบ้านเมืองต้องเข้ามาเกี่ยวข้องสืบสวนประชุมชาวบ้านเพื่อให้ลงมติว่าจะให้ท่านอาจารย์ฯออกจากป่าช้าหรือให้อยู่ เมื่อมีการประชุมออกเสียงของชาวหมู่บ้านต่างๆ แล้ว ปรากฏว่าพวกศรัทธาประมาณ 600 คน ขอให้อยู่ต่อไป พวกต่อต้านมีประมาณ 200 คน จึงยอม แต่ก็ไม่ยุติเรื่องเพียงเลี่ยงมาใช้การปลุกปั่นยุยงโดยการกระจายเสียงไม่ให้ชาวบ้านทำบุญใส่บาตรและไม่ให้คบค้าและซื้อสินค้าจากบุตรชายของแม่ชีกาญจนา อีกคนหนึ่งด้วย

    การขัดขวางรุนแรงขึ้นถึงขั้นเอาชีวิตกันทีเดียว โดยที่คืนวันหนึ่งเวลาดึกสงัดขณะที่พระอาจารย์เยื้อนกำลังนั่งภาวนาอยู่ในกลดได้มีชาวบ้านเอาอิฐ หิน มาระดมขว้างปาเข้าใส่กลดที่พระอาจารย์กำลังบำเพ็ญเพียรอยู่อย่างหนัก ซึ่งถ้าเป็นบุคคลธรรมดาแล้วคงจะมีชีวิตอยู่ได้ยาก รุ่งเช้าชาวบ้านที่ต่อต้านท่านได้ออกเที่ยวไปปล่อยข่าวว่าพระป่าตายแล้ว ชาวบ้านที่ศรัทธาในตัวพระอาจารย์พากันเศร้าเสียใจ และเดินทางจะไปเยี่ยมศพ แต่กลับปรากฏว่าท่านยังมีชีวิตอยู่เหตุการณ์ครั้งนั้นท่านก็มิได้เอาเรื่องด้วยถือว่าเป็นกรรมี่ได้เคยร่วมทำกันมา

    เมื่อเอาชีวิตพระป่าไม่ได้ ฝ่ายต่อต้านก็เปลี่ยนใช้วิธีใหม่ที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ตอนนั้น ด้วยการออกบัตรสนเท่ห์กล่าวหาว่าพระอาจารย์เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งขณะนั้นสถานการณ์ก่อการร้ายและการขยายงานของพรรคคอมมิวนิสต์ ยังดำเนินการอยู่กว้างขวาง พื้นที่อำเภอสนม ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่สีชมพู คือเป็นพื้นที่ที่มีคอมมิวนิสต์ดำเนินงานมวลชนอยู่มาก กล่าวหาว่าเป็นพระอวดอุตริมนุสธรรม ทำตนเป็นพระวิเศษ มีเรื่องชู้สาว เป็นต้น เรื่องต่างๆ เหล่านี้ พระอาจารย์เยื้อนได้เล่าถวายหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ผู้เป็นอาจารย์ด้วยตนเอง ซึ่งท่านได้กล่าวว่า " คนเรามีกัมมัฏฐานดีอยู่แล้ว อยู่ป่าช้าก็ดี ตายแล้วไม่ต้องไปหาที่ฝังที่ไหนอีก และให้มันรู้ไปว่าคนดีจะอยู่ที่นี่ไม่ได้" คำกล่าวเพียงนี้ได้สร้างพลังใจและความอดทนให้แก่พระอาจารย์เพิ่มยิ่งขึ้นอีก เพื่อปลดเปลื้องกรรมที่มีและรอผลตอบแทนจากความสำเร็จซึ่งมิใช่สำเร็จประโยชน์แก่พระอาจารย์เอง เมื่อสามารถเผชิญต่อวิบากและอุปสรรคทั้งหลายได้อย่างไม่หวั่นไหวในฐานะพระป่าแล้ว แต่ผลที่สามารถสร้างวัดได้สำเร็จสมปรารถนาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ครูอุปปัชฌาอาจารย์ของท่านเองคือ มีวัดสาขาอยู่ในอำเภอสนม ซึ่งเป็นความหมายที่ยิ่งใหญ่แก่ท่านอาจารย์ฯ

    หลังจากได้ตั้งปณิธานอันแน่วแน่เช่นนั้นแล้ว พระอาจารย์เยื้อนก็ได้ยืนหยัดอยู่ปฏิบัติธรรมที่นั่นสืบไป อย่างไม่ย่อท้อหรือหวั่นไหวต่อเหตุที่จะเกิด ครั้งหนึ่งท่านฉันอาหารโดนยาสั่ง ทำให้อาเจียนและล้มป่วยเกือบเอาชีวิตไม่รอด จนถึงหลวงปู่ดูลย์เมตตาเดินทางมาดูแลอยู่ด้วย 2 วัน หลังจากหายป่วยแล้ว ชาวบ้านผู้ต่อต้านยังคงดำเนินการฟ้องร้องทางการการว่าท่านเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาสอบสวน ซึ่งมีแม่ทัพภาค 2 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ขณะนั้น และ พ.อ.ชาญ ทองดี ทราบข้อเท็จจริงแล้ว กลับนิเยมเลื่อมใสในพระอาจารย์เยื้อน จึงเห็นเหตุชาวบ้านจะก่อเหตุเผาปะรำ ศาลาน้อยของท่าน แต่นายปัญญา บุญญลักษม์ ได้เข้าขัดขวางไว้ได้

    เรื่องที่น่าแปลกคือกลุ่มชาวบ้านที่ร่วมกับพวกต่อต้านหาได้รู้จักพระอาจารย์เยื้อนโดยส่วนตัวไม่ ทั้งยังไม่เคยเห็นว่าพระป่ารูปร่างเป็นอย่างไร การที่เข้าร่วมต่อต้านด้วยก็เป็นไปเพราะแรงยุเท่านั้น จะเห็นได้จากครั้งหนึ่งชาวบ้านประชุมวางแผนจะขับพระป่าออกไป โดยชาวบ้านรวมตัวกันได้ประมาณ 1,000 คน และมีชาวบ้านขบวนหนึ่งได้พบท่าน ซึ่งขณะนั้นพระอาจารย์กำลังจะเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่ดูลย์ แต่ก็เกิดเปลี่ยนใจไม่ไป ชาวบ้านเหล่านั้นได้ชวนท่านให้ร่วมเดินทางไปด้วยเพื่อขับไล่พระป่า เพราะตั้งแต่พระป่ามาอยู่เป็นเหตุให้คนไม่ทำงาน มัวแต่จับกลุ่มคุยฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อถามว่าเคยเห็นพระป่าองค์นั้นไหม ก็ได้คำตอบว่า "ไม่เคยเห็น"

    ท่านเดินทางตามชาวบ้านกลุ่มนั้นไป แต่แล้วก็ได้เดินแยกไปอีกทางหนึ่ง พบชาวบ้านระดับหัวหน้ากลุ่มกำลังประชุมวางแผนกันอยู่ พระอาจารย์จึงยืนฟังแผนการที่ชาวบ้านพวกนั้นจะเดินขบวนขับไล่ หากครั้งนี้ทำไม่ได้ผลก็จะบุกเข้าจับมัดเอาตัวไปทิ้งให้ห่างไกลและหากกลับมาอีก ก็จะฆ่าทิ้งเสียให้สิ้นเรื่อง เมื่อชาวบ้านปรึกษาหารือกันแล้ว ท่านจึงได้ออกจากที่ที่ยืนซุ่มอยู่ และถามว่า " ทำไมไม่ไปคุยกันในป่าช้า" พวกชาวบ้านบ้านเหล่านั้นคาดไม่ถึงว่าจะพบพระอาจารย์ในลักษณะนั้น ก็พากันตกใจรีบแยกย้ายหนีกลับบ้าน

    เมื่อกลับมาถึงป่าช้า ท่านก็ได้ชี้แจงต่อชาวบ้านที่เดินขบวนมาถึงว่า เมื่อท่านมาที่นี่เอง และโยมพากันมาขับไล่ด้วยความไม่เข้าใจ ตัวท่านก็จะขออยู่ต่อไปก่อนเพื่อชี้แจงให้หายข้องใจแล้วจึงจะออกไป เมื่อมาเองได้ก็ออกไปเองได้ ไม่ต้องมาขับไล่ แม้จะพยายามชี้แจงอย่างไร ฝ่ายต่อต้านพระป่าก็ไม่ยอมฟัง กลับพากันเผาศาลาปะรำที่อาศัยจนท่านต้องย้ายที่อยู่ใหม่ แต่นั่นยังไม่พอเพียง ได้ส่งคนมายืนด่าเช้าด่าเย็นทุกวัน ร้อนถึงนายลิ้ม นวลตา ต้องนำเรื่องไปกราบเรียนต่อพระอาจารย์สุวัฒน์ สุวโจ ซึ่งท่านได้มาขอร้องให้พระอาจารย์เยื้อนออกจากป่าช้าแห่งนั้นเถิด เพราะเกรงว่าอันตรายจะเกิดขึ้นกับพระอาจารย์ ในที่สุดนายอำเภอต้องรับหน้าที่เข้ามาไกล่เกลี่ย ความขัดแย้งนั้นด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อออมชอม และนำมาซึ่งสันติสุขและความสงบ เรื่องราวทั้งหลายในอำเภอนี้

    พ้นวิบากกกรรม วัดป่าฯ เกิด

    คงจะเป็นเพราะเคราะห์และวิบากกรรมต่างๆ ของพระอาจารย์เยื้อนจะถึงที่สุด จึงเป็นผลให้ชาวบ้านที่ศรัทธาในพระอาจารย์ที่มีจำนวนมากพอสมควร โดยการนำของนายปัญญา บุญญลักษม์ ได้พร้อมใจกันตกลงซื้อที่ดินจำนวน 25 ไร่ ในราคา 65,000 บาท จากนางถาวร อึ้งพานิช และถวายเพื่อสร้างวัด โดยให้ชื่อว่า "วัดป่าบุญญลักษม์" ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ของตระกูลบุญญลักษม์ ที่มีความศรัทธาปสาทะในพระบวรพุทธศาสนา และเพื่อเป็นมงคลนามตามที่หลวงปู่ดูลย์มอบไว้ในครั้งเริ่มแรกสร้างวัด หลวงปู่ได้ให้รื้อศาลาหลังเก่าจากวัดบูรพารามมาสร้างไว้เป็นศาลาไม้ และท่านได้เคยมาพำนักอยู่ที่วัดนี้เป็นประจำ กุฏิที่ศิษย์สร้างถวายหลวงปู่ ปัจจุบันได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี บริเวณวัดครั้งกระนั้นยังลุ่มๆ ดอนๆ แห้งแล้ง แต่ก็ด้วยบุญบารมีของหลวงปู่ดูลย์ ที่แม้จะทิ้งสังขารขันธ์แล้วก็ยังตามมาเกื้อหนุนวัดที่ดำริสร้าง จึงทำให้มีผู้สนใจวัดป่าแห่งนี้ กล่าวคือ ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ที่วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ ในปี 2528 พระอาจารย์เยื้อนได้มีโอกาสพบคุณพเยีย พนมวัน ณ อยุธยา ผู้นับถือในองค์หลวงปู่กับพวก ได้เดินทางขึ้นมาร่วมงานบำเพ็ญกุศลถวายหลวงปู่ เกิดความสนใจและได้ขอไปดูวัดป่าฯ ของหลวงปู่ เมื่อมาเห็นสภาพดังกล่าว ก็ให้มีจิตคิดจะบำรุง จึงได้นำญาติมิตรมาร่วมกับปรับพื้นที่ และเริ่มปลูกสร้างถาวรวัตถุ โดยเฉพาะที่สำคัญคือ ศาลาอเนกประสงค์หลังปัจจุบันที่สร้างแทนศาลาไม้ที่ผุพังเหลือกำลังที่จะซ่อมแซมได้แล้ว นอกจากนี้ทางวัดยังประสบปัญหาความกันดารขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำกิน น้ำใช้ คณะญาติมิตร ผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมเป็นกำลังขุดสระน้ำ สร้างถังเก็บน้ำฝนถวาย และเดินทางสายไฟฟ้าเข้าใช้ในวัดด้วย

    เนื่องจากศรัทธาที่หลั่งไหลจากญาติโยมทั้งใกล้ไกลมาช่วยทำนุบำรุงก่อสร้างเสนาสนะเพิ่มเติม ชั่วระยะเวลา 10 ปี จึงทำให้ปัจจุบันวัดมีถาวรวัตถุหลายสิ่งเพยงพอแก่การอยู่ใช้ เช่น ศาลาอเนกประสงค์ ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 24 เมตร 1 หลัง เป็นที่ประกอบศาสนกิจต่างๆ หากได้ฝังลูกนิมิตและผูกพัทธสีมาเสร็จแล้ว ก็จะใช้เป็นพระอุโบสถเพื่อให้สงฆ์ได้ลงทำสังฆกรรมได้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติต่อไป เพราะปัจจุบันวัดนี้ก็ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 โดยมีนางพงส์ สารสิน รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระราชโองการ

    นอกจากนั้นมีกุฏิพระ 9 หลัง กุฏิชี 6 หลัง และที่พักของผู้มาปฏิบัติธรรม 1 หลัง ยังขาดแต่โรงครัว บริเวณรอบนอกมีกำแพงคอนกรีตล้อมรอบ ภายในมีต้นกะถินณรงค์ปลูกไว้พอเป็นร่มเงาให้ความร่มรื่นได้พอสมควร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. KoRaT_191 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +229
    คุณหมอครับ ค่าเบี้ยแก้เดี๋ยวผมจะโอนไปให้นะครับคงไม่เกินวันอาทิตย์นี้ อย่าเพิ่งตัดสิทธิผมนะครับ
     
  12. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948


    เกศาพระอาจารย์เยื้อน แปรสภาพเป็นพระธาตุ
     
  13. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    หลวงปู่ลี วัดป่าหนองทับเรือ

    จอมขมังเวทย์ของสายพระธรรมกรรมฐาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโร

    ถ้าไม่เก่งจริง จะเป็นที่ศรัทธาของบุคคลชั้นสูงในสังคมมากมายถึงเพียงนี้
    และท่านเป็นพระภิกษุที่รอดจากเหตุการณ์เครื่องบนตกและพระสายกรรมฐานมรณภาพคราว 5 รูปนั้นด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    หลวงปู่ทองใส วัดเทพพิทักษ์ปุณาราม

    พระสายกรรมฐานที่ทรงญาณเป็นเยี่ยม ได้ขอเมตตาให้ท่านอธิษฐานจิตด้วยคาถาเมตตาหลวง ซึ่งเป็นคาถาตกทอดจากหลวงปู่สิงห์ อดีตเจ้าอาวาส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    พระอาจารย์อินทร วัดสันป่ายางหลวง

    กำกับท่านว่า เอาแบบเหรียญรุ่นแรกเลยนะ ท่านเพิ่งออกเหรียญรุ่นแรกปีนี้ แต่เค้ารู้กันว่าขลัง เหมือนกับพระรอดหลังออ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    update ข่าวสำหรับสีเขียวและสมเด็จองค์ปฐมนะครับ

    อธิษฐานจิตเดี่ยว โดย หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม
    หลวงปู่มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ (อาจารย์หลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีเขต) รองสอง
    ส่วนหลวงตาฮ้อ ท่านไม่เสกรอบสอง ท่านบอกว่าขลังอยู่แล้ว

    ข่าวสีขาว อยู่ในห้องหลวงพ่อองค์หนึ่ง

    ส่วนสีดำไปกับสีทองอยู่ระหว่างฝากไปอธิษฐานจิต หลวงปู่ไข่ วัดลำนาว หลวงปู่ประ วัดภูเขาดิน หลวงปู่พุ่ม วัดบนเขา พ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า และอาจจะได้อธิษฐานจิตโดย หลวงปู่นวล ศิษย์เอกอีกรูปของหลวงปู่ศรี มหาวีโร ที่ชุมพรด้วย
     
  18. อสูรเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    314
    ค่าพลัง:
    +1,181
    สวัสดีครับเดล ผมขอแจ้งยกเลิกการจองเบี้ยแก้ที่จองไว้ 2 ตัวนะครับและสีผึ้งของหลวงปู่ข้าวแห้งที่จองไว้ 1 ชุดด้วย ต้องขอโทษด้วยนะครับ ให้ท่านที่พร้อมหรือสำรองชื่อเอาไว้ได้บูชาต่อครับ...ขอบคุณครับ
     
  19. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ใครสนใจจองเบี้ยแก้ 2 ตัวนี้ จองได้เลยนะครับ โอกาสสุดท้ายแล้ว

    เบี้ยหลวงปู่เสงี่ยม วัดสุวรรณเจดีย์ ออกใหม่ๆยังราคาไม่ต่ำกว่า 4000
    เบี้ยรุ่นแรก หลวงปู่เปรี่ยม ก็ราคา 5000 แล้ว
     
  20. dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    UPDATE ล็อกเกตพระแก้วมรกต ผ่านการพุทธาภิเษกแล้วดังนี้


    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษก วัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553 พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    - หลวงปู่ใสย ปัญญพโล วัดเขาถ้ำตำบล ประธานจุดเทียนชัย
    - หลวงตาเอียน วัดป่าโคกม่อน อริยเจ้าผู้เร้นกาย พระอาจารย์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ดับเทียนชัย
    - หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์ไม อินทสิริ
    - พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่
    - หลวงปู่บุญมา วัดถ้ำโพงพาง จ.ชุมพร
    - พระอาจารย์แดง วัดลุมพินี จ.พังงา
    - หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา
    - พระอธิการใจ วัดพระยาญาติ
    - หลวงปู่บุญมี วัดถ้ำเต่า
    ฯลฯ
    12. พิธีหล่อพระอัครสาวกและพระอรหันตสาวก วัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วันที่ 1 พ.ค. 2553 (เข้าพิธีเฉพาะพระปิดตาที่อุดหลัง)
    13. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
    14. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดตาลเอน(วัดสาขาของวัดอัมพวัน สิงห์บุรี) จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 20 ตุลาคม 2553
    15. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งชินบัญชรเพ็ชรกลับเหนือโลกและเหรียญหล่ออจิณไตย หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน ณ คณะเวฬุวัน อ.พยุห์ จ.ศรีษะเกษ วันที่ 6 พ.ย. 2553
    16. พิธีพุทธาภิเษกพระปิดตาเมตตามหาลาภ วัดทุ่งเศรษฐี วันที่ 21 พ.ย. 2553(วันลอยกระทง)
    พระพรหมสุธี วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย
    เจริญจิตตภาวนาโดย
    พ่อท่านเลิบ วัดทองตุ่มน้อย จ.ชุมพร
    หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดดอยแก้ว จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต จ.อยุธยา
    ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดี จ.กำแพงเพชร
    หลวงพ่อทอง วัดไร่กล้วย จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อพูนทรัพย์ วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี
    หลวงปู่ปั้น วัดนาดี จ.สระบุรี
    หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก จ.สระบุรี
    หลวงพ่อบุญ วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเจริญ วัดเกาะอุทการาม จ.นครราชสีมา
    พระครูคัมภีร์ปัญญาวิกรม วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    พระครูญาณวิรัช วัดตะกล่ำ กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อชวน วัดบ้านบึงเก่า จ.บุรีรัมย์
    พระมหาเนื่อง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี กรุงเทพฯ

    17. พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป ณ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ วันที่ 4 ธันวาคม 2553 (หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ จุดเทียนชัย หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ดับเทียนชัย)

    18. พิธีสวดบูชานพเคราะห์และพุทธาภิเษกท้าวเวสสุวรรณ ณ วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ 26 ธันวาคม 2553 พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี

    ๑. หลวงปู่คง วัดเขากลิ้ง จ.เพชรบุรี
    ๒. หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
    ๓. หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี จ.ราชบุรี
    ๔. หลวงพ่ออุดม วัดประทุมคณาวาส จ.สมุทรสงคราม
    ๕. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    ๖. หลวงพ่อไพศาล วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ
    ๗. หลวงพ่อผล วัดหนองแขม จ.เพชรบุรี
    ๘. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
    ๙. หลวงพ่อสิริ สิริวฒฺฑโน
    ๑๐. หลวงพ่อเมียน จ.บุรีรัมย์
    ๑๑. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี


    19. พิธีพุทธาภิเษกเหรียญครบรอบอายุ 93 ปี หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วันที่ 13 มกราคม 2554

    20. พิธีพุทธาภิเษกพระสามสมัย วัดประดู่บางจาก กรุงเทพฯ วันที่ 26 มีนาคม 2554

    21. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระเจ้าใหญ่ิอินทร์แปลงรุ่นมหาบารมีโชคดีปลอดภัย ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) ต่อหน้าพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
    นั่งปรกโดย
    1.หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู
    2.หลวงปู่ลี ถาวโร วัดผาสุการาม
    3.หลวงปู่อ่่อง วัดสิงหาญ
    4.หลวงพ่อบุญชู (ญาท่านเกษม) วัดเกษมสำราญ
    5.หลวงปู่คล้าย วัดบ้านกระเดียน
    6. หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    7. หลวงปู่เก่ง วัดกิตติราชเจริญศรี

    22. พิธีพุทธาภิเษกและสมโภชน์พระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวง จ.อุบลราชธานี วันที่ 23 เมษายน 2554 (ฤกษ์เสาร์ห้า)

    1. หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาญ
    2. หลวงปู่หนู วัดบ้านหนองหว้า
    3. หลวงปู่อำคา วัดบ้านตำแย
    4.หลวงปู่เส็ง วัดปราสาทเยอร์ใต้
    5. หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    6.พระสมุห์วิศิษฐ์ศักดิ์ กลฺยาโณ วัดบูรพา(ธ)
    7.ญาท่านเกษม วัดเกษมสำราญ
    8. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
    9. พระราชธรรมโกศล (สวัสดิ์) วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
    10.พระราชธีราจารย์ (ศรีพร) วัดมณีวนาราม
    ฯลฯ
    ในการนี้เกิดเหตุการณ์พิเศษคือ พระเถระสำคัญของพม่าได้เดินทางมารับการถวายปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมาศักดิ์ จึงมีการนิมนต์ท่านอธิษฐานจิตเป็นกรณีพิเศษกล่าวคือ
    1. พระสังฆนายกของสหภาพพม่า
    2. พระอาจารย์ภัททันตะ วังสะ ปาละ ลังการะตรีปิฏกะธร ตรีปิฎกโกวิทะ ตรีปิฎกะธรรมภัณฑาคาริกะ พระไตรปิฏกธรผู้จดจำพระไตรปิฎกได้ 84000 พระธรรมขันธ์

    23. งานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลวงปู่ทิม อิสริโก ณ พิพิธภัณฑ์บุญญาภิรัต จ.ชลบุรี วันที่ 29 พฤษภาคม 2554*
    รายนามพระเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต
    1. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู่
    2. หลวงตาเร่ง วัดดงแขวน
    3. หลวงพ่อแผน วัดหนองติม(ศิษย์เอกหลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง)

    24. งานสืบชะตาหลวงและพิธีมหาพุทธาภิเษก พระกริ่งเศรษฐีล้มลุก วัดร้องขุ้ม วันที่ 16 มิถุยายน 2554 รายนามพระเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต
    1. พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง) วัดพระธาตุศรีจอมทอง
    2. หลวงปู่หา วัดป่าสักกวัน จ.กาฬสินธุ์ (หลวงปู่ไดโนเสาร์)
    3. หลวงปู่ฟู วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา
    4. พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย จ.สงขลา
    5. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จ.อยุธยา
    6. พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี
    7. ครูบาตั๋น วัดย่าปาย จ.เชียงใหม่
    8. หลวงปู่บุญปั๋น วัดป่าแดด จ.เชียงใหม่
    9. หลวงปู่บุญมา วัดศิริชัยนิมิต
    10. ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่
    11. หลวงปู่ครูบาสิทธิ วัดปางต้นเดื่อ จ.เชียงใหม่
    12. หลวงปู่ครูบาจำรัส วัดดอยน้อย จ.เชียงใหม่
    13. หลวงปู่ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน จ.เชียงใหม่
    14. หลวงปู่ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน จ.เชียงใหม่
    15. พระราชปริยัติโยดม(โอภาส) วัดจองคำ จ.ลำปาง
    16. หลวงปู่ครูบาบุญมา วัดบ้านสามัคคีธรรม จ.ลำปาง
    17. หลวงปู่ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ จ.ลำปาง
    18. หลวงตาวรงคต วิริยธโร วัดพุทธพรหมปัญโญ จ.เชียงใหม่
    19. หลวงปู่ครูบาพรรณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน
    20. พระครูไพศาลพัฒนโกวิท(เทือง) วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่
    21. หลวงปู่ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน
    22. หลวงปู่ครูบาก๋องแก้ว กัลยาโณ วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน
    23. หลวงปู่ครูบาธรรมสร สิริจันโท วัดตี๊ดใหม่ จ.น่าน
    24. หลวงปู่ครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด จ.พะเยา
    25. หลวงปู่ครูบาครอง วัดท่ามะเกว๋น จ.ลำปาง
    26. หลวงปู่ครูบาคำแบน วัดวังจำปา จ.เชียงใหม่
    27. พระราชเจติยาจารย์ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่
    28. หลวงปู่ครูบาคำปัน วัดพระธาตุม่อนเปี๊ยะ จ.เชียงใหม่
    29. หลวงปู่ครูบาอิ่นคำ วัดไชยสถาน จ.เชียงใหม่
    30. ครูบาผดุง วัดป่าแพ่ง จ.เชียงใหม่
    31. ครูบาอินทร วัดสันป่ายางหลวง จ.เชียงใหม่
    32. หลวงปู่ครูบาสม วัดปางน้ำฮ้าย จ.เชียงราย
    33. ครูบาเหนือชัย วัดถ้ำอาชาทอง จ.เชียงราย
    34. หลวงปู่ครูบาสุข วัดดงป่าหวาย จ.เชียงใหม่
    35. ครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย
    36. พระอาจารย์บุญรอด วัดป่าเมืองปาย
    37. ครูบาสุบิน สำนักสงฆ์ร้านตัดผม จ.ชุมพร
    38. หลวงปู่กวง วัดป่านาบุญ จ.เชียงใหม่
    39. หลวงปู่ชม วัดป่าท่าสุด จ.เชียงใหม่
    40. หลวงปู่พระครูธรรมาภิรม วัดน้ำบ่อหลวง จ.เชียงใหม่
    41. หลวงปู่ครูบาคำมูล วัดกู่คำ จ.เชียงใหม่
    42. ครูบาเมืองใจ๋ วัดรังษีสุทธาราม จ.เชียงใหม่
    43. ครูบาญาณลังกา วัดดอยโพธิญาณ
    44. ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน
    45. หลวงปู่ครูบาอินตา วัดศาลา
    46. ครูบาพรชัย วัดพระพุทธบาทสี่รอย
    47. พระโสภณธรรมสาร วัดป่าดาราภิรมณ์
    48. หลวงพ่อบุญมี วัดใจ จ.เชียงใหม่
    49. หลวงปู่ครูบามนตรี วัดพระธาตุสุโทน จ.แพร่
    50. หลวงพ่อสุแก้ว วัดป่าเจดีย์เหลี่ยม
    51. พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์
    52. พระครูพิพิธธรรมประกาศ วัดจอมแจ้ง
    53. หลวงพ่อถวัลย์ วัดพระธาตุเจดีย์
    54. หลวงปู่ครูบาบุญยืน วัดสบล้อง
    55. หลวงปู่ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก
    56. หลวงปู่ครูบาลือ วัดห้วยแก้ว
    57. หลวงปุ่ครูบาอุ่น วัดโรงวัว
    58. หลวงปู่ครูบานะ วัดดอยอีฮุย
    59. หลวงปู่ครูบาอ้าย วัดเวฬุวัน
    60. ครูบาจันทรังษี วัดกู่เต้า
    61. หลวงปูพ่อหวุนเจ้าต๋าแสง วัดคุ้งสะแก จ.แม่ฮ่องสอน
    62. หลวงปู่ประเสริฐ วัดพระพุทธบาทเวียงเหนือ
    63. ครูบาสาย วัดร้องขุด
    64. หลวงปู่ครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น
    65. พระอาจารย์ต้น ฐานวีโร วัดร้องธาร


    25. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของหลวงปู่เอ้บ วัดสกุณาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท วันที่ 25 มิถุนายน 2554 มีพระเถราจารย์เข้าร่วมปรกพุทธาภิเษกดังนี้
    1. หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี
    2. หลวงพ่อมี วัดม่วงคัน
    3. หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ
    4. หลวงพ่อเหลือ วัดขอนชะโงก
    5. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    6. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    7. หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ
    8. หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร
    9. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    10. หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ
    11. หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    12. หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
    13. หลวงพ่อพยนต์ วัดโพธิ์บัลลังก์
    14. หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
    15. หลวงพ่อมหาอุกฎษณ์ วัดสกุณาราม
    16. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย
    17. หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู
    18. หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้
    19. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่

    26. พิธีพุทธาภิเษก ณ ถ้ำฉัตรทัณฑ์บรรพต วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง วันที่ 26 กรกฏาคม 2554 (เข้าพิธีเฉพาะผงไม้เทพธาโร)
    พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง พัทลุง
    พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง
    หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน พัทลุง
    หลวงพ่อห้อง วัดเขาอ้อ พัทลุง
    พ่อท่านอุทัย วัดดอนศาลา พัทลุง
    หลวงพ่อสลับ วัดป่าตอ พัทลุง
    หลวงพ่อเหวียน วัดพิกุลทอง พัทลุง
    หลวงพ่อเงิน วัดโพรงงู พัทลุง
    หลวงพ่อเสถียร ฐานจาโร วัดโคกโดน จ.พัทลุง


    27. พิธีพุทธาภิเษก เหรียญ ที่ รฤก ใน วันที่ 6 สิงหาคม 2554 พระเกจินั่งปรก มีรายนามต่อไปนี้

    1.หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ
    2.หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง
    3.หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียงวนาราม
    4.หลวงพ่อยวง วัดโพธิ์ศรี
    5.หลวงพ่ออุดม วัดปทุมคนาวาส
    6.หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม
    7.หลวงพ่อสิริ วัดตาล
    8.หลวงปู่บุญ วัดทุ่งเหียง
    9.หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ
    10.หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว
    11.หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี

    28. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระสุก พระเสริม พระใส รุ่น สามบารมี วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย วันที่ 24 กันยายน 2554 (เฉพาะพระนั่งปรกชุดแรก)

    29. พิธีพุทธาภิเษกขุนแผนรุ่นเจดีย์ทองและรุ่นพิชิตมาร วัดละหารไร่ ระยอง
    วันที่ 1 ตุลาคม 2554

    พระเกจิที่ร่วมปลุกเสก

    1.หลวงปู่ปัญญา วัดหนองผักหนาม ชลบุรี
    2.หลวงพ่อเจียง วัดเนินหย่อง ระยอง
    3.หลวงพ่อเจิม วัดหนองน้ำขุ่น ระยอง
    4.หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่ ระยอง
    5.หลวงพ่ออ่อง วัดเขาวงกต จันทบุรี
    6.หลวงพ่อสวาท วัดอ่าวหมู จันทบุรี
    7.พระอาจารย์วีระ วัดพลับบางกะจะ จันทบุรี
    8.หลวงพ่อแผน วัดหนองติม สระแก้ว
    9.ครูบามงคล วัดบางเบน พิจิตร

    30. พิธีเทวาภิเษกพระพรหมจักรเพชร วัดดอนยานนาวา วันที่ 2 ตุลาคม 2554
    เกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธี
    1. พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์
    2. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    3. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่
    4. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
    5. หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาส
    6. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    7. หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์
    8. หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม
    9. พระพรหมโมลี วัดบรมสถล

    31. พิธีหล่อและพุทธาภิเษกสมเด็จองค์ปฐมจักรพรรดิปางยืน วันที่ 30 ตุลาคม 2554 วัดทุ่งอ้อหลวง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    รายนามพระนั่งปรก
    1. หลวงปู่ครูบาบุญมา วัดศิริชัยนิมิต
    2. หลวงปู่ครูบาอินถา วัดอินทราพิบูลย์
    3. ครูบาสาย วัดร้องขุด
    4. ครูบาบุญยืน วัดบุปผาราม



    32. พิธีพุทธา-เทวาภิเษก เหรียญพระครูอุแถัมป์ศาสนคุณและท้าวเวสสุวรรณ วัดป่าแพ่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2554
    รายนามพระเถราจารย์
    1. หลวงปู่ครูบาสิทธิ วัดปางต้นเดื่อ จ.เชียงใหม่
    2. หลวงปูครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด จ.พะเยา
    3. หลวงปู่ครูบาสาย วัดท่าไม้แดง จ.ตาก
    4. ครูบาผดุง วัดป่าแพ่ง จ.เชียงใหม่
    5. พระธรรมมังคลาจารย์(หลวงปู่ทอง) วัดพระธาตุศรีจอมทอง
    6. หลวงปู่ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน
    7. หลวงปู่ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน จ.เชียงใหม่
    8. หลวงปู่ครูบาคำตั๋น วัดย่าพาย จ.เชียงใหม่

    33. พิธีเจริญพระพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพระปิดตาภูริทัตตเถรานุสรณ์,ล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์,สมเด็จองค์ปฐมศุภมงคลญาณสังวร วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554 วัดป่าสันติสามัคคีธรรม อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์


    34. พิธีบวงสรวงหล่อพระกริ่งสุวีโร หลวงปู่ครูบาอินสม วัดพระธาตุจอมทอง ณ อำเภอลาดบัวหลวง พระนครศรีอยุธยา (ยกเว้นสีดำ)

    35. พิธีมหาพุทธาภิเษกพระสมเด็จรุ่นอมตมหามงคล วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม กรุงเทพฯ (ด้วยความเมตตาของพระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์ ถือนำเข้าพิธี; ยกเว้นสีขาว) วันที่ 9 ธันวาคม 2554

    รายนามพระเถระ
    1. หลวงพ่อรวย วัดตะโก
    2. หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้
    3. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    4. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    5. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่
    6. หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน
    7. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย
    8.พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์
    9. หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม
    10. หลวงพอ่หล่ำ วัดสามัคคีธรรม
    11. หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง
    12. ครูบากฤษณะ สำนักสงฆ์เวฬุวัน
    13. หลวงพ่อทองสืบ วัดอินทรวิหาร
    14. หลวงปู่ประจวบ วัดระฆังโฆสิตาราม
    15. พระธรรมธีรราชย์มหามุนี(เที่ยง) วัดระฆังโฆสิตาราม
    16. พระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์
    17. หลวงพ่อจอย วัดโนนไทย
    18. พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา
    19. หลวงพ่อสิริ วัดตาล
    20. หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี
    21. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม
    22. หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
    23. หลวงพ่อนพวรรณ วัดเสนานิมิต
    24. พระบวรรังษี วัดระฆังโฆสิตาราม
    25. พระสิทธิพัฒนาภรณ์
    26. พระสิทธิสัจนารักษ์ วัดไชโย
    27. พระราชธรรมสุนทร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    36. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรูปเหมือนพระราชอุทัยกวี(พุฒ) วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
    วันที่ 10 ธันวาคม 2554
    พระภาวนาจารย์ที่นั่งปรก

    1. หลวงปู่สม วัดโพธิ์ทอง
    2. หลวงตาเร่ง วัดดงแขวน
    3. หลวงพ่อเสน่ห์ วัดพันสี
    4. หลวงพ่อสมคิด วัดเนินสาธารน์
    5. หลวงพ่อโฉม วัดเขาปฐวี
    6. หลวงพ่อสมัย วัดหนองหญ้านาง
    7. หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค
    8. พระราชอุทัยกวี(ประชุม) วัดทุ่งแก้ว


    37. พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งสุวีโร และศาสตรามหาราช วัดมหาวัน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน วันที่ 10 ธันวาคม 2554 ต่อหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด)* (เฉพาะมวลสารส่วนหนึ่ง)
    ครูบาอาจารย์ที่ร่วมพิธี
    1. หลวงปู่ครูบาอินสม วัดพระธาตุจอมทอง
    2. หลวงปู่ครูบาคำแบน วัดวังจำปา
    3. หลวงปู่ครูบาบุญมา วัดศิริชัยนิมิต
    4. หลวงปู่ครูบาอุ่น วัดโรงวัว
    5. หลวงปู่ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก
    6. หลวงปู่ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย
    7. หลวงปู่ครูบาก๋องแก้ว วัดป่าซางน้อย
    8. หลวงพ่อมหาสิงห์ วัดถ้ำป่าไผ่
    9. ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน

    38. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินวัดอินทาราม ตลาดพลู กรุงเทพฯ วันที่ 10 ธันวาคม 2554* (เฉพาะมวลสารส่วนหนึ่ง)

    39. อธิษฐานอัญเชิญกระแสพระธรรมธาตุ หลวงปู่พิศดู ธัมมจารี ในงานประชุมเพลิงหลวงปู่ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2554

    40. พิธีมหาพุทธาภิเษกพระกริ่งและเหรียญพุทธปวเรศ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554
    ครูบาอาจารย์ร่วมพิธี 119 รูป

    41. พิธีพุทธาภิเษกไก่เถื่อน,พระอุปคุต,ล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร วันที่ 14 ธันวาคม 2554
    ครูบาอาจารย์ร่วมพิธีดังต่อไปนี้
    1.หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์
    2.หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    3. หลวงปู่ดี วัดสุทธาราม
    4. หลวงพ่อมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่
    5. หลวงพ่อวีระ วัดราชสิทธาราม

    42. พิธีมหาพุทธาภิเษก พระ....... วันที่ 28 ธันวาคม 2554 (เฉพาะสีขาว เื่นื่องจากเป็นพิธีใน..... จึงห้ามลงครับ)

    43. พิธีพุทธาภิเษกชนวนรูปหล่อพ่อท่านอิ้น ปภากาโร สำนักสงฆ์ทับใหม่พัฒนา อ.เคียนซา จ.สุราษฏร์ธานี วันที่ 2 มกราคม 2555 (เฉพาะสีทองและสีดำ)
    รายนามพระนั่งปรก

    1. หลวงปู่ประ วัดภูเขาดิน อายุ 115 ปี

    2. หลวงปู่พุ่ม สำนักสงฆ์เจดีย์เขาท่ายาง อายุ 108 ปี

    3. หลวงปู่เอื้อม วัดบางเนียน อายุ 107 ปี

    4. หลวงปู่ไข่ วัดลำนาว อายุ 100 ปี

    5. หลวงปู่อิ้น วัดทับใหม่ อายุ 94 ปี

    6. หลวงพ่อนวล วัดประดิษฐาราม(ไสหร้า) อายุ 90 ปี

    7. หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ อายุ 90 ปี

    8. หลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม(พัทลุง)

    9. หลวงพ่อปอง วัดสว่างประชารมย์ อายุ 91 ปี

    10. หลวงพ่อชื่น วัดในปราบ อายุ 88 ปี

    11. หลวงพ่อจ่าง วัดน้ำรอบ อายุ 84 ปี

    12. หลวงพ่อล้าน วัดขนาย อายุ 78 ปี

    13. หลวงพ่อเอ็น วัดเขาราหู อายุ 79 ปี

    14. หลวงพ่อแดง วัดไร่

    15. หลวงพ่อสมนึก วัดหรงบน
     

แชร์หน้านี้